คณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน สำหรับสถานพินิจฯ นครราชสีมา และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 ร่วมกันจัดอบรมคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและ เยาวชน

ที่โรงแรมสบายโฮเทล คณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน สำหรับสถานพินิจฯ นครราชสีมา และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 ร่วมกันจัดอบรมคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและ เยาวชน โดยมีนายสุวีร์ ตรียุทธนากุล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธาน เนื่องด้วยระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและ เยาวชนสำหรับสถานพินิจ พ.ศ. 2554ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและ เยาวชนสำหรับสถานพินิจ เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้อำนวยการสถานพินิจและช่วยเหลือกิจการสถานพินิจ เพื่อสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในความ ควบคุมดูแลของสถานพินิจ อันจะเป็นผลให้การดำเนินการของสถานพินิจ บรรลุตาม วัตถุประสงค์ เกิดผลดีแก่ระบบการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนโดยรวม และ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสงเคราะห์ จึงจัดให้มีการอบรมครั้งนี้ขึ้น

 

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนงาน ยุติธรรมและบทบาทหน้าที่ของกรรมการสงเคราะห์ในการดำเนินงานซึ่งจะเกิดประโยชน์ ต่อเด็กและเยาวชนการอบรมครั้งนี้ มีผู้ที่ผ่านการคัดสรรของคณะกรรมการสรรหากรรมการ สงเคราะห์ที่จะเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งจากรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมเข้าร่วมการอบรม รวมทั้งสิ้น ๖๕ ราย และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ด้วย การอบรม ประกอบด้วย การบรรยาย การประชุมและแบ่งกลุ่มระดมความคิด  ซึ่งการอบรม ครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการมารับรู้ปัญหาและมาร่วมกันคิดออกแบบการให้ ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดของจังหวัดนครราชสีมา ให้เหมาะสม กับสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนแต่ละราย กอรปกับเพื่อแก้ไขปัญหาเด็ก และเยาวชนอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้  คณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน สำหรับสถานพินิจฯ นครราชสีมา และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 ได้ร่วมกันเลือกประธานท่านใหม่  ตามวาระ โดยได้มีการเสนอชื่อผู้เข้ารับการเลือกตั้ง  ประกอบด้วย  1. นายอภิชาต  ติยวัฒน์  2. นายวรภพ  จำนงจิตร  3. นางสมใจ  อินทรทรัพย์  และนายธวัช  และจากการโหวตเสียงในที่ประชุม ปรากฏว่า เป็นเอกฉันท์ ให้  นายอภิชาต  ติยวัฒน์   ดำรงตำแหน่งประธาน สงเคราะห์เด็กและเยาวชน สำหรับสถานพินิจฯ นครราชสีมา และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3

ชาวบ้านครบุรี โคราช ซึ้งใจ โครงการ OTOP นวัตวิถี สร้างชีวิตใหม่ให้ชุมชนเกษตรหนองผักไร

ชาวบ้านครบุรี ซึ้งใจ โครงการ OTOP นวัตวิถี สร้างชีวิตใหม่ให้ชุมชนเกษตรหนองผักไร

นครราชสีมา –  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านหนองผักไร หมู่ที่ 2 ต.ตะแบกบาน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ต่างรู้สึกดีใจที่โครงการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ได้นำงบประมาณเข้ามาสู่หมู่บ้าน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชาวบ้านในพื้นที่  ซึ่งก่อนหน้านี้หมู่บ้านหนองผักไร ไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย รู้กันเพียงว่าเป็นหมู่บ้านที่ทำการเกษตรปลูกมันสำปะหลังเป็นหลัก แต่เมื่อโครงการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เกิดขึ้น ก็มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆเข้ามาส่งเสริม นำจุดเด่นของหมู่บ้าน ซึ่งอยู่บนที่ราบสูงสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามและความหลากหลายทางการเกษตร มาเป็นจุดขายจนทำให้ขณะนี้หมู่บ้านหนองผักไรเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวอย่างมาก

 

ล่าสุดเจ้าหน้าที่พัฒนากรชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ ได้ร่วมกันสร้างหอคอยไม้ไผ่ต่างระดับ 3 หลัง พร้อมมีสะพานไม้ไผ่ลดหลั่นต่างระดับกัน ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปชมความสวยงามของวิวทิวทัศน์ของพื้นที่ตำบลตะแบกบานและตำบลใกล้เคียง ซึ่งสามารถมองเป็นเนินเขาที่เขียวขจีไปด้วยพืชผลทางการเกษตรต่างๆ  โดยเฉพาะในช่วงเย็นตอนตะวันตกดิน  นักท่องเที่ยวจะได้เป็นความสวยงามของเนินเขาที่กลายเป็นทะเลสีเขียวสด ด้วยต้นมันสำปะหลัง ข้าวโพด ดาวเรือง และผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ ตัดกับสีทองผ่องอำไพของพระอาทิตย์ที่กำลังจะลับขอบฟ้า ซึ่งถือเป็นภาพที่สุดแสนจะสวยงามอย่างมาก นักท่องเที่ยวที่ชื่นชมการถ่ายภาพควรจะต้องลงไปลั่นชัตเตอร์ดูสักครั้ง

นายสำราญ ทนไทย รองประธานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านหนองผักไร เปิดใจว่า ต้องขอขอบคุณรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ริเริ่มให้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา เพราะชาวบ้านในชุมชนไม่เคยคิดมาก่อนว่า พื้นที่การเกษตรแห่งนี้จะสามารถพัฒนาและกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สวยงามและได้รับความนิยมเช่นนี้ได้ ซึ่งทางชุมชนเองจะพยายามพัฒนาและต่อยอดโครงการนี้ต่อไปอย่างสุดความสามารถเพื่อที่จะให้ชุมชนแห่งนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชาวบ้านในชุมชนอย่างยั่งยืน

ปฏิวัติ “นักข่าวอีสาน” ก้าวสู่โลกใหม่บนมือถือเป็น “นักข่าวมืออาชีพ”

ปฏิวัติ “นักข่าวอีสาน” ก้าวสู่โลกใหม่บนมือถือเป็น “นักข่าวมืออาชีพ”

 

“นักข่าวอีสาน” เร่งปรับตัวและเปลี่ยนแนวความคิด เข้าติวเข้ม 3 วันเต็ม เตรียมตัวเป็น “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ” ต่อยอดพัฒนาคุณภาพสู่ไทยแลนด์ 4.0

เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมเพชรเกษม แกรนด์ ถนนจิตรบำรุง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนภาคอีสาน ต่อยอดพัฒนาเข้มผู้สื่อข่าวทุกแขนงของภาคอีสาน เป็นรุ่นที่ 2 ภายใต้ชื่อ “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ พัฒนา คุณภาพชีวิตสู่ไทยแลนด์ 4.0” เรียนรู้วิธีการถ่ายภาพและตัดต่อ การทำ Content Marketing แบบ Storytelling ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนภาคอีสาน กล่าวว่า สมาคมฯ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ประจำปี 2561 เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้รวม 68 คน จากจังหวัดต่างในภาคอีสาน ทั้งนี้ยังมีภาคอื่นๆ เช่น สระบุรี และสมุทรปราการ เข้าร่วมอบรมด้วย โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการดำเนินการจัดการอบรม และจัดวิทยากรมาให้ความรู้ ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อยอดความรู้ให้แก่สื่อมวลชนภาคอีสาน ในการผลิตข่าว เพื่อนำเสนอผ่านออนไลน์ พร้อมกันนี้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ส่งผู้สังเกตการณ์จำนวน 2 คน เป็นตัวแทนจากองค์กรสื่อมวลชนภาคกลาง และภาคใต้ เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้อีกด้วย

“ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้มีวิทยากรมืออาชีพ อย่างเช่น นายกุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาศ หรืออาจารย์ต่อง ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ, อาจารย์จำรัส จันทนาวิวัฒน์, อาจารย์สืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (กลุ่มพลังแห่งต้นกล้า), คุณวิทยา จิรัฐติกาลสกุล (กลุ่มสื่อสุขสันต์) และคุณอุมาพร ตันติยาทร โปรดิวเซอร์ รายการสารคดีโทรทัศน์ บริษัท บุญมีฤทธิ์ จำกัด นอกจากนี้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้มอบให้นายชาย ปถะคามินทร์ เลขาธิการ มาบรรยายเรื่อง “ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป” และยังเปิดเวทีเสวนา เรื่อง “สังคมสูงวัย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และอาจารย์กรรณิการ์ บันเทิงจิตร”

ด้าน อาจารย์ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลป์วัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สสส. ได้มอบหมายให้แผนงานสื่อศิลป์วัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านพัฒนาสื่อ จึงได้ประสานกับสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนภาคอีสาน โดยการเชิญสื่อมวลชนเข้ามาร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายๆส่วน ร่วมกันจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสู่ภูมิภาค โดย สสส.ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว โดยเชิญสื่อมวลชนที่ทำงานในภาคต่างๆ เข้ามาร่วมกิจกรรม ในครั้งต่อไปก็จะเป็นการจัดร่วมกับเครือข่ายสื่อมวลชนภาคเหนือ ที่ จ.น่าน จากนั้นจะไปที่ภาคกลาง ที่ จ.ตราด และปิดท้ายที่ภาคใต้ ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แล้วจึงจะมีการถอดบทเรียน เพื่อทำหลักสูตร “สื่อศึกษา” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการอบรมในครั้งต่อๆ ไป

ในวันที่ 2 ของการอบรม ผู้อบรมทุกคนจะได้ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริง เพื่อผลิตผลงานคลิปวิดีทัศน์ผ่าน Smartphone ความยาว 5 นาที ในประเด็นหัวข้อที่ใช้ฝึกปฏิบัติการทั้ง 4 ประเด็นหลัก ที่ สสส. ได้กำหนดให้มา ได้แก่ ประเด็นรองรับผู้สูงวัย, ประเด็นกลุ่มอ่อนไหวและเปราะบาง, ประเด็นสิ่งแวดล้อมในชุมชน และประเด็นปัญหาปัจจัยเสี่ยงในชุมชน โดยจะมีวิทยากรพี่เลี้ยง ลงไปให้คำแนะนำวิธีการใช้แอพพลิเคชั่นและผลิตสื่อสร้างสรรค์อย่างถูกหลักและจูงใจผู้ชม

อาจารย์ดนัย กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยนไป เราจึงต้องมีการอบรมในการใช้มือถือ หรือสมาร์ทโฟน ในการผลิตสื่อในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามหลังจากจบการอบรมแล้วผู้เข้าอบรม จะต้องกลับไปฝึกทบทวนและใช้มือถือต่อยอดในการผลิตข่าวด้วยตัวเองต่อไปเพื่อให้เกิดทักษะ และความชำนาญมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้หากติดขัดหรือมีข้อสงสัย ก็ยังสามารถสอบถามวิทยากรทุกท่านได้ เพื่อที่เราจะได้มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นต่อไป

ด้าน ดร.กัลยาณี ธรรมจารย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรม เล่าด้วยความประทับใจว่า เป็นการอบรมที่เข้มข้น จริงจัง ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่ได้มีการแบ่งกลุ่มผู้อบรมฯ และให้ลงไปยังพื้นที่พร้อมวิทยากรพี่เลี้ยง เพื่อหาประเด็นข่าวตามหัวข้อที่ สสส.กำหนด โดยในแต่ละกลุ่มก็ได้มีการประชุมวางแผนร่วมกัน แบ่งมอบหน้าที่ แล้วลงมือถ่ายภาพด้วยมือถือ เพื่อนำมาตัดต่อด้วยแอพพลิเคชั่นในมือถือ ซึ่งเป็นความทันสมัยในยุค 4.0 และที่สำคัญมีความสะดวกสบาย สามารถผลิตสื่อได้โดยง่าย รวดเร็ว แก้ไขได้ตามใจต้องการ และที่สำคัญสามารถนำไปใช้งานได้ทันต่อเหตุการณ์

ทั้งนี้ หลังจากที่ทุกกลุ่มได้ร่วมกันผลิตสื่อตามโจทย์ที่ สสส.กำหนดแล้ว และได้ส่งงาน คณะผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีอาจารย์มานพ  แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. เป็นประธานได้ร่วมกันวิพากย์ถึงเนื้อหา การถ่ายภาพ ความเชื่อมโยงการเล่าเรื่อง เพื่อให้นำไปปรับแก้ ให้ผลงานของแต่ละกลุ่มออกมามีประสิทธิภาพและเป็นที่สนใจของผู้ชม จึงนับได้ว่าการอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมเข้มที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้การผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ซึ่งจะได้มีการต่อยอดในการจัดโครงการครั้งที่ 3/2561 ต่อไป

พบรีสอร์ทปลูกผักหวานป่า กว่า 2-3 พันต้น ที่อำเภอวังน้ำเขียว

พบรีสอร์ทปลูกผักหวานป่า กว่า 2-3 พันต้น  ที่อำเภอวังน้ำเขียว  จังหวัดนครราชสีมา

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครราชสีมา  ได้พบว่ามีรีสอร์ทที่ อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา ได้ปลูกและเพาะพันธุ์ผักหวานป่าจำนวนกว่า 2-3 พันต้น โดยไดพบกับ  นายวรโชติ  สุรจันทร์  หรือเฮียตี๋  เจ้าของไร่ จวนทองผักหวานป่า  อยู่ที่บ้านพุทธชาด  เลขที่ 209 หมู่ 8 ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา  ทางขึ้นเขาสลักได ที่ให้บริการบ้านพัก  กางเต้น และงานสัมมนาต่าง ๆ  ซึ่งสถานที่แห่งนี้ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 440 เมตร   โดยนายสรโชติ  สุรจันทร์   หรือเฮียตี๋  ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่ารีสอร์ทไร่จวนทองผักหวานป่าแห่งนี้มีเนื้อที่ 13 ไร่กว่าและได้ปลูกต้นผักหวานป่าไว้ 2-3 พันต้น  สาเหตุที่ปลูกผักหวานป่าเนื่องจากว่าเป็นพืชที่ปลูกยากมากและเป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่ง  หากปลูกพืช ที่ปลูกยากจะเป็นอย่างไร

นายวรโชติ สุระจันทร์กุล หรือเฮียตี๋ยังได้กล่าวต่ออีกว่าผักหวานป่า ที่ปลูกนี้ ส่วนหนึ่งก็จะนำไปขายและอีกส่วนหนึ่งก็จะนำมาประกอบอาหารให้กับลูกค้าได้รับประทานและนอกจากผักหวานป่าแล้วทางไร่ยังได้ปลูกต้นไม้ใหญ่ผลไม้ต่างๆไว้เป็นจำนวนมากเพื่อสร้างความเป็นธรรมชาติให้กับรีสอร์ทและในช่วงฤดูแห่งการท่องเที่ยวนี้   ทางด้านนายวรโชติ  สุรจันทร์  ก็ได้เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มาพักผ่อนที่ไร่จวนทองผักหวานป่าแห่งนี้ด้วย

ทางด้านของเชฟ  เอกกฤต วงษ์วัน หรือเชฟโจ   ประธานที่ปรึกษาเชฟเขาใหญ่   นครราชสีมา   ได้กล่าวว่า ตนเองได้มาพักผ่อนที่ไร่จวนทองผักหวานป่าแห่งนี้และได้สังเกตเห็นว่ามีต้นผักหวานป่าเป็นจำนวนมาก   จึงได้มีการพูดคุยกับทางด้านเจ้าของรีสอร์ท  และได้แนะนำเมนูที่ทำจากผักหวานป่า  ที่มีอยู่ภายในไร่จวนทองผักหวานแห่งนี้   โดยเชฟโจ  ได้อธิบายถึงสรรพคุณของผักหวานป่าว่า  เป็นผักที่ชอบน้ำเล็กน้อยชอบอากาศเย็นโดยส่วนใหญ่จะมีที่อำเภอวังน้ำเขียวที่เดียวเท่านั้นรวมถึงรสชาติที่กรอบมันหักแกงแบบโบราณเช่นแกงกะทิหัวปลีใส่ผักหวานป่าก็จะมีรสชาติที่กลมกล่อมหรือจะทำเมนูต้มซุปในสไตล์ญี่ปุ่นก็ได้

ซึ่งผักหวานป่าที่ไร่จวนทองมีลักษณะพิเศษคือกรอบใบใหญ่มีรสชาติที่อร่อยมากๆต่างจากผักหวาน บ้านอย่างสิ้นเชิง  นอกจากนี้  เชฟโจ  ยังได้กล่าวอีกว่าผักหวานป่าเป็นผักที่หายากมากและจะหาคนที่ปลูกอย่างจริงจังก็ยากเช่นกันและเป็นที่โชคดีของตนที่ได้มาเที่ยวพักผ่อน  ณ  ที่แห่งนี้และได้เจอกับผู้ที่ปลูกผักหวานป่าไร่จวนทองแห่งนี้ด้วยเช่นกัน

ชมคลิปและเสียงสัมภาษณ์

เจ้าหน้าที่และชาวบ้านติดป่าสงวนแห่งชาติป่า อ.ครบุรี โคราช เร่งทำแนวป้องกันไฟป่าช่วงหน้าแล้ง

เจ้าหน้าที่และชาวบ้านติดป่าสงวนแห่งชาติป่าครบุรี เร่งทำแนวป้องกันไฟป่าช่วงหน้าแล้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิชัย พิทยาพรพิพัฒน์ ผู้ใหญ่บ้านหนองโบสถ์ – บ่อลิง หมู่ที่ 16 ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นม.6 (ป่าครบุรี) นำเจ้าหน้าที่ออกทำแนวป้องกันไฟป่า รอบแปลงปลูกป่า โครงการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ ป่าสงวนแห่งชาติป่าครบุรี เนื้อที่จำนวน 300 ไร่ เพื่อเป็นการป้องกันต้นไม้ที่ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ได้ช่วยกันปลูกเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าที่เคยเสื่อมโทรม ไม่ให้ถูกไฟป่าที่อาจจะเกิดขึ้นในยามหน้าแล้ง เผาไหม้จนได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นการติดตามดูแลป่าหลังปลูก เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

โดยในช่วงนี้สภาพของแปลงปลูกป่าดังกล่าว ยังเป็นแปลงปลูกป่าใหม่ ทำให้เกิดมีหญ้าวัชพืชขึ้นปกคลุมจำนวนมาก เนื่องจากต้นไม้ที่นำมาปลูกยังเล็กอยู่ และในยามฤดูแล้งวัชพืชพวกนี้จะแห้งเหี่ยวและจะกลายเป็นเชื้อไฟได้ง่าย  ทางชาวบ้านในชุมชนและเจ้าหน้าที่จึงต้องเร่งช่วยกันทำแนวกันไฟป่ารอบแปลงปลูกป่า เพื่อหากในกรณีที่เกิดไฟป่า เจ้าหน้าที่จะสามารถเข้าไปดับไฟได้ง่าย และจะเป็นป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าไปในแปลงปลูกป่าที่ต้นไม้ยังเล็กเสียหายง่าย ลดอัตราความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

มทร.อีสาน จับมือ Mi Group จัดงาน “Esan Smart Expo 2018  12 นวัตกรรมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ”

มทร.อีสาน จับมือ Mi Group จัดงาน “Esan Smart Expo 2018  12 นวัตกรรมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ” งานแสดงนวัตกรรมมุ่งสู่ Smart University เต็มรูปแบบ

ที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมกับ บริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่งจำกัด จัด งาน “Esan Smart Expo 2018  12 นวัตกรรมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายปัญญา  วงศ์ศรีแก้ว   ปลัดจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานในพิธี  พร้อมกันนี้ยังได้เดินเยี่ยมชมบูธนิทรรศการแสดงผลงานของมหาวิทยาลัยและธุรกิจ Smes โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนกเจริญภักดี  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์และวิเทศสัมพันธ์ กล่าวรายงานที่มาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน  งานนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่แสดงให้เห็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการเป็น SMART University อย่างแท้จริง ซึ่ง มหาวิทยาลัยเองได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560– พ.ศ.2564) เพื่อเป็นกรอบแนวทางกำหนดทิศทางการดำเนินการพัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม  มหาวิทยาลัยสีเขียว  และมหาวิทยาลัยแห่งคุณธรรม  อันนำไปสู่ความเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งภูมิปัญญา” (Smart University) การจัดงานครั้งนี้เป็นผลมาจากการลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือการให้บริการระบบ Smart University และการบริหาร MICE University สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี    ราชมงคลอีสาน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561  กับบริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่ง จำกัด  โดย มทร.อีสาน มุ่งหวังที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน Smart University  4.0 ตามแผนพัฒนาของประเทศ  โดยจะดำเนินการพัฒนาระบบการทำงานและการเรียนการสอนให้มีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น เพื่อต่อยอดการผลิตบัณฑิตที่เป็นกำลังสำคัญในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน พร้อมทำงานและมีทักษะทางด้านการผลิตและใช้นวัตกรรม

ด้าน นายสาธิต สาตรพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่ง จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน อาทิ การบรรยายพิเศษ การจัดเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การจัดการแข่งขันอากาศยานไร้คนขับ FPV Drone racing การแข่งขันกีฬา e-Sport การอบรมและแนะแนวทางการประกอบอาชีพด้านนวัตกรรม การ WORKSHOP ด้านธุรกิจในยุคดิจิตอล 4.0  และมอบทุนสำหรับธุรกิจ Start Up ในยุค Thailand 4.0 ภายใต้ชื่อ กองทุนอาชีพสมัยใหม่ 4.0 RMUTI @ Smart University  to KORAT Smart City  การแสดงสินค้าและนวัตกรรม พร้อมสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดงาน โดยเห้นถึงความพร้อมและศักยภาพของ มทร.อีสาน ที่จะเป้นสถานที่ในการจัดงาน การแข่งขัน การถ่ายทอดนวัตกรรม ที่จะเกิดขึ้นในงาน “Esan Smart Expo 2018  12 นวัตกรรมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ” ระหว่างวันที่ 23 -25 พฤศจิกายน 2561 นี้

>ชมคลิปเสียงสัมภาษณ์ และบรรยากาศ<<

ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมาจัดแถลงข่าวโครงการดนตรีบำบัดคืนคนดีสู่สังคมครั้งที่ 11-12

ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมาจัดแถลงข่าวโครงการดนตรีบำบัดคืนคนดีสู่สังคมครั้งที่ 11-12

ที่ผ่านมา   ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา   ร่วมกับคณะกรรมการสงเคราะห์จังหวัดนครราชสีมาได้จัดงานแถลงข่าวโครงการดนตรีบำบัดคืนคนดีสู่สังคมครั้งที่ 11-12   เพื่อเป็นการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนรวมทั้งเป็นการลดความวิตกกังวลตลอดจน  เป็นขวัญและกำลังใจในการฝึกอบรม  ซึ่งมุ่งเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม  สนุกสนานและพัฒนาทักษะด้านอารมณ์และจิตใจ

โดยกิจกรรมจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม 2561 ณ  สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาและในวันที่ 11 ธันวาคม 2561 ณ  ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้มีศิลปิน ชื่อดังอาทิลำไยไหทองคำพร้อมศิลปินในค่ายไหทองคำและศิลปินวงเย็นตาโฟมาร่วมแสดงเพื่อสร้างความบันเทิงอีกด้วย

 

ในการแถลงข่าวครั้งนี้  ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้าน พร้อมทั้งคณะผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม  ประกอบด้วย

นายอภิชาต   ติยวัฒน์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาและศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 ได้กล่าวเปิดการแถลงข่าวการจัดคอนเสิร์ตในโครงการดนตรีบำบัดคืนคนดีสู่สังคมครั้งที่ 11-12

ดร. รัตนะ  วรบัณฑิต  ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 ได้กล่าวถึง ความเป็นมาของโครงการดนตรีบำบัดคืนคนดีสู่สังคมครั้งที่ 11-12  ว่า  ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมาและคณะกรรมการสงเคราะห์ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของดนตรีในแง่ของการบำบัดจึงจัดโครงการดนตรีบำบัดคืนคนดีสู่สังคมขึ้นเพื่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์จิตใจและพฤติกรรม  โดยโครงการดังกล่าวนี้ได้ จัดต่อเนื่อง เป็นครั้งที่ 11 และได้ส่งเสริม ทางด้านของดนตรี  กีฬา  ศิลปะ  เพื่อให้เยาวชนได้รับการบำบัดฟื้นฟูทักษะด้านอารมณ์และจิตใจ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  หลังจากได้รับโอกาสสู่สังคมที่ดีร่วมกันต่อไป

ด้าน  นายวรภพ   จำนงค์จิต   รองประธานกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา  และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 ได้กล่าวถึง วัตถุประสงค์หลักของกิจกรรมการจัดคอนเสิร์ตในโครงการ  ดนตรีบำบัด  คืนคนดีสู่สังคมครั้งที่ 11-12 ในฐานะผู้ดูแลกิจกรรมการจัดงานครั้งนี้ ว่า  มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กิจกรรมทางดนตรีเป็นสื่อในการปรับสภาพจิตใจให้อยู่ในสภาวะสมดุล  เป็นการพัฒนาทักษะทางอารมณ์ความคิดทักษะทางสังคม   ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และเพื่อให้เยาวชนผ่อนคลายความตึงเครียด   ลดความวิตกกังวล  เสริมสร้างและพัฒนาทักษะการเรียนรู้  ความจำ  และกระตุ้นการรับรู้  และเสริมสร้างสมาธิ   เพื่อใช้กิจกรรมทางดนตรีเสริมสร้างกระบวนการบำบัด  ทั้งในการประเมินความรู้สึก   สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก  และการควบคุมตนเองรวมทั้งเพื่อเป็นการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชน

ด้าน  นายบุญธรรม  รอบคอบ ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวต้อนรับคณะกรรมการและสื่อมวลชน  แนะนำการทำงานของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ในการส่งเสริมให้เยาวชนที่อยู่ในการดูแลได้รับโอกาสฝึกทักษะทางด้านดนตรีและกีฬา เพื่อปรับสภาพจิตใจ และแนวความคิดพร้อมปรับพฤติกรรมที่ดีสู่สังคมในอนาคต

 

นายฐิติรัตน์  พงษ์พุทธรักษ์  นายกสมาคมนักข่าว  จังหวัดนครราชสีมา  ได้กล่าวขอบคุณ การได้มีส่วนร่วมนำเสนอ  และเป็นสื่อกลาง  งานด้านการฟื้นฟูเด็กและเยาวชน  การมีส่วนร่วมการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนภายในศูนย์  กับการจัดกิจกรรมโครงการดนตรีบำบัด   คืนคนดีสู่สังคม  ครั้งที่ 11-12   โดยกล่าวว่า   กีฬาในอนาคต ถือเป็นโครงการสร้างสรรค์พัฒนาทักษะฟื้นฟูสภาพจิตใจการปรับพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนให้ได้รับการเสริมสร้างอารมณ์และจิตใจที่ดี สู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  พัฒนาแนวทางที่ดีขึ้นไปตามลำดับจากแนวทางด้านดนตรีนี้  เห็นว่าดี  และจัดต่อเนื่องมาตลอดถึง 11 ครั้งจนถึงปัจจุบัน   ทางคณะยินดีเป็นส่วนหนึ่ง และพัฒนาร่วมกับคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาและศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนเขต 3 ต่อไป

>> ภาพบรรยากาศการแถลงข่าว<<<

พ่อเมืองโคราช  ร่วมพิธีพุทธาภิเษก “น้ำมนต์กลางหาว” และสืบสานประเพณีลอยกระทง  กับครูบากฤษณะ  ประจำปี 2561

พ่อเมืองโคราช  ร่วมพิธีพุทธาภิเษก “น้ำมนต์กลางหาว” และสืบสานประเพณีลอยกระทง  กับครูบากฤษณะ  ประจำปี 2561

เมื่อวันที่  22  พฤศจิกายน  2561 ที่ผ่านมา  ณ อาศรมสวนพฤกษศาสตร์ ต.โตนด    อ.โนนสูง  จ.นครราชสีมา  ได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกน้ำพระพุทธมนต์จันทร์เพ็ญ “น้ำมนต์กลางหาว”     และร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมอันดี  ประเพณีไทยโบราณลอยกระทง

โดยได้รับเมตตาจาก หลวงปู่คูณ  วรปัญโญ    วัดบัญลังค์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์   และได้รับเกียรติจาก นายวิเชียร  จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส  พร้อมด้วย  นางณัฏฐินีภรณ์  จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา และ นายสุรศิษฐ์ อินทกรอุดม นายอำเภอโนนสูง พร้อมคณะ เข้าร่วมในงานครั้งนี้

ภายในงานได้มีพิธีพุทธาภิเษกน้ำพระพุทธมนต์จันทร์เพ็ญ “น้ำมนต์กลางหาว”     และร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง และ วัตถุมงคล  รุ่น    หนุนดวงเรียกทรัพย์ วาระพิเศษโดยมี เกจิชื่อดัง  5 รูป  ประกอบด้วย ครูบากฤษณะ  อินทวัณโณ  ,หลวงปู่คูณ  วรปัญโญ    วัดบัญลังค์  , ครูบาแบ่ง  ฐามุตตา   วัดโตนด,  ครูบาไพรวัลย์   วัดบ้านไร่โคกสูง และ หลวงปู่โชค สำนักสงฆ์  หลวงปู่โชคไชยมงคล  ร่วมประกอบพิธี

 

ทั้งนี้ นายวิเชียร  จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย ด้วย  นางณัฏฐินีภรณ์  จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา และคณะ ได้มอบกระเช้าสุขภาพและผลไม้ ถวายพระครูสังฆรักษ์สุรเดช   อินทวัณโณ  พร้อมทั้งร่วมพิธีเสริมสิริมงคลในพิธีอีกด้วย

 

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราสีมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการหมอชวนวิ่ง จังหวัดนครราชสีมา

วันนี้(21พ.ย.2561) ณ ลานนวมินทร์สวนน้ำบุ่งตาหลั่วเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9  จ.นครราชสีมานายวิเชียร  จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราสีมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการหมอชวนวิ่ง จังหวัดนครราชสีมาพร้อมนำคณะหัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนจากกรมอนามัยและแพทยสภา ดารานักแสดง พ่อค้า ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมกว่า 1,000 คน ร่วมถวายราชสักการะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรพร้อมทั้งรับมอบคฑาโดยมี อธิบดีกรมอนามัย(พญ.พรรณพิมล วิปุลากร) อดีตอธิบดีกรมอนามัย(นพ.วชิระ เพ็งจันทร์) รองอธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา(นพ.นรินทร์รัชต์พิชญคามินทร์)ผู้อำนวยการ รพ.มหาราชนครราชสีมา(นพ.ชุติเดชตาบ-องครักษ์)ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา(นพ.วีรพลกิตติพิบูลย์) ผู้อำนวยการสำนักการป้องกันโรคที่ 9นครราชสีมา(นพ.กิตติ์พงศ์สัญชาตวิรุฬห์) ปลัดจังหวัดนครราชสีมา(นายปัญญา วงศ์ศรีแก้ว)ผู้แทนแม่ทัพภาคที่ 2ผู้แทนผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาผู้บริหาร รพ.จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีผู้อำนวยการ รพ.ผู้อำนวยการ รพ.เทพรัตน์นครราชสีมา(นพ.จิรศักดิ์วิจักขณาลัญฉ์)ผู้อำนวยการ รพ.ปากช่องนานา(นพ.มณเฑียร เพ็งสมบัติ)ผู้บริหารสว่างเมตตาธรรมสถาน ผู้บริหารฮุก 31 ประธานแม่บ้านฮุก31ผู้อำนวยการ รพ.ชุมชนทุกแห่ง และสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ ตลอดจนผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.นครราชสีมา(นายสัญญา ภักดิ์โพธิ์) รักษาการประชาสัมพันธ์-         จ.นครราชสีมา(นายพิทยา แสงรุ่ง) เครือข่ายสื่อมวลชนจังหวัดนครราชสีมา

นายวิเชียร  จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราสีมา กล่าวว่าโครงการ “หมอชวนวิ่ง” เป็นกิจกรรมที่ดีซึ่งจัดขึ้นเนื่องในโอกาส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในวาระครบรอบ 100ปี กระทรวงสาธารณสุข และครบรอบ 50 ปีแพทยสภา โดยมีแนวคิดหลักที่จะช่วยดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทุกคนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้นซึ่งนำทีมโดยบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา ได้มาชักชวนทุกคนออกกำลังกายด้วยการวิ่ง พร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับประชาชน โดยมุ่งหวังให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายอีกทั้งยังต้องการให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองเพราะสุขภาพนั้นเราสร้างเองได้ (Health Yourself) และที่สำคัญเป็นการสร้างความร่วมมือให้องค์กรทุกแห่งของโคราช ออกมาเป็นหมอในการดูแลสุขภาพตนเอง ถือว่าทุกภาคส่วนรวมจะก้าวไปด้วยกัน (NO ONE LEFT BEHIND)

          นพ.นรินทร์รัชต์พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเพิ่มว่าจังหวัดนครราชสีมาได้กำหนดให้ : “หมอ” หมายรวมถึง ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ท้องถิ่น ท้องที่ ผู้ที่ได้รับ ค่าตอบแทนจากรัฐ  ด้วยเป้าหมายเดียวกัน คือ บำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชน และหมอที่ดีที่สุดคือ ตัวเราเอง  โดยจัดให้ภาครัฐ และภาคประชาชนรณรงค์ออกกำลังกายทั้ง 32อำเภอของจังหวัดนครราชสีมาในระหว่างวันที่ 1-20พฤศจิกายน 2561 วัตถุประสงค์หลัก คือเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการออกกำลังกายโดยการวิ่งหรือเดินที่ถูกวิธี อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับประชาชน และใช้วิธีส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย  โดยวันนี้ได้ ทำพิธีรับมอบคฑา ปล่อยตัวผู้ร่วมกิจกรรมวิ่ง -เดินเพื่อสุขภาพ ระยะทาง3.2กิโลเมตรและในวันที่ 22 พฤศจิกายน2561 เวลา 06.00 น. ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีจะมีพิธีวิ่งส่งคฑาเป็นปฐมฤกษ์โดยหัวหน้าส่วนราชการไปยังอำเภอปากช่อง เพื่อส่งมอบคฑาเฉลิมฉลองคฑา ณ ลานเอนกประสงค์ตรงข้าม รพ.ปากช่องนานา และวันที่ 23 พฤศจิกายน2561 เวลา 06.00 น. ณ รพ.ปากช่องนานา ทีมนักวิ่งส่งมอบคฑาจะเดินทางออกจาก รพ.ปากช่องนานามุ่งสู่สนามกีฬากลางจังหวัดสระบุรีต่อไป  ท้ายนี้ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนตลอดเส้นทางได้ร่วมต้อนรับคณะนักวิ่ง รวมทั้งเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรม (NCDs) ที่ยังมีสถิติการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขอให้ประชาชนชาวโคราชใช้กิจกรรมครั้งนี้เป็นการจุดประกายให้ประชาชนในพื้นที่ได้หันมาใส่ใจสุขภาพโดยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวลา 14.00 น. ประชาชนลงทะเบียนบุคลากรทุกภาคส่วนจิตอาสาและประชาชนพร้อมกันชมนิทรรศการถ่ายภาพศิลปินดารานักวิ่งทุกสายพร้อมกันพิธีกรกล่าวต้อนรับแขกและผู้มีเกียรติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาขึ้นบนเวทีทำพิธีเปิดกรวยถวายด้วยความเคารพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพวรางกูรผู้ร่วมงานถวายความเคารพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาขึ้นกล่าวเปิดงานและรับมอบคฑาพร้อมด้วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาหัวหน้าส่วนราชการทุกส่วนร่วมเป็นเกียรติพิธีกรWarm upร่างกายผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินวิ่งระยะทาง 3.2 กม. และกิจกรรมแสดงอื่นๆ

หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยโคราช…ตั้งตัวสู้ภัยแล้ง เร่งปลูกหญ้าเนเปีย สร้างแหล่งอาหารสดให้โคกระบือ

หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยตั้งตัวสู้ภัยแล้ง เร่งปลูกหญ้าเนเปีย สร้างแหล่งอาหารสดให้โคกระบือ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงที่เริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งเต็มรูปแบบในขณะนี้  ชาวบ้านภายในหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย บ้านใหม่จอมทอง – ตลิ่งชัน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเลี้ยงโคและกระบือแทบทุกครัวเรือน ต้องเร่งทำการกักตุนอาหารไว้ให้กับโคกระบือของตนเอง เนื่องจากเกรงว่าในช่วงที่แล้งหนัก จะไม่มีแหล่งอาหารพอเพียง ซึ่งจะทำให้โค กระบือ ขาดอาหารและล้มป่วยลงได้

นายจำเนียร ดายครบุรี อายุ 52 ปี ผู้ใหญ่บ้านใหม่จอมทอง กล่าวว่า ในช่วงนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคกระบือ จะเริ่มทำการเก็บกักตุนเอาฟางข้าวที่กำลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีในช่วงนี้ เพื่อเตรียมไว้เป็นแหล่งอาการยามที่ขาดแคลน อีกทั้งยังต้องเตรียมปลูกหญ้าเนเปียไว้ให้เป็นพืชอาหารสดให้กับโค กระบือ เพราะในช่วงหน้าแล้งโคกระบือจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เพื่อไม่ให้ผอมจนเกินไปจนต้องล้มป่วย  ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ก็จะทำการเพาะปลูกหญ้าเนเปียกันไว้เอง เพราะต่างมีประสบการณ์กันมาแล้ว อีกทั้งหญ้าเนเปียยังเป็นพืชที่ให้โปรตีนสูงอีกด้วย

 

นอกจากนี้ปัญหาการขาดแคลนน้ำก็เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ชาวบ้านจึงต้องช่วยกันออกสำรวจแหล่งน้ำและทำข้อตกลงร่วมกันในการแบ่งการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อให้ได้มีน้ำใช้เลี้ยงโคกระบือไปจนสิ้นสุดฤดูแล้งไปด้วยกันด้วย  สำหรับหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย บ้านใหม่จอมทอง – ตลิ่งชันนั้น มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคกระบือรวมกันในพื้นที่ประมาณ 200 ราย มีจำนวนโคกระบือรวมกันมากกว่า 1,000 ตัว

ชมคลิป