อบจ.โคราชลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กับ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง

อบจ.โคราชลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กับ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมาโดยดร.ยลดา  หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมากล่าวด้านการส่งเสริมสนับสนุน และ นายธีระ  เอื้ออภิธร นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกล่าวนโยบายด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังคุณภาพในรูปแบบต่างๆ ลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคและแมลงศัตรูมันสำปะหลัง เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและประชาชนในเขตจังหวัดนครราชสีมา สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตมันสำปะหลังได้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ อบจ.จะดำเนินการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เสริมสร้างความรู้ และสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการผลิต การป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคและแมลงศัตรูมันสำปะหลัง รวมถึงสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาด หรือ การเข้าถึงข้อมูลแหล่งทุน นำไปสู่ความร่วมมือในการส่งเสริมและไขปัญหาแบบบูรณาการ ภายใต้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตมันสำปะหลังได้อย่างเหมาะสมเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร MOU ฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่มีการลงนาม โดยมี นายกมลศักดิ์  เกษเมธีการุณ รองนายก อบจ., นายภาสกร  สุรมูล เลขาธิการสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ , ผศ.ดร.ฐิติพร มะชิโกว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ นางมณธิรา ไทรน้อย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 ร่วมเป็นสักขีพยานอีกด้วย

ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประชุมที่ปรึกษา คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม จ.นครราชสีมาและเครือข่าย…..

วันที่ ๑๑ กุมกาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓ 00-๑๕.00 น.ณ ห้องประชุม สนง.การท่องเทียวและกีฬาจังหวัดนครราชสิมา โดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมงาน ก่อนหน้านั้นนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาในการเปิดประชุมวาระ1/2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ


๑.๑ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียรจันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมประชุม
๑.๒ ชมวีดีทัศน์ สรุปผลการดาเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๘
๑.๓ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
มอบเข็มเชิญชูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศ
กล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภา
วัฒนธรรมชุดใหม่
มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อทราบ
๓.๑ ด้วยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้อนุมัติโครงการเพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ จานวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการผลิตสื่อออนไลน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเอง จานวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท
โครงการเล่าขายประวัติศาสตร์นครราชสีมา ผ่านนามสกุลคนโคราชจำนวนเงิน ๒๑๐,๐๐๐ บาท
โครงการหมู่บ้านพืชผักสวนครัวเกษตรอินทรีย์ ๕ ดี วิถีคนโคราชจำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งสภาวัฒนธรรมได้ดาเนินการไปแล้วทั้ง ๓ โครงการ พร้อมทั้งรายงานผลการดาเนินงานโครงการไปยังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมทั้ง ๓ โครงการ และในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ กรมส่งเสริมได้อนุมัติโครงการให้สภาวัฒนธรรม
ดำเนินโครงการ ๑ โครงการ ได้แก่ โครงการ จัดทาชุดองค์ความรู้วิถีคนโคราช “กิ๋นเป็นยา” เพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (นำเสนอโดยเลขาสภาวัฒนธรรม)
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
๔.๑ การแต่งตั้งที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘
๔.๒ การแต่งตั้งประธานกลุ่มอาเภอ โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
แบ่งเป็น ๖ กลุ่มอาเภอ ดังนี้
กลุ่มที่ ๑. ๖ อาเภอ ได้แก่ เมืองนครราชสีมา, สีคิ้ว,สูงเนิน,ปากช่อง,เฉลิมพระเกียรติ,ขามทะเลสอ
กลุ่มที่ ๒. ๕ อาเภอ ได้แก่ โชคชัย,ปักธงชัย,วังน้าเขียว,ครบุรี,เสิงสาง
กลุ่มที่ ๓. ๖ อาเภอ ได้แก่ พิมาย,ชุมพวง,โนนแดง,ประทาย,ลาทะเมนชัย,เมืองยาง
กลุ่มที่ ๔. ๕ อาเภอ ได้แก่ โนนสูง,จักราช,ห้วยแถลง,หนองบุญมาก,โนนไทย
กลุ่มที่ ๕. ๔ อาเภอ ได้แก่ ด่านขุนทด,เทพารักษ์,พระทองคา,ขามสะแกแสง
กลุ่มที่ ๖. ๖ อาเภอ ได้แก่ บัวใหญ่,บัวลาย,สีดา,แก้งสนามนาง,คง,บ้านเหลื่อม
๔.๓ การมอบหมายคณะทางานตามโครงสร้างสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕
๔.๔ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาตามบทบาท
หน้าที่และภาระงานของสภาวัฒนธรรม
๔.๕ พิจารณาข้อบังคับของสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘

ผู้สมัครนายก… “กล้าคิดกล้าทำ กล้านำพัฒนา “ขวัญใจมวลชน

นาย อุดม สร้อยแสงพันธุ์ ผู้สมัครนายก… “กล้าคิดกล้าทำ กล้านำพัฒนา “ขวัญใจมวลชน อบต.พันชนะเปิดตัวทีมงานเบอร์ 3 เปิดตัวทีมงานบริหารทีมใหม่.  แสดงวิสัยทัศน์ พัฒนาท้องถิ่น นำเสนอผลงานที่ผ่านมา ลงชุมชนทุกหมู่บ้าน 11 หมู่ และชุมชนในพื้นที่อย่างเข้มแข็งกลุ่มพัฒนาก้าวหน้า เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ขอเสียงสนับสนุนเลือก

 นาย อุดม สร้อยแสงพันธุ์ จากผลงานอดีตประธานสภาอบต.พันชนะ และอดีตคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดนครราชสีมา ขอโอกาสพี่น้องตำบลพันชนะ คนรุ่นใหม่อาสาเป็นนักพัฒนารับใช้ พ่อแม่พี่น้องเสนอนโยบาย กลุ่มพัฒนาก้าวหน้า กล้าคิด กล้าทำกล้า นำพัฒนาขอเป็นนักอาสาเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้ชุมชน ชาวตำบลพันชนะเลือกเบอร์ 3 เพื่อเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะ ขอพ่อแม่พี่น้องชาวตำบลพันชนะ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ไปเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 เวลา 8:00 น ถึงเวลา 17.00 น

ผลิตสื่อทางอิเลคโทรนิคโดย…168 นิวส์ออนไลน์ นายโสภณวิชญ์ สงแจ้งเพจ168 นิวออนไลน์

กองทัพภาคที่ 2 จัดพิธีรับ – ส่งหน้าที่ แม่ทัพภาคที่ 2

กองทัพภาคที่ 2 จัดพิธีรับ – ส่งหน้าที่ แม่ทัพภาคที่ 2 ระหว่าง พลเอก ธเนศ วงศ์ชะอุ่ม รองเสนาธิการทหาร อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 กับ พลโท สวราชย์ แสงผล แม่ทัพภาคที่ 2 ท่านใหม่ โดยได้ลงนามในเอกสารรับ-ส่งหน้าที่ฯ ณ ห้องประชุม 1 อาคารกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 2
.
จากนั้นได้กระทำพิธีรับ – ส่งหน้าที่แม่ทัพภาคที่ 2 ณ ลานหน้าสโมสรร่วมเริงไชย ค่ายสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่ง พลเอก ธเนศฯ ได้กล่าวมอบหน้าที่และการบังคับบัญชา ส่งมอบธงประจำหน่วยให้กับ พลโท สวราชย์ฯ โดยมีหมู่ธงเกียรติยศ จากหน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 2 จำนวน 81 หมู่ธง และคณะข้าราชการกองทัพภาคที่ 2 พร้อมด้วยสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขากองทัพภาคที่ 2 ร่วมในพิธีฯ
.
พลเอก ธเนศฯ รองเสนาธิการทหาร กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทหารของชาติ นับเป็นเกียรติ และความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิต ที่ได้ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาของการทำงานรับใช้ประเทศชาติ และดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 มีความมุ่งมั่นในการทำให้กองทัพภาคที่ 2 มีความมั่นคง เข้มแข็ง มีเอกภาพ สามารถหยัดยืนอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรีเป็นสถาบันหลัก ที่พร้อมดูแลความมั่นคงปลอดภัยและแก้ไขปัญหาวิกฤติของชาติตลอดจนเป็นที่พึ่งพาของพี่น้องประชาชน ในทุกๆ สถานการณ์ และเชื่อมั่นว่าแม่ทัพภาคที่ 2 ท่านใหม่ ซึ่งเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยความรู้ ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ ที่จะนำพากองทัพภาคที่ 2 ไปสู่การพัฒนาในทุกๆ ด้าน พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย เพื่อรักษาและเสริมสร้าง รักษาผลประโยชน์ของชาติ ตลอดจนจะปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา กำกับดูแล กำลังพลให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต มีความรักสามัคคี ภายใต้จิตสำนึกและอุดมการณ์ของความเป็นทหารอาชีพ อย่างเต็มความสามารถ
.
พลโท สวราชย์ฯ แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวว่า พร้อมที่จะปฏิบัติราชการในตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่ 2 อย่างเต็มขีดความสามารถ และพร้อมที่จะปฏิบัติงานร่วมกับเพื่อนทหารทุกนายอย่างจริงจัง และจริงใจ เพื่อให้ กองทัพภาคที่ 2 เป็นหน่วยที่มีศักยภาพ ในการปฏิบัติภารกิจทุกรูปแบบ ให้ปรากฏผลสัมฤทธิ์ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกองทัพ และประเทศชาติต่อไป

การประชุมเสวนากำหนดแนวทางการป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการป้องกันอุบัติเหตุในการจราจร และพิธีลงความร่วมมือ (IMOU)

การประชุมเสวนากำหนดแนวทางการป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการป้องกันอุบัติเหตุในการจราจร และพิธีลงความร่วมมือ IMOU)ตาม “โครงการบูรณาการความร่วมมีอระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมากับ ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ในการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย Safety Zoneในจังหวัดนครราชสีมา”
วันจันทร์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.ณ ห้องประชุมลำตะคอง ขั้น3 โรงแรมแคนทารี ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมืองอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
โดย ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศลายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ท่าน พลตำรวจโทสุรเชษฐ์ หักพาล ที่ปรึกษา สบ ๙ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาพล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผบช.ภ.3.และท่านผู้มีเกียรติ ทุกท่าน

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา /กับตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ในวันนี้จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองใหญ่ มีศักยภาพในทุกๆ ด้าน ครบทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติและภูมิอากาศที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเมืองการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นภารกิจหนึ่งที่ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน/ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ได้เล็งเห็นความสำคัญในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนความเชื่อมั่นในการลงทุน ซึ่งเศรษฐกิจจะพัฒนาได้ต้องเชื่อมั่นในความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑.เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล /นโยบายของจังหวัดนครราชสีมา นโยบายของผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๓ และนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
๒.เพื่อบูรณาการการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนทั่วไป / และประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา โดยถือประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ
๓.เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบรักษาความปลอดภัย ให้มีความพร้อมสามารถป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ปัญหาทางสังคม ที่อาจจะเกิดขึ้น /ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมและมีมาตรฐานในระดับสากล
๔.เพื่อสร้างความตระหนักด้านการรักษาความปลอดภัย ในองค์กรพร้อมเตรียมรับการเข้าสู่ยุคประเทศไทย ๔.๐ / โดยสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดงบประมาณ ดำเนินการ ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ จำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ครอบคลุม ๑๐ อำเภอ
นำร่อง ได้แก่

(๑) อำเภอปากช่อง

(๒) อำเภอด่านขุนทด

(๓) อำเภอสีคิ้ว
(๔) อำเภอสูงเนิน

(๕) อำเภอเมือง
(๖) อำเภอโนนสูง
(๗) อำเภอคง
(๘) อำเภอโนนแดง

(๙) อำเภอสีดา
(๑๐) อำเภอบัวลาย
ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ จำนวน ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และ พ.ศ.๒๕๖๖จำนวน ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ครอบคลุมพื้นที่ ๓๒ อำเภอ รวม ๙๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ดังนั้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีความปลอดภัย โดยการลดโอกาส ลดปัจจัยเสี่ยง และความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมในเขตพื้นที่ เพื่อเป็นการป้องปรามอย่างเป็นรูปธรรม/และบังเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ ตานโยบายรัฐบาล และนโยบายจังหวัดนครราชสีมา /ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือ/ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กับตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา เพื่อกำหนดพื้นที่ปลอดภัย(Safety Zone) ในจังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งภารกิจในการดำเนินงาน/ ตามความถนัดและเหมาะสมอีกด้วย

ยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding)

ยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding) บูรณาการหน่วยงานในการอำนวยความยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา และ โครงการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
วันที่ 6 สิงหาคม 2564 ณ ห้องประชุมมูลนิธิท้าวสุรนารี ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา โดย นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าจังหวัดนครราชสีมา ประธานพร้อมด้วย นายวิเชียร ไชยสอน ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมาในโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding) บูรณาการหน่วยงานในการอำนวยความยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา และ โครงการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กล่าวและ ดร.ยลดล หวังศุภกิจโกศลนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จังหวัดนครราชสีมา ท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา แรงงานจังหวัดนครราชสีมา ประธานมูลนิธิพุทธธรรมนครราชสีมา (ฮุก 31) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา นายกเทศมนตรี/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทุกท่าน

นายวิเชียร ไชยสอน ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมากล่าวในปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้นยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีช่องว่าง ระหว่างคนรวยกับคนคนจน ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่เราได้ยินประจำ “คุกมีไว้ขังคนจน” “คนรวยนอนบ้าน ขอทานนอนคุก” ถ้ามีปัญญาก็ไปฟ้องเอา ต่างๆเหล่านี้ล้วนสะท้อนปัญหาการเข้าไม่ถึงประบวนการยุติธรรมของประชาชนได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา มีกระบวนการ ขั้นตอน ตามระเบียบกฎหมาย ที่มีเงื่อนไขบังคับให้ประชาชนผู้ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการ จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนที่ไม่มีฐานะทางการเงินที่ดี ไม่สามารเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก จึงเกิดคำพูดอย่างที่กล่าวข้างต้น กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาด้านบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม ได้เพิ่มโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรม (Access to Justice) แก่ประชาชนด้วยการพัฒนาแนวคิด“ยุติธรรมชุมชน (Community Justice) ” ให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยการสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชน (คยช.) และการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน (ศยช.) ทั่วประเทศ และจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดตั้งขึ้นจำนวน 333 ศูนย์กระจายอยู่ทุกอบต.และเทศบาล โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ (1)ช่วยเหลือประชาชนในทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมและการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในชุมชน (2) เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งด้านกฎหมายและความยุติธรรมแก่ประชาชน โดยกำหนดกรอบภารกิจหลักของระบบยุติธรรมชุมชนออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1.การเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาอาชญากรรม การทุจริตและประพฤติมิชอบและการกระทำผิดกฎหมายต่างๆ ในชุมชน
2.การรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ปัญหาความไม่เป็นธรรมของประชาชน และรับแจ้งเบาะแสข้อมูลการกระทำความผิดกฎหมายต่างๆ ตลอดจนการช่วยเหลือ ดูแล ให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือผู้ที่ต้องการคำแนะนำเบื้องต้นทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
3.การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือความขัดแย้งในชุมชนตามหลักความยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ การเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน และการติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้มีการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือความขัดแย้งนั้น
4.การให้ความช่วยเหลือ ดูแลผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากอาชญากรรมและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามหน้าที่
5.ให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ และบำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดและผู้พ้นโทษให้กลับตนเป็นพลเมืองดีและไม่หวน
ด้านนายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าจังหวัดนครราชสีมา

กล่าวเปิดด้วยสถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้น ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่เราได้ยินประจำ “คุกมีไว้ขังคนจน” “คนรวยนอนบ้าน ขอทานนอนคุก” ถ้ามีปัญญาก็ไปฟ้องเอา ต่างๆ เหล่านี้ล้วนสะท้อนปัญหาการเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา มีกระบวนการ ขั้นตอน ตามระเบียบกฎหมาย ที่มีเงื่อนไขบังคับให้ประชาชนหรือผู้ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการต้องมีค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนที่ไม่มีฐานะหรือเงินมากพอ ที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก และเกิดคำพูดอย่างที่กล่าว แม้หลายหน่วยงาน จะเข้ามาช่วยในการดูแลและอำนวยความยุติธรรมอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยหันเหคดีออกจากศาลหรือการแก้ปัญหาร้องเรียน ร้องทุกข์ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มีความรวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้นก็ตาม แต่ปัญหาการเข้าไม่ถึงความยุติธรรมของประชาชนก็ยังไม่มีทีท่าลดลง ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือกระบวนการอำนวยความยุติธรรมดังกล่าว
สรุปผลการตัดสินการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔
ศูนย์ยุติธรรมชุมชน รางวัลอบต.หนองแวง อ.เทพารักษ์ รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ชนะเลิศ ๒. อบต.พระพทฺธ อ.เฉลิมพระเกียรติ รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
รองชนะเลิศลำดับที่ ๑เทศบาลตำบลโพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
รองชนะเลิศลำดับที่ ๒เทศบาลตำบลช่องแมว รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดอ.ลำทะเมนชัย นครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ด้านการช่วยเหลือประชาชน ๕. อบต.เมืองพลับพลา รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดอ.ห้วยแถลง นครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ด้านการช่วยเหลือประชาชนอบต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ระดับดีเยี่ยม ๗. อบต.จระเข้หิน อ.ครบุรี รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ระดับดีเยี่ยมอบต.วังโพธิ์ อ.บ้านเหลื่อม รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔

“สุวัจน์” ฉีดวัคซีน “แอสตร้าเซนเนก้า” เข็มแรกที่โคราช

“สุวัจน์” ฉีดวัคซีน “แอสตร้าเซนเนก้า” เข็มแรกที่โคราช ย้ำ วัคซีนคือคำตอบ โควิดจบเร็วเศรษฐกิจก็ฟื้นตัวเร็ว การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถจัดหาและนำเข้าวัคซีนได้หลากหลายถือเป็นสิ่งที่น่ายินดี

เมื่อเวลา 11.30 น.วันนี้ (7 มิถุนายน 2564) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา คิวฉีดวัคซีนในลำดับที่ 555 ได้เดินทางมาฉีดวัคซีนต้านโควิด 19 ที่โคราชฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา ซึ่งเป็นจุดบริการฉีดวัคซีนของ รพ.มหาราชนครราชสีมา ตามกำหนดนัด

โดยมีนายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ,นายวัชรพล โตมรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา เขต 2 พรรคชาติพัฒนา และ นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  มาร่วมให้กำลังใจ ท่ามกลางบรรยากาศประชาชน 2 กลุ่มเป้าหมายแรก ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ที่มีนัดไว้ อย่างเป็นทางการวันแรก จำนวน 622 รายมาเข้ารับการฉีดวัคซีนต้านโควิด 19 ในวันนี้

โดยบรรยากาศภาพรวมค่อนข้างคึกคัก เพราะถือเป็นวันแรกที่เริ่มคิ๊กออฟฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ให้กับประชาชนในพื้นที่ตามแผนที่ได้วางไว้พร้อมกันทั่วประเทศ

นายสุวัจน์ เปิดเผยภายหลังได้ฉีด “วัคซีนแอคตร้าเซนเนก้า” เข็มแรก โดยมี นพ.เจษฏ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ รพ.มหาราชนครราชสีมา เป็นผู้ฉีดให้ ว่าตนได้มาฉีดตามนัด และมีการเตรียมตัวตามคำแนะนำของแพทย์ก่อนมาฉีด เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และก่อนฉีดก็ต้องตรวจวัดอุณหภูมิ ความดันโลหิตต่างๆ ก่อน  ซึ่งฉีดไปแล้วไม่มีอาการผิดปกติใดๆ สำหรับเข็มที่ 2 มีนัดฉีดในวันที่ 30 สิงหาคม 2564  โดยหลังฉีดทั้งเข็ม 1 และเข็ม 2 ก็ต้องสังเกตอาการหลังฉีดอย่างละเอียดด้วยว่าจะมีผลข้างเคียงอย่างใดหรือไม่  

ส่วนเรื่องจำนวนวัคซีนที่ขณะนี้ยังมีไม่เพียงพอ ตนทราบข้อมูลจากทาง รพ.มหาราชนครราชสีมา ว่า วันนี้เป็นวันแรกของการกระจายฉีดวัคซีนให้กับประชาชน 2 กลุ่มเป้าหมายแรกตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดว่าเดือนมิถุนายน 2564 ทั่วประเทศจะต้องฉีดให้ได้ 6 ล้านโดส , เดือนกรกฎาคม อีก 10 ล้านโดส และภายในปีนี้จะต้องฉีดให้ได้ 100 ล้านโดส เพื่อคลุมประชากร 50 ล้านคนให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่

ฉะนั้น ในส่วนของ รพ.มหาราชนครราชสีมา ได้ประสานกับภาคเอกชนดำเนินการจัดฉีดวัคซีนในจุดบริการต่างๆ ตามเป้าหมาย ซึ่งในระยะเริ่มต้นประชาชนตื่นตัวมีความเข้าใจถึงความจำเป็นเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ดังนั้น ถ้าเราได้วัคซีนมาเพียงพอในเวลาที่รวดเร็ว ก็จะบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้  ซึ่งถือว่าจังหวัดโคราชสามารถควบคุมโควิดได้อย่างรวดเร็ว และวันนี้ก็มีการฉีดวัคซีน ตามนโยบายตามวาระแห่งชาติ ทำได้ด้วยดี ด้วยความเรียบร้อย ระบบขั้นตอน ซึ่งมีมหาวิทยาลัยราชภัฎฯโคราชก็ลงมาช่วย  รพ.มหาราช และผู้ว่าฯก็ลงมากำกับด้วยตนเอง ทั่วประเทศก็เริ่มคิกออฟกันทั่วประเทศ

“โควิดจบเร็ว เศรษฐกิจก็ฟื้นตัวเร็ว ปัญหาทั้งหมดตอนนี้ ขึ้นอยู่กับการจัดสรรวัคซีนไปให้แต่ละพื้นที่อย่างเพียงพอ ก็ต้องร่วมมือกับทั้งภาครัฐภาคเอกชน ใครมีคอนเนคชั่นที่จะช่วยให้ได้วัคซีนมาอย่างรวดเร็วเพิ่มมากขึ้นก็ต้องร่วมมือกันเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์จึงจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด”  สุวัจน์ฯ

โค้งสุดท้าย ดีเบต ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครราชสีมา

วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ อาคารเรียนรวม อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ได้มีการจัดแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครราชสีมา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้สมัครนายก ผู้สมัครสมาชิก นักศึกษา สื่อมวลชน

โดยในการแสดงวิสัยทัศน์ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ ผู้บริหารอิสานบิช เป็นผู้ดำเนินการแสดงวิสัยทัศน์ โดยครั้งนี้ ผู้สมัครได้เดินทางมาร่วมครบทั้ง 4 ท่าน 4 เบอร์ ประกอบด้วย

หมายเลข 1 นายอัคคชา พรหมสูตร พร้อมด้วยสมาชิก ทั้ง 4 เขต

หมายเลข 2 นายประเสริฐ บุญชัยสุข พร้อมด้วยสมาชิกทั้ง 4 เขต

หมายเลข 3 ภก.จักริน เชิดฉาย พร้อมด้วยสมาชิกทั้ง 4 เขต

หมายเลข 4 นายฉัตร สุภัทรวณิชย์ พร้อมด้วยสมาชิกทั้ง 4 เขต

ทั้งนี้ ในการแสดงวิสัยทัศน์ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม 2564 ดังนั้น ผู้สมัครทั้ง 4 ท่าน ได้แสดงความคิด แนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา อาทิ เรื่องถนนหนทาง เรื่องน้ำ รวมทั้งเศรษฐกิจที่ตกต่ำของโคราช

และในช่วงสุดท้าย แต่ละท่านได้ประกาศลั่น พร้อมจับมือกัน ประกาศ จะไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างแน่นอน จะให้การเลือกตั้ง เป็นการเลือกตั้งสีเขียวตามเจตนารมย์ของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา

ทัศนียา เปิดตัวกลุ่มพัฒนาโฟธิ์กลาง อาสารับใช้พี่น้องประชาชน ชู”นายกหญิง จริงใจ ใฝ่พัฒนา” เบอร์ 3

ทัศนียา กองแก้ว(รองอ้วน )อดีตรองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโพธิ์กลางชิงเก้าอี้นายกเทศมนตรีเพื่อสานต่ออุดมการณ์ ของกลุ่มพัฒนาโพธิ์กลาง พร้อมผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลทั้ง 2 เขต ทั้ง 12 คน

นายอำพร มณีกรรณ์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลโพธิ์กลาง ผู้ก่อตั้งกลุ่มพัฒนาโพธิ์กลางเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ มีเก้านายกเทศมนตรีเป็นเดิมพัน ตนและนางทัศนียา กองแก้ว ผู้ลงสมัครนายก พร้อมผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลทั้ง 2 เขต พร้อมอาสารับใช้พี่น้องประชาชนเทศบาลโพธิ์กลางอีกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมาตนได้บริหารงานอย่างเต็มที่โดยได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องชาวตำบลโพธิ์กลาง ได้พัฒนาตำบลโพธิ์จนเกิดความเจริญ เกือบทุกๆด้าน สาธุผู้จำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นถนนสายต่างๆ ไฟฟ้าส่องสว่าง ,น้ำประปา, สวนสาธารณ เบี้ยผู้สูงอายุ และผู้พิการ ดูแลความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนชาวตำบลโพธิ์กลาง ให้ได้รับความสะดวกสะบาย จึงขอฝากผ่านสื่อมวลชนไปยังพี่น้องชาวโพธิ์กลางว่า กลุ่มพัฒนาโพธิ์กลาง ทำอะไรทำจริง พัฒนาจริง จึงขออาสากลับมารับใช้พี่น้องประชาชนอีกครั้งในนามกลุ่มพัฒนาโพธิ์กลาง นายกต้อง เบอร์ 3 สมาชิกสภาเทศบาล เบอร์ 1-6 และ 13-18 นายอำพร อดีตนายกเทศมนตรีตำบลโพธิ์กลาง กล่าวทิ้งท้าย

rpt
rpt

ด้านนาง ทัศนียา กองแก้วอดีตรองนายกเทศมนตรีเทศบาลโพธิ์กลาง กล่าวต่อว่า ครั้งนี้ ตนได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกกลุ่มพัฒนาโพธิ์กลาง ลงสมัครตำแหน่งนายกเทศมนตรีหากตนได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรี ตนจะไม่ทำให้ชาวตำบลโพธิ์กลางผิดหวัง พร้อมเน้นย้ำ ชูอาสารับใช้ พี่น้องประชาชน ในฐานะนายกหญิงคนแรก ของเทศบาลตำบลโพธิ์กลาง

“อานนท์ แสนน่าน” ผนึกอดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดง “อีสาน-ล้านนา” รวมพลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

“อานนท์ แสนน่าน” เดินหน้าปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ผนึกอดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดง “อีสาน-ล้านนา” พร้อมแต่งตั้งยกฐานะมาเป็นประธานหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนเรารักประเทศไทยแต่ละจังหวัด


วันที่ 8 ตุลาคม 2563 ณ ศูนย์เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น เรารักประเทศไทย ชุมชนพรสวรรค์ ทต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี นายอานนท์ แสนน่าน ผู้ริเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเสื้อแดง อดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงแห่งประเทศไทย ได้ประสานงาน นายนิตยา นาโล อดีตประธานหมู่บ้านเสื้อดงภาคอีสาน นายสมชัย แสงทอง อดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงภาคเหนือ นางธนภัทร พันธวาส ประธานเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งประเทศไทย นายองอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นไทย ได้ร่วมประชุมกันเพื่อให้สมาชิกหมู่บ้านเสื้อแดง ทั้ง 14 จังหวัดภาคเหนือ และ 20 จังหวัดภาคอีสาน ออกมารณรงค์ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ จากพวกจาบจ้วงและกำลังจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย


ก่อนหน้านั้น อดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงและสมาชิกได้ออกมาแจ้งแล้วว่า “ถ้าไม่มีพระมหากษัตริย์ไทย คงไม่มีแผ่นดินให้ คนรุ่นใหม่ได้ยืนในวันนี้ได้หรอกคงเป็นทาสของต่างชาติ หรือไม่ก็จะไม่มีชาติให้ภาคภูมิใจเหมือนเช่นทุกวันนี้ เพราะการที่พวกเรา “ยุบและสลายหมู่บ้านเสื้อแดง” เข้ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเป็นเครือข่าย “รวมไทยสร้างชาติ เรารักประเทศไทย” ก็ต้องการที่จะทำงานด้วยจิตอาสาเพื่อชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ เพราะที่ผ่านมาพวกเราเป็นคนเสื้อแดง และแยกออกมาเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ก็จะใช้สโลแกนที่ว่า “หมู่บ้านเสื้อแดง เพื่อประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” เพราะพวกเราซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์
นายอานนท์ แสนน่าน ผู้ริเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเสื้อแดง อดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า พวกเราอดีตหมู่บ้านเสื้อแดง ได้เชิญอดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงภาคเหนือ และภาคอีสาน เพื่อผนึกกำลัง “อีสาน-ล้านนา มาแต่งตั้งเป็น “ประธานหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย ประจำจังหวัด” เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์” จากพวกจาบจ้วงและหวังจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย เพื่อให้สมาชิกออกไปรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงกับประธานหมู่บ้านและสมาชิกหมู่บ้านเสื้อแดงแต่ละหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และ จังหวัดต่าง ๆ ว่า การที่มีการเข้าไปชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้นว่าจะไปล้มรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จริงๆ แล้วไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของกลุ่มดังกล่าว แท้ที่จริงแล้วเป็นกลุ่มที่ไม่หวังดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ต้องการจะแก้ไขการปกครองไม่ให้มี “ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
พวกเราชาวอดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงในแต่ละจังหวัดจำเป็นต้องออกมาปกป้องสถาบันและให้ข้อมูลที่แท้จริงกับ เด็ก เยาวชน นักเรียน และ นักศึกษา ว่า “ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศตลอดมา พระมหากษัตริย์ของไทยได้ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ได้ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน ได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญมั่นคงก้าวหน้าในด้านต่างๆ บางพระองค์ได้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติด้วยความกล้าหาญและเสียสละ อาทิ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บางพระองค์ได้ทรงดำเนินวิเทโศบายที่ชาญฉลาดทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชอธิปไตยไว้ได้จนทุกวันนี้ เช่นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช
นายอานนท์ กล่าวอีกว่า ชาติไทยของเรามีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่เริ่มรวมชาติรวมแผ่นเดิน ก่อร่างสร้างเมืองตั้งแต่ อดีต จนมาเป็นประเทศชาติทุกวันนี้ก็เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์สถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นสถาบันที่อยู่ในหัวใจของประชาชน เป็นสถาบันที่เคารพ สักการะเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของปวงชนชาวไทยทุกๆ คน ผู้ใดหรือใครจะมาล่วงเกินพระราชอำนาจไม่ได้ ในสมัยสุโขทัยสถาบันพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อของประชาชนฐานะของพระองค์ เป็นพ่อขุน มีความใกล้ชิดประชาชน พอเข้าสมัยกรุงศรีอยุธยาฐานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นสมมุติเทพหรือเป็นเทวดาโดยสมมุติและทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองทรง เป็นองค์อธิปัตย์สูงสุดในการปกครองบ้านเมือง ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักธรรมะโดยมีทศพิธราชธรรม และธรรมะหลักสำคัญต่างๆ ในการปกครองจนทำให้ไพร่ฟ้าประชาราษฏ์อยู่เย็นเป็นสุข ทรงครองราชย์ป้องเมือง ทำนุบำรุงบ้านเมือง ศาสนา และสังคมมาจนถึงทุกวันนี้
แม้ว่าประเทศไทยจะมีรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็มิทรงเสื่อมถอย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นที่เคารพสักการะจากประชาชนมากเช่นเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง “…แม้แต่สมัยเป็นเด็กผมได้เงินไปโรงเรียนทีละ 5 – 10 บาท เวลาเงินตกลงพื้นแม่หรือพ่อผมจะต้องให้ลงกราบไหว้ไม่ให้เหยียบเงินแต่อย่างใด เพราะในเงินนั้นมีรูปในหลวงที่เป็นยึดเหนียวใจของประชาชน คอยปกปักรักษาให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข” นายอานนท์ กล่าว