โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือบก(Dry Port) พ่อเมืองโคราช !!ฟันธง มั่นใจสู้ในหลักเกณฑ์ตัดสินกับขอนแก่นได้

วันที่ 29 สิงหาคมพศ 2561 ณ ห้องประชุมสุรนารีปีโรงแรมดิอิมพีเรียลโฮเต็ลแอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์โคราช จังหวัดนครราชสีมากำหนดการประชุมกลุ่มเป้าหมาย(Focus Group )เพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวข้องครั้งที่ 1งานศึกษาจัดทำแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือบกDry Port เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคโดยนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประธานการประชุม นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรกล่าวรายงาน ดร.สมพงษ์ รักษาสุวรรณ ผู้จัดการโครงการนำเสนอการพัฒนาท่าเรือบกและคณะ ู้แทนหน่วยงานรัฐภาคเอกชนและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน

ความจำเป็นจะต้องมีท่าเรือบกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็มีการพิจารณาพื้นที่ไว้ก็คือจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดขอนแก่นแล้วก็มีหลักเกณฑ์ตัดสินผมคิดว่าปริมาณสินค้าที่จะใช้บริการท่าเรือบกซึ่งวันนี้วิทยากรซึ่งวันนี้วิทยากรพูดว่าใช้บริการท่าเรือบกประมาณปีละ 700,000 ตันหรือ 70,000 ตู้ต่อปี ซึ่งก็จะต้องมาดูว่าจังหวัดนครราชสีมาหรือจังหวัดขอนแก่น สามารถรวบรวมปริมาตรสินค้าได้เท่าไหร่จากการหาข้อมูลในเบื้องต้นของจังหวัดนครราชสีมาเราคิดว่าเรามีตัวเลขเฉพาะในจังหวัดอาจจะไม่ถึงจะอาจจะไม่ถึง 70,000 ตู้ต่อปีดีแต่ก็ไม่ห่างมากเฉพาะจังหวัดนครราชสีมาไม่รวมถึงจังหวัดข้างเคียงไม่ว่าจะเป็นชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์หรือจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี ตามข้อมูลตามศักยภาพในเรื่องของปริมาณสินค้าในส่วนของสถานที่ตั้งในเรื่องของการขยายตัวในหลายอย่างอีกต่อไป (ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าว)
โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือบก(Dry Port)เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคในวันนี้ภายใต้แผนการพัฒนาประเทศที่สำคัญได้แก่ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12(พศ. 2560-2564)ที่มุ่งเน้นให้ประเทศไทยยกระดับโลจิสติกส์ของประเทศไปสู่ศูนย์กลางการค้าบริการและการลงทุนในภูมิภาคปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังถือว่าเป็นประตูการค้าหลักของประเทศมีปริมาตรตู้สินค้าผ่านเข้าออกท่าเรือเป็นจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงทางปริมาตรการจราจรบริเวณโดยรอบท่าเรือแหลมฉบังและโครงข่ายเชื่อมโยงสถานีปัจจุบันและแยกสินค้ากล่องหรือICDลาดกระบังให้บริการอยู่แล้วแต่ปริมาตรตู้สินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเต็มความจุดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาและกำหนดพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาท่าเรือบกให้ชัดเจนรวมทั้งจัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบเพื่อตอบสนองต่อปริมาตรการขนส่งสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต (นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร)