พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” ในวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ณ วาไรตี้ ฮอลล์ (หน้า MCC HALL) ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก”

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานว่า “จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2536 – 2564 มีเด็กเกิดใหม่ลดลงจาก 900,000 คนถึง 1,000,000 คน ลดลงเหลือ 544,000 คน ในปี 2564 และปี 2556-2557 หญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้มีผลต่อสุขภาพ เช่น เวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ความพิการแต่กำเนิด หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบนโยบายวิวาห์สร้างชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากร

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดงานว่า “
จากคำกล่าวรายงานของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การขับเคลื่อน การดำเนินงาน วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) เพื่อส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีความพร้อมในการมีบุตร มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ โดยการส่งเสริมให้มีโภชนาการที่ดี และเสริมด้วยวิตามินธาตุเหล็กและโฟลิก อันจะส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนการเกิดเพื่อทดแทนจำนวนประชากร และการเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน และทารกเกิดแข็งแรง พร้อมเติบโตอย่างมีคุณภาพ ลดความพิการแต่กำเนิด เด็กมีพัฒนาการสมวัย สามารถเจริญเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป และการประชุมครั้งนี้จะได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายให้เกิดขึ้นจริงในจังหวัดนครราชสีมาจากทุกภาคส่วน ตามนโยบายส่งเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป ผมขอแสดงความชื่นชม ที่ได้เห็นทุกภาคส่วน ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานและร่วมประชุมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดียิ่ง”

ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประชุมที่ปรึกษา คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม จ.นครราชสีมาและเครือข่าย…..

วันที่ ๑๑ กุมกาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓ 00-๑๕.00 น.ณ ห้องประชุม สนง.การท่องเทียวและกีฬาจังหวัดนครราชสิมา โดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมงาน ก่อนหน้านั้นนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาในการเปิดประชุมวาระ1/2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ


๑.๑ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียรจันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมประชุม
๑.๒ ชมวีดีทัศน์ สรุปผลการดาเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๘
๑.๓ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
มอบเข็มเชิญชูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศ
กล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภา
วัฒนธรรมชุดใหม่
มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อทราบ
๓.๑ ด้วยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้อนุมัติโครงการเพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ จานวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการผลิตสื่อออนไลน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเอง จานวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท
โครงการเล่าขายประวัติศาสตร์นครราชสีมา ผ่านนามสกุลคนโคราชจำนวนเงิน ๒๑๐,๐๐๐ บาท
โครงการหมู่บ้านพืชผักสวนครัวเกษตรอินทรีย์ ๕ ดี วิถีคนโคราชจำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งสภาวัฒนธรรมได้ดาเนินการไปแล้วทั้ง ๓ โครงการ พร้อมทั้งรายงานผลการดาเนินงานโครงการไปยังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมทั้ง ๓ โครงการ และในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ กรมส่งเสริมได้อนุมัติโครงการให้สภาวัฒนธรรม
ดำเนินโครงการ ๑ โครงการ ได้แก่ โครงการ จัดทาชุดองค์ความรู้วิถีคนโคราช “กิ๋นเป็นยา” เพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (นำเสนอโดยเลขาสภาวัฒนธรรม)
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
๔.๑ การแต่งตั้งที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘
๔.๒ การแต่งตั้งประธานกลุ่มอาเภอ โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
แบ่งเป็น ๖ กลุ่มอาเภอ ดังนี้
กลุ่มที่ ๑. ๖ อาเภอ ได้แก่ เมืองนครราชสีมา, สีคิ้ว,สูงเนิน,ปากช่อง,เฉลิมพระเกียรติ,ขามทะเลสอ
กลุ่มที่ ๒. ๕ อาเภอ ได้แก่ โชคชัย,ปักธงชัย,วังน้าเขียว,ครบุรี,เสิงสาง
กลุ่มที่ ๓. ๖ อาเภอ ได้แก่ พิมาย,ชุมพวง,โนนแดง,ประทาย,ลาทะเมนชัย,เมืองยาง
กลุ่มที่ ๔. ๕ อาเภอ ได้แก่ โนนสูง,จักราช,ห้วยแถลง,หนองบุญมาก,โนนไทย
กลุ่มที่ ๕. ๔ อาเภอ ได้แก่ ด่านขุนทด,เทพารักษ์,พระทองคา,ขามสะแกแสง
กลุ่มที่ ๖. ๖ อาเภอ ได้แก่ บัวใหญ่,บัวลาย,สีดา,แก้งสนามนาง,คง,บ้านเหลื่อม
๔.๓ การมอบหมายคณะทางานตามโครงสร้างสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕
๔.๔ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาตามบทบาท
หน้าที่และภาระงานของสภาวัฒนธรรม
๔.๕ พิจารณาข้อบังคับของสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘

PEA เดินหน้าวางระบบไฟฟ้าลงดิน 1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบประชาพิจารณ์ เพื่อเดินหน้าโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 17 ธันวาคม 2554 เวลา 13.00 น. ที่วัดพระนารายณ์มหาราช จังหวัดนครราชสีมา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบประชาพิจารณ์ โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในพื้นที่เทศบาล นครนครราชสีมา เส้นถนนจอมพล ตั้งแต่บริเวณสี่แยกศาลหลักเมือง ถึง สี่แยกตัดประตูพลล้าน ระยะทางประมาณ 800 เมตร งบประมาณ 45,618,000 บาท

เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ตามมติคณะกรรมการ กฟภ. ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เห็นชอบให้ กระทรวงมหาดไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จัดทำโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นระบบไฟฟ้าใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา ได้เลือกพื้นที่ดำเนินการบนถนนจอมพล ช่วงบริเวณสี่แยกศาลหลักเมือง ถึง สี่แยกตัดประตูพลล้าน โดยคาดหวังให้ภูมิทัศน์ของเทศบาลนครนครราชสีมาของเรา มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามและช่วยส่งเสริม ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา

นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ถึงกล่าวถึงผลกระทบและมาตรการป้องกันผลกระทบในเรื่องของ การจราจร (เนื่องจากแนวท่อร้อยสายไฟฟ้าและบ่อพักสายจะอยู่บริเวณถนน จึงจำเป็นจะต้องปิดการจราจรถนน 1 ช่องทางเป็นบางช่วง) จะมีเสียงรบกวนจากการก่อสร้าง ซึ่งระดับความดังของเสียงจะอยู่ในระดับที่กฎหมายกำหนด ในด้านฝุ่นละออง (จะมีฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้าง ซึ่งจะควบคุมให้อยู่ในระดับที่กฎหมาย กำหนด) ส่วนร้านค้าแผงลอยบนทางเท้า (การก่อสร้างบางส่วนจะอยู่บริเวณทางเท้า มีความจำเป็นที่ต้องเปิดทางเท้า เมื่อแล้วเสร็จจะคืนสภาพผิวให้เหมือนเดิม)

ทั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ประสานงานร่วมกับเทศบาลนครนครราชสีมาและจังหวัดนครราชสีมา กำชับผู้รับจ้างให้ใช้ความระมัดระวังในการขนส่งวัสดุก่อสร้าง และติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อให้ประชาชน หลีกเลี่ยงเส้นทางจราจรที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง และอาจรวมถึงให้ช่วยทำความสะอาดพื้นถนน เพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น

นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ภายในระยะเวลา 365 วัน หลังจากที่เริ่มโครงการ เมื่อสายไฟฟ้าลงสู่ใต้ดินแล้ว ระบบจำหน่ายไฟฟ้าจะมีความมั่นคงด้วยระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน ช่วยเสริมสร้างความมั่นคง ปลอดภัย ของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับจากภัยธรรมชาติและอุบัติภัยต่างๆ รวมถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น อุบัติเหตุจากรถชนเสาไฟฟ้า ฝนตกลมแรง ซึ่งอาจพัดกิ่งไม้ หรือป้ายโฆษณามาเกี่ยวสายไฟฟ้า ทำให้เกิดความเสียหายและความอันตรายได้ อีกทั้ง รองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ด้วยระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ จึงสามารถรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสังคมเมือง และนับวันการใช้ไฟฟ้า ยิ่งมีบทบาทกับเรามากขึ้น และช่วยทำให้ ทัศนียภาพสวยงามด้วยประเทศไทยเป็นประเทศท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ PEA จึงเร่งนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เพื่อทัศนียภาพที่สวยงาม อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสู่สายตา ชาวต่างชาติ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา ในนาม PEA ขอขอบคุณ จังหวัดนครราชสีมา ขอบคุณเทศมนตรีนครนครราชสีมา ขอบคุณตำรวจภูธร และทุกภาคส่วน รวมถึงสื่อมวลชน ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาทุกท่านที่ให้การความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของ PEA และที่ขาดไปไม่ได้ ขอบคุณ ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมที่มีแผนนำสายสื่อสารลงสู่ใต้ดิน ให้แล้วเสร็จในช่วงระยะเวลาดำเนินการของ PEA”

