สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา จัดฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอาชีพเสริม สาขาการบริหารการจัดงานแบบมืออาชีพรองรับธุรกิจ MICE ภายใต้โครงการพัฒนาวิสาหกิจสู่ความเป็นมืออาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

วันที่ 26 กุมภาพันธ์  2564  ณ ห้องคอมมูนิตี้ ชั้น ๔ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา นายเพชรเหล็ก ทองภูธร  รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรการฝึกอาชีพเสริม สาขาการบริหารการจัดงานแบบมืออาชีพรองรับธุรกิจ MICE ภายใต้โครงการพัฒนาวิสาหกิจสู่ความเป็นมืออาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564   ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2564  โดยมีผู้ที่เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 40 คน ทั้งนี้ผู้ที่เข้าอบรมทุกท่านจะได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานจริง เพื่อให้ทราบขั้นตอนการทำงานรวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ อีกทั้ง ในการอบรมครั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ  นายเพชรเหล็ก ทองภูธร  รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา ,นายธนาฒย์ ปิติพรเทพิน ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบแสง ,ดร.อนิรุธ พิพัฒน์ประภา  ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบและลักษณะการจัดการ MICE, คุณยุภาวรรณ  สองเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคบริหารจัดการพื้นที่งาน และ นายฐิติรัตน์  พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา ผู้ถ่ายทอดปัญหาด้านสื่อมวลชนในการเข้าร่วมงานต่าง ๆ  มาเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพอีกด้วย

ตามที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา ได้รับเชิญให้ไปร่วมลงนามความร่วมมือ Korat MICE Collaboration ระหว่างจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ และภาคีเครือข่ายโคราชเมืองไมซ์ รวมทั้งสิ้น 47 หน่วยงานซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญของจังหวัดนครราชสีมาที่ทุกท่านจะได้มีส่วนในการร่วมขับเคลื่อนภารกิจในครั้งนี้ด้วยกัน เพื่อผลักดันให้เกิดโคราชเมืองไมซ์ ประกอบกับภารกิจ

แผนงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีความสอดคล้องกับภารกิจของจังหวัดนครราชสีมา คือ

โครงการพัฒนาวิสาหกิจสู่ความเป็นมืออาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยโครงการ

ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับสมรรถนะของแรงงาน และวิสาหกิจรายย่อยให้

สามารถประกอบธุรกิจอย่างมืออาชีพ รองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

2019  และขยายโอกาสในการประกอบอาชีพให้เป็นผู้ประกอบการ เพื่อผลักดันให้เกิดความคิด

ริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำธุรกิจแนวใหม่และการประยุกต์ใช้จากเทคโนโลยีนวัตกรรมแปลกใหม่ เพื่อรองรับการพัฒนาสู่ SME 4.0 โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ แรงงานในวิสาหกิจรายย่อยที่เป็นวิสาหกิจชุมชนสมาชิกกลุ่ม OTOP กลุ่มอาชีพต่างๆ หรือแรงงานทั่วไปที่ต้องการปรับปรุงธุรกิจและพัฒนาศักยภาพของผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่าน