นิทรรศการแสดงผลงานอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชน คนสร้างศิลปะร่วมสมัยนครชัยบุรินทร์

งานศิลปนานาชาติ Thailand Biennale Korat 2022

 นิทรรศการแสดงผลงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ เยาวชนคนสร้างศิลปะร่วมสมัย นครชัยบุรินทร์ ยกระดับขีดความสามารถการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ไหมนครชัยบุรินทร์

วันที่ 21 มกราคม 2565 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปะส่งเสริมการท่องเที่ยวโดย ได้รับเกียรติ นายชู​ศักดิ์​ ชุน​เกาะ​ รองผู้ว่าราชการจังหวัด​นครราชสีมา​ เป็น​ประธานพิธีเปิดงาน นิทรรศการแสดงผลงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ เยาวชนคนสร้างศิลปะร่วมสมัย นครชัยบุรินทร์ ยกระดับขีดความสามารถการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ไหมนครชัยบุรินทร์( นครราชสีมาชัยภูมิสุรินทร์และบุรีรัมย์) ลานวาไรตี้​ หน้า MCC HALL ห้างสรรพสินค้า​เดอะมอลล์​จังหวัดนครราชสีมา​ ด้วยกิจกรรมจัดระหว่างวันที่ 18 ถึง 25 มกราคม 2565 ขอเชิญผู้สนใจทั่วไปร่วมกิจกรรม ชมงานศิลปะตื่นตาตื่นใจ

ประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ

โครงการอบรมวิชาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและการประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ

วันพุธที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕ณ วิทยาลัยเทคนิคนครโคราช (วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา)อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา การประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพนายวิจิตร กิจวิรัตน์คำปลัดจังหวัดนครราชสีมา ประธานกล่าวเปิดโครงการ พร้อมด้วยนางอารยา ศิริทิพย์ ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓กล่าวเปิดกิจกรรม และท่านผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติในสังกัดคุมประพฤติภาค ๓ /ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓ และคณะ/ผู้บริหารในสังกัดกระทรวงยุติธรรม/ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครโคราช/ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาและแขกผู้มีเกียรติทุกท่านผู้เข้าร่วมพิธีเปิด

โครงการอบรมวิชาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและการประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ และในวันนี้ผู้เข้าร่วมประกวดการทำอาหารในระดับภาคที่ได้เดินทางมาจากจังหวัดบุรีรัมย์/สุรินทร์/ศรีสะเกษ/ยโสธร/อำนาจเจริญ/ชัยภูมิและอุบลราชธานีนั้น จังหวัดนครราชสีมา มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ผู้กระทำผิดได้มีอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวโดยการฝึกอาชีพ ส่งเสริมให้มีงานทำและมอบทุนประกอบอาชีพ รวมทั้งเสริมสร้าง

บทบาทของอาสาสมัครคุมประพฤติให้เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการคืนคนดีสู่สังคมอย่างครบวงจรทักษะวิชาชีพสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า นั้นตามที่ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓ ได้กล่าวรายงานมาแล้วนั้นนับเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะภารกิจหลักของกรมคุมประพฤติคือการดูแลแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน การสร้างงาน สร้างอาชีพ และยกระดับในการทำอาหารของผู้กระทำผิด ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสร้างขวัญกำลังใจ ต่อไป ผลการแข่งขันประเภทการประกวด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

๑. ประเภทอาหารคาว

๒.ประเภทอาหารหวาน

ได้แก่ชนะเลิศที่๑ทีมสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสุรินทร์ทั้งสองรายการ

ตำรวจภาค3จับคนร้ายเลียนแบบในหนัง ทำอนาจารเด็กนักเรียนหญิง

ตำรวจภาค3จับคนร้ายเลียนแบบในหนัง ได้ทำการอนาจารเด็กนักเรียนหญิงที่กำลังนอนหลับในหอพักโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเขต อ.เมือง จว.นครราชสีมา

