ชาวโคราชศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)กับถนนเทศบาลหรือถนนช้างเผือก (แยกประโดก)
วันที่ 20 กันยายน2561 ที่โรงแรมวีวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา นายนฤชาโฆษาศิวไลซ์ นายอำเภอเมือง นครราชสีมา เป็นประธาน การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)กับถนนเทศบาลหรือถนนช้างเผือก (แยกประโดก) จังหวัดนครราชสีมา
กรมทางหลวงได้จัดทาแผนพัฒนาทางหลวงระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2550-2559) โดยกำหนดตามทิศทางของการพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาทางหลวงและอำนวยความปลอดภัยในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงงานก่อสร้างทางแยกต่างระดับและได้พิจารณาจัดลาดับความสาคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สำหรับทางแยก
จุดตัดระหว่างทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) กับถนนเทศบาลหรือถนนช้างเผือก (แยกประโดก)ตั้งอยู่ในเขตอาเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีปัญหาการจราจรคับคั่ง และมีชุมชนหนาแน่นในปัจจุบันได้จัดการจราจรด้วยไฟสัญญาณจราจร ซึ่งไม่สามารถรองรับปริมาณการเดินทางได้อย่างเพียงพอ ส่งผลกระทบต่อกระแสการจราจรบนเส้นทางหลัก (บนถนนมิตรภาพ) และสายรอง (ถนนเทศบาลหรือถนนช้างเผือก)
ทำให้เกิดความล่าช้าในการเดินทางและติดขัด กรมทางหลวงจึงดาเนินการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทางแยกแห่งนี้ โดยกำหนดให้มีการปรับปรุงทางแยกแห่งนี้ให้เป็นทางแยกต่างระดับเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรโดยในปี พ.ศ. 2557 ได้ดาเนินการสารวจและออกแบบรายละเอียดทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2กับถนนเทศบาล (แยกประโดก) ตามแผนพัฒนาดังกล่าว โดยการดาเนินการประกอบด้วย การสารวจและวิเคราะห์ทางวิศวกรรมอย่างละเอียดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งในระดับจังหวัดและในพื้นที่และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น จากผลการศึกษาดังกล่าว พบว่า มีแหล่งโบราณสถานอยู่ใกล้แนวถนนของโครงการ ทำให้โครงการเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผล
กระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการ ซึ่งต้องจัดทำรายงาน
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อให้เป็นไปตามมาตร 46 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และเพื่อให้การพัฒนาโครงการเกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและประชาชน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการน้อยที่สุดการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพราะมีแหล่งโบราณสถานในระยะ 1กิโลเมตรจากถนนโครงการคืออุโบสถวัดเวฬุนาราม โคกไผ่ ต.หมื่นไวย อ.เมือง อายุกว่า 100ปี ซึ่งโครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับของสำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง เลือกรูปแบบทางลอด ช่องจราจรจำนวน6ช่องจราจร ระยะทางรวมของโครงการ 1,750 เมตร ค่าก่อสร้าง 399ล้านบาท โดยจุดเริ่มต้นโครงการกม.149+450ทล.2 (ประมาณโคราชชัยยางยนต์) ส่วนจุดเริ่มต้นทางลอดกม.149+750ทล.2 (บริเวณหน้าแม็คโค) จนไปสิ้นสุดทางลอดที่ กม.150+824ทล.2 (บริเวณคลังสินค้าพันธ์เกษตร) และไปสิ้นสุดโครงการที่กม.151+200ทล.2 (บริเวณหน้าโคราชอินเตอร์มาร์ท)คาดจะเริ่มดำเนินก่อสร้างช่วงต้นปี 2563ใช้เวลา3 ปี องค์ประกอบทางหลวงเพื่อเสริมความปลอดภัยของทางลอด (Underpass) และทางแยก
ประกอบด้วยติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างภายในทางลอดติดตั้งกับเพดานทางลอด (Underpass)ติดตั้งกับผนังทั้งสองด้าน ติดตั้งระบบดับเพลิง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง และไฟสัญญาณจราจรบริเวณทางแยก และถนนโดยรอบ การก่อสร้างจะดาเนินการก่อสร้างตามแนวเส้นทางสายหลักบนถนนทางหลวงหมายเลข 2(ถนนมิตรภาพ) โดยใช้เขตทางหลวงเดิม 60 เมตรในการก่อสร้าง มีรายละเอียดดังนี้ทางหลวงโครงการระยะทางรวม 1,750 เมตร ภายในทางลอด (Underpass) มีช่องจราจรจานวน 6 ช่องจราจร (ไป – กลับ ข้างละ 3 ช่องจราจร)ความกว้างช่องจราจรช่องละ 3.50 เมตร รูปแบบเกาะกลางกั้นด้วยแท่งปูน (Median Barrier) ขอบทางกว้าง 1.50 เมตร ความสูงช่องลอด 5.50 เมตร
ก รมทางหลวง จึงว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา อันประกอบด้วย บริษัท เทสโก้ จากัด และบริษัทธารา ไลน์ จากัด ดาเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข2(ถนนมิตรภาพ) กับถนนเทศบาลหรือถนนช้างเผือก (แยกประโดก) จังหวัดนครราชสีมาทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึง องค์กรเอกชน ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนทั่วไปที่สนใจในโครงการ ได้มีส่วนร่วมรับทราบข้อมูลและแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง ในระหว่างการดาเนินการศึกษาเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง กรมทางหลวงจึงกำหนดให้มีการดาเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียต่อการพัฒนาโครงการ รวมถึงองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่สนใจได้รับทราบข้อมูล และมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นพร้อมให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่อาจจะเกิดจากการพัฒนาโครงการ