Korat Car Free Day มีนักปั่นเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,000 คน

     จังหวัดนครราชสีมา  จัดกิจกรรม Korat Car Free Day มีนักปั่นในพื้นที่มาร่วมกว่า 1,000 คน

           สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครราชสีมาร่วมกับสโมสรกีฬาจักรยานจังหวัดนครราชสีมาจัดกิจกรรมรณรงค์”Korat Car Free Day “ณ.บริเวณโรงเรียนโคราชวิทยาถ.อัษฏางค์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันที่ 30 กันยายน 2561  โดยได้รับเกียรติจาก  พลเอกธงชัย ตระสินต์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน    ร่วมกับพลเอกมารุต ลิ้มเจริญ นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครราชสีมา พร้อมคณะนายชาญชัย บัวสรวง ประธานสโมสรกีฬาจักรยานนครราชสีมา,นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว  จังหวัดนครราชสีมา ,นายวัชรพล โตมรศักดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมเปิดกิจกรรม Korat Car Free Day 2018

โดยรายได้จากการจัดงานครั้งนี้มอบเงินสนับสนุนจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลขามทะเลสอและจัดหาทุนสนับสนุนส่งเสริมนักกีฬาจักรยานสโมสรจักรยานจังหวัดนครราชสีมาทำพิธีปล่อยขบวนจักรยานปั่นมากถึง1,000คัน นักปั่นในพื้นที่ 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา  ร่วมปั่นจักรยานไปตามเส้นทางท่องเที่ยวรอบเขตเทศบาลนครนคราชสีมา โดยเริ่มหน้าโรงเรียนโคราชวิทยาคมผ่านกราบสักการะท้าวสุรนารีย่าโม ตามเส้นทาง33กม.และพักดื่มน้ำที่มูลนิธิพุทธธรรม31( ฮุก31)ศาลเจ้าพ่งไล้จับเก้าเซียวเกาะ นครราชสีมาตลอดการปั่นจักรยานได้รับความสนใจจากนักปั่นและเชิญชวนประชาชนทั่วไปร่วมสนับสนุนกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนด้วยการเดินทางโดยจักรยานครั้งนี้และทางสโมสรกีฬาจักรยานจังหวัดนครราชสีมาจะดำเนินการรณรงค์กิจกรรมดีๆอย่างนี้ต่อเนื่องต่อไป

กลุ่มผู้ด้อยโอกาสกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเปิดตัวร้านทอฝัน by พม.สาขานครราชสีมา

กลุ่มผู้ด้อยโอกาสกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเปิดตัวร้านทอฝัน by พม.สาขานครราชสีมา

วันที่ 27 กันยายนพ. ศ. 2561 เวลา 10.00 น. ณ ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมาพีธีเปิดตัวร้านทอฝัน by พม.สาขานครราชสีมา โดย  นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี นายอนันต์  ดนตรี  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงาน

การที่สำนักงานพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมาได้ดำเนินการส่งเสริมสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป้าหมายพิเศษทางสังคมซึ่งได้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการให้มารวมตัวกัน

จัดงานเปิดตัวร้านทอฝัน by พม.สาขานครราชสีมาในวันนี้เป็นการมุ่งเน้นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้รวมไปถึงยกระดับเศรษฐกิจฐานรากซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายพิเศษทางสังคมดังกล่าวมีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้และยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการตลาดและการพัฒนากลุ่มอาชีพให้สามารถแข่งขันกับตลาดสินค้าและผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบันได้รวมไปถึงการส่งเสริมศักยภาพในกลุ่มเป้าหมายพิเศษได้มีแหล่งจำหน่ายพันธุ์ให้คุณค่าและพัฒนาตนเองพึ่งตนเองได้เป็นการแปลงภาระให้เป็นพลังของสังคมได้อย่างมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนต่อไปด้านในอนาคต (นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าว) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้ด้อยโอกาสกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ ได้ทำการแสดงเต้นท่าบาสโลบ และการเดินแบบของเด็กพิเศษ และเต้นบีบอย ต่อจากนั้นรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ก็ได้ไปทักทายเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านั้นอย่างเป็นกันเอง โดยไม่ถือตัวเองเลย และนำเด็กๆไปตัดริบบิ้นเปิดร้านทอฝันด้วยตนเองนับว่าเป็นการให้โอกาสเด็กพิเศษเหล่านั้นได้แสดงความสามารถที่มีอยู่และให้กำลังใจการพัฒนาแนวความคิดของเด็กได้ต่อการพัฒนาขึ้นๆไปจนพวกเขาจะอยู่กับสังคมเหมีอนคนปรกติทั่วไปได้เสมอ

https://youtu.be/kH3ALJg5zv8

ชาวบ้าน ต.จระเข้หิน โคราช แห่หาเห็ดผึ้งขมขายสร้างรายได้เสริม กิโลกรัมละ 50 บาท

ชาวบ้านแห่หาเห็ดผึ้งขมขายสร้างรายได้เสริม ชูเมนูลาบเคี้ยวหนึบหนับ ขมหน่อยๆอย่างน้อยต้องลองชิมสักครั้งในชีวิต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันต่อเนื่องช่วงนี้ ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านตลิ่งชัน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เกิดมีเห็ดผึ้งขมงอกโผล่พื้นดินเป็นจำนวนมาก  ชาวบ้านหลากหลายพื้นที่รวมถึงชาวบ้านบ้านตลิ่งชันเอง พากันออกไปหาเก็บเห็นเพื่อนำมารับประทานเป็นอาหาร รวมถึงนำมาจำหน่ายกันเป็นจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่เด็กเล็ก ที่จะใช้โอกาสช่วงวันหยุดติดตามผู้ปกครองออกไปด้วย ถึงแม้ว่าเห็ดผึ้งขมจะไม่เป็นที่รู้จักและนิยมรับประทานเท่ากับเห็ดป่าชนิดอื่นอย่างเช่นเห็ดระโงก นางหงส์ หรือเห็ดโคน ก็ตาม

โดยเห็ดผึ้งขมนั้น เป็นเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายกับเห็ดหอม และเห็ดตับเต่า ช่วงอ่อนดอกตูมจะมีสีม่วงเข้ม แต่หากแก่ดอกบานจะมีสีน้ำตาล มีรสชาติค่อนข้างขม แต่เป็นที่นิยมเพราะชาวบ้านเชื่อว่ามีสรรพคุณเป็นยา รักษาอาการปวดเมื่อย ลดอาการของโรคเบาหวาน  โดยราคาขายหากเป็นเห็ดสดราคาจะอยู่ที่ 40 บาท ต่อกิโลกรัม แต่หากต้มแล้วราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท โดยวันหนึ่งๆชาวบ้านจะหาเก็บเห็ดได้คนละ 3 – 5 กิโลกรัม ซึ่งถือถือเป็นรายได้เสริมอย่างดีของชาวบ้าน อย่างเช่นนางวิเชียร กลมกลาง อายุ 59 ปี และ นางแม้น ผลบุญ อายุ 66 ปี ชาวบ้านบ้านตลิ่งชันที่พากันออกมาหาเห็ด บอกว่าในช่วงนี้เป็นช่วงที่ฝนตกต่อเนื่อง อากาศร้อนอบอ้าว เห็ดผึ้งขมจึงออกดอกมากเป็นพิเศษ  ชาวบ้านนิยมที่จะนำไปต้ม แกง รวมถึงนำไปลาบ รสชาติก็จะออกขมเล็กน้อย แต่มีดีที่เห็ดมีความหนึบและเชื่อกันว่ามีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคเบาหวาน

โดยวิธีการทำลาบเห็ดผึ้งขมนั้น ต้องนำเห็ดมาทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ จากนั้นนำไปลวกกับน้ำเดือดใสใบฝรั่งลงไป เพราะจะช่วยทำให้เห็ดผึ้งขมคลายความขมออกส่วนหนึ่ง เพราะหากไม่ใส่ใบฝรั่งรสชาติเห็ดจะขมมากเกินไป ลวกสัก 2 – 3 น้ำ   จากนั้นก็นำมาหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ใส่เครื่องลาบ อาทิข้าวคั่ว พริกป่น น้ำปลา ผักชีฝรั่ง หัวหอม ต้นหอม มะนาว ใบสาระแหน่ เป็นต้น คนให้เข้ากัน ชิมรสชาติปรุงเพิ่มตามพอใจ ตักเสิร์ฟพร้อมกับผักเครื่องเคียง กินกับข้าวสวยร้อนๆ รสชาติจะออกขมนิดๆ เคี้ยวหนึบหนับ ถูกใจชาวไทยอีสาน  อย่างนี้ต้องลองชิมดูถึงจะรู้เอง

“อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน”สสส.โครงการต้นแบบโรงเรียนชุมชนวัดบ้านรวง

นครราชสีมา- โรงเรียนชุมชนวัดรวง โรงเรียนต้นแบบ“อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน”
เปิดแผน Fit พิชิตอ้วน@ชุมชนวัดรวง รณรงค์สุขภาพดีในโรงเรียน

(วันที่ 21 กันยายน 2561) โรงเรียนชุมชนวัดรวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนต้นแบบ 1 ใน 25 โรงเรียนของโครงการสื่อสร้างสรรค์และกิจกรรมเพื่อรณรงค์โภชนาการสมวัย “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้) ปีที่3 ในภูมิภาค จัดนิทรรศการโครงการแผน Fit พิชิตอ้วน @ชุมชนวัดรวง ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำงานร่วมกับสำนักโภชนาการสมวัย สำนักงานบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เครือข่ายคนไทยไร้พุง และชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย หวังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กในโรงเรียนให้ เข้าใจและเท่าทันโรคอ้วน
โดยดร.ประภาส นวลเนตร ผู้ทรงคุณวุฒิแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการรณรงค์ลดน้ำหนักในเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้)” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการใช้สื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย มุ่งใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านสุขภาวะ มีการถ่ายทอดให้เกิดแรงบันดาลใจเพื่อการสื่อสารสุขภาวะ ในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยให้ความสำคัญกับครูผู้สอน เด็กนักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน ในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (participatory learning)กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการ ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
“ทั้งนี้ผลการดำเนินงานโครงการ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้)” ปี 2 พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ส่วนสูง และน้ำหนักของนักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีการเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ หลังดำเนินโครงการฯ ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ส่วนสูง และน้ำหนักของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (สมส่วน) เพิ่มขึ้น ท้วมหรืออ้วนสูงลดลงเล็กน้อย ส่วนกลุ่มที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ผอม) ยังคงมีเท่าเดิม ซึ่งโดยภาพรวมการดำเนินงานเป็นที่น่าพึงพอใจของทุกฝ่าย แต่ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานที่มีอยู่บ้าง คือ ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวนหนึ่งยังไม่เข้าใจในตัวโครงการฯ อย่างชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการฯ วิธีการดำเนินโครงการฯ ผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการฯ จึงส่งผลให้การจัดทำกิจกรรม สื่อหรือนวัตกรรม ไม่สอดคล้อง ไม่น่าสนใจ ไม่มีเอกลักษณ์ตามบริบทและภูมิสังคมของพื้นที่ รวมทั้งไม่ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ประการต่อมา ระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ มีอยู่อย่างจำกัด การขอความร่วมมือจากร้านค้าในพื้นที่ ในชุมชน และบริเวณโดยรอบโรงเรียน ยังทำได้ไม่ดีพอ ส่งผลให้เด็กนักเรียนยังมีช่องทางในการซื้ออาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมาบริโภค ส่วนคณะทำงานมีไม่เพียงพอ แต่ละคนมีภารกิจมากเกินไป สุดท้าย คือ ผู้ปกครองและชุมชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่” ดร.ประภาส นวลเนตร กล่าว
เมื่อเป็นเช่นนี้ดร.ประภาส นวลเนตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในปีนี้ได้มีการต่อยยอดและขยายผลไปยังโรงเรียนต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 25 แห่ง จาก 22 จังหวัด ใน 4 ภูมิภาค ครอบคลุมนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ประมาณ 1,800 คน ทั้งนี้เราจะพาไปดูกันว่าโรงเรียนที่เป็นต้นแบบใน 25 โรงเรียนนี้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กในโรงเรียนให้ เข้าใจและเท่าทันโรคอ้วน โรงเรียนชุมชนวัดรวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ก็เป็น 1 ในโรงเรียนต้นแบบครั้งนี้
ด้านนายประสงค์ ชูใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดรวง กล่าวว่า ในนิทรรศการโครงการแผน Fit พิชิตอ้วน @ชุมชนวัดรวง ครั้งนี้ทางโรงเรียนได้นำความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครราชสีมาเข้ามาปรับใช้เริ่มตั้งแต่การจัดให้มีตัวแทนนักเรียนแต่งชุดย่าโมออกศึก พาคณะกรรมการเดินเข้าประตูเมืองโคราช “วันประกาศชัยฟิต พิชิตอ้วน” ที่มีการจำลองให้เกิดขึ้นในโรงเรียน พร้อมทั้งมีการแสดงรำโทน โคราช และจัดนิทรรศการด่านต่างๆ ขึ้นมา อาทิ ด่านที่ 1 กลยุทธ์ชุดออกศึก, ด่านที่ 2 กลยุทธ์ชุดโภชนาการ และด่านที่ 3 กลยุทธ์เร่งฟิตพิชิตอ้วน พร้อมกับมีการแสดงรหัสการปรบมือ แผน Fit พิชิตอ้วน @ชุมชนวัดรวง เพื่อแสดงพลังและประกาศชัยชนะ ฟิตพิชิตอ้วน พร้อมกันทั้งโรงเรียนด้วย เพื่อหวังปลูกฝังการเรียนรู้ ความเข้าใจในเรื่องลดอ้วนอย่างถูกวิธี ถูกต้องตามหลังโภชนาการและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน เชื่อว่าไม่นานเด็กๆ ที่โรงเรียนชุมชนวัดรวง นี้จะมีสุขภาพที่ดีไม่อ้วน และไม่ผอมเกินไปอย่างแน่นอน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวฤทัยรัตน์ ไกรรอด โทรศัพท์ 082-596-9296

“จิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ” ร่วมแรงร่วมใจสร้างฝายกักเก็บน้ำในพื้นที่ห่างไกล

จิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ ร่วมแรงร่วมใจสร้างฝายกักเก็บน้ำในพื้นที่ห่างไกล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมเกียรติ ทองครบุรี ผู้ใหญ่บ้านคอกช้าง หมู่ที่ 11 ต.ครบุรีใต้ อ.ครบุรี   จ.นครราชสีมา นำประชาชนจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจในพื้นที่ กว่า 50 คน ช่วยกันก่อสร้างฝายน้ำล้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง เนื่องจากหมู่บ้านคอกช้างไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำสำรองไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและ จนเกิดเป็นปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งเป็นประจำทุกปี  อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยดูแลผืนป่าสงวนแห่งชาติป่าครบุรี และอุทยานแห่งชาติทับลาน จึงยังไม่มีระบบสาธารณูปโภคทั้งน้ำประปาและไฟฟ้า

ประกอบกับก่อนหน้านี้ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดสรรงบประมาณจำนวนกว่า 4 แสนบาท เพื่อมาช่วยทำการขุดลอกคลองน้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้านไว้ให้แล้ว ทางชุมชนจึงช่วยกันระดมทุนและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อมาสร้างฝายน้ำล้นไว้กักเก็บน้ำ โดยประชาชนจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ ได้ช่วยกันสร้างฝายน้ำล้นจำนวน 2 ตัว ให้ลดหลั่นกันไปแบบขั้นบันได ให้สามารถกักเก็บน้ำเป็นระยะๆ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูน้ำหลาก ปริมาณน้ำทั้งหมดที่ไหลลงมาจากเขาคอกช้างซึ่งอยู่ด้านบน จะไหลผ่านหมู่บ้านจนไม่มีเหลือ เพราะบริเวณหมู่บ้านเป็นที่สูงและไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าฝายที่สร้างขึ้นใหม่นี้จะสามารถกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ ไว้ให้ได้ใช้ต่อไปในอนาคต

>คลิป<<

 

หนุ่มโคราช ระดมเงินสร้างเมรุเผาสัตว์เลี้ยงเป็นสาธารณะประโยชน์ให้คนรักสัตว์อุทิศส่วนกุศลในวาระสุดท้าย

หนุ่มเมืองโคราช รักสุนัขเหมือนคนในครอบครัว ระดมเงินสร้างเมรุเผาสัตว์เลี้ยงเป็นสาธารณะประโยชน์ให้คนรักสัตว์อุทิศส่วนกุศลในวาระสุดท้าย

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อ โย เซฟวัน ได้โพสต์ ภาพบรรยากาศการประกอบพิธีส่งมอบสถานที่ศาลา และเตาเผาสัตว์เลี้ยงให้วัดหนองปรู มีข้อความระบุว่า “ ฝากแชร์ มีแล้วโคราช เตาเผาสัตว์เลี้ยงไม่คิดค่าบริการ      ( จ่ายแค่ค่าถ่านไม่เกิน 200 บาท) เปิดให้ใช้งานแล้ว ทางเข้าประตู 1 มทส. วัดหนองปรู Cr ภาพ ED kitda ” ได้รับความสนใจจากชาวเน็ต และคนรักสัตว์ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 9 กันยายน ผู้สื่อข่าวเดินทางไปตรวจสอบที่วัดหนองปรู หมู่ 4 ต.หนองจะบก อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบสิ่งปลูกสร้างคล้ายเมรุ แต่มีขนาดเล็กกว่า ทาสีขาวทั้งหลัง พร้อมมีเตาเผาขนาดเล็กอยู่ภายใน รอบบริเวณตั้งรูปปั้นสุนัขกว่า 10 ตัววางรอบบริเวณทางขึ้น โดยมี นายยุทธนา หรือโย  ชัยศิริ อายุ 40 ปี เจ้าของธุรกิจจำหน่ายสินค้าไอที ตลาดเซฟวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นผู้ระดมเงินบริจาคก่อสร้าง ฯ นำเดินชม และอธิบายสาเหตุในการดำเนินการ

นายยุทธนา หรือโย ฯ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน ปีที่ผ่านมา “น้องอุษา” สุนัขพันธุ์ เฟรนช์ บูลด็อก เพศเมีย วัย 4 ปี เป็นสุนัขคู่ใจ เลี้ยงดูเป็นอย่างดี ราวกับสมาชิกในครอบครัว ได้ตายด้วยโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก มีความรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก ด้วยความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงตนต้องการให้มีการประกอบพิธีฌาปนกิจ แต่ในพื้นที่ มีสถานที่เพื่อประกอบพิธีให้สัตว์เลี้ยงเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ในวาระสุดท้าย ไม่เพียงพอ

จนกระทั่งพบว่าที่วัดหนองปรู ฯ มีเตาเผาสำหรับสัตว์เลี้ยง แต่มีสภาพทรุดโทรม ไม่สามารถรองรับสุนัขที่มีขนาดใหญ่ได้ จำเป็นต้องก่อสร้างใหม่ โชคดีที่ผ่านมาตน และน้องอุษา เคยร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิ องค์กรเกี่ยวกับการดูแลอุปการะสัตว์ รวมถึงโรงพยาบาลรักษาสัตว์ และเครือข่ายผู้รักสัตว์ ได้ร่วมกัน ระดมเงินทุนใช้ในการก่อสร้าง ฯ มูลค่ากว่า 2 แสนบาท ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากวัดหนองปรู ให้ใช้พื้นที่ดำเนินการก่อสร้าง พร้อมฝังเถ้ากระดูกของ “น้องอุษา” ไว้ด้านใต้ศาลา ฯ ใช้ชื่อ “ ศาลาอุษาวดี และเตาเผาสัตว์ ” ให้เป็นสาธารณะประโยชน์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ดวงวิญญาณ “ น้องอุษา ” ไปสู่ภพภูมิที่ดี

ประชาชนทั่วไปสามารถนำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดมาใช้บริการได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่ต้องจ่ายค่าเชื้อเพลิงไม่เกิน 200 บาท ส่วนเงินบริจาคในการประกอบพิธีสวดบังสุกุล คล้ายกับการเผาศพของคนแต่มีการตัดบทสวดมนต์ออกไป รวมทั้งเงินค่าบำรุงวัด ไม่กำหนด อยู่ที่กำลังทรัพย์ ความสมัครใจของเจ้าภาพ ติดต่อนัดหมายเพื่อประกอบพิธีฯ ได้ที่พระสุทัศน์  กิตฺติสาโร ( สืบแสนศรี) หมายเลขโทรศัพท์มือถือ 098 -5454336

Cr.ประสิทธิ์ วนะชกิจ

 

เมืองโคราชผุดโครงการ “รถรางเพื่อน้อง” บริการฟรี! หวังแก้ปัญหารถติดชั่วโมงเร่งด่วนบนถนนมิตรภาพ

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ  “รถรางเพื่อน้อง” โดยมีตัวแทนจากตำรวจภูธรภาค 3 เทศบาลนครนครราชสีมาและบริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด ร่วมเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ ณ บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์โคราช

พันตำรวจโท โกสินทร์ สะอาดวงศ์ รองผู้กำกับการจราจร สภ.เมืองนครราชสีมา เผยว่า “จากแนวคิดของ สถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมา ร่วมกับ เทศบาลนครนครราชสีมา จัดทำโครงการ “รถรางเพื่อน้อง” หวังแก้ปัญหาการจราจรบนถนนมิตรภาพในช่วงเวลา 07.00-08.00 น. โดยเส้นทางนี้มีสถานศึกษาขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณดังกล่าวถึง 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา,โรงเรียนเมืองนครราชสีมา, โรงเรียนสุรนารีวิทยา และวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา ซึ่งมีนักเรียน นักศึกษา รวมกันทั้ง 4 แห่งกว่า 20,000 คน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาเร่งด่วนที่ผู้ปกครองต้องเดินทางไปส่งนักเรียน นักศึกษา ส่งผลให้มีปริมาณรถบนท้องถนนมากและทำให้รถติด โดยเฉพาะเส้นทางสี่แยกตลาดประปาไปจนถึงบริเวณสามแยกถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา จากการดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มีสถิตินักเรียนใช้บริการนับตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2561 ถึง5 กันยายน 2561 จำนวนทั้งสิ้น 10,542 คน แบ่งเป็นช่วงเช้า 4,180 คน และช่วงเย็น 6,362 คน ทำให้ปริมาณนักเรียนที่ใช้บริการรถรางเฉลี่ยอยู่ที่ 211 คน/วัน โดยกระแสตอบรับจากนักเรียนและผู้ปกครองเป็นไปในทิศทางที่ดี และต้องการให้ขยายโครงการเพิ่มเติม

นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมากล่าวเสริมว่า “แรกเริ่มโครงการได้จัดรถราง จำนวน 3 คันและภายหลังได้รับการสนับสนุนรถรางจากห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์โคราชอีก 2 คัน ทำให้ปัจจุบันมีรถรางไว้บริการรับ-ส่ง ไปยังสถานศึกษาทั้ง 4 แห่ง โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นจำนวน 5 คัน ซึ่งรองรับนักเรียน นักศึกษาได้ 220 คน/ครั้ง ให้บริการรับ-ส่ง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ แบ่งเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบเช้า เวลา 07.20 น. และรอบเย็น เวลา16.40 น. ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 5-7 นาที/ครั้ง เดินทางไป-กลับ ระหว่างจุดจอดบริเวณหน้าเดอะมอลล์โคราชและจุดจอดโรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรคอยอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยตลอดเส้นทาง ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนบริเวณหน้าสถานศึกษาให้ยานพาหนะที่สัญจรผ่านบริเวณหน้าโรงเรียนสามารถขับขี่ได้อย่างสะดวก ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่งบุตรหลานและเป็นการช่วยลดการใช้พลังงาน ลดมลภาวะจากควันรถ อีกทั้งเพื่อเปิดทางให้รถพยาบาล รถกู้ภัย หรือรถของประชาชนในการลำเลียงผู้ป่วยสามารถใช้เส้นทางนี้ไปยังโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้อย่างสะดวกและรวดเร็วอีกด้วย”

ด้านนายปรีชา ลิ้มอั่ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด เผยว่า “รถรางเพื่อน้องเป็นโครงการที่ดี สามารถลดปัญหาการจราจรติดขัดได้จริง โดยเดอะมอลล์โคราชให้การสนับสนุนรถ shuttle bus จำนวน 2 คัน และพื้นที่ในการรับ-ส่ง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ดูแลตลอดเส้นทางอย่างเต็มที่ อีกทั้งผู้ปกครองสามารถวางใจได้เพราะทุกที่นั่งได้ทำประกันชีวิตกับไทยประกันชีวิตโดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2561- 28 มิถุนายน 2562 คิดเป็นเงินคุ้มครองจำนวน 10 ล้านบาท และด้วยสถานที่อันเป็นศูนย์กลางของผู้ปกครอง มีความสะดวกสบายที่เดอะมอลล์โคราชจะสามารถมอบให้ได้ เป็นการสร้างความปลอดภัย ความตรงต่อเวลาและประหยัดเวลาในการรับส่งบุตรหลานของพี่น้องชาวโคราช ทางเดอะมอลล์โคราชก็ยินดีและพร้อมให้การสนับสนุนครับ”

ติวเข้มสื่อภาคอีสาน พัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ การใช้มือถือ อย่างมืออาชีพ ในยุค 4.0

ติวเข้มสื่อภาคอีสาน พัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ  การใช้มือถือ อย่างมืออาชีพ ในยุค 4.0

ที่ผ่านมา  นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ครั้งที่ 1/2561     การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ ยุค 4.0” และบรรยายพิเศษเรื่อง “กฟผ.4.0” จัดโดย สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.นครราชสีมา


โดยมี นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว  จังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ และ นพ.ธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธีรวัฒน์ จ.กาฬสินธุ์ บรรยายพิเศษเรื่อง “ฟ้าสวย ตาใส” นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นายเพชรเหล็ก ทองภูธร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 5 นครราชสีมา เป็นประธานปิดการอบรมและมอบวุฒิบัตรให้กับผู้เข้ารับการอบรม โดยมีสื่อมวลชนสาขา นสพ., วิทยุ, เคเบิ้ลทีวี และสื่อออนไลน์ จากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คน


พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน กล่าวว่า ปัจจุบันทุกคนสามารถเป็นนักข่าวได้ ผู้ที่มีมือถือสมาร์ทโฟน เมื่ออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ สามารถที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตข่าว และรายงานข่าวได้ด้วยตัวเอง เป็นการรายงานเหตุการณ์สด ได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตามอาชีพคนทำข่าว หรือนักหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้สูญหายไปไหน แต่ต้องมีการปรับตัวมากขึ้น นักข่าวจะต้องเปลี่ยนบทบาทตัวเอง ไม่ใช่แค่การเขียนลงหนังสือพิมพ์ วิ่งไปทำข่าวในที่เกิดเหตุ แล้วกลับมารายงานข่าวผ่านสื่อที่ตนรับผิดชอบ แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำข่าว เปลี่ยนเป็นการรายงานผ่านสื่อออนไลน์ การทำ LIVE เหล่านี้คือบทบาทของนักข่าวที่จำเป็นต้องเปลี่ยนอย่างแน่นอน


ดังนั้น สมาคมเครือข่าย หนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน ได้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิตอลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ประจำปี 2561 เรื่อง “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ ยุค 4.0” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เข้าใจและเรียนรู้การผลิตข่าวด้วยมือถือ โดยให้กลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง วิธีการนำเสนอ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และให้เข้าถึง โดนใจผู้บริโภคในยุคดิจิตอลนี้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงานและชีวิตประจำวัน
ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ได้เพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการผลิตข่าวผ่านสื่อออนไลน์ มีทักษะทางด้านการรายงานข่าวด้วยมือถือ อันจะนำไปสู่ความเป็นนักข่าวมืออาชีพ สามารถทำหน้าที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป นำไปปรับใช้กับองค์กร และนำไปต่อยอดใช้ให้เกิดประโยชน์ในอาชีพสื่อสารมวลชนต่อไป


การอบรม “เล่าเรื่องยุคดิจิทัลด้วยมือถือ” โดยวิทยากร ประกอบด้วย อ.กุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาส (อ.ต่อง), อ.จำรัส จันทนาวิวัฒน์ (อ.หมิ่น) และ อ.วนาภรณ์ ตลอดไธสง (อ.กิ๊ก) บรรยายในหัวข้อ การทำข่าวในยุค สื่อออนไลน์, หลักคิดเรื่อง วารสารศาสตร์มือถือ (Mobile Journalism), การนำไปใช้ในการผลิตเนื้อหาสำหรับสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆ, รู้จักมือถือ ทำอะไรได้บ้างในยุคสื่อออนไลน์ 4.0, มารู้จักแอพพลิเคชั่นดี ๆ สำหรับการใช้มือถือทำงานผลิตเนื้อหาข่าว, หลักการถ่ายภาพด้วยมือถือ และการแต่งภาพเพื่อนำไปใช้งาน, แนะนำการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ขาตั้ง ตัวประคองโทรศัพท์มือถือ และไมโครโฟน, เข้าใจการทำงานผลิตวีดีโอเพื่ิอการเล่าเรื่อง การวางแผน การถ่ายทำ และการตัดต่อ การพากย์และการลงเสียงให้น่าฟัง การเปิดหน้าพูดกับกล้อง การสัมภาษณ์ เป็นต้น
ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และได้ฝึกปฏิบัติจริง ทั้งการวางแผน การเล่าเรื่อง การถ่ายทำ การตัดต่อ การทำกราฟฟิค และการลงเสียงบรรยาย จากนั้นทั้ง 7 กลุ่ม ได้นำเสนอผลงาน โดยคณะวิทยากรได้ให้คำแนะนำ ชี้แนะ เพื่อปรับปรุงแก้ไขผลงานให้สมบูรณ์ โดยทุกขั้นตอนการผลิตใช้เพียงโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ซึ่งผลงานทั้ง 7 กลุ่ม คณะวิทยากรได้พิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัล ดังนี้ รางวัลชนะเลิศ เรื่อง ท่องเที่ยว วัดในประวัติศาสตร์ นครราชสีมา รองชนะเลิศอันดับ 1 รายการทีวีแขมร์ พาเที่ยววัดศาลาลอย และรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง เที่ยว ปราสาทพนมวัน
“สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน จะจัดโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ครั้งที่ 2/2561 ภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผล เพื่อให้สื่อมวลชนภาคอีสาน ได้เกิดทักษะ และเพิ่มศักยภาพในการผลิตข่าวเชิงคุณภาพที่ดีๆ ให้กับสังคม และเป็นการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อใหม่ รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่พลาดการอบรมในครั้งที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมฯ โดยรายละเอียดต่างๆ จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป และขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนการจัดโครงการฯ ในครั้งนี้ทุกท่าน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านในครั้งต่อๆ ไป”

!!ด่วนเลขาธิการกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ยุติการเคลื่อนไหวหวั่นสร้างความแตกแยกของประชาชน (คัดค้านจังหวัดบัวใหญ่)

วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๑ ที่ศูนย์ดำรงธรรม ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายศุภฤกษ์ อริยปรัชญา เลขาธิการกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา (คัดค้านจังหวัดบัวใหญ่) ร.ต.พงศ์ภัค ภูริสิทธิพล ที่ปรึกษา เลขาธิการกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา และนายวันชัย ช่วงเมืองปักษ์ ตัวแทนกลุ่มผู้คัดค้านจัดตั้งจังหวัดบัวใหญ่ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายมุรธาธีร์ รักชาติเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และนางสาวปัณฑารีย์  โชรัมย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมฯ เป็นตัวแทนรับเรื่องที่กลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา ยื่นขอให้ทางจังหวัดทำประชาพิจารณ์ใน ๘ อำเภอ เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบัวใหญ่ และยื่นเรื่องขอให้กลุ่มสามมิตรยุติการเคลื่อนไหวหวั่นสร้างความแตกแยกของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา    นายมุรธาธีร์ รักชาติเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า หลังจากนี้จะนำข้อร้องเรียนเสนอ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสถานการณ์และติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างครบถ้วนและครอบคลุมมากที่สุด นายศุภฤกษ์ อริยปรัชญา เลขาธิการกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ในนามของกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา (คัดค้านจังหวัดบัวใหญ่) มุ่งเน้นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ภายใต้กฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน และให้ประชาชนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โดยเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อการตัดสินใจและลดปัญหาความขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้นได้ ทางกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา (คัดค้านจังหวัดบัวใหญ่) จึงขอเสนอให้หน่วยงานของจังหวัด และหน่วยงานส่วนกลางของรัฐบาล จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ขึ้นในพื้นที่ทั้ง ๘ อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอคง, โนนแดง, ประทาย, สีดา, แก้งสนามนาง, บัวใหญ่ และบัวลาย เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจอนาคตของเขาเอง อีกทั้งยังเป็นการรับฟังเสียงส่วนใหญ่ว่า เห็นด้วยกับการ แยก-ไม่แยก จังหวัดหรือไม่

นอกจากนี้มีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองในพื้นที่ และมองเห็นถึงความสำคัญของจังหวัดนครราชสีมา ด้วยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ของห้วงเวลาที่จะมีการเลือกตั้งในปี ๒๕๖๒ ซึ่งมีกลุ่มการเมือง “สามมิตร” เป็นตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่อำเภอบัวใหญ่ เพื่อเข้าพูดคุยกับผู้ชุมนุมของกลุ่มบุคคลผู้ผลักดันขอแยกจังหวัดบัวใหญ่ ๑ ในนั้นคือนายคำพัน บุญยืด แกนนำกลุ่มผู้ผลักดันแยกจังหวัดบัวใหญ่ และมวลชนในอำเภอบัวใหญ่ จำนวน ๑ พันคน ได้แสดงความคิดเห็นเสนอต่อตัวแทนกลุ่มสามมิตร โดยข้อเสนอของกลุ่มนายคำพัน คือ การยกฐานะของ ๘ อำเภอ ตั้งเป็นจังหวัดบัวใหญ่ ซึ่งกลุ่มสามมิตรตอบตกลงว่า จะนำข้อมูลที่กลุ่มเสนอเรียกร้องมานั้น จำไปพูดคุยกับทางรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย พอเริ่มมีกระแสเรื่องราวดังกล่าวออกมา ทำให้เกิดเสียงกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา และคงยังไม่มีความเหมาะสมในการลงพื้นที่ เพื่อให้พี่น้องประชาชนเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการหาเสียงช่วงเวลานี้ จะส่งผลขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ และขัดต่อกฏหมายการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นได้จนนำไปสู่ความเสียหายของพรรคพลังประชารัฐ และส่วนสำคัญที่สุดคือ การสร้างความแตกแยกของคนในพื้นที่ทั้ง ๘ อำเภอ และคนทั้งจังหวัด หวั่นนำไปสู่ความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งทางกลุ่มเครือข่ายพลังขับเคลื่อนภาคประชาชน จังหวัดนครราชสีมา (คัดค้านจังหวัดบัวใหญ่) จึงขอเรียกร้องไปยังหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับจังหวัดและส่วนกลางของรัฐบาล สั่งการไปให้กลุ่มสามมิตรและกลุ่มบุคคลผู้ผลักดันขอแยกจังหวัด หยุดการกระทำที่จะส่งผลสร้างความแตกแยกทางความคิดในหมู่พี่น้องประชาขน อย่างไรก็ตามหากกลุ่มจัดตั้ง จังหวัดบัวใหญ่ เรียกร้องรัฐบาลใช้มาตรา ๔๔ จัดตั้ง จังหวัดบัวใหญ่ เราก็พร้อมเรียกร้องขอให้รัฐบาลใช้ มาตรา ๔๔ ไม่ให้จัดตั้ง จังหวัดบัวใหญ่ เช่นกัน” นายศุภฤกษ์ กล่าว

พิธีพุทธาภิเษก ธง ครบรอบ ชัยชนะ 191 ปี วีรสตรีเมืองหญิงกล้าแม่ย่าโม

วันจันทร์ขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 ปีจอ !!จัดไป พิธีพุทธาภิเษก ธง ครบรอบ ชัยชนะ 191 ปี วีรสตรีเมืองหญิงกล้าแม่ย่าโม

 

 

วันที่ 20 สิงหาคม 2561 ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา จัดพิธีพุทธาภิเษกธงครบรอบชัยชนะ 191 ปี วีรสตรีเมืองหญิงกล้าแม่ย่าโม โดยพลโทธรากร ธรรมวินทรธรแม่ทัพภาคที่ 2 ประธานสงฆ์ นายวิเชียร จันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราสีมา ประธานฝ่ายฆราวาส นางเอมอร ศรีกงพานประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนางศศิฑอณร์  สุวรรณมณี วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมพิธี

 

 

ด้วยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาสภาวัฒนธรรมอำเภอและสภาวัฒนธรรมตำบลได้รวมกันจัดสร้างธงครบรอบชัยชนะ 191 ปีของท่านท้าวสุรนารีวีรสตรีเมืองหญิงกล้าแม่ย่าโมขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อยกย่องและรำลึกถึงความกล้าหาญความเสียสละของท้าวสุรนารีเพื่อเป็นทองมงคลให้ประชาชนได้นำไปบูชาเพื่อจัดหารายได้สภาวัฒนธรรมทั้ง 32 อำเภอ 287 ตำบลของจังหวัดนครราชสีมาไปเป็นทุนในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและสาธารณประโยชน์ในการจัดสร้างธงได้ทำพิธีบวงสรวงขอมวลสารมงคลจากทุ่งสัมฤทธิ์ อำเภอพิมายและมวลสารมงคลจากวัดศาลาลอยอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารีในปัจจุบันและได้ให้พระเถราจารย์ทั้ง 32 อำเภอทำพิธีอธิษฐานจิตและได้กำหนดจัดพิธีพุทธาภิเษกธงมงคลขึ้นซึ่งตรงกับวันจันทร์ขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 ปีจอ ณ ลานอนุสาวรีย์ท่านท้าวสุรนารี การจัดงานในครั้งนี้ได้รับความเมตตาและความอนุเคราะห์

  1. พระปลัดเอกรินทร์ธัมมะสังลี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมาดูแลด้านพิธีการ แม่ทัพภาคที่ 2 ส่งกำลังพลช่วยดูแลการจัดสถานที่ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัยและการจราจรคุณเข็มทองเรืองกฤตยาคุณสุวัฒน์ จึงวิวัฒนาภรณ์ คุณยลดา     หวังศุภกิจโกศล และคุณณภัทร นันทคุณาธิป มอบทุนตั้งต้นสำหรับจัดทำธงมงคลท่านละ 500,000 บาทสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา หน้าศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 น้ำดื่มและอาหารว่างห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์นครราชสีมาคุณทรงสมรรถ จันทร์เทพ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอสีคิ้วแป้งมันเอี่ยมเฮงสับสนุนโรงทาน และเครือข่ายสภาวัฒนธรรมทุกระดับร่วมด้วยช่วยกันเครื่องประกอบพิธีสถานที่และดูแลผสานความเป็นระเบียบเรียบร้อยของงานในวันนี้