วันที่24 มิถุนายน พ.ศ.2564 เวลา15.00น.ณนายกอบชัย บุญอรณะ. ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประธาน
พร้อมด้วยดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ,คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา และ ประชุมประกอบด้วย ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดนครราชสีมา,วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ,เครือข่ายธุรกิจ Biz Club จังหวัดนครราชสีมา, สมาพันธ์ SME จังหวัดนครราชสีมา, สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและ และทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,สมาคมท่องเที่ยวเขาใหญ่ ,สมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา และผู้แทนสถาบันการศึกษา

ด้วยคำสั่งสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ o๕๓/b๕b๔เรื่อง แต่งตั้งประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาอาศัยอำนาจความตามในมาตรา ๑๖ (๓) (ช) แห่งพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อบังคับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงานสาขาของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๓ คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชุม ครั้งที่ ๗/0๕๖๓.๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ มีมติแต่งตั้ง ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ เป็นประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี นับจากปีปฏิทินให้ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา แต่งตั้งคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา จำนวนอย่างน้อย ๖ คน แต่ไม่เกิน ๑๘ คน
ภารกิจ หน้าที่ อำนาจคณะกรรมการ เป็นไปตามมาตรา ๖ มาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และข้อบังคับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงานสาขาของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๓ และฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๔
สั่ง ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์)ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ด้านวิสัยทัศน์ร่วมในการทำแผนการท่องเที่ยว ประสานและขับเคลื่อนการทำงานและการร่วมกันของภาคส่วน ยกระดับระบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว Ecosystem ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวปลอดภัย ยกระดับและ พัฒนาองค์ ตลอดจนร่วมแก้ปัญหาด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา”พันธกิจ
1.ร่วมกับภาคีเครื่อข่ายจังหวัดนครราชสีมาในการทำแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวของจังหวัด
นครราชสีมา และร่วมดำเนินการตามแผน

  1. ร่วมขับเคลื่อนการทำงานแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาที่
    เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาร่วมกันของภาคส่วน
  2. สนับสนุนและยกระดับระบบนิเวศของการบริหารจัดการการท่องเที่ยว (Tourism Eco
    system) ของจังหวัดนครราชสีมา
  3. ยกระดับและพัฒนาองค์ความรู้ให้บุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา
  4. สร้างสรรค์และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างผลกระทบเชิงบวกในด้านเศรษฐกิจ
    งคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดไทยและต่างประเทศ ได้แก่
    1) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและอาหารปลอดภัย (Health Tourism)
    2) การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ (Eco Tourism)
    3) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (AgroTourism)
    การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (Cultural and Historical Tourism)
    5) อุตสาหกรรมไมซ์ MICE
    6) การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism)
    7) การท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ (Geotourism)
    ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยาศการในที่ประชุม ในครั้งนี้ มีการการทำแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวของจังหวัด
    นครราชสีมา ในที่ประชุมก็นำเสนอในเรื่องงบประมาณการจัดทำแผน, แนวทางโครงการ ในครั้งนี้ เพื่อการกระตุ้นนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาด ภายในประเทศ ระยะสั้นและแผนระยะยาวรองรับตลาด ต่างประเทศอีกด้วย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการช่วยเหลือชาว โคราชพร้อมส่งเสริมผู้ประกอบการเกี่ยวเนื่อง กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโคราช ฟื้นตัวกลับมาโดยเร็วต่อไป