ผู้ว่าโคราช ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รองรับนโยบายชาติ เปิดงานมหกรรมทางวิชาการยานยนต์ไฟฟ้า RMUTI EXPO 2024

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นายจักริน บวรชัย ผู้อำนวยการโครงการหนึ่งใจให้ประชาชน และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  ร่วมกันเปิดงานมหกรรมทางวิชาการยานยนต์ไฟฟ้า RMUTI EXPO 2024  ภายใต้แนวคิด RMUTI For Future  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567  เพื่อนำเสนอศักยภาพและผลงานความสำเร็จ ตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ที่ดำเนินภารกิจ ตอบรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เป็นเวทีนำเสนอความก้าวหน้าผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และบริการ วิชาการ ที่มีศักยภาพพร้อมใช้ประโยชน์ เพื่อเชื่อมประสานบูรณาการองค์ความรู้ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิง วิชาการ นโยบาย สังคม ชุมชน และอุตสาหกรรม ตลอดจนหนุนเสริมให้เกิดกลไกสนับสนุน เชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้ใช้ ประโยชน์ บูรณาการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จากทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้ภายในงานได้มีการรวบรวมผลงานการเชื่อมโยงดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อ พัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เป็นเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI), Internet of Things (IoT) ในระบบการผลิต ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm), Blockchain, EV VR Training เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต ของประเทศไทย (New S-Curve), การแข่งขันทักษะวิชาชีพนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาภายในระบบนิเวศการศึกษาลุ่มน้ำโขง,การแข่งขันทักษะวิชาการด้านระบบรางและการขนส่ง และ การแข่งขัน Hackathon  เป็นต้น

เปิดยิ่งใหญ่ AgroFEX 2023 มหกรรมแสดงสินค้าและเทคโนโลยีชูนวัตกรรม BCG เสริมแกร่งอุตสาหกรรมเมืองโคราช

เปิดยิ่งใหญ่ AgroFEX 2023 มหกรรมแสดงสินค้าและเทคโนโลยี
ชูนวัตกรรม BCG เสริมแกร่งอุตสาหกรรมเมืองโคราช
ตั้งเป้า Business matching จับคู่ธุรกิจสุดปัง มากกว่า 900 ล้านบาท
ดึงนักธุรกิจต่างชาติ โชว์สินค้าระดับนานาชาติหลากหลายประเทศ
พบกัน 27-29 ต.ค. 66 ชั้น 4 Korat Hall เซ็นทรัล โคราช

วันที่ 28 ต.ค. 2566 ณ ชั้น 4 Korat Halll กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุน(BOI) สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) MEETING, INCENTIVE, CONVENTIONS AND EXHIBITIONS (Mice) และศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช จัดงาน AgroFEX 2023 มหกรรมแสดงสินค้าและเทคโนโลยี และนวัตกรรม BCG เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ของอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรมอาหาร นำโดย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคุณสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณธิดารัตน์ รอดอนันต์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา คุณนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) ฯพณฯ หยาง ถิงถิง กงสุลฝ่ายพาณิชย์ ประจำสถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดขอนแก่น ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) อาจารย์ ดร.มัลลิกา สังข์สนิท ผู้อำนวยการ เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผศ.ดร.ปภากร พิทยชวาล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และคุณนิสา ชาภู่พวง ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช ร่วมเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่ บรรยากาศภายในงานมีแขกผู้มีเกียรติทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

 

สำหรับ งาน AgroFEX 2023 มหกรรมแสดงสินค้าและเทคโนโลยี และนวัตกรรม BCG เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ของอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรมอาหาร เป็นที่รวมนวัตกรรมเทคโนโลยีอนาคตไว้มากกมาย พบกับ การแสดงสินค้า อุตสาหกรรมโรงงาน นวัตกรรมการเกษตร เทคโนโลยีการเกษตร Bio Circular Green Economy ผลิตภัณฑ์สินค้าออนไลน์คุณภาพจาก มทส. ผลิตภัณฑ์ สินค้าถูกและดี จากพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา กว่า 100 รายการ กิจกรรม Business matching จับคู่ธุรกิจ สุดปัง ทั้งต่างประเทศและในประเทศตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 900 ล้านบาท ฟรีกิจกรรมสัมมนา หลากหลายหัวข้อที่น่าสนใจ ที่จะมาเปิดมุมมองในการดำเนินธุรกิจ ปรับตัวอย่างไร ให้รอด การแข่งขันประกวดโครงงาน นักเรียนนักศึกษา Ideas Hack Workshop การประกวด FTI Zero Waste The Idol 2023 ฯลฯ

นอกจากนั้นการจัดงานครั้งนี้ ยังมีสถานประกอบการจากหลายประเทศ ร่วมออกบูธธุรกิจในงาน AgroFEX 2023 มากมาย อาทิ ประเทศสิงคโปร์, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศสหรัฐอเมริกา, ไต้หวัน, ประเทศเวียดนาม ฯลฯ ถือว่าเป็นงานที่รวมกลุ่มผู้ประกอบการนักธุรกิจระดับนานาชาติ มาไว้ที่โคราช และยังสามารถต่อถึงการลงทุกจากต่างชาติ ที่ได้เข้ามาสัมผัสการลงทุนธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะโคราช มหานครสู่ภาคอีสานในอนาคตต่อไป

มาสัมผัสนวัตกรรมและเทคโนโลยีโลกอนาคตกันวันที่ 27-29 ตุลาคม 2566 ณ Korat Hall ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช

ม.ราชภัฏโคราช พลิกโฉมการจัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ เปิดประสบการณ์ สู่มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต Get Ready Freshy NRRU 2023

วันนี้ (3 กรกฎาคม 2566) กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดการปฐมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 “Get Ready Freshy NRRU 2023” ณ หอประชุมใหม่

ณ หอประชุมใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ รักษาราชการแทนอธิการบดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษารุ่นพี่ ร่วมให้การต้อนรับนักศึกษาใหม่ เข้าสู่มหาวิทยาลัยอย่างอบอุ่น พร้อมกิจกรรมนันทนาการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง สร้างบรรยากาศในการเปิดใจเข้าสู่มหาวิทยาลัย

อีกทั้งยังมีการบรรยายการ แนวทางการดำเนินกิจกรรม, สวัสดิการของนักศึกษา, การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย กิจกรรมบริจาคเลือดกับสภากาชาดไทยในรั้วมหาวิทยาลัย, จุดประกายไฟฝัน สร้าง Passion กับ Barista ระดับโลก

ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มีนักศึกษาใหม่สามารถผ่านการคัดเลือกเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ จำนวน 7 คณะ ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นจำนวน 3,509 คน ซึ่งจะเปิดภาคเรียนที่ 1/2566 ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566

มหาวิทยาลัยจึงมีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาผ่านกิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

มหาวิทยาลัยจึงมีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาผ่านกิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ เป็นการให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาใหม่ ทั้งด้านการวางแผนการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรม สวัสดิการที่นักศึกษาจะได้รับ แนะนำแนวทางให้นักศึกษาเรียนอย่างไรจึงจะสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ

สำหรับการศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง นักศึกษาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษารูปแบบใหม่ มหาวิทยาลัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักศึกษาจะเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ ที่ทำให้ตนเองเจริญเติบโตเป็นเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมจะโตเป็นต้นไม้ที่สูงใหญ่ดังปรัชญาที่ว่า แหล่งวิชาการ สร้างสรรค์คนดี มีคุณธรรม นำสังคม

แถลงข่าวเปิดโครงการ “รถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย (Smart School Bus Platform)”

งานแถลงข่าวเปิดโครงการ “รถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย
(Smart School Bus Platform)”

ในวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566
นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์
รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ในงานแถลงข่าวเปิดโครงการ “รถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย
(Smart school bus platform)”
ในวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00-15.30น. ณ
ห้อง Korat 2

โรงแรมเซ็นทาราโคราช
เรียน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายชรินทร์ ทองสุข
คณะผู้บริหาร ท่านผู้อำนวยการโรงเรียน
แขกผู้มีเกียรติ และ สื่อมวลชน ทุกท่าน
การส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ
นวัตกรรมเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม นับเป็นหนึ่ง
ภารกิจสำคัญของกระทรวงดิจิทัลฯ และ ดีป้า

โดย กระทรวง
ดิจิทัลฯ ได้มอบหมายให้ ดีป้า ดำเนินการส่งเสริมให้ประยุกต์ใช้
เทคโน โลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับการเดินทาง เสริมสร้างคุณภาพ
ชีวิตและความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ซึ่งนับว่าเป็นส่วนหนึ่งใน
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ในด้าน Smart Mobility
สำหรับ โครงการรถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย (Smart
School Bus) นับเป็น 1 ใน 8 โครงกรสำคัญของ ดีป้า ที่ดำเนิน
การภายใต้แนวคิด Digital Infinity – ดิจิทัลไม่มีที่สิ้นสุด

ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี)
กระทรวงดิจิทัลdepaเพื่อเศรษจูกิจและสังคม
คน

ขณะเดียวกันโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ภาคเอกชน จำนวนไม่น้อยกว่า 50 โรงเรียน จะได้รับการติดตั้ง
ระบบ Smart School Bus กว่า 500 คัน ซึ่งคาดว่าจะมีนักเรียน
ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 5,000 คน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

อาทิครูผู้ดูแลโครงการ บุคลากรฝ่ายเทคโนโลยีสารสารสนเทศ
ควบคุมระบบ ผู้ให้บริการรถรับส่งนักเรียน ผู้ปกครอง ฯลฯ ได้รับ
ประโยชน์มากกว่า 14,000 คน

ที่สำคัญ

โครงการฯ นี้จะทำให้เกิด Smart School Bus Big
DATA ที่เกิดจากระบบ sensor ต่างๆ ซึ่งติดตั้งอยู่ทั้งกับตัว
นักเรียน และ ที่รถโรงเรียน ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้
ประมวลผลที่ Smart School Bus Intelligent Operation Center ในแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูลอย่างเป็นระบบ และยังสามารถนำข้อมูลได้ ไปปรับใช้กับบริบทของโรงเรียน ผู้ปกครอง
และความมั่นคงปลอดภัยในพื้นที่เมืองอัจฉริยะได้ดีมากยิ่งขึ้น

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการรถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย
(Smart School Bus) ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์
ใช้กับรถโรงเรียนจะช่วยลดความสูญเสียจากเหตุการณ์เด็กถูกลืม
และทิ้งให้อยู่ในรถโรงเรียนตามลำพัง คลายความกังวล

สายการบินนกแอร์ได้รับจัดสรรเส้นทางบิน ภายในประเทศเพิ่มเติม 12 เส้นทาง

นกแอร์หารือโคราชบินข้ามภูมิภาค

เตรียมเปิดโคราช-เชียงใหม่ ปลายเม.ย.นี้ 

หลังจาก “กรมการบินพลเรือน” ไฟเขียวอนุญาตให้ สายการบินนกแอร์ เปิดเส้นทางบินที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา 3 เส้นทางไป-กลับ

ได้แก่ “โคราช-เชียงใหม่” สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน “โคราช-ภูเก็ต” สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน และ “โคราช-หาดใหญ่” สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน พร้อมเส้นทางอื่นๆ

ล่าสุด! วันที่ 26 ก.พ.65 เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมวีวันโคราช นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และผู้บริหารสายการบิน “นกแอร์”

พล.อ.อ.ดร.นพพร จันทวานิช ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กัปตันสุธี จุลชาต ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติ นายชัชวาล วงศ์จร ประธานหอการค้ากลุ่ม จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง 1,  นายศักดิ์ชาย  ผลพานิชย์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, ขนส่งจังหวัดนครราชสีมา, ผอ.ท่าอากาศยานนครราชสีมา และภาคเอกชนจังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมประชุมหารือถึงแนวทางในการเปิดสายการบินที่จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ท่าอากาศยานนครราชสีมา (สนามบินหนองเต็ง) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

พล.อ.อ.ดร.นพพร จันทวานิช ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นกแอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้สายการบินนกแอร์ ได้รับจัดสรรเส้นทางบินภายในประเทศเพิ่มเติม 12 เส้นทาง โดยในจำนวนนี้อนุญาตให้เปิดเส้นทางบินที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา จำนวน 3 เส้นทางไป-กลับ ได้แก่ นครราชสีมา-เชียงใหม่ ไป-กลับ สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน, นครราชสีมา-ภูเก็ต ไป-กลับ สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน และ นครราชสีมา-หาดใหญ่ ไป-กลับ สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน โดยได้มีการวางแผนว่าจะใช้เครื่องบิน 2 รุ่น ได้แก่ เครื่องบินขนาดใหญ่ เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 ขนาดความจุที่ 189 ที่นั่ง และเครื่องบินขนาดกลาง เครื่องบิน Q400 ขนาดความจุ 86 ที่นั่ง โดยเส้นทางแรกที่จะเริ่มเปิดการบิน คือ เส้นทางนครราชสีมา-เชียงใหม่ ซึ่งคาดว่าในช่วงปลายเดือนเมษายน 2565 จะพร้อมเปิดให้บริการได้

นายวุฒิภูมิ  จุฬางกูร ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท นกแอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับเครื่องบินที่นกแอร์จะใช้บริการประชาชนชาวโคราชเส้นทางโคราช-เชียงใหม่ ในครั้งนี้จะใช้เครื่องบินขนาดกลาง เป็นเครื่องบิน Q400 ขนาดความจุ 86 ที่นั่ง โดยคาดว่าช่วงแรกจะให้บริการสัปดาห์ละ 3-4 เที่ยวบิน หากความต้องการเพิ่มสูงจึงจะปรับเป็นการให้บริการทุกวัน และจะขยายไปยังเส้นทางโคราช-ภูเก็ต, โคราช-หาดใหญ่ รวมทั้งโคราช- กรุงเทพฯ ด้วย  สำหรับราคาค่าโดยสารตอนนี้จะต้องรอดูสถานการณ์เพราะค่าน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่ราคาไม่ต่ำไปกว่า 900 บาทต่อที่นั่ง

สำหรับการหารือในครั้งนี้ นกแอร์อยากขอรับการผ่อนปรนจากภาคราชการ  5 ข้อ ดังนี้ 

1. ขอยกเว้นการเก็บค่าภาษีสนามบินโคราช

2. ขอยกเว้นการเก็บค่าขึ้นลง หรือค่าแลนดดิ้ง

3.ขอยกเว้นค่าจอดเครื่องบิน (Free parking)

4.ขอยกเว้นค่าแจ้งเตือนสัญญาณ 

5.ขอยกเว้นค่าเช่า สนง. และการโอเปอร์เรตให้บางส่วน

เพื่อไม่ให้ผู้โดยสาร แบบรับค่าใช้จ่ายมากเกินไป และขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานเอกชนต่างๆ ภาคธุรกิจ ช่วยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ หรือบัตรโดยสารในภาคธุรกิจ และคู่ค้าต่างๆ  หน่วยงานภาคการท่องเที่ยว ททท. สนับสนุนกิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้มาเที่ยวโคราช และขอความร่วมมือจากทั้ง 3 ห้าง รวมทั้งไฮเปอร์มาร์เก็ต ช่วยประชาสัมพันธ์ หาพาร์นเนอรฺ์ระยะยาว  ทำกิจกรรมร่วมกับห้างต่างๆ และเรื่องการรับส่งผู้โดยสารไปสนามบิน เป็นต้น

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า จังหวัด หน่วยงานภาครัฐและเอกชนพร้อมให้ การสนับสนุนสายการบินนกแอร์มาเปิดที่โคราช  เป็นการพัฒนาจังหวัด เราจะนำเสนอเรื่องที่นกแอร์ขอรับการผ่อนปรนทั้ง 5 ข้อต่อกรมท่าอากาศยาน ซึ่งทั้ง 5 ข้อนี้จะมีผลบังคับใช้ได้ถึงวันที่ 31 พ.ค.65 นี้เท่านั้น แต่เราจะขอให้ทางกรมฯ ขยายเวลาออกไป เพื่อช่วยสร้างความเจริญให้จังหวัด โดยจะเร่งดำเนินการโดยด่วน เพื่อให้ทันกลางเดือนมีนาคม 65 หากการขอผ่อนปรนเรียบร้อย นกแอร์จะได้เร่งจัดตารางการบิน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมด้านอื่นให้สามารถโอเปอร์เรตทันปลายเดือนเมษายน 65

นายศักดิ์ชาย  ผลพานิชย์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า   ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีสายการบินมาเปิดบินในโคราช ซึ่งหากยังไม่มีสถานที่จำหน่ายตั๋ว ทางหอการค้าฯ ยินดีให้ใช้สำนักงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้ง 3 จังหวัดใกล้เคียงอย่างบุรีรัมย์ ชัยภูมิ และสุรินทร์ก็มีความยินดีด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถจัดทัวร์เชื่อมโยงไปยังจังหวัดต่างๆ ได้ อีกทั้งโคราชเป็นเมืองไมซ์ซิตี้ ที่มีศักยภาพสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยว การจัดประชุมสัมมนาข้ามภูมิภาคได้ด้วย

สำหรับท่าอากาศยานนครราชสีมา หรือสนามบินหนองเต็ง สร้างขึ้นเมื่อปี 2540 สมัย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากก่อสรา้งแล้วเสร็จได้มีสายการบินหลายสายมาเปิดเส้นทางการบินในสนามบินแห่งนี้ อาทิ แอร์อันดามัน ไทยแอร์เอเชีย แฮปปี้แอร์ ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ กานต์แอร์ และล่าสุดเมื่อปี 2560 นิวเจนแอร์เวย์ แต่ทุกสายการบินเปิดให้บริการได้เพียงไม่กี่เดือนก็ต้องยุติการบินทั้งหมด เนื่องจากประสบกับปัญหาขาดทุน เพราะมีลูกค้ามาใช้บริการน้อย จนกระทั่งล่าสุดสายการบินนกแอร์เตรียมที่จะมาเปิดสายการบินในครั้งนี้

Cr. เพจหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาฟ

วันแห่งความรัก หญิงชาว ต.โตนด อ.โนนสูง โคราช ซ้อมรำ ถวายคุณย่าโม

วันแห่งความรัก หญิงชาว ต.โตนด อ.โนนสูง โคราช ซ้อมรำ ถวายคุณย่าโม

วันนี้ 14 ก.พ. 65 นายติพงษ์ ถวิลสุวรรณวัง นายก อบต.โตนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ได้ทำการเปิดห้องประชุม ให้เหล่าบรรดา สตรีภภายในตำบล มาซ้อมรำบวงสรวง ถวายแต่คุณย่าโมในงานฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ที่จะเกิดขึ้น พร้อมดูแลด้านความปลอดภัย ในสถานการณ์โควิด โดยให้ผู้รำ เว้นระยะห่าง พร้อมสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

ทั้งนี้ นายติพงษ์ ถวิลสุวรรณวัง นายก อบต.โตนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ยังได้กล่าวอีกว่า เนื่องในวันแห่งความรักนี้ ทาง อบต.ไม่ได้มีการจัดกิจกรรมใดๆ เนื่องด้วยสถานการณโควิด 19 แต่ทางแกนนำกลุ่มสตรีเห็นว่า วันนี้เป็นวันแห่งความรัก ดังนั้น จึงได้นัดรวมกลุ่มสตรีที่ประสงค์รำถวายคุณย่า ในวันฉลองชัยชนะท้าวสุรนารี โดยผ่านชุดวีดีโอการซ้อมท่ารำ ที่ทางจังหวัดได้มีการจัดสร้างและส่งให้ทุกตำบล เพื่อลดการแออัด

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจยุด New Normal




วันอังคารที่ 25 มกราคม 2565พิธีเปิดงาน “สัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจยุด New Normal”ณโรงแรมไอซาน่า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาโดยนางรวีพรรณ ช้างเย็นฉ่ำ รองอธิบตีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานและกรรมการเครีอข่ายธุรกิจ Biz ClubThailand และประธานหรือผู้แทนเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club จังหวัดทุกท่าน และสื่อมวลชนแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน

ด้านนายกุณฑล ปูรณวัฒนกุล ประธานกรรมการเครือข่ายธุรกิจBiz Club ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านให้เกียรติเป็น ประธานในพิธีเปิด สัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจยุค New Normal ในวันนี้ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการรวมตัวของประธานเครือข่าย Moc Bizclubจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ และสำหรับการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสัญจรนครราชสีมา ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีสัญจรครั้งแรก นับจากมีการก่อตั้งBizclub ประเทศไทย เนื่องจากศักยภาพความพร้อมของพื้นที่และคณะกรรมการจัดงาน ทางBizclub ประเทศจึงได้ลงความเห็นให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นเจ้าภาพจัดงาน ซึ่ง

การจัดงานครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ

1.ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564

2.เพื่อจัดกิจกรรมเพิ่มศักยภาพผู้นำของประธานจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ

3.สร้างความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประธานทั้ง 77 จังหวัดประเทศเชื่อมโยงต่อยอดและขยายตลาดเพื่อประโยชน์ของสมาชิก Bizclub ประเทศซึ่งมีสมาชิกรวมกันกว่า 12,000 คนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานระหว่างหน่วยงาน องค์กรในพื้นที่ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศเพื่อประโยชน์ของสมาชิกBizClub ประเทศไทย

ด้านรองอธิบดี (นางรวีพรรณ ข้างเย็นฉ่ำ)กล่าวต้อนรับ ดิฉันมีความยินดี และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจยุค New Normal ในวันนี้การกิจกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกลุ่มเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Clubกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจและบทบาทโดยตรงต่อผู้ประกอบการทั้งหลาย ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การจดทะเบียน การกำกับดูแลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล ตลอดจนการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจให้มีความเข้มแข็งแข่งขันได้ในเวที่การค้าทุกระดับกรมฯ มุ่งให้ความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ และการรวมกลุ่มธุรกิจ

เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง จึงได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ประจำจังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ และสามารถดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายฯ ครบ๗๗ จังหวัด เมื่อปี ๒๕๕๙ เพื่อเป็นศูนย์รวมของกลุ่มเครือข่ายธุรกิจทุกระดับ ที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงการค้าระหว่างกัน และสร้างพันธมิตรเพื่อต่อยอดโอกาสธุรกิจทั้งระดับจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ รวมทั้งเป็นเวทีเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานของภาครัฐ อันเป็นกลไกสำคัญให้ภาคธุรกิจของไทยมีความเข้มแข็งโดยปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายฯ ทั่วประเทศ ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ราย

สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด

มทส. เปิดตัว “สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด”

ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า ติดตั้งง่าย เหมาะกับท้องถิ่นห่างไกล

มทส. เปิดตัว สถานีชาร์จรถไฟฟ้าต้นแบบ  โซล่าร์ออฟกริด (Solar-off-grid) แปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ควบคู่ระบบกักเก็บพลังงานขั้นสูง ทำให้ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด สถานีมีขนาดเล็ก ติดตั้งง่าย เหมาะกับพื้นที่จำกัด และท้องถิ่นห่างไกลจากระบบสายส่งไฟฟ้าภาครัฐเข้าถึง ในระยะแรกพร้อมให้บริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ตอบรับนโยบายมหาวิทยาลัยเขียว-สะอาด (Green and Clean University) ก่อนขยายผลสู่ชุมชนและสังคม เพื่อร่วมรณรงค์การใช้พลังงานสะอาดพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

วันที่ 13 มกราคม 2565 ณ อาคารวิชาการ 2 มทส. รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นประธานในพิธีเปิด “สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด (Solar-off-grid charging station for mini EVs)” สถานีต้นแบบ เพื่อให้บริการชาร์จไฟฟ้าแก่ยานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ใช้สัญจรภายในมหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สันติ แม้นศิริ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวัสดุนาโนและการวิเคราะห์ขั้นสูง (RNN-SUT) รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา หัวหน้าคณะนักวิจัย และ รองศาสตราจารย์ ดร.พนมศักดิ์ มีมนต์ นักวิจัย ร่วมให้การต้อนรับ โอกาสนี้ ได้ส่งมอบจักรยานไฟฟ้า จำนวน 20 คัน ผลงานบูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับ ส่วนอาคารสถานที่ มทส. ซึ่งได้รับการสนับสนุนมอเตอร์ไฟฟ้าจากบริษัท Stallions เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยตอบรับนโยบาย มทส. มหาวิทยาลัยเขียว-สะอาดอย่างยั่งยืน

 รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา อาจารย์ประจำสำนักวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และหัวหน้าคณะนักวิจัย เปิดเผยว่า “สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด  หรือ Solar-off-grid charging station for mini EVs เป็นสถานีต้นแบบ ได้ทำการออกแบบและติดตั้งไว้ ณ บริเวณลานจอดรถหน้าอาคารวิชาการ 2 สามารถให้บริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ อาทิ รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก รถกอล์ฟไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้า เป็นต้น จุดเด่นของสถานีชาร์จแห่งนี้ คือ เป็นสถานีชาร์จแบบโซล่าร์ออฟกริด (Solar-off-grid) ทำให้ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด และการออกแบบรูปลักษณ์สถานีขนาดเล็กเหมาะกับพื้นที่จำกัด จึงสามารถทำการติดตั้งได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในสถานที่ทุรกันดาร หรือมีระยะทางห่างไกลที่ระบบไฟฟ้าภาครัฐเข้าไปยังไม่ทั่วถึง หลักการทำงานคือ การใช้พลังไฟฟ้ามาจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ควบคู่กับระบบกักเก็บพลังงานขั้นสูงโดยทำการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน   กำลังการผลิตไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์อยู่ที่ 4 กิโลวัตต์ (kW) ผลิตพลังงานได้ประมาณ 16 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ต่อวัน หรือสามารถนำไปชาร์จรถกอล์ฟหรือรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รวมกันได้ 8-10 คันต่อวัน สำหรับระบบกักเก็บพลังงานมีขนาดความจุ 5 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ที่สามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าประมาณ 25% ไปใช้ในเวลากลางคืน หรือช่วงที่มีแสงแดดน้อย ยังสร้างความเสถียรในการชาร์จไฟฟ้าได้อีกด้วย  สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด ต้นแบบของ มทส. นี้ ได้ออกแบบตัวสถานีชาร์จขนาด 2 x 3 ตร.ม. ใช้พื้นที่โดยรวมประมาณ 24 ตารางเมตร หลังคาติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวน 12 แผง สามารถรองรับรถกอล์ฟเข้าจอดได้ 2 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้ารวมกันได้ 5 คัน   

โดยในระยะแรกสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าจะเปิดให้บริการแก่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ในพื้นที่ มทส. ควบคู่กับการติดตามและประเมินผลการใช้งาน ผลงานวิจัยนี้ ศูนย์เครือข่ายวัสดุนาโนและการวิเคราะห์ขั้นสูง (RNN-SUT) มทส. ได้รับทุนวิจัยจาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (Nanotec) และ มทส. ในการวิจัยระบบกักเก็บพลังงาน ร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพ EQ Tech Energy คาดว่าในอนาคตพร้อมที่จะขยายผลบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานที่สนใจร่วมใช้พลังงานสะอาดเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนต่อไป”

สสส. สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ต้นแบบ เยาวชน 4 ภูมิภาค เป็นผู้นำเครือข่ายสื่อออนไลน์ท้องถิ่น หวังดึงพลังเยาวชนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

สสส. สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ต้นแบบ เยาวชน 4 ภูมิภาค เป็นผู้นำเครือข่ายสื่อออนไลน์ท้องถิ่น หวังดึงพลังเยาวชนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

เยาวชน 4 ภูมิภาค ร่วมผลิตสื่อสร้างสรรค์ หวังดึงพลังเด็กและเยาวชนสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู้สังคม และพัฒนาเป็นผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่นและชุมชน ด้วยต้นแบบหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ

วันที่ 20-21 ธันวาคม 2564 ที่ โรงแรม ทีเคพาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กทม. โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่น และชุมชนด้วยต้นแบบ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ ขึ้นเพื่อพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ทั้งยังหวังดึงพลังเด็กและเยาวชนสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู้สังคมต่อไป

นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กล่าวว่า การพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเกิดขึ้นปีที่ 6 ภายใต้โครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่นและชุมชนด้วยต้นแบบหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ” โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีเครือข่ายเข้าร่วมเพื่อเป็นต้นแบบในการทำงาน ครอบคลุมใน 4 ภูมิภาค อาทิ ภาคอีสาน โดย พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ จากไทยเสรีนิวส์, ภาคเหนือ โดยคุณชัยวัฒน์ จันทิมา จากพะเยาทีวี, ภาคใต้ โดยคุณภูวสิษฏ์ สุกใส จากสงขลาโฟกัส และภาคกลาง โดยคุณสืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากกลุ่มพลังแห่งต้นกล้า ที่ได้นำทัพเด็กและเยาวชนในภูมิภาคนั้นๆ มาร่วมโครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่น และชุมชนด้วยต้นแบบ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ จำนวนกว่า 80 คน

ได้มาเรียนรู้การทำงานก่อนลงไปสร้างสรรค์สื่อจริง ด้วยหลักสูตรใหม่ที่ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ได้จริงกับการทำงาน อย่าง 1. ดิจิทัลพลิกโลก (Digital Disruption) 2. การสื่อสารสุขภาวะ (Community for Health) 3. รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy : MIDL) 4. กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสาร  5. การสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำแผนชุมชน 6.ความคิดสร้างสรรค์และการเล่าเรื่อง 7.การออกแบบและผลิตสื่อ 8.การสื่อสารและการจัดการภาวะวิกฤต 9.การสื่อสารเพื่อการฟื้นฟูและเยี่ยวยา 10.การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ 11.การต่อยอดเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ 12.การประเมินผลและการถอดบทเรียนออนไลน์ และ 13.การออกแบบและผลิตสื่อ 2

“ในการสร้างสรรค์สื่อในครั้งนี้เพื่อเป็นการสื่อสารไปยังสังคมได้แพร่หลายมากขึ้นจึงมีการเน้นให้มีการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อาทิ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube, Tiktok หรืออื่นๆ ตามที่นำเสนอภายใต้ประเด็นที่กำหนดอย่าง 1.รองรับสังคมผู้สูงวัย 2.ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ 3.ทักษะรู้เท่าทันสื่อและความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5.อัตลักษณ์ – ความดี – คนดีของสังคม ซึ่งสามารถติดตามผลงานของเยาวชนทั้งหมดในครั้งนี้ได้ที่ www.artculture4health.com/mass ครับ”  นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว

ด้าน พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ บรรณาธิการบริหารไทยเสรีนิวส์ กล่าวว่า สำหรับภาคอีสานในปีนี้ได้ส่งเยาวชนเข้าร่วมเพื่อสร้างสรรค์สื่อในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น จำนวน 6 ทีม โดยมีเยาวชนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 3 ทีม อาทิ ทีมพี่เอง, ทีมลูกหล่า และทีมหนุ่มชุมชน ส่วนจากจังหวัดมหาสารคาม โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 3 ทีม อาทิ ทีมนาตาชาโรมานอฟ, ทีมเป็นกำลังจั๊ย และทีม My Navis We love You โดยทั้ง 6 ทีมนี้ จะมีการนำเสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่จะเปิดตัวขึ้นต้นปี 2565 และแน่นอนว่าผลงานทั้งหมดจะมีการเผยแพร่ที่ เวปไซค์และเพจไทยเสรีนิวส์ ด้วย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามทุกๆ ผลงานได้เร็วๆ นี้แน่นอน

“นอกจาก 6 ทีม ของภาคอีสานแล้ว ยังมีผลงานของเยาวชนในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ในภาคอื่นๆ เผยแพร่ออกมาด้วย แน่นอนว่าทุกๆ ผลงานจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคมเพื่อนำมาสู่การขับเคลื่อนให้เกิดแนวทางในการสร้างสรรค์กลุ่มนักสื่อสารมวลชนที่จะเป็นพลังในการสร้างรากฐานของการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนสังคม และประเทศชาติต่อไปได้อย่างแน่นอน จะเป็นอย่างไรติดตามได้ต้นปี 2565 นี้” พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ กล่าว

“พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเอง”


วันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๑๕ น.พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเองณ ห้อง Studio ชั้น ๕ (NRRU Library) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาโดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ ประธานดำเนินการโครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและท่านวิทยากร  คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ  และผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่าน

โครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหารการส่งเสริมต่อยอดสร้างสรรค์ ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดำเนินการโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม,พัฒนาการชุมชนจังหวัดนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นองค์กรภาคประชาสังคม ภายใต้การกำกับของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม รักษา สืบสาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด ด้วยศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ของชาติ ให้คงอยู่สืบไป

ในส่วนการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 ได้กำหนดให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในการส่งเสริม รักษา หรือ พัฒนา ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ครอบคลุม เนื้อหาสาระ ของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๗ ด้าน ได้แก่ (๑) วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา (๒) ศิลปะการแสดง (๓) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (๔) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (๕) งานช่างฝีมือดั้งเดิม (๖) การเล่นพื้นบ้าน กีฬา พื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (7) ลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงวัฒนธรรม

โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เห็นความสำคัญของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  ได้จัดทำโครงการ การผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหารโคราชบ้านเอง ขึ้นมา จึงถือว่าเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น จะได้เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารพื้นถิ่น และผ้าพื้นเมือง ของจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย  โดยจัดอบรมผู้ที่สนใจผลิตสื่อสารสนเทศ ก่อนไปจัดทำคลิปวิดีโอการประกวด และจัดให้มีการคัดเลือกผลงานที่มีความเหมาะสม  ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อไป  การอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทั้งความรู้ และวัฒนธรรมด้านผ้าและอาหารของจังหวัดนครราชสีมา

การจัดทำโครงการครั้งนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาร่วมกับ องค์กรภาครัฐและเอกชน อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พัฒนาการชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา จึงถือเป็นการบูรณาการ การทำงานร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชรูปแบบออนไลน์ ให้แก่เยาวชนและประชาชนของจังหวัดนครราชสีมา

2. เพื่อฝืกอบรมผลิตสื่อสารสนทศรูปแบบออนไลน์ โดยการมีส่วนร่วมของเยาวซนและประชาชนให้สามารถผลิตสื่อด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราช อย่างสร้างสรรค์

3. เพื่อพิจารณาคัดเลือกสื่อสารสนทศดีเด่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชที่เยาวชนและประชาชนได้ผลิต เผยแพร่ และมอบรางวัล

การดำเนินกิจกรรมโครงการนี้แบ่ง 2 ลักษณะ

1. การอบรมสร้างเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเองและความรู้การเขียนเนื้อหาประกอบบทวีดีทัศน์ ระยะเวลา 1 วัน

2. จัดทำวีดีทัศน์การประกวดขนาดความยาว 3 5 นาที/เรื่อง เพื่อชิงโล่รางวัลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ต้านผ้าและอาหารโคราชมีโล่และเงินรางวัลชนะเลิศจากท่านอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท

นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ขอขอบคุณท่านวิทยากร    หัวหน้าโครงการ  หน่วยงาน  องค์กร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหลาย และหวังว่าผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประโยชน์จากการอบรมครั้งนี้เป็นอย่างดี แนะนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากคณะวิทยากรผู้ทรงภูมิรู้ในแต่ละด้าน ไปผลิตสื่อดิจิตอล มาเผยแพร่ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโคราช ตามวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อสืบสานมรดกภูมิปัญญาของคนโคราช ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชนทั่วโลกสืบไป