พิธีวางศิลาฤกษ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

โคราชประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์ ชูเป็นแลนด์มาร์คท่องเที่ยวแห่งใหม่

เมื่อเวลา 09.19 น. วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร อ.เมือง จ.นครราชสีมา พระธรรมเจดีย์ เจ้าคณะภาค ๑๑ เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างพระบรมราชานุสารีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมี หัวหน้าส่วนราชการและประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมประกอบพิธีบวงสรวง วางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์

งานทอดผ้าป่าสามัคคีตำรวจภูธรภาค ๓ สมทบทุนบูรณะสถานพระนารายณ์และศาสนสถาน

ทอดผ้าป่าสมทบทุนบูรณะ สถานพระนารายณ์และศาสนสถาน

 วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร

วันเสาร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๕เวลา๑๐.๐๙น.

งานทอดผ้าป่าสามัคคี ตำรวจภูธรภาค ๓ สมทบทุนบูรณะ สถานพระนารายณ์และศาสนสถาน

โดยมีพระธรรมวรนายก  เจ้าอาวาสวัด พระนารายณ์มหาราชวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ประธานฝ่ายฆราวาส และหน่วยงานราชการในจังหวัดนครราชสีมาเข้าร่วมพิธี ณ.พระวิหารวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร จังหวัดนครราชสีมาได้ปัจจัย ๘,๔๘๕,๗๑๗ บาท อนุโมทนาบุญร่วมกันสาธุ

แหล่งท่องเที่ยวก่อนประวัติศาสตร์สดๆร้อน!ภาพเขียนสี”เพิงหินทรัพย์อนันต์

สำรวจภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แห่งใหม่ ! สดๆ ร้อนๆ ของจังหวัดนครราชสีมา ในพื้นที่ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว กันครับ โดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา

 ที่ผ่านมา ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาของเรา พบภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1 ภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม อำเภอสีคิ้ว ซึ่งพบเป็นแห่งเเรกในปี 2520 และ 2 ภาพเขียนสีเพิงหินน้ำตกวะภูแก้ว อำเภอสูงเนิน พบในปี 2563 โดยทั้ง 2 แห่ง พบภาพเขียนสีแดงรูปคน และสัตว์ ถูกเขียนอยู่บนเพิงหินเเละเพิงผา ซึ่งมนุษย์โบราณใช้เป็นที่พักชั่วคราวเพื่อหลบแดด หลบฝน ในขณะหาของป่า-ล่าสัตว์ เช่นเดียวกันครับ

.

#เพิงหินซับอนันต์ นับเป็น ภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา ถูกค้นพบโดยชาวบ้านที่มาเลี้ยงวัวเมื่อ 80 ปีที่แล้ว เล่าสืบต่อกันมา จากการกล่าว พระรัชสิทธิ์ พระภิกษุวัดเขาจันทร์งาม พาคณะมาสำรวจแนะนำแหล่งภาพวาดก่อนประสัติศาสตร์ แห่งที่ 3 ที่พบในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเพิงหินแห่งนี้ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม ระยะห่างประมาณ 1.2 กิโลเมตร เป็นเพิงหินทรายขนาดใหญ่ ทอดตัวยาวตามแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ เพิงหินสูงโดยรวมประมาณ 4 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภาพเขียนสีจะปรากฏบริเวณเพิงหินด้านบน เขียนด้วยสีแดง เป็นรูปคน ซึ่งฝีมือการวาดมีลักษณะคล้ายกับภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม เบื้องต้นกำหนดอายุสมัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 2,500-1,500 ปีมาเเล้ว จากการสำรวจพบว่าสถานที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ก่อนประวัติศาสตร์ แห่งใหม่ของเมืองโคราช

ศิลปินนักปั้น เครื่องปั้นอันเก่าแก่ ดินแดนแห่งอารยธรรม และ ประวัติศาสตร์

ครั้งแรก ของการจัดงาน เทศกาล ศิลปะงานปั้นดิน และ เซรามิค ณ จังหวัดนครราชสีมา ดินแดน แห่งอารยธรรม และ ประวัติศาสตร์ การก่อเกิด เครื่องปั้นอันเก่าแก่ ที่มีพื้นที่การส่งเสริมศิลปะ การปั้น ตลาดการค้าเครื่องปั้นขนาดใหญ่ หมู่บ้านด่านเกวียนที่ทำเครื่องปั้นใหญ่ที่สุด และมีเตาเผา แบบดั้งเดิมมากที่สุด จุดหมายของการมาเยือนจากผู้ที่มีใจรักในศิลปะการปั้น ที่ทุกคนใฝ่ฝัน

InterKeramos korat clay festival 2021 thailand

เทศกาลที่จะมีศิลปินนักปั้น และผู้ประกอบการ จากทั่วประเทศ และทั่วโลกมาร่วม ประชุม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สร้างผลงานร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์ ตลอดจนเกิดการส่งเสริมการส่งออก ค้าขาย และ การจัดจำหน่าย ในรูปแบบของ การชุมนุมเครื่องปั้น หลากหลายรูปแบบ ชมนิทรรศการ การแสดงผลงานการปั้น จากศิลปินชั้นนำ และงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย ณ เดอะมอลล์โคราช

InterKeramos korat clay festival 2021 thailand จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22-26 ธันวาคม 2021 ณ จังหวัดนครราชสีมา  เข้าชมรายละเอียดการจัดงานที่ www.ikthai.com  หรือ facebook KoratClayFestival

ผู้สนับสนุนการจัดเทศกาล“ InterKeramos korat clay festival 2021 thailand

TCEB สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

จังหวัดนครราชสีมา 

ศูนย์การค้าเดอะมอลล์

เทศบาลตำบลด่านเกวียน

เทศบาลพิมาย

สมาพันธ์ SME ไทย 

NCEC

3bb

Pottery Clay Thailand

กลุ่มเครือข่ายสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

จัดโดย Ikthai

พิธีอุปสมบทหมู่ถวายพระราชกุศล วัดบุไฝ่ ตำบลไทยสามัดคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

พิธีอุปสมบทหมู่ถวายพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
วันพุธที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ณ วัดบุไฝ่ ตำบลไทยสามัดคี อำเกลวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โครงการพิธีอุปสมบทหมู่ถวายพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประธาน นมัสการ พระครูสุวัฒนานุกูล เจ้าคณะอำเภอวังน้ำเขียว และพระคุณเจ้าทุกรูป โดยได้รับเกียรติส.ส.สมศักดิ์ พันธ์เกษม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา,นายประนอม โพธิ์คำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา,นายสุพจน์ แสนมี นายอำเภอวังน้ำเขียว ,นายชุณห์ ศิริชัยคีรีโกศล ประธานวัฒนธรรมอำเภอวังน้ำเขียว ,นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ,หัวหนำาส่วนราชการประจำอำเภอวังน้ำเขียวทุกส่วนราชการนายกเทศมนตรีตำบลศาลเจ้าพ่อ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทุกแห่ง สมาชิกสภาองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกคน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มพัฒนาสตรีแม่บ้านอสม.อำเภอวังน้ำเขียว และพุทธศาสนิกชนร่วมการบวชครั้งนี้มีผู้บวชทั้งหมด21รูป

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าว พีธีโครงการอุปสมบทหมู่ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันนี้ ในการจัดงานครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ดีที่พี่น้องชาวอำเภอวังน้ำเขียว ทุกหมู่เหล่าได้ร่วมแรงร่วมใจกันกระทำเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเป็นพระราชกุศลและเพื่อแสดงความอาลัยและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
เป็นการทำความดีเพื่อพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีอุปสมบท และสืบทอดต่อไปจึงขอให้ผู้ที่เข้าพิธีอุปสมบทในครั้งนี้ ได้ตั้งใจรับเอาความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหลักคำสอนต่างๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป

ผ้าป่าการศึกษาพี่ช่วยน้อง. สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา

#ผ้าป่าการศึกษาพี่ช่วยน้อง. #สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา 10:00 น .งานบุญเพื่อช่วยเหลือ สร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็ก และเยาวชนในการดูแลสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 เริ่มตั้งแต่ขบวนแห่กองผ้าป่า 9.00 น .นำขบวนโดยคณะขบวนกลองยาว นำโดยดร. รัตนวรบัณฑิต ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต3 พร้อมนายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์รองประธานสงเคราะห์เด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา ประธานทอดผ้าป่าการศึกษาและนายคมกฤษณ์ แสงจันทร์ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาพร้อมคณะเจ้าหน้าที่นางรำแห่ขบวนกองผ้าป่าการศึกษา เคลื่อนขบวนจากศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนฯมาตั้งกองผ้าป่าที่บริเวณสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา

*** เวลา 10.00 น พระอธิการณัฐวุฒิ สิริปญโญเจ้าอาวาสวัดคลองส่งน้ำเมตตาเป็นประธานพิธีสงฆ์ พร้อมพระสงฆ์ 9 รูป ทำพิธีทอดผ้าป่าการศึกษา เจริญพระพุทธมนต์ ได้รับเกียรติจาก ท่านเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด จุดเทียน ธูปบูชาพระรัตนตรัย และคฯะดร.รัตนะ วรบัณฑิตผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต3 และนายคมกฤษณ์ แสงจันทร์ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาร่วมพิธี

***เวลา 11.00 น.นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์รองประธานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ถวายกองผ้าป่าสามัคคี ยอดบุญ 188,239บาทแด่ประธานฝ่ายสงฆ์พร้อมคณะผู้ร่วมงานกว่า 100 ท่าน จากคณะภาคีเครือข่ายภาคการศึกษา และเครือข่ายภาคเอกชน จากนั้นแขกผู้มีเกียรติทุกท่านได้ร่วมถวายภัตตาหารเพลแด่คณะพระภิกษุสงฆ์รับผ้าป่าฯ และเมื่อพระสงฆ์รับแล้ว พระภิกษุสงฆ์ได้ให้พรและพรมน้ำมนต์ เพื่อสิริมงคลให้แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานทุกท่านทั่วกัน พร้อมกันนี้คณะทำงานการดำเนินการดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน covid-19 ตามนโยบายสาธารณสุขโดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดร่วมสังเกตการณ์ด้วย

ท้ายนี้ ฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ ประธานงานกล่าวขอขอบคุณแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ผู้ใหญ่ใจดีที่ร่วมงานพิธีในครั้งนี้ ท่านเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด ,นายรักชาติ กิริวัฒนศักดิ์ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ,นายสุดชาย บุตรแสนดีผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา, คุณชินพัฒน์ พิมพ์ศรีแก้ว ผู้จัดการทั่วไปเดอะมอลล์โคราช และเครือข่ายทางการศึกษาเพื่อเด็กที่ด้อยโอกาสทุกท่าน ในโอกาสพืธีนี้ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายในสากลโลกทั้วหลาย ได้โปรดดลบันดาลให้ท่านและคอบครัวประสบแด่ความสุข ความเจริญ ด้วยอายุ วรรณะ สุขะพละ ด้วยเทอญ

แถลงข่าวเปิดตัว จัดงานฟอสซิลเฟสติวัลครั้งที่6 100 ปีแห่ง อนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทย

ม.ราชภัฏโคราชนำทัพเปิดโลกดึกดำบรรพ์ จัดงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6  100 ปีแห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยจากสมัยรัชกาลที่ 6

 วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ องค์การมหาชน (สสปน.) องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานนครราชสีมา วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าว งานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 : 100 ปีแห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยจากสมัยรัชกาลที่ 6 Fossil Festival VI : 100 Years of petrified Wood and Elephant Conservation from the Reign of King Rama VI ณ ห้องประชุมลำตะคอง 1 โรงแรมแคนทารี โคราช โดยได้รับเกียรติจาก นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา, นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา, นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน (อพท.),

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐินี ทองดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้ให้ถ้อยแถลงในการจัดงาน พร้อมกันนี้ ยังมีการจัดการเสวนาเพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและการจัดการอย่างยั่งยืน ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราชและที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดงาน, ดร.อัปสร สอาดสุด ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ ดร.อลงกต ชูแก้ว ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย เขาใหญ่ ดำเนินรายการโดย อ.นิรวิทย์ เพียราษฎร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้และเสริมสมรรถะมนุษย์

 งานฟอสซิลเฟสติวัล เป็นงานที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ดำเนินการจัดมาเป็นประจำทุก 2 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2554 จนถึงปัจจุบัน โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในคุณค่า รวมทั้งร่วมกันอนุรักษ์มรดกฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ของจังหวัดนครราชสีมา ให้คงอยู่และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ในปีนี้ ทางสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ได้จัดงานภายใต้แนวคิด “100 ปี แห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยจากสมัยรัชกาลที่ 6”

 ด้วยแนวคิดการอนุรักษ์ฟอสซิลในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน มีปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อรัชกาลที่ 6 หรือพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เสด็จมาตรวจการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา – อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2464 ณ บริเวณ สะพานดำ ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำมูล ในบริเวณบ้านะกุดขอน ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา พระยารำไพพงศ์บริพัตร วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้พร้อมกับชาวบ้านได้นำฟอสซิลจากไม้กลายเป็นหินจากท้องร่องแม่น้ำมูล น้อมเกล้าฯ ถวายแด่ ร.6 แต่พระองค์ท่านกลับแนะนำให้เก็บรักษาไว้ในท้องที่ พระยารำไพพงศ์บริพัตรจึงได้สร้างอนุสรณ์สถานการเสด็จมาตรวจการก่อสร้างทางรถไฟของ ร.6 ในบริเวณหัวสะพาน แล้วนำไม้กลายเป็นหินท่อนดังกล่าวฝังตรึงไว้บนยอดอนุสรณ์สถาน ซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นเป็นสภาพเดิมตราบกระทั่งปัจจุบัน อนุสรณ์สถานไม้กลายเป็นหิน ร.6 นี้จึงเป็นอนุสรณ์การอนุรักษ์ฟอสซิลหรือไม้กลายเป็นหินที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และชุมชนชาวท่าช้างมาครบ 100 ปี ในวันที่ 4 ธันวาคม 2564 นี้ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและเอชียตะวันออกเฉียงใต้

 การจัดงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 กำหนดจัดในระหว่างวันที่ 4 – 10 ธันวาคม 2564 ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในรูปแบบ Hybrid โดยมีกิจกรรมทั้งรูปแบบของ Onsite ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ และระบบ Online โดยมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ

 1. การแถลงข่าวการจัดงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 และการเสวนาการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบ Hybrid (Onsite and Online)

 2. พิธีเปิดงาน ฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 พร้อมชมนิทรรศการชุด “โคราช : มหานครแห่งบรรพชีวินโลก World Paleontopolis” , “จีโอพาร์ค” โดยกรมทรัพยากรธรณี, และ นิทรรศการ “ไม้กลายเป็นหินแปลก”

 3. งานสัมมนาทางวิชาการ บรรพชีวิน “100 ปี อนุรักษ์และวิจัยฟอสซิลในโคราช”

 การเสวนาทงวิชาการหัวข้อ “ฟอสซิลแห่งสยามกับการอนุรักษ์”, “ฟอสซิลแห่งสยามกับการอนุรักษ์และโคราชมหานครแห่งบรรพชีวินโลก (World Paleontopolis)”

 การนำเสนอผลงานทางวิชาการ “ร่วมเรียนรู้สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์กับนักวิจัย” และ “พิพิธภัณฑ์ฟอสซิลเพื่อการนันทนาการและการเรียนรู้” วันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2564 ในรูปแบบ Hybrid

 4. พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ร่วมกัย กรมทรัพยากรธรณีและภาคีเครือข่าย วันที่ 8 ธันวาคม 2564 ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ในรูปแบบ Hybrid (Onsite and Online)

 นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม “ทัวร์เที่ยวทิพย์ท่องเที่ยวมหานครแห่งบรรพชีวิน”, “กิจกรรมท่องเที่ยวไปในพิพิธภัณฑ์ฯ กิจกรรม DIY By Khorat Fossil Museum พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจตามแต่ละวัน เช่น ตอน ไดโนเสาร์สิรินธรน่าโคราชเอนซิส และสยามแรปเตอร์ สุวัจน์ติ, “เติมสีสันให้ช้าง” และงานแสดงสินค้าชุมชนและผลผลิตทางการเกษตร “ไม้หิน กรีน มาร์เก็ต” พร้อมชมผลานทางศิลปะ โดยงาน Thailand Art Biennale 2021

 การจัดงานในครั้งนี้จึงนับเป็นก้าวสำคัญของจังหวัดนครราชสีมาที่ได้ดำเนินการค้นพบและอนุรักษ์ซากดุกดำบรรพ์ และในปี พ.ศ.2564 ครบรอบ 100 ปี จึงเป็นโอกาสดีที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ และภาคีในจังหวัดนครราชสีมาจะได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างความเข้าใจเรื่องซากดึกดำบรรพ์ ตลอดจนการกระตุ้นให้ชาวจังหวัดนครราชสีมา ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนคนทั่วไปได้ตระหนักในความสำคัญของซากดุกดำบรรพ์ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สามารถนำมาต่อยอดในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายของการจัดงานที่สำคัญ คือ การสร้างความตระหนักในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณีและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเชื่อมโยงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก หรือ SDGs

มทร.อีสาน จัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดพายัพ อ.เมือง จ.นครราชสีมา


.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2564 ไปถวายแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดพายัพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.00 น. โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มทร.อีสาน เป็นประธานในพิธี
.
พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ อุปนายกสภา มทร.อีสาน นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดี มทร.อีสาน และปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา มทร.อีสาน รวมถึงแขกผู้มีเกียรติจาก มทร.อีสาน ทุกวิทยาเขต หน่วยงานราชการในจังหวัดนครราชสีมา และประชาชนในพื้นที่ให้เกียรติร่วมในพิธี โดยมี พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทั้งนี้มีผู้มีจิตกุศลร่วมทำบุญกฐินพระราชทาน ประจำปี 2564 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,281,084.89 บาท
.
สำหรับวัดพายัพเป็นพระอารมหลวงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2220 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับเมืองนครราชสีมา โดยวัดตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเสาหลักเมือง จึงได้ชื่อว่า ‘วัดพายัพ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 วัดที่เก่าแก่ของจังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้หลังจากที่ได้มีการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ภายในวัด เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงมีพระบรมรูปสมเด็จพระนารายณ์ฯ ในท่าประทับยืนประดิษฐานอยู่ในศาลาทรงไทยอยู่บริเวณด้านหน้าอุโบสถ นอกจากนี้ภายในวัดได้มีการสร้างถ้ำหินงอกหินย้อย ซึ่งมีการรวบรวมพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองที่มีอายุกว่า 300 ปี ให้ประชาชนได้กราบไหว้ และชมความงามภายในถ้ำด้วย

บุญกฐินสามัคคี วัดป่าแสงธรรมพรหมรังสี

บุญกฐินสามัคคี วัดป่าแสงธรรมพรหมรังสี วันที่ 6 พย.2564 พระครูปลัดภูมิปัญญาญาณสัมปันโนเจ้าอาวาสวัดป่าแสงธรรมพรหมรังสี นิมนต์พระราชภาวนาวชิรคุณ(หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต) วัดเขาตาเงาะ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมพระครูปลัดภูมิ ปัญญา ญาณสัมปันโน เจ้าอาวาสวัดป่าแสงธรรมพรหมรังสีและคณะสงฆ์ ร่วมทอดผ้ากฐินได้รับเกียรติประธานสายบุญ พล.อ.ธเนศ วงศ์ชะอุ่ม รองเสนาธิการทหารบก(อดีตแม่ทัพภาค 2 )ประธานฆราวาส ร่วมกับคณะ ศิษย์ยานุศิษย์ วัดป่าแสงธรรมพรหมรังสี ที่มาร่วมงานจำนวนมาก ได้ปฏิบัติตามมาตรกา ป้องกันโควิด 19 กฐินสามัคคี รวมยอดบุญรวมถวายวัด 671,345.50 บาท ในโอกาสบุญนี้ ท่านเจ้าอาวาสได้ให้พรและขอให้ผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ได้รับพรจากพระคุณพระศรีรัตนตรัยอำนวยอวยพร ผู้จิตศรัทธาและครอบครัว มีความสุขความเจริญด้วยอายุวรรณะธนสารสมบัติ สืบไป

พุทธาภิเษกปู่ทวด-พ่อพัฒน์ ร่วมกฐินมหากุศลหมากปริญ วัดพระยาสุเรนทร์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สืบสานบุญกฐินมหามงคล… พิธีพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวด-หลวงพ่อพัฒน์ ณ วัดพระยาสุเรนทร์…กับหมากปริญไหว้หลวงปู่ทวดใหญ่ในสุดกรุงเทพ

วัดพระยาสุเรนทร์สร้างราว พ.ศ.2425 โดยพันตรี พระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงหเสนี) ได้จัดสรรที่ดินส่วนหนึ่งประมาณ 48 ไร่ สร้างวัดขึ้น และได้ทำพิธีวางศิลาประจำวัดในวันอังคารขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ร.ศ. 101 ต่อมาทำหนังสือทูลเก้าถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันพุธ แรม 1 ค่ำเดือน 11 พ.ศ.2431 ถึงปัจจุบันวัดมีอายุยาวนาน 139 ปี

ปัจจุบันพระสิทธิสิงหเสนีเจ้าอาวาสวัดพระยาสุเรนทร์สืบเชื้อสาย สิงหเสนีโดยมารดา พระนักพัฒนาที่เสื่อมใสศรัทธาจากชาวบ้านคลองสามวา,พัฒนาชุมชน,สังคมสิ่งแวดล้อม การศึกษาร่วมชุมชนและพัฒนาพื้นที่วัดสร้างอุทยานหลวงปู่ทวดยิ่งใหญ่มีลักษณะ”หลวงปู่ทวดนั่งบนเรือกอ” มีความกว้างหน้าตัก 16 เมตร สูง 32 เมตร

   ในปี 2564เทศกาลบุญกฐินทานวาระมหามงคล,ทางคณะกรรมการวัดพระยาสุเรนทร์กำหนดพิธีมหามงคล 2 วาระ วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2564 เวลา 13.24 นาทีเริ่มพิธี พลตรีหม่อมราชวงศ์วัยวัฒน์ จักรพันธุ์ ประธานคณะศิษย์วัดพระยาสุเรนทร์ประธานจุดเทียนถวายพระพุทธ

  พิธีพุทธาภิกเษกวัตถุมงคลพระผงหลวงปู่ทวด – หลวงพ่อพัฒน์

“รุ่นเจ้าพระยานาหมื่น” ณ อุทยานหลวงปู่ทวด ได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อพัฒน์ ปุญญากาโม (พระราชมงคลวัชราจารย์) เจ้าอาวาสวัดธารทหาร (ห้วยด้วน) จังหวัดนครสวรรค์ ประธานอุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ในพิธีคุณเบลล่า ราณีศิลปินดาราชื่อดังละครออเจ้าและคุณแม่ปราณี แคมเปน ประธานจุดเทียนชัยถวายหลวงพ่อพัฒน์ในการนั่งอธิษฐานจิตร่วมคณะพระสงฆ์ 9 รูปร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลหลวงปู่ทวด – หลวงพ่อพัฒน์ การจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อสมทบทุนสร้างสาธารณะประโยชน์บำรุงเสนาสนะพระภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งนำวัตถุมงคลมอบแก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาธรรมบุญกฐินวัดพระยาสุเรนทร์

 และวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2564 เวลา 13.09 นาที พิธีทอดกฐินทานประจำปี ของคุณหมากปริญ สุภารัตน์ประธานทอดกฐินโดยคุณพรีม รณิดา เตชสิทธิ์ ผู้จัดการส่วนตัวหมากปริญและคุณแพร ภรณีมณี เมษสิทธิ์สิริ ศิลปินดาราละครพร้อมคุณ คิมหันต์ ตลับนาค เลขานุการประจำคณะธรรมาธิการฝ่ายพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนประจำรัฐสภา และเจ้าภาพกองกฐินที่ร่วมบุญกฐินทุกท่าน ได้ปัจจัยยอดกฐินวัดพระยาสุเรนทร์ปี 2564 รวม 711,326 บาท ท่านที่มาเยี่ยมชมภายในวัดพระยาสุเรนทร์ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ 5 ประเทศจากศรีลังกา อินเดีย เนปาล พม่า และ ไทย ชมบรรยากาศกลิ่นอายท่าน้ำชุมชนและตลาดน้ำวัดพร้อม ขอพรไอ้ไข่ วัดพระยาสุเรนทร์ รับบุญรับโชคเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวต่อไป