“สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ศึกษาแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงท่องเที่ยวภูมิภาค และดูงานชุมชนคุ้ม บางกะเจ้า”

วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 10.30 นคณะศึกษาดูงานนำโดยดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์นายกสภา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาและคณะกรรมการร่วมกับภาคีเครือข่าย ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา เดินทางศึกษาดูงานโครงการในพระราชดำริ คลองลัดโพธิ์อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ โดยนายวัชระ เติมวรรธนภัทร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง พร้อมด้วยคุณชัย อรุณานนท์ชัย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ และคณะผู้บริหารอพท. ให้การต้อนรับเตรียมคณะวิทยากรให้ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อมโยงท่องเที่ยวชุมชน อย่างยั่งยืน แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบางกระเจ้า และการบริหารการจัดการการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับภาครัฐ รวมทั้งการดำเนินงานขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม กรีน เขื่อนลัดโพธิ์ นอกจากนี้คณะดูงานร่วมกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวสำคัญพื้นที่บางกะเจ้า

การมีส่วนร่วมรัฐฯ ร่วมชุมชนได้รับการสนับสนุนการให้ความรู้จากกิจกรรมสำคัญของชุมชนคุ้มบางกระเจ้าโดย นายสำเนาว์ รัศมิทิต นายกอบต.บางน้ำผึ้ง ร่วมกับผู้นำชุมชนกำนัน,ผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านในชุมชนในพื้นที่ แนะนำให้การต้อนรับและประสานงานนำกิจกรรมเด่นจากเครือข่ายคุ้มบางกระเจ้า จัดกิจกรรมสร้างฐานความรู้ ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น 4 ประเภทให้คณะผู้มาศึกษาดูงาน จากจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกิจกรรมอาทิ การทำเสื้อมัดย้อม, วิธีการทำลูกประคบสมุนไพร ,การทำขนมห่อใบจาก และน้ำสมุนไพร จากผลผลิตในท้องที่ คณะผู้ศึกษาดูงาน ครั้งนี้ได้รับรู้และได้ข้อมูลหลายอย่าง พร้อมเยี่ยมชมตลาดบางน้ำผึ้ง ตลาดชุมชนที่มีขนาดใหญ่สร้างเศรษฐกิจแก่ชาวบ้าน เป็นชุมชนตัวอย่างระดับประเทศ ท้ายสุดของรายการคณะผู้ศึกษาได้ชมสวนสาธารณะ ศรีนครเขื่อนขันธ์ สวนพฤกษชาติขนาดใหญ่กลางกรุงปอดของชุมชนเมืองติดกรุงเทพฯ

จากการศึกษาดูงานดร. วัชรี ปรัชญานุสรณ์ นายกสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา กล่าวภายหลังจากการศึกษาดูงานครั้งนี้ว่า การเดินทาง จากการแลกเปลี่ยน การเรียนรู้การท่องเที่ยวชุมชนทำให้เกิดการสืบสานแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรมระหว่างจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดนครราชสีมาโดยจะทำโครงการร่วมมือบ้านพี่เมืองน้อง ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนในพื้นที่คุ้มบางกระเจ้าและการสนับสนุนจากอพทรวมถึงทททที่ได้สร้างโอกาสให้กับคณะผู้ศึกษาดูงานได้เกิดความรู้ใหม่ๆเกิดการเชื่อมโยงแนวทางความรู้และความคิดเพื่อนำมา สู่ความร่วมมือกัน ใน 2 พื้นที่บ้านพี่เมืองน้อง ขยายตลาดการท่องเที่ยว เศรษฐกิจชุมชน ร่วมกันในโอกาสต่อไป

.

.

พิธีเปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4

สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป”

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.  ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การจัดกิจกรรมเปิดตัว ก้าวท้าใจ Season 4 (Kick off ก้าวท้าใจ Season 4)โดย นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวเปิดพร้อมด้วยแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงาน และผู้บริหารจากองค์กรและหน่วยงานเครือข่ายสุขภาพทุกท่าน หัวหน้ากลุ่มงาน และบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาทุกคน

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธาน ในพิธีเปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป” ในวันนี้ กระผมขอขอบคุณคณะผู้จัดกิจกรรม ทีมวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจให้เกิดกิจกรรมดีๆเช่นนี้  และ ขอขอบพระคุณ ผู้บริหารจากองค์กรเครือข่ายที่เข้าร่วมการลงนาม เพื่อสร้างความร่วมมือ ในการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ได้แก่

– ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๖

– นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก

– คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

– คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,

– และ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ 

จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลโดยตรงกับการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่ลดลงของคนไทย โดยกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพประชาชน โดยการส่งเสริมการออกกำลังกายรูปแบบใหม่ ผ่านโครงการก้าวท้าใจ โดยนำเทคโนโลยีมาเพิ่มการเข้าถึงระบบสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดความรอบรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นของก้าวท้าใจคือ ส่งผลออกกำลังกายได้ทุกที่ ทุกเวลา เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย มีการประเมินค่าดัชนีมวลกาย การส่งผลการออกกำลังกายที่หลากหลาย การออกกำลังกายทุกครั้งจะเปลี่ยนเป็นแคลอรี่ เพื่อสะสมในรูปของแต้มสุขภาพเพื่อนำไปแลกของรางวัลต่างๆ กระผมขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมเป็นสมาชิก ก้าวท้าใจ Season 4 และหวังไว้อย่างยิ่งว่า หน่วยงานของเราจะร่วมมือกันขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้แก่บุคลากรและเครือข่าย สู่การมี สุขภาวะที่ดีต่อไป

ด้านแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่าวันนี้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “พิชิต 100 วัน 100 แต้มสุขภาพ” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่บุคลากรภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการออกกำลังกาย พร้อมกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้จากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์  ด้วยการสะสมแต้มสุขภาพแลกของรางวัล จากการออกกำลังกาย และสร้างความรอบรู้ ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ก้าวท้าใจ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม2565 ในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัว ก้าวท้าใจ Season 4 จำนวน 80 คน ทั้งนี้ กิจกรรมในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ตามโครงการ “ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป”, การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านแอปพลิเคชั่น H4U รวมถึงการออกกำลังกายในแบบวิถีถัดไป 

 พิธีเปิดตัวกิจกรรม ก้าวท้าใจ Season 4 จังหวัดนครราชสีมาในวันนี้     สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในหน่วยงานเครือข่าย ภายใต้แนวทาง “การสร้างเสริมสุขภาพ ในองค์กร” โดยมีเครือข่ายที่ให้เกียรติเข้าร่วมลงนามเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ดังนี้

 1.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6       

2.องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน                                                 

  3.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา                                               

4.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล                                                    

5.โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์

‘Miss Grand Nakhonratchasima 2022’

เดอะมอลล์โคราชขอแสดงความยินดีกับน้องพราว “มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022”

กองประกวดมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ร่วมกับพันธมิตร ผู้สนับสนุน และเดอะมอลล์โคราช จัดการประกวด ‘Miss Grand Nakhonratchasima 2022’ ในวันที่ 19 ก.พ.2565 เวลา 15.00 น. ที่วาไรตี้ฮอลล์ ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช โดยได้รับเกียรติจาก คุณสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคุณณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา และคุณชินาพัฒน์ พิมพ์ศรีแก้ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด และแขกผู้มีเกียรติ กองเชียร์เหล่าสาวงามร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ผู้เข้าร่วมงานทุกคนตรวจ atk ก่อนเข้างานและปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยโรคระบาดโควิค-19 อย่างเคร่งครัด

สำหรับมงกุฎมิสแกรนด์นครราชสีมาปีนี้สร้างขึ้นด้วยอัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครราชสีมา คือ รูปท้าวสุรนารี มียอดมงกุฏเป็นเพชรรูปอัคคีสีแดงเพลิง ช่อใบมะกอก อันหมายถึง ชัยชนะ รายล้อมด้วยประตู 4 ด้าน ได้แก่ ประตูพลแสน ประตูพลล้าน ประตูไชยณรงค์และประตูชุมพล ด้านหลังของมงกุฏทำเป็นรูปหน้ากากอนามัยเพชรสื่อถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน

พร้อมเปิดตัวชุดประจำจังหวัดนครราชสีมา ‘ชุดนกกระเรียน’ เพื่ออนุรักษ์นกกระเรียนที่เคยมีอยู่มากในจังหวัดนครราชสีมาและใกล้สูญพันธุ์ในปัจจุบัน ชุดนกกระเรียนนี้ สาวงามมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 จะได้สวมใส่เพื่อประกวดบนเวทีใหญ่ มิสแกรนด์ไทยแลนด์2022

โดยการประกวดเฟ้นหาสาวงามเป็นตัวแทนสาวงามจากจังหวัดนครราชสีมาไปประกวดรอบชิงชนะเลิศบนเวทีใหญ่ ‘Miss Grand Thailand 2022’ ในเดือน เมษายน 2565 นั้น ผู้เข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศ มิสแกรนด์นครราชสีมา2022 ในครั้งนี้มีผู้เข้ารอบการประกวดทั้งสิ้น 9 คน แบ่งเป็นรอบชุดราตรีและตอบคำถาม

ผู้เข้าประกวดที่ได้รับรางวัล Popular Voted และ Miss Social Media ได้แก่ หมายเลข 11 น.ส.กันต์ฤทัย บุญภูมิ (น้องอ๋อมแอ๋ม) อายุ 20 ปี จากนครราชสีมา

ผู้ที่ได้ครอบครองมงกุฎตำแหน่งมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 และสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 30,000 และเป็นตัวแทนสาวงามจากจังหวัดนครราชสีมาไปประกวดต่อระดับประเทศ ได้แก่ หมายเลข 2 น.ส.ณัฐฐา ศิริชัยวงศ์สกุล (น้องพราว) อายุ 25 ปี จากจ.นครราชสีมา และยังได้รับรางวัล Best In Swimsuit และ Miss Beauty by The Mall Korat อีกด้วย

ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 1 มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ได้รับสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท ได้แก่ หมายเลข 4 น.ส.อัญมณี ขัติยนนท์ (น้องแบม) อายุ 21 ปี จาก จ.สมุทรปราการ

ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ได้รับสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท ได้แก่ หมายเลข 12 น.ส.จรภิญญา วงษ์พรมมา (น้องจอย) อายุ 24 ปี จาก จ.นครราชสีมา

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” ในวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ณ วาไรตี้ ฮอลล์ (หน้า MCC HALL) ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก”

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานว่า “จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2536 – 2564 มีเด็กเกิดใหม่ลดลงจาก 900,000 คนถึง 1,000,000 คน ลดลงเหลือ 544,000 คน ในปี 2564 และปี 2556-2557 หญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้มีผลต่อสุขภาพ เช่น เวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ความพิการแต่กำเนิด หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบนโยบายวิวาห์สร้างชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากร

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดงานว่า “
จากคำกล่าวรายงานของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การขับเคลื่อน การดำเนินงาน วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) เพื่อส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีความพร้อมในการมีบุตร มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ โดยการส่งเสริมให้มีโภชนาการที่ดี และเสริมด้วยวิตามินธาตุเหล็กและโฟลิก อันจะส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนการเกิดเพื่อทดแทนจำนวนประชากร และการเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน และทารกเกิดแข็งแรง พร้อมเติบโตอย่างมีคุณภาพ ลดความพิการแต่กำเนิด เด็กมีพัฒนาการสมวัย สามารถเจริญเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป และการประชุมครั้งนี้จะได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายให้เกิดขึ้นจริงในจังหวัดนครราชสีมาจากทุกภาคส่วน ตามนโยบายส่งเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป ผมขอแสดงความชื่นชม ที่ได้เห็นทุกภาคส่วน ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานและร่วมประชุมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดียิ่ง”

โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท

การประชุมเชิงวิชาการ  “โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ปี ๒๕๖๕”

วันศุกร์ ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕  เวลา ๐๙:๐๐ – ๑๖:๓๐ น. กำหนดการประชุมเชิงวิชาการ  “โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ปี ๒๕๖๕”ณ ห้องประชุมชั้น ๘ อาคาร ๓๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทปีงบประมาณ 2565ภาตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)เป้าหมาย 200 ตำบล/เมืองโดยสรุปภาพรวมการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชนในปี ๒๕๖๔โดย ผศ.ดร.ทวี

วัชรเกียรติศักดิ์  เป็นประธานเปิดการอบรมพร้อมด้วย นายสมพงษ์  แสงศิริ  ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาชี้แจงวัตถุประสงค์ ที่มา ความสำคัญและเป้าหมายของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดย ตัวแทนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  จำนวน20อำเภอนครราชสีมาที่มาร่วมฟังการนี้

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท เป็นการสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่รูปธรรม “ตำบล/เมือง” ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีแผนพัฒนาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ระยะ 3 ปี 5 ปี แผนพัฒนาที่จะเคลื่อนงานชัดเจน และสอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนงานของจังหวัด แผนพัฒนาเชื่อมโยงทุกประเด็นงานพัฒนาและครอบคลุมทุกมิติ และสามารถบูรณาการแผนงานและงบประมาณ ระบบฐานข้อมูล กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ตาบล/เมืองมีระบบช่วยเหลือทางสังคมในการดูแลสมาชิกในชุมชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสสู่การจัดการและพึ่งพาตนเองที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในด้านต่างๆ

กิจกรรมภายในงานการเสริมพลังกลุ่มคนเปราะบางสู่สังคมชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน โดย นางทัศกมณฑจ์  เกิดผล  นักพัฒนาสังคมชำนาญการสำนักงานพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา แนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างวิสาหกิจให้เข็มแข็ง และสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายโดย นักพัฒนาธุรกิจชุมชน บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีนครราชสีมา (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัดการทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมา     การทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา  ภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาการทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาออกแบบจังหวะก้าวร่วมกัน และสรุปผลการทำ Workshopโดย ตัวแทนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)อีกด้วย

ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประชุมที่ปรึกษา คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม จ.นครราชสีมาและเครือข่าย…..

วันที่ ๑๑ กุมกาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓ 00-๑๕.00 น.ณ ห้องประชุม สนง.การท่องเทียวและกีฬาจังหวัดนครราชสิมา โดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมงาน ก่อนหน้านั้นนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาในการเปิดประชุมวาระ1/2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ


๑.๑ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียรจันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมประชุม
๑.๒ ชมวีดีทัศน์ สรุปผลการดาเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๘
๑.๓ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
มอบเข็มเชิญชูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศ
กล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภา
วัฒนธรรมชุดใหม่
มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อทราบ
๓.๑ ด้วยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้อนุมัติโครงการเพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ จานวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการผลิตสื่อออนไลน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเอง จานวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท
โครงการเล่าขายประวัติศาสตร์นครราชสีมา ผ่านนามสกุลคนโคราชจำนวนเงิน ๒๑๐,๐๐๐ บาท
โครงการหมู่บ้านพืชผักสวนครัวเกษตรอินทรีย์ ๕ ดี วิถีคนโคราชจำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งสภาวัฒนธรรมได้ดาเนินการไปแล้วทั้ง ๓ โครงการ พร้อมทั้งรายงานผลการดาเนินงานโครงการไปยังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมทั้ง ๓ โครงการ และในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ กรมส่งเสริมได้อนุมัติโครงการให้สภาวัฒนธรรม
ดำเนินโครงการ ๑ โครงการ ได้แก่ โครงการ จัดทาชุดองค์ความรู้วิถีคนโคราช “กิ๋นเป็นยา” เพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (นำเสนอโดยเลขาสภาวัฒนธรรม)
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
๔.๑ การแต่งตั้งที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘
๔.๒ การแต่งตั้งประธานกลุ่มอาเภอ โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
แบ่งเป็น ๖ กลุ่มอาเภอ ดังนี้
กลุ่มที่ ๑. ๖ อาเภอ ได้แก่ เมืองนครราชสีมา, สีคิ้ว,สูงเนิน,ปากช่อง,เฉลิมพระเกียรติ,ขามทะเลสอ
กลุ่มที่ ๒. ๕ อาเภอ ได้แก่ โชคชัย,ปักธงชัย,วังน้าเขียว,ครบุรี,เสิงสาง
กลุ่มที่ ๓. ๖ อาเภอ ได้แก่ พิมาย,ชุมพวง,โนนแดง,ประทาย,ลาทะเมนชัย,เมืองยาง
กลุ่มที่ ๔. ๕ อาเภอ ได้แก่ โนนสูง,จักราช,ห้วยแถลง,หนองบุญมาก,โนนไทย
กลุ่มที่ ๕. ๔ อาเภอ ได้แก่ ด่านขุนทด,เทพารักษ์,พระทองคา,ขามสะแกแสง
กลุ่มที่ ๖. ๖ อาเภอ ได้แก่ บัวใหญ่,บัวลาย,สีดา,แก้งสนามนาง,คง,บ้านเหลื่อม
๔.๓ การมอบหมายคณะทางานตามโครงสร้างสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕
๔.๔ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาตามบทบาท
หน้าที่และภาระงานของสภาวัฒนธรรม
๔.๕ พิจารณาข้อบังคับของสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘

งานทอดผ้าป่าสามัคคีตำรวจภูธรภาค ๓ สมทบทุนบูรณะสถานพระนารายณ์และศาสนสถาน

ทอดผ้าป่าสมทบทุนบูรณะ สถานพระนารายณ์และศาสนสถาน

 วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร

วันเสาร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๕เวลา๑๐.๐๙น.

งานทอดผ้าป่าสามัคคี ตำรวจภูธรภาค ๓ สมทบทุนบูรณะ สถานพระนารายณ์และศาสนสถาน

โดยมีพระธรรมวรนายก  เจ้าอาวาสวัด พระนารายณ์มหาราชวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ประธานฝ่ายฆราวาส และหน่วยงานราชการในจังหวัดนครราชสีมาเข้าร่วมพิธี ณ.พระวิหารวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร จังหวัดนครราชสีมาได้ปัจจัย ๘,๔๘๕,๗๑๗ บาท อนุโมทนาบุญร่วมกันสาธุ

นิทรรศการแสดงผลงานอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชน คนสร้างศิลปะร่วมสมัยนครชัยบุรินทร์

งานศิลปนานาชาติ Thailand Biennale Korat 2022

 นิทรรศการแสดงผลงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ เยาวชนคนสร้างศิลปะร่วมสมัย นครชัยบุรินทร์ ยกระดับขีดความสามารถการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ไหมนครชัยบุรินทร์

วันที่ 21 มกราคม 2565 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปะส่งเสริมการท่องเที่ยวโดย ได้รับเกียรติ นายชู​ศักดิ์​ ชุน​เกาะ​ รองผู้ว่าราชการจังหวัด​นครราชสีมา​ เป็น​ประธานพิธีเปิดงาน นิทรรศการแสดงผลงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ เยาวชนคนสร้างศิลปะร่วมสมัย นครชัยบุรินทร์ ยกระดับขีดความสามารถการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ไหมนครชัยบุรินทร์( นครราชสีมาชัยภูมิสุรินทร์และบุรีรัมย์) ลานวาไรตี้​ หน้า MCC HALL ห้างสรรพสินค้า​เดอะมอลล์​จังหวัดนครราชสีมา​ ด้วยกิจกรรมจัดระหว่างวันที่ 18 ถึง 25 มกราคม 2565 ขอเชิญผู้สนใจทั่วไปร่วมกิจกรรม ชมงานศิลปะตื่นตาตื่นใจ

ประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ

โครงการอบรมวิชาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและการประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ

วันพุธที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕ณ วิทยาลัยเทคนิคนครโคราช (วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา)อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา การประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพนายวิจิตร กิจวิรัตน์คำปลัดจังหวัดนครราชสีมา ประธานกล่าวเปิดโครงการ พร้อมด้วยนางอารยา ศิริทิพย์ ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓กล่าวเปิดกิจกรรม และท่านผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติในสังกัดคุมประพฤติภาค ๓ /ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓ และคณะ/ผู้บริหารในสังกัดกระทรวงยุติธรรม/ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครโคราช/ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาและแขกผู้มีเกียรติทุกท่านผู้เข้าร่วมพิธีเปิด

โครงการอบรมวิชาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและการประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ และในวันนี้ผู้เข้าร่วมประกวดการทำอาหารในระดับภาคที่ได้เดินทางมาจากจังหวัดบุรีรัมย์/สุรินทร์/ศรีสะเกษ/ยโสธร/อำนาจเจริญ/ชัยภูมิและอุบลราชธานีนั้น จังหวัดนครราชสีมา มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ผู้กระทำผิดได้มีอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวโดยการฝึกอาชีพ ส่งเสริมให้มีงานทำและมอบทุนประกอบอาชีพ รวมทั้งเสริมสร้าง

บทบาทของอาสาสมัครคุมประพฤติให้เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการคืนคนดีสู่สังคมอย่างครบวงจรทักษะวิชาชีพสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า นั้นตามที่ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓ ได้กล่าวรายงานมาแล้วนั้นนับเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะภารกิจหลักของกรมคุมประพฤติคือการดูแลแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน การสร้างงาน สร้างอาชีพ และยกระดับในการทำอาหารของผู้กระทำผิด ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสร้างขวัญกำลังใจ ต่อไป ผลการแข่งขันประเภทการประกวด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

๑. ประเภทอาหารคาว

๒.ประเภทอาหารหวาน

ได้แก่ชนะเลิศที่๑ทีมสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสุรินทร์ทั้งสองรายการ

มทร.อีสาน ขับเคลื่อนยกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม

มทร.อีสาน ขับเคลื่อนยกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม วิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ เร่งเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ได้จัดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยได้รับเกียรติจาก รศ. (พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะผู้แทน รมว.อว. เป็นประธานกล่าวให้โอวาท และกล่าวปิดโครงการฯ โดยมี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ,ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการฯ ,ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ร่วมพิธีเปิด

รศ. (พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายจากท่าน ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  ให้มาเป็นประธาน และกล่าวปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรม ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  ภาคเหนือ ในวันนี้

ตามที่คณะทำงานโครงการอบรมฯ โดยการนำของ ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ และคณะวิทยากร ได้ดำเนินการจัดให้มีการอบรมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 6 ภาค ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมานั้น ทำให้พี่น้องวิสาหกิจชุมชนทั้ง 2574 กลุ่ม ได้มีการยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ทั้ง 6 ด้าน ครอบคลุมทั้งด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคติดเชื้อโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน

หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการยังจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปเป็นทุนตั้งต้น เพื่อต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน  ซึ่งการอบรมในครั้งนี้เป็นเพียงห้วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ท่านทั้งหลายควรนำสิ่งที่คณะวิทยากรได้ให้ในการอบรมในครั้งนี้ ไปประยุกต์ปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มความสามารถ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

“กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จะเป็นที่ปรึกษาและเป็นกำลังใจในการดำเนินงานของท่าน  ในการที่จะฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรค ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ขอชื่นชมและขอบคุณ คณะทำงานโครงการฯ และคณะวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน พิษณุโลก ที่ได้เอื้อเฟื้อให้การสนับสนุนสถานที่ในการจัดการอบรมในครั้งนี้”

ด้าน ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นอีกประมาณ 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป