เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564″

แถลงข่าวงานเที่ยวพิมายประจำปี 2564 การแสดงแสงสีเสียงพิมายปุระ

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2564งานแถลงข่าวการจัดงาน *”เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565″ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ชั้น G บริเวณหอไอเฟลโดยนายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธีนายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมานายเศรษฐี แพรกนัทที ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ)รักษาราชการแทนนายอำเภอพิมาย นายสมเดช ลีลามโนธรรม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา นางสาวกรรณิการ์ พัฒนพีระเดช นายกเทศมนตรีตำบลพิมายเริ่มงานแถลงข่าวงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปีงบประมาณ 2565และแขกผู้มีเกียรติ เดินทางมาถึงบริเวณงาน มี การแสดงชุด “พิมายปุระ” ต่อจากนั้น ชมการแสดงชุด “ศรีวิเรนทร์”

นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าเนื่องจากจังหวัดนครราชสีมาได้ประกาศพื้นที่นำร่อง ทางการท่องเที่ยว จำนวน 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอสีคิ้ว และอำเภอพิมาย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยว สามารถมีกิจกรรม และการใช้ชีวิตแบบ New Normal ในการจัดงาน ดังนี้ เปิดโอกาสที่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จะสามารถ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว และคาดการณ์ว่า จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในอำเภอพิมาย และจังหวัดนครราชสีมา ได้เป็นอย่างยิ่ง โดยงานดังกล่าว มีกำหนดถึง ๕ วัน และอาจต่อยอดการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ให้อยู่ถึงเทศกาลปีใหม่ได้ด้วย ทั้งนี้ จังหวัดนครราชสีมาอยู่ระหว่างการจัดงาน Thailand Biennale Korat และอำเภอพิมาย ก็เป็นเป้าหมายที่จะกระจาย งานศิลปะให้นักท่องเที่ยวได้รับชม ความงดงามทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมอันล้ำเลิศ และวิถีชีวิตตามแบบ New Normal ต่อไป

นายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ในการจัดแถลงข่าวครั้งนี้ขอขอบพระคุณท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาที่ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี การแถลงข่าวเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 โดยกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 22-26 ธันวาคม 2564 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ปราสาทหินพิมายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันดีทั้ง ชาวไทย และ ชาวต่างประเทศ และด้วยตระหนักถึงความสำคัญ การสร้างจิตสำนึกให้คนไทยเดินทางมา ท่องเที่ยวปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ยั่งยืน

นายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี ๒๕๖๔ มีวัตถุประสงค์หลักใน การจัดงานดังนี้

1. เพื่อขยายอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

2. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว

3. กระตุ้นเศรษฐกิจพ่อการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในท้องถิ่น

4. เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวภายใต้มาตรการป้องกันการแพ้ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID)

5. ส่งเสริมให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีด้านการท่องเที่ยวและสร้างความเชื่อมั่นให้กับ นักท่องเที่ยวภายใต้การท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal)

โดยสำหรับการจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมายประจำปีนี้ มีกิจกรรมหลักประกอบด้วย การแสดง แสง สี เสียง และสื่อผสม พิมายปุระ The Musical วิมายะนาฏการ “ยอยศชัยวรมัน น้อมอภิวันท์สดุดี ศรีวิเรนทราศรม” จัดแสดงระหว่างวันที่ 22 – 26 ธันวาคม 2564 บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ณ จังหวัดนครราชสีมา และนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อาทิ ตลาดย้อนยุค แสดงวีถีชีวิตของคน ในท้องถิ่น , จำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ผัดหมี่โคราช, ส้มตำ , ขนมไทย, การแสดงและจำหน่าย สินค้า OTOP และการออกร้านต่างๆ จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาเที่ยวชม งานเทศกาลเที่ยวพิมาย ชมโบราณสถาน มรดกอันล้ำค่าของโลก และศิลปวัฒนธรรมประเพณี ท้องถิ่นที่เราได้ร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป

ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดงาน เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 ในครั้งนี้ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ให้การสนับสนุน ในส่วนของการจัดตลาดย้อนยุคแสดงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน , จำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ผัดหมีโคราช ส้มตำ ขนมไทย เป็นต้น ทั้งนี้ขอเชิญพี่น้อง ชาวจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้าร่วมในงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี ๒๕๕๔ ในครั้งนี้ให้มีความสุขใจในการเที่ยวชม

นายเศรษฐี แพรกนัทที ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอพิมาย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานกับทางหน่วยงานต่างๆ ทางเราได้จัดเตรียมความพร้อมในเรื่อง สถานที่สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ทั้งเรื่องของการอำนวยความสะดวกในด้านการเดินทาง ด้านที่พัก และด้านความปลอดภัยภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาเที่ยวชมงาน ปีนี้ได้รับความร่วมมือจาก พี่น้องชาวพิมายและหน่วยงานต่างๆ เป็นอย่างดี จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาเที่ยว ชมงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 ในครั้งนี้ ชมโบราณสถาน มรดกอันล้ำค่าของโลก และศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เราได้ร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และสืบสานภูมิ ปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืน กระผมฐานะที่เป็นผู้ดูแลพื้นที่และเป็นชาวพิมายขอต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ เดินทางเข้ามาร่วมชมงานเทศกาลเที่ยวพิมายในครั้งนี้ขอขอบพระคุณเป็นอย่างมาก

นายสมเดช ลีลามโนธรรม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้ดูแล สถานที่ในการแสดง แสง สี เสียง ทางเราได้เตรียมการซ่อมแซมแซมในส่วนต่างๆของตัวปราสาท หิน ทางเดินต่างๆ ให้มีความเรียบร้อย สวยงาม อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้กับผู้จัดงาน และองค์ประกอบภายในปราสาท ผู้ร่วมเข้าชมงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 ในครั้งนี้ให้มีความสุขใจในการเที่ยวชม

#เทศกาลเที่ยวพิมายปี2564

ยกมาตราฐานวิชาชีพสร้างโอกาสเยาวชน ยุคโควิด19

การปฐมนิเทศเปิดโอกาสทางการศึกษา ยกมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น

ศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาเทศบาลนครราชสีมา

นาย อำนาจ บุตรโต ผอ.โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตรสามัคคี)

และผู้เข้าร่วมการปฐมนิเทศ กล่าวแนะนำขอขอบพระคุณ  นาย สุดชาย บุตรแสนลี ท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างจังหวัดนคครราชสีมาให้เกียรติมาเป็นประธาน ร่วมกับ นายรัตนะ วรบัณฑิตผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต 3, ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2, ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์และ คณะกรรมการภาคการศึกษาร่วมพิธี ในการปฐมนิเทศ หลักสูตร “วิชาชีพระยะสั้น” ในวันนี้ การจัดปฐมนิเทศ

หลักสูตรไฟฟ้าเบื้องตัน และ หลักสูตรบัญชีครัวเรือน นี้ ได้จัดขึ้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชน นอกระบบ และเด็กด้อยโอกาส ให้กลับคืนสู่ระบบการศึกษา และสร้างภาคีเครือข่าย ศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือเด็กและเยาวชน นอกระบบการศึกษาเทศบาลนครราชสีมา ให้เป็นรูปธรรม โดยจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 75 ชั่วโมง แบ่งรูปแบบการเรียนการสอน ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบ ออนไลน์ จำนวน 20 ชั่วโมง และรูปแบบออนไซต์ จำนวน 55 ชั่วโมง

จัดระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2564 – 10 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้เข้าร่วมคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 95 คน จากโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตสามัคคี)

การปฐมนิเทศครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการเรียนไฟฟ้าเบื่องต้น และบัญชี

ครัวเรือน ทั้งนี้ คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมการปฐมนิเทศสามารถนำความรู้ที่ได้รับแนวทางในการเรียนและนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ในโอกาส ต่อไป

“ถักทอวัฒนธรรมนำสมัยเพื่อผ้าไทยสู่สากล” งานแสดงและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม

เป็นประธานในพิธีเปิดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีม ซึ่งงานแสดงและจำหน่ายสินค้าครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอ

รวมถึงการสร้างและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์) ให้เป็นที่รู้จักยิ่งขึ้นนั้น 

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญกับประเทศไทย ทั้งด้านการส่งออกและการจ้างแรงงานซึ่งรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้มแข็ง

สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเล็งเห็นว่าปัจจุบันผ้าทอของไทยได้รับความนิยมในการนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายรวมถึงการผลิตเคหะสิ่งทอและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ

ตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งฝีมือความประณีตของคนไทยผนวกกับเอกลักษณ์ความเป็นไทย

จึงเป็นเสน่ห์ของผ้าทอและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายกระทรวงอุตสาหกรรมจึงพยายามพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ให้ผ้าทอไทยมีรูปแบบที่ทันสมัย ใช้งานได้หลากหลายโอกาส

และมีเสน่ห์ของความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น โดยยังคงเอกลักษณ์ความเป็นผ้าทอของไทยได้อย่างงดงาม

สำหรับงานแสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 12 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา นครราชสีมา ภายในงานพบกับบูธแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นถิ่นดีไซน์ทันสมัยของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 การแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าไทยสุดตระการตา โดยมิสแกรนด์นครราชสีมา

2020พร้อมนางแบบและนายแบบมืออาชีพ การแสดงศิลปะวัฒนธรรม

พ่อโคราชร่วมสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

วันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ น.
พระสีหราชสมาจารมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ประธานฝ่ายสงฆ์ และคณะสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ร่วมนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน และหน่วยงานราชการ
พี่น้องชาวบ้านสระตาราช,สำโรง ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ร่วมสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว (นาหว่าน) ณ.สถาบันพัฒนาชาวพุทธ (๕๓) วันนี้เป็นวันครบรอบ๕เดือนที่ก่อนตั้งสถาบันชาวพุทธ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 53 ไร่ จากเดิมเป็นที่ ชาวบ้านบริจาคที่ดินมอบ วัดพระนารายณ์วรวิหารและจากดำริของ พระสีหราชสมาจารมุนี ได้นำพื้นที่นี้มาใช้ในการพัฒนา เผยแผ่พุทธศาสนาชุมชน ตามนโยบายหมู่บ้านศีล 5 ได้ก่อสร้างเป็นสถาบันชาวพุทธขึ้นในปัจจุบัน ศูนย์รวมชาวบ้าน และ ส่งเสริมความรู้วิถีชุมชน พร้อมวิถีพุทธอยู่ร่วมกัน.. จึงทำให้เกิดกิจกรรม พัฒนาชุมชน อีกหลากหลายรูปแบบในเวลาต่อมา

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดประกวดและมอบรางวัลคลิปวีดีโอวัฒนธรรมโคราช

กรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาจัดโครงการประชาสัมพันธ์ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหารประกาศผลชิงรางวัลโล่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
วันที่ 15 พฤศจิกายน เวลา 10.00 น. ณ สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ดร. ยลดาหวังศุภกิจ โกศล นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาพร้อมนาง เอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา นาย ไชยนันท์ แสงทองวัฒนธรรมจังหวัดและ คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติร่วมพิธีประกาศผลรางวัลโครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหาร การส่งเสริมต่อยอดสร้างสรรค์ ด้านภูมิปัญญาวัฒนธรรมดำเนินการโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลลัยราชภัฎนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ม.วงษ์ชวลิตกุลโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชรูปแบบออนไลน์ให้แก่เยาวชนและประชาชนของจังหวัดนครราชสีมา โดยจัดอมรมเมื่อวันที่ 16 ต.ค 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดนครราชสีมา

  1. เพื่อฝึกอบรมผลิตสื่อสารสนเทศรูปแบบออนไลน์ โดยการมีส่วนร่วมของเยาวชนและประชาชนให้ได้มีผู้เข้าร่วม สามารถผลิตสื่อด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราช อย่างสร้างสรรค์และมีเวลาแสดงความรู้ความสามารถด้านการตัดต่อเชื่อมโยงวัฒนธรรมแก่นักศึกษาและประชาชน
  2. เพื่อพิจารณาคัดเลือกสื่อสารสนเทศดีเด่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชที่เยาวชนและประชาชนได้ผลิต เผยแพร่ และมอบรางวัล
    การดำเนินกิจกรรมโครงการนี้แบ่ง 2 ลักษณะ
  3. การอบรมเสริมสร้างความรู้ด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเองและความรู้การเขียนเนื้อหาประกอบบทวีดีทัศน์ ระยะเวลา 1 วัน ผ่านระบบ Zoom online
  4. จัดทำวีดีทัศน์การประกวดขนาดความยาว 3 – 5 นาที / เรื่อง เพื่อชิงโล่รางวัล ท่านอิทธิพล คุณปลื้มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและประธานสภาตามลำดับ
    แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ด้านผ้าและอาหารโคราชมีโล่และเงินรางวัลชนะเลิศจากท่าน อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและเงินรางวัลรวมกว่า 50000 บาท จากโครงการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหารได้มีทีมร่วมประกวดจำนวน 29 ทีม จำนวนผู้รว่มการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 87 ท่าน ผ่านรอบแรกบทวีดีทัศน์ประเภทผ้า 13 ทีมและประเภทอาหาร 15 ทีม และรอบสุดท้ายส่งบทวีดีโอได้มีการมอบรางวัลประเภทผ้า 5 รางวัล ได้แก่
  5. ทีม กิตติธัญกุล รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 10000 บาท
    กลุ่มทอผ้าไหมบ้านทับทับสวาย – ผ้าไหมมัดหมี่ลายปูน อ. ห้วยแถลง
  6. ทีม 9644FILM รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 8000 บาท
    กลุ่มทอผ้าเทศบาลตำบลสูงเนิน – ผ้าเงี่ยงนางดำ อ. สูงเนิน
  7. ทีมวัตถาภรณ์ นครโคราช รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 5000 บาท
    วิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านโนนกุ่ม – ผ้ายวน อ. สีคิ้ว
  8. ทีม อารยโชว์ โรงเรียนจระเข้หินสังฆกิจ ได้รับรางวัลชมเชย ได้รับเงิน 3000 บาท
    สหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรคึมมะอุสวนหม่อม – ผ้าขาวม้าไหมลายโน้ตดนตรี อ.บัวลอย
  9. ทีม Donpharm cup ได้รับรางวัลชมเชย ได้รับเงิน 3000 บาท
    วิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านถนนคต 9101 ผ้ายวน อ. สีคิ้ว
    และประเภทอาหาร 5 ทีม ที่ได้รับรางวัล ได้แก่
  10. ทีม วัตถาภรณ์ นครโคราช รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 10000 บาท
  1. และประเภทอาหาร 5 ทีม ที่ได้รับรางวัล ได้แก่
    1. ทีม วัตถาภรณ์ นครโคราช รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 10000 บาท
    หมู่บ้านวัตวิถีบ้านน้ำฉ่า – หมี่อ่อนสอดใส้ อ. ขามทะเลสอทีม
  2. 9644 FILM รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 8000 บาท
    ร้านพจน์เป็ดย่างพิมาย – เป็ดย่าง อ. พิมาย

3..ทีม อาหารโคราชรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 8000 บาท
บ้านขนมไทยโคราช – ขนมไทย อ. เมือง

4..ทีม นาย บฤงกฤษฎ์ พิทยาวิวัฒน์กุล ได้รับรางวัลชมเชย ได้รับเงิน 3000 บาท
กระยาสารทแม่ปราณี – กระยาสารท อ. พิมาย

5.ทีม หนุ่มหน้ามน ได้รับรางวัลชมเชย ได้รับเงิน 3000 บาท
ร้านตำไทบ้าน – ผัดหมี่โคราชอ.เมือง


จากการส่งเสริมผลิตสื่อประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้าและอาหารถือเป็นกิจกรรมส่งเสริมต่อยอดภูมิปัญญาเผยแพร่สู่สาธรณะชนกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนรู้จักผ้าและอาหารโคราชตามมาตรฐานสากลต่อไป

ผู้สมัครนายก… “กล้าคิดกล้าทำ กล้านำพัฒนา “ขวัญใจมวลชน

นาย อุดม สร้อยแสงพันธุ์ ผู้สมัครนายก… “กล้าคิดกล้าทำ กล้านำพัฒนา “ขวัญใจมวลชน อบต.พันชนะเปิดตัวทีมงานเบอร์ 3 เปิดตัวทีมงานบริหารทีมใหม่.  แสดงวิสัยทัศน์ พัฒนาท้องถิ่น นำเสนอผลงานที่ผ่านมา ลงชุมชนทุกหมู่บ้าน 11 หมู่ และชุมชนในพื้นที่อย่างเข้มแข็งกลุ่มพัฒนาก้าวหน้า เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ขอเสียงสนับสนุนเลือก

 นาย อุดม สร้อยแสงพันธุ์ จากผลงานอดีตประธานสภาอบต.พันชนะ และอดีตคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดนครราชสีมา ขอโอกาสพี่น้องตำบลพันชนะ คนรุ่นใหม่อาสาเป็นนักพัฒนารับใช้ พ่อแม่พี่น้องเสนอนโยบาย กลุ่มพัฒนาก้าวหน้า กล้าคิด กล้าทำกล้า นำพัฒนาขอเป็นนักอาสาเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้ชุมชน ชาวตำบลพันชนะเลือกเบอร์ 3 เพื่อเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะ ขอพ่อแม่พี่น้องชาวตำบลพันชนะ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ไปเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 เวลา 8:00 น ถึงเวลา 17.00 น

ผลิตสื่อทางอิเลคโทรนิคโดย…168 นิวส์ออนไลน์ นายโสภณวิชญ์ สงแจ้งเพจ168 นิวออนไลน์

มทร.อีสาน จัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดพายัพ อ.เมือง จ.นครราชสีมา


.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2564 ไปถวายแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดพายัพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.00 น. โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มทร.อีสาน เป็นประธานในพิธี
.
พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ อุปนายกสภา มทร.อีสาน นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดี มทร.อีสาน และปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา มทร.อีสาน รวมถึงแขกผู้มีเกียรติจาก มทร.อีสาน ทุกวิทยาเขต หน่วยงานราชการในจังหวัดนครราชสีมา และประชาชนในพื้นที่ให้เกียรติร่วมในพิธี โดยมี พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทั้งนี้มีผู้มีจิตกุศลร่วมทำบุญกฐินพระราชทาน ประจำปี 2564 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,281,084.89 บาท
.
สำหรับวัดพายัพเป็นพระอารมหลวงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2220 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับเมืองนครราชสีมา โดยวัดตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเสาหลักเมือง จึงได้ชื่อว่า ‘วัดพายัพ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 วัดที่เก่าแก่ของจังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้หลังจากที่ได้มีการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ภายในวัด เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงมีพระบรมรูปสมเด็จพระนารายณ์ฯ ในท่าประทับยืนประดิษฐานอยู่ในศาลาทรงไทยอยู่บริเวณด้านหน้าอุโบสถ นอกจากนี้ภายในวัดได้มีการสร้างถ้ำหินงอกหินย้อย ซึ่งมีการรวบรวมพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองที่มีอายุกว่า 300 ปี ให้ประชาชนได้กราบไหว้ และชมความงามภายในถ้ำด้วย

เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวหนาวนี้…ที่โคราช…

#หนาวนี้ที่…#โคราช

#ท่องเที่ยวโคราชฤดูหนาว

#Amazingวิถีใหม่เที่ยวไทยไม่ตกTrend

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครราชสีมา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดงานแถลงข่าว “หนาวนี้ที่….โคราช” ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564  ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2564 – เดือน กุมภาพันธ์ 2565

นางภาวนา  ประจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา กล่าวว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครราชสีมา ได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ที่มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในช่วงฤดูหนาว โดยการรวบรวมกิจกรรมทางการท่องเที่ยว จัดทำเป็นปฏิทินการท่องเที่ยวในแต่ละเดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 – เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล เพื่อจะได้วางแผนในการเดินทางท่องเที่ยวและไม่พลาดที่จะไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามปฏิทินการท่องเที่ยวตลอด 4 เดือนนี้ ตามปฏิทินแนบ

และนอกจากนี้ ททท. ยังได้เตรียมของขวัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาวนี้ด้วย โดยมีโปรโมชั่นท่องเที่ยวฤดูหนาว ตามโครงการ Amazing วิถีใหม่ เที่ยวไทยไม่ตก Trend เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่ม Gen-y เพียงจองที่พักกับโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA (ที่เข้าร่วมโครงการกับ ททท.) จะได้รับ Gift Voucher มูลค่า 300 บาท ไปใช้เดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดเดือน พฤศจิกายน 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 โดยเลือกเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งใน 4 เส้นทาง ดังนี้

1. ชมเมืองลอยฟ้ากับชุมชนเขายายเที่ยง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

2. เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

3. เส้นทางชวนเธอไปชมดาว สัมผัสหนาวที่เขาใหญ่ @ เดอะเปียโน รีสอร์ท

4. เส้นทางทัวร์ท่องไพร เขาใหญ่มรดกโลก

และโครงการเปิดประสบการณ์ใหม่ เที่ยวเมืองไทย ไม่รู้ลืม @ นครราชสีมา  เป็นโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่ม Millennial Family (ครอบครัวคนรุ่นใหม่ที่เดินทางพัฒนาทักษะของลูก) เพื่อเปิดโลกทัศน์และส่งมอบประสบการณ์ชีวิตด้วยกิจกรรม Event อาหารถิ่น ชุมชนท่องเที่ยว หรือแหล่งท่องเที่ยว หากจองเข้าพักกับโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA (ที่เข้าร่วมโครงการกับ ททท.) จะได้รับ Gift Voucher มูลค่า 300 บาท ไปใช้ในแหล่งท่องเที่ยว เช่น พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน / ชุมชนบ้านใหม่ ต.ท่าช้าง / กรีนมีออร์แกนิคฟาร์ม / ทองสมบูรณ์คลับ / งาน Forest of Illumination ที่คีรีมายาเขาใหญ่  ระยะเวลาการใช้ Gift Voucher ตลอดเดือนธันวาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 Gift Voucher มีจำนวนจำกัด จองก่อนได้สิทธิ์ก่อน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งชาวโคราชได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมขึ้นและมีมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัย เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนมั่นใจได้ว่ามาโคราชแล้วปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ มีความสวยงามในช่วงฤดูหนาวพร้อมต้อนรับทุกท่านมาเยี่ยมชมความงดงาม และมาสัมผัสอากาศดีๆ ในช่วงฤดูหนาวนี้…ที่โคราช

สุขภาพจิตแห่งชาติ “สุขภาพจิตไทย วัดใจไปด้วยกัน”

สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ “สุขภาพจิตไทย วัดใจไปด้วยกัน”

       นายชูศักดิ์ ชุนเกาะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานพิธีเปิดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ

  ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2365  “สุขภาพจิตไทย..วัดใจไปพร้อมกัน” www.วัดใจ. com

      จากสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ COVID-19 การทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพัน หลายคนประสบกับปัญหาธุรกิจ ตกงาน และอื่นๆ อีกมากมาย สถานการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชนไทย โดยอัตราการฆ่าตัวตายจากเดิม 6.64 ต่อแสนประชากร ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 7.66 ต่อแส

น ประชากร ในปี 2563 ในจังหวัดนครราชสีมา เพิ่มขึ้นจาก 7.66.ต่อแสนประชากร เป็น 8.28 ต่อแสนประชากร

 

ช่วงปีที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการวัดใจของประชาชนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ผ่านแอปพลิเคชั่น Mental Health Check in พบพาวะเสี่ยงด้านสุขภาพจิตประชาชนไทยด้วยหลักการ 4 สร้าง 2 ใช้ โดยสร้างความปลอดภัย สร้างความสงบ สร้างความหวัง สร้างการดูแล โดยใช้ศักยภาพและใช้ความสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน สถานประกอบการ โรงเรียนมีความเข้มแข็งทางจิตใจ มีพลังใจที่จะตอสู้กับปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

  ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้น หลายคนล้ม หลายคนลุก หลายคนจบชีวิต หลายคนสร้างชีวิต สามารถพลืกวิกฤตให้เป็นโอกาส เห็นได้ว่า “วิธีคิดและจัดการกับปัญหา” รวมถึง “พลังใจ”ของเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรา “อยู่กับปัญหา” หรือ “ก้าวปัญหา”ได้อย่างมีความสุข

  ร.พ.จิตเวชนครราชสีมาและศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 จึงขอเชิญชวนมาร่วม “วัดใจไปพร้อมกัน”กับนิทรรศการทางด้านสุขภาพจิต กิจกรรม “วัดใจ” การให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิต กิจกรรมเสริมสร้าวพลังใจพร้อมรับของที่ระลึกเพื่อการดูแลจิตใจในช่วง COVID-19 ในงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องโคราขฮอลล์ ชั้น 4   ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา ตั้งแต่เวลา 08.30 น เป็นต้นไป

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้สรรหาคณะกรรมการและประธานสภาวัฒนธรรมท่านใหม่

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 นาย วิจิตร กิจวิรัตน์นายอำเภอรักษาการแทนปลัดจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธีเปิดการประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาโดยนายไชยนันท์ แสงทองวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาดำเนินการประชุมสรรหาได้กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา

แนวคิดการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นของประชาชนประชาชนคือเจ้าของวัฒนธรรม  การดำเนินงานวัฒนธรรมจะบรรลุผลได้ดียิ่ง ต้องให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบดำเนินการวัฒนธรรม อย่างมีบทบาทสำคัญ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม ดังนี้

1. เพื่อให้เกิดการรวมตัวจัดตั้งองค์กรชุมชนของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรม นำไปสู่การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง

2. เพื่อให้เกิดการรวมพลังระหว่างองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่นเป็นเครือข่ายเครือญาติ ทางวัฒนธรรมที่มีการติดต่อสื่อสารพบปะข้อมูลแลกเปลี่ยนข่าวสารตลอดจนแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ซึ่งกันและกัน

3. เพื่อให้เกิดหน่วยงานด้านวัฒนธรรมของประชาชนในท้องถิ่น ที่เชื่อมประสานหน่วยงานภาครัฐได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ

สภาวัฒนธรรมมีสถานภาพเป็นองค์กรเอกชน ที่ดำเนินงานวัฒนธรรม ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม ในการระดมทรัพยากร บุคลากร และสรรพกำลังต่างๆ จากหน่วยงานและองค์กรต่างๆในการส่งเสริม สนับสนุน และร่วมกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา สร้างสรรค์  แลกเปลี่ยน สืบทอด และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ได้ดำเนินการปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแต่ละระดับ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ 2553 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

– สภาวัฒนธรรมตำบล จำนวน 258 แห่ง

– สภาวัฒนธรรมเทศบาล จำนวน 11 แห่ง

– สภาวัฒนธรรมอำเภอ จำวน 32 หาง

และกำหนดการประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ในวันนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย เครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 32 อำเภอ ๆ ละ 1 คน รวม 32 คน เครือข่ายวัฒนธรรมที่จดแจ้งในระดับจังหวัด 30เครือข่าย ๆ ละ 1 คน รวม 30 คน และผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ได้แก่ นักวิชาการวัฒนธรรม และผู้แทนจากเครือข่าย อื่นๆรวมทั้งสิน 90 คน เพื่อดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่แทนคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดเก่า ที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระที่กำหนดในกฎกระทรวงจำนวนไม่น้อยกว่า 19 คน และไม่เกิน 51 คน โดยได้รับความเมตตานุเคราห์สถานที่จัดประชุมจากพระเดชพระคุณ พระศรีวงศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดป่าศรัทธาราม

 ในการสรรหาครั้งนี้ได้ท่าน เอมอร  ศรีกงพาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาอีกวาระ3ปี และได้คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดรวม 51 คนและจะประกาศรับรองเพื่อทำงานการส่งเสริมด้านวัฒนธรรมจังหวัดต่อไป