มทร.อีสานยกระดับอาชีพภาคเกษตรกรรม สร้างอาชีพวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชน ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยมี ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน ร่วมพิธีเปิด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นประมาณอีก 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

บริษัทคาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เดินหน้าสานต่อเพื่อช่วยเหลือชุมชน

บริษัทคาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เดินหน้าสานต่อเพื่อช่วยเหลือชุมชน สนับสนุนผลิตภัณฑ์ไข่ไก่สดจำนวน 20,000 ฟอง พร้อมน้ำดื่มจำนวน 80 แพค เพื่อมอบให้แก่พื้นที่อำเภอพิมาย อำเภอหนองบุญมาก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพะโค จังหวัดนครราชสีมา เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลประทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา รวมถึงใช้ในการประกอบอาหารให้แก่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการดูแลการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนตามโรงพยาบาลส่วนตำบลต่างๆ

พ่อโคราชร่วมสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

วันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ น.
พระสีหราชสมาจารมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ประธานฝ่ายสงฆ์ และคณะสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ร่วมนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน และหน่วยงานราชการ
พี่น้องชาวบ้านสระตาราช,สำโรง ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ร่วมสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว (นาหว่าน) ณ.สถาบันพัฒนาชาวพุทธ (๕๓) วันนี้เป็นวันครบรอบ๕เดือนที่ก่อนตั้งสถาบันชาวพุทธ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 53 ไร่ จากเดิมเป็นที่ ชาวบ้านบริจาคที่ดินมอบ วัดพระนารายณ์วรวิหารและจากดำริของ พระสีหราชสมาจารมุนี ได้นำพื้นที่นี้มาใช้ในการพัฒนา เผยแผ่พุทธศาสนาชุมชน ตามนโยบายหมู่บ้านศีล 5 ได้ก่อสร้างเป็นสถาบันชาวพุทธขึ้นในปัจจุบัน ศูนย์รวมชาวบ้าน และ ส่งเสริมความรู้วิถีชุมชน พร้อมวิถีพุทธอยู่ร่วมกัน.. จึงทำให้เกิดกิจกรรม พัฒนาชุมชน อีกหลากหลายรูปแบบในเวลาต่อมา

โคราช พร้อม รับนักท่องเที่ยวตามมาตรฐาน SHA+

THAILAND

Amazing

วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

โคราช พร้อม รับนักท่องเที่ยวตามมาตรฐาน SHA+

ตามนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล ครม เห็นชอบการเตรียมพร้อมสำหรับเปิดรับนักท่องเที่ยว

ต่างชาติผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาต เช่น มาจากประเทศที่ได้รับการอนุญาตหรือมีหนังสือ

รับรอง และหลักฐานการลงทะเบียนการเดินทางที่ชัดเจน มีการตรวจยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อโควิด หลักฐานแสดงว่า

ครบ การชำระที่พัก รวมทั้งมีหลักฐานแสดงว่ามีกรมธรรม์หรือประกันภัยสุขภาพ ตามที่ ศบค

เปิดรับนักท่องเที่ยวแบบไม่กักตัว/ไม่จำกัดพื้นที่ ยึดหลักคนไทยปลอดภัยต่างชาติมั่นใจ ซึ่งจังหวัดนครราชสีมามี

ไทม์ไลน์ ที่จะเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ นี้ มีการกำหนดพื้นที่นำร่องเปิดเมืองก่อนใน

๖ อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากช่อง อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอพิมาย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอสีคิ้ว และ

อำเภอวังน้ำเขียว ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา ได้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดเตรียม

มาตรการต่างๆ รวมถึงนำมาตรฐาน SHA และ SHA Plus มาใช้ในสถานประกอบการท่องเที่ยว เพื่อให้ชาวโคราชมี

ความปลอดภัยและนักท่องเที่ยวปลอดภัย

นางภาวนา ประจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงาน

นครราชสีมา กล่าวว่า โคราชพร้อมเปิดเมือง ต้อนรับนักท่องเที่ยว ด้วยมาตรฐาน sha+ เพื่อเป็นการการประกาศ

ความพร้อมสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้ารับบริการและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ภายหลังจาก ศบค.มี

มติให้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งมีการผ่อนคลายมาตรการ กิจกรรมต่างๆ โดยให้ร้านอาหารในพื้นที่

ท่องเที่ยว สามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ แต่จะต้องได้รับตราสัญลักษณ์ตามโครงการมาตรฐานความปลอดภัย

ด้านสุขอนามัย หรือ Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA) เพื่อสร้างความเชื่อมั่น

และมั่นใจให้กับผู้ที่มาใช้สินค้าและบริการดังกล่าว สำหรับโครงการ SHA ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ จาก

ผลกระทบจากโรคโควิต-๑๙ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ดำเนินโครงการโดยการ

ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรม

ท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นให้สถานประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้เตรียมความพร้อม และดำเนินการปรับปรุง

สถานประกอบการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ (New normal) เพื่อยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ควบคู่กับมาตรการด้านสุขอนามัย

SHA คือ ตราสัญลักษณ์ที่ผู้จัดทำโครงการตั้งใจให้เปรียบเสมือนได้ถึงความมั่นใจในความ

ปลอดภัยด้านสุขอนามัย จากสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวของประเทไทย โดยเป็นโครงการที่ได้รับการ

ร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วน นั่นก็คือ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุน

บริการสุขภาพ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และหน่วยงาน

ภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งคำว่า SHA ย่อมาจากคำว่า Amazing Thailand Safety and

Health Administration มีจุดมุ่งหมายของโครงการคือ เพื่อกระตุ้นให้สถานประกอบการ และกิจกรรมต่างๆ ได้

พัฒนาตัวเอง เตรียมความพร้อมสู่วิถีชีวิต New Normat และนำไปสู่การ ลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่

ระบาดของโรคไวรัส Covid-19 และยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวของไทย ส่วน SHA+

คือตราสัญลักษณ์ใหม่จากโครงการโดยได้เริ่มต้นตั้งแต่ ต กรกฎาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา ซึ่งมีการนำร่องที่จังหวัด

ภูเก็ต โดยมีเงื่อนไขคือ สถานประกอบการนั้นๆ ต้องได้รับเครื่องหมายมาตนฐาน SHA และบุคลากรในสถาน

ประกอบการอย่างน้อย ๗๐% ต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบ b เข็ม จึงจะได้รับ SHA Plus

สุขภาพจิตแห่งชาติ “สุขภาพจิตไทย วัดใจไปด้วยกัน”

สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ “สุขภาพจิตไทย วัดใจไปด้วยกัน”

       นายชูศักดิ์ ชุนเกาะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานพิธีเปิดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ

  ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2365  “สุขภาพจิตไทย..วัดใจไปพร้อมกัน” www.วัดใจ. com

      จากสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ COVID-19 การทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพัน หลายคนประสบกับปัญหาธุรกิจ ตกงาน และอื่นๆ อีกมากมาย สถานการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชนไทย โดยอัตราการฆ่าตัวตายจากเดิม 6.64 ต่อแสนประชากร ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 7.66 ต่อแส

น ประชากร ในปี 2563 ในจังหวัดนครราชสีมา เพิ่มขึ้นจาก 7.66.ต่อแสนประชากร เป็น 8.28 ต่อแสนประชากร

 

ช่วงปีที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการวัดใจของประชาชนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ผ่านแอปพลิเคชั่น Mental Health Check in พบพาวะเสี่ยงด้านสุขภาพจิตประชาชนไทยด้วยหลักการ 4 สร้าง 2 ใช้ โดยสร้างความปลอดภัย สร้างความสงบ สร้างความหวัง สร้างการดูแล โดยใช้ศักยภาพและใช้ความสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน สถานประกอบการ โรงเรียนมีความเข้มแข็งทางจิตใจ มีพลังใจที่จะตอสู้กับปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

  ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้น หลายคนล้ม หลายคนลุก หลายคนจบชีวิต หลายคนสร้างชีวิต สามารถพลืกวิกฤตให้เป็นโอกาส เห็นได้ว่า “วิธีคิดและจัดการกับปัญหา” รวมถึง “พลังใจ”ของเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรา “อยู่กับปัญหา” หรือ “ก้าวปัญหา”ได้อย่างมีความสุข

  ร.พ.จิตเวชนครราชสีมาและศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 จึงขอเชิญชวนมาร่วม “วัดใจไปพร้อมกัน”กับนิทรรศการทางด้านสุขภาพจิต กิจกรรม “วัดใจ” การให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิต กิจกรรมเสริมสร้าวพลังใจพร้อมรับของที่ระลึกเพื่อการดูแลจิตใจในช่วง COVID-19 ในงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องโคราขฮอลล์ ชั้น 4   ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา ตั้งแต่เวลา 08.30 น เป็นต้นไป

ปปช .โคราช ลงตรวจพื้นที่งาน ถนนคอนกรีต เทศบาลตำบลหัวทะเล

“ป.ป.ช. โคราช ลงพื้นที่ด่วน กรณีได้รับเบาะแส โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมรางระบายน้ำของเทศบาลตำบลหัวทะเล”

วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๐๐ น. นายปริญญา วิกุลศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ลงพื้นที่บ้านหนองสองห้อง หมู่ ๑๐ ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กรณีได้รับเบาะแสโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมรางระบายน้ำ ที่อาจไม่ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย และอาจทำให้น้ำท่วมขังบ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้นได้ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา จึงได้ประสานเทศบาลตำบลหัวทะเล ลงพื้นที่เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง โดยเป็นโครงการปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ระยะทางประมาณ ๕๐ เมตร งบประมาณ ๑๓๒,๐๐๐ บาท โดยช่างควบคุมงานของเทศบาลฯ กล่าวว่า “โครงการดังกล่าว เป็นโครงการก่อสร้างถนนพัฒนาในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหัวทะเล สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้าน พร้อมกับการสร้างรางระบายน้ำเชื่อมต่อจากถนนหลักเพื่อช่วยระบายน้ำในช่วงหน้าฝน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จตามกระบวนการ และต้องวางแผนปรับแบบแปลนให้เหมาะกับสภาพพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์จากโครงการมากที่สุด

ทั้งนี้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา จะติดตามผลการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะแล้วเสร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

“มวลน้ำทะลัก 4 อำเภอ รอบนอกโคราช”

#น้ำท่วมโคราช #มวลน้ำทะลัก 4 อำเภอ รอบนอกโคราช

      วันนี้ (25 ต.ค.2564) ปภ.สาขาชุมพวง จ.นครราชสีมา รายงานสถานการณ์อุทกภัย เนื่องจากลำน้ำมาศล้นตลิ่ง

ได้แก่

    – อ.พิมาย มวลน้ำได้เอ่อล้นเข้าไร่นาและบ้านเรือนประชาชน วัด โรงเรียน

พื้นที่ ม.8 บ้านตะคร้อ

และเข้าท่วมพื้นที่นาข้าว บ้านโนนทะยอม ม.26 ต.โบสถ์

   – อ.ห้วยแถลง มวลน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมถนน บ้านเรือนประชาชน ไร่นา พื้นที่ ม.10 บ้านโนนเพ็ด ต.หลุ่งตะเคียน

   – อ.ชุมพวง มวลน้ำได้ล้นตลิ่ง เข้าท่วมไร่นา ถนน

วัด และบ้านเรือนประชาชน จำนวน 3 หลังคาเรือน พื้นที่บ้านสาหร่าย ม.1 ต.โนนตูม

   ศบก.พิมาย จ.นครราชสีมา รายงานสถานการณ์ น้ำท่วมตำบลชีวาน อำเภอพิมาย ว่า ระดับน้ำสูงขึ้นจากเมื่อวานอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้

    -บริเวณบ้านดอนเขว้า หมู่ที่ 2 ระดับน้ำสูงขึ้นจากเมื่อวาน ประมาณ 20 ซม.น้ำลำสะแทด เอ่อเข้าชุมชนถนนในชุมชน

     -บริเวณ ฝายบ้านดอนน้ำซับ หมู่ที่ 8 ระดับน้ำสูงขึ้นจากเมื่อวาน 20 ซม. น้ำลำสะแทดเอ่อเข้าชุมชน ทางเข้าหมู่บ้านระดับน้ำสูงจากถนน 30-50 ซม.

ถนนระหว่าง ดอนน้ำซับ – คุ้มโนนทอง ระดับน้ำสูงจากถนน 40-60 ซม. ระดับใกล้เคียงกับการท่วมครั้งแรก สัญจรทางเรือและรถทางการเกษตร

     -ลำสะแทดเอ่อล้นโอบล้อมพื้นที่และดันเข้าสู่พื้นที่การเกษตร ระดับน้ำพื้นที่การเกษตรโดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

     -ระดับน้ำบริเวณ คลอง เหมือง สูงขึ้นทุกแห่ง