L R Tรถไฟฟ้าโคราชผ่านฉลุย!!! ทุกภาคส่วนร่วมใจ ได้เห็นแน่ปี 2568 #รถไฟฟ้ารางเบาโคราช


รฟม. จัดประชุมรับฟัดวามคิดเห็นของประชาชนออก ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาของโครงการ)งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว
(ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)

วันนี้ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2563) เวลา 09.00 น. นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาของโครงการ) งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน -สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) โดยภายในงานมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจรวมถึงสื่อมวลชนเข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน ณ ห้องสีมาธานี แกรนด์ บอลรูม โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาทั้งนี้ ได้รับเกียรติจกนายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาร่วมเป็นประธานพิธีเปิด

พร้อมด้วยนายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมาและคณะผู้บริหารสมาชิกสภาเทศบาลฯ โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งนี้


เป็นการนำเสนอผลการศึกษาแนวเส้นทาง สถานีรูปแบบโครงกร และผลกระทบสิ่แวดล้อม รวมทั้งมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบผลการศึกษา พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆเพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในลำดับต่อไปสำหรับผลการศึกษาโดยสรุปคือ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว(ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นประเภทระบบรถรางไฟฟ้า (Tram)มีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนถนน มีรูปแบบที่คล้ายกับรถไฟฟ้า MRT แต่มีขนาดเล็กกว่า รวมระยะทางประมาณ 11.15 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร 21 สถานี ได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1สถานีสามแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟสถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สถานีแยกประปาสถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา สถานีราชภัฏฯ สถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานีบ้านนารีสวัสดิ์สถานีชุมผลสถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งในและสถานีดับเพลิง
ในด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นกรณีมีการพัฒนาโครงการ ได้แก่ ผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ เสียงและความสั่นสะเทือน จกกิจกรรมในระยะก่อสร้างของโครงการ รวมทั้งปัญหาด้านการจราจรที่มีการรบกวนผิวจราจรปัจจุบัน ซึ่งโครงการได้มีการพิจารณาและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยจัดให้มีมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบอย่างเต็มที่ อาทิ ฉีดพรมน้ำในบริเวณที่อาจเกิดฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย กำหนดช่วงเวลาที่อนุญาตให้มีกิจกรมก่อสร้างที่ก่อให้เกิดเสียงดังผิดปกติเฉพาะช่วงเวลา 08.00 -17.00 น. ทั้งนี้ หากมีกิกรรมกรก่อสร้างที่ก่อให้เกิดเสียงที่มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการนอกช่วงเวลาดังกล่าว จะต้องมีการประกาศแจ้งให้สรรณชนทราบล่วงหน้า รวมถึงควบคุม/จำกัดความเร็ว และตรวจสอบน้ำหนักบรรทุกของรถบรรทุกให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และมีการจัดเตรียมแผนการจัดการจราจรให้สอดคล้องกับแผนงานก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนฯ นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและเผยแพร่แผนการจัดการจราจรให้ประชาชนทั่วไปและผู้ใช้เส้นทางที่เกี่ยวข้องทราบข้อมูลอย่างทั่วถึงอีกทั้งกำหนดช่วงเวลาในการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ของโครงการ นอกช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าเย็นทั้งนี้ รฟม, ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้เป็นผู้ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัด

นครราชสีมา ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) โดยให้ดำเนินกรก่อสร้าง ครั้งละ 1 เส้นทาง เริ่มจากสายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ เป็นลำดับแรก ซึ่งจะดำเนินการต่อเนื่องจากจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาของโครงการ) โดย รฟม, จะจัดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชน และ/หรือ องค์กรครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) ครั้งที่ 1 ในวันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2563 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องสีมาธานี แกรนด์ บอลรูม โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา และครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 – 12.00 น.ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบความสนใจจากภาคเอกชน นักลงทุน ตัวแทนผู้ผลิต/จำหน่ายรถไฟฟ้าและงานระบบที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจกสถานทูตประเทศต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานราชการส่วนกลาง และสถานบันการเงิน ซึ่งจะนำไปประกอบในการจัดทำแนวทางการร่วมลงทุนของโครงการต่อไป
สำหรับโครงการระบุบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว นับเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี โดยเริ่มงานก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2565 และสมารถเปิดให้บริการ พ.ศ. 2568 ทั้งนี้เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนนจึงช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจกการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้อีกด้วย