ด้วยเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2564 เวลาประมาณ 23.14 น. ต่อเนื่องจนถึง ถึงวันที่ 1 ธ.ค.64 เวลาประมาณ 02.09 น. (ครั้งที่ 1) และเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.64 เวลาประมาณ 01.44 น. – 02.21 น. (ครั้งที่2) มีคนร้ายไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด ประกอบเหตุที่คล้ายกัน กล่าวคือ ได้บุกรุกเข้าไปในหอพักหญิงโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเขต อ.เมือง จว.นครราชสีมา แล้วได้กระทำการอนาจารเด็กนักเรียนหญิงที่กำลังนอนหลับในหอพัก โดยได้ใช้กรรไกรตัดที่ขากางเกงของนักเรียนหญิงและใช้มือลูบคลา จากนั้นได้ขโมยทรัพย์สินเป็นเงินสดของเด็กนักเรียนไปอีกจานวนหนึ่ง ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความหวาดกล้วให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนคณะครูอารจารย์ ผู้บริหารของโรงเรียนเป็นอย่างมาก ตามที่สื่อมวลชนให้ความสนใจและนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม ผบช.ภ.3, พล.ต.ต.ภาณุ บุรณศิริ รอง ผบช.ภ.3,พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา, พล.ต.ต.ชูสวัสดิ์ จันทร์โรจนกิจ ผบก.สส.ภ.3, พ.ต.อ.สุคนธ์ ศรีอรุณ รอง ผบก.สส.ภ.3,พ.ต.อ.สุริยา นาคแก้ว รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.ถิรเดช จันทร์ลาด ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา, พ.ต.อ.สุกาญจน์ นิลอ่อน ผกก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.3, พ.ต.อ.นาวิน ธีระวิทย์ ผกก.สภ.โพธิ์กลาง ,พ.ต.ท.นราพงษ์ เตือนขุนทด รอง ผกก.สส.สภ.โพธิ์กลาง ,พ.ต.ท.ทวีศักดิ์ นามจันทร์เทียม รอง ผกก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.3, พ.ต.ท.สุวนัย พิทักษ์ รอง ผกก.สืบสวน3 บก.สส.ภ.3, พ.ต.ท.พรเทพ ทุ้ยแป รอง ผกก.สส.ภ.จว.นครราชสีมา,พ.ต.ท.มณฑล หงส์กลาง รอง ผกก.สส.ภ.จว.นครราชสีมา,พ.ต.ท.วิชานนท์ บ่อพิมาย รอง ผกก.สส.สภ.เทพารักษ์, พ.ต.ท.สุชาติ ซ้อนพุดซา สว.สส.สภ.โพธิ์กลาง, พ.ต.ต.ณัฐพล เฉลิมนพคุณ สว.กก.สืบสวน.ภ.จว.นครราชสีมา,พ.ต.ต.สมพร ทองประดับ สว.กก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.3, พร้อมเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน เร่งดำเนินการสืบสวนติดตามจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป พร้อมด้วยดร.ยลดา หัวงศุภกิจโกศล นายกอบจ.นครราชสีมา

โดยการบูรณาการของ ชุดสืบสวน กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา,ชุดสืบสวน สภ.โพธิ์กลาง และ ชุดสืบสวน กก.สืบสวน3 บก.สส.ภ.3 ได้ดาเนินการสืบสวนตำหนิรูปพรรณและยานพาหนะที่คนร้านใช้ในวันเกิดเหตุ จากการสืบสวนพบว่าผู้ต้องสงสัย คือ นายธงชัยหรือโก้ พันชนะ อายุ 32 ปี

มีภูมิลาเนาอยู่ที่ อ.ด่านขุนทด จว.นครราชสีมา ปัจจุบัน ไปมีภรรยาและพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.สูงเนิน จว.นครราชสีมา ซึ่งมีตำหนิรูปพรรณสัณฐานตรงกับคนร้าย

ชุดสืบสวน จึงประสานข้อมูลกับ พนักงานสอบสวน สภ.โพธิ์กลาง ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน ขออนุมัติหมายจับศาลจังหวัดนครราชสีมา ที่ 17/2565 และ ที่ 18/2565 ลงวันที่ 16 มกราคม 2565 ในข้อหา “ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสาหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นโดยประการใดๆ ,บุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นด้วยประการใดๆ และทำอนาจารฯ”

ต่อมาเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน จึงได้จับกุมตัวนายธงชัยฯ ตามหมายจับของศาลดังกล่าว นาส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งนายธงชัยฯ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาว่าตนเป็นผู้ก่อเหตุทั้งสองครั้งจริง

***********************************************

มทร.อีสาน ขับเคลื่อนยกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม

มทร.อีสาน ขับเคลื่อนยกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม วิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ เร่งเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ได้จัดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยได้รับเกียรติจาก รศ. (พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะผู้แทน รมว.อว. เป็นประธานกล่าวให้โอวาท และกล่าวปิดโครงการฯ โดยมี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ,ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการฯ ,ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ร่วมพิธีเปิด

รศ. (พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายจากท่าน ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  ให้มาเป็นประธาน และกล่าวปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรม ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  ภาคเหนือ ในวันนี้

ตามที่คณะทำงานโครงการอบรมฯ โดยการนำของ ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ และคณะวิทยากร ได้ดำเนินการจัดให้มีการอบรมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 6 ภาค ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมานั้น ทำให้พี่น้องวิสาหกิจชุมชนทั้ง 2574 กลุ่ม ได้มีการยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ทั้ง 6 ด้าน ครอบคลุมทั้งด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคติดเชื้อโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน

หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการยังจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปเป็นทุนตั้งต้น เพื่อต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน  ซึ่งการอบรมในครั้งนี้เป็นเพียงห้วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ท่านทั้งหลายควรนำสิ่งที่คณะวิทยากรได้ให้ในการอบรมในครั้งนี้ ไปประยุกต์ปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มความสามารถ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

“กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จะเป็นที่ปรึกษาและเป็นกำลังใจในการดำเนินงานของท่าน  ในการที่จะฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรค ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ขอชื่นชมและขอบคุณ คณะทำงานโครงการฯ และคณะวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน พิษณุโลก ที่ได้เอื้อเฟื้อให้การสนับสนุนสถานที่ในการจัดการอบรมในครั้งนี้”

ด้าน ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นอีกประมาณ 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด

มทส. เปิดตัว “สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด”

ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า ติดตั้งง่าย เหมาะกับท้องถิ่นห่างไกล

มทส. เปิดตัว สถานีชาร์จรถไฟฟ้าต้นแบบ  โซล่าร์ออฟกริด (Solar-off-grid) แปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ควบคู่ระบบกักเก็บพลังงานขั้นสูง ทำให้ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด สถานีมีขนาดเล็ก ติดตั้งง่าย เหมาะกับพื้นที่จำกัด และท้องถิ่นห่างไกลจากระบบสายส่งไฟฟ้าภาครัฐเข้าถึง ในระยะแรกพร้อมให้บริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ตอบรับนโยบายมหาวิทยาลัยเขียว-สะอาด (Green and Clean University) ก่อนขยายผลสู่ชุมชนและสังคม เพื่อร่วมรณรงค์การใช้พลังงานสะอาดพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

วันที่ 13 มกราคม 2565 ณ อาคารวิชาการ 2 มทส. รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นประธานในพิธีเปิด “สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด (Solar-off-grid charging station for mini EVs)” สถานีต้นแบบ เพื่อให้บริการชาร์จไฟฟ้าแก่ยานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ใช้สัญจรภายในมหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สันติ แม้นศิริ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวัสดุนาโนและการวิเคราะห์ขั้นสูง (RNN-SUT) รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา หัวหน้าคณะนักวิจัย และ รองศาสตราจารย์ ดร.พนมศักดิ์ มีมนต์ นักวิจัย ร่วมให้การต้อนรับ โอกาสนี้ ได้ส่งมอบจักรยานไฟฟ้า จำนวน 20 คัน ผลงานบูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับ ส่วนอาคารสถานที่ มทส. ซึ่งได้รับการสนับสนุนมอเตอร์ไฟฟ้าจากบริษัท Stallions เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยตอบรับนโยบาย มทส. มหาวิทยาลัยเขียว-สะอาดอย่างยั่งยืน

 รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา อาจารย์ประจำสำนักวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และหัวหน้าคณะนักวิจัย เปิดเผยว่า “สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด  หรือ Solar-off-grid charging station for mini EVs เป็นสถานีต้นแบบ ได้ทำการออกแบบและติดตั้งไว้ ณ บริเวณลานจอดรถหน้าอาคารวิชาการ 2 สามารถให้บริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ อาทิ รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก รถกอล์ฟไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้า เป็นต้น จุดเด่นของสถานีชาร์จแห่งนี้ คือ เป็นสถานีชาร์จแบบโซล่าร์ออฟกริด (Solar-off-grid) ทำให้ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด และการออกแบบรูปลักษณ์สถานีขนาดเล็กเหมาะกับพื้นที่จำกัด จึงสามารถทำการติดตั้งได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในสถานที่ทุรกันดาร หรือมีระยะทางห่างไกลที่ระบบไฟฟ้าภาครัฐเข้าไปยังไม่ทั่วถึง หลักการทำงานคือ การใช้พลังไฟฟ้ามาจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ควบคู่กับระบบกักเก็บพลังงานขั้นสูงโดยทำการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน   กำลังการผลิตไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์อยู่ที่ 4 กิโลวัตต์ (kW) ผลิตพลังงานได้ประมาณ 16 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ต่อวัน หรือสามารถนำไปชาร์จรถกอล์ฟหรือรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รวมกันได้ 8-10 คันต่อวัน สำหรับระบบกักเก็บพลังงานมีขนาดความจุ 5 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ที่สามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าประมาณ 25% ไปใช้ในเวลากลางคืน หรือช่วงที่มีแสงแดดน้อย ยังสร้างความเสถียรในการชาร์จไฟฟ้าได้อีกด้วย  สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด ต้นแบบของ มทส. นี้ ได้ออกแบบตัวสถานีชาร์จขนาด 2 x 3 ตร.ม. ใช้พื้นที่โดยรวมประมาณ 24 ตารางเมตร หลังคาติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวน 12 แผง สามารถรองรับรถกอล์ฟเข้าจอดได้ 2 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้ารวมกันได้ 5 คัน   

โดยในระยะแรกสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าจะเปิดให้บริการแก่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ในพื้นที่ มทส. ควบคู่กับการติดตามและประเมินผลการใช้งาน ผลงานวิจัยนี้ ศูนย์เครือข่ายวัสดุนาโนและการวิเคราะห์ขั้นสูง (RNN-SUT) มทส. ได้รับทุนวิจัยจาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (Nanotec) และ มทส. ในการวิจัยระบบกักเก็บพลังงาน ร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพ EQ Tech Energy คาดว่าในอนาคตพร้อมที่จะขยายผลบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานที่สนใจร่วมใช้พลังงานสะอาดเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนต่อไป”

แหล่งท่องเที่ยวก่อนประวัติศาสตร์สดๆร้อน!ภาพเขียนสี”เพิงหินทรัพย์อนันต์

สำรวจภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แห่งใหม่ ! สดๆ ร้อนๆ ของจังหวัดนครราชสีมา ในพื้นที่ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว กันครับ โดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา

 ที่ผ่านมา ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาของเรา พบภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1 ภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม อำเภอสีคิ้ว ซึ่งพบเป็นแห่งเเรกในปี 2520 และ 2 ภาพเขียนสีเพิงหินน้ำตกวะภูแก้ว อำเภอสูงเนิน พบในปี 2563 โดยทั้ง 2 แห่ง พบภาพเขียนสีแดงรูปคน และสัตว์ ถูกเขียนอยู่บนเพิงหินเเละเพิงผา ซึ่งมนุษย์โบราณใช้เป็นที่พักชั่วคราวเพื่อหลบแดด หลบฝน ในขณะหาของป่า-ล่าสัตว์ เช่นเดียวกันครับ

.

#เพิงหินซับอนันต์ นับเป็น ภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา ถูกค้นพบโดยชาวบ้านที่มาเลี้ยงวัวเมื่อ 80 ปีที่แล้ว เล่าสืบต่อกันมา จากการกล่าว พระรัชสิทธิ์ พระภิกษุวัดเขาจันทร์งาม พาคณะมาสำรวจแนะนำแหล่งภาพวาดก่อนประสัติศาสตร์ แห่งที่ 3 ที่พบในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเพิงหินแห่งนี้ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม ระยะห่างประมาณ 1.2 กิโลเมตร เป็นเพิงหินทรายขนาดใหญ่ ทอดตัวยาวตามแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ เพิงหินสูงโดยรวมประมาณ 4 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภาพเขียนสีจะปรากฏบริเวณเพิงหินด้านบน เขียนด้วยสีแดง เป็นรูปคน ซึ่งฝีมือการวาดมีลักษณะคล้ายกับภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม เบื้องต้นกำหนดอายุสมัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 2,500-1,500 ปีมาเเล้ว จากการสำรวจพบว่าสถานที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ก่อนประวัติศาสตร์ แห่งใหม่ของเมืองโคราช

เมืองลอยฟ้า” (อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง)

เปิดเส้นทางท่องเที่ยว Unseen New Series

#แถลงข่าวเปิดเส้นทางท่องเที่ยว “Unseen New Series” นครราชสีมา ของ ททท. เป็นการชวนไปสัมผัสกับเมืองไทย ในมุมที่เราอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน ผ่านแหล่งท่องเที่ยว 25 แห่ง ของแต่ละภูมิภาค (ภาคละ 5 แห่ง) สำหรับภาคอีสานเป็นแหล่งท่องเที่ยว Man Made (สร้างใหม่) โดยโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา กฟผ. ก็เป็น 1 ใน 5 แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการคัดสรรใหม่ “เมืองลอยฟ้า” (อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง) ซึ่งถูกกล่าวขานว่าเป็น จุดชมวิวหมื่นล้านที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของไทย รวมถึงเป็นที่ตั้งของ “เมืองใต้พิภพ” (อุโมงค์โรงไฟฟ้าใต้ดิน) ที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินกว่า 1.5 กม. นับเป็น Unseen จุดเช็คอินที่ไม่เหมือนใคร โดยมีพ.ต.อ.รัฐศักดิ์ สุขเจริญ ที่ปรึกษานายกฯ, น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข ผอ.โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, นายณัฎฐพัชร์ อนิวัตกูลชัย ส.อบจ.อำเภอปากช่อง เขต 1, นางสาวนงนุช  เลิศด้วยลาภ ส.อบจ.อำเภอปากช่อง เขต 2, นายศิริพงศ์ มกรพงศ์ ส.อบจ.อำเภอสีคิ้ว เขต 1 ร่วมเปิดงาน ที่ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

วันที่ 7 มกราคม 2565

#โคราชโฉมใหม่

#โคราชเที่ยวได้ทุกเดือน

เทศกาลสินค้าโครงการหลวงดอกไม้กินได้

กูร์เมต์ มาร์เก็ต ชวนชาวโคราช ช้อป ชิม หลากหลายสินค้า

และเมนูอร่อย ดีต่อสุขภาพ ในบรรยากาศกาดดอยแสนม่วนอกม่วนใจ๋

ที่งาน “เทศกาลสินค้าโครงการหลวง:ดอกไม้กินได้”

กูร์เมต์ มาร์เก็ต และ เดอะมอลล์ โคราช ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง จัดงาน “เทศกาลสินค้าโครงการหลวง: ดอกไม้กินได้” ชวนชาวโคราชและจังหวัดใกล้เคียง ร่วมลิ้มลองความอร่อยกับเมนูสุดพิเศษเฉพาะงานนี้ ที่รังสรรค์ขึ้นจากวัตถุดิบและดอกไม้กินได้จากโครงการหลวง พร้อมด้วยสินค้าและผลิตภัณฑ์คุณภาพทั้ง ผัก ผลไม้ ดอกไม้กินได้ รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปมากมาย พร้อมเมนูอิ่มอร่อยจากอาหารพื้นเมือง ที่ปรุงด้วยวัตถุดิบโครงการหลวง กว่า 10 เมนู ในบรรยากาศกาดดอยแสนม่วนอกม่วนใจ๋ ระหว่างวันที่ 5 – 12 มกราคม 2565 ที่ Grand Hall ชั้น 1 เดอะมอลล์ โคราช

6 มกราคม 2565 เวลา 14.00 น. ที่ Grand Hall ชั้น 1 เดอะมอลล์ โคราช พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “เทศกาลสินค้าโครงการหลวง : ดอกไม้กินได้”พร้อมด้วย พลโท สวราชย์ แสงผล แม่ทัพภาคที่ 2 นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นางณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา พลตำรวจตรี พรมณัฏฐเขต ฮามคำไพ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 คุณพัชรินทร์ เก่งกาจ หัวหน้าฝ่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์แปรรูป มูลนิธิโครงการหลวง คุณศุภวุฒิ ไชยประสิทธิ์กุล ผู้อำนวยการใหญ่บริหารสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด คุณพลอยชมพู อัมพุช ผู้จัดการใหญ่บริหารสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และ คุณชินาพัฒน์ พิมพ์ศรีแก้ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด ให้การต้อนรับ

 กลับมาส่งตรงความสด อร่อย แบบได้สุขภาพให้กับชาวโคราชและจังหวัดใกล้เคียงอีกครั้ง กับงาน “เทศกาลสินค้าโครงการหลวง” ภายในคอนเซ็บท์ “ดอกไม้กินได้” พร้อมจำลองบรรยากาศและกลิ่นอายการตกแต่งที่สวยงามเหมือนยกกาดดอยมาได้ม่วนอกม่วนใจ๋ โดยภายในงานรวบรวมสินค้าและผลิตภัณฑ์คุณภาพจากโครงการหลวงทั้ง ผัก-ผลไม้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปมากมาย กว่า 150 รายการ อาทิ ผักเคล และผักสดหลากหลายชนิด,  สตรอเบอร์รี่, เคปกูสเบอร์รี่, เสาวรส, ฟักทองญี่ปุ่น,มะเขือเทศเชอรี่, ปลาเรนโบว์เทร้าต์, ขนมปังมันเทศญี่ปุ่น มินิ, ไข่ไก่อินทรีย์โครงการหลวงที่เลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติไม่ใช้ฮอร์โมนไม่ใช้สารเร่ง, กาแฟดริปโครงการหลวง กาแฟ 100% อะราบิก้า จากแหล่งปลูกแม่ลาน้อย ที่มีสภาพอากาศเหมาะสม ปลูกภายใต้ร่มไม้ใหญ่ และสภาพหุบเขาที่โอบล้อม ทำให้ได้เมล็ดกาแฟคุณภาพ มีให้เลือก 2 แบบ คือ คั่วกลาง กับ คั่วเข้ม, เนยแข็งเฟต้า ผลิตจากนมควายผสมนมแพะ นิยมรับประทานกับสลัด บีบให้เนื้อร่วนโรยหน้าสลัด โรยหน้าพิซซ่า หรือทานกับผลไม้, ผักเคลผง สินค้าใหม่ที่คุณค่าทางโภชนาสูง อัดแน่นไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุเป็นราชินีแห่งผักใบเขียว ฯลฯ พร้อมพบกับไฮไลท์ “ดอกไม้กินได้” อาทิ ดอกเนสเตอร์เตียม (Nasturtium) มีสีขาว ครีม ชมพู เหลือง ส้ม และแดง มีกลิ่นหอม ใบมีรสเผ็ด จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Indian Cress ดอกและใบนิยมมารับประทาน เป็นผักสดมีรสเผ็ดและให้กลิ่นหอมคล้ายกับวอเตอร์เครส นิยมใส่ในสลัดเพื่อเพิ่มสีสันและรสชาติ ดอกกุหลาบ (Rose) มีหลากหลายสีสัน เช่น แดง ขาว เหลือง ชมพู ฯลฯ มีสรรพคุณช่วยลดกลิ่นตัว ขับเหงื่อ ขับสารพิษ ช่วยบำรุงหัวใจ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ กลีบบางชนิดนำมาทำเป็น “ชาดอกกุหลาบ” บางชนิดนำมาทำเป็นอาหาร เช่น นำไปยำกับเนื้อสัตว์ ชุบแป้งทอด ใส่ในไข่เจียว หรือจะทำเป็นสลัดได้เช่นกัน, ดอกบีโกเนีย (Begonia) ตัวดอกมีความกรอบชุ่มฉ่ำเหมือนผักสลัดสด ๆ มีรสชาติเปรี้ยว เหมือนยอดมะขามอ่อน เหมาะสำหรับอาหารทุกประเภทที่ต้องการตัดรสเลี่ยน หรือแม้กระทั่งทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อเติมความสดชื่นระหว่างวัน มีสรรพคุณช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร

 พร้อมกันนี้เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสและลิ้มลองความอร่อยของวัตถุดิบคุณภาพจากโครงการหลวง กูร์เมต์ มาร์เก็ต ได้รังสรรค์ 4 เมนูสุดพิเศษ โดยเชฟ You Hunt We Cook ซึ่งมีจำหน่ายเฉพาะงานเท่านั้น ได้แก่ สลัดโรลผักเคลกับดอกไม้โครงการหลวง (Salad Roll with kale Flower) ราคา 90 บาท, ผักเคลเบคอนอบครีมชีส (Bake kale & bacon cream cheese) ราคา 150 บาท, ปลาเรนโบว์เทราต์ ย่างกับซัลซ่ามะเขือเทศโครงการหลวง (Grilled Trout decorations with Cherry Tomato Salsa) ราคา 250 บาท, ปลาเรนโบว์เทราต์ ย่างซอสสมุนไพรกับข้าวโครงการหลวง (Grilled Trout with Thai Herb and Rice) ราคา 250 บาท และนอกจากนี้ภายในงานยังได้คัดสรรอาหารเหนือแบบพื้นเมืองแท้ ๆ และยังใช้วัตถุดิบจากโครงการหลวงในการปรุงเมนูมาให้ได้เลือกลิ้มลองความอร่อยมากมาย อาทิ ข้าวเหนียวงาดำ มีส่วนผสมพิเศษในส่วนของข้าวเหนียวธัญญะพืชที่ได้ใช้ งาดำ    และงาหอม ผลิตภัณฑ์จากโครงการหลวงมาเป็นส่วนผสมซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์, ข้าวซอยปลาเทร้าต์ทอด อาหารขึ้นชื่อของชาวเหนือ ใช้ปลาเทร้าต์จากโครงการหลวง ทอดในน้ำมันร้อน ๆจนเหลืองกรอบ ทานพร้อมเส้นและราดน้ำแกงข้าวซอย เพิ่มความอร่อยด้วยเครื่องเคียงต่าง ๆ, ผัดไทไข่ไก่โครงการหลวง เมนูอาหารจานเด็ดซึ่งทางร้านได้นำไข่ไก่โครงการหลวงที่ปล่อยตามธรรมชาติ ไก่ไม่เครียด ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งไม่ใช้สารเร่งสีไข่แดง เลี้ยงด้วยผลผลิตอินทรีย์ ซึ่งไข่ไก่อินทรีย์จะปลอดจากสารพิษ, น้ำพริกหนุ่ม พร้อมผักเครื่องเคียงโครงการหลวง อาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป ทำจากพริกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าพริกหนุ่มอาจจะใช้พริกหนุ่มที่แก่จัดหรือยังไม่แก่จัดก็ได้ โขลกส่วนผสม หอม และกระเทียม ที่มาย่างและรับประทาน กับ ผักโครงการหลวงสดจากดอยโดยตรง ซึ่งเป็นผักปลอดภัย และมีให้เลือกหลายหลายชนิด, กะลอจี้ ขนมกะลอจี๊เป็นขนมแป้งเหนียว ๆ สัญชาติจีน นำไปต้มจนสุก เวลาจะกินก็นำไปคลุกกับน้ำตาลทรายผสมงาขาวงาดำ จากโครงการหลวง ใส่ถั่วเพิ่มกะลอจี๊กรอบนอกนุ่มใน หอมงาและถั่ว ไปกินเล่นยามว่าง, ขนมตะโก้  ตะโก้กะทิสดมีให้เลือกกว่า 16 ไส้ โดยมีเมนูแนะนำคือไส้ ข้าวโพด, ฟักทอง, ถั่วแดง ที่สด ใหม่ จากโครงการหลวง บอกเลยว่าถ้ากินหมดนี่เบาหวานรับประทานแน่นอน,น้ำอะโวคาโดปั่น ได้คัดสรร ผลอะโวคาโด สดจากทีมโครงการหลวง มาทำน้ำอะโวคาโดปั่น ซึ่งเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายกว่า 20 ชนิด และมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก ซึ่งประโยชน์ของอะโวคาโดนั้นมีหลากหลายด้าน เช่น บำรุงสมอง บำรุงดวงตา ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ไปจนถึงประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ และอีกหลากหลายเมนูให้เลือกลิ้มลองความอร่อย

ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากโครงการหลวง และลิ้มลองความอร่อยกับหลากหลายเมนูได้ ในงาน “เทศกาลสินค้าโครงการหลวง: ดอกไม้กินได้” ตั้วันที่ 5 – 12 มกราคม 2565 ที่ Grand Hall ชั้น 1 เดอะมอลล์ โคราช

โครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพเกษตรกรรม

มทร.อีสาน เดินหน้ายกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม วิสาหกิจชุมชนภาคใต้ 14 จังหวัด เยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ได้จัดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ระหว่างวันที่ 21 – 30 ธันวาคม 2564 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการฯ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ โดยมี นายชัยวุฒิ ครุฑมาศ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ 14 จังหวัด ร่วมพิธีเปิด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นอีกประมาณ 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

ด้าน นายทวี ประหยัด ในฐานะผู้ประสานงานโครงการฯ ภาคใต้ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ ได้เข้าร่วมอบรมยกระดับอาชีพในครั้งนี้ รวม 300 กลุ่ม จาก 14 จังหวัด ระหว่างวันที่ 21 – 30 ธันวาคม 2564 โดยแบ่งกลุ่มเข้าอบรมยกระดับอาชีพ 6ด้าน ได้แก่ ด้านปศุสัตว์ (การเลี้ยงเป็ดไข่ และไก่พื้นเมือง) ,ด้านประมง ((การเลี้ยงปลาหมอไทย และปลาดุก) ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP (สบู่,ยาสีฟัน,ครีมคลายเส้น และไข่เค็ม) ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ (เห็ดนางรม และเห็ดเยื่อไผ่) ,หมอดิน New Normal (ปุ๋ยชีวภาพ แบบน้ำ และแบบแห้ง) และพืชสมุนไพร (ตำรับยาจันทลีลา และตำรับยาอภัยสาลี)

นายทวี ประหยัด กล่าวต่ออีกว่า ขอขอบคุณ มทร.อีสาน โดยเฉพาะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ ที่เปิดโอกาสให้พี่น้องวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ ได้มาเข้าอบรมเพื่อยกระดับอาชีพเกษตรกรในครั้งนี้ ซึ่งเดิมที่ต่างคนก็ทำอาชีพอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติของกลุ่ม แต่ขาดปัจจัยสนับสนุน ในวันนี้ มทร.อีสาน ได้ให้ความสำคัญในการฝึกทักษะอาชีพให้กับพี่น้องวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด เพื่อต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในโอกาสหน้าจะได้รับความเมตตาจากคณะรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้มีอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

อบจ.โคราช ร่วมสืบสานตำนานมวยพิมาย สนับสนุนการจัดการแข่งขันชกมวย “ศึกชิงแชมป์ดาวรุ่งเมืองพิมาย”

อบจ.โคราช ร่วมสืบสานตำนานมวยพิมาย สนับสนุนการจัดการแข่งขันชกมวย “ศึกชิงแชมป์ดาวรุ่งเมืองพิมาย”

วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2564 อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดงานเทศกาลเที่ยวพิมายประจำปี 2564 มีกิจกรรมหลักประกอบด้วย การแสดง แสง สี เสียง และสื่อผสม พิมายปุระ The Musical วิมายะนาฏการ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อาทิ ตลาดย้อนยุค แสดงวีถีชีวิตของคนในท้องถิ่นพิมาย และการแข่งขันชกมวย “ศึกชิงแชมป์ดาวรุ่งเมืองพิมาย” ซึ่งจัดขึ้นที่เวทีมวยชั่วคราว วัดใหม่ประตูชัย

โดยมี ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นประธานในพิธิเปิดการแข่งขัน และมีนายโกเมศ หอยมุกข์ ประธานชมรมพิมายเมืองมวย เป็นผู้กล่าวรายงาน ซึ่งการจัดการแข่งขันดังกล่าว จัดโดย ชมรมพิมายเมืองมวย ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา , มูลนิธิพิมายสงเคราะห์ เป็นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนมีความรู้ เข้าใจในศิลปะแม่ไม้มวยไทย ,ร่วมสืบสานอนุรักษ์ศิลปะแม่ไม้มวยไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย, และส่งเสริมให้เยาวชน ตลอดจนผู้สนใจได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งสร้างอาชีพให้กับตนเองและครอบครัว สู่การเป็นนักกีฬาดาวรุ่งของประเทศชาติในอนาคต

การจัดการแข่งขันชกมวย “ศึกชิงแชมป์ดาวรุ่งเมืองพิมาย” ในครั้งนี้ มีทั้งสิ้น 24 คู่ โดยแยกเป็นนักมวยฝึกใหม่ไม่มีประสบการณ์จำนวน 10 คู่ นักมวยที่มีประสบการณ์ปานกลาง จำนวน 8 คู่ และนักมวยอาชีพ จำนวน 6 คู่ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ประสบผลสำเร็จได้รับการตอบรับจากประชาชนทั่วไปเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก