งานแถลงข่าวและเปิดตัวนักกีฬา นครราชสีมา คิวมินซี วีซี

งานแถลงข่าวและเปิดตัวนักกีฬา นครราชสีมา คิวมินซี วีซี Nakhonratchasima QminC VC ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย ณ ศูนย์การค้า เทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 – 15 ตุลาคม 2564 ส่งแรงใจเชียร์ผ่านหน้าจอทีวี ถ่ายทอดสดช่อง 36 PPVT HD
นายวัชรพงษ์ โตมรศักดิ์ ประธานสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ผู้สนับสนุน และสื่อมวลชน ว่า ด้วยผู้ใหญ่ใจดีที่ปรึกษาอย่างเช่น ท่านวิเชียร จันทรโณทัย นายกสมาคมแห่งจังหวัดนครราชสีมา ทุกภาคส่วน รวมไปถึงสปอนเซอร์ทุกท่าน ในการแข่งขันครั้งนี้เป้าหมายคือ “เชียร์โคราช เพื่อชาติไทย” นั่นคือสัญลักษณ์ที่เราจะประกาศว่า เราอยากมอบความสุขในการแข่งขันครั้งนี้ โดยจะทำลำดับการแข่งขันให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นทีมชายและทีมหญิง ขณะที่ทุกคนหวาดพวากับเรื่องโควิด-19 ทุกคนต้องกักตัวอยู่ที่บ้านไปไหนมาไหนลำบาก แต่ถ้ามีวอลเลย์บอลที่แข่งขันในจังหวัดนครราชสีมา มีผู้ใหญ่ใจดี มีสปอนเซอร์หลายท่านให้การสนับสนุนช่วยกัน ผมบอกกับนักกีฬาของเราและคุณแม่ปทุมว่า การแข่งขันครั้งนี้จะไม่มีคนดูในสนาม

แต่นอกสนามจะมีคนไทยและคนโคราชที่ได้เชียร์และชมผ่านพีพีทีวี 36 สิ่งที่เราทำได้ในวันนี้ก็คือมอบความสุข ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด โดยได้ดึงเอานุศรา มือเซ็ตมาเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมหญิง ทั้งๆ ที่ทีมเราก็พร้อมอยู่แล้ว และเช่นเดียวกับนักกีฬาทีมชายที่เราก็ได้ดึงเอานักกีฬาทีมชาติที่มีความสามารถในทีมต่างๆ เข้ามาร่วมเสริมทีมเพิ่มความแข็งแกร่ง เป้าหมายหลักคือ แชมป์ เพื่อให้ความสุขกับทุกๆ ท่าน
นายวิเชียร จันทรโณทัย นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครราชสีมาและที่ปรึกษาสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว กล่าวเสริมว่า ในอดีตที่ท่านมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เราก็ร่วมกับสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา ว่าเราอยากเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานวอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรแห่งเอเชียขึ้นมาเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดนครราชสีมา และก็เป็นการเปิดจังหวัดนครราชสีมา สร้างฐานะให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองกีฬา ครบถ้วน สมบูรณ์ เราต้องการให้มีแมทช์กีฬาต่างๆ ในทุกระดับ เพื่อให้สมเป็นเมืองแห่งกีฬา หลังจากนั้นผมก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่จังหวัดชัยภูมิ ในระหว่างที่เราดีลงานกับสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา เราอาจจะขายบัตรเข้าชมการแข่งขันได้ร้อยละ 25 แต่สถานการณ์โควิด-19 เรายังเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม ดังนั้นค่าเข้าชมจากการจำหน่ายบัตรจึงเป็นไปไม่ได้เลย แต่ด้วยความกรุณาจากท่านผู้ว่ากอบชัย ท่านรองชรินทร์ และท่านสาธารณสุขจังหวัด รวมถึงท่านประธานสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมาที่ไม่ถอดใจเลย ไม่ถอย หลายปัญหาผมคิดว่าขอยกเลิกได้ไหม ขอไม่เอาได้ไหม ผมกลัวจะพูดตรงนั้นออกมาหลายครั้งเวลารับโทรศัพท์ เวลาพูดคุยเพราะว่าปัจจุบันมันเกิดปัญหาหลายประการมาตลอด จนมาถึงวันนี้ผมเห็นถึงความเหน็ดเหนื่อย ความต่อสู้และความตั้งใจของทุกฝ่าย ผมยังคิดว่าถ้าทางท่านประธานจัดงานบอกว่าไม่เอาแล้ว ผมก็คงจะถอดใจ ถอดผ้า ยกผ้าขาว ไม่เอาแล้วเช่นกัน ผมคิดว่าการแข่งขันครั้งนี้เป็นการต่อสู้ของพี่น้องชาวจังหวัดนครราชสีมาอยากให้เกิดการแข่งขันครั้งนี้จริงๆ ทุกภาคส่วน ในนามนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครราชสีมาขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ให้การสนับสนุนการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรแห่งเอเชียขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาไว้ ณ ที่นี้ด้วย

นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ถ้าพูดถึงกีฬาวอลเลย์บอลแล้ว จังหวัดของเราก็เป็นเมืองแห่งกีฬาวอลเลย์บอลของประเทศไทยอยู่แล้ว เราเคยจัดกีฬาวอลเลย์บอลระดับประเทศ ระดับเอเชีย เรามีนักกีฬาที่มีชื่อเสียงที่เป็นลูกหลานชาวโคราช ติดทีมชาติก็หลายคน เรามีเกียรติประวัติมาแล้ว แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้จังหวัดนครราชสีมา ทีมงานนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดอย่างต่อเนื่อง เราจะสามารถจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลครั้งนี้ได้อย่างไม่มีข้อบกพร่อง บับเบิลไม่แตก ขอให้ทุกท่านมั่นใจ เราพูดคุยรายละเอียดทุกเรื่องเพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดการแข่งขันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นักกีฬา คณะเจ้าหน้าที่ทุกท่านปลอดภัย การถ่ายทอดทางทีวีเป็นไปอย่างราบรื่น เราพร้อมจะจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์แห่งเอเชียไปด้วยกัน ในทุกๆ ระดับ
นายฐานธิษณ์ ยืนยงเตชะหิรัณ ประธานกรรมการบริษัท เทรา ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอเรจ จำกัด กล่าวว่า โดยส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับนักกีฬาวอลเลย์บอลและคณะกรรมการสโมสรมานานกว่า 15 ปี ปีนี้ผมเชื่อว่าทางสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา ซึ่งมีศักยภาพเยอะ แบรนด์ของเราเป็นแบรนด์น้องใหม่ แลผมหวังว่าปีนี้สโมสรเราคงจะได้แชมป์

ข่าวประชาสัมพันธ์ “งานแถลงข่าวโคราชกรีนบ็อกซ์” วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 16.00-17.00 น. ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำสายศร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

“ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาจับมือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หอการค้าจังหวัดจังหวัดนครราชสีมา องค์กรภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนชวนนับถอยหลังกับมาตรการเปิดเมืองด้วยแนวคิด “โคราชกรีนบ็อกซ์”
วันนี้(10 กันยายน 2564) เวลา 16.00 น. นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานในงานแถลงข่าวเผยแนวทางดำเนินการ “โคราชกรีนบ็อกซ์” กับมาตรการเปิดเมือง120วันของรัฐบาลพร้อมรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในจังหวัดแล้ว เชื่อมั่นว่าชาวโคราชพร้อมร่วมใจ
เพราะจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นในทรัพยากรทางการท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนปีละ 9 ล้านกว่าคนในปี 2562 เห็นใจว่าผู้ประกอบการทุกคนล้วนได้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นาน เป็นสิ่งที่เราทุกคนเผชิญอยู่อย่างปฏิเสธไม่ได้ ทั้งยังส่งผลอย่างมากต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคม

ตลอดจนการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาอยากให้ทุกคนกลับมาต่อวงจรเศรษฐกิจให้ได้ ที่ผ่านมาจังหวัดนครราชสีมามีมาตรการในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยของประชาชนในทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตามด้วยความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายภาคเอกชนของจังหวัดนครราชสีมาที่มีความตั้งใจในการกำหนดแนวทางและมาตรการในการดูแลความปลอดภัยให้กับพนักงานในสถานประกอบการ รวมถึงการกำหนดให้มีโครงการ “โคราชกรีนบ็อกซ์”ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักเดินทางไมซ์ที่จะเดินทางมายังจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากอำเภอปากช่องก่อนแล้วค่อยขยายไปยังอำเภออื่นๆ จังหวัดนครราชสีมาก็ต้องขอขอบคุณและความร่วมมือของภาคเอกชน จังหวัดนครราชสีมาก็มีความยินดีและพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมนี้ ที่ตั้งอยู่บนมาตรการที่รัฐบาลกำหนด
นอกจากนี้ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดนครราชสีมาเป็นหน่วยงานที่ริเริ่มโครงการ “โคราชกรีนบ็อกซ์” ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมือในการวางแผนโครงการเป็นอย่างดี ซึ่ง “โคราชกรีนบ็อกซ์” หมายถึง พื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาที่มีความปลอดภัยและคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม หวังช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องฟื้นตัวโดยเร็วจากการท่องเที่ยว มั่นใจสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวในโครงการ “โคราชกรีนบ็อกซ์” มีมาตรการหลายชั้นรัดกุม เน้นทั้งผู้ให้บริการที่ต้องมีการตรวจATKทุก7วัน เพื่อความปลอดภัยในด้านการท่องเที่ยว ป้องกันการติดเชื้อ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถมั่นใจได้ว่า มาเที่ยวในโครงการโคราชกรีนบ็อกซ์แล้วจะได้รับความปลอดภัยจากการเดินทาง”

ยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding)

ยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding) บูรณาการหน่วยงานในการอำนวยความยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา และ โครงการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
วันที่ 6 สิงหาคม 2564 ณ ห้องประชุมมูลนิธิท้าวสุรนารี ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา โดย นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าจังหวัดนครราชสีมา ประธานพร้อมด้วย นายวิเชียร ไชยสอน ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมาในโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding) บูรณาการหน่วยงานในการอำนวยความยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา และ โครงการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กล่าวและ ดร.ยลดล หวังศุภกิจโกศลนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จังหวัดนครราชสีมา ท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา แรงงานจังหวัดนครราชสีมา ประธานมูลนิธิพุทธธรรมนครราชสีมา (ฮุก 31) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา นายกเทศมนตรี/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทุกท่าน

นายวิเชียร ไชยสอน ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมากล่าวในปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้นยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีช่องว่าง ระหว่างคนรวยกับคนคนจน ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่เราได้ยินประจำ “คุกมีไว้ขังคนจน” “คนรวยนอนบ้าน ขอทานนอนคุก” ถ้ามีปัญญาก็ไปฟ้องเอา ต่างๆเหล่านี้ล้วนสะท้อนปัญหาการเข้าไม่ถึงประบวนการยุติธรรมของประชาชนได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา มีกระบวนการ ขั้นตอน ตามระเบียบกฎหมาย ที่มีเงื่อนไขบังคับให้ประชาชนผู้ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการ จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนที่ไม่มีฐานะทางการเงินที่ดี ไม่สามารเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก จึงเกิดคำพูดอย่างที่กล่าวข้างต้น กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาด้านบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม ได้เพิ่มโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรม (Access to Justice) แก่ประชาชนด้วยการพัฒนาแนวคิด“ยุติธรรมชุมชน (Community Justice) ” ให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยการสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชน (คยช.) และการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน (ศยช.) ทั่วประเทศ และจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดตั้งขึ้นจำนวน 333 ศูนย์กระจายอยู่ทุกอบต.และเทศบาล โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ (1)ช่วยเหลือประชาชนในทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมและการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในชุมชน (2) เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งด้านกฎหมายและความยุติธรรมแก่ประชาชน โดยกำหนดกรอบภารกิจหลักของระบบยุติธรรมชุมชนออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1.การเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาอาชญากรรม การทุจริตและประพฤติมิชอบและการกระทำผิดกฎหมายต่างๆ ในชุมชน
2.การรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ปัญหาความไม่เป็นธรรมของประชาชน และรับแจ้งเบาะแสข้อมูลการกระทำความผิดกฎหมายต่างๆ ตลอดจนการช่วยเหลือ ดูแล ให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือผู้ที่ต้องการคำแนะนำเบื้องต้นทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
3.การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือความขัดแย้งในชุมชนตามหลักความยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ การเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน และการติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้มีการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือความขัดแย้งนั้น
4.การให้ความช่วยเหลือ ดูแลผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากอาชญากรรมและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามหน้าที่
5.ให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ และบำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดและผู้พ้นโทษให้กลับตนเป็นพลเมืองดีและไม่หวน
ด้านนายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าจังหวัดนครราชสีมา

กล่าวเปิดด้วยสถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้น ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่เราได้ยินประจำ “คุกมีไว้ขังคนจน” “คนรวยนอนบ้าน ขอทานนอนคุก” ถ้ามีปัญญาก็ไปฟ้องเอา ต่างๆ เหล่านี้ล้วนสะท้อนปัญหาการเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา มีกระบวนการ ขั้นตอน ตามระเบียบกฎหมาย ที่มีเงื่อนไขบังคับให้ประชาชนหรือผู้ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการต้องมีค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนที่ไม่มีฐานะหรือเงินมากพอ ที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก และเกิดคำพูดอย่างที่กล่าว แม้หลายหน่วยงาน จะเข้ามาช่วยในการดูแลและอำนวยความยุติธรรมอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยหันเหคดีออกจากศาลหรือการแก้ปัญหาร้องเรียน ร้องทุกข์ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มีความรวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้นก็ตาม แต่ปัญหาการเข้าไม่ถึงความยุติธรรมของประชาชนก็ยังไม่มีทีท่าลดลง ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือกระบวนการอำนวยความยุติธรรมดังกล่าว
สรุปผลการตัดสินการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔
ศูนย์ยุติธรรมชุมชน รางวัลอบต.หนองแวง อ.เทพารักษ์ รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ชนะเลิศ ๒. อบต.พระพทฺธ อ.เฉลิมพระเกียรติ รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
รองชนะเลิศลำดับที่ ๑เทศบาลตำบลโพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
รองชนะเลิศลำดับที่ ๒เทศบาลตำบลช่องแมว รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดอ.ลำทะเมนชัย นครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ด้านการช่วยเหลือประชาชน ๕. อบต.เมืองพลับพลา รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดอ.ห้วยแถลง นครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ด้านการช่วยเหลือประชาชนอบต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ระดับดีเยี่ยม ๗. อบต.จระเข้หิน อ.ครบุรี รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ระดับดีเยี่ยมอบต.วังโพธิ์ อ.บ้านเหลื่อม รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔

เปิดห้องสื่อการเรียนต้นแบบ ” ผลิตสื่อออนไลน์ “

ตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พ.ศ. 2561 มาตราที่ 5 (4)
สัญญาเลขที่ 63-0355 รหัสโครงการ 63-051-00069 ได้จัดทำโครงการ Young kids 6 part วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบ ครู ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และเด็กด้อยโอกาส ผู้ที่ตกอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก ให้กลับคืนสู่ระบบการศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนาเป็นครูต้นแบบ โดยมีการจัดกิจกรรม และ งานวิจัยร่วมกับศูนย์วิชาการและเครือข่าย ด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ร่วมมือของ ภาคีเครือข่ายเทศบาลนครราชสีมาให้เป็นรูปธรรม

เพื่อให้การดำเนินงานในดครงการ Young kids 6 part บรรลุเป้าหมาย ได้จัดทำห้องการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ได้รับเกียรต์จากท่าน อำนาจ บุตรโต ผู้อำนวยการโรงเรียน เทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัครคี) ประธานเปิดร่วม นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ วิทยากรออนไลน์ และ นายพสิษฐ์ กาญจนกิจ อาจารย์ศูนย์ประสานงานพร้อมคณะนักเรียน 4 โรงเรียน (ผ่านระบบ zoom) ประกอบการเรียนการสอน และพัฒนารูปแบบต้นแบบ สื่อการสอนขยายโอกาสให้เยาวชนต่อเนื่องไป

เพื่อให้การดำเนินงานในโครงการ Young kids 6 part เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิถาพ ในกิจกรรมช่วงที่ 4 ในหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการจัดกิจกรรมจะมีการลงปฏิบัติฝึกสอนจริงกับเยาวชนครูต้นแบบ เพื่อนำความรู้และทักษะไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนกลุ่มเด็กและเยาวชนต้นแบบ จำนวน 65 คน เป็นเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่อยู่ในสถานพินิจฯและศูนย์ฝึกและอบรมฯเขต 3 นครราชสีมา รวมถึงเยาวชนด้อยโอกาสโรงเรียนบ้านโนนเมืองเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนจุลมมณีสุรนารี นครราชสีมา โดยมีกำหนดจัดโครงการฯ ในวันที่ 12-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ซึ้งการอบรมในโครงการจะผ่านห้องปฏิบัติการ Young kids 6 part online ในหลักสูตร การจัดการเรียนรู้การพฒนาทักษะ เรียนรู้และอาชีพในวิถีใหม่ สามารถ สามารถสร้างรายได้ด้วยตัวเองกับการใช้ชีวิตในวิถีใหม่ new normal

พิธีมอบอุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์ฯ

อุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์ฯ ที่จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา วันนี้( ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔) เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณปริสุทโธ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา พลอากาศเอกนายแพทย์สุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ในพระองค์ ๙๐๔ เป็นประธานในพิธีรับมอบอุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์  ตามโครงการสนับสนุนฝึกอบรมและปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ  มีนายแพทย์นรินทร์รัชต์      พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา  กล่าวรายงาน  มี นางณัฏฐินีภรณ์   จันทรโณทัย  นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา นายวิสูตร ชัชวาลวงศ์. ปลัดจังหวัดนครราชสีมา    เข้าร่วมงาน  กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ข้าราชการ อสม. อปพร. นักเรียน และนักศึกษา จำนวนรวมทั้งสิ้น ๙o คน  ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจาก มูลนิธิสอนการช่วยชีวิตร่วมกับวิทยากรจิตอาสาจังหวัดนครราชสีมา และเครือข่ายวิทยากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๓0 คน

ทั้งนี้ นายแพทย์นรินทร์รัชต์  พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา   กล่าวว่า  ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา   ได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน

จังหวัดนครราชสีมา ให้ดำเนินโครงการสนับสนุนการฝึกอบรมและการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

โดยมีมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้สนับสนุนในโครงการจิตอาสา CPR เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือโครงการสนับสนุนการฝึกอบรมและการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยการดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์การสอน ประกอบด้วย หุ่นฝึก การช่วยชีวิตทั้งหุ่นผู้ใหญ่ หุ่นเด็กหุ่นทารก เครื่อง AED Trainer และอุปกรณ์สอนการช่วยผู้ที่สำลัก (Anti Choking Model) เพื่อมอบให้กับจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ สำหรับการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จังหวัดละ ๓0 ชุด โดยเบื้องต้นจะส่งมอบให้กับจังหวัดนำร่อง ๑๑ จังหวัด ประกอบด้วย ๑.เชียงใหม่  ๒. พิษณุโลก ๓. ชลบุรี ๔. สุรินทร์   ๕. สมุทรปราการ    ๖. ขอนแก่น  ๗. นครราชสีมา  ๘. พระนครศรีอยุธยา   ๙. อุบลราชธานี    ๑๐. ภูเก็ต และ ๑๑. สงขลา โดย ๔ จังหวัดแรกที่จะได้รับมอบอุปกรณ์ภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา พิษณุโลก สงขลาและภูเก็ต สำหรับ ๙ จังหวัดนำร่องที่เหลือจะได้รับมอบอุปกรณ์ในเดือนเมษายน ๒๕๖๔ นั้น โดยคาดหวังว่าการดำเนินการครั้งนี้  จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้การอบรมสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้แก่ภาคประชาชน ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้  ตลอดจนให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะมีความรู้ในการช่วยชีวิตเบื้องต้นให้ได้มากที่สุด ต่อไป

ซินโครตรอนผนึกกำลัง มทส. และจังหวัดนครราชสีมา ร่วมใช้แสงซินโครตรอนและนวัตกรรมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนโคราช


จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกระทรวง อว. โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและนวัตกรรมสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา โดยจังหวัดนครราชสีมาจะสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ได้รับถ่ายทอดจากมหาวิทยาลัยฯ และสถาบันฯ ในการพัฒนาจังหวัดต่อไป


.
นครราชสีมา : เมื่อวันอังคารที่ 16 มีนาคม 2564 จังหวัดนครราชสีมา และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) หรือ สซ. ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและนวัตกรรมสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ณ SUT-Co working Space อาคารสุรพัฒน์ 1 เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา โดย มทส. จะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม และ สซ. จะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านแสงซินโครตรอนที่เป็นประโยชน์ต่อจังหวัดนครราชสีมาเพื่อนำไปพัฒนาจังหวัด
.
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการในด้านการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนและนวัตกรรม เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปได้เข้าใจและเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่โดยสะดวกและทั่วถึง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) “โคราชเมืองน่าอยู่ประชาชนมีความสุขมั่นคงยั่งยืน” และเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา คือ “ศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคมและท่องเที่ยวของภูมิภาค นวัตกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรม สังคมคุณภาพสูง”


.
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้เป็นความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาศักยภาพ และยกระดับชุมชน กลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้องค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ ทรัพยากร รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งของมหาวิทยาลัย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างชุมชน มหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของการวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนอย่างเป็นระบบ อันส่งผลสู่เศรษฐกิจ การจ้างงาน และความเข้มแข็งของสังคมไทยต่อไป” .
.

รองศาสตราจารย์ สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า “ถือเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก หรือเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่น หรือระดับจังหวัด ให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่าง “แสงซินโครตรอน” ในการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต ผลิตภัณฑ์ สินค้าและวัตถุดิบในชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลผลิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชนได้ ส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เสมอภาคตามเป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง”


.
สำหรับความร่วมมือครั้งนี้มีโครงการนำร่องในการใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติของผ้าไหมไทย เพื่อพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทดแทนหน้ากากทางการแพทย์ และได้นำร่องถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอผ้าไหมและการตัดเย็บให้แก่ชุมชนในอำเภอปักธงชัย และจะถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดนครราชสีมาต่อไป

.

เสริมเขี้ยวเล็บตำรวจภูธรภาค 3

ตำรวจภาค3จัดเสริมเขียวเล็บให้ทัพตำรวจด้านการสืบสวนโดยใช้เทคโนโลยี


วันที่ 23-29 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น.ณ โรงแรมแคนทารี โดราช อ.เมืองจังหวัด.นครราชสีมาพิธีเปิดการอบรมโครงการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรด้านการสืบสวนโดยใช้เทคโนโลยีของข้าราชการตำรวจสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยพล.ต.ท.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผบช.ภ.3 พล.ต.ต.อัคราเดช พิมลศรี รอง ผบช.ภ.3และผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกนาย

ตำรวจภูธรภาค 3 ได้รับอนุติงบประมาณ โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการสืบสวน โดยใช้เทคโนโลยีของข้าราชการตำรวจ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อจัดฝึกอบรมให้กับข้าราชการตำรวจ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานสืบสวน โดยมอบหมายให้ ตำรวจภูธรภาค3 ดำเนินการฝึกอบรมตามโครงการฯ ดังกล่าว ในห้วงระหว่างวันที่ 23 – 29 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมแคนทารี โคราช อ.เมืองจังหวัดนครราชสมา รวมผู้เข้ารับการอบรม 150. นาย

ประกอบด้วย ข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรสืบสวน ของตำรวจภูธรจังหวัด กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 1 ถึง ภาค 9 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนนครบาล 1-5กองบังคับการในสังกัด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบังตับการตำรวจท่องเที่ยว 1- กองบังคับการสืบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1-4 กองบังคับการปราบปรามยาเสพติด 1-4 และ ข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรผู้รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1-4ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้เทคนิค และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงามสืบสรม ให้มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่ทันสมัย มาใช้ในการสืบสวนติดตามจับกุมตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งการพัฒนางานสืบสวน จะต้องพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้และมีความรอบรู้ ที่ทันสมัยอยู่เสมอ อีกทั้ง ยังจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดทักษะ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ทันที รวมไปถึงเพื่อฝึกบทวน แลกเปลี่ยนความรู้ เทคนิคการสืบสวน และการทำงานเป็นทีม ทำให้สามารถติดตามตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ตามกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว

ด้านพล.ต.ท.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผบช.ภ.3กล่าวจากการรายงาน ท่านทั้งหลายคงทราบแล้วว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ขับเคลื่อนดำเนินการ ยกระดับขีดความสมารถในการปฏิบัติภารกิจหลัก เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลเพื่อลดความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชน โดยมีระบบกระบวนงาน ที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังต้องการพัฒนาบุคคลกรขององค์กร ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้สนับสนุนการสืบสวนและสามารถติดตามตัว จับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ตามกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว/กั้งนี้ ก็เพื่อความสงบสุขของ ประชาชนชุมชน สังคม ประเทศชาติ

กระตุ้นสร้าง จรรยาบรรณวิชาชีพสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน

สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กระตุ้นต่อม “จรรยาบรรณวิชาชีพ “ปลุกสำนึก โฆษณาออนไลน์ #ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม

สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย รุกเดินสายจัดอบรม กระตุ้นผู้ผลิตสื่อโฆษณาอีสาน ตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ หลังสื่อออนไลน์ขยายตัวก้าวกระโดด ทั้งมีการผลิตสื่อโฆษณาผิดกฎหมายผ่านช่องทางออนไลน์ หวังผลประโยชน์และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
วันที่ 19 ส.ค.63 ที่ห้องประชุมเสียงแคน ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดการอบรม “โครงการอบรมหลักสูตรการผลิตสื่อโฆษณาที่ตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ” ที่สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน ร่วมกันจัดขึ้น โดยมีคุณอุดมศักดิ์ วงษ์ประเสริฐ รองประธานกิตติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน และผู้ผลิตสื่อโฆษณาในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมอบรมกว่า 40 คน


โดยมีหัวข้อการอบรมเรื่อง แนวทางการผลิตสื่อโฆษณาที่ตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ และกรณีศึกษา โดยคุณธาราวุฒิ สืบเชื้อ รองนายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ฝ่ายกฎหมาย และคุณอนุพงษ์ เจริญเวช นักสืบสวนชำนาญการพิเศษ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) การฝึกปฏิบัติการ (Workshop) การกำหนดกลยุทธ์สร้างสรรค์โฆษณาอย่างมีจริยธรรม โดยคุณรชต ไวยอาษา Associate Strategic Planning Director และ ผศ.ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ กรรมการสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ฝ่ายมาตรฐานวิชาชีพ อาจารย์คณะคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
นายอุดมศักดิ์ วงษ์ประเสริฐ รองประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย มุ่งมั่นเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้ข้อมูลเกี่ยวกับจรรยาบรรณ ให้แก่บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตสื่อโฆษณามาโดยตลอด สื่อโฆษณานับเป็นการสื่อสารที่มีอิทธิพลมากต่อผู้รับชม จะเห็นได้ว่าการผลิตสื่อโฆษณาในปัจจุบันนั้นสามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะสื่อโฆษณาที่ผ่านช่องทางออนไลน์ มีการเติบโตสูงมาก ตามวิถีการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคปัจจุบันที่บริโภคสื่อออนไลน์มาก ทำให้การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ได้รับความนิยมมาก มีหลายแบรนด์ที่ได้สื่อสารในช่องทางนี้จำนวนมาก
ขณะที่ระบบการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณา ทำได้จำกัดเฉพาะการโฆษณาทางโทรทัศน์เท่านั้น ทำให้มีทั้งการโฆษณาที่สร้างสรรค์และผิดกฎหมายอยู่เป็นจำนวนมาก วัดจากข้อมูลของ อย.ปี 2561 มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำการโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมายมากถึง 523 คดี และปี 2562 มีการเผยสถิติการเฝ้าระวังและตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อต่างๆ จำนวน 24,482 รายการ พบโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมายถึง 1,570 รายการ รวมทั้งมีกระแสสังคม วิพากษ์วิจารณ์การนำเสนอเนื้อหาการโฆษณาอยู่เป็นระยะ
นายอุดมศักดิ์ กล่าวต่อว่าการควบคุมสื่อโฆษณาจะมีหน่วยงานหลักคือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ห อสคบ. และคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์จะมีชมรมตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณา ตรวจสอบก่อนออกอากาศ จึงไม่เกิดปัญหา แต่ระยะหลังสื่อโฆษณาที่ผ่านทีวีดาวเทียม และช่องทางออนไลน์ต่างๆ คิดเอง ทำเอง มักโฆษณาผิดกฎหมาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ และต้องการหลีกเลี่ยง ยัดเยียดสื่อโฆษณานั้นให้ผู้บริโภค
ขณะเดียวกันการใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาควบคุมสื่อโฆษณาช่องทางออนไลน์ และดาวเทียวนั้น คงไม่สามารถทำได้เต็มที่ เพราะการผลิตสื่อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์มีจำนวนมาก ทางสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย จึงหันมารณรงค์ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อโฆษณา ตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ จริยธรรม และข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับโฆษณาให้มาก เพื่อให้การผลิตงานโฆษณาเป็นผลงานที่มีคุณภาพ ไม่ผิดกฎหมาย สามารถสื่อสารเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และร่วมรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมด้วย
ผศ.ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ กล่าวว่า บทบาทการทำงาน สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเดินสายสัมมนาในหัวข้อ การผลิตสื่อโฆษณาที่ตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ ไปทั่วประเทศไทย มีจุดประสงค์ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้แนวทาง ความสำคัญในการกำกับดูแลตนเองของนักโฆษณา จรรยาบรรณวิชาชีพ รวมไปถึงข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา ที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานโฆษณาให้มีประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบเชิงบวกทั้งต่อตัวแบรนด์สินค้าในสื่อโฆษณาเอง และต่อผู้รับชมสื่อโฆษณานั้นๆ โดยได้มีการจัดอบรมจำนวนทั้งหมด 12 ครั้ง ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เริ่มจากจังหวัดจันทบุรี, ขอนแก่น, กระบี่, เชียงใหม่ และสิ้นสุดที่กรุงเทพฯ
ด้านนายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิทัล สื่อโฆษณาเข้ามามีบทบาททางออนไลน์เป็นอย่างมาก และยังนับได้ว่าโฆษณาเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้คนในสังคม เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การเติบโตของอุตสาหกรรมสื่อ และสินค้าอุปโภค บริโภคต่าง ๆ ล้วนมีการนำเสนอโดยใช้สื่อโฆษณา ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่อโฆษณาต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย กระนั้นก็อาจจะมีกลุ่มของผู้บริโภคบางกลุ่มที่รู้สึกกังวลกับชิ้นงานโฆษณาที่ออกมาว่าจะเป็นโฆษณาที่มาทำร้ายร้ายจิตใจ หรือเป็นโฆษณาที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อ การกระทำที่ไม่พึงประสงค์ของกลุ่มต่าง ๆ แต่ทุกปัญหาต้องมีทางออก งานโฆษณาจะยิ่งสร้างสรรค์ถ้ามีกฎกติกามารยาท และการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมเป็นพื้นฐาน
โครงการอบรมในวันนี้นับว่าสิ่งสำคัญที่จะทำให้สื่อโฆษณาไม่ส่งผลกระทบต่อผู้รับชมคงเป็นการร่วมมือของผู้ผลิตสื่อเองที่ต้องมีความตระหนักถึงจรรยาบรรณในการผลิตสื่อ เพื่อให้สื่อที่จะสื่อสารออกไปนั้นไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้รับชม และเป็นตัวอย่างที่ดีในการผลิตสื่อที่ดี ๆ ต่อไป หวังว่าผู้เข้าอบรมทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากการอบรมในครั้งนี้ และสามารถนำไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานโฆษณาให้มีความสร้างสรรค์ถูกต้อง เหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อสังคมผู้บริโภคต่อไป ก็จะถือได้ว่าการอบรมครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว

เพิ่มศักยภาพ นักข่าวรุ่นใหม่ผ่านสื่อออนไลน์

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5นครราชสีมา ร่วมกับ สมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา จัดอบรมนักข่าวประชาสัมพันธ์สื่อออนไลน์ หลักสูตรการผลิตสื่อโฆษณาด้วยสมาร์ทโฟน

วันนี้คุณเศรษฐวุฒิ ทัตสุระ ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ได้ให้การต้อนรับคณะผู้จัดและผู้เข้าร่วมอบรมนักข่าวประชาสัมพันธ์หลักสูตรการผลิตสื่อโฆษณาด้วยสมาร์ทโฟน โดยได้รับเกียรติจากนายธนิต จิตละมัน ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดร่วมนายเพชรเหล็ก ทองภูธร ผอ.กลุ่มงานพัฒนาฝีมือแรงงานสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5นครราชสีมา


ทั้งนี้ นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการอบรมครั้งนี้ เพื่อ สร้างนักข่าวประจำพื้นที่ต่างอำเภอให้สามารถเป็นนักข่าวมืออาชีพได้ และเพื่อเพิ่มทักษะ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพให้กับนักข่าวประจำพื้นที่ต่างอำเภอให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 มิถุนายน 2563 และในการอบรมครั้งนี้จะได้มีการฝึกปฏิบัติ ณ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

เพื่อให้ผู้อบรมได้ต่อยอดการนำเสนอข่าวในรูปแบบที่ได้อบรมมา คือ การเขียนข่าวเป็น ถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว และสามารถตัดต่อให้เป็นภาพข่าวได้ และสามารถผลิตรายงานพิเศษได้ ให้หัวข้อ การท่องเที่ยววังน้ำเขียวโคราช

มทส. ร่วมกับ กระทรวงเกษตรฯ จัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ปี 63 ชูแนวคิด“นวัตกรรมเกษตรไทยยิ่งใหญ่ ด้วยศาสตร์พระราชา” พบความก้าวหน้าทางการเกษตร เพื่อสร้างวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน

มทส. ร่วมกับ กระทรวงเกษตรฯ จัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ปี 63 ชูแนวคิด“นวัตกรรมเกษตรไทยยิ่งใหญ่ ด้วยศาสตร์พระราชา”พบความก้าวหน้าทางการเกษตร เพื่อสร้างวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา จัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2563 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเกษตรไทย ยิ่งใหญ่ด้วยศาสตร์พระราชา (Sustainable Thai Agriculture Innovation under The King’s Philosophy)” วันที่ 10-19 มกราคม 2563 ณ เทคโนธานี มทส. ระดมภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงศักยภาพเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การถ่ายทอดศาสตร์แห่งพระราชา การประกวดพืชและสัตว์ การอบรมอาชีพ พร้อมเผยแพร่ความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรต้นแบบหวังต่อยอดการสร้างวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน

วันนี้ (26 ธันวาคม 2562) รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.หนึ่ง เตียอำรุง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มทส. นางศศิธร กาหลง ผู้อำนวยการกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายกังสดาล สวัสดิ์ชัย เกษตรจังหวัดนครราชสีมา ร่วมแถลงข่าวการจัด “งานวันเกษตรแห่งชาติ ประจําปี 2563” ณ อาคารเกษตรภิวัฒน์ มทส.
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี มทส. กล่าวว่า “งานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2563 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเกษตรไทย ยิ่งใหญ่ด้วยศาสตร์พระราชา (Sustainable Thai Agriculture Innovation under The King’s Philosophy)” ระหว่างวันที่ 10 – 19 มกราคม 2563 ณ เทคโนธานี ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานภาครัฐ พันธมิตรด้านการเกษตรภาคเอกชน ได้ร่วมจัดงานแสดงเทคโนโลยีทางการเกษตรครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งมีรากฐานความมั่นคงด้านเกษตรมาช้านาน การจัดงานครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรของพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์จักรี ให้เป็นที่ประจักษ์ รวมถึงการแสดงศักยภาพของเกษตรกรไทยที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ การแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการเกษตรของ มทส. ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นอกจากนี้ ยังเป็นปีที่ตรงกับวาระแห่งการเฉลิมฉลองการสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครบ 30 ปี ที่จะถึงนี้ จึงถือเป็นกิจกรรมใหญ่ที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวมหาวิทยาลัย และจังหวัดนครราชสีมาอีกวาระหนึ่ง
มทส. มีการจัดการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร มีผลงานวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการแก่ชุมชน เกษตรกร และผู้ประกอบการด้านการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียงเสมอมา โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมานั้นถือว่า มีพื้นที่ทางการเกษตรขนาดใหญ่ ทั้งการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น มันสำปะหลัง ข้าว และอ้อย รวมถึงการเลี้ยงปศุสัตว์ ตั้งแต่ระดับเกษตรกรรายย่อยจนถึงระดับสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ดังนั้น ในการจัดงานครั้งนี้จึงเป็นการเผยแพร่ความรู้และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้แก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป โดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรวิจัย สถาบันการศึกษา องค์กรด้านการเกษตรของภาครัฐและภาคเอกชน ในรูปแบบบูรณาการทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง คุณภาพดิน เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการเกษตร ตลอดจนการประกวดพืช สัตว์ ผลิตผลทางการเกษตร และการจำหน่ายปัจจัยการผลิตและผลิตผลทางการเกษตร จากประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสจัดงานมหกรรมใหญ่ทั้งระดับชาติ และนานาชาติของมหาวิทยาลัย มทส. พร้อมต้อนรับผู้เข้าร่วมชมงานจากทั่วทุกภูมิภาค
นอกจากนี้การจัดงานดังกล่าวยังตรงกับช่วงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติด้วย ซึ่ง มทส. จัดขึ้นภายใต้แนวคิด เส้นทางแห่งการเรียนรู้…สู่อนาคตของชาติ : STEM Career in Life Science” ในวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2563 เวลา 08.30 น. ณ อาคารสุรพัฒน์ 2 ซึ่งผู้มาเที่ยวชมงานก็จะได้รับทั้งความรู้ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ชมชิมช้อปสินค้าทางการเกษตร บุตรหลานได้ร่วมกิจกรรมสนุกสนานแฝงสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียกได้ว่ามาที่เดียวเที่ยวได้ทั้งครอบครัว”
ศาสตราจารย์ ดร.หนึ่ง เตียอำรุง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มทส. เปิดเผยว่า “งานวันเกษตรแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 10 – 19 มกราคม 2563 มหาวิทยาลัยได้จัดสรรใช้พื้นที่บริเวณเทคโนธานี กว่า 600 ไร่ เพื่อการจัดแสดงนิทรรศการภายในและภายนอกอาคาร อาทิ นิทรรศการเทิดพระเกียรติ นิทรรศการ Highlight ผลงานวิจัยและนวัตกรรรมเด่นของมหาวิทยาลัย ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เช่น ระบบน้ำอัจฉริยะ ไก่โคราช เครื่องกำจัดแมลงศัตรูพืชสำหรับเกษตรแม่นยำผ่านระบบไร้สาย ผลิตภัณฑ์ข้าวขึ้นรูปเสริมโภคชนาการ เทคโนโลยีในการแยกเพศอสุจิโคนม เครื่องกำจัดแมลงศัตรูพืชสำหรับเกษตรแม่นยำผ่านระบบสื่อสารไร้สาย เป็นต้น รวมถึงการผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีผลิตพืช สัตว์ และเทคโนโลยีอาหารของมหาวิทยาลัย
การประกวดและแข่งขัน อาทิ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอาชีวศึกษา การจัดประกวดแข่งขัน ทั้งด้านพืชและสัตว์ เช่น ประกวดต้นชวนชม กล้วยไม้ ประกวดโค ไก่แจ้สวยงาม เป็นต้น การอบรมทางด้านการเกษตร ที่สร้างอาชีพ เสริมรายได้ และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่น่าสนใจหลายหัวข้อ อาทิ การผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อประโยชน์เชิงการแพทย์และเชิงธุรกิจ การแสดงบันเทิงบนเวทีกลาง ลานพลาซ่า มีศิลปิน นักร้อง วงดนตรี การแสดงพื้นถิ่นที่มีชื่อเสียงร่วมให้ความบันเทิงตลอดงาน อาทิ เบิ้ล ปทุมราช เอิร์น เดอะสตาร์ หรือ เอิร์น สุรัตน์ติกานต์ และวงดนตรีพื้นบ้านระเบียบวาทะศิลป์ และอื่นๆ อีกมากมาย
พร้อมนี้ มหาวิทยาลัยได้เปิดฟาร์ม ให้เข้าชมโดยรถราง พร้อมสนุกฝึกปฏิบัติตามฐานต่างๆ ที่ให้ความรู้ พร้อมความสนุกสนาน และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพจากฟาร์มมหาวิทยาลัย ชม ชิม ช้อป ผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตร สินค่าอุปโภคบาริโภคหลากหลาย
นางศศิธร กาหลง ผู้อำนวยการกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า “ในปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชูนิทรรศการศาสตร์แห่งพระราชาซึ่งถือเป็นไฮไลท์ โดยแบ่งเป็นนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 นําเสนอนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “พระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย” และ “พระบิดาแห่งฝนหลวง” นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ได้ทรงบําเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลักของปวงชนชาวไทยตลอดมา อันเป็นการสานต่อพระราชดําริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

สำหรับนิทรรศการภาควิชาการ นําเสนอความสําเร็จของกลุ่มเกษตรกร เช่น กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ ที่ชนะเลิศการแข่งขันระดับประเทศ รายการแข่งขันเกมเกษตรกร รวมถึงการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในภาคเกษตร เช่น โดรนพ่นสารชีวภัณฑ์ โดรนสํารวจเพื่อทําแผนที่การบริหารจัดการน้ำ การทําอาชีพเสริมต่าง ๆ อาทิ การเพาะเลี้ยงปลานิลครบวงจร การเลี้ยงปลานิล ปลาตะเพียน และกบในนาข้าว การส่งเสริมการเลี้ยงโคนม นําไปสู่การแสดงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถ นํามาปรับใช้ในจังหวัดนครราชสีมา และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น กิจกรรมสาธิตและฝึกอบรม ให้ความรู้ควบคู่การปฏิบัติจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และซุ้มจําหน่ายสินค้าของเกษตรและผลิตภัณฑ์จากภาคต่างๆ อีกมากมาย”
นายกังสดาล สวัสดิ์ชัย เกษตรจังหวัดนครราชสีมา กล่าวทิ้งท้าย “ถือเป็นโอกาสอันดีที่จังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 12.8 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร 8.9ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.53 ของพื้นที่จังหวัด ประชากรประกอบอาชีพทางการเกษตร 3 แสนกว่าครัวเรือน ผลิตภัณฑ์มวลรวมทางด้านการเกษตร กว่า 270 ล้านบาทต่อปี การจัดงานเกษตรแห่งชาติ ในปี 2563 ที่จะถึงนี้ ไม่เพียงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการเกษตรของพี่น้องเกษตรกรและประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น ยังเป็นโอกาสให้พี่น้องเกษตรกรในจังหวัดใกล้เคียง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ร่วมงาน ได้มีโอกาสแสดงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหลักๆ วิสาหกิจชุมชน เข้ารับการอบรม เพื่อนำไปเสริมทักษะพัฒนาสายอาชีพให้ยั่งยืน ชมความก้าวหน้าทางการเกษตรที่รุดหน้า คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดในช่วงต้นปีได้อย่างดี ทั้งยังเป็นการเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการอย่างกว้างขวาง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ นวัตกรรม และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรครบวงจร