#อบจ.โคราชเดินหน้าพัฒนาระบบการศึกษาจัดงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น หวังเป็นเวทีแสดงออกถึงขีดความสามารถทักษะทางวิชาการนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด

วันนี้ (22 มิถุนายน) ที่โคราชฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดโครงการงานมหกรรมการจัดการศึกษา โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2565 เพื่อเป็นการคัดเลือกตัวแทนครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิชาการ ศิลปะ ดนตรี กีฬาและนันทนาการของครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ทั้งนี้ภายในงานได้มีการการแข่งขันทักษะทางวิชาการ จำนวน 76 กิจกรรม แยกเป็นเป็นกิจกรรมที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด 56 กิจกรรม และกิจกรรมที่ศูนย์พัฒนาทางวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ กำหนด 20 กิจกรรม โดยมี คณาจารย์ นักเรียน จากโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ทั้ง 58 แห่ง ร่วมกิจกรรม นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการรวมพลังจากทุกโรงเรียนในสังกัด อบจ.นครราชสีมา ทั้ง 58 แห่ง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของระบบการจัดการศึกษาท้องถิ่นที่ดี มีมาตรฐานจนสามารถยกระดับการศึกษาที่พัฒนาความรู้ ความสามารถของนักเรียนอย่างรอบด้าน ทั้งสติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม พร้อมส่งเสริมความเป็นเลิศเฉพาะด้าน เพื่อให้นักเรียนได้เติบโตขึ้นมีอนาคตที่ดี รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนในสังกัดเห็นถึงความสำคัญของการจัดการศึกษามากขึ้น

อบจ.โคราช แถลงข่าวการจัดมหกรรมการจัดการศึกษา 65 พร้อมเสวนาร่วมภาคีด้านการศึกษา เจาะประเด็น “อนาคตทางการศึกษาโรงเรียนสังกัด อปท.”

วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 14.00 น. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จัดงานแถลงข่าวจัดมหกรรมการจัดการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และ เสวนา “ขับเคลื่อนอนาคตทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” โดย นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ. นครราชสีมา ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นายพงษ์พิมล คำลอย ผอ.สำนักการศึกษาฯ และ ตัวแทนนักเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ร่วมเสวนา ณ ห้อง Strider Bike ชั้น 1 เซ็นทรัล โคราช


มหกรรมการจัดการศึกษาฯ เน้นการจัดนิทรรศการแสดงผลงานทางการศึกษาและจัดการแข่งขันทักษะทางวิชาการ กว่า 100 กิจกรรม ที่จะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของระบบการจัดการศึกษาท้องถิ่นที่ดี มีมาตรฐานนำไปสู่การยกระดับการศึกษาที่พัฒนาความรู้ ความสามารถของนักเรียน อย่างรอบด้าน ทั้งสติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม พร้อมส่งเสริมความเป็นเลิศเฉพาะด้าน เพื่อให้นักเรียนได้เติบโตขึ้นมีอนาคตที่ดี ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนในสังกัดฯ เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษามากขึ้น นำไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาเพื่อเกิดประโยชน์ ต่อ ผู้เรียนต่อไป

โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวฯ เน้นการแข่งขันทักษะทางวิชาการของครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนในสังกัด อบจ.นครราชสีมา ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิชาการ ศิลปะ ดนตรี กีฬา นันทนาการ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และการจัดกิจกรรมการแสดงบนเวที ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้

จะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเป็นเลิศด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัด อบจ. ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ครูและนักเรียนแสดงออกถึงศักยภาพและความสามารถอย่างเต็มที่ เพราะตรงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นโดยหลังจากจบงานมหกรรมการศึกษาภายในของ อบจ. นักเรียนที่ชนะเลิศในกิจกรรมต่างๆ จะได้รับโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมการศึกษาในระดับจังหวัด ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งงานมหกรรมการจัดการศึกษาฯ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 23 มิถุนายน 2555 ณ ห้องโคราชฮอลล์ 1 – 2 ชั้น 4 และสถานที่ในบริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

“อบจ.นครราชสีมา ได้ขับเคลื่อนด้านการบริหารจัดการการศึกษาโรงเรียนในสังกัดทั้ง 58 แห่ง เพื่อให้เกิดแนวทางพัฒนาการศึกษาของ อบจ.นครราชสีมา ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้ทันยุค ทันสมัย อีกทั้งได้นำระบบเทคโนโลยีด้านการศึกษาเข้ามายังโรงเรียน มีระบบข้อมูลแบบ BIG DATA มี โครงการอบรมหลักสูตรด้านการศึกษาใหม่ๆ ให้กับบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และอีกหลาย โครงการที่จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้น การเสวนาครั้งนี้ ให้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้น การเสวนาครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้มาพูดคุยผ่านการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ ก็จะทำให้สามารถมอง ภาพได้ชัดเจนว่าหลังจากนี้จะเพิ่มเติมจุดไหนอย่างไร เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ เรา ต้องการที่จะเห็นการศึกษาของท้องถิ่นมีการพัฒนาที่ก้าวหน้าและมั่นคงไม่แพ้ที่ใด อบจ.จึงมุ่งมั่นที่จะให้มี การพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ที่จำเป็น เราอยากเห็น “การเรียนเพื่อให้เกิดการสร้างคนคุณภาพ” เราอยากเห็น “การเรียนเพื่อให้เกิดการสร้างอาชีพที่มั่นคง” ที่ผ่านมา อบจ.บูรณาการร่วมกับ มหาวิทยาลัย ทั้ง 4 แห่งของ จังหวัดนครราชสีมา รวมถึง วิทยาลัยการอาชีพ เพื่อต่อยอดด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาและสายอาชีพ เพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีโอกาสในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นตามทิศทางและเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ให้ ประสบความสำเร็จและเต็มศักยภาพ”

PEA เดินหน้าวางระบบไฟฟ้าลงดิน 1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบประชาพิจารณ์ เพื่อเดินหน้าโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 17 ธันวาคม 2554 เวลา 13.00 น. ที่วัดพระนารายณ์มหาราช จังหวัดนครราชสีมา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบประชาพิจารณ์ โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในพื้นที่เทศบาล นครนครราชสีมา เส้นถนนจอมพล ตั้งแต่บริเวณสี่แยกศาลหลักเมือง ถึง สี่แยกตัดประตูพลล้าน ระยะทางประมาณ 800 เมตร งบประมาณ 45,618,000 บาท

เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ตามมติคณะกรรมการ กฟภ. ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เห็นชอบให้ กระทรวงมหาดไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จัดทำโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นระบบไฟฟ้าใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา ได้เลือกพื้นที่ดำเนินการบนถนนจอมพล ช่วงบริเวณสี่แยกศาลหลักเมือง ถึง สี่แยกตัดประตูพลล้าน โดยคาดหวังให้ภูมิทัศน์ของเทศบาลนครนครราชสีมาของเรา มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามและช่วยส่งเสริม ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา

นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ถึงกล่าวถึงผลกระทบและมาตรการป้องกันผลกระทบในเรื่องของ การจราจร (เนื่องจากแนวท่อร้อยสายไฟฟ้าและบ่อพักสายจะอยู่บริเวณถนน จึงจำเป็นจะต้องปิดการจราจรถนน 1 ช่องทางเป็นบางช่วง) จะมีเสียงรบกวนจากการก่อสร้าง ซึ่งระดับความดังของเสียงจะอยู่ในระดับที่กฎหมายกำหนด ในด้านฝุ่นละออง (จะมีฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้าง ซึ่งจะควบคุมให้อยู่ในระดับที่กฎหมาย กำหนด) ส่วนร้านค้าแผงลอยบนทางเท้า (การก่อสร้างบางส่วนจะอยู่บริเวณทางเท้า มีความจำเป็นที่ต้องเปิดทางเท้า เมื่อแล้วเสร็จจะคืนสภาพผิวให้เหมือนเดิม)

ทั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ประสานงานร่วมกับเทศบาลนครนครราชสีมาและจังหวัดนครราชสีมา กำชับผู้รับจ้างให้ใช้ความระมัดระวังในการขนส่งวัสดุก่อสร้าง และติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อให้ประชาชน หลีกเลี่ยงเส้นทางจราจรที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง และอาจรวมถึงให้ช่วยทำความสะอาดพื้นถนน เพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น

นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ภายในระยะเวลา 365 วัน หลังจากที่เริ่มโครงการ เมื่อสายไฟฟ้าลงสู่ใต้ดินแล้ว ระบบจำหน่ายไฟฟ้าจะมีความมั่นคงด้วยระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน ช่วยเสริมสร้างความมั่นคง ปลอดภัย ของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับจากภัยธรรมชาติและอุบัติภัยต่างๆ รวมถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น อุบัติเหตุจากรถชนเสาไฟฟ้า ฝนตกลมแรง ซึ่งอาจพัดกิ่งไม้ หรือป้ายโฆษณามาเกี่ยวสายไฟฟ้า ทำให้เกิดความเสียหายและความอันตรายได้ อีกทั้ง รองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ด้วยระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ จึงสามารถรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสังคมเมือง และนับวันการใช้ไฟฟ้า ยิ่งมีบทบาทกับเรามากขึ้น และช่วยทำให้ ทัศนียภาพสวยงามด้วยประเทศไทยเป็นประเทศท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ PEA จึงเร่งนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เพื่อทัศนียภาพที่สวยงาม อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสู่สายตา ชาวต่างชาติ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา ในนาม PEA ขอขอบคุณ จังหวัดนครราชสีมา ขอบคุณเทศมนตรีนครนครราชสีมา ขอบคุณตำรวจภูธร และทุกภาคส่วน รวมถึงสื่อมวลชน ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาทุกท่านที่ให้การความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของ PEA และที่ขาดไปไม่ได้ ขอบคุณ ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมที่มีแผนนำสายสื่อสารลงสู่ใต้ดิน ให้แล้วเสร็จในช่วงระยะเวลาดำเนินการของ PEA”

“พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเอง”


วันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๑๕ น.พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเองณ ห้อง Studio ชั้น ๕ (NRRU Library) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาโดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ ประธานดำเนินการโครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและท่านวิทยากร  คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ  และผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่าน

โครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหารการส่งเสริมต่อยอดสร้างสรรค์ ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดำเนินการโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม,พัฒนาการชุมชนจังหวัดนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นองค์กรภาคประชาสังคม ภายใต้การกำกับของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม รักษา สืบสาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด ด้วยศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ของชาติ ให้คงอยู่สืบไป

ในส่วนการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 ได้กำหนดให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในการส่งเสริม รักษา หรือ พัฒนา ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ครอบคลุม เนื้อหาสาระ ของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๗ ด้าน ได้แก่ (๑) วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา (๒) ศิลปะการแสดง (๓) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (๔) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (๕) งานช่างฝีมือดั้งเดิม (๖) การเล่นพื้นบ้าน กีฬา พื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (7) ลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงวัฒนธรรม

โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เห็นความสำคัญของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  ได้จัดทำโครงการ การผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหารโคราชบ้านเอง ขึ้นมา จึงถือว่าเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น จะได้เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารพื้นถิ่น และผ้าพื้นเมือง ของจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย  โดยจัดอบรมผู้ที่สนใจผลิตสื่อสารสนเทศ ก่อนไปจัดทำคลิปวิดีโอการประกวด และจัดให้มีการคัดเลือกผลงานที่มีความเหมาะสม  ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อไป  การอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทั้งความรู้ และวัฒนธรรมด้านผ้าและอาหารของจังหวัดนครราชสีมา

การจัดทำโครงการครั้งนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาร่วมกับ องค์กรภาครัฐและเอกชน อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พัฒนาการชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา จึงถือเป็นการบูรณาการ การทำงานร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชรูปแบบออนไลน์ ให้แก่เยาวชนและประชาชนของจังหวัดนครราชสีมา

2. เพื่อฝืกอบรมผลิตสื่อสารสนทศรูปแบบออนไลน์ โดยการมีส่วนร่วมของเยาวซนและประชาชนให้สามารถผลิตสื่อด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราช อย่างสร้างสรรค์

3. เพื่อพิจารณาคัดเลือกสื่อสารสนทศดีเด่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชที่เยาวชนและประชาชนได้ผลิต เผยแพร่ และมอบรางวัล

การดำเนินกิจกรรมโครงการนี้แบ่ง 2 ลักษณะ

1. การอบรมสร้างเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเองและความรู้การเขียนเนื้อหาประกอบบทวีดีทัศน์ ระยะเวลา 1 วัน

2. จัดทำวีดีทัศน์การประกวดขนาดความยาว 3 5 นาที/เรื่อง เพื่อชิงโล่รางวัลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ต้านผ้าและอาหารโคราชมีโล่และเงินรางวัลชนะเลิศจากท่านอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท

นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ขอขอบคุณท่านวิทยากร    หัวหน้าโครงการ  หน่วยงาน  องค์กร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหลาย และหวังว่าผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประโยชน์จากการอบรมครั้งนี้เป็นอย่างดี แนะนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากคณะวิทยากรผู้ทรงภูมิรู้ในแต่ละด้าน ไปผลิตสื่อดิจิตอล มาเผยแพร่ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโคราช ตามวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อสืบสานมรดกภูมิปัญญาของคนโคราช ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชนทั่วโลกสืบไป




งานแถลงข่าวและเปิดตัวนักกีฬา นครราชสีมา คิวมินซี วีซี

งานแถลงข่าวและเปิดตัวนักกีฬา นครราชสีมา คิวมินซี วีซี Nakhonratchasima QminC VC ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย ณ ศูนย์การค้า เทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 – 15 ตุลาคม 2564 ส่งแรงใจเชียร์ผ่านหน้าจอทีวี ถ่ายทอดสดช่อง 36 PPVT HD
นายวัชรพงษ์ โตมรศักดิ์ ประธานสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ผู้สนับสนุน และสื่อมวลชน ว่า ด้วยผู้ใหญ่ใจดีที่ปรึกษาอย่างเช่น ท่านวิเชียร จันทรโณทัย นายกสมาคมแห่งจังหวัดนครราชสีมา ทุกภาคส่วน รวมไปถึงสปอนเซอร์ทุกท่าน ในการแข่งขันครั้งนี้เป้าหมายคือ “เชียร์โคราช เพื่อชาติไทย” นั่นคือสัญลักษณ์ที่เราจะประกาศว่า เราอยากมอบความสุขในการแข่งขันครั้งนี้ โดยจะทำลำดับการแข่งขันให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นทีมชายและทีมหญิง ขณะที่ทุกคนหวาดพวากับเรื่องโควิด-19 ทุกคนต้องกักตัวอยู่ที่บ้านไปไหนมาไหนลำบาก แต่ถ้ามีวอลเลย์บอลที่แข่งขันในจังหวัดนครราชสีมา มีผู้ใหญ่ใจดี มีสปอนเซอร์หลายท่านให้การสนับสนุนช่วยกัน ผมบอกกับนักกีฬาของเราและคุณแม่ปทุมว่า การแข่งขันครั้งนี้จะไม่มีคนดูในสนาม

แต่นอกสนามจะมีคนไทยและคนโคราชที่ได้เชียร์และชมผ่านพีพีทีวี 36 สิ่งที่เราทำได้ในวันนี้ก็คือมอบความสุข ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด โดยได้ดึงเอานุศรา มือเซ