อุทิศส่วนกุศลแด่นักข่าว และ พิธีมอบโล่เชิดชูแก่ผู้ทำความดีต่อสังคม

5 มีนาคม “วันนักข่าว” สมาคมนักข่าวนครราชสีมา

.

นายไพฑูรย์ มนุญพงศ์พันธ์ นายกสมาคมนักข่าวนครราชสีมา พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมกันสักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และถวายภัตาหาร อุทิศส่วนกุศลแด่นักข่าวผู้ล่วงลับไปแล้ว เนื่องใน “วันนักข่าว 5 มีนาคม”

.

นอกจากนี้ ได้จัดพิธีมอบโล่เชิดชู แก่ผู้ทำความดีต่อสังคม พร้อมมอบโล่ห์ให้กับผู้สนับสนุนการจัดงานประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์โคราชเพื่อ

.

พร้อมมีการจัดการประกวดร้องเพลง ชิงถ้วยรางวัล เจ้านายวิเชียร จันทรโรทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย

พิธีเปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4

สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป”

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.  ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การจัดกิจกรรมเปิดตัว ก้าวท้าใจ Season 4 (Kick off ก้าวท้าใจ Season 4)โดย นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวเปิดพร้อมด้วยแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงาน และผู้บริหารจากองค์กรและหน่วยงานเครือข่ายสุขภาพทุกท่าน หัวหน้ากลุ่มงาน และบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาทุกคน

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธาน ในพิธีเปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป” ในวันนี้ กระผมขอขอบคุณคณะผู้จัดกิจกรรม ทีมวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจให้เกิดกิจกรรมดีๆเช่นนี้  และ ขอขอบพระคุณ ผู้บริหารจากองค์กรเครือข่ายที่เข้าร่วมการลงนาม เพื่อสร้างความร่วมมือ ในการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ได้แก่

– ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๖

– นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก

– คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

– คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,

– และ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ 

จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลโดยตรงกับการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่ลดลงของคนไทย โดยกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพประชาชน โดยการส่งเสริมการออกกำลังกายรูปแบบใหม่ ผ่านโครงการก้าวท้าใจ โดยนำเทคโนโลยีมาเพิ่มการเข้าถึงระบบสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดความรอบรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นของก้าวท้าใจคือ ส่งผลออกกำลังกายได้ทุกที่ ทุกเวลา เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย มีการประเมินค่าดัชนีมวลกาย การส่งผลการออกกำลังกายที่หลากหลาย การออกกำลังกายทุกครั้งจะเปลี่ยนเป็นแคลอรี่ เพื่อสะสมในรูปของแต้มสุขภาพเพื่อนำไปแลกของรางวัลต่างๆ กระผมขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมเป็นสมาชิก ก้าวท้าใจ Season 4 และหวังไว้อย่างยิ่งว่า หน่วยงานของเราจะร่วมมือกันขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้แก่บุคลากรและเครือข่าย สู่การมี สุขภาวะที่ดีต่อไป

ด้านแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่าวันนี้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “พิชิต 100 วัน 100 แต้มสุขภาพ” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่บุคลากรภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการออกกำลังกาย พร้อมกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้จากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์  ด้วยการสะสมแต้มสุขภาพแลกของรางวัล จากการออกกำลังกาย และสร้างความรอบรู้ ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ก้าวท้าใจ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม2565 ในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัว ก้าวท้าใจ Season 4 จำนวน 80 คน ทั้งนี้ กิจกรรมในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ตามโครงการ “ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป”, การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านแอปพลิเคชั่น H4U รวมถึงการออกกำลังกายในแบบวิถีถัดไป 

 พิธีเปิดตัวกิจกรรม ก้าวท้าใจ Season 4 จังหวัดนครราชสีมาในวันนี้     สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในหน่วยงานเครือข่าย ภายใต้แนวทาง “การสร้างเสริมสุขภาพ ในองค์กร” โดยมีเครือข่ายที่ให้เกียรติเข้าร่วมลงนามเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ดังนี้

 1.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6       

2.องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน                                                 

  3.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา                                               

4.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล                                                    

5.โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์

‘Miss Grand Nakhonratchasima 2022’

เดอะมอลล์โคราชขอแสดงความยินดีกับน้องพราว “มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022”

กองประกวดมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ร่วมกับพันธมิตร ผู้สนับสนุน และเดอะมอลล์โคราช จัดการประกวด ‘Miss Grand Nakhonratchasima 2022’ ในวันที่ 19 ก.พ.2565 เวลา 15.00 น. ที่วาไรตี้ฮอลล์ ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช โดยได้รับเกียรติจาก คุณสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคุณณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา และคุณชินาพัฒน์ พิมพ์ศรีแก้ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด และแขกผู้มีเกียรติ กองเชียร์เหล่าสาวงามร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ผู้เข้าร่วมงานทุกคนตรวจ atk ก่อนเข้างานและปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยโรคระบาดโควิค-19 อย่างเคร่งครัด

สำหรับมงกุฎมิสแกรนด์นครราชสีมาปีนี้สร้างขึ้นด้วยอัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครราชสีมา คือ รูปท้าวสุรนารี มียอดมงกุฏเป็นเพชรรูปอัคคีสีแดงเพลิง ช่อใบมะกอก อันหมายถึง ชัยชนะ รายล้อมด้วยประตู 4 ด้าน ได้แก่ ประตูพลแสน ประตูพลล้าน ประตูไชยณรงค์และประตูชุมพล ด้านหลังของมงกุฏทำเป็นรูปหน้ากากอนามัยเพชรสื่อถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน

พร้อมเปิดตัวชุดประจำจังหวัดนครราชสีมา ‘ชุดนกกระเรียน’ เพื่ออนุรักษ์นกกระเรียนที่เคยมีอยู่มากในจังหวัดนครราชสีมาและใกล้สูญพันธุ์ในปัจจุบัน ชุดนกกระเรียนนี้ สาวงามมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 จะได้สวมใส่เพื่อประกวดบนเวทีใหญ่ มิสแกรนด์ไทยแลนด์2022

โดยการประกวดเฟ้นหาสาวงามเป็นตัวแทนสาวงามจากจังหวัดนครราชสีมาไปประกวดรอบชิงชนะเลิศบนเวทีใหญ่ ‘Miss Grand Thailand 2022’ ในเดือน เมษายน 2565 นั้น ผู้เข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศ มิสแกรนด์นครราชสีมา2022 ในครั้งนี้มีผู้เข้ารอบการประกวดทั้งสิ้น 9 คน แบ่งเป็นรอบชุดราตรีและตอบคำถาม

ผู้เข้าประกวดที่ได้รับรางวัล Popular Voted และ Miss Social Media ได้แก่ หมายเลข 11 น.ส.กันต์ฤทัย บุญภูมิ (น้องอ๋อมแอ๋ม) อายุ 20 ปี จากนครราชสีมา

ผู้ที่ได้ครอบครองมงกุฎตำแหน่งมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 และสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 30,000 และเป็นตัวแทนสาวงามจากจังหวัดนครราชสีมาไปประกวดต่อระดับประเทศ ได้แก่ หมายเลข 2 น.ส.ณัฐฐา ศิริชัยวงศ์สกุล (น้องพราว) อายุ 25 ปี จากจ.นครราชสีมา และยังได้รับรางวัล Best In Swimsuit และ Miss Beauty by The Mall Korat อีกด้วย

ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 1 มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ได้รับสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท ได้แก่ หมายเลข 4 น.ส.อัญมณี ขัติยนนท์ (น้องแบม) อายุ 21 ปี จาก จ.สมุทรปราการ

ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ได้รับสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท ได้แก่ หมายเลข 12 น.ส.จรภิญญา วงษ์พรมมา (น้องจอย) อายุ 24 ปี จาก จ.นครราชสีมา

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” ในวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ณ วาไรตี้ ฮอลล์ (หน้า MCC HALL) ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก”

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานว่า “จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2536 – 2564 มีเด็กเกิดใหม่ลดลงจาก 900,000 คนถึง 1,000,000 คน ลดลงเหลือ 544,000 คน ในปี 2564 และปี 2556-2557 หญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้มีผลต่อสุขภาพ เช่น เวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ความพิการแต่กำเนิด หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบนโยบายวิวาห์สร้างชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากร

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดงานว่า “
จากคำกล่าวรายงานของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การขับเคลื่อน การดำเนินงาน วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) เพื่อส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีความพร้อมในการมีบุตร มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ โดยการส่งเสริมให้มีโภชนาการที่ดี และเสริมด้วยวิตามินธาตุเหล็กและโฟลิก อันจะส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนการเกิดเพื่อทดแทนจำนวนประชากร และการเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน และทารกเกิดแข็งแรง พร้อมเติบโตอย่างมีคุณภาพ ลดความพิการแต่กำเนิด เด็กมีพัฒนาการสมวัย สามารถเจริญเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป และการประชุมครั้งนี้จะได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายให้เกิดขึ้นจริงในจังหวัดนครราชสีมาจากทุกภาคส่วน ตามนโยบายส่งเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป ผมขอแสดงความชื่นชม ที่ได้เห็นทุกภาคส่วน ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานและร่วมประชุมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดียิ่ง”

ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประชุมที่ปรึกษา คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม จ.นครราชสีมาและเครือข่าย…..

วันที่ ๑๑ กุมกาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓ 00-๑๕.00 น.ณ ห้องประชุม สนง.การท่องเทียวและกีฬาจังหวัดนครราชสิมา โดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมงาน ก่อนหน้านั้นนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาในการเปิดประชุมวาระ1/2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ


๑.๑ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียรจันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมประชุม
๑.๒ ชมวีดีทัศน์ สรุปผลการดาเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๘
๑.๓ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
มอบเข็มเชิญชูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศ
กล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภา
วัฒนธรรมชุดใหม่
มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อทราบ
๓.๑ ด้วยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้อนุมัติโครงการเพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ จานวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการผลิตสื่อออนไลน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเอง จานวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท
โครงการเล่าขายประวัติศาสตร์นครราชสีมา ผ่านนามสกุลคนโคราชจำนวนเงิน ๒๑๐,๐๐๐ บาท
โครงการหมู่บ้านพืชผักสวนครัวเกษตรอินทรีย์ ๕ ดี วิถีคนโคราชจำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งสภาวัฒนธรรมได้ดาเนินการไปแล้วทั้ง ๓ โครงการ พร้อมทั้งรายงานผลการดาเนินงานโครงการไปยังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมทั้ง ๓ โครงการ และในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ กรมส่งเสริมได้อนุมัติโครงการให้สภาวัฒนธรรม
ดำเนินโครงการ ๑ โครงการ ได้แก่ โครงการ จัดทาชุดองค์ความรู้วิถีคนโคราช “กิ๋นเป็นยา” เพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (นำเสนอโดยเลขาสภาวัฒนธรรม)
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
๔.๑ การแต่งตั้งที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘
๔.๒ การแต่งตั้งประธานกลุ่มอาเภอ โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
แบ่งเป็น ๖ กลุ่มอาเภอ ดังนี้
กลุ่มที่ ๑. ๖ อาเภอ ได้แก่ เมืองนครราชสีมา, สีคิ้ว,สูงเนิน,ปากช่อง,เฉลิมพระเกียรติ,ขามทะเลสอ
กลุ่มที่ ๒. ๕ อาเภอ ได้แก่ โชคชัย,ปักธงชัย,วังน้าเขียว,ครบุรี,เสิงสาง
กลุ่มที่ ๓. ๖ อาเภอ ได้แก่ พิมาย,ชุมพวง,โนนแดง,ประทาย,ลาทะเมนชัย,เมืองยาง
กลุ่มที่ ๔. ๕ อาเภอ ได้แก่ โนนสูง,จักราช,ห้วยแถลง,หนองบุญมาก,โนนไทย
กลุ่มที่ ๕. ๔ อาเภอ ได้แก่ ด่านขุนทด,เทพารักษ์,พระทองคา,ขามสะแกแสง
กลุ่มที่ ๖. ๖ อาเภอ ได้แก่ บัวใหญ่,บัวลาย,สีดา,แก้งสนามนาง,คง,บ้านเหลื่อม
๔.๓ การมอบหมายคณะทางานตามโครงสร้างสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕
๔.๔ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาตามบทบาท
หน้าที่และภาระงานของสภาวัฒนธรรม
๔.๕ พิจารณาข้อบังคับของสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘

“ตรุษจีนโคราช” จอมพลถนนหัวมังกร 107 ปี

วันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา เวลา 17.30 น. ที่ลานโอเปร่า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี #นางยลดา  หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา ร่วมแถลงข่าวการจัดงานตรุษจีนโคราชจอมพลถนนหัวมังกร 107 ปี ถนนแห่ง

วัฒนธรรรม ปี 2565

โดยได้รับเกียรติจาก นายสมเกียรติ  วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานการแถลงข่าว พร้อมด้วย นายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีนคร นายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นายศักดิ์ชาย  ผลพานิชย์ ประธานหอการค้าจังหวัด และ นายธนาคม  วิมลวัตรเวที รักษาการรองกรรมการถนนจอมพลหัวมังกร ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน “ตรุษจีนโคราชจอมพลถนนหัวมังกร 107ปี แห่งถนนสายวัฒนธรรม ปี 2565 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2565 ณ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และ ถนนจอมพล

การจัดงานในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันของภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวไทยเชื้อสายจีน ในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้ อบจ.นครราชสีมา พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยว ประชาชน ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เดินทางมาเที่ยวงาน อะนเป็นเอกลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพราะทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวไทย ชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน

“เราต้องร่วมกันฟื้นฟูการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์การจัดงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับชาวจังหวัดนครราชสีมาต่อไป”

“ตรุษจีนโคราช” จอมพลถนนหัวมังกร 107 ปี

วันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา เวลา 17.30 น. ที่ลานโอเปร่า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี #นางยลดา  หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา ร่วมแถลงข่าวการจัดงานตรุษจีนโคราชจอมพลถนนหัวมังกร 107 ปี ถนนแห่ง

วัฒนธรรรม ปี 2565

โดยได้รับเกียรติจาก นายสมเกียรติ  วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานการแถลงข่าว พร้อมด้วย นายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีนคร นายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นายศักดิ์ชาย  ผลพานิชย์ ประธานหอการค้าจังหวัด และ นายธนาคม  วิมลวัตรเวที รักษาการรองกรรมการถนนจอมพลหัวมังกร ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน “ตรุษจีนโคราชจอมพลถนนหัวมังกร 107ปี แห่งถนนสายวัฒนธรรม ปี 2565 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2565 ณ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และ ถนนจอมพล

การจัดงานในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันของภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวไทยเชื้อสายจีน ในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้ อบจ.นครราชสีมา พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยว ประชาชน ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เดินทางมาเที่ยวงาน อะนเป็นเอกลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพราะทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวไทย ชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน

“เราต้องร่วมกันฟื้นฟูการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์การจัดงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับชาวจังหวัดนครราชสีมาต่อไป”

มทร.อีสาน ขับเคลื่อนยกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม

มทร.อีสาน ขับเคลื่อนยกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม วิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ เร่งเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ได้จัดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยได้รับเกียรติจาก รศ. (พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะผู้แทน รมว.อว. เป็นประธานกล่าวให้โอวาท และกล่าวปิดโครงการฯ โดยมี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ,ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการฯ ,ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ร่วมพิธีเปิด

รศ. (พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายจากท่าน ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  ให้มาเป็นประธาน และกล่าวปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรม ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  ภาคเหนือ ในวันนี้

ตามที่คณะทำงานโครงการอบรมฯ โดยการนำของ ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ และคณะวิทยากร ได้ดำเนินการจัดให้มีการอบรมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 6 ภาค ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมานั้น ทำให้พี่น้องวิสาหกิจชุมชนทั้ง 2574 กลุ่ม ได้มีการยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ทั้ง 6 ด้าน ครอบคลุมทั้งด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคติดเชื้อโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน

หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการยังจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปเป็นทุนตั้งต้น เพื่อต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน  ซึ่งการอบรมในครั้งนี้เป็นเพียงห้วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ท่านทั้งหลายควรนำสิ่งที่คณะวิทยากรได้ให้ในการอบรมในครั้งนี้ ไปประยุกต์ปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มความสามารถ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

“กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จะเป็นที่ปรึกษาและเป็นกำลังใจในการดำเนินงานของท่าน  ในการที่จะฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรค ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ขอชื่นชมและขอบคุณ คณะทำงานโครงการฯ และคณะวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน พิษณุโลก ที่ได้เอื้อเฟื้อให้การสนับสนุนสถานที่ในการจัดการอบรมในครั้งนี้”

ด้าน ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นอีกประมาณ 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

โครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพเกษตรกรรม

มทร.อีสาน เดินหน้ายกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม วิสาหกิจชุมชนภาคใต้ 14 จังหวัด เยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ได้จัดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ระหว่างวันที่ 21 – 30 ธันวาคม 2564 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการฯ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ โดยมี นายชัยวุฒิ ครุฑมาศ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ 14 จังหวัด ร่วมพิธีเปิด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นอีกประมาณ 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

ด้าน นายทวี ประหยัด ในฐานะผู้ประสานงานโครงการฯ ภาคใต้ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ ได้เข้าร่วมอบรมยกระดับอาชีพในครั้งนี้ รวม 300 กลุ่ม จาก 14 จังหวัด ระหว่างวันที่ 21 – 30 ธันวาคม 2564 โดยแบ่งกลุ่มเข้าอบรมยกระดับอาชีพ 6ด้าน ได้แก่ ด้านปศุสัตว์ (การเลี้ยงเป็ดไข่ และไก่พื้นเมือง) ,ด้านประมง ((การเลี้ยงปลาหมอไทย และปลาดุก) ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP (สบู่,ยาสีฟัน,ครีมคลายเส้น และไข่เค็ม) ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ (เห็ดนางรม และเห็ดเยื่อไผ่) ,หมอดิน New Normal (ปุ๋ยชีวภาพ แบบน้ำ และแบบแห้ง) และพืชสมุนไพร (ตำรับยาจันทลีลา และตำรับยาอภัยสาลี)

นายทวี ประหยัด กล่าวต่ออีกว่า ขอขอบคุณ มทร.อีสาน โดยเฉพาะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ ที่เปิดโอกาสให้พี่น้องวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ ได้มาเข้าอบรมเพื่อยกระดับอาชีพเกษตรกรในครั้งนี้ ซึ่งเดิมที่ต่างคนก็ทำอาชีพอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติของกลุ่ม แต่ขาดปัจจัยสนับสนุน ในวันนี้ มทร.อีสาน ได้ให้ความสำคัญในการฝึกทักษะอาชีพให้กับพี่น้องวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด เพื่อต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในโอกาสหน้าจะได้รับความเมตตาจากคณะรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้มีอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

ธนาคารที่ดิน โชว์โมเดลบริหารช่วย เกษตรกรชาวโคราช

บจธ. ชูโมเดลบริหารจัดการที่ดินโคราช ผลักดันกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินอย่างยั่งยืน เกษตรกรโคราชขอบคุณลุงป้อม หลังสั่ง บจธ. ดูแลช่วยเหลือสมาชิกเกษตรกรทุกพื้นที่ พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนกฎหมายการจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อให้แก้ปัญหาที่ดินอย่างยั่งยืน

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2564 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. ได้จัดการแถลงข่าว ณ โรงแรม The Imperial Hotel & Convention Centre Korat ถ. สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนเพื่อยืนยันถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานที่ถาวรภายใต้ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. …. ซึ่งคาดว่าจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือนมกราคม 2565  เป็นที่มาของจัดงาน  “บจธ. มอบที่ดินทำกิน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ในวันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 โดยมี พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยพิธีมอบสิทธิในที่ดินตามโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ของ บจธ. จัดขึ้น ณ วิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เพื่อแสดงให้เห็นความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาที่ดินและการบริหารจัดการที่ดินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่เป็นรูปธรรม โดยมีเกษตรกรทั้งที่ได้รับสิทธิในที่ดินแล้ว และที่อยู่ระหว่างขอความช่วยเหลือเข้าร่วมงานประมาณ 300 คน

นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนายการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน เปิดเผยว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บจธ. ได้มุ่งมั่น ลดความเหลื่อมล้ำเรื่องที่ดินทำกิน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางให้เกษตรกรในการทำการเกษตร ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และพัฒนาศักยภาพให้เกษตรกร บจธ. มีภารกิจที่สำคัญในการจัดหาและพัฒนาที่ดิน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพี่น้องเกษตรกรและชุมชน ให้พึ่งพาตัวเองได้”  “ปัจจุบัน บจธ. ได้ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ไปแล้ว 11 พื้นที่ และสหกรณ์การเกษตร 1 พื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 5 ภาค ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ เนื้อที่รวม 1,234 –2-17.7 ไร่ จำนวน 482 ครัวเรือน และยังมีโครวการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินไปแล้ว 387 ราย โครงการนำร่องธนาคารที่ดินในพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน เนื้อที่ 741-3-91.5 ไร่ จำนวนเกษตรกร 500 ครัวเรือน โดยทุกชุมชนมีผลการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นที่น่าชื่นชมมาก เกษตรกรทุกพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลังจากได้ติดตามรับฟังเสียงพี่น้องและบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทุกคนต้องการให้ บจธ. แก้ปัญหาให้ทั่วประเทศ และพร้อมสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฯ ให้จัดตั้งหน่วยงาน เพื่อให้แก้ปัญหาการเข้าถึงที่ดินได้ที่รวดเร็วและต่อเนื่อง” นายกุลพัชรกล่าว

 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีวัตถุประสงค์ในการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและยั่งยืน และมีการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสม โดย บจธ. ดำเนินงานผ่าน 4 โครงการหลัก กล่าวคือ โครงการนำร่องธนาคารที่ดิน โครงการต้นแบบการบริหารจัดการที่ดินแบบครบวงจร โครงการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน และโครงการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาด้านที่ดินจากการดำเนินนโยบายของรัฐ อันเป็นกลไกของรัฐในการบริหารจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและผู้ยากจน

ลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องที่ดินทำกินของประเทศ ตลอดจนให้เกษตรกรมีความมั่นคงในการมีที่ดินทำกิน ป้องกันและแก้ไขปัญหาสูญเสียสิทธิในดินทำกินของเกษตรกร รักษาที่ดินเกษตรกรรม และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มศักยภาพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และอีกหนึ่งภารกิจสำคัญคือการผลักดันการจัดตั้งธนาคารที่ดินหรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ลักษณะทำนองเดียวกันกับธนาคารที่ดิน ตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ.2554  และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา 43 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 และแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมให้กระทรวงการคลังและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งธนาคารที่ดินหรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารที่ดินต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ซึ่ง บจธ. ได้ยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. …. ขึ้น เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงภารกิจของ บจธ. ทั้ง 4 โครงการหลักดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมาจากการปฏิบัติงานจริงของ บจธ. ซึ่งได้ถูกขัดเกลาด้วยการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม โดยมีการปรับรูปแบบและอำนาจหน้าที่ให้มีความเหมาะสมและสะท้อนถึงการแก้ไขปัญหาโดยยึดมิติทางสังคมเป็นหลักไม่ใช่มิติด้านการเงินการธนาคารอย่างที่ผ่านมา

ในการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. …. บจธ. ได้ดำเนินการโดยนำข้อมูลการปฏิบัติงานในโครงการต่างๆ มาวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลเพื่อยกร่างกฎหมายที่มีความเหมาะสมกับภารกิจในการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนตามบริบทของประเทศไทย และในขณะยกร่างคณะอนุกรรมการที่ดำเนินการได้ลงพื้นที่การปฏิบัติการจริงของ บจธ. ที่จังหวัดเชียงรายเพื่อเก็บข้อมูลประกอบการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย โดยในขณะนี้ขั้นตอนการเสนอ

ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจอยู่ในระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน มกราคม 2565  ซึ่ง บจธ. ในฐานะที่มีหน้าที่ต้องผลักดันร่างกฎหมายเพื่อให้เกิดการจัดตั้งธนาคารที่ดินหรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกันกับธนาคารที่ดิน จึงได้จัดเวทีเสวนา  “ย้อนเรื่องราวความหลัง ความฝัน และความจริง สู่ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. ….  ”ณ วิสาหกิจชุมชนไร่นาส่วนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา  ในวันที่ 26 ธันวาคม 2564 ระหว่างเวลา 15.00 น.- 16.30 น. เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่เกษตรกร   สื่อมวลชน บุคคลทั่วไป หน่วยงานในพื้นที่ และ บจธ. ได้ชวนคิดชวนคุยถึงร่างกฎหมายจากโมเดลสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่พิมาย จากนั้นร่วมชมวีดิทัศน์ เกี่ยวกับนโยบายและบทบาทภารกิจของธนาคารที่ดินหรือองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในลักษณะทํานองเดียวกันกับธนาคารที่ดิน และ บจธ. เพื่อสร้างความรับรู้ และสร้างภาคีความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน สื่อมวลชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้การดำเนินการในการพิจารณาร่างกฎหมายสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

โดยหนึ่งในโครงการที่ บจธ. ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการที่ดินที่สอดคล้องกับร่างกฎหมายดังกล่าว คือ โครงการต้นแบบการบริหารจัดการที่ดินแบบครบวงจร ที่เกษตรกรรวมกลุ่มกันยื่นขอความช่วยเหลือ จากนั้น บจธ.จึงเริ่มต้นสำรวจข้อมูลที่ดิน ข้อมูลเกษตรกรผู้เดือดร้อนไม่มีที่ดินทำกิน ก่อนที่จะหาฉันทมติจากสมาชิกและเข้าไปซื้อที่ดินแปลงใหญ่  นำมาจัดสรรให้เกษตรกรและผู้ยากจนที่ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำเร็จเป็นรูปธรรมแล้ว คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีเกษตรกรและผู้ยากจนที่ได้รับความช่วยเหลือจำนวน 45 ครัวเรือน สมาชิกบางส่วนเป็นผู้ไร้ที่ดินทำกิน บางส่วนถูกเจ้าของที่ดินบอกเลิกเช่า และบางส่วนได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายภาครัฐในการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ เส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย และกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการทวงคืนผืนป่า สมาชิกจึงได้มีการรวมกลุ่มกันและยื่นหนังสือขอรับความช่วยเหลือจาก บจธ. ต่อมา บจธ. ได้มีการจัดซื้อที่ดินโดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของ บจธ. เนื้อที่ 150-0-17 ไร่ และได้มีการทำสัญญาเช่ากับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้กลุ่มเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งการวางแผนการดำเนินงาน การบริหารจัดการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม จนยกระดับเป็นโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเช่าซื้อตามหลักเกณฑ์ของ บจธ. ต่อไป ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ได้มีการจัดสรรแบ่งแปลงให้เกษตรกรเข้าไปใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ มีการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี สมาชิกมีความเข้มแข็ง ให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้เต็มศักยภาพ พื้นที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินงาน และมีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่จนเกิดผลผลิตและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้ ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบ หรือตัวอย่างความสำเร็จ (Best Practice) ของการดำเนินงานของ บจธ.

และช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2564 พล.ต.อ. เฉลิมเกียรติ  ศรีวรขาน ประธานกรรมการ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บจธ. ได้ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ไปแล้ว 11 พื้นที่ และสหกรณ์การเกษตร 1 พื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 5 ภาค ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ เนื้อที่รวม 1,234 – 2 -17.7 ไร่ จำนวน 482 ครัวเรือน และยังมีโครวการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินไปแล้ว 387 ราย โครงการนำร่องธนาคารที่ดินในพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน เนื้อที่ 741-3-91.5 ไร่ จำนวนเกษตรกร 500 ครัวเรือน ภายใต้การกำกับดูแลของ พลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่มีความห่วงใยเกษตรกรและผู้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินทั่วประเทศ โดยได้สั่งการให้ บจธ. ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และจัดหาตลาดนัดชุมชนให้แก่ทุกวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการของ บจธ. โดยปัจจุบันทุกชุมชนมีผลการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นที่น่าชื่นชมมาก เกษตรกรทุกพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลังจากได้ติดตามรับฟังเสียงพี่น้องและบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทุกคนต้องการให้ บจธ. แก้ปัญหาให้ทั่วประเทศ และพร้อมสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบัน บริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. ….

ให้จัดตั้งหน่วยงาน เพื่อให้แก้ปัญหาการเข้าถึงที่ดินได้ที่รวดเร็วและต่อเนื่องยิ่งขึ้น

นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนายการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน  เปิดเผยว่า ปัจจุบัน หลังจากที่ บจธ. ได้สนับสนุนที่ดินทำกินให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์การเกษตร อบรมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการทุกคน เพื่อให้กลุ่มมีระบบบริหารจัดการกลุ่มที่เข้มแข็ง โดยดำเนินการจัดหาที่ดินด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามที่กลุ่มร้องขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดจำหน่าย และประสานการจัดตลาดนัดชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพียงพอในช่วงการระบาดโควิท-19 ผ่านระยะเวลามาเพียง 1 ปี มีผลตอบรับที่ดี ทั้ง ทุกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการของ บจธ. สามารถสร้างรายได้รายครัวเรือนจากผลผลิตที่ปลูกในชุมชนได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 6,000-10,000 บาท/ครัวเรือน กลุ่มสามารถผ่อนชำระค่าเช่าของ บจธ. ได้อย่างสบาย ส่งผลให้ให้สมาชิกในชุมชนสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในช่วงของภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ โดยในวันนี้ บจธ. ได้จัดกิจกรรมเวทีเสวนา ย้อนเรื่องราวความหลังความฝันและความจริงสู่ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครอ

สสส. สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ต้นแบบ เยาวชน 4 ภูมิภาค เป็นผู้นำเครือข่ายสื่อออนไลน์ท้องถิ่น หวังดึงพลังเยาวชนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

สสส. สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ต้นแบบ เยาวชน 4 ภูมิภาค เป็นผู้นำเครือข่ายสื่อออนไลน์ท้องถิ่น หวังดึงพลังเยาวชนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

เยาวชน 4 ภูมิภาค ร่วมผลิตสื่อสร้างสรรค์ หวังดึงพลังเด็กและเยาวชนสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู้สังคม และพัฒนาเป็นผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่นและชุมชน ด้วยต้นแบบหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ

วันที่ 20-21 ธันวาคม 2564 ที่ โรงแรม ทีเคพาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กทม. โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่น และชุมชนด้วยต้นแบบ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ ขึ้นเพื่อพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ทั้งยังหวังดึงพลังเด็กและเยาวชนสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู้สังคมต่อไป

นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กล่าวว่า การพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเกิดขึ้นปีที่ 6 ภายใต้โครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่นและชุมชนด้วยต้นแบบหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ” โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีเครือข่ายเข้าร่วมเพื่อเป็นต้นแบบในการทำงาน ครอบคลุมใน 4 ภูมิภาค อาทิ ภาคอีสาน โดย พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ จากไทยเสรีนิวส์, ภาคเหนือ โดยคุณชัยวัฒน์ จันทิมา จากพะเยาทีวี, ภาคใต้ โดยคุณภูวสิษฏ์ สุกใส จากสงขลาโฟกัส และภาคกลาง โดยคุณสืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากกลุ่มพลังแห่งต้นกล้า ที่ได้นำทัพเด็กและเยาวชนในภูมิภาคนั้นๆ มาร่วมโครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่น และชุมชนด้วยต้นแบบ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ จำนวนกว่า 80 คน

ได้มาเรียนรู้การทำงานก่อนลงไปสร้างสรรค์สื่อจริง ด้วยหลักสูตรใหม่ที่ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ได้จริงกับการทำงาน อย่าง 1. ดิจิทัลพลิกโลก (Digital Disruption) 2. การสื่อสารสุขภาวะ (Community for Health) 3. รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy : MIDL) 4. กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสาร  5. การสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำแผนชุมชน 6.ความคิดสร้างสรรค์และการเล่าเรื่อง 7.การออกแบบและผลิตสื่อ 8.การสื่อสารและการจัดการภาวะวิกฤต 9.การสื่อสารเพื่อการฟื้นฟูและเยี่ยวยา 10.การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ 11.การต่อยอดเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ 12.การประเมินผลและการถอดบทเรียนออนไลน์ และ 13.การออกแบบและผลิตสื่อ 2

“ในการสร้างสรรค์สื่อในครั้งนี้เพื่อเป็นการสื่อสารไปยังสังคมได้แพร่หลายมากขึ้นจึงมีการเน้นให้มีการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อาทิ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube, Tiktok หรืออื่นๆ ตามที่นำเสนอภายใต้ประเด็นที่กำหนดอย่าง 1.รองรับสังคมผู้สูงวัย 2.ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ 3.ทักษะรู้เท่าทันสื่อและความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5.อัตลักษณ์ – ความดี – คนดีของสังคม ซึ่งสามารถติดตามผลงานของเยาวชนทั้งหมดในครั้งนี้ได้ที่ www.artculture4health.com/mass ครับ”  นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว

ด้าน พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ บรรณาธิการบริหารไทยเสรีนิวส์ กล่าวว่า สำหรับภาคอีสานในปีนี้ได้ส่งเยาวชนเข้าร่วมเพื่อสร้างสรรค์สื่อในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น จำนวน 6 ทีม โดยมีเยาวชนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 3 ทีม อาทิ ทีมพี่เอง, ทีมลูกหล่า และทีมหนุ่มชุมชน ส่วนจากจังหวัดมหาสารคาม โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 3 ทีม อาทิ ทีมนาตาชาโรมานอฟ, ทีมเป็นกำลังจั๊ย และทีม My Navis We love You โดยทั้ง 6 ทีมนี้ จะมีการนำเสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่จะเปิดตัวขึ้นต้นปี 2565 และแน่นอนว่าผลงานทั้งหมดจะมีการเผยแพร่ที่ เวปไซค์และเพจไทยเสรีนิวส์ ด้วย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามทุกๆ ผลงานได้เร็วๆ นี้แน่นอน

“นอกจาก 6 ทีม ของภาคอีสานแล้ว ยังมีผลงานของเยาวชนในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ในภาคอื่นๆ เผยแพร่ออกมาด้วย แน่นอนว่าทุกๆ ผลงานจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคมเพื่อนำมาสู่การขับเคลื่อนให้เกิดแนวทางในการสร้างสรรค์กลุ่มนักสื่อสารมวลชนที่จะเป็นพลังในการสร้างรากฐานของการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนสังคม และประเทศชาติต่อไปได้อย่างแน่นอน จะเป็นอย่างไรติดตามได้ต้นปี 2565 นี้” พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ กล่าว