พิธีการถวายทุนการศึกษาพระภิกษุ สามเณร ผู้สอบได้ประโยคบาลีสนามหลวง ประจำปี ๒๕๖๖ ของคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา มหานิกายและธรรมยุต

พิธีการถวายทุนการศึกษาพระภิกษุ สามเณร ผู้สอบได้ประโยคบาลีสนามหลวง ประจำปี ๒๕๖๖ของคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา มหานิกายและธรรมยุต

วันจันทร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น ณ ศูนย์การค้า เทอร์มินอล 21 โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณ พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา และเจ้าคณะพระสังฆาธิการเคารพอย่างสูง ทุกรูป และดร.พรพนา แสนการุณ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา นายกพุทธสมาคมอำเภอฯ และผู้นำองค์กรเครือข่าย ตลอดถึงผู้มีเกียรติ   โดยครั้งนี้ พันเอกนเรศ พิลาวรรณ นายกพุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูง ที่ให้ความเมตตามาเป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษา ในวันนี้

ทั่วโลกได้ยกย่องประเทศไทยว่า เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก รวมถึงการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่สู่การปฏิบัติของประชาชน สิ่งสำคัญที่จะทำให้การเผยแผ่มีคุณภาพ คือพระภิกษุ สามณร  หากศาสนทายาทเหล่านี้ ไม่มีความรู้ที่ถูกต้องตามหลักคำสอนแล้ว ย่อมจะเกิดความคลอนแคลนแก่พระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพระขาดอาจาระที่สมควร หรือพุทธศาสนิกชน ขาดศีลธรรมในจิตใจ

การศึกษาของพระสงฆ์จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยหนุนนำให้พระภิกษุ สามเณร มีคุณภาพ ซึ่งการศึกษาที่มีส่วนสำคัญที่สุดคือ การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ถือเป็นหัวใจของการเป็นพระภิกษุ สามเณร เพราะการศึกษาพระไตรปีฎก พระภิกษุ สามเณร จะต้องมีความรู้ด้านภาษาบาลี โดยคณะสงฆ์ได้สนับสนุนส่งเสริมให้มีการเรียนและการสอน บาลีสนามหลวง ตั้งแต่ ประโยค ๑ – ๒ จนถึงประโยคเปรียญธรรม ๙ ประโยค ในการสร้างคุณภาพของพระภิกษุ สามเณรนั้น พุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา มีความปรารถนาให้พระภิกษุ สามเณร ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาภาษาบาลี เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกที่เป็นความรู้ทางธรรมควบคู่กันไป จึงจะเป็นพระดีที่สมบูรณ์ มีความรู้นำไปสั่งสอนพุทธศาสนิกชนได้

พุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา จึงได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยการสนับสนุนทุนการศึกษา ถวายแด่พระภิกษุ สามเณร ผู้สอบได้ประโยคบาลี สนามหลวง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมา เว้นในห้วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด – ๑๙ จำเป็นต้องหยุดไปตามมาตรการของรัฐบาลในปีนี้ ๒๕๖๖ นี้ พุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา พุทธสมาคมอำเภอฯ ร่วมกับยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมา, มูลนิธิพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา , เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ สาขา จังหวัดนครราชสีมา , สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สาขานครราชสีมา , ชมรมนักบิณฑ์ภูธรนครราชสีมา สหมิตรเจริญธรรม 19 ตลอดทั้งองค์กรเครือข่ายอื่นๆ จึงได้ร่วมกันจัดการถวายทุนการศึกษาฯ ขึ้น จำนวน ๘๕ ทุน และบาลีศึกษา จำนวน ๖ ทุน การดำเนินการในครั้งนี้ ได้รับความเมตตาเป็นอย่างสูงจาก คณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช เอื้อเฟื้อสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆตลอดถึง องค์กรเครือข่าย ชมรมฯ สมาชิกฯและประชาชนทั่วไปอย่างดียิ่ง ขออนุโมทนาสาธุในมหากุศลครั้งนี้

บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขอกราบนิมนต์พระเดชคุณท่านได้เมตตากล่าวสัมโมทนียกถา แด่ผู้ถวายทุนการศึกษา และผู้รับทุนการในครั้งนี้ จากนั้นจะได้รับมอบปัจจัย, มอบเกียรติคุณแด่ผู้ถวายทุน และมอบทุนการศึกษาแด่ผู้สอบได้ ประจำปี ๒๕๖๖ ในลำดับต่อไป

ชมภาพ แสง สี เสียง ชุด ศรัทธาแห่งพิมาย /วันแรกนักท่องเที่ยวคึกคักในงาน เทศกาลเที่ยวพิมาย


วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ที่ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย นายสยาม ศิริมงคล 

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา 

เป็นประธานเปิดงานเทศกาลเที่ยวพิมาย

พร้อมชมการแสดงแสงสีเสียง ชุดศรัทธาแห่งพิมาย วันแรกโดยมีนางอรจิราศิริมงคลนายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา 

            หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ รองนายก อบจ. ส.อบจ. เขต พิมาย ร่วมในพิธีเปิดเทศกาลเที่ยวพิมาย 2566 

                   และร่วมรับชมการรำบวงสรวงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7   ก่อนเริ่มการแสดงแสง สี เสียง

โคราชเตรียมจัดสร้างพระพุทธนครราชสีมาภิรักษ์ เนื่องในโอกาสเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี

โคราชเตรียมจัดสร้างพระพุทธนครราชสีมาภิรักษ์ เนื่องในโอกาสเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี

168971

นายสยาม ศิริมงคล  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา   เปิดเผยว่า  จังหวัดนครราชสีมา  โดยคณะกรรมการจัดงานสมโภส 555 ปี  เมืองนครราชสีมา มีมติให้จัดสร้างพระบูชาเพื่อเป็นที่ระลึก เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิประทับบนฐานสิงห์ ซึ่งออกแบบจากการศึกษาพุทธศิลป์ที่ปรากฏในจังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ตั้งเมืองย้อนไปเมื่อ 555 ปี ก่อน (สมัยอยุธยาตอนต้นถึงตอนปลาย) ซึ่งดำเนการออกแบบ ปั้นต้นแบบ  หล่อพระโดยอาจารย์กิตติชัย  ตรี รัตน์วิชชา  ศิลปินอิสระชาวนครราชสีมา และได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดประทานนามว่า “พระพุทธนครราชสีมาภิรักษ์” เพื่อเป็นที่สักการะบูชาแห่งพุทธศาสนิกชนสืบไป  สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี  นำรายได้หลังหักคำใช้จ่ายไปจัดสร้างพระพุทธรูป ขนาดหน้าตัก 32นิ้ว เพื่อประดิษฐาน ณ อาคารศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา (หลังใหม่)

                                              สามารถสอบถามละเอียดเพิ่มเติมได้ที่                                                               ศูนย์ประสานงานเพื่อสาธารณะประโยชน์และการกุศลจังหวัดนครราชสีมา โทร : 044-259988 , 044-257723                             ที่ทำการปกครองจังหวัดนครราชสีมา โทร : 044-242102 , 044-244252 , 044-24202

พิธีมอบรางวัล “เพชรสาธร Sathorn Award”

พิธีมอบรางวัล “เพชรสาธร Sathorn Award”

พิธีมอบรางวัล “เพชรสาธร Sathorn Award” ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล หน่วยงาน/องค์กร เนื่องในโอกาสสมโภชเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี วันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 10.00 น. ณ เทอร์มินอลฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

พิธีเปิดงาน
นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธี เดินทางมาถึงการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน รำโทนโคราช จำนวน 55 คน โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ องค์การบริหารส่วจังหวัดนครราชสีมา
การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพลงโคราช โดยนายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์ (กำปั่น บ้านแท่น) ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ สาขาศิลปะการแสดงเพลงโคราช และสมาคมเพลงโคราช
นายไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานประธานในพิธีมอบรางวัล “เพชรสาธร Sathorn Award” จำนวน 155 รางวัล ดังนี้

  1. ประเภทบุคคล : ผู้นำทางศาสนา จำนวน 17 รางวัล ได้แก่
    1.1 ด้านสงเคราะห์ประชาชนและชุมชน
    * พระพรหมวชิรนายก
    * พระเทพสีมาภรณ์
    * พระราชวชิราลังการ
    * มุขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์
    * หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
    * พระครูวิสิฐสุตาลังการ
    * พระครูโสภณธรรมวิสุทธิ์
    * พระครูปลัดนายกวัฒน์ (เอกรินทร์ ธมฺมรํสี)
    * พระครูปลัดธนภัทร อุตตมปญฺโญ
    * พระอธิการเสกสรร คเวสโก
    * พระปลัดสิทธิพงษ์ โสภณจิตโต
    1.2 ด้านส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมทางศาสนา
    * พระอุดมธีรคุณ
    * พระครูวินัยธรวรวุฒิ วรวุฑฺฒิเมธี
    * พระครูสังฆพิพัฒน์
    1.3 ด้านส่งเสริมการศึกษาศาสนา
    * พระศรีวชิรานุวัตร
    1.4 ด้านการศึกษาสงเคราะห์
    * พระครูปลัดศรัทธาวัฒน์
    1.5 ด้านส่งเสริมกิจการศาสนา
    * พระครูพุทธธัชธำรง

2. ประเภทบุคคล : เด็กและเยาวชน จำนวน 18 รางวัล
2.1 ด้านการศึกษา
* นางสาวนพลักษณ์ ประเสริฐศรี
* เด็กหญิงสิมิลัน จิระเจริญสุวรรณ
2.2 ด้านคุณธรรมจริยธรรม
* นายจตุรวิชญ์ ปาโผ
* เด็กหญิงศุภนิดา เผ่าเสถียรพันธ์
2.3 ด้านจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์
* นายสุกฤษฎิ์ ชูโคกกรวด
* นางสาวอริสรา แต่งกระโทก
2.4 ด้านดนตรี
* นางสาวกานต์หทัยชนก ขอผลกลาง
* เด็กหญิงริรชา พรเดชาพิพัฒ
* เด็กหญิงหทัยทิพย์ วรสาร
2.5 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
* เด็กหญิงตะวันฉาย จิระเจริญสุวรรณ
2.6 ด้านวรรณกรรม/วรรณศิลป์
* นายอรรถชัย โชติกลาง
2.7 ด้านศิลปะ
* นางสาวจิดาภา ทองมาก
* นางสาวณัฏฐณิชา เจริญพจน์
* นายธีร์จุฑา ฉอสันเทียะ
* นางสาวสิริวิมล อินทรหะ
2.8 ด้านศิลปะการแสดง
* นายจิรวัฒน์ เกตุจังหรีด
* เด็กหญิงศุภรดา เผ่าเสถียรพันธ์
* เด็กหญิงอันดามัน จิระเจริญสุวรรณ

3. ประเภทบุคคล : ประชาชนทั่วไป จำนวน 75 รางวัล
3.1 ด้านกฎหมายและยุติธรรม
* พลตำรวจโท สมประสงค์ เย็นท้วม
3.2 ด้านกีฬาและนันทนาการ
* จ่าสิบเอก สุริยา ปราสาทหินพิมาย
* จ่าอากาศเอก เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร
* พันโท สมจิตร จงจอหอ
* พันโทหญิง อุดมพร พลศักดิ์
3.3 ด้านการศึกษา
* นางจันทร์จิรา ฉอสันเทียะ
* นายฉัตรตรา แบบจันทึก
* นายชูชีพ แรงใหม่
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต.ศิริวัฒนา
* นายประยงค์ ประทุมวัน
* นางประไพศรี สุภา
* นางปราณี วงษ์ชวลิตกุล
* นายรังสีสวุฒิ สุวรรณโรจน
* นายวิลาศ ดวงเงิน
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิโรจน์ ลิ้มไขแสง
* นายสุพล จอกทอง
* รองศาสตราจารย์อนันต์ ทองระอา
3.4 ด้านการท่องเที่ยว
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฏฐินี ทองดี
* นายไพบูลย์ พฤกษ์พนาเวศ
* นางวัชรี ปรัชญานุสรณ์
3.5 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
* ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก
* นายแพทย์ชัชวาล ลีลาเจริญพร
3.6 ด้านการเมืองการปกครอง
* นางยลดา หวังศุภกิจโกศล
* นายรักชาติ กิริวัฒนศักดิ์
* นายวิเชียร จันทรโณทัย
* นายศิวะเสก สินโทรัมย์
3.7 ด้านความมั่นคง
* พลเอก สนั่น มะเริงสิทธิ์
* พลโท สวราชย์ แสงผล
3.8 ด้านคุณธรรมจริยธรรม
* นายโกศล สมจินดา
3.9 ด้านจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์
* นายทองอินทร์ หาญณรงค์
* นางปทุม พรรพิสุทธิ์
* นางสาวปาณิสรา จันทรัตน์
* นายศุภรัตน์ ภู่เจริญ
* นางเอมอร ศรีกงพาน
* ร้อยโท ภูวนารถ คะเรรัมย์
* นายอิทธิพล คัมภิรานนท์
3.10 ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเทือง จินตสกุล
3.11 ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทักษ์ชัย จัตุชัย
* นายเมตต์ เมตต์การุณจิต
3.12 ด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน
* นายกำภู ภูริภูวดล
*นายบัณฑิต ตั้งประเสริฐ
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิเชียร ก่อกิจกุศล
3.13 ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
* นายจันทร์ที ประทุมภา
* นายเบี้ยน สิงห์ทะเล
* นายรพี ทิมอุดม
* นางหนูจีน ศรีนมมัง
* นายอรุณ ขันโคกสูง
3.14 ด้านศิลปะ
* นายกิตติชัย ตรีรัตน์วิชา
* นายเฉลิมเกียรติ ชวประพันธ์
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยารัฐ จุลสุคนธ์
* นายทวี รัชนีกร
* นายนิมิตร พิพิธกุล
* นายบรรเจิด เหล็กคง
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเกิด ศรีสุขา
* นางมารศรี มิ่งศิริรัตน์
* นายวีระยุทธ เพชรประไพ
* นายศราวุธ ดวงจำปา
* นายสันติ พิเชฐชัยกุล
* นายสุริชัย ศิริบูรณ์
* ศาสตราจารย์สามารถ จับโจร
3.15 ด้านศิลปะการแสดง
* นายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์
* นายบุญสม สังข์สุข
3.16 ด้านศิลปวัฒนธรรม
* นายทูลทองใจ ซึ่งรัมย์
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง
3.17 ด้านศิลปิน ดารา นักร้อง นักแสดง นางงาม
* นางทิม สอนนา
* นายธงชัย ประสงค์สันติ
* นายพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
* นายมนัสวิน นันทเสน
* นางสาววรัทยา นิลคูหา
* นางสาวแอนโทเนีย โพริ้ว
3.18 ด้านสถาปัตยกรรม ผังเมือง
* รองศาสตราจารย์นิคม บุญญานุสิทธิ์
3.19 ด้านสงเคราะห์ประชาชน
* รองศาสตราจารย์นิภาพรรณ ศรีพงษ์
3.20 ด้านส่งเสริมศาสนา
* นายชุณห์ ศิริชัยคีรีโกศล
* นางสาวปพิชญา ณ นครพนม
* พลเอก ไพบูลย์ กาญจนพิบูลย์
4. ประเภทหน่วยงาน/องค์กร จำนวน ๔๕ รางวัล
4.1 ด้านกีฬาและนันทนาการ
* สโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา
4.2 ด้านการศึกษา
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
* มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
* มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
* โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์
* โรงเรียนบุญวัฒนา
* โรงเรียนบ้านต่างตา
* โรงเรียนบ้านเขว้า
* โรงเรียนบ้านมะค่า
* โรงเรียนบ้านหนองบัวศาลา
* โรงเรียนปากช่อง
* โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
* โรงเรียนสุรนารีวิทยา
* โรงเรียนเสิงสาง
* โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา
* วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
* ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา
* องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
4.3 ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี
* เทศบาลเมืองเมืองปัก
4.4 ด้านการบริหารจัดการองค์กรและการจัดบริการสาธารณะ
* เทศบาลตำบลเสิงสาง
4.5 ด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
* เทศบาลตำบลวังหิน
4.6 ด้านการป้องกันปราบปราม
* ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา
4.7 ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
* เทศบาลนครนครราชสีมา
4.8 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
* สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
4.9 ด้านการเมืองการปกครอง
* ที่ทำการปกครองอำเภอลำทะเมนชัย
4.10 ด้านความมั่นคง
* กองทัพภาคที่ ๒
4.11 ด้านคุณธรรมจริยธรรม
* ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ โคราช
4.12 ด้านศาสนา และวัฒนธรรม
* ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช
* พุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา
* วัดหนองรังกา
4.13 ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
* วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา
* สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
* สมาคมเพลงโคราช
4.14 ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว
* สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา
4.15 ด้านสังคมสงเคราะห์สาธารณประโยชน์
* มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาจังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา
* มูลนิธิฮุก ๓๑ นครราชสีมา
* โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
* โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
* วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
* ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช
* สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา
* หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา
* สมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดนครราชสีมา
* องค์การบริหารส่วนตำบลอุดมทรัพย์

นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวให้โอวาท

ถ่ายภาพร่วมกัน, ชมนิทรรศการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล หน่วยงาน/องค์กร และนิทรรศการน้อมรำลึก, ชมการสาธิต “๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” รสชาติที่หายไป The Lost Taste เมี่ยงคำ (โคราช) และ ชมกิจกรรมตลาดบกส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี

—–

ประวัติเมืองนครราชสีมา

แสงเทียนแห่งศรัทธา แห่เทียนพรรษาเมืองโคราช

แสงเทียนแห่งศรัทธา แห่เทียนพรรษาเมืองโคราชเทศกาลแห่เทียนพรรษา

เมื่อตอนค่ำวันที่ 2 สิงหาคม 2566 นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
พลโท สวราชย์ แสงผล แม่ทัพภาคที่ 2 ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2566 ของจังหวัดนครราชสีมา ในชื่องาน Korat : The City of Candle Light “แสงเทียนแห่งศรัทธา แห่เทียนพรรษาเมืองโคราช”

โดยมี นาย สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี

งาน“แสงเทียนแห่งศรัทธา แห่เทียนพรรษาเมืองโคราช” จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ รอบเขตเมืองโคราชเป็นระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมความสวยงามอลังการต้นเทียนพรรษาที่วิจิตรตระการตาแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของโคราชที่ส่งเข้าประกวดชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีพร้อมสีสันขบวนแห่ต้นเทียนสไตล์คาร์นิวัล ซึ่งกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-4 ส.ค. โดยปิดถนนรอบลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี 4 วัน จัดรูปแบบถนนคนเดินให้เป็นแลนด์มาร์ค

 “งานแห่เทียน” ที่ยิ่งใหญ่ของภาคอีสาน ณ บริเวณรอบลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

 

 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมตรี มอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดและชมการแสดงแสงสีแสงบริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา โดยนายศุภภิมิตร เปาริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมมอบถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดด้วย

ผลการประกวดต้นเทียนพรรษาโคราช ประจำปี 2566 “แสงเทียนแห่งศรัทธา แห่เทียนพรรษาเมืองโคราช” Korat : The City of Candle Light” จัดโดยเทศบาลนครนครราชสีมา
ประเภท

ชนะเลิศ วัดใหม่สระประทุม อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา (แชมป์ 14 ปี) ได้รับเงินรางวัล 95,000 บาท พร้อมถ้วยพระราชทาน
อันดับ 2 วัดนอก อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ได้รับเงินรางวัล 90,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล
อันดับ 3 วัดเดิม อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ได้รับเงินรางวัล 75,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล
ประเภท ข
ชนะเลิศ วัดเก่าประตูชัย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ได้รับเงินรางวัล 60,000 บาท พร้อมถ้วยพระราชทาน
อันดับ 2 วัดใน (วัดศรีพุทธาราม) อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล
อันดับ 3 วัดใหม่ประตูชัย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ได้รับเงินรางวัล 45,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

แห่เทียนพรรษาโคราชปี 2566

แห่เทียนพรรษาโคราชปี 2566

วันนี้ 2 ส.ค. วันเข้าพรรษาโคราชเชิญชมความงดงามของขบวนแห่เทียนพรรษา ทั้งประเภท ก และ ประเภท ข ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ในงาน”แสงเทียนแห่งศรัทธา” ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เทศบาลนครนครราชสีมา 1-4 สิงหาคม 2566 และวันที่ 2 สิงหาคม นี้พบขบวนแห่ เทียนรอบเขตเทศบาลเมืองโคราช

“แสงเทียนแห่งศรัทธา แห่เทียนพรรษาเมืองโคราช” Korat : The City of Candle Light

ขบวนรถเทียนพรรษา และขบวนแห่ ออกจากถนนราชดำเนิน บริเวณหน้าลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ไปยังถนนต่าง ๆ ดังนี้

1. ถนนมหาดไทย
2. ถนนจอมสุรางค์ยาตร์ ถึงปั้มน้ำมัน เลี้ยวขวาไปถนนโยธา
3. ถนนสุรนารี
4. ถนนราชดําเนิน
5. ถนนอัษฎางค์
6. ถนนประจักษ์
7. แยกศาลหลักเมือง เลี้ยวขวาไปยัง
8. ถนนจอมพล ตรงไปสุดถนนแล้วเลี้ยวซ้ายไปยัง
9. ถนนชุมพล

ขบวนต้นเทียนพรรษาเข้าจอดถนนราชดำเนิน หน้าลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เส้นเดียว ทั้ง 12 ขบวนต้นเทียน

AMAZING MUAY THAI EXPERIENCE เปิดโครงการ มวยไทย 4 สาย รากเหง้ามวยสู่การท่องเที่ยวมวยไทย

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ เวลา 19.00 น. บริเวณด้านหน้า ห้างสรรพสินค้า Central Plaza Nakhonratchasima จังหวัดนครราชสีมา

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธีเปิดโครงการสร้างสรรค์เส้นทางประสบการณ์ท่องเที่ยวมวยไทย (Amazing Muay Thai Experience)

เพื่อนำเสนอประสบการณ์เส้นทางสายมวยไทยไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวและกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง พร้อมทั้งยังใช้ Soft Power ด้านกีฬามวยไทย

เพื่อต่อยอดเศรษฐกิจในประเทศอย่างสร้างสรรค์ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ ซึ่งมีกำหนดจัดใน 4 พื้นที่ ตามสายของมวยไทย ประกอบด้วย มวยไชยยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มวยโคราช จังหวัดนครราชสีมา มวยท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ และมวยลพบุรี จังหวัดลพบุรี

โดยมี นายณัฐ ครุฑสูตร ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท. นายสมปอง จันทรี ผู้อำนวยการสำนักงาน การกีฬาแห่งประเทศ ไทย ภาค 3 นางสาวธีรารัตน์ ร่มรื่น ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมา และหัวหน้าส่วนราชการอื่นๆร่วมพิธีเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

#เทศกาลไหว้พระนอน ประจำปี 2565
13 – 15 กรกฎาคม 2565อายุกว่า1,300ปี

วันนี้(14ก.ค.65) เวลา 17.00น.นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานประกอบพิธีบวงสรวง และอัญเชิญผ้าห่มพระพุทธไสยาสน์พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยร่วมอัญเชิญบายศรี ดอกไม้บูชาพระนอน และกระทำพิธีห่มผ้าพระพุทธไสยาสน์ ณ วัดธรรมจักรเสมาราม ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมาพร้อมรองนายกและสมาชิกเหล่ากาชาด นายกอบจ.นครราชสีมา หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดและอำเภอสูงเนิน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสูงเนิน กลุ่มแม่บ้านสตรี และประชาชนเข้าร่วมงานจำนวนมาก โดยก่อนเริ่มพิธีการมีการรำถวายบูชาพระนอนโดยสตรีชาวสูงเนินกว่า 300คน จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้ทำพิธีเปิดงานเทศกาลไหว้พระนอน ประจำปี 2565

นายไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงได้มีแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากปัญหาดังกล่าว และผ่อนคลายมาตรการเฝ้าระวัง การแพร่ระบาด เพื่อให้ประชาชนทยอยกลับมาใช้ชีวิตปกติ
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชราชสีมา ได้กำหนดนโยบายระยะสั้น ระยะยาว 8 + 13 และเล็งเห็นทุนทางวัฒนธรรม เป็นรากฐานที่ใหญ่ที่สุด เป็น Soft Power ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับอำเภอสูงเนิน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา และวัดธรรมจักรเสมาราม จัดงานเทศกาลไหว้พระนอน ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม 2565 เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีสักการะพระพุทธไสยาสน์ศิลา สมัยทวารวดี อายุ 1,300 ปี ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองวัฒนธรรมอารยธรรมขอมโบราณ นำทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นทั้งภูมิสังคม ภูมิปัญญา และภูมิทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ให้เกิดคุณค่า และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย กิจกรรมทางศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ การประกวดอาหารท้องถิ่นและการแต่งกายผ้าพื้นเมืองประยุกต์ การเสวนาวิชาการ ขบวนอัญเชิญผ้าห่มพระพุทธไสยาสน์พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ขบวนอัญเชิญบายศรี ดอกไม้บูชาพระนอน รำถวายบูชาพระนอนของสตรีชาวอำเภอสูงเนิน กว่า 300 คน พิธีห่มผ้าพระพุทธไสยาสน์ การเดินแบบผ้าไทย/ผ้าพื้นเมือง การแสดงดนตรีและศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการแสดงแสง สี เสียง การจัดนิทรรศการ การสาธิต และจำหน่ายสินค้าชุมชนท้องถิ่น

วัดธรรมจักรเสมาราม ตั้งอยู่ที่บ้านคลองขวาง ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน แต่เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานในสมัยทวารวดี มีโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระนอนหินทราย พระพุทธรูปปางไสยาสน์ อายุกว่า 1,300 ปี ที่วัดแห่งนี้ยังมีธรรมจักรเก่าแก่ ลักษณะเหมือนเสมาธรรมจักร ที่ขุดพบที่จังหวัดนครปฐม นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาวัดธรรมจักรเสมารามยังสามารถไปเยี่ยมชมโบราณสถานในบริเวณใกล้เคียง คือโบราณสถานเมืองเสมา เมืองโบราณที่เชื่อว่าน่าจะเป็นชุมชนเก่าก่อนที่จะย้ายมาที่ตัวเมืองนครราชสีมาปัจจุบัน
Cr;สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา

เรื่มแล้ว !เปิดประวัติศาสตร์เวียนเทียนโคราชยิ่งใหญ่อลังการ

เปิดประวัติศาสตร์เวียนเทียน รอบอนุสาวรีย์ย่าโม ยิ่งใหญ่อลังการ

ปีนี้นายกฯ ประเสริฐ บุญชัยสุข จัดงานเวียนเทียนรอบพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอันเชิญมาจากวัดพระนารายณ์ มาประดิษฐาน หน้าลานอนุสาวรีย์ย่าโม โดยเป็นการเวียนเทียนเดินรอบลานอนุสาวรีย์ย่าโม ซึ่งถือเป็นครั้งแรและเป็นประวัติศาสตร์ของเมืองโคราช และเป็นการเวียนเทียนที่มีคนมากที่สุด

วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 เวลา 18.00 น.นายเทวัญ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา อดีตรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา เป็นประธานในพิธีเวียนเทียนรอบพระบรมสารีริกธาตุ ณ ลานอนุสาวรีย์ย่าโม เป็นครั้งแรก โดยมี นายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา พร้อมพี่น้องประชาชนชาวโคราชจำนวนมาก

ส่วนพรุ่งนี้ วันเข้าพรรษา ตอนเย็นขอเชิญพี่น้องประชาชน ไปร่วมงานแห่เทียนเข้าพรรษา โดยเทศบาลนครนครราชสีมา ได้จัดขบวนแห่เทียนเป็นประจำทุกปี แต่เราว่างเว้นจากการจัดงานแห่เทียน 2-3 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด ซึ่งโอกาสดีตอนนี้รัฐบาลเปิดประเทศแล้ว เปิดโอกาสอนุญาตให้จัดกิจกรรมแล้ว หลังจากสถานการณ์โควิดดีขึ้น จังหวัดนครราชสีมา โดยนายกฯ ประเสริฐ บุญชัยสุข ก็ได้จัดงานแห่เทียนเข้าพรรษาจัดยิ่งใหญ่ ไม่แพ้จังหวัดอื่น ก็อยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวโคราช ไปร่วมเวียนเทียนและชมขบวนเทียนเข้าพรรษา ประจำปี 2565 ณ ลานอนุสาวรีย์ย่าโม ต้นเทียน อันสวยงาม ซึ่งมีหลายตำบล อำเภอ ส่งเทียนพรรษาเข้าประกวดกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พี่น้องประชาชนชาวโคราชทุกคนให้ความร่วมมือในการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกคน เพื่อป้องกันการระบาดโควิด-19 และร่วมเวียนเทียนรอบอนุสาวรีย์ย่าโม และรอบบุษบกพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปพระมหาจักรพรรดิ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ 4 รูปเจริญพระพุทธมนต์ บริเวณลานศาลาพิธีลานอนุสาวรีย์ย่าโม โดยมีพี่น้องประชาชนพุทธศาสนิกชน นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ มาร่วมเวียนเทียน ต่างสวมใส่เสื้อผ้าโทนสีขาวร่วมงานจนเต็มลานอนุสาวรีย์ย่าโม

“สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ศึกษาแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงท่องเที่ยวภูมิภาค และดูงานชุมชนคุ้ม บางกะเจ้า”

วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 10.30 นคณะศึกษาดูงานนำโดยดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์นายกสภา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาและคณะกรรมการร่วมกับภาคีเครือข่าย ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา เดินทางศึกษาดูงานโครงการในพระราชดำริ คลองลัดโพธิ์อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ โดยนายวัชระ เติมวรรธนภัทร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง พร้อมด้วยคุณชัย อรุณานนท์ชัย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ และคณะผู้บริหารอพท. ให้การต้อนรับเตรียมคณะวิทยากรให้ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อมโยงท่องเที่ยวชุมชน อย่างยั่งยืน แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบางกระเจ้า และการบริหารการจัดการการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับภาครัฐ รวมทั้งการดำเนินงานขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม กรีน เขื่อนลัดโพธิ์ นอกจากนี้คณะดูงานร่วมกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวสำคัญพื้นที่บางกะเจ้า

การมีส่วนร่วมรัฐฯ ร่วมชุมชนได้รับการสนับสนุนการให้ความรู้จากกิจกรรมสำคัญของชุมชนคุ้มบางกระเจ้าโดย นายสำเนาว์ รัศมิทิต นายกอบต.บางน้ำผึ้ง ร่วมกับผู้นำชุมชนกำนัน,ผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านในชุมชนในพื้นที่ แนะนำให้การต้อนรับและประสานงานนำกิจกรรมเด่นจากเครือข่ายคุ้มบางกระเจ้า จัดกิจกรรมสร้างฐานความรู้ ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น 4 ประเภทให้คณะผู้มาศึกษาดูงาน จากจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกิจกรรมอาทิ การทำเสื้อมัดย้อม, วิธีการทำลูกประคบสมุนไพร ,การทำขนมห่อใบจาก และน้ำสมุนไพร จากผลผลิตในท้องที่ คณะผู้ศึกษาดูงาน ครั้งนี้ได้รับรู้และได้ข้อมูลหลายอย่าง พร้อมเยี่ยมชมตลาดบางน้ำผึ้ง ตลาดชุมชนที่มีขนาดใหญ่สร้างเศรษฐกิจแก่ชาวบ้าน เป็นชุมชนตัวอย่างระดับประเทศ ท้ายสุดของรายการคณะผู้ศึกษาได้ชมสวนสาธารณะ ศรีนครเขื่อนขันธ์ สวนพฤกษชาติขนาดใหญ่กลางกรุงปอดของชุมชนเมืองติดกรุงเทพฯ

จากการศึกษาดูงานดร. วัชรี ปรัชญานุสรณ์ นายกสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา กล่าวภายหลังจากการศึกษาดูงานครั้งนี้ว่า การเดินทาง จากการแลกเปลี่ยน การเรียนรู้การท่องเที่ยวชุมชนทำให้เกิดการสืบสานแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรมระหว่างจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดนครราชสีมาโดยจะทำโครงการร่วมมือบ้านพี่เมืองน้อง ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนในพื้นที่คุ้มบางกระเจ้าและการสนับสนุนจากอพทรวมถึงทททที่ได้สร้างโอกาสให้กับคณะผู้ศึกษาดูงานได้เกิดความรู้ใหม่ๆเกิดการเชื่อมโยงแนวทางความรู้และความคิดเพื่อนำมา สู่ความร่วมมือกัน ใน 2 พื้นที่บ้านพี่เมืองน้อง ขยายตลาดการท่องเที่ยว เศรษฐกิจชุมชน ร่วมกันในโอกาสต่อไป

.

.