โคราชจัดงานมหกรรมเทคโนโลยีอีสาน NORTHEAST TECH 19  เงินสะพัดกว่าพันล้านบาท

โคราชจัดงานมหกรรมเทคโนโลยีอีสาน NORTHEAST TECH 19  เงินสะพัดกว่าพันล้านบาท

ที่ผ่านมา  นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “NORTHEAST TECH 19” (Korat F.T.I.)โดยมี ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา นายหัสดิน  สุวัฒนะพงศ์เชฏ, รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากลยุทธ์องค์กร สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุม และนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB นางสริตา จินตกานนท์, รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ, นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล และนายประเสริฐ บุญชัยสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, รวมถึงผู้ประกอบการต่างๆ มาร่วมงานในครั้งนี้

ทั้งนี้ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ได้กล่าวว่า “จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดใหญ่ เป็นศูนย์กลางความเจริญด้านต่างๆของภาคอีสาน ซึ่งอีกไม่นานจะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมต่างๆ ครบถ้วนทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น มอเตอร์เวย์ รถไฟรางคู่  รถไฟความเร็วสูง และสายการบิน ซึ่งจะทำให้เมืองโคราชมีธุรกิจ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวที่เติบโต และพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้จังหวัดเกิดความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากความพร้อมในทุกๆ ด้านนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ที่ทางสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา จะจัดงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีขึ้นมา และทราบว่าจะมีการจัดเป็นประจำในทุกๆ ปี อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายในจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างได้เป็นอย่างดี

 

งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยี  Northeast Tech 19 ที่จัดโดย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ต.ค – 3 พ.ย 2562  ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา จัดอบรมพัฒนาทักษะการใช้ Application เพื่อดันนวัตกรรมสู่อนาคต

สพร 5 นครราชสีมา ขับเคลื่อน 3 A พัฒนาทักษะแรงงาน การใช้ Application เพื่อเขียนโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ ผลักดันนวัตกรรมสู่อนาคต

นายสุเมธ โศจิพลกุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา (สพร.5นครราชสีมา) เปิดเผยว่า สพร.5 นครราชสีมา ขานรับนโยบาย 3A กระทรวงแรงงาน ซึ่งมีภารกิจหลักด้านการพัฒนาทักษะให้กับแรงงานในพื้นที่ให้เป็นแรงงานคุณภาพ (Super Worker) เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะในปัจจุบันประชาชนใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสาร และทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านมือถือแทบทุกคน จึงมีการจัดฝึกอบรมให้กับแรงงานทั่วไปที่สนใจในสาขาการพัฒนา App บนแอนดรอยด์ด้วยโปรแกรม MIT App Inventor2 ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา โดยรุ่นที่ 1 ดำเนินการแล้วระหว่างวันที่ 14-18 มกราคม 2562 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 17 คน

นายสุเมธ กล่าวต่อไปว่า หลักสูตรดังกล่าวเป็นการสร้าง Application บน อุปกรณ์ Smart Phone (Android) ด้วยโปรแกรม Mit Inventor 2 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำ Application ไปสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการพัฒนาสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ ซึ่งโปรแกรม App Inventor ช่วยให้สามารถพัฒนางานต่อที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ เพียงแค่ได้มีการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตไว้เท่านั้น แบ่งการทำงานออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนออกแบบ ส่วนที่สองเป็นส่วนการเขียนโค้ด การเขียนโปรแกรมจะเสมือนการต่อชิ้นส่วนตัวต่อจิ๊กซอว์เข้าด้วยกัน ในแต่ละขั้นตอนการสร้างจะสามารถทำการทดสอบได้ทุกขณะ และเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วจะสามารถแพ็คเกจแอพพลิเคชันเพื่อนำไปใช้งานบนโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android เครื่องใดก็ได้

ในปี 2562 สพร.5 นครราชสีมา มีเป้าหมายพัฒนาทักษะให้กับแรงงานในพื้นที่กว่า 2,000 คน ทั้งแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบ รวมถึงการพัฒนาด้านไฮเทคโนโลยีด้วย ในส่วนนี้มีเป้าหมาย 600 คน นอกจากหลักสูตรดังกล่าวแล้ว ยังมีแผนเปิดฝึกอีกหลายสาขา เช่น การเขียนแบบพัฒนาระบบสมองกลฝักตัว (PIC) ในหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม การเขียนแบบเครื่องกลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้ PLC ในงานอุตสาหกรรม การเขียนแบบ 2D ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และ การตลาดออนไลน์ด้วยโมบายแอพพลิเคชั่น เป็นต้น ผู้สนใจสามารถสมัครได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ https://goo.gl/forms/8TsNwguuQaMgrkJF3 หรือสแกนคิวอาร์โค๊ดเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม http://line.me/ti/g/dPVKvzIGCp

อ่านต่อได้ที่ : https://www.ryt9.com/s/prg/2943315

ปฏิวัติ “นักข่าวอีสาน” ก้าวสู่โลกใหม่บนมือถือเป็น “นักข่าวมืออาชีพ”

ปฏิวัติ “นักข่าวอีสาน” ก้าวสู่โลกใหม่บนมือถือเป็น “นักข่าวมืออาชีพ”

 

“นักข่าวอีสาน” เร่งปรับตัวและเปลี่ยนแนวความคิด เข้าติวเข้ม 3 วันเต็ม เตรียมตัวเป็น “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ” ต่อยอดพัฒนาคุณภาพสู่ไทยแลนด์ 4.0

เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมเพชรเกษม แกรนด์ ถนนจิตรบำรุง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนภาคอีสาน ต่อยอดพัฒนาเข้มผู้สื่อข่าวทุกแขนงของภาคอีสาน เป็นรุ่นที่ 2 ภายใต้ชื่อ “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ พัฒนา คุณภาพชีวิตสู่ไทยแลนด์ 4.0” เรียนรู้วิธีการถ่ายภาพและตัดต่อ การทำ Content Marketing แบบ Storytelling ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนภาคอีสาน กล่าวว่า สมาคมฯ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ประจำปี 2561 เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้รวม 68 คน จากจังหวัดต่างในภาคอีสาน ทั้งนี้ยังมีภาคอื่นๆ เช่น สระบุรี และสมุทรปราการ เข้าร่วมอบรมด้วย โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการดำเนินการจัดการอบรม และจัดวิทยากรมาให้ความรู้ ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อยอดความรู้ให้แก่สื่อมวลชนภาคอีสาน ในการผลิตข่าว เพื่อนำเสนอผ่านออนไลน์ พร้อมกันนี้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ส่งผู้สังเกตการณ์จำนวน 2 คน เป็นตัวแทนจากองค์กรสื่อมวลชนภาคกลาง และภาคใต้ เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้อีกด้วย

“ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้มีวิทยากรมืออาชีพ อย่างเช่น นายกุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาศ หรืออาจารย์ต่อง ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ, อาจารย์จำรัส จันทนาวิวัฒน์, อาจารย์สืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (กลุ่มพลังแห่งต้นกล้า), คุณวิทยา จิรัฐติกาลสกุล (กลุ่มสื่อสุขสันต์) และคุณอุมาพร ตันติยาทร โปรดิวเซอร์ รายการสารคดีโทรทัศน์ บริษัท บุญมีฤทธิ์ จำกัด นอกจากนี้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้มอบให้นายชาย ปถะคามินทร์ เลขาธิการ มาบรรยายเรื่อง “ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป” และยังเปิดเวทีเสวนา เรื่อง “สังคมสูงวัย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และอาจารย์กรรณิการ์ บันเทิงจิตร”

ด้าน อาจารย์ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลป์วัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สสส. ได้มอบหมายให้แผนงานสื่อศิลป์วัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านพัฒนาสื่อ จึงได้ประสานกับสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนภาคอีสาน โดยการเชิญสื่อมวลชนเข้ามาร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายๆส่วน ร่วมกันจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสู่ภูมิภาค โดย สสส.ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว โดยเชิญสื่อมวลชนที่ทำงานในภาคต่างๆ เข้ามาร่วมกิจกรรม ในครั้งต่อไปก็จะเป็นการจัดร่วมกับเครือข่ายสื่อมวลชนภาคเหนือ ที่ จ.น่าน จากนั้นจะไปที่ภาคกลาง ที่ จ.ตราด และปิดท้ายที่ภาคใต้ ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แล้วจึงจะมีการถอดบทเรียน เพื่อทำหลักสูตร “สื่อศึกษา” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการอบรมในครั้งต่อๆ ไป

ในวันที่ 2 ของการอบรม ผู้อบรมทุกคนจะได้ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริง เพื่อผลิตผลงานคลิปวิดีทัศน์ผ่าน Smartphone ความยาว 5 นาที ในประเด็นหัวข้อที่ใช้ฝึกปฏิบัติการทั้ง 4 ประเด็นหลัก ที่ สสส. ได้กำหนดให้มา ได้แก่ ประเด็นรองรับผู้สูงวัย, ประเด็นกลุ่มอ่อนไหวและเปราะบาง, ประเด็นสิ่งแวดล้อมในชุมชน และประเด็นปัญหาปัจจัยเสี่ยงในชุมชน โดยจะมีวิทยากรพี่เลี้ยง ลงไปให้คำแนะนำวิธีการใช้แอพพลิเคชั่นและผลิตสื่อสร้างสรรค์อย่างถูกหลักและจูงใจผู้ชม

อาจารย์ดนัย กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยนไป เราจึงต้องมีการอบรมในการใช้มือถือ หรือสมาร์ทโฟน ในการผลิตสื่อในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามหลังจากจบการอบรมแล้วผู้เข้าอบรม จะต้องกลับไปฝึกทบทวนและใช้มือถือต่อยอดในการผลิตข่าวด้วยตัวเองต่อไปเพื่อให้เกิดทักษะ และความชำนาญมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้หากติดขัดหรือมีข้อสงสัย ก็ยังสามารถสอบถามวิทยากรทุกท่านได้ เพื่อที่เราจะได้มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นต่อไป

ด้าน ดร.กัลยาณี ธรรมจารย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรม เล่าด้วยความประทับใจว่า เป็นการอบรมที่เข้มข้น จริงจัง ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่ได้มีการแบ่งกลุ่มผู้อบรมฯ และให้ลงไปยังพื้นที่พร้อมวิทยากรพี่เลี้ยง เพื่อหาประเด็นข่าวตามหัวข้อที่ สสส.กำหนด โดยในแต่ละกลุ่มก็ได้มีการประชุมวางแผนร่วมกัน แบ่งมอบหน้าที่ แล้วลงมือถ่ายภาพด้วยมือถือ เพื่อนำมาตัดต่อด้วยแอพพลิเคชั่นในมือถือ ซึ่งเป็นความทันสมัยในยุค 4.0 และที่สำคัญมีความสะดวกสบาย สามารถผลิตสื่อได้โดยง่าย รวดเร็ว แก้ไขได้ตามใจต้องการ และที่สำคัญสามารถนำไปใช้งานได้ทันต่อเหตุการณ์

ทั้งนี้ หลังจากที่ทุกกลุ่มได้ร่วมกันผลิตสื่อตามโจทย์ที่ สสส.กำหนดแล้ว และได้ส่งงาน คณะผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีอาจารย์มานพ  แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. เป็นประธานได้ร่วมกันวิพากย์ถึงเนื้อหา การถ่ายภาพ ความเชื่อมโยงการเล่าเรื่อง เพื่อให้นำไปปรับแก้ ให้ผลงานของแต่ละกลุ่มออกมามีประสิทธิภาพและเป็นที่สนใจของผู้ชม จึงนับได้ว่าการอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมเข้มที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้การผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ซึ่งจะได้มีการต่อยอดในการจัดโครงการครั้งที่ 3/2561 ต่อไป

มทร.อีสาน จับมือ Mi Group จัดงาน “Esan Smart Expo 2018  12 นวัตกรรมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ”

มทร.อีสาน จับมือ Mi Group จัดงาน “Esan Smart Expo 2018  12 นวัตกรรมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ” งานแสดงนวัตกรรมมุ่งสู่ Smart University เต็มรูปแบบ

ที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมกับ บริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่งจำกัด จัด งาน “Esan Smart Expo 2018  12 นวัตกรรมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายปัญญา  วงศ์ศรีแก้ว   ปลัดจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานในพิธี  พร้อมกันนี้ยังได้เดินเยี่ยมชมบูธนิทรรศการแสดงผลงานของมหาวิทยาลัยและธุรกิจ Smes โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนกเจริญภักดี  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์และวิเทศสัมพันธ์ กล่าวรายงานที่มาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน  งานนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่แสดงให้เห็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการเป็น SMART University อย่างแท้จริง ซึ่ง มหาวิทยาลัยเองได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560– พ.ศ.2564) เพื่อเป็นกรอบแนวทางกำหนดทิศทางการดำเนินการพัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม  มหาวิทยาลัยสีเขียว  และมหาวิทยาลัยแห่งคุณธรรม  อันนำไปสู่ความเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งภูมิปัญญา” (Smart University) การจัดงานครั้งนี้เป็นผลมาจากการลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือการให้บริการระบบ Smart University และการบริหาร MICE University สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี    ราชมงคลอีสาน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561  กับบริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่ง จำกัด  โดย มทร.อีสาน มุ่งหวังที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน Smart University  4.0 ตามแผนพัฒนาของประเทศ  โดยจะดำเนินการพัฒนาระบบการทำงานและการเรียนการสอนให้มีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น เพื่อต่อยอดการผลิตบัณฑิตที่เป็นกำลังสำคัญในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน พร้อมทำงานและมีทักษะทางด้านการผลิตและใช้นวัตกรรม

ด้าน นายสาธิต สาตรพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่ง จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน อาทิ การบรรยายพิเศษ การจัดเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การจัดการแข่งขันอากาศยานไร้คนขับ FPV Drone racing การแข่งขันกีฬา e-Sport การอบรมและแนะแนวทางการประกอบอาชีพด้านนวัตกรรม การ WORKSHOP ด้านธุรกิจในยุคดิจิตอล 4.0  และมอบทุนสำหรับธุรกิจ Start Up ในยุค Thailand 4.0 ภายใต้ชื่อ กองทุนอาชีพสมัยใหม่ 4.0 RMUTI @ Smart University  to KORAT Smart City  การแสดงสินค้าและนวัตกรรม พร้อมสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดงาน โดยเห้นถึงความพร้อมและศักยภาพของ มทร.อีสาน ที่จะเป้นสถานที่ในการจัดงาน การแข่งขัน การถ่ายทอดนวัตกรรม ที่จะเกิดขึ้นในงาน “Esan Smart Expo 2018  12 นวัตกรรมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ” ระหว่างวันที่ 23 -25 พฤศจิกายน 2561 นี้

>ชมคลิปเสียงสัมภาษณ์ และบรรยากาศ<<

สื่อภาคอีสานเดินหน้าปั้น “นักข่าวมือถือ” รุ่นที่ 2 สร้าง Content ให้โดนใจ

สื่อภาคอีสานเดินหน้าปั้น “นักข่าวมือถือ” รุ่นที่ 2 สร้าง Content ให้โดนใจ

สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน เดินหน้าปั้นนักข่าวมือถือ รุ่นที่ 2 ต่อยอด “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ พัฒนา คุณภาพชีวิตสู่ไทยแลนด์ 4.0” เรียนรู้การทำ Content Marketing แบบ Storytelling และการเสวนาเรื่อง “สังคมสูงวัย” โดย รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน เปิดเผยว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสานครั้งที่ 2/2561 เรื่อง “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ไทยแลนด์ 4.0” ระหว่างวันที่  23 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 ณ โรงแรมเพชรเกษม แกรนด์ ถนนจิตรบำรุง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีผู้ลงชื่อเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ 68 คน มาจากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน สระบุรี และสมุทรปราการ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยผ่านการอบรมในครั้งที่ 1 ที่ จ.นครราชสีมา มาแล้ว

ในการอบรมครั้งที่ 2 นี้ จะเป็นการต่อยอดความรู้เดิม และสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้ผู้เข้ารับการอบรม ในการใช้โทรศัพท์มือถือ เรียนรู้วิธีการถ่ายภาพและตัดต่อ การทำ Mobile Journalism, และการลำดับภาพผ่าน Application KineMaster โดยทีมวิทยากรกระบวนการผลิตสื่อมืออาชีพ นายกุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาศ (อาจารย์ต่อง)  ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ, อาจารย์จำรัส จันทนาวิวัฒน์, อาจารย์สืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (กลุ่มพลังแห่งต้นกล้า), คุณวิทยา จิรัฐติกาลสกุล (กลุ่มสื่อสุขสันต์) และคุณอุมาพร ตันติยาทร โปรดิวเซอร์ รายการสารคดีโทรทัศน์ บริษัท บุญมีฤทธิ์ จำกัด

การทำ Content Marketing แบบ Storytelling และการทำการตลาดในสื่อออนไลน์ โดย อ.จารุณี นวลบุญมา หัวหน้าสำนักประชาสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. บรรยายพิเศษ “ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป” โดย นายชาย ปถะคามินทร์ เลขาธิการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และการเสวนา เรื่อง “สังคมสูงวัย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และอาจารย์กรรณิการ์ บันเทิงจิตร

นอกจากนี้ในวันที่ 2 ของการอบรม ผู้อบรมทุกคนจะได้ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริง เพื่อผลิตผลงานคลิปวิดีทัศน์ผ่าน Smartphone เป็นสารคดี, สารคดีเชิงข่าว หรือภาพยนตร์สั้น ความยาว 4 นาที ในประเด็นหัวข้อที่ใช้ฝึกปฏิบัติการทั้ง 4 หัวข้อ ได้แก่ ประเด็นรองรับผู้สูงวัย, ประเด็นกลุ่มอ่อนไหวและเปราะบาง, ประเด็นสิ่งแวดล้อมในชุมชน และประเด็นปัญหาปัจจัยเสี่ยงในชุมชน

“การอบรมนักข่าวมือถือ มืออาชีพ เพราะเทคโนโลยีขณะนี้เข้ามามีบทบาทในการรายงานข่าวค่อนข้างมาก เมื่อมาอบรมแล้วเราจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานที่เราทำได้ เราไม่ได้แค่ทำหน้าที่รายงานข่าวที่เกิดขึ้นอย่างเดียว เรามีหน้าที่โดยตรง ในการนำเสนอข้อเท็จจริง นำความประจักษ์ให้เกิดขึ้นแก่สังคม ซึ่งขณะนี้ทุกอย่างหลอมรวมกันแล้ว อย่าคิดว่าเราเป็นทีวี เป็นหนังสือพิมพ์ เป็นวิทยุ หรือเป็นออนไลน์ แต่คอนเทนท์ต้องเป็นคอนเทนท์ เพราะถ้าสื่อไม่ก้าวทันเทคโนโลยีแล้ว ก็จะไม่ทันต่อการตอบสนองของผู้บริโภค จึงต้องเสริมทักษะตรงนี้เพิ่มเติม ซึ่งความสำคัญที่สุดของคนทำสื่อคือ การบริการสาธารณะ เพื่อร่วมแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง” พ.ท.พิสิษฐ์ กล่าว

ติวเข้มสื่อภาคอีสาน พัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ การใช้มือถือ อย่างมืออาชีพ ในยุค 4.0

ติวเข้มสื่อภาคอีสาน พัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ  การใช้มือถือ อย่างมืออาชีพ ในยุค 4.0

ที่ผ่านมา  นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ครั้งที่ 1/2561     การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ ยุค 4.0” และบรรยายพิเศษเรื่อง “กฟผ.4.0” จัดโดย สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.นครราชสีมา


โดยมี นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว  จังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ และ นพ.ธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธีรวัฒน์ จ.กาฬสินธุ์ บรรยายพิเศษเรื่อง “ฟ้าสวย ตาใส” นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นายเพชรเหล็ก ทองภูธร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 5 นครราชสีมา เป็นประธานปิดการอบรมและมอบวุฒิบัตรให้กับผู้เข้ารับการอบรม โดยมีสื่อมวลชนสาขา นสพ., วิทยุ, เคเบิ้ลทีวี และสื่อออนไลน์ จากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คน


พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน กล่าวว่า ปัจจุบันทุกคนสามารถเป็นนักข่าวได้ ผู้ที่มีมือถือสมาร์ทโฟน เมื่ออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ สามารถที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตข่าว และรายงานข่าวได้ด้วยตัวเอง เป็นการรายงานเหตุการณ์สด ได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตามอาชีพคนทำข่าว หรือนักหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้สูญหายไปไหน แต่ต้องมีการปรับตัวมากขึ้น นักข่าวจะต้องเปลี่ยนบทบาทตัวเอง ไม่ใช่แค่การเขียนลงหนังสือพิมพ์ วิ่งไปทำข่าวในที่เกิดเหตุ แล้วกลับมารายงานข่าวผ่านสื่อที่ตนรับผิดชอบ แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำข่าว เปลี่ยนเป็นการรายงานผ่านสื่อออนไลน์ การทำ LIVE เหล่านี้คือบทบาทของนักข่าวที่จำเป็นต้องเปลี่ยนอย่างแน่นอน


ดังนั้น สมาคมเครือข่าย หนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน ได้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิตอลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ประจำปี 2561 เรื่อง “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ ยุค 4.0” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เข้าใจและเรียนรู้การผลิตข่าวด้วยมือถือ โดยให้กลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง วิธีการนำเสนอ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และให้เข้าถึง โดนใจผู้บริโภคในยุคดิจิตอลนี้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงานและชีวิตประจำวัน
ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ได้เพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการผลิตข่าวผ่านสื่อออนไลน์ มีทักษะทางด้านการรายงานข่าวด้วยมือถือ อันจะนำไปสู่ความเป็นนักข่าวมืออาชีพ สามารถทำหน้าที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป นำไปปรับใช้กับองค์กร และนำไปต่อยอดใช้ให้เกิดประโยชน์ในอาชีพสื่อสารมวลชนต่อไป


การอบรม “เล่าเรื่องยุคดิจิทัลด้วยมือถือ” โดยวิทยากร ประกอบด้วย อ.กุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาส (อ.ต่อง), อ.จำรัส จันทนาวิวัฒน์ (อ.หมิ่น) และ อ.วนาภรณ์ ตลอดไธสง (อ.กิ๊ก) บรรยายในหัวข้อ การทำข่าวในยุค สื่อออนไลน์, หลักคิดเรื่อง วารสารศาสตร์มือถือ (Mobile Journalism), การนำไปใช้ในการผลิตเนื้อหาสำหรับสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆ, รู้จักมือถือ ทำอะไรได้บ้างในยุคสื่อออนไลน์ 4.0, มารู้จักแอพพลิเคชั่นดี ๆ สำหรับการใช้มือถือทำงานผลิตเนื้อหาข่าว, หลักการถ่ายภาพด้วยมือถือ และการแต่งภาพเพื่อนำไปใช้งาน, แนะนำการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ขาตั้ง ตัวประคองโทรศัพท์มือถือ และไมโครโฟน, เข้าใจการทำงานผลิตวีดีโอเพื่ิอการเล่าเรื่อง การวางแผน การถ่ายทำ และการตัดต่อ การพากย์และการลงเสียงให้น่าฟัง การเปิดหน้าพูดกับกล้อง การสัมภาษณ์ เป็นต้น
ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และได้ฝึกปฏิบัติจริง ทั้งการวางแผน การเล่าเรื่อง การถ่ายทำ การตัดต่อ การทำกราฟฟิค และการลงเสียงบรรยาย จากนั้นทั้ง 7 กลุ่ม ได้นำเสนอผลงาน โดยคณะวิทยากรได้ให้คำแนะนำ ชี้แนะ เพื่อปรับปรุงแก้ไขผลงานให้สมบูรณ์ โดยทุกขั้นตอนการผลิตใช้เพียงโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ซึ่งผลงานทั้ง 7 กลุ่ม คณะวิทยากรได้พิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัล ดังนี้ รางวัลชนะเลิศ เรื่อง ท่องเที่ยว วัดในประวัติศาสตร์ นครราชสีมา รองชนะเลิศอันดับ 1 รายการทีวีแขมร์ พาเที่ยววัดศาลาลอย และรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง เที่ยว ปราสาทพนมวัน
“สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน จะจัดโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสาน ครั้งที่ 2/2561 ภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผล เพื่อให้สื่อมวลชนภาคอีสาน ได้เกิดทักษะ และเพิ่มศักยภาพในการผลิตข่าวเชิงคุณภาพที่ดีๆ ให้กับสังคม และเป็นการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อใหม่ รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่พลาดการอบรมในครั้งที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมฯ โดยรายละเอียดต่างๆ จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป และขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนการจัดโครงการฯ ในครั้งนี้ทุกท่าน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านในครั้งต่อๆ ไป”

! เปิด AIS Shop สาขาเซ็นทรัลพลาซา- ถ่ายทอดประสบการณ์ AIS THE DIGITAL GALLERY สาขาแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

! เปิด AIS Shop สาขาเซ็นทรัลพลาซา- ถ่ายทอดประสบการณ์ AIS THE DIGITAL GALLERY สาขาแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2561 เวลา 13.00-14.00 น.
ณ AIS Shop ชั้น 2 ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา เรียนเชิญผู้บริหารและแขกผู้มีเกียรติร่วมพิธีเปิด AIS Shop
สาขาเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา อย่างเป็นทางการ.โดย คุณสุรวุติ เชิดชัย นายกเทศบาลนครนครราชสีมา คุณอุดมศักดิ์ โสมคำ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, คุณยงยุทธ สุทธัง ผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคุณเวียร์ ศุกลวัฒน์ ศิลปินเบอร์หนึ่งของเมืองไทย ถ่ายทอดประสบการณ์ AIS THE DIGITAL GALLERY สาขาแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ครั้งแรก! ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


เปิดประสบการณ์เข้าถึงดิจิทัลแบบใหม่ พลิกโฉม AIS THE DIGITAL GALLERY ใหม่ใจกลางเมืองโคราช
เอไอเอสยกระดับงานบริการที่ล้ำสมัยไปอีกขึ้น สร้างประสบการณ์เข้าถึงดิจิทัลแบบใหม่ให้กับลูกค้า ด้วยการเปิดโฉมใหม่ที่ AIS Shop เซ้นทรัล นครราชสีมา ชั้น 2 เป็นแกลอรี่ แสดงนวัตกรรมดิจิทัลในรูปแบบของงานศิลปะ รวบรวมเทคโนโลยีและสมาร์ทแก็ดเจ็ดที่ทันสมัย ดีไซน์สวย จากแบรนด์ชั้นนำ มาให้ลูกค้าได้สัมผัส ทดลองใช้ และเลือกซื้อก่อนใคร

นายอุดมศักดิ์ โสมคำ หัวหน้าส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เอไอเอส กล่าวว่า “เอไอเอส ตอกย้ำความเป็นผู้นำในการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ให้คนยุคใหม่ และในวันนี้ จากความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าในยุคปัจจุบันที่ต้องการได้รับประสบการณ์จากการสัมผัส ทดลองใช้ และเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ด้วยตนเอง เอไอเอสจึงใช้งบประมาณกว่า 40 ล้านบาท เริ่มต้นด้วยการพลิกโฉม AIS Shop บริเวณชั้น 4 เซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้ายุคดิจิทัล ภายใต้คอนเซ็ปท์ “AIS THE DIGITAL GALLERY” เปรียบเสมือนแหล่งรวมนวัตกรรมเทคโนโลยีของโลกยุคดิจิทัล ที่นอกจากจะสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ให้ได้ทดลองใช้ และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่หลากหลาย ทันสมัย ดีไซน์สวย จากแบรนด์ชั้นนำมากมาย พร้อมพลิกโฉมช็อปแห่งนี้ ให้เป็น Gallery แสดงงานศิลป์ นำเสนอผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของการแสดงผลงานศิลปะ โดยวางผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นแสดงบนแท่นโชว์ (AIS Intelligent Unit) ที่ออกแบบมาอย่างสร้างสรรค์ ทำให้สะดวกในการสัมผัส รวมทั้งจัดหมุนเวียนผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สลับผลัดเปลี่ยน มาให้ลูกค้าได้สัมผัสก่อนใคร เพื่อเป็นการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้ายุคดิจิทัล เอไอเอสจึงผสานคน และเทคโนโลยี เป็น Next Generation Team ที่พร้อมส่งมอบมิติใหม่ของงานบริการให้แก่ลูกค้า โดยพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้เป็น Digital Guru ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ดิจิทัลต่างๆ สามารถให้คำแนะนำ และช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างมืออาชีพ
เอไอเอสจะขยาย AIS Shop Concept ใหม่มายังภูมิภาค โดยเอไอเอสช็อป สาขาเซ็นทรัล นครราชสีมาเป็นสาขาแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะขยายไปถึง 70 Shop ทั่วประเทศ ภายในปี 2018 นี้

AIS SHOP โฉมใหม่ ประกอบด้วย 4 โซนหลัก
Digital Gallery: เป็นพื้นที่จัดแสดงนวัตกรรมสุดล้ำจากแบรนด์ชั้นนำต่างๆ นำมาจัดแสดงให้ลูกค้าได้สัมผัสก่อนใครที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น Smartphone รุ่นใหม่, Wearable Tracking ต่างๆ เพื่อคนรักสุขภาพ และ Gadget ไฮเทคอีกมากมาย
Digital Bar : พื้นที่ที่ให้คนรุ่นใหม่ สามารถเข้ามาทดลองใช้สินค้า, เวิร์คช็อป, พูดคุย หรือปรึกษา Digital Guru ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นอย่างดี ซึ่งจะคอยเป็นผู้ช่วยและให้คำแนะนำลูกค้าอย่างมืออาชีพ
Digital Entertainment: สัมผัสความเร็วเต็มสปีด จาก AIS Fibre อินเทอร์เน็ตบอร์ดแบนความเร็วสูง ไฟเบอร์แท้ 100% และประสบการณ์ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ทั้งจากแอป AIS PLAY และกล่อง AIS PLAYBOX ที่มาพร้อมคอนเทนต์ความบันเทิงระดับโลก ที่จะทำให้ลูกค้าได้รับความสนุกสนาน เสมือนรับชมอยู่ที่บ้าน
Serenade : ห้องรับบริการสุดเอ็กซ์คลูชีพสำหรับลูกค้าเซเรเนดคนพิเศษโดยเฉพาะ

ผู้ว่าโคราช !!จัดระเบียบสายสื่อสารในเขตเมืองนครราชสีมา

ผู้ว่าโคราช !!จัดระเบียบสายสื่อสารในเขตเมืองนครราชสีมา

วันที่3สิงหาคม2561โครงการจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมบริษัทไฟฟ้าพื้นที่ในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา ณสนามศาลากลางจังหวัดนครราชสีมาอำเภอเมืองจังนครราชสีมา โดยนายวิเชียร จันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธาน ปล่อยขบวนรถคณะทำงาน นายสำเริง ขนายกลาง ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงาน
สืบเนื่องจากสภาพความไม่เรียบร้อยของสายสื่อสารวันเสาร์ไฟฟ้าส่งผลให้ทัศนียภาพของเมืองโคราชเกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามซึ่งจังหวัดนครราชสีมาได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนราชการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภาคเอกชนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนระบบสายสื่อสารและอุปกรณ์สื่อสารโทรคมพลเสาไฟฟ้าให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างเป็นระบบสร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้กับเมืองโคราชสวยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยส่วนรวมและเพื่อให้มีความเหมาะสมในการเป็นเมืองศูนย์การท่องเที่ยวที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือนและน่าเที่ยวและเป็นการเตรียมพร้อมในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่ทันสมัยและน่าอยู่สู่การเป็นโคราช Smart City ในอนาคต
ซึ่งคณะทำงานประกอบด้วยสำนักงานจังหวัดนครราชสีมาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมาเทศบาลนครนครราชสีมาบริษัททีโอทีจำกัดมหาชนและผู้ประกอบการทางด้านโทรคมนาคมโดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้1 กำหนดเส้นทางจัดระเบียบสายสื่อสารในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมาทั้งสิ้น 54 เส้นทางความยาวสายสื่อสารรวม 133 กิโลเมตร โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 9 ระยะ2 วิธีดำเนินการคือหรือสายสื่อสารที่ไม่ได้ใช้งานหรือเรียกว่าสายใต้ออกจากเสาไฟฟ้าและดำเนินการมัดให้รวบให้เรียบร้อย3ระยะเวลาดำเนินการโครงการเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 และจะสิ้นสุดโครงการในเดือนเมษายน 2562 ในการดำเนินการทั้งนี้เป็นการดำเนินการระยะที่ 1จำนวน 7 เส้นทางประกอบด้วย ถนนกำแหงสงคราม ถนนสรรพสิทธิ์ ถนนอัษฎางค์ ถนนมหาดไทย ถนนจอมพล ถนนยมราชและถนนพลแสน ความยาวสายสื่อสาร 18 กิโลเมตรโดยมีหน่วยงานเข้าร่วมทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งสิ้น 20 หน่วยงานและทีมร่วมปฏิบัติงานจากทุกหน่วยงานรวมทั้งสิ้น 167 คน
ภาพ-ข่าว สันติ วงษาเกษ จ.นครราชสีมา