https://www.youtube.com/watch?v=UYMUdbCAC28&feature=youtu.be
โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาโคราช เปิดบ้านโชว์แหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ลำตะคอง
โครงการโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาโรงไฟฟ้า เครื่องที่ 3-4 โรงไฟฟ้าใต้ดินที่มีระบบกักเก็บพลังงานแบบ pump storage ที่ไม่เหมือนใครของ กฟผ. เตรียมจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2562 เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานของประชาชนในภาคอีสาน
นอกจากภารกิจในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนแล้ว กฟผ.ยังเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ โดยจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ลำตะคอง แหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานนอกห้องเรียนและแหล่งท่องเที่ยวให้กับประชาชนใน จ.นครราชสีมา และพื้นที่ใกล้เคียง
1.โรงไฟฟ้าลำตะคองฯ เครื่องที่ 1-2 (ตัวเดิมที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี กฟผ. จึงพิจารณานำเทคโนโลยีที่ทันสมัย คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ มาสร้างโรงไฟฟ้าในภาคนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองฯ แบบสูบกลับ สร้างอยู่ใกล้กับเขื่อนลำตะคอง ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาประมาณ 70 กิโลเมตร ทำงานโดยการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองของกรมชลประทานไปเก็บไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง ในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยหรือช่วงกลางคืนถึงเช้า และเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในช่วงกลางวันถึงค่ำ จะปล่อยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า และปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองเหมือนเดิม
ตัวอาคารโรงไฟฟ้า ถูกสร้างไว้ใต้ระดับผิวดินลึกกว่า 350 เมตร เพื่อเพิ่มระยะทางจากอ่างเก็บน้ำบนเขาถึงอาคารโรงไฟฟ้าให้น้ำที่ไหลลงมามีกำลังแรงขึ้น ทำให้โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเมื่อปี พ.ศ. 2547
2.โครงการโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เครื่องที่ 3-4 (เตรียมเข้าระบบ) เน้นหัวข้อนี้***
ที่ตั้งโครงการ ณ บริเวณเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอสีคิ้วและอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
เป็นโรงไฟฟ้าประเภทสูบกลับ โดยมีกำลังผลิตเครื่องละ 250 เมกะวัตต์ กำลังผลิตรวม 1,000 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่บริเวณเส้นแบ่งเขตระหว่าง อ.สีคิ้ว และ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
โรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนามีส่วนช่วยเสริมกำลังผลิตในระบบไฟฟ้า ช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง เพราะสามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อพ้นหลังเที่ยงคืนไปแล้วความต้องการใช้ไฟฟ้าจะลดต่ำลง จึงสามารถนำไฟฟ้าที่เหลือในระบบใช้สูบน้ำไปเก็บกักสำรองไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง และจะทำการปล่อยน้ำลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองเหมือนเดิมเมื่อมีความต้องการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเข้าระบบ ทำให้ระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเสถียรและมั่นคงมากขึ้น
นับเป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินที่มีระบบกักเก็บพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่า เนื่องจากมีการหมุนเวียนของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง และอ่างพักน้ำตอนบนโดยไม่สูญหายไปไหน
เพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบริเวณใกล้เคียงอันเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นพลังงานหมุนเวียนสะอาด
โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เครื่องที่ 3-4 เตรียมพร้อมส่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเดือนธันวาคม 2562
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2951&Itemid=244
3.ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ลำตะคอง
กฟผ.นอกจากจะมีภารกิจหลักในการผลิต จัดหา และส่งไฟฟ้าแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าซึ่งอยู่ใกล้ตัวประชาชนทุกคน
โดยสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานนอกห้องเรียน และแหล่งท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จุดเด่นคือ เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนที่ได้นำไฟฟ้าจากกังหันลมมาใช้ในศูนย์แห่งนี้
ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง (EGAT Learning Center, Lam Takong)
https://th-th.facebook.com/pages/category/Performance—Event-Venue/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%87-241238739792029/
https://www.youtube.com/watch?v=UYMUdbCAC28&feature=youtu.be