พุทธาภิเษกปู่ทวด-พ่อพัฒน์ ร่วมกฐินมหากุศลหมากปริญ วัดพระยาสุเรนทร์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สืบสานบุญกฐินมหามงคล… พิธีพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวด-หลวงพ่อพัฒน์ ณ วัดพระยาสุเรนทร์…กับหมากปริญไหว้หลวงปู่ทวดใหญ่ในสุดกรุงเทพ

วัดพระยาสุเรนทร์สร้างราว พ.ศ.2425 โดยพันตรี พระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงหเสนี) ได้จัดสรรที่ดินส่วนหนึ่งประมาณ 48 ไร่ สร้างวัดขึ้น และได้ทำพิธีวางศิลาประจำวัดในวันอังคารขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ร.ศ. 101 ต่อมาทำหนังสือทูลเก้าถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันพุธ แรม 1 ค่ำเดือน 11 พ.ศ.2431 ถึงปัจจุบันวัดมีอายุยาวนาน 139 ปี

ปัจจุบันพระสิทธิสิงหเสนีเจ้าอาวาสวัดพระยาสุเรนทร์สืบเชื้อสาย สิงหเสนีโดยมารดา พระนักพัฒนาที่เสื่อมใสศรัทธาจากชาวบ้านคลองสามวา,พัฒนาชุมชน,สังคมสิ่งแวดล้อม การศึกษาร่วมชุมชนและพัฒนาพื้นที่วัดสร้างอุทยานหลวงปู่ทวดยิ่งใหญ่มีลักษณะ”หลวงปู่ทวดนั่งบนเรือกอ” มีความกว้างหน้าตัก 16 เมตร สูง 32 เมตร

   ในปี 2564เทศกาลบุญกฐินทานวาระมหามงคล,ทางคณะกรรมการวัดพระยาสุเรนทร์กำหนดพิธีมหามงคล 2 วาระ วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2564 เวลา 13.24 นาทีเริ่มพิธี พลตรีหม่อมราชวงศ์วัยวัฒน์ จักรพันธุ์ ประธานคณะศิษย์วัดพระยาสุเรนทร์ประธานจุดเทียนถวายพระพุทธ

  พิธีพุทธาภิกเษกวัตถุมงคลพระผงหลวงปู่ทวด – หลวงพ่อพัฒน์

“รุ่นเจ้าพระยานาหมื่น” ณ อุทยานหลวงปู่ทวด ได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อพัฒน์ ปุญญากาโม (พระราชมงคลวัชราจารย์) เจ้าอาวาสวัดธารทหาร (ห้วยด้วน) จังหวัดนครสวรรค์ ประธานอุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ในพิธีคุณเบลล่า ราณีศิลปินดาราชื่อดังละครออเจ้าและคุณแม่ปราณี แคมเปน ประธานจุดเทียนชัยถวายหลวงพ่อพัฒน์ในการนั่งอธิษฐานจิตร่วมคณะพระสงฆ์ 9 รูปร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลหลวงปู่ทวด – หลวงพ่อพัฒน์ การจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อสมทบทุนสร้างสาธารณะประโยชน์บำรุงเสนาสนะพระภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งนำวัตถุมงคลมอบแก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาธรรมบุญกฐินวัดพระยาสุเรนทร์

 และวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2564 เวลา 13.09 นาที พิธีทอดกฐินทานประจำปี ของคุณหมากปริญ สุภารัตน์ประธานทอดกฐินโดยคุณพรีม รณิดา เตชสิทธิ์ ผู้จัดการส่วนตัวหมากปริญและคุณแพร ภรณีมณี เมษสิทธิ์สิริ ศิลปินดาราละครพร้อมคุณ คิมหันต์ ตลับนาค เลขานุการประจำคณะธรรมาธิการฝ่ายพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนประจำรัฐสภา และเจ้าภาพกองกฐินที่ร่วมบุญกฐินทุกท่าน ได้ปัจจัยยอดกฐินวัดพระยาสุเรนทร์ปี 2564 รวม 711,326 บาท ท่านที่มาเยี่ยมชมภายในวัดพระยาสุเรนทร์ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ 5 ประเทศจากศรีลังกา อินเดีย เนปาล พม่า และ ไทย ชมบรรยากาศกลิ่นอายท่าน้ำชุมชนและตลาดน้ำวัดพร้อม ขอพรไอ้ไข่ วัดพระยาสุเรนทร์ รับบุญรับโชคเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวต่อไป

กฐินมหากุศล ณวัดเขาหมาก ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดบึงพระอารามหลวง

กฐินมหากุศล ณวัดเขาหมาก ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดบึงพระอารามหลวง บ้านดงมะไฟหมู่ 8 ตำบลมะเกลือใหม่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา


วันที่ 31 ตุลาคม 2560 4 เวลา 10:30 น ประธานฝ่ายสงฆ์พระมหานคร จินวฑฒโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบึงพระอารามหลวง ,ผอ.ศูนย์ปฏิบัติธรรมเขาหมาก และคณะกรรมการวัดงานบุญกฐินสามัคคี โดยมี ทันตแพทย์อนุภาส,ทันตแพทย์หญิงเพ็ญศรี, คุณภาสศิริ,คุณชนก จริยะธีรวงศ์ สลางสิงห์ และคุณวิศิษฐ์ จริยะธีรวงศ์ ผู้อุปถัมภ์กฐินสามัคคี และคณะกรรมการสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมออกโรงทานร่วมถวายกฐินสามัคคีประจำปี 2564 พุทธศาสนิกชนที่ร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคีเพื่อเป็นปัจจัย ทะนุบํารุงเสนาสนะและ ส่งเสริมสนับสนุนพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ต้องอาศัยพุทธบริษัท 4 ช่วยกันทำนุบำรุง เพื่อเป็น พระสมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติสืบต่อไป

“กู้วัดธรรมจักรเสมาราม หรือวัดพระนอนคลองขวาง จากสถานการณ์น้ำท่วมเข้าพื้นที่เขต”

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2560 4 เวลา 8:30 น กองพันทหารช่างที่ 3 กองพลทหารราบที่ 3 สังกัดกองทัพภาค 2 ปฏิบัติภารกิจช่วยเร่งด่วนสนับสนุน กู้วัดธรรมจักรเสมาราม หรือวัดพระนอนคลองขวาง จากสถานการณ์น้ำท่วมเข้าพื้นที่เขต ตำบลเสมาอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมา วัดพระนอน กองพัน ทหารช่างที่ 3 กองพลทหารราบที่ 3 จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์จำนวน 4 ชุด เข้ากู้ พื้นที่น้ำท่วม ช่วยเหลือวัดธรรมจักรเสมาราม ได้รับผลกระทบน้ำท่วมสูงซึ่งทำให้เสี่ยงต่อความเสียหายโบราณสถาน ที่มีอายุกว่า 1,300 ปี และเป็นพระนอนที่มีขนาดความยาวที่สุดในประเทศไทย โดยทหารได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้วเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่วัดจากเสมารามและได้ จัดกำลังพลเข้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดเพื่อเฝ้าระวังและให้ความช่วยเหลือทันทีหากเกิดภัยพิบัติขึ้นจากสถานการณ์ น้ำท่วมได้ดำเนินการแล้วเสร็จ พื้นที่บริเวณวัดและใกล้เคียงโบราณสถาน เข้าสู่สภาพปกติ

ฤกษ์ดีวันมงคล วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ทำพิธีบุญตั้งศาลเทพชัยมงคลใหม่ และทำบุญสำนักงานประจำปี

ฤกษ์ดีวันมงคล วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ทำพิธีบุญตั้งศาลเทพชัยมงคลใหม่ และทำบุญสำนักงานประจำปี
วันที่ 24 กันยายน 2564 ณ. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เจ้าอาวาสวัดบึงพระอารามหลวง ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ นายคุณไชยนันท์ แสงทอง ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธีร่วมกับ นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา , คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อม เจ้าหน้าที่ ข้าราชการวัฒนธรรมจังหวัดร่วมผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมพิธีทำบุญตั้งศาลพระภูมิชัยมงคล , ศาลตายายใหม่ทดแทนศาลเดิมที่ชำรุด และจัดทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ งานทำบุญสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ภายในพิธีได้มีพระสงฆ์ 9 รูป สวดพระพุทธมนต์

พิธีถวายสังฆทาน ทำบุญเลี้ยงพระใหญ่ และรดน้ำมนต์ให้พรแก่ผู้มาร่วมงานกิจกรรมครั้งนี้ ได้ทำบุญเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่บุคลากรที่ทำงานส่งเสริมวัฒนธรรมชาติ
โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมีภาระกิจอันสำคัญเพื่อปลูกสร้างจิตสํานึกความเป็นไทยสร้างค่านิยมและวิถีชีวิตที่ดีงาม ,ส่งเสริมสนับสนุนการนำทุนทางวัฒนธรรม มาต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และ ส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ เพื่อนำไทยสู่สากล เป็นหน่วยงานที่สำคัญของชาติ ในสังกัด กระทรวงวัฒนธรรม

ชาวพุทธร่วมใจโครงการของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ช่วยเหลือ พี่น้องผู้ประสบภัย จากโควิด19

วันที่ 15 ก.ย.64 เวลา 10.00 – 11.00 น. พุทธสมาคม จว.น.ม./หน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับวัดสุทธจินดา วรวิหาร โดย ท่านพระครูอุดมธีรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์จินดาวรวิหาร เจ้าคณะอำเภอฝ่ายธรรมยุตปากช่อง เป็นผู้แทนฝ่ายสงฆ์ และ พันเอก นเรศ พิลาวรรณนายกสมาคมพุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมาและคณะกรรมการ พร้อมนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและคณะกรรมการร่วม พร้อมภาคีเครือข่าย. แจกถุงยังชีพ (ข้าวสาร อาหารแห้ง และสิ่งของที่จำเป็นในการดำรงชีพประจำวัน) ณ โรงเรียนวัดสุทธจินดา จำนวน 80 ชุด
ในโอกาสนี้วัดสุทธจินดา วรวิหาร /ด้วยจะนำอาหารกล่อง จำนวน 100 กล่องไปแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (โควิด-19) ตามโครงการของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ให้วัดมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีประชาชนชุมชนหนองบัวรอง ชุมชนหลังวัดวัดสุทธจินดาร่วม จำนวน80 คนที่เดินทางมารับสิ่งของ นอกจากนั้นยังมีการแจกของจัด ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เป็นแนวทางที่หลาย ๆ คนจะต้องปรับเปลี่ยนชุดพฤติกรรม ในช่วงไวรัสโควิด-19ออกมาระบาดแล้วเปลี่ยนชีวิตเราไปอีกนาน ..และก่อนการรับแจกสิ่งของ ตรวจวัดอุณภูมิความร้อนบนร่างกาย และพ่นแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ตามรายชื่อของแต่ละชุมชนอีกด้วย

สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร มอบสิ่งของให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ส่งต่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร มอบสิ่งของให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ส่งต่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้ ๑๙ บ้านโนนสวรรค์ ตำบลพระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ,นายพิเย็น ภักดีสุวรรณ หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กฟผ. ,ดร.อำไพพรรณ สิงห์สกุล ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระเครื่อง จ.ขอนแก่น ,นายสุขุม กาญจนกัณโห ที่ปรึกษานักสื่อสารสร้างสรรค์ ภาคอีสาน , นายพีรพล แสงสุนีย์ ที่ปรึกษาสมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.56ปี) ,นางสาวพิมพ์ธนัญญา ธนาพัชร์จิรกุล ผู้บริหารโรงแรมอัญชันลากูน่า ขอนแก่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน และทีมนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภาคอีสาน จ.ขอนแก่น ร่วมมอบสิ่งของให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ตำบลพระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมี นายวินัย ทองทัพ กำนันตำบลพระลับ พร้อมทีมบริหาร และฝ่ายปกครองตำบลพระลับ เป็นตัวแทนรับมอบ

นโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน กล่าวว่า สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และทีมนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภาคอีสาน จ.ขอนแก่น พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร ได้ร่วมกันรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ ได้แก่ พัดลมติดผนัง หน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ กระเป๋าผ้า หมวก และน้ำดื่ม มามอบให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ตำบลพระลับ เพื่อนำไปใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตำบลพระลับ ในการปฏิบัติหน้าที่ทุ่มเท เสียสละ และทำงานอย่างเต็มขีดความสามารถ ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

จากนั้น นายวินัย ทองทัพ กำนันตำบลพระลับ ได้นำคณะเยี่ยมชม Food Bank การก่อสร้างน้ำตก เพื่อบำบัดน้ำเสีย ตามแนวความคิดทำน้ำเสียให้เป็นเงิน โดยได้รับความอนุเคราะห์ และความร่วมมือจากหน่วยงาน ส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เข้ามาให้คำแนะนำ คำปรึกษา ในการปรับปรุงพื้นที่หนองอีเลิง ซึ่งเป็นแหล่งรับน้ำทิ้ง น้ำเสีย ของเมืองขอนแก่น ให้เป็นน้ำดี ก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำชี โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ท่านได้พระราชทาน เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน

หลวง​ปู่​ไม​ อินฺทสิริ​ ละสังขาร​แล้วด้วย​อาการ​สงบ​ ณ​ โรง​พ​ยา​บ​า​ลรามาธิบดี​ กรุงเทพ​มหานคร

หลวง​ปู่​ไม​ อินฺทสิริ​ ละสังขาร​แล้วด้วย​อาการ​สงบ​ ณ​ โรง​พ​ยา​บ​า​ลรามาธิบดี​ กรุงเทพ​มหานคร​ เมื่อเวลา​ ๐๑.๑๒​ น.​ ตรงกับวัน​ศุกร์​ที่​ ๒๗ สิงหาคม​ ๒๕๖๔​ สิริอายุ​ ๗๓​ ปี​ ๗​ เดือน​ ๒ วัน​ ๕๔​ พรรษา​

ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ไม_อินฺทสิริ

วัดป่าเขาภูหลวง ต.ระเริง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา​

ชีวิตครอบครัววัยเด็ก

หลวง​ปู่​ไม​ อินทสิริ​ ถือกำเนิดเมื่อวันอาทิตย์​ที่​ ๒๕​ มกราคม​ ๒๔๙๑​ ตรงกับวันพระขึ้น​ ๑๕​ ค่ำ​ เดือน​ ๒​ ปีชวด​ เกิดในสกุล​ “จันทร์​เหล็ก” บิดาชื่อ​ “นายด้วง” มารดาชื่อ​”นางจันทร์ศรี” เกิด​บ้านเลขที่​ ๒๐​ หมู่​ ๗​ ตำบลคอนสาย​ อำเภอกู่แก้ว​ จังหวัด​อุดรธานี

ท่านเป็นคนที่มีนิสัย รักพ่อรักแม่ รักญาติพี่น้อง เคารพนับถือญาติทุกคน ดี ไม่ดี ก็เคารพ ไม่เคยแสดงอารมณ์ออกมา ถึงแม้บางครั้งจะน้อยใจอยู่บ้าง ท่านอยากบวชตั้งแต่เรียนอยู่ประถมปีที่ ๔ ขอพ่อ พ่อก็ไม่ให้ พ่อขอให้ช่วยงานบ้าน ช่วยแม่เลี้ยงน้อง เพราะน้องยังเล็ก ต้องอาศัยท่านช่วยงานบ้าน ตักน้ำ ตำข้าว ท่านมีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน ชาย ๖ คน หญิง ๑ คน คุณพ่อขอให้น้อง ๆ โตก่อนค่อยบวช

ตอนอายุประมาณ ๑๐ – ๑๑ ปี ไปอยู่หนองบัวลำภู เช้าท่านจะนำควายไปเลี้ยงตามทุ่งนา ท่านชอบนั่งอยู่ใต้ร่มไม้ ” ใต้ต้นค้อ” ท่านชอบนั่งหลับตาเป็นนิสัย แต่ไม่ได้ภาวนา ท่านมักจะเห็นสวรรค์เป็นหอปราสาท และเห็นสักกเทวราช (พระอินทร์) ใส่โจงกระเบน เหาะลงมาสอนท่านสวดมนต์คาถา จนท่านท่องจำได้ จนอายุ ๑๖ – ๑๗ ปี ก็ยังเห็นท่านอยู่ ท่านจะสอนธรรมะ คาถาป้องกันตัว อยู่ยงคงกระพัน คาถาเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาท่านสักกเทวราชจะกลับ ท่านจะสั่งว่า เวลามีเรื่องอะไร ให้นึกถึงพ่อ ท่านเรียกตัวเองว่า พ่อ ท่านจะลงมาช่วย พระอาจารย์ท่านไม่เคยเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟังนอกจากคุณพ่อ คุณพ่อท่านให้เขียนคาถาเอาไปท่อง เพราะเหตุนี้ เวลามีคนเจ็บไข้ได้ป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ มาหาพระอาจารย์ไม ท่านเป่าให้ บอกหาย คนนั้นก็หาย

อายุ ๑๒ – ๑๓ ปี ท่านทำงานบ้านทุกอย่าง ช่วยแม่ตำข้าว ตักน้ำ ทำอาหาร และรับจ้างทุกอย่าง จนเก็บเงินซื้อควายได้ ๒ ตัว ตอนอายุ ๑๓ ปี ( เปรียบเทียบกับคนอายุ ๖๐ บางคนยังซื้อควายไม่ได้เลย ) ท่านเป็นคนที่ไม่กระตือรือร้นในการแต่งตัว ใส่เสื้อผ้าแบบไหนก็ได้ ไม่ชอบเที่ยว ดูหนัง ร้องรำทำเพลง แต่รำกลอนเป็นเพราะพ่อสอนให้ พ่อเคยเป็นหมอลำเรียกโจทย์แจ้ ตอบปัญหาทางด้านประวัติศาสตร์ ธรรมะ ภาษาไทย บาลี มคธ พ่อสอนเก่งมาก พ่อสอนให้รำ เพราะว่าเป็นประวัติศาสตร์คำสอนในทางศาสนา

อายุ ๑๔ ปี คุณพ่อเสีย ก่อนเสียพ่อป่วยอยู่เป็นปี วันนั้นเฝ้าพ่ออยู่คนเดียวประมาณบ่าย ๓ โมง พ่อสั่งว่าอีก ๓ วันพ่อจะตายให้เลี้ยงน้องให้โตก่อน แล้วบวชให้พ่อด้วย มีคำหนึ่งที่พ่อสั่งไว้ว่า ถ้าพ่อตายแล้วแม่คิดจะมีสามีใหม่ อย่าไปห้ามแม่นะ แต่อย่าให้สามีใหม่มารังแกน้อง อยู่มาอีกปีเศษ มีคนมาชอบแม่ ขอแต่งงาน แม่ถามว่าจะให้แม่แต่งงานหรือไม่ ก็ถามแม่ว่าจะแต่งทำไม แม่ว่าจะได้มาเลี้ยงน้อง ดูแลงานบ้าน พ่อเลี้ยงเป็นนักเลง เล่นการพนัน ชอบขโมยของมาเล่นการพนัน อยู่มาวันหนึ่ง น้องชายคนติดกัน กลับมาจากโรงเรียน แม่บอกให้ไปไล่ควายจากทุ่งนากลับเข้าบ้าน แต่น้องชายไม่รีบไป แม่ก็บ่น พ่อเลี้ยงเสริมว่า ไม่เชื่อฟัง พ่อแม่ จะฆ่ามันตาย จับไม้ค้อนขว้างถูกใส่ส้นเท้าเป็นแผล น้องชายร้องไห้ ตอนนั้นพระอาจารย์ไมอายุ ๑๕ ปี เห็นพ่อเลี้ยงทำอย่างนั้นเสียใจมาก กลางคืนท่านฝนมีดยาว ๑๕ เซนติเมตร อยู่ ๓ วัน ๓ คืน คิดจะฆ่าพ่อเลี้ยง จะแทงตอนเขานอน แต่ก็คิดอีกว่า ฆ่าเขาแล้ว จะหนีอย่างไร เพราะตอนนั้นย้ายบ้านไปอยู่หนองบัวลำภู บ้านไกลจากบ้านเก่าที่ จ.อุดร ก็กลัวจะมีโทษ กลัวโดนจับ กลัวไม่ได้ดูน้อง ผ่านไป ๒ – ๓ วัน จนยับยั้งสติอารมณ์ไว้ได้ เป็นจิตที่รักน้องมากที่สุด ไม่อยากให้ใครมารังแก

ต่อมา ญาติพี่น้องทางบ้านเก่าที่อุดรพากันไปรับมาที่บ้านเกิด บ้านเก่า ซื้อไร่ ซื้อนาใหม่ พ่อเลี้ยงก็ตามมาอีก ก็ยังเล่นการพนันเหมือนเดิม ช่วงนั้นเดือนมีนาคม ชาวอีสานแต่ละบ้านจะจัดงาน มีงาบุญ มีเทศน์ผะเหวต กลางคืนมีมหรสพ หมอลำ ตอนเช้าตื่นสาย แม่ปลุกว่าไม่ไปไร่หรือ เพราะปกติต้องไปขุดไร่ ไถไร่ พวกเราตื่นสายประมาณโมงเศษ ๆ พอแม่บ่น พ่อเลี้ยงก็บ่น ทั้ง ๆ ที่พ่อเลี้ยงไม่เคยช่วยงานอะไรเลย พี่ชายคนที่ติดกัน ดึงปืน พระอาจารย์ก็ชักมีด พี่ชายคนโตก็มาห้าม พ่อเลี้ยงก็หนีไปตั้งแต่บัดนั้น ไม่กลับมาอีก ชีวิตคนมีพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยงก็แบบนี้แหละ

อายุ ๑๗ ปี ไปช่วยงานญาติพี่น้อง ลุง น้า บ้าง ปลูกอ้อย ข้าวโพด ถั่วลิสง ปลูกผักขาย ส่วนมากเป็นน้าของแม่ ซึ่งท่านเรียกพ่อใหญ่ เพราะเขามีลูกเล็กช่วยงานยังไม่ได้

สู่ร่มกาสาวพัสตร์

อยู่มาอายุ ๑๘ ย่าง ๑๙ ปี ลุงอยากให้มาบวช เพราะที่วัดไม่มีพระเณรมาบวช อีกอย่างเห็นสาวๆ มาคุยเล่นด้วย แต่พระอาจารย์มีจิตใจไม่คิดจะมีลูกเมีย ท่านชอบพูดเล่นกับผู้หญิงสาวๆ ไม่คิดจะแต่งงาน แต่นิสัยจะรังเกียจผู้หญิงที่มาพูดให้ทางผู้ชาย แต่มีความคิดในใจว่า จะแต่งงานกับผู้หญิง ที่มีความรักจริงซื่อสัตย์ บริสุทธิ์ แต่ถ้าไม่ซื่อสัตย์สุจริต บริสุทธิ์ต่อเรา เราจะไม่ยุ่งเด็ดขาด ผู้หญิงที่จะมาแต่งงานกับพระอาจารย์ ถ้าไม่ได้แต่งงานถูกต้องตามกฎหมาย จะไม่แตะต้องผู้หญิงคนนั้น ท่านมีความคิดเช่นนี้ ก็เลยมีความมั่นใจตนเองว่า จะไม่ล่วงเกินผู้หญิงคนใดทั้งสิ้น

แต่ลุงไม่เชื่อว่า จะมีคนคิดแบบพระอาจารย์ ลุงขอร้องให้บวช กลัวจะมีเมียก่อน ลุงเคี่ยวเข็ญทุกวัน สุดท้ายจึงตกลงใจบวช ตกลงไปเข้านาค ก่อนเข้านาคสัญญากับลุงว่า ถ้าหลานไปบวชออกพรรษาเมื่อไร ก็สึกเมื่อนั้น อย่าห้าม ก็เลยไปเข้านาค ๑ เดือน บรรพชาเป็นสามเณรไม เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๙ ที่วัดศิริวัฒนา จ.อุดรธานี บวชเป็นเณรอยู่ ๒ พรรษา ( ๑ ปี ๘ เดือน ๑๙ วัน)

ระยะเวลาเป็นเณร อยู่อุปัฎฐากครูบาอาจารย์ อาหารไม่ค่อยมี ไปตัดยอดหวาย หน่อไม้ ตอนเช้าไปทำอาหาร เช่น แกงขี้เหล็ก เลี้ยงถวายครูบาอาจารย์ ถ้าพระ เณรไม่มา พระอาจารย์ตอนเป็นเณร กิจวัตรประจำวัน ตักน้ำจากบ่อเป็นน้ำสรงครูบาอาจารย์ ทุ่มหนึ่งทำวัตรเย็น ๒ ทุ่ม เดินจงกรม ๒ ทุ่มครึ่งนั่งสมาธิ ท่านมีความตั้งใจปฎิบัติ เข้มงวดกวดขัน

สัจจธรรม

ท่านพระอาจารย์ปฎิบัติธรรมได้ตั้งแต่เป็นเณร อายุ ๑๘ ปี จิตของท่านจะน้อมถึงอดีต ท่านคิดว่าระยะเวลาที่ผ่านมาเสียเวลาไปมาก สร้างบาปมาเยอะตั้ง ๑๘ ปี กลัวจะกลับไปเป็น ฆราวาสทำบาปอีก ท่านเคยตั้งสัจจะไว้หลายภพ หลายชาติ เริ่มตั้งสัจจะตั้งแต่เป็นหนุ่ม คนธรรมดาจะคิดเรื่องมีครอบครัวว่าถ้าบวชสึกออกมาอายุ ๒๐ ปี จะต้องมีครอบครัว หาเงินหาทองไว้ก่อนเพื่อให้มีอยู่มีกิน จะแต่งงานกับผู้หญิงมีความบริสุทธิ์ ถ้าผู้หญิงไม่บริสุทธิ์ จะไม่แตะต้องคนนั้นเลย แต่ถ้าผู้หญิงคนนั้นบริสุทธิ์ เรายังไม่ได้ขอแต่งงานก่อน เราจะไม่ถูกเนื้อต้องตัวเลย คิดอยู่เช่นนี้ ปีหนึ่งผ่านไป ผู้หญิงก็หนีไปแต่งงานหมด ไม่มีคนบริสุทธิ์เลย ท่านเลยผ่านพ้นมาได้ ไม่หลงในภพในชาติมากเหมือนคนอื่น

ตอนที่ปฏิบัติใหม่ ๆ เราเพิ่งจะฝึกปฏิบัติธรรม ตอนเดินจงกรมไม่เท่าไหร่​ แต่พอไปนั่งสมาธิ มันเห็นทุกข์ เห็นทุกข์ทันทีเลย พอนั่งไป ๒๐-๓๐ นาที นี่มันรู้เลย ทุกข์มันเกิดขึ้น เหน็บมันไม่รู้มาจากที่ไหน พอเรานั่งไปถึง ๒๐-๓๐ นาที มันจะขึ้นเลย ขึ้นที่เท้าเราเสียก่อน แล้วขึ้นมาตามขา จนขึ้นตามสันหลัง ขึ้นไปบนศีรษะ​ ทำให้จิตใจท้อแท้ไปหลายครั้งหลายหน

นี่สู้ด้วยตนเองมา ตอนบวชเข้ามาใหม่​ๆ ยังไม่รู้เดียงสาอะไร การศึกษาก็ยังไม่มี เพราะว่าเราเพิ่งบวชใหม่ โอกาสที่จะได้ไปศึกษาธรรมะก็ยังไม่มี แต่วันไหนว่างๆ ก็พอได้อ่านประวัติพระพุทธเจ้า อ่านหนังสือพุทธประวัติเล่มหนึ่ง แต่ทำอย่างอื่นนั้นยังไม่รู้ แต่ครูบาอาจารย์สอนให้เรานั่งสมาธิ นั่งสมาธินั่งแบบไหน เดินจงกรมเดินแบบไหน ท่านบอกเรา เวลาเดินก็กำหนดเอาต้นไม้ที่ห่างจากกัน ๒๐-๓๐ เมตร แล้วเดินจากต้นไม้ต้นนั้น ไปต้นไม้ต้นนั้น มีจุดหมายปลายทางเดินแล้วก็มานั่ง ตอนนั่งมันจะเป็นทุกข์ได้ง่ายกว่าเดิน

เพราะอิริยาบถนั่งจะเป็นการนั่งอยู่ท่าเดียว ถ้าเรายังไม่เกิดความเคยชิน เราจะนั่งไม่ได้นาน อันนี้เป็นครั้งแรกที่เราเริ่มปฏิบัติธรรม มองทางสุขไม่มีเลย มีแต่ทุกข์อย่างเดียว การปฏิบัติธรรมอันดับแรกมองเห็นแต่ทุกข์อย่างเดียว ไม่มีสุขเพราะมันเจ็บปวด มันทรมาน ทั้งที่เราอยากรู้อยากเห็นอยากได้ธรรมะ อยากให้จิตสงบเป็นสมาธิ แต่สิ่งที่รบกวนก็ดลบันดาลอยู่อย่างนั้น ทำให้จิตใจของเราท้อถอยอยู่ตลอดเวลา

นั่งแต่ละวันได้ ๒๐-๓๐ นาที ก็ลุกขึ้นแล้ว
ไปเดินแล้วเปลี่ยนอิริยาบถใหม่แล้ว เดินไปเป็นชั่วโมง มานั่งอีก ๒๐-๓๐ นาทีก็ไปอีกแล้ว พยายามอยู่อย่างนี้ก็แพ้อยู่อย่างนี้ ทำเป็นเดือนก็อยู่อย่างนี้ ทีนี้ทำยังไงถึงได้ตัดสินใจ การตัดสินใจคือตัดสินใจด้วยการได้ยินได้ฟัง จากครูบาอาจารย์ท่าอบรมสั่งสอนเรา ครูบาอาจารย์ท่านแสดงอภินิหารให้เราเห็น แสดงอภินิหารแบบไหน ท่านมีความรู้พิเศษ ท่านสอนเราให้ปฏิบัติแล้วเราทำไม่ได้ ท่านค่อยมาเตือนเราทีหลังพอเราเจอทุกข์ ทีนี้สิ่งที่มันเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่จูงใจ ให้เราปฏิบัติกล้าตัดสินใจต่อสู้ จริงๆ จังๆ แล้วนั่น คือ

พระอาจารย์ของเราท่านบอกว่า วันนี้ มีพระท่านกำลังเดินทางมา ระยะทางนั่น ๗-๘ กิโลเมตรจากวัดเราไปหาวัดท่าน

ฉันเช้าเสร็จท่านบอกว่า ไปล้างบาตรแล้วเอาบาตรเราไปส่งกุฏิ อย่าเพิ่งไปนะ ท่านพูดอย่างนี้ ทีนี้อาตมาก็เลยเอาบาตรล้างบาตรเสร็จเรียบร้อยก็เอาบาตรไปไว้ที่กุฏิ
ก็นั่งคอยท่านอยู่ ซักพักท่านก็ขึ้นกุฏิไป

พอท่านขึ้นกุฏิไป ท่านบอกว่า ตอนนี้มีพระท่านกำลังเดินทางมา พระองค์นั้นชื่อ อาจารย์บุญเกิด ท่านอยู่วัดป่าศรีคุณาราม บ้านจีบ อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี ส่วนอาตมาอยู่วัดป่าศิริวัฒนา บ้านโนนถั่วดิน

ท่านอาจารย์องค์ที่เป็นอาจารย์ของอาตมา ชื่อพระอาจารย์ศรี อุจโย ท่านบอกว่าพระอาจารย์บุญเกิดกำลังเดินทางมา ท่านจะไปบ้านเลาใหญ่ ไปขอไม้ไผ่กับท่านอาจารย์สาลี วัดป่ามัจฉิมวงศ์ ที่อ.กุมภวาปี มาทำซี่กลด เพราะว่าไม้ไผ่ในสมัยนั้น วัดป่ามัจฉิมวงศ์เป็นวัดเก่าแก่
ไม้มันแก่ดี เอามาทำซี่กลดได้มอดมันไม่กิน แต่ส่วนวัดพวกเราเป็นวัดใหม่ ไม้ไผ่ยังไม่มี

ท่านก็เลยบอกว่าท่านกำลังเดินทางมา มีพระองค์หนึ่งใส่แว่นตาดำเดินตามหลังมา มีเด็กวัด ตัวเล็กๆ สะพายย่ามเดินอยู่กลาง ท่านว่าอย่างนี้ แล้วท่านก็บอกให้เอาเสื่อมาปู เอากา

ฉลอง 65 ปีพุทธสมาคม เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาชาวโคราช

โคราช จัดพิธีทำบุญครบรอบ 65 ปี วันก่อตั้งพุทธสมาคม จ.นครราชสีมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 17 สิงหาคม 64 ที่สำนักงานพุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา พระอุดมธีรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร เจ้าคณะอำเภอปากช่อง ( ธรรมยุติ) พ.อ.นเรศ พิลาวรรณ นายกพุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้งสมาชิก พุทธศาสนิกชน เจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้ทีมีส่วนเกี่ยวข้อง ได้จัดพิธีทำบุญครบรอบ 65 ปี วันก่อตั้ง พุทธสมาคม จ.นครราชสีมา โดยภายในพิธีได้มีพระสงฆ์ 5 รูป สวดพระพุทธมนต์ พิธีถวายสังฆทาน และรดน้ามนต์ให้พรแก่ผู้ที่มาร่วมงานในครั้งนี้ โดยมี เจ้าหน้าที่ ฯ ได้มาดำเนินการจัดการเน้นความสำคัญของการมาตรการทางสังคม Social distancing ทิ้งระยะห่าง-ทางสังคมอย่างน้อย 2 เมตร

มีการปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่จังหวัดได้กำหนดมาตรการไว้ ให้กับผู้ที่เข้าร่วมในครั้งนี้
พระอุดมธีรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร เจ้าคณะอำเภอปากช่อง ( ธรรมยุติ) กล่าวว่า วันนี้ทาง พุทธสมาคม จ.นครราชสีมา ได้มีการทำบุญครบรอบ 65 ปี วันก่อตั้งพุทธสมาคม จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นความร่วมมือของทาง นายกสมาคม ฯคณะกรรมการบริหาร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป มาร่วมกันบำเพ็ญกุศล ซึ่งมรการจัดทำเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 17 สิงหาคม โดยองค์กรพุทธสมาคม จ.นครราชสีมา แห่งนี้ ถือว่าเป็นองค์กรที่เป็นจิตอาสา เป็นองค์กรของชาวพุทธ ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยงานด้านพระพุทธศาสนา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าช่วยงานวัด เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เป็นองค์กรที่เอาบุญเป็นกำไร ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของทางสมาคม ฯ นอกจากงานช่วยพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการช่วยทำนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรม ของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

พ.อ.นเรศ พิลาวรรณ นายกพุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า พุทธสมาคม จ.นครราชสีมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2499 นับถึงวันนี้ 65 ปีพอดี ตั้งอยู่ภายในวัดสุทธจินดาวรวิหาร เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ ไม่หวังผลตอบแทน สนองงานด้านพระพุทธศาสนา และสนับสนุนกิจการของพระสงฆ์ จ.นครราชสีมา อาทิ การจัดงานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ร่วมกับวัดสุทธจินดาวรวิหารเป็นประจำทุกปี การจัดถวายทุนการศึกษาแก่พระสงฆ์ สามเณร ที่สอบเปรียญธรรมได้ทุกปี การจัดอบรมอาสาพิทักษ์สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตรย์ ร่วมกับพุทธสมาคมอำเภอเป็นประจำทุกปี การจัดการแข่งขันตอบปัญหาศีลธรรมนักเรียนในจังหวัดนครราชสีมา การจัดปฏิบัติธรรมบำเพ็ญจิตภาวนาในวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา มีการจัดอบรมสมาธิเบื้อต้นให้กับนักเรียน ที่ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดวะภูแก้ว อ.สูงเนิน ปีละ 1-2 รุ่น นอกจากนี้พุทธสมาคม จ.นครราชสีมา ยังเป็นหน่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยในเร็วๆ นี้ จะมีการนำถุงยังชีพออกไปแจกจ่าย ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ด้วย

#โครงการปลูกป่าต้นโพธิ์ 9,999 ต้น “วันแม่แห่งชาติ”

วันที่9 สิงหาคม 2564 #โครงการปลูกป่าต้นโพธิ์ 9,999 ต้น “วันแม่แห่งชาติ” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พระธรรมวรนายก ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 เจ้าอาวาสวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมคณะสงฆ์ 10 รูป สวดพระปริตรพร้อม ประกอบพิธีทางพุทธศาสนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานพิธี พร้อมด้วย, นางสายชล บุญอรณะ นายกเหล่ากาชาด, นายสุพจน์ แสนมี นายอำเภอวังน้ำเขียว, นายพรชัย อำนวยทรัพย์ ส.ส.เขต 10 จ.นครราชสีมา, ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ,นายชุณห์ ศิริชัยคีรีโกศล ส.อบจ.อ.วังน้ำเขียว, นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ,นายยงยุทธ ศิริชัยคีรีโกศล นายกเทศมนตรีศาลเจ้าพ่อ และข้าราชการส่วนต่างๆ ที่ วัดพระธรรม​วรนายกป่าโพธิ์ อ.วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

พิธีเปิดอุทธยานพ่อปู่เจ้ายี่กอฮง เทพเจ้าแห่งโชคลาภองค์แรกของไทย ในโคราช

นายวิเชียร  จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  ได้ให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานฝ่ายฆราวาสทำพิธีเปิดอุทธยานพ่อปู่เจ้ายี่กอฮง เทพเจ้าแห่งโชคลาภองค์แรกของไทย ณ ตำหนัก  ตำบลไชยมงคล  ชอย 1  อำเภอเมือง   จังหวัดนครราชสีมา

       โดยมีเกจิอาจารย์ที่มีบารมีธรรมสูง อาทิ พระสีหราชสมาจารมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดประธานฝ่ายสงฆ์  พระครูธรรมานุยุตวัดสว่างอารมณ์  หลวงปู่อุดมทรัพย์วัดเวฬุวัน  หลวงปู่บุญหลายวัดปุตเนียม  พระครูปลัดภูมิปัญญาวัดป่าแสงธรรมพรหมรังสี และครูบาโกมลวัดป่าศรีถาวร  ร่วมทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ นอกจากนี้ทางตำหนักยังเปิดให้จองวัตถุมงคลยี่กอฮง ชึ่งมีจำนวนจำกัด