โคราช !!จัดลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)

โคราช -!!จัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)ทำความดีด้วยหัวใจ  ลดภัยสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับปัญหาขยะที่เกิดขึ้น

วันที่ 23 สิงหาคม2561ณศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราชจังหวัดนครราชสีมาการเปิดตัวโครงการและลงนามบันทึกตกลงข้อความร่วมมือ MOUทำความดีด้วยหัวใจลดภัยสิ่งแวดล้อมกิจกรรมลดรับลดให้ลดใช้ถุงพลาสติกโฟมและพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม(cap seal)และการดำเนินงานตามมาตรการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ การจัดงานเปิดตัวโครงการและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOUทำความดีด้วยหัวใจ  ลดภัยสิ่งแวดล้อมในวันนี้เป็นกิจกรรมที่จังหวัดนครราชสีมา โดยนายวิเชียร จันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายสุเมธ อำภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงาน

ได้ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลซึ่งได้ให้ความสำคัญกับปัญหาขยะที่เกิดขึ้นโดยได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติเนื่องจากในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมามีการนำพลาสติกและโฟมมาใช้มากขึ้นในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของต่างๆมากขึ้นโดยจากสถิติพบว่าประเทศไทยมีการบริโภคถุงพลาสติกหูหิ้ว45000 ล้านใบต่อปีและจากข้อมูลของการควบคุมมลพิษพบว่าปัจจุบันใน 1 ปีตลาดสดในเมืองไทยมีการใช้ถุงพลาสติกมากถึงร้อยละ 50ของปริมาณการใช้ถุงพลาสติกทั้งหมดหรือประมาณ108 พันล้านใบในห้างสรรพสินค้า13500 ล้านนาร้านขายของชำ13500 ล้านบาทนอกจากนั้นแล้วยังมีการใช้โฟมบรรจุอาหาร6,758 ล้านบาทต่อปีแก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว9750 ล้านบาทต่อปีและพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม2,600 ล้านชิ้นต่อปีซึ่งพลาสติกและโฟมเหล่านี้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายยากเมื่อไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องภายหลังการบริโภคซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบกและทางทะเลและมีแนวโน้มในการเกิดรั่วไหลของสารปรุงแต่งและสารประกอบที่ใช้ในการผลิตพลาสติกและโฟมที่ใช้บรรจุอาหารซึ่งอาจเป็นพิษและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมาได้เห็นความสำคัญปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติกและผมจึงจัดทำโครงการทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นการบูรณาการระหว่างภาครัฐเอกชนและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกและโฟมของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างรูปประธรรมพร้อมนำมาตรการลดการคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็น 1 ใน 5 กิจกรรมภายใต้โครงการทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่17 กรกฎาคม 2561 ให้ทุกหน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมสกุลการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานและให้สำนักงานก.พ.ร.กำหนดให้ผลการดำเนินงานลด และคัดแยกขยะมูลฝอยเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหน่วยงานภาครัฐโดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562มาถ่ายทอดสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาด้วยเพื่อให้เกิดผลการลดการใช้ถุงพลาสติกโฟมและcap seal อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน เพื่อดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่มีเป้าหมายที่ลดการใช้ถุงพลาสติกหรือถุงหูหิ้วพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่มรวมถึงลดการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในปี 2562 นี้โดยเมื่อวันที่8 สิงหาคม2561ที่ผ่านมาสำนักงานได้จัดกิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับลดให้ ถุงพลาสติก โฟม และพลาสติก หุ้มฝาขวดน้ำดื่มไปครั้งหนึ่งแล้วที่ตลาดย่าโมไปแล้ว วันนี้มีผู้ร่วมกิจกรรมในวันนี้ประมาณ 300 คนประกอบด้วยส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดผู้ค้าในตลาดสดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมาและกิจกรรมภายในงานชมวีดีทัศน์กิจกรรมการดำเนินงานตามมาตรการลดการคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐบรรยายหัวข้อทำความดีด้วยหัวใจลดภัยสิ่งแวดล้อมกิจกรรมการดำเนินงานตามมาตรการลด  และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ ชมวีดีทัศน์มอบนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์กิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติกโฟมเรือพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่มในห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช

ติวเข้มสื่อภาคอีสาน พัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ การใช้มือถือ อย่างมืออาชีพ ในยุค 4.0

ติวเข้มสื่อภาคอีสาน พัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ  การใช้มือถือ อย่างมืออาชีพ ในยุค 4.0

ที่ผ่านมา  นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ครั้งที่ 1/2561     การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ ยุค 4.0” และบรรยายพิเศษเรื่อง “กฟผ.4.0” จัดโดย สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.นครราชสีมา


โดยมี นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว  จังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ และ นพ.ธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธีรวัฒน์ จ.กาฬสินธุ์ บรรยายพิเศษเรื่อง “ฟ้าสวย ตาใส” นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นายเพชรเหล็ก ทองภูธร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 5 นครราชสีมา เป็นประธานปิดการอบรมและมอบวุฒิบัตรให้กับผู้เข้ารับการอบรม โดยมีสื่อมวลชนสาขา นสพ., วิทยุ, เคเบิ้ลทีวี และสื่อออนไลน์ จากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คน


พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน กล่าวว่า ปัจจุบันทุกคนสามารถเป็นนักข่าวได้ ผู้ที่มีมือถือสมาร์ทโฟน เมื่ออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ สามารถที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตข่าว และรายงานข่าวได้ด้วยตัวเอง เป็นการรายงานเหตุการณ์สด ได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตามอาชีพคนทำข่าว หรือนักหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้สูญหายไปไหน แต่ต้องมีการปรับตัวมากขึ้น นักข่าวจะต้องเปลี่ยนบทบาทตัวเอง ไม่ใช่แค่การเขียนลงหนังสือพิมพ์ วิ่งไปทำข่าวในที่เกิดเหตุ แล้วกลับมารายงานข่าวผ่านสื่อที่ตนรับผิดชอบ แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำข่าว เปลี่ยนเป็นการรายงานผ่านสื่อออนไลน์ การทำ LIVE เหล่านี้คือบทบาทของนักข่าวที่จำเป็นต้องเปลี่ยนอย่างแน่นอน


ดังนั้น สมาคมเครือข่าย หนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน ได้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิตอลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ประจำปี 2561 เรื่อง “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ ยุค 4.0” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เข้าใจและเรียนรู้การผลิตข่าวด้วยมือถือ โดยให้กลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง วิธีการนำเสนอ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และให้เข้าถึง โดนใจผู้บริโภคในยุคดิจิตอลนี้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงานและชีวิตประจำวัน
ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ได้เพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการผลิตข่าวผ่านสื่อออนไลน์ มีทักษะทางด้านการรายงานข่าวด้วยมือถือ อันจะนำไปสู่ความเป็นนักข่าวมืออาชีพ สามารถทำหน้าที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป นำไปปรับใช้กับองค์กร และนำไปต่อยอดใช้ให้เกิดประโยชน์ในอาชีพสื่อสารมวลชนต่อไป


การอบรม “เล่าเรื่องยุคดิจิทัลด้วยมือถือ” โดยวิทยากร ประกอบด้วย อ.กุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาส (อ.ต่อง), อ.จำรัส จันทนาวิวัฒน์ (อ.หมิ่น) และ อ.วนาภรณ์ ตลอดไธสง (อ.กิ๊ก) บรรยายในหัวข้อ การทำข่าวในยุค สื่อออนไลน์, หลักคิดเรื่อง วารสารศาสตร์มือถือ (Mobile Journalism), การนำไปใช้ในการผลิตเนื้อหาสำหรับสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆ, รู้จักมือถือ ทำอะไรได้บ้างในยุคสื่อออนไลน์ 4.0, มารู้จักแอพพลิเคชั่นดี ๆ สำหรับการใช้มือถือทำงานผลิตเนื้อหาข่าว, หลักการถ่ายภาพด้วยมือถือ และการแต่งภาพเพื่อนำไปใช้งาน, แนะนำการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ขาตั้ง ตัวประคองโทรศัพท์มือถือ และไมโครโฟน, เข้าใจการทำงานผลิตวีดีโอเพื่ิอการเล่าเรื่อง การวางแผน การถ่ายทำ และการตัดต่อ การพากย์และการลงเสียงให้น่าฟัง การเปิดหน้าพูดกับกล้อง การสัมภาษณ์ เป็นต้น
ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และได้ฝึกปฏิบัติจริง ทั้งการวางแผน การเล่าเรื่อง การถ่ายทำ การตัดต่อ การทำกราฟฟิค และการลงเสียงบรรยาย จากนั้นทั้ง 7 กลุ่ม ได้นำเสนอผลงาน โดยคณะวิทยากรได้ให้คำแนะนำ ชี้แนะ เพื่อปรับปรุงแก้ไขผลงานให้สมบูรณ์ โดยทุกขั้นตอนการผลิตใช้เพียงโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ซึ่งผลงานทั้ง 7 กลุ่ม คณะวิทยากรได้พิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัล ดังนี้ รางวัลชนะเลิศ เรื่อง ท่องเที่ยว วัดในประวัติศาสตร์ นครราชสีมา รองชนะเลิศอันดับ 1 รายการทีวีแขมร์ พาเที่ยววัดศาลาลอย และรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง เที่ยว ปราสาทพนมวัน
“สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน จะจัดโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ครั้งที่ 2/2561 ภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผล เพื่อให้สื่อมวลชนภาคอีสาน ได้เกิดทักษะ และเพิ่มศักยภาพในการผลิตข่าวเชิงคุณภาพที่ดีๆ ให้กับสังคม และเป็นการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อใหม่ รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่พลาดการอบรมในครั้งที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมฯ โดยรายละเอียดต่างๆ จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป และขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนการจัดโครงการฯ ในครั้งนี้ทุกท่าน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านในครั้งต่อๆ ไป”

!!ด่วนเลขาธิการกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ยุติการเคลื่อนไหวหวั่นสร้างความแตกแยกของประชาชน (คัดค้านจังหวัดบัวใหญ่)

วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๑ ที่ศูนย์ดำรงธรรม ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายศุภฤกษ์ อริยปรัชญา เลขาธิการกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา (คัดค้านจังหวัดบัวใหญ่) ร.ต.พงศ์ภัค ภูริสิทธิพล ที่ปรึกษา เลขาธิการกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา และนายวันชัย ช่วงเมืองปักษ์ ตัวแทนกลุ่มผู้คัดค้านจัดตั้งจังหวัดบัวใหญ่ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายมุรธาธีร์ รักชาติเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และนางสาวปัณฑารีย์  โชรัมย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมฯ เป็นตัวแทนรับเรื่องที่กลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา ยื่นขอให้ทางจังหวัดทำประชาพิจารณ์ใน ๘ อำเภอ เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบัวใหญ่ และยื่นเรื่องขอให้กลุ่มสามมิตรยุติการเคลื่อนไหวหวั่นสร้างความแตกแยกของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา    นายมุรธาธีร์ รักชาติเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า หลังจากนี้จะนำข้อร้องเรียนเสนอ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสถานการณ์และติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างครบถ้วนและครอบคลุมมากที่สุด นายศุภฤกษ์ อริยปรัชญา เลขาธิการกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ในนามของกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา (คัดค้านจังหวัดบัวใหญ่) มุ่งเน้นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ภายใต้กฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน และให้ประชาชนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โดยเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อการตัดสินใจและลดปัญหาความขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้นได้ ทางกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา (คัดค้านจังหวัดบัวใหญ่) จึงขอเสนอให้หน่วยงานของจังหวัด และหน่วยงานส่วนกลางของรัฐบาล จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ขึ้นในพื้นที่ทั้ง ๘ อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอคง, โนนแดง, ประทาย, สีดา, แก้งสนามนาง, บัวใหญ่ และบัวลาย เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจอนาคตของเขาเอง อีกทั้งยังเป็นการรับฟังเสียงส่วนใหญ่ว่า เห็นด้วยกับการ แยก-ไม่แยก จังหวัดหรือไม่

นอกจากนี้มีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองในพื้นที่ และมองเห็นถึงความสำคัญของจังหวัดนครราชสีมา ด้วยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ของห้วงเวลาที่จะมีการเลือกตั้งในปี ๒๕๖๒ ซึ่งมีกลุ่มการเมือง “สามมิตร” เป็นตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่อำเภอบัวใหญ่ เพื่อเข้าพูดคุยกับผู้ชุมนุมของกลุ่มบุคคลผู้ผลักดันขอแยกจังหวัดบัวใหญ่ ๑ ในนั้นคือนายคำพัน บุญยืด แกนนำกลุ่มผู้ผลักดันแยกจังหวัดบัวใหญ่ และมวลชนในอำเภอบัวใหญ่ จำนวน ๑ พันคน ได้แสดงความคิดเห็นเสนอต่อตัวแทนกลุ่มสามมิตร โดยข้อเสนอของกลุ่มนายคำพัน คือ การยกฐานะของ ๘ อำเภอ ตั้งเป็นจังหวัดบัวใหญ่ ซึ่งกลุ่มสามมิตรตอบตกลงว่า จะนำข้อมูลที่กลุ่มเสนอเรียกร้องมานั้น จำไปพูดคุยกับทางรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย พอเริ่มมีกระแสเรื่องราวดังกล่าวออกมา ทำให้เกิดเสียงกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา และคงยังไม่มีความเหมาะสมในการลงพื้นที่ เพื่อให้พี่น้องประชาชนเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการหาเสียงช่วงเวลานี้ จะส่งผลขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ และขัดต่อกฏหมายการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นได้จนนำไปสู่ความเสียหายของพรรคพลังประชารัฐ และส่วนสำคัญที่สุดคือ การสร้างความแตกแยกของคนในพื้นที่ทั้ง ๘ อำเภอ และคนทั้งจังหวัด หวั่นนำไปสู่ความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งทางกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา (คัดค้านจังหวัดบัวใหญ่) จึงขอเรียกร้องไปยังหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับจังหวัดและส่วนกลางของรัฐบาล สั่งการไปให้กลุ่มสามมิตรและกลุ่มบุคคลผู้ผลักดันขอแยกจังหวัด หยุดการกระทำที่จะส่งผลสร้างความแตกแยกทางความคิดในหมู่พี่น้องประชาขน อย่างไรก็ตามหากกลุ่มจัดตั้ง จังหวัดบัวใหญ่ เรียกร้องรัฐบาลใช้มาตรา ๔๔ จัดตั้ง จังหวัดบัวใหญ่ เราก็พร้อมเรียกร้องขอให้รัฐบาลใช้ มาตรา ๔๔ ไม่ให้จัดตั้ง จังหวัดบัวใหญ่ เช่นกัน” นายศุภฤกษ์ กล่าว

โคราช-!!ฝึกปฏิบัติการกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ วิจัยและการเรียนรู้ ของจีโอพาร์ค นำไปสู่การศึกษา อนุรักษ์ พัฒนากิจกรรม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ

วันที่ 19 สิงหาคม 2561 สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ โดย อุทยานธรณีโคราช ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “จีโอพาร์คกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” ณ โรงแรมแคนทารี่ โคราช จังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับเกียรติจาก นายจรัสชัย โชคเรืองสกุลรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ฝอยพิกุล อธิการบดี กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการอบรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการจีโอพาร์คกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย และจังหวัดนครราชสีมา สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2555 จังหวัดนครราชสีมาและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้เริ่มดำเนินการศึกษา
คุณค่าความโดดเด่นของพื้นที่เชิงธรณีวิทยา บรรพชีวินวิทยา ความหลากหลายของชีวภาพที่มีความสวยงามในจังหวัดนครราชสีมาในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นอุทยานธรณีที่มีชื่อเรียกว่า “อุทยานธรณีโคราช” ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาได้ประกาศให้อุทยานธรณีโคราช เป็นอุทยานธรณีระดับจังหวัด ในปี พ.ศ. 2558 และขณะนี้อยู่ระหว่างการรับรองเป็นสมาชิกอุทยานธรณีประเทศไทย เพื่อที่จะร่วมกันขับเคลื่อนสู่การรับรองให้เป็น UNESCO Global Geoparkลำดับต่อไป ด้วยเหตุนี้ จึงได้ประสานความร่วมมือในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการอบรมครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจพร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการจีโอพาร์ค การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
ในจีโอพาร์คของประเทศอาเซียน รวมทั้งฝึกปฏิบัติการกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ วิจัยและการเรียนรู้ของจีโอพาร์ค นำไปสู่การศึกษา อนุรักษ์ พัฒนากิจกรรม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ
ของจีโอพาร์คให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อไปผู้เข้าอบรม ได้แก่ กลุ่มเครือข่ายและครู-อาจารย์ผู้สอนในระดับประถมและมัธยมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา

การอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 สิงหาคม 2561 โดยกิจกรรมได้จัดให้มีบรรยายเกี่ยวกับการผลักดันโคราชจีโอพาร์คสู่อุทยานธรณีโลก ในหัวข้อ หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับจีโอพาร์คของยูเนสโก (UNESCO GloblaGeopark)
การฝึกอบรมครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1 การบรรยายพิเศษเพื่อให้ความรู้ด้าน ยูเนสโกโกลบอลจีโอพาร์ค การท่องเที่ยวการศึกษาชุมชนในพื้นที่รวมถึงการบูรณาการด้านธรรมชาติกับการอนุรักษ์ในพื้นที่จีโอพาร์ค งานเสวนาการศึกษาแหล่งธรรมชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่อุทยานธรณีโคราชมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 100 คนซึ่งเป็นคณะทำงานอุทยานธรณีทั่วประเทศ ผู้แทนจากส่วนราชการระดับจังหวัดและท้องถิ่นครูอาจารย์นักวิชาการชุมชนและประชาชนทั่วไปมีวิทยากรผู้บริหารและสมาชิกสภา UNESCO Global จีโอพาร์คผู้เชียวชาญและผู้บริหารยูเนสโกGlobal

เมืองโคราช นำเสนอLifestyle และวิถีชีวิตแบบคนเมือง

เมืองโคราช นำเสนอLifestyle และวิถีชีวิตแบบคนเมือง

วันที่ 15 สิงหาคม 2561นางสาวแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศองค์การมหาชนหรือSACICTเปิดเผยถึงการจัดงานSACICT Craft Fair2018บ้ากระแสความนิยมงานคราฟต์หรือสินค้าหัตถกรรมที่เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของคนไทยและชาวต่างชาติSACICTในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมและความแข็งแกร่งในงานหัตถกรรมของไทยจึงได้จัดงานSACICT Craft Fair2018ขึ้นณ Fashion Hall ชั้น 1 ศูนย์การค้าเดอะมอลล์โคราชระหว่างวันที่ 15-19 สิงหาคม 2561 เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตปัจจุบันเพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ของผลงานฝีมือคนไทยออกสู่สายตาประชาชนทั่วประเทศซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของSACICTพยายามผลักดันงานคราฟต์ให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันผ่าน 3 แนวทางหลักคือสร้างคุณค่าสร้างเครือข่ายและสร้างโอกาสจากสุดยอดผู้ประกอบการ 50 ร้านค้าที่ได้เลือกสมาชิกผู้ประกอบการงานราชการจากกลุ่มครูศิลป์ของแผ่นดินครูช่างศิลปหัตถกรรมทายาทช่างศิลปหัตถกรรมนักสร้างสรรค์งานคราฟต์ทำงานที่เป็นอัตลักษณ์ภูมิปัญญาและงานสร้างสรรค์สำหรับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่อุปกรณ์แต่งบ้านงานผ้าบาติกที่มีการออกแบบด้วยการนำรูปร่างoutline ที่เรียบง่ายของสัตว์และสิ่งต่างๆนำมาตัดเย็บเป็นลักษณะ 3 มิติมีการตกแต่งชิ้นงานโดยการสอยมือด้วยความประณีตและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเหมาะสำหรับเป็นของขวัญของตกแต่งบ้านชิ้นแรก
จังหวัดนครราชสีมาถือเป็นจังหวัดนำร่องในการใช้งานSACICT Craft Fair2018 งานแสดงสินค้าหัตถกรรมและงานคราฟต์อย่างเต็มรูปแบบเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจจำนวนประชากรรวมถึง Lifestyle และวิถีชีวิตแบบคนเมืองมีความสนใจในงานคราฟต์โดยงานครั้งนี้จะเน้นงานคราฟต์ร่วมสมัยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นน่าสนใจและเข้ากับวิถีชีวิตของคนปัจจุบันหมากัดผิดเองพร้อมทั้งจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ที่สนใจและชื่นชอบในงานหัตถกรรมของไทยรวมถึงนำศิลปินดารานักแสดงมากๆความสุขสนุกสนานให้กับผู้มาร่วมชมงานซึ่งคาดว่าจะได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดีเพื่อเป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่อไป

ตำรวจภูธรภาค 3 !!มอบโฉนดที่ดินคืนความสุขให้ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม3,083 ไร่ 3งาน27 ตารางวา

ตำรวจภูธรภาค 3 !!มอบโฉนดที่ดินคืนความสุขให้ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม

วันพฤหัสบดีที่16สิงหาคม2561 พิธีมอบคืนโฉนดที่ดินคืนความสุขให้ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
ณ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3 ตามนโยบายของรัฐบาล นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศ และถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่จะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยเน้นย้ำให้มีการบริหารจัดการปัญหาด้านลูกหนี้ ควบคู่กันไป อย่างเป็นระบบ มีความต่อเนื่อง อีกทั้งยังให้ดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งลดภาระหนี้นอกระบบ ด้วยการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ ซึ่งได้สั่งการให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกัน ในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล และดำเนินการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบอย่างจริงจัง โดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ได้กำหนดให้จัดพิธีมอบคืนโฉนดที่ดิน คืนความสุขให้ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ในวันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม2561 พร้อมกันทั่วประเทศ

โดยพลตำรวจโท ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค3 เป็นประธาน พร้อมด้วยหน่วยงานฝ่ายปกครอง ทหาร อัยการ ที่ดิน สรรพากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง8 จังหวัด อาทิเช่น นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนคราราชสีมา ,นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ,พล.ต.ณัฐชนก ศิริทีปตานนท์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 21 ,พล.ต.เภา โพธิ์เงิน ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดชัยภูมิ ,นายพรพจน์ บัณฑิตยานุรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ,นายศุภากร ชวมณีนันท์ อัยการคุ้มครองสิทธิ์จังหวัดนครราชสีมา ,นางฐาณภัค สวงโท อัยการคุ้มครองสิทธิจังหวัดชัยภุมิ ,นายจักรกฤษณ์ ศรีเมฆ อัยการคุ้มครองสิทธิ์จังหวัดยโสธร ,นายพิชาญ ลักขษร อัยการคุ้มครองสิทธิ์จังหวัดสุรินทร์ ,นางอุไรวรรณ อภัยพงษ์ สรรพากรภาค ๙ ,นายจักรกฤษณ์ พันธุรักษ์ สรรพากรพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ,นายบวรรัตน์ สาราญรมย์ สรรพากรจังหวัดชัยภูมิ ,นายกำพล วิทยาอนุมาส สรรพากรจังหวัดนครราชสีมา ,นางเสาวคนธ์ วัฒนะรัตน์ สรรพากรจังหวัดยโสธร ,นายบุญล้อม เหลาคม สรรพากรจังหวัดสุรินทร์ ,น.ส.ณัฏฐิรา แท่นวิทยานนท์ สรรพากรจังหวัดอำนาจเจริญ ,นายณรงค์ชัย หอมศรีประเสริฐ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา,นางเสาวคนธ์ วัฒนะรัตน์ สรรพากรจังหวัดยโสธร ,นายบุญล้อม เหลาคม สรรพากรจังหวัดสุรินทร์ ,น.ส.ณัฏฐิรา แท่นวิทยานนท์ สรรพากรจังหวัดอำนาจเจริญ ,นายณรงค์ชัย หอมศรีประเสริฐ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา,นายปิยะพงษ์ ชูวงศ์ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิ ,นายชัยวัฒน์ ตุนทกิจ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดยโสธร ,นายพินิจ วรจักร เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร่วมกันทำพิธีมอบคืนโฉนดที่ดิน คืนความสุขให้ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ซึ่งมีประชาชนเดินทางมาร่วมในพิธีในครั้งนี้ประมาณ 5,000คน

ผมในนามหัวหน้าคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามและการฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชนตำรวจภูธรภาค 3 และหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการรู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีมอบคืนโฉนดที่ดินคืนความสุขให้กับประชาชนลดความเหลื่อมล้ำของสังคมจากปัญหาหนี้นอกระบบในวันนี้จัดการกล่าวรายงานของเลขาศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชนตำรวจภูธรภาค 3 จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาหนี้นอกระบบและถือเป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการไกล่เกลี่ยประนีประนอมหนี้อย่างเป็นระบบและเกิดความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมากโดยรับข้อมูลร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกี่ยวกับพฤติกรรมของกลุ่มนายทุนที่มีพฤติกรรมในการปล่อยเงินกู้ให้แก่ประชาชนโดยผิดกฎหมายด้วยวิธีทำสัญญาที่เป็นการเอารัดเอาเปรียบและไม่เป็นธรรมมีการเรียกดอกเบี้ยในอัตราเกินกว่าที่กำหนดกฎหมายกำหนดรวมถึงบางรายได้ใช้ข้อกฎหมายในการฟ้องขับไล่ประชาชนทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนไม่มีที่ดินทำกินหรือไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมากซึ่งที่ผ่านมาประชาชนที่ตกเป็นโรคนี้ได้พยายามใช้ช่องทางในการร้องทุกข์เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยพูดคุยกับนายทุนที่เป็นเจ้าหนี้แต่ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควรและไม่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้ตำรวจภูธรภาค 3ได้รับนโยบายจากรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชนตั้งแต่ 27 กรกฎาคม2561จนถึงปัจจุบันโดยรวมปฏิบัติการกับหน่วยงานต่างๆได้แก่ฝ่ายปกครองทหารอัยการที่ดินสรรพากรในการสืบสวนสอบสวนและตรวจค้นกลุ่มนายทุนเงินกู้นอกระบบดำเนินการแก้ไขปัญหาการเกลี่ยประนอมหนี้ทำให้เกิดความเป็นธรรมกับเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งจากสรุปผลรวมของการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชนตำรวจภูธรภาค 3สามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดจึงประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปประธรรมและถูกต้องตามกฎหมายหน้าอกอาจนี้ผมขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับคืนโฉนดที่ดินทุกท่านในวันนี้และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนและสนองนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มกำลังความสามารถในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในครั้งนี้ (พลตำรวจโท ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค3 เป็นประธาน กล่าว)

 

ตำรวจภูธรภาค 3ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชน ตั้งแต่ 27กรกฎาคม 2561 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานต่างๆได้แก่ ฝ่ายปกครอง ทหาร อัยการ ที่ดิน สรรพากร ในการสืบสวนสอบสวนและตรวจค้น กลุ่มนายทุนเงินกู้นอกระบบ ดำเนินการแก้ไขปัญหาไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมกับเจ้าหนี้และลูกหนี้ จนประสบความความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจากผลการดำเนินการดังกล่าว สามารถดำเนินการคืนโฉนดที่ดินให้กับประชาชนผู้เสียหาย พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
ดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยได้ จำนวน919ราย ดำเนินการคืนโฉนดให้กับประชาชน จำนวน909 ฉบับ ยอดรวมเนื้อที่ในโฉนดที่ดินทั้งหมด จำนวน 3083 ไร่ 3งาน27 ตารางวา ยอดรวมรถยนต์ที่คืนให้กับประชาชน จำนวน 31 คัน ยอดรวมรถจักรยานยนต์ที่คืนให้กับประชาชน จำนวน17คัน
รวมมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดประมาณ 891,189,124บาท (แปดร้อยเก้าสิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)
และอยู่ระหว่างการเจรจาไกล่เกลี่ยอีก 705 ราย ซึ่งยังคงดำเนินการต่อเนื่องต่อไป

โคราช-ชาวบ้าน!!ร้องขอเงิน30ล้านคืน

วันนี้14 สิงหาคม 2561เวลา 11.00น.ได้มีการประชุมกรรมการสหกรณ์การเกษตรเมืองนครราชสีมาจำกัดชุดที่ 42 ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรเมืองนครราชสีมาจำกัดคณะกรรมการดำเนินการทั้งสิ้น 15 คนต่อมาได้มีกลุ่ม เกษตรกรอำเภอเมืองประมาณ50คนได้มาร้องเรียนเรื่องเงิน 30 ล้านบาทที่โอนไปก่อนโดยที่กลุ่มเกษตรอำเภอเมืองนครราชสีมาไม่พอใจในการโอนเงินไปให้ตัวแทนแล้วปุ๋ยเงินปันผลยังไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้นที่ประชุมได้เรียกชาวบ้านเข้าไปฟังชี้แจงของประธานและผู้จัดการถ้ากรรมการที่ออกมาโต้แย้งโดยทำให้หาเหตุผลโดยหาเหตุผลที่ต้องโอนเงินไปให้ตัวแทนรับเงินของทีพีไอโดยได้กล่าวสาบานต่อหน้าพระพุทธรูปในที่ประชุมต่อจากนั้นผู้สื่อข่าวให้สัมภาษณ์กับชาวบ้านที่หน้าหอประชุมถ้าต้องการได้เงิน 30 ล้านบาทคืนไม่ได้ต้องการได้ปุ๋ยมาใช้ทำการเกษตรเพราะไม่รู้ว่าคุณภาพขนาดไหนต่อมานายณัฐพงษ์ธร กาฬเทพ ผู้อำนวยการโครงการลดต้นทุนการผลิตกล่าวว่าคณะกรรมการคัดค้านให้ไม่ถอนยกเลิกเงิน 30 ล้านผมนั่งคิด ไม่เป็นที่ไว้วางใจแล้วก็มันเป็นการสุ่มเสี่ยงคณะกรรมการเห็นชอบถ้าไม่ถอนไม่ยกเลิกควรจะรับผิดชอบตรงนั้นต้องลงมติไม่เห็นด้วยเปลี่ยนแปลงเพราะวิธีปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับขอเรียกเงินคืนก่อนต้องการให้สมาชิกเป็นเจ้าของจริงๆโดยมีหนังสือถึงผู้ว่าจังหวัดทุกจังหวัด  มีข้อความเบื้องต้นดังนี้ที่ กษ1115/6760 กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กทม.10200 เรื่อง การดำเนินธุรกิจจัดหาปุ๋ยมาจำหน่ายของสหกรณ์

ด้วยปรากฏว่ามีสหกรณ์บางแห่งดำเนินการปัญหาปัจจัยการผลิตปุ๋ยยาปราบศัตรูพืชมาจำหน่ายเกินความต้องการของสมาชิกโดยการสั่งซื้อจากบริษัทเป็นจำนวนมากและชำระเงินก่อนที่จะรับมอบสินค้านั้นในขณะเดียวกันกับสหกรณ์ได้นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นเงินเชื่อให้แก่สหกรณ์อื่นหรือหน่วยงานอื่นหรือบุคคลภายนอกซึ่งไม่เป็นไปตามหลักของหลักการ วิธีการสหกรณ์และจัดต่อพระราชบัญญัติสหกรณ์พฤษภาคม 2542ตามมาตรา 33ที่กำหนดให้สหกรณ์ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิกโดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์และมาตรา46เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการดังต่อไปนี้( 3)ดำเนินธุรกิจการผลิตการค้าการบริการและอุตสาหกรรมเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิก

ยังจำกันได้ไหม! 13 ส.ค.2536 โรงแรมรอยัลพลาซ่า โคราช ถล่ม

ยังจำกันได้ไหม!!!!!!! 13 ส.ค.36

ย้อนไปเมื่อวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2536 หรือเมื่อ 25 ปีก่อน คนไทยทั้งประเทศต่างพากันตื่นตะหนกตกใจกับข่าวร้ายครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อเกิดเหตุการณ์อาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่า ถนนจอมสุรางค์ยาตร์ กลางเมืองนครราชสีมา พังถล่มลงมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 137 ราย บาดเจ็บ 227 คน ในจำนวนผู้เสียชีวิตมีข้าราชการครูถึง 47 ราย พนักงานบริษัทเชลล์ฯ 24 ราย พนักงานโรงแรม 33 ราย และผู้มาใช้บริการ 33 ราย โดยมีผู้รอดชีวิตกว่า 150 คน

ยุคก่อนเศรษฐกิจดิ่งเหวไม่กี่ปี จังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประตูสู่ภาคอีสาน คลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่หนีความวุ่นวายออกไปเสพสุขตามต่างจังหวัด โรงแรมต่าง ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด หนึ่งในนั้น “โรงแรม รอยัล พลาซ่า” หรือชื่อเดิม “โรงแรม เจ้าพระยาเมืองใหม่” ถือเป็นโรงแรมหรู 1 ใน 5 ของจังหวัด
ปี 2533 กลุ่มผู้บริหารลงความเห็นว่า ควรมีการต่อเติมอาคารจากเดิม 3 ชั้น เป็น 6 ชั้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว จากนั้นโรงแรมแห่งนี้ก็มีการต่อเติม และขยายพื้นที่ของอาคารอย่างผิดหลักวิศวกรเรื่อยมา โดยไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยในชีวิตของพนักงาน และแขกที่เข้ามาพักในโรงแรมแม้แต่น้อย เจ้าของโรงแรมได้ลักลอบต่อเติมอาคารอย่างไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการตัดเสาขนาดใหญ่ตรงกลางห้องอาหารของโรงแรมทิ้ง หวังเพิ่มพื้นที่ใช้สอย และต้องการให้แขกสามารถเห็นนักร้องได้ชัดเจนขึ้น และแล้วหายนะครั้งร้ายแรงก็อุบัติขึ้น
เมื่อเวลาราว 10 โมงเช้า วันที่ 13 สิงหาคม พุทธศักราช2536 ตัวโรงแรมเกิดการทรุดตัวอย่างรุนแรง และถล่มลงมาทั้งอาคารในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยตัวโรงแรมเริ่มทรุดตัวจากตอนกลางของอาคารก่อน จากนั้นปีกทั้งสองด้านข้างของอาคารก็พังซ้ำลงมาอีก การทรุดตัวอย่างรุนแรง และรวดเร็วก่อให้เกิดเสียงดังปานฟ้าถล่มดินทลาย ฝุ่นผงจากซากอาคารตลบคลุ้งทั่วบริเวณกองซากปรักหักพังกลบฝังร่างมนุษย์กว่า 500 ชีวิต ทั้งพนักงานโรงแรม และแขกที่เข้าพัก

จากนั้น ศพแล้วศพเล่าก็ถูกลำเลียงออกมา บางศพอยู่ในสภาพสมบูรณ์ บางศพกู้ได้เฉพาะอวัยวะที่มีชิ้นส่วนกระจัดกระจายจำเค้าเดิมแทบไม่ได้ โชคยังเข้าข้างที่มีผู้รอดชีวิตหลงเหลืออยู่บ้าง ทำให้ผู้ป่วย ที่เข้ารักษาในพื้นที่แน่นขนัดจนแทบล้นโรงพยาบาล

ณ วันนี้ 25 ปีแล้ว กับเหตูการณ์ที่ คนโคราชไม่อาจที่จะลืมได้

โคราชจัดกิจกรรมเทิดประเกียรติดำวันแม่เกี่ยววันพ่อ นำแหนแดงหวานในนาข้าวแทนปุ๋ยเคยมี ลดต้นทุน

 โคราชจัดกิจกรรมเทิดประเกียรติดำวันแม่เกี่ยววันพ่อ นำแหนแดงหวานในนาข้าวแทนปุ๋ยเคยมี ลดต้นทุน

              ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครราชสีมารายงานว่า ที่ แปลงนาข้าว ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา  สำนักวิจัย และพัฒนาการเกษตร เขต 4 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา นายจิระ อะสุรินทร์  ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ กว่า 20 คน จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 โดยร่วมกันถวายสัตย์ปฏิญาณ และลงนามถวายพระพร จากนั้นร่วมกันปักดำกล้าข้าวในกิจกรรมปักดำวันแม่เก็บเกี่ยววันพ่อ และพัฒนาปรับแต่งภูมิทัศน์สวนพรรณไม้ในบริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรฯ

โดยกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นติดต่อกันมาหลายปี เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 โดยมีเจ้าหน้าที่พนักงานร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพียง โดยการปักดำข้าวดังกล่าว เป็นการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งในโอกาสที่ปักดำเสร็จแล้ว ได้นำแหนแดง ว่านในนาข้าวด้วย ทั้งนี้เป็นการเปิดธาตุอาหารตัว N คือไนโตรเจน ในนาข้าวด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคยมี

สำหรับแหนแดง หากใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน โดยที่ในโพรงใบแหนแดง สามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำหรับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ แหนแดงมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C : N) อยู่ระหว่าง 8 – 13 หลังถูกไถกลบ จะย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในระยะเวลาที่สั้นประมาณ 8 สัปดาห์ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งใครต้องการศึกษาเกี่ยวกับการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยในนาข้าว สามารถสอบถามได้ที่  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา  ตามเวลาราชการ

 

ชาวพิมายเดือด !!!ลุกฮือหวิดวางมวยผอ.กรมศิลป์ เหตุปรับโบราณสถานพิมายโดยไม่ถามเสียงประชาชน


ชาวพิมายเดือดลุกฮือหวิดวางมวยผอ.กรมศิลป์ เหตุปรับโบราณสถานพิมายโดยไม่ถามเสียงประชาชน

                โต้เดือดกลางห้องประชุมระหว่างชาวพิมาย กับ ผอ.กรมศิลปากรที่ 10 เหตุปรับปรุงลานเมรุพรหมทัตโบราณสถานกลางเมืองพิมายโดยไม่ถามเสียงประชาชน ด้าน ผอ.กรมศิลป์แจงปรับปรุงพื้นที่ เพื่อเสริมคุณค่าความเป็นโบราณสถานของเมรุพรหมทัต ทางกรมศิลปากรวอนอย่าเชื่อข่าวลือ จากกระแสข่าว ที่กรมศิลป์จะรื้อเมรุพรหมทัตซึ่งเป็นสมบัติชาติตามที่มีการปล่อยข่าวลือเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะสมบัติชาติรื้อไม่ได้

                วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 เวลา 15.00 น. ที่ ชั้น 2 ห้องประชุม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย ถ.ท่าสงกรานต์ ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา เป็นประธานในการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านกรณีปรับภูมิทัศน์ลานเมรุพรหมทัตโบราณสถานแห่งชาติพิมาย พร้อมด้วย นายโสวัฒน์ ดาวะศรี ปลัดอาวุโสอำเภอพิมาย, นางชุติมา จันทร์เทศ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติพิมาย, นายดนัย ตั้งเจิดจ้า นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพิมาย อีกทั้ง ดร.พรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร (ผู้เคยออกแบบสวนศิลป์รอบพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ) ร่วมรับฟังการประชุมครั้งนี้

นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา เป็นประธานกรรมการโครงการ กล่าวว่า  โครงการพัฒนาภูมิทัศน์ลานเมรุพรหมทัต ดำเนินการโดยสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา และ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย มีจุดประสงค์ เพื่อปรับปรุงพื้นที่ เพื่อเสริมคุณค่าความเป็นโบราณสถานของเมรุพรหมทัต และพื้นที่โบราณสถานต่อเนื่องและมีสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับชุมชน ทางกรมศิลปากรไม่มีความคิดที่จะรื้อเมรุพรหมทัตซึ่งเป็นสมบัติชาติตามที่มีการปล่อยข่าวลืออย่างแน่นอน อยากให้เข้าใจหลักการทำงานด้วย เราควรคุยกันด้วยเหตุและผลอย่าใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง จะอย่างไรก็ตามทางกรมศิลปากรก็จะปรับแบบลานภูมิทัศน์ตามที่ชาวพิมายได้เสนอแนะแนวทาง ซึ่งหากปรับแบบแล้วเสร็จอย่างไรก็จะนัดหมายให้ทราบเพื่อดูแบบที่ปรับเพื่อความพึงพอใจของชาวพิมายทุกท่านอีกครั้ง

ทางด้าน ดร.พรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร (ผู้เคยออกแบบสวนศิลป์รอบพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ) และเป็นผู้ออกแบบการปรับลานภูมิทัศน์และสวนหย่อมลานเมรุพรหมทัต กล่าวว่า วันนี้ได้มารับฟังการชี้แจงทั้งกับทางกรมศิลปากรและชาวพิมาย ก็จะนำสิ่งที่ชาวพิมายเสนอมาเพื่อนำไปแก้แบบให้แล้วเสร็จ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วก็จะนำผลงานมาให้ชาวพิมายได้ชมกันอีกครั้งเพื่อความพึงพอใจ อย่างไรก็ตามกรมศิลปากรได้จัดทำการปรับปรุงลานพรหมทัตเป็นไปตามระเบียบราชการและข้อกฎหมายทุกประการ

ขณะที่ นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พรรคเพื่อแผ่นดิน เขตอำเภอพิมาย เป็นตัวแทนชาวพิมาย กล่าวกลางกรณีนี้ว่า ทางกรมศิลปากรคิดอยากจะทำอย่างไรก็ไม่ถามชาวบ้านเลยหรือ เพราะว่าอยู่ดีดีก็นำรั้วสังกะสีมาล้อมเมรุพรหมทัต ซึ่งเป็นสวนสาธารณะของประชาชนโดยไม่แจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เขาก็งงเพราะมีข่าวลือว่ากรมศิลป์จะรื้อเมรุพรหมทัตซึ่งเป็นโบราณสถานออกและเป็นเป็นอย่างอื่น ทำให้ประชาชนเขาไม่พอใจมาก เพราะไม่มีการแจ้งให้ทราบว่าคุณจะทำอะไร เขาเลยเข้าใจผิด ประกอบกับ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ก็ไม่เคยลงพื้นที่ถามความคิดเห็นชาวบ้านเลยอีกด้วย แต่วันนี้ทางกลุ่มชาวบ้านก็พอใจที่ทางกรมศิลปากรสัญญาจะแก้ไขแบบและจะนำมาให้ดูอีกครั้ง

ทั้งนี้ ยังมีภาพบรรยากาศ ระหว่างการประชุมมีวิวาทกันเนื่องจากทางกลุ่มชาวบ้านไม่พอใจที่ทางนายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้ทำการปรับปรุงลานเมรุพรหมทัตโดยไม่ทำประชาพิจารณ์กับชาวบ้าน เพราะสถานที่ดังกล่าวถือว่าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ซึ่งทำให้หลายคนเข้าใจผิดตามกระแสข่าวลือที่ว่า ทางกรมศิลปากรมีคำสั่งให้รื้อลานเมรุพรหมทัตแล้วไปทำเป็นสวนหย่อม อย่างไรก็ตามภายหลังการประชุมทางชาวพิมายและกรมศิลปากรรับปากจะนำแบบไปแก้ไขให้และกล่าวขออภัยที่ไม่ได้แจ้งข่าวให้ทราบ และฝากประชาชนอย่าเชื่อข่าวลือใดๆทั้งสิ้น สมบัติชาติใครก็ไม่มีสิทธิ์รื้อทั้งนั้น