งานแถลงข่าวและเปิดตัวนักกีฬา นครราชสีมา คิวมินซี วีซี

งานแถลงข่าวและเปิดตัวนักกีฬา นครราชสีมา คิวมินซี วีซี Nakhonratchasima QminC VC ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย ณ ศูนย์การค้า เทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 – 15 ตุลาคม 2564 ส่งแรงใจเชียร์ผ่านหน้าจอทีวี ถ่ายทอดสดช่อง 36 PPVT HD
นายวัชรพงษ์ โตมรศักดิ์ ประธานสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ผู้สนับสนุน และสื่อมวลชน ว่า ด้วยผู้ใหญ่ใจดีที่ปรึกษาอย่างเช่น ท่านวิเชียร จันทรโณทัย นายกสมาคมแห่งจังหวัดนครราชสีมา ทุกภาคส่วน รวมไปถึงสปอนเซอร์ทุกท่าน ในการแข่งขันครั้งนี้เป้าหมายคือ “เชียร์โคราช เพื่อชาติไทย” นั่นคือสัญลักษณ์ที่เราจะประกาศว่า เราอยากมอบความสุขในการแข่งขันครั้งนี้ โดยจะทำลำดับการแข่งขันให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นทีมชายและทีมหญิง ขณะที่ทุกคนหวาดพวากับเรื่องโควิด-19 ทุกคนต้องกักตัวอยู่ที่บ้านไปไหนมาไหนลำบาก แต่ถ้ามีวอลเลย์บอลที่แข่งขันในจังหวัดนครราชสีมา มีผู้ใหญ่ใจดี มีสปอนเซอร์หลายท่านให้การสนับสนุนช่วยกัน ผมบอกกับนักกีฬาของเราและคุณแม่ปทุมว่า การแข่งขันครั้งนี้จะไม่มีคนดูในสนาม

แต่นอกสนามจะมีคนไทยและคนโคราชที่ได้เชียร์และชมผ่านพีพีทีวี 36 สิ่งที่เราทำได้ในวันนี้ก็คือมอบความสุข ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด โดยได้ดึงเอานุศรา มือเซ็ตมาเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมหญิง ทั้งๆ ที่ทีมเราก็พร้อมอยู่แล้ว และเช่นเดียวกับนักกีฬาทีมชายที่เราก็ได้ดึงเอานักกีฬาทีมชาติที่มีความสามารถในทีมต่างๆ เข้ามาร่วมเสริมทีมเพิ่มความแข็งแกร่ง เป้าหมายหลักคือ แชมป์ เพื่อให้ความสุขกับทุกๆ ท่าน
นายวิเชียร จันทรโณทัย นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครราชสีมาและที่ปรึกษาสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว กล่าวเสริมว่า ในอดีตที่ท่านมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เราก็ร่วมกับสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา ว่าเราอยากเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานวอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรแห่งเอเชียขึ้นมาเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดนครราชสีมา และก็เป็นการเปิดจังหวัดนครราชสีมา สร้างฐานะให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองกีฬา ครบถ้วน สมบูรณ์ เราต้องการให้มีแมทช์กีฬาต่างๆ ในทุกระดับ เพื่อให้สมเป็นเมืองแห่งกีฬา หลังจากนั้นผมก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่จังหวัดชัยภูมิ ในระหว่างที่เราดีลงานกับสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา เราอาจจะขายบัตรเข้าชมการแข่งขันได้ร้อยละ 25 แต่สถานการณ์โควิด-19 เรายังเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม ดังนั้นค่าเข้าชมจากการจำหน่ายบัตรจึงเป็นไปไม่ได้เลย แต่ด้วยความกรุณาจากท่านผู้ว่ากอบชัย ท่านรองชรินทร์ และท่านสาธารณสุขจังหวัด รวมถึงท่านประธานสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมาที่ไม่ถอดใจเลย ไม่ถอย หลายปัญหาผมคิดว่าขอยกเลิกได้ไหม ขอไม่เอาได้ไหม ผมกลัวจะพูดตรงนั้นออกมาหลายครั้งเวลารับโทรศัพท์ เวลาพูดคุยเพราะว่าปัจจุบันมันเกิดปัญหาหลายประการมาตลอด จนมาถึงวันนี้ผมเห็นถึงความเหน็ดเหนื่อย ความต่อสู้และความตั้งใจของทุกฝ่าย ผมยังคิดว่าถ้าทางท่านประธานจัดงานบอกว่าไม่เอาแล้ว ผมก็คงจะถอดใจ ถอดผ้า ยกผ้าขาว ไม่เอาแล้วเช่นกัน ผมคิดว่าการแข่งขันครั้งนี้เป็นการต่อสู้ของพี่น้องชาวจังหวัดนครราชสีมาอยากให้เกิดการแข่งขันครั้งนี้จริงๆ ทุกภาคส่วน ในนามนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครราชสีมาขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ให้การสนับสนุนการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรแห่งเอเชียขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาไว้ ณ ที่นี้ด้วย

นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ถ้าพูดถึงกีฬาวอลเลย์บอลแล้ว จังหวัดของเราก็เป็นเมืองแห่งกีฬาวอลเลย์บอลของประเทศไทยอยู่แล้ว เราเคยจัดกีฬาวอลเลย์บอลระดับประเทศ ระดับเอเชีย เรามีนักกีฬาที่มีชื่อเสียงที่เป็นลูกหลานชาวโคราช ติดทีมชาติก็หลายคน เรามีเกียรติประวัติมาแล้ว แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้จังหวัดนครราชสีมา ทีมงานนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดอย่างต่อเนื่อง เราจะสามารถจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลครั้งนี้ได้อย่างไม่มีข้อบกพร่อง บับเบิลไม่แตก ขอให้ทุกท่านมั่นใจ เราพูดคุยรายละเอียดทุกเรื่องเพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดการแข่งขันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นักกีฬา คณะเจ้าหน้าที่ทุกท่านปลอดภัย การถ่ายทอดทางทีวีเป็นไปอย่างราบรื่น เราพร้อมจะจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์แห่งเอเชียไปด้วยกัน ในทุกๆ ระดับ
นายฐานธิษณ์ ยืนยงเตชะหิรัณ ประธานกรรมการบริษัท เทรา ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอเรจ จำกัด กล่าวว่า โดยส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับนักกีฬาวอลเลย์บอลและคณะกรรมการสโมสรมานานกว่า 15 ปี ปีนี้ผมเชื่อว่าทางสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา ซึ่งมีศักยภาพเยอะ แบรนด์ของเราเป็นแบรนด์น้องใหม่ แลผมหวังว่าปีนี้สโมสรเราคงจะได้แชมป์

ฝนถล่มถนนขาดเส้นท่องเที่ยว น้ำตกวังเณร ชลประทานรุดซ่อมแซมช่วยชาวบ้าน

วันที่ 16 กันยายน 2564 นายสิทธิพล เสงี่ยม ผู้อำนวยการศูนย์ ปภ. เขต 5 นครราชสีมา มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่วนป้องกันและปฏิบัติการร่วมกับส่วนสนับสนุนทรัพยากรกู้ภัย ดำเนินการติดตั้งสะพานถอดประกอบ (Bailey Bridge) พื้นที่ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากน้ำกัดเซาะถนนเลียบคลองส่งน้ำชลประทาน ที่ใช้สัญจรเชื่อมต่อบ้านมะเกลือเก่า หมู่ที่ 1 กับหมู่ที่ 2 ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ประชาชนใช้เส้นทางในการสัญจรไปมาได้ตามปกติ มีประชาชนได้รับประโยชน์ 700 ครอบครัว 1,900 คน

ชาวพุทธร่วมใจโครงการของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ช่วยเหลือ พี่น้องผู้ประสบภัย จากโควิด19

วันที่ 15 ก.ย.64 เวลา 10.00 – 11.00 น. พุทธสมาคม จว.น.ม./หน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับวัดสุทธจินดา วรวิหาร โดย ท่านพระครูอุดมธีรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์จินดาวรวิหาร เจ้าคณะอำเภอฝ่ายธรรมยุตปากช่อง เป็นผู้แทนฝ่ายสงฆ์ และ พันเอก นเรศ พิลาวรรณนายกสมาคมพุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมาและคณะกรรมการ พร้อมนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและคณะกรรมการร่วม พร้อมภาคีเครือข่าย. แจกถุงยังชีพ (ข้าวสาร อาหารแห้ง และสิ่งของที่จำเป็นในการดำรงชีพประจำวัน) ณ โรงเรียนวัดสุทธจินดา จำนวน 80 ชุด
ในโอกาสนี้วัดสุทธจินดา วรวิหาร /ด้วยจะนำอาหารกล่อง จำนวน 100 กล่องไปแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (โควิด-19) ตามโครงการของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ให้วัดมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีประชาชนชุมชนหนองบัวรอง ชุมชนหลังวัดวัดสุทธจินดาร่วม จำนวน80 คนที่เดินทางมารับสิ่งของ นอกจากนั้นยังมีการแจกของจัด ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เป็นแนวทางที่หลาย ๆ คนจะต้องปรับเปลี่ยนชุดพฤติกรรม ในช่วงไวรัสโควิด-19ออกมาระบาดแล้วเปลี่ยนชีวิตเราไปอีกนาน ..และก่อนการรับแจกสิ่งของ ตรวจวัดอุณภูมิความร้อนบนร่างกาย และพ่นแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ตามรายชื่อของแต่ละชุมชนอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ “งานแถลงข่าวโคราชกรีนบ็อกซ์” วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 16.00-17.00 น. ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำสายศร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

“ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาจับมือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หอการค้าจังหวัดจังหวัดนครราชสีมา องค์กรภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนชวนนับถอยหลังกับมาตรการเปิดเมืองด้วยแนวคิด “โคราชกรีนบ็อกซ์”
วันนี้(10 กันยายน 2564) เวลา 16.00 น. นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานในงานแถลงข่าวเผยแนวทางดำเนินการ “โคราชกรีนบ็อกซ์” กับมาตรการเปิดเมือง120วันของรัฐบาลพร้อมรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในจังหวัดแล้ว เชื่อมั่นว่าชาวโคราชพร้อมร่วมใจ
เพราะจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นในทรัพยากรทางการท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนปีละ 9 ล้านกว่าคนในปี 2562 เห็นใจว่าผู้ประกอบการทุกคนล้วนได้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นาน เป็นสิ่งที่เราทุกคนเผชิญอยู่อย่างปฏิเสธไม่ได้ ทั้งยังส่งผลอย่างมากต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคม

ตลอดจนการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาอยากให้ทุกคนกลับมาต่อวงจรเศรษฐกิจให้ได้ ที่ผ่านมาจังหวัดนครราชสีมามีมาตรการในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยของประชาชนในทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตามด้วยความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายภาคเอกชนของจังหวัดนครราชสีมาที่มีความตั้งใจในการกำหนดแนวทางและมาตรการในการดูแลความปลอดภัยให้กับพนักงานในสถานประกอบการ รวมถึงการกำหนดให้มีโครงการ “โคราชกรีนบ็อกซ์”ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักเดินทางไมซ์ที่จะเดินทางมายังจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากอำเภอปากช่องก่อนแล้วค่อยขยายไปยังอำเภออื่นๆ จังหวัดนครราชสีมาก็ต้องขอขอบคุณและความร่วมมือของภาคเอกชน จังหวัดนครราชสีมาก็มีความยินดีและพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมนี้ ที่ตั้งอยู่บนมาตรการที่รัฐบาลกำหนด
นอกจากนี้ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดนครราชสีมาเป็นหน่วยงานที่ริเริ่มโครงการ “โคราชกรีนบ็อกซ์” ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมือในการวางแผนโครงการเป็นอย่างดี ซึ่ง “โคราชกรีนบ็อกซ์” หมายถึง พื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาที่มีความปลอดภัยและคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม หวังช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องฟื้นตัวโดยเร็วจากการท่องเที่ยว มั่นใจสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวในโครงการ “โคราชกรีนบ็อกซ์” มีมาตรการหลายชั้นรัดกุม เน้นทั้งผู้ให้บริการที่ต้องมีการตรวจATKทุก7วัน เพื่อความปลอดภัยในด้านการท่องเที่ยว ป้องกันการติดเชื้อ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถมั่นใจได้ว่า มาเที่ยวในโครงการโคราชกรีนบ็อกซ์แล้วจะได้รับความปลอดภัยจากการเดินทาง”

ยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding)

ยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding) บูรณาการหน่วยงานในการอำนวยความยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา และ โครงการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
วันที่ 6 สิงหาคม 2564 ณ ห้องประชุมมูลนิธิท้าวสุรนารี ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา โดย นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าจังหวัดนครราชสีมา ประธานพร้อมด้วย นายวิเชียร ไชยสอน ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมาในโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding) บูรณาการหน่วยงานในการอำนวยความยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา และ โครงการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กล่าวและ ดร.ยลดล หวังศุภกิจโกศลนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จังหวัดนครราชสีมา ท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา แรงงานจังหวัดนครราชสีมา ประธานมูลนิธิพุทธธรรมนครราชสีมา (ฮุก 31) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา นายกเทศมนตรี/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทุกท่าน

นายวิเชียร ไชยสอน ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมากล่าวในปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้นยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีช่องว่าง ระหว่างคนรวยกับคนคนจน ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่เราได้ยินประจำ “คุกมีไว้ขังคนจน” “คนรวยนอนบ้าน ขอทานนอนคุก” ถ้ามีปัญญาก็ไปฟ้องเอา ต่างๆเหล่านี้ล้วนสะท้อนปัญหาการเข้าไม่ถึงประบวนการยุติธรรมของประชาชนได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา มีกระบวนการ ขั้นตอน ตามระเบียบกฎหมาย ที่มีเงื่อนไขบังคับให้ประชาชนผู้ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการ จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนที่ไม่มีฐานะทางการเงินที่ดี ไม่สามารเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก จึงเกิดคำพูดอย่างที่กล่าวข้างต้น กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาด้านบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม ได้เพิ่มโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรม (Access to Justice) แก่ประชาชนด้วยการพัฒนาแนวคิด“ยุติธรรมชุมชน (Community Justice) ” ให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยการสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชน (คยช.) และการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน (ศยช.) ทั่วประเทศ และจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดตั้งขึ้นจำนวน 333 ศูนย์กระจายอยู่ทุกอบต.และเทศบาล โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ (1)ช่วยเหลือประชาชนในทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมและการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในชุมชน (2) เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งด้านกฎหมายและความยุติธรรมแก่ประชาชน โดยกำหนดกรอบภารกิจหลักของระบบยุติธรรมชุมชนออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1.การเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาอาชญากรรม การทุจริตและประพฤติมิชอบและการกระทำผิดกฎหมายต่างๆ ในชุมชน
2.การรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ปัญหาความไม่เป็นธรรมของประชาชน และรับแจ้งเบาะแสข้อมูลการกระทำความผิดกฎหมายต่างๆ ตลอดจนการช่วยเหลือ ดูแล ให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือผู้ที่ต้องการคำแนะนำเบื้องต้นทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
3.การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือความขัดแย้งในชุมชนตามหลักความยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ การเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน และการติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้มีการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือความขัดแย้งนั้น
4.การให้ความช่วยเหลือ ดูแลผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากอาชญากรรมและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามหน้าที่
5.ให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ และบำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดและผู้พ้นโทษให้กลับตนเป็นพลเมืองดีและไม่หวน
ด้านนายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าจังหวัดนครราชสีมา

กล่าวเปิดด้วยสถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้น ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่เราได้ยินประจำ “คุกมีไว้ขังคนจน” “คนรวยนอนบ้าน ขอทานนอนคุก” ถ้ามีปัญญาก็ไปฟ้องเอา ต่างๆ เหล่านี้ล้วนสะท้อนปัญหาการเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา มีกระบวนการ ขั้นตอน ตามระเบียบกฎหมาย ที่มีเงื่อนไขบังคับให้ประชาชนหรือผู้ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการต้องมีค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนที่ไม่มีฐานะหรือเงินมากพอ ที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก และเกิดคำพูดอย่างที่กล่าว แม้หลายหน่วยงาน จะเข้ามาช่วยในการดูแลและอำนวยความยุติธรรมอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยหันเหคดีออกจากศาลหรือการแก้ปัญหาร้องเรียน ร้องทุกข์ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มีความรวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้นก็ตาม แต่ปัญหาการเข้าไม่ถึงความยุติธรรมของประชาชนก็ยังไม่มีทีท่าลดลง ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือกระบวนการอำนวยความยุติธรรมดังกล่าว
สรุปผลการตัดสินการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔
ศูนย์ยุติธรรมชุมชน รางวัลอบต.หนองแวง อ.เทพารักษ์ รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ชนะเลิศ ๒. อบต.พระพทฺธ อ.เฉลิมพระเกียรติ รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
รองชนะเลิศลำดับที่ ๑เทศบาลตำบลโพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
รองชนะเลิศลำดับที่ ๒เทศบาลตำบลช่องแมว รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดอ.ลำทะเมนชัย นครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ด้านการช่วยเหลือประชาชน ๕. อบต.เมืองพลับพลา รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดอ.ห้วยแถลง นครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ด้านการช่วยเหลือประชาชนอบต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ระดับดีเยี่ยม ๗. อบต.จระเข้หิน อ.ครบุรี รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ระดับดีเยี่ยมอบต.วังโพธิ์ อ.บ้านเหลื่อม รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔

สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร มอบสิ่งของให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ส่งต่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร มอบสิ่งของให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ส่งต่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้ ๑๙ บ้านโนนสวรรค์ ตำบลพระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ,นายพิเย็น ภักดีสุวรรณ หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กฟผ. ,ดร.อำไพพรรณ สิงห์สกุล ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระเครื่อง จ.ขอนแก่น ,นายสุขุม กาญจนกัณโห ที่ปรึกษานักสื่อสารสร้างสรรค์ ภาคอีสาน , นายพีรพล แสงสุนีย์ ที่ปรึกษาสมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.56ปี) ,นางสาวพิมพ์ธนัญญา ธนาพัชร์จิรกุล ผู้บริหารโรงแรมอัญชันลากูน่า ขอนแก่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน และทีมนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภาคอีสาน จ.ขอนแก่น ร่วมมอบสิ่งของให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ตำบลพระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมี นายวินัย ทองทัพ กำนันตำบลพระลับ พร้อมทีมบริหาร และฝ่ายปกครองตำบลพระลับ เป็นตัวแทนรับมอบ

นโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน กล่าวว่า สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และทีมนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภาคอีสาน จ.ขอนแก่น พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร ได้ร่วมกันรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ ได้แก่ พัดลมติดผนัง หน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ กระเป๋าผ้า หมวก และน้ำดื่ม มามอบให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ตำบลพระลับ เพื่อนำไปใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตำบลพระลับ ในการปฏิบัติหน้าที่ทุ่มเท เสียสละ และทำงานอย่างเต็มขีดความสามารถ ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

จากนั้น นายวินัย ทองทัพ กำนันตำบลพระลับ ได้นำคณะเยี่ยมชม Food Bank การก่อสร้างน้ำตก เพื่อบำบัดน้ำเสีย ตามแนวความคิดทำน้ำเสียให้เป็นเงิน โดยได้รับความอนุเคราะห์ และความร่วมมือจากหน่วยงาน ส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เข้ามาให้คำแนะนำ คำปรึกษา ในการปรับปรุงพื้นที่หนองอีเลิง ซึ่งเป็นแหล่งรับน้ำทิ้ง น้ำเสีย ของเมืองขอนแก่น ให้เป็นน้ำดี ก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำชี โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ท่านได้พระราชทาน เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน

ซีพีเอฟโคราชส่งมอบอาหารบรรเทาความเดือดร้อนชาวบ้านต่อเนื่อง ขณะที่ภาครัฐชื่นชม วางมาตรการดูแล พนง.และชุมชนได้ดี

ซีพีเอฟโคราชส่งมอบอาหารบรรเทาความเดือดร้อนชาวบ้านต่อเนื่อง
ขณะที่ภาครัฐชื่นชม วางมาตรการดูแล พนง.และชุมชนได้ดี

(นครราชสีมา) ซีพีเอฟ นครราชสีมายืนหยัดการส่งมอบความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชุมชนรอบโรงงาน ล่าสุด ได้สนับสนุนเนื้อไก่สด ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ตามนโยบายเครือซีพี ให้กับผู้นำชุมชนหมู่บ้านโซนกอโจด-ไทรย้อย ต.ท่าเยี่ยม จ.นครราชสีมา รวม 4 หมู่ 37 ครอบครัว เพื่อให้ชุมชนนำไปทำข้าวมันไก่ แจกให้ผู้ที่กักตัวอยู่ที่บ้าน โดยมีสาธารณสุขจังหวัด และ อสม. ร่วมลงพื้นที่แจกจ่ายช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิดด้วย นอกจากนี้ ยังมอบเนื้อไก่-เนื้อหมูอีกกว่า 300 กก. ผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อสนับสนุนโรงครัวสภากาชาดไทย นำไปปรุงอาหารให้ประชาชน ขณะที่ก่อนหน้านี้ ได้ลงพื้นที่ มอบถุงยังชีพและหน้ากากอนามัย ในพื้นที่ตำบลสารภี อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกเหนือจากการบรรเทาความเดือดร้อนให้พี่น้องในชุมชนต่างๆแล้วโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ซีพีเอฟนครราชสีมา ได้ดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างเข้มข้น ด้วยการจัดทำมาตรการบับเบิลแอนด์ซีล เพื่อปกป้องทั้งพนักงานและชุมชน ตามแนวทางที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.กำหนด เพื่อควบคุมโรคและจำกัดพื้นที่การระบาด เน้นย้ำการจัดกลุ่ม คุมได้ไว ลดการแพร่กระจาย โดยแยกผู้ติดเชื้อออกไปรักษา ส่วนกลุ่มเสี่ยงได้จัดที่พักกักตัวอยู่ภายในโรงงานและสถานที่พักที่กำหนด พร้อมจัดรถรับส่ง โดยไม่มีพนักงานคนใดออกนอกสถานที่พักหรือนอกเส้นทางระหว่างที่พักกับโรงงานได้

นพ.ชาญชัย บุญอยู่ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวชื่นชมซีพีเอฟที่ให้ความร่วมมือ ดำเนินมาตรการต่างๆอย่างเคร่งครัด สอดคล้องกับ นางสาวทิพวรรณ ศรีทรมาศ นักระบาดวิทยา ซึ่งได้กล่าวชมว่าการทำบับเบิลแอนด์ซีลของซีพีเอฟนครราชสีมามีการทำเป็นระบบมีการแยกพนักงานที่มีความเสี่ยงออกจากพนักงานปกติอย่างเด็ดขาดชัดเจนก่อนนำเข้าระบบบับเบิลแอนด์ซีล ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากทำให้ไม่พบพนักงานป่วย หรือมีอาการหนักเพิ่มเติม

นอกจากนี้ พนักงานในโรงงานยังได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 กันแล้วเกือบ 100% ทำให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกันที่ดี เมื่อผนวกกับมาตรการบับเบิลแอนด์ซีลที่เข้มข้น ทำให้โรงงานแห่งนี้จัดเป็นต้นแบบโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการระบบป้องกันโควิด-19 ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของนครราชสีมา./

#แจกฟรีทุกคนที่ฉีดครบ2เข็ม

สำหรับผู้ที่รับวัคซีนครบ 2 เข็ม โดยไม่จำกัดยี่ห้อวัคซีน สถานที่ฉีด และภูมิลำเนา สามารถติดต่อรับได้ฟรีทุกคน ที่เซ็นทรัลโคราช ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป บริเวณด้านหน้า Korat Hall ชั้น 4 เวลา 09.00-16.30 น. โดยแสดงหลักฐานการรับวัคซีนกับเจ้าหน้าที่

สำหรับแคมเปญริสแบนด์ I Got Vaccinated เป็นโครงการโดยภาคเอกชน กลุ่มพลังใจโคราช และ HackVax Korat เป็นผู้จัดทำริสแบนด์มาแจกให้ฟรี โดยร่วมมือกับกลุ่มห้่ง ร้าน และธุรกิจต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา มอบเป็นส่วนลดและสิทธิพิเศษ ให้กับผู้ที่สวมริสแบนด์ มีร้านต่างๆ ในจังหวัดเข้าร่วมแคมเปญมากมาย เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจในจังหวัดสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้โดยเร็วที่สุด

กองทัพภาค2ที่รวมน้ำใจช่วยเด็กดียากจน

:เมื่อวันที่ 24 ส.ค.64 พลตรี บุญสิน พาดกลาง ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3

  • ได้เข้าช่วยเหลือครอบครัวของ น.ส.รุ่งทิวา เดินกลาง นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนศรีสุขวิทยา ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง จว.น.ม. ที่เรียนดีมีฐานะยากจนในพื้นที่บ้านโนนโพธิ์ ต.ธารละหลอด อ.พิมาย จว.น.ม. โดยได้มอบสิ่งของอุปโภคบริโภคให้กับครอบครัวดังกล่าว เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีรายการ ดังนี้
    1) ไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 20 ตัว พร้อมอาหาร 2 กระสอบ
    2) ปลานิลจิตรลดา จำนวน 1000 ตัว พร้อมอาหาร 2 กระสอบ
    3) มอบทุนเรียนภาษาอังกฤษครูนะ ออนไลน์ จำนวน 2ทุน ทุนละ8,000 บาท
    4) ถังเก็บน้ำ ขนาด 1,500 ลิตร จำนวน 2 ถัง
    5) ผ้ามุ้งไนล่อนสีฟ้า กว้าง 1.5 เมตร ยาว 150 เมตร
    6) ทุนการศึกษา จำนวน 5,000 บาท

ทหารรวมน้ำใจ..ช่วยเด็กดีเรียนดีฐานะยากไร้ ครูไปเยี่ยมบ้าน เด็กไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้ เด็กดี เด็กเรียนดี ครูต้องผงะ ในสภาพ บ้านไม่มีไฟใช้และโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง แต่ต้องเเรียนร่วมกันน้องผ่านออนไลน ออนไลน์

#ไม่สน พรก.ฉุกเฉิน จนท.ปกครองโคราช บุกจับวัยรุ่นรวมกลุ่มตั้งวงเหล้า

เมื่อเวลา 22.30 น คืนวันที่ 21 สค.64 ที่ผ่านมา นายณรงชนนฐ์ ดีปู่ ปลัดอาวุโส อ.เมืองนครราชสีมา ได้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ ตำรวจ สภ.เมืองนครราชสีมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อ.เมืองนครราชสีมา และกำลัง เจ้าหน้าที่ อส.อ.เมือง เดินทางไปตรวจสอบที่หมู่บ้าน เทคโนวิลเลจ ซอย 30 กันยา อ.เมือง หลังได้รับแจ้งว่า มีผู้กระทำผิด ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในลักษณะจับกลุ่มมั่วสุม มีการรวมกลุ่ม ดื่มสุรา และส่งเสียงดังยามวิกาล ภายในหมู่บ้านดังกล่าว จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่เจ้าไปตรวจสอบ พบมีกลุ่มวัยรุ่น ชายและหญิง กลุ่มใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา จำนวน 23 คน กำลังนั่งล้อมวงดื่มสุรา เปิดเพลง พูดคุยกัน ส่งเสียงดัง ไม่มีการสวมใส่หน้ากากอนามัย และไม่มีการรักษาระยะห่างเป็นการเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-10 จึงได้สั่งให้หยุดกิจกรรมทั้งหมด พร้อมสอบสวนกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวด้านนายณรงชนนฐ์ ดีปู่ ปลัดอาวุโส อ.เมืองนครราชสีมา กล่าวว่า การจับกุมในครั้งนี้ ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าบริเวณบ้านหลังดังกล่าว มักจะมีกลุ่มวัยรุ่น เข้ามาจับกลุ่มล้อมดื่มสุรากันเป็นประจำถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงที่มีคำสั่งห้าม ก็ตาม จึงได้นำกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการจับกุมกลุ่มวัยรุ่นทั้งหมดและได้แจ้งข้อกล่าวหา ร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งจังหวัดนครราชสีมา ที่ 7368/2564 เรื่องมาตรการ ในการเฝ้าระวัง ฯ ห้ามมิให้มีการมั่วสุม ในลักษณะที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค เช่น การตั้งวงสังสรรค์ ดื่มสุรา ประกอบมาตรา 34(6) แห่ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดย จากการสอบสวนผู้กระทำความผิด ทั้ง 23 ราย รับสารภาพว่ากระทำความผิดจริง และจากการตรวจหาสารเสพติดกลุ่มมวัยรุ่นทั้งหมดไม่พบสารเสพติดแต่อย่างใด จึงนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครราชสีมา ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป