“ศรัทธาสร้างบารมีหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน”เพื่อมอบทุนช่วยเด็กและเยาชน


พระครูนิวิฐ ปุญญากร (หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม) วัดธารทหาร (ห้วยด้วน) เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 ที่บ้านสระทะเล เป็นบุตรของพ่อพุด แม่แก้ว ก้อนจันทร์เทศ มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน โดยหลวงพ่อพัฒน์เป็นบุตรคนที่ 2 และมีศักดิ์เป็นหลานหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
เมื่ออายุได้ 9 ขวบ หลวงพ่อพัฒน์ได้ติดตามบิดา ไปช่วยหลวงพ่อเดิมสร้างวัดหนองหลวง อยู่จนอายุ 13 ขวบ ได้กลับมาอยู่วัดสระทะเลกับหลวงลุงหมึก ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติหลวงพ่ออีกองค์ ในระหว่างที่อยู่วัดหนองหลวงและวัดสระทะเล ท่านได้ร่ำเรียนวิชาจากหลวงพ่อเดิมและหลวงพ่อเทศน์วัดสระทะเล เมื่อครั้งได้เกณฑ์ทหาร หลวงพ่อได้เป็นทหารช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อพ้นการเกณฑ์ทหาร หลวงพ่อได้บวชเมื่อปี พ.ศ.2488 ที่วัดสระทะเล โดยมีพระอุปัชฌาย์ พระธรรไตรโลกาจารย์ (เจ้าคุณยอด วัดเขาแก้ว) พระคู่สวดหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว และอธิการชั้ววัดสระทะเล ในช่วงเวลานี้หลวงพ่อก็ได้ไปกราบขอคำชี้แนะจากหลวงพ่อเดิมเสมอเพราะไม่ไกลกัน เมื่อบวชได้ 5 พรรษา หลวงพ่อได้เดินทางไปหาหลวงพ่อซวงวัดชีปะขาว จังหวัดสิงห์บุรี และได้ไปเรียนทางธรรมบางพลีเพิ่มเติมที่วัดพระบาททุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ หลวงพ่อได้ใฝ่เรียนรู้วิชา และได้มาอยู่ที่วัดห้วยด้วน เมื่อปี พ.ศ.2510 โดยการนิมนต์ของกำนันผล ซึ่งเป็นกำนันในสมัยนั้น และได้อยู่ที่วัดจนถึงทุกวันนี้ เป็นมิ่งขวัญของชาวหนองบัว และพื้นที่ใกล้เคียง


ด้วยดำริของหลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม ให้จัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อนำรายได้มาช่วยเหลือสังคม เด็ก และเยาวชน ดังนั้น คณะศิษย์ กรรมการวัด นำโดย ส.อ.คิมหันต์ ตลับนาค ได้รับการปรึกษาและร่วมกับ นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา และรองประธานสงเคราะห์เด็กและเยาวชนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา เพื่อความต้องการ การสนับสนุนสงเคราะห์เด็กขาดโอกาสทางการศึกษาและเปิดโอกาสทางสังคม จึงมีแนวทางจัดสร้างวัตถุมงคล เรียกว่า “รุ่นสร้างบารมี” หรือที่หลายคนเรียกว่าพระขุนแผน (พระพุทธในซุ้มเรือนแก้ว) เป็นพระขุนแผนน้ำหมากที่มีคราบน้ำหมากแท้ ๆ ของหลวงพ่อทาที่หน้าพระทุกองค์ ซึ่งคำหมากของหลวงพ่อ เป็นที่ต้องการของประชาชนมาก บางท่านเข้าไม่ถึง บางท่านไม่มีโอกาสแม้กระทั้งจะได้คำหมากของหลวงพ่อ และให้การจัดสร้างครั้งนี้ เราใช้มวลสารที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้รู้ว่าหลวงพ่อคือพระธรรมดา แต่ท่านมีเจตนาที่จะทำให้สังคมดีขึ้น อยากช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะเรื่องทุนการศึกษา”
โดยการจัดสร้างวัตถุมงคล “รุ่นสร้างบารมี” นี้ มีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อมอบเงินทุนฝึกอาชีพและพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนภายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาชนเขต 3 ( นครราชสีมา – บุรีรัมย์ – สุรินทร์ – ชัยภูมิ – สระบุรี)
  2. เพื่อมอบทุนการศึกษาให้เด็กและเยาวชนภายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา
  3. เพื่อจัดหารายได้ส่วนหนึ่งถวายแด่หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม เพื่อทำนุบำรุงวัดธารทหาร (ห้วยด้วน) จังหวัดนครสวรรค์
    ทั้งนี้ นายคมกฤษณ์ แสงจันทร์ ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวว่า “ปัจจุบันปัญหาเด็กและเยาชน ไม่ใช่ปัญหาของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นปัญหาของสังคม และชุมชน ฉะนั้นจึงอยากเรียนเชิญผู้ที่มีจิตใจที่เป็นกุศลมาช่วยเหลือกันเพียงคนละเล็กคนละน้อย เพื่อหางบประมาณส่วนนี้มาแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จังหวัดนครราชสีมาแห่งนี้
    โดยในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ได้รับเมตตาจากสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (เจ้าคุณธงชัย)เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ประธานพิธีพุทธาภิเษกร่วมกับหลวงพ่อพัฒน์ และคณะเกจิรวม 21 รูป พุทธาภิเษกพระขุนแผน “รุ่นสร้างบารมี”พิมพ์นำฤกษ์ และวัตถุมงคลผ้ายันต์ รอยมือ และผ้าหมื่นยันต์ร่วมมหาพิธีมงคลพุทธาภิเษกที่ผ่านมา และพระขุนแผนพุทธาภิเษกอีกวาระในวันที่ 15 ธันวาคม 2563
    โดยรูปแบบการดำเนินการ
  • จัดกองทุนผ้าป่าการศึกษาจัดสร้างวัตถุมงคล
    ** “พระขุนแผน รุ่น สร้างบารมี” หลวงพ่อพัฒน์ (เนื้อผงทาน้ำหมาก + แปะจีวร ,ชาญ
    หมากหลวงปู่ บูชาทั่วไป องค์ละ 100 บาท) จำนวน 9,999 องค์
    ** ชุดกรรมการสร้าง 199 ชุด ชุดละ 999 บาท (ลงยา + แปะทองคำแท้ + ฝังตะกรุดทอง)
  • ผ้าหมื่นยันต์ “รุ่น พรหลวงพ่อพัฒน์” (ผ้าแคนวาสและกระดาษ) จำนวน 999 ผืน
  • ผ้ายันต์รอยมือหลวงพ่อพัฒน์ จำนวน 9,999 ผืน

จัดสร้างตามดำริหลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดธารทหาร (ห้วยด้วน) จังหวัดนครสวรรค์ โดยคณะศิษย์วัดจัดสร้าง เพื่อสร้างบารมีหลวงพ่อพัฒน์ โดยกำหนดพระขุนแผน จัดออกให้บูชา วันที่ 15 ธันวาคม 2563 นี้ เปิดจองตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป


ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0863604625 และ 0947849877

พิธีเคลื่อนสรีระหลวงพ่อใหญ่ วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา

เคลื่อนสรีระร่างหลวงพ่อใหญ่พระสาสนโสภณ สู่ศาลาการเปรียญรอน้ำหลวงสรงศพเวลา16.30น.ณ.วัดสุทธจินดา​ อ.เมืองนครราชสีมา​ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัตประธานในพิธี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ สุกำ พร้อมด้วยเครื่องเกียรติยศ โกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับประกอบศพ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมเวลากลางคืน กำหนด 3 คืน แด่พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินธโร) อดีตที่ปรึกษาจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต) และอดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา วรวิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ สุกำ พร้อมด้วยเครื่องเกียรติยศโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับประกอบศพ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมเวลากลางคืน กำหนด 3 คืน แด่พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินธโร) อดีตที่ปรึกษาจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต) และอดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา วรวิหาร วันนี้ (12 ต.ค. 2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ศาลาการเปรียญ วัดสุทธจินดา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

มีการประกอบพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และสวดพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมศพ พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินธโร) อดีตที่ปรึกษาจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต) และอดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา ที่มรณภาพ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 เวลา 11.49 น. ณ โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เวลา 08.30 น. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 11 นครราชสีมา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงวัฒนธรรม อัญเชิญเครื่องเกียรติยศประกอบศพของพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ คือ โกศแปดเหลี่ยม-ฉัตรเบญจา ตั้งแต่ง ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทธจินดา วรวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เวลา 10.30 น. คณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์เคลื่อนร่างพระสาสนโสภณ (โกศล สิรินธโร) อดีตที่ปรึกษาจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต) และอดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จากกุฏิสองเมือง มายังศาลาการเปรียญ วัดสุทธจินดา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าสักการะ สรงน้ำศพ เวลา 11.30-15.30 น. โดยมีเจ้าหน้าที่ พิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน จากกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 11 นครราชสีมา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงวัฒนธรรม อำนวยความสะดวก เวลา 16.00 น.

มีการประกอบพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ โดย สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี เจ้าหน้าที่กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 11 นครราชสีมา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงวัฒนธรรมประโคมปี่ กลองชนะ เวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินธโร) อดีตที่ปรึกษาจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต) และอดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา ในเวลา 16.30 น.เริ่มสวดพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมศพ โดยพระพิธีธรรม จำนวน 4 รูป จากวัดบวรนิเวศ โดยมีสมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน และศิษยานุศิษย์จำนวนมากร่วมพิธี ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทธจินดา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา คืนที่ 2-3 (วันที่ 13-14 ต.ค.2563) พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมศพ เวลา 19.00 น. การแต่งกาย ข้าราชการ ชุดปกติขาวไว้ทุกข์ ประชาชนทั่วไปชุดสุภาพไว้ทุกข์ (งดรับหรีดเคารพศพ)

ขอบคุณที่มา : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา

วัดป่าแสงธรรมพรหมรังสี จัดพิธีถอนเสมา ถอนโบสถ์เก่า โดยมีคณะสงฆ์ร่วมประกอบพิธีกว่า 100 รูป พร้อมด้วยการทอดกฐินประจำปี 2563

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 น.ที่วัดป่าแสงธรรมพรหมรังสี ต.ปรุใหญ่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้มีพิธีถอนเสมา ถอนโบสถ์เก่า เพื่อขับไล่ความไม่ดี หรือสิ่งชั่วร้ายต่างๆที่เกิดขึ้น และให้เกิดความเป็นสิริมงคล  สิ่งใดที่เชื่อกันว่าเป็นสิ่งไม่ดี ไม่เป็นมงคล ที่เชื่อกันว่าฝังอยู่หรือติดอยู่ในที่ต่างๆ เช่น ฝังอยู่ในตัวคน ฝังอยู่ในเครื่องมือเครื่องใช้ ฝังอยู่ในที่อยู่ที่อาศัย ฝังอยู่ในแผ่นดิน โดยในการประกอบพิธีถอนเสมา ถอนโบสถ์นี้ ได้รับเมตตาจาก พระวินัยโมลี (คำปอน สุทธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ.) เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย พระครูปลัดภูมิปัญญา(หลวงพ่อเสือ)ญาณสัมปัณโณ เจ้าอาวาสวัดป่าแสงธรรมพรหมรังสี และคณะสงฆ์ จำนวนอีกกว่า 100 รูป ร่วมประกอบพิธี โดยมีพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ในช่วงบ่าย ได้มีพิธีทอดผ้ากฐินสามัคคี เพื่อนำเงินที่ได้มาเป็นทุนทรัพย์ในการก่อสร้างศาลาพญาเต่าเรือนที่อยู่ภายในวัดให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักของเหล่าโรงทานที่มาร่วมบุญในครั้งนี้ กว่า 30 โรงทาน

นอกจากนี้ ยังมีเหล่าดารา ยกทัพมาร่วมงานบุญในครั้งนี้ อาทิ ปุยฝ้าย ณัฎฐพัชร์ วิภัทรเดชตระกูล , จิ๊บ ปกฉัตร เทียมชัย , จ๊ะจ๋า พริมรตา เดชอุดม , โบวี่ อัฐมา ชีวนิชพันธ์ , หลุยส์ พงษ์พันธ์ เพชรบัณฑูร , บีม ศรัณยู ประชากริช และ เติ้ล ธนพล นิ่มทัยสุข ซึ่งก็ถือว่าเป็นการสร้างสีสันให้กับผู้ที่มาร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง

พระธรรมเจดีย์(สมคิด เขมจารี) เจ้าคณะภาค 11 เป็นประธานเททองหล่อพระประธานวัดวัดประมวลราษฎร์ จ.นครราชสีมา

วันที่ 30 สิงหาคม 2563  ได้มีพิธีเททองหล่อพระสมเด็จพระพุทธมหาจักรพรรดิ พระประธานประจำอุโบสถหลังใหม่ ขนาดหน้าตัก 79 นิ้ว  ณ วัดประมวลราษฎร์ (ระกาย) ต.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา

โดยได้รับเมตตาจาก พระธรรมเจดีย์(สมคิด เขมจารี) วัดทองนพคุณ เจ้าคณะภาค 11 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และได้รับเกียรติจากนายวิสูตร ชัชวาลวงศ์  ปลัดจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

โดยเวลา 09.29 น. มีพิธีบวงสรวง เวลา 13.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ และในเวลา 14.29 น. เป็นพิธีเททองหล่อพระประธาน และหากพุทธศาสนิกชนท่านใดที่มีจิตศรัทธาสามารถร่วมต่อบุญครั้งนี้ได้

การประชุมเสวนา และรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน”การสร้างงานศิลปะประเภทถาวร” มหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 2

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2563การประชุมเสวนา และรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน”การสร้างงานศิลปะประเภทถาวร” มหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 2ณ ห้องประชุมปัญจดารา 1 ชั้น 2 โรงแรมปัญจดารา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาโดยนายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประธานพร้อมด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ภัณฑารักษ์ ศิลปินสื่อมวลชน ประธานชุมชนในขตเทศบาลนครนครราชสีมา นักเรียน นักศึกษา และผู้มีเกียรติทุกท่าน


นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่าจากการที่รัฐบาลได้คัดเลือกจังหวัดนครราชสีมาเป็นสถานที่จัดการแสดงมหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 2 Thailand Biennale, Korat 2021 ขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน -กันยายน 2564 ซึ่งจะเป็นกิกรรมที่สร้างภาพพจน์และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น นับเป็นโอกาสของจังหวัดนครราชสีมาที่ได้เปิดประตูบ้านต้อนรับแขกผู้มาเยือนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทั้งนี้ การสร้างงานศิลปะถาวร ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ทั้ง 6 แห่ง ของจังหวัดนครราชสีมา นั้น จะทำให้ภาพของเมืองเปลี่ยนแปลไปในทางที่ดีขึ้น เป็นการผสมผสานงานศิลปะ สิ่งแวดล้อม และเมือง ไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชาวจังหวัดนครราชสีมา และการขับเคลื่อนให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองศิลปะอย่างยั่งยืน จึงขอให้ทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้ เสนอข้อคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เพื่อจังหวัดนครราชสีมาของเรา และเพื่อการเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นในปี 2564ผมขอแสดงความขอบคุณทางสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะภัณฑารักษ์ศิลปิน และผู้แทน ตลอดจนทุกทนที่เสียสละเวลาเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้


สืบเนื่องจากจังหวัดนครราชสีมา ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลให้เป็นพื้นที่จัดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 2 Thailand Beinnale, Korat 2021 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2564 ทั้งนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม คณะภัณฑารักษ์ และจังหวัดนครราชสีมา ได้ลงศึกษาพื้นที่จัดแสดงงาน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นมา และได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ และศิลปินสำหรับการสร้างงานศิลปะประเภทถาวร จำนวน 6 ผลงาน 6 พื้นที่ ได้แก่
1.ผศ.บุญเสริม เปรมราคา สถานที่ สวนสัตว์นครราชสีมา

  1. นายกฤช งามสม สถานที่ บริเวณ Art Gallery
  2. นายประสิทธิ์ วิชายะ สถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  3. นางสาวรัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง สถานที่ สวนสัตว์นครราชสีมา
  4. Sandra Cinto สถานที่ บริเวณบ่อน้ำพุ สวนสุรนารี
  5. Junya Ishigami สถานที่ บริเวณ Art Gallery
    เนื่องจากจะมีผลงานประเภทถาวร ติดตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะ จำนวน 3ผลงาน จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดการประชุมเสวนา และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนขึ้นในกระทรวงวัฒนธรรม ภัณฑรักษ์ และศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานศิลปะที่จะเกิดขึ้น พร้อมการรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ประกอบด้วย ศิลปิน ครูศิลปะ ผู้บริหารสถบันการศึกษา ผู้แทนชุมชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา นักศึกษา และสื่อมวลชน จำนวนทั้งสิ้น 170 คน

พิธีเททองหล่อพระพุทธพิทักษ์ประชาอัครบารมี (รุ่น หนุนดวง เพิ่มพูลทรัพย์)

พิธีเททองหล่อพระพุทธพิทักษ์ประชาอัครบารมี (รุ่น หนุนดวง เพิ่มพูลทรัพย์)พระพุทธรูปประจำหน่วยกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการสืบสวนตำรวจภูธรภาค 3
ตำรวจภูธรภาค 3 ได้กำหนดจัดพิธีเททองหล่อพระพุทธพิทักษ์ประชาอัครบารมี(รุ่น หนุนดวง เพิ่มพูลทรัพย์) ในการจัดสร้างพระพุทธรูปประจำหน่วยกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษกองบังคับการบสวนตำรวจภูธรภาค 3 ในวันพฤหัสบดีที่ 6 สิ่งหาคม 2563 เวลา 08.30 นาฬิกา ณ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการบสวนตำรวจภูธรภาค 3(ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังกองร้อยที่ 1 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3) ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

โดยมี พล.ต.ท.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ผบช.ภ.3ประธานคณะกรรมการอำนวยการ พล.ต.ต.อัคราเดช พิมลศรีรอง ผบช.ภ.3ประธานคณะกรรมการจัดสร้าง พ.ต.อ.ต่อวงศ์ พิทักษ์โกศลผกก.ปพ.บก.สส.ภ.3พ.ต.ท.สาธิต คอกขุนทด สว.กก.ปพ.บก.สส.ภ.3 พ.ต.ท.กุณซ์ กุลศิริสว.(ปรก.) กก.ปพ.บก.สส.ภ.3พ.ต.ต.เสริมศักดิ์ มุ่งเงินทอง สว.กก.ปพ.บก.สส.ภ.3ผู้รับผิดชอบดำเนินการกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 3 มีเขตพื้นที่รับผิดชอบรวม 8 จังหวัด อีสานใต้ คือ ชัยภูมิ , นครราชสีมา , บุรีรัมย์ , ศรีสะเกษ , สุรินทร์ , อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ซึ่งเป็นกำลังหลักของ ตำรวจภูธรภาค 3 ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ยุทธวิธีต่าง ๆ และถือเป็นกำลังสำคัญที่คอยสนับสนุนหน่วยงานต่างๆพระที่จัดสร้างพระอาจารย์ วิเชียร จันทสาโร (หลวงพ่อโก) วัดป่าปากโดม อ.พิบูลมังสหาร จวอุบลราชธานีถวายนามว่า “พระพุทธพิทักษ์ประชาอัครบารมี” (รุ่น หนุนดวง เพิ่มพูลทรัพย์ )โดยหล่อเป็นพระเชียงแสน สิงห์ 1 ขัดสมาธิเพชร ขนาด 32 นิ้ว โลหะผสม ปิดทองคำแท้พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่งลักษณะองค์พระ : แบบเชียงแสน ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน เป็นประติมากรรม ในดินแดนสุวรรณภูมิที่นับว่าสร้างขึ้นโดยฝีมือช่างไทยเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีมีดังนี้

หลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล (หลวงปู่บุญ) วัดปอแดง อ.ปักธงชัย จว.นครราชสีมาประธานสงฆ์ พระนั่งปรก 4 ทิศ1. พระครูวิมลภารนาคุณ (หลวงพ่อจื่อ พันธมุตโต) วัดเขาตาเงาะอุดมพร อ.หนองบัวระเหว จว.ชัยภูมิ2. พระครูประโชติปัญญากร (หลวงพ่อคูณ วรปัญฺโญ) วัดบัลลังก์ อ.โนนไทย จว.นครราชสีมา3. พระครูสุนทรคุณวัตร (หลวงพ่อทวี ปุญฺญาธโร) วัดประมวลราษฎร์ หรือ วัดบ้านระกาย ต.จอหอ อ.เมือง จว.นครราชสีมา4. พระอาจารย์วิเชียร จันทสาโร (โก) วัดป่าปากโดม อ.พิบูลมังสาหาร จว.อุบลราชธานีพระสงฆ์สวดชยันโตนิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป จากวัดประมวลราษฎร์ หรือ วัดบ้านระกาย โดยนิมนต์พร้อมพระครูสุนทรคุณวัตร (หลวงพ่อทวี ปุญฺญาธโร)ทั้งนี้โดยงบประมาณในการดำเนินการประมาณ 2,000,000 บาท จากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญ
ระยะเวลาในการสร้างพระ เริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 และทำสัญญาจ้างหล่อพระประติมากรรม เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม2563 โดยจะมีพิธีเททองหล่อพระ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2563 และรับมอบพระในวันที่ 30 สิงหาคม 2563รวมเป็นระยะเวลาดำเนินการ 75 วัน

และพระแบบเชียงแสน สิงห์ 1 ขัดสมาธิเพชร ขนาดหน้าตัก 32 นิ้วความสูงรวมฐาน 125 ซม. ความยาวฐาน 99 ซม. ความกว้าง 64 ซม.

แบบเหรียญมีดังนี้
-เหรียญทองแดง (ขัดเงา) จำนวน 28,000 เหรียญ เหรียญทองคำ (ขัดเงา) จำนวน ตามจำนวนสั่งจอง (เบื้องต้น 30 เหรียญ)พระพุทธรูป ขนาด 9 นิ้ว จำนวน ตามจำนวนสั่งจอง +8 (นปพ.ในสังกัด)พระพุทธรูปขนาด 5 นิ้ว จำนวน ตามจำนวนสั่งจอง (มีทั้งชนิด ปิดทอง และ รมมันปู) และพระบูชาเช่น แบบพระบูชาขนาดพระ9 นิ้ว2,500 บาท 5 นิ้ว850 บาทแบบรมดำขนาดพระ9 นิ้วแบบ ปิดทอง5,000 บาท 5 นิ้ว 1,600 บาท

“วัดพรหมราช” ชุมชนคุณธรรมรางวัลระดับประเทศ เน้นความพอเพียงอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น

          เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย ผศ.รณรงค์ จันใด อาจารย์สาขาวิชานโยบายสังคมการพัฒนาสังคมและการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัดพรหมราช ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ในปีนี้ทางจังหวัดนครราชสีมา ได้รับรางวัลชุมชนต้นแบบ เพื่อนำการขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม ทั้งด้านศิลปะการแสดง โดยเฉพาะ รำโทนโคราช ที่เป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ รวมถึงอาหารพื้นเมืองพื้นถิ่น อาทิ ข้าวโป่ง พล่าหมี่โคราช มีที่นี่ที่เดียวต้องมาลองชิม นอกจากนี้ในชุมชนของที่นี่มีความสำคัญ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ของวัดพรหมราชเก็บวัตถุโบราณอายุเป็นพันปี และชุมชนที่นี่ก็มีความสามัคคีอย่างมาก ในส่วนของการต่อยอดในอนาคต ทางสภาฯเราก็ได้จัดให้มีการประชุมสัญจรแลกเปลี่ยน จัดงานมหกรรมชุมชนของดี และนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เราจัดไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 เราจะไปจัดกันที่จังหวัดยโสธรในปลายเดือนกันยายนนี้ และจากนี้เราก็จะช่วยกันทุกภาคส่วนที่จะต้องผลักดันกัน โดยจะนำนิสิตนักศึกษาจากทุกสภาบันในโคราช โดยจัดตั้งเป็นสภา เยาวชน เพื่อรักษาอนุรักษ์วัฒนธรรมในท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป

ทางด้าน ผศ.รณรงค์ จันใด อาจารย์สาขาวิชานโยบายสังคมการพัฒนาสังคมและการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทางวัดพรหมราชมีศิลปะวัฒนธรรมภายในชุมชนที่น่าสนใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์การสืบทอดต่อไป จากการศึกษาภายในชุมชนมีความเป็นโคราชแท้ มีคุณตาคุณยายที่ยังสืบสานวัฒนธรรมอยู่ โดยเฉพาะหมี่โคราช อาหารท้องถิ่นที่ยังคงมีการสืบทอด และที่สำคัญจริงๆคืออยากให้เด็กและเยาวชนมีบทบาทและส่วนร่วมในเรื่องนี้ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกับขับเคลื่อนอนุรักษ์โดยสภาเด็กและเยาวชนมาร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเกิดความยั่งยืน นอกจากนี้ ทางทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็จะจัดทำวีดีโอและทำ VTR  ในการขับเคลื่อนการจัดการภายในชุมชนตัวอย่าง ไปเผยแพร่ให้กับทุกจังหวัดได้มาดูงานเป็นตัวอย่างเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป

ขณะที่ พระครูโกศล ธรรมวิบูลย์ เจ้าอาวาสวัดพรหมราชและเจ้าคณะตำบลตูม กล่าวว่า วัดแห่งนี้จากการสันนิษฐานตามประวัติศาสตร์นั้นสร้างเมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนชื่อวัดพรหมราชนั้น เป็นชื่อของคนชื่อพรหมส่วนราชมาจาก หลังจากนั้นท่านก็ได้บรรพชาเป็นพระภิกษุและได้เทศน์ชื่อ ‘กัณฑ์มหาราช’ ในตอนหนึ่งของเวสสันดรชาดก หลังจากนั้นท่านก็สึกจากพระมาเป็นฆราวาส ผู้คนจึงได้นำชื่อของท่านมาเป็นชื่อวัด นอกจากนั้นในวัดยังมีพระพุทธรูปไม่ปรากฏชื่อ ปางลีลา อายุหลายร้อยปี ซึ่งเราก็ได้ไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพรหมราช ประชาชนที่เข้าวัดมาทำบุญก็สามารถมาไหว้สักการะขอพระได้ นอกจากนี้ เป็นประจำทุกปีวัดเราจะจัดงานนมัสการพระพุทธบาทจำลองจัดมากว่า 96 ปีแล้ว จัดสมโภชยิ่งใหญ่ทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถวายเป็นพุทธบูชา รักษาและสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามในท้องถิ่น สอดคล้องนโยบายชุมชนคุณธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งปีนี้ก็ได้รับรางวัลวัดต้นแบบชุมชนคุณธรรม ซึ่งทางวัดตระหนักว่าวัดคือศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน มีความสามัคคีในชุมชน

ทั้งนี้ ช่วงบ่าย นางฝน คงศักดิ์ตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลด่านเกวียน  ได้ให้การต้อนรับ  นายไชยนันท์  แสงทอง  วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและคณะ สู่ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั่นดินเผา เทศบาลตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย  จังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สร้างชื่อเสียงในระดับประเทศ  และเป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผามายาวนานหลายชั่วอายุคน  เอกลักษณ์ที่สำคัญคือ  ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากที่นี่ มีความแข็งแกร่ง ผิวจะมีความวาว มัน มีสีน้ำตาลแดงงดงาม  และดินที่ใช้ปั้นเป็นดินที่มาจากแหล่งคุณภาพที่สุดของจังหวัดนครราชสีมาได้มาจากริมแม่น้ำมูล  ซึ่งปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นอาณาจักรเครื่องปั้นดินเผาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา 

เชิญร่วมแสดงมุทิตาจิตอายุวัฒนมงคล 67 พรรษาครูบากฤษณะ อินทวัณโณ

qrf

ขอเชิญคณะศิษย์ยานุศิษย์ร่วมงานพิธีวันคล้ายวันเกิดอายุวัฒนะมงคลครบ 67 พรรษา #พระครูวินัยธรสุรเดช(ครูบากฤษณะ)อินทวัณโณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร #ครูบากฤฃษณะ

rpt

วันที่ 31 กรกฎาคม2563 10.00น.พิธีสมโภชผ้าไตร ย่ามและเทียนพรรษา ทรงประทานในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอทิตยากรกิติคุณ
วันที่ 1 สิงหาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 น เป็นต้นไป ร่วมพิธีเททองหล่อพระนารายณ์ เนื้อสัมฤทธิ์หล่อโบราณ

พ่อเมืองโคราชฟันธง ช่องส่องผีต้องขอขมาตามมาตรการ 4 ข้อวันที่ 19 กรกฎาคมนี้

ผู้ว่าเมืองโคราชจัดประชุมเตรียมการรับเรื่อง สืบจากผู้ดำเนินรายการช่องส่องผีประสานมาเพื่อจะมาขอขมาท่านท้าวสุรนารีและคุณย่าบุญเหลือในวันที่ 19 กรกฎาคม 2563 #ช่องส่องผี #ขอขมาท้าวสุรนารี #ย่าโมแรงศรัทธาชาวโคราช


จากการประชุมณ.ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2563 เวลา 16.30 น. นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวันครราชสีมา เป็นประธานประชุมหารือ ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จากข่าวเหตุการณ์รายการช่องส่องผีบิดเบือนประวัติศาสตร์ของท่านท้าวสุรนารีกับย่าบุญเหลือ ส่งกระทบ “ย่าโมแรงศรัทธาชาวโคราช” ประชุมหารือ ณ ห้องประชุมมูลนิธิท้าวสุรนารี ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา ***ขอสรุปจากการประชุมครั้งนี้


เรียน ท่านผู้บริหาร ภาคราชการ เอกชน ประชาสังคมและพี่น้องประชาชนชาวโคราช
วันนี้ (14ก.ค.2563) เวลา 16.00 น.มีการประชุมหารือตัวแทนภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับการเดินทางมาขอขมาท่านท้าวสุรนารีและคุณย่าบุญเหลือ ของผู้ดำเนินรายการช่องส่องผี

 สรุปว่า 

 1. การขอขมาฯ ดำเนินการในวันอาทิตย์ที่ 19 ก.ค.2563 เริ่มเวลาประมาณ 14.00 น.

 2. ต้องมีการจัดพิธีขอขมาฯ 2 จุดคือ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีและวัดศาลาลอย

 3 .ผู้ดำเนินรายการช่องส่องผี ต้องมาขอขมาฯให้ครบทุกคน

 4. คณะผู้ขอขมาฯต้องจัดเครื่องไหว้บวงสรวงให้สมเกียรติวีรสตรีทั้งสองท่าน

  วิเชียร จันทรโณทัย

          ผวจ.นม.

14 ก.ค. 2563 เวลา 18.30 น.

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2563

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นประธานถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2563 แด่พระภิกษุสามเณรที่จำพรรษาในวัดเขตจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 6 วัด

ประกอบด้วย 1..วัดบูรพ์ 2..วัดศาลาทอง 3.วัดหนองไผ่ 4.วัดโคกสูง 5.วัดหนองขุ่น และ 6.วัดป่าสูงเนิน ในการนี้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา ร่วมอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่ด้านศาสนพิธีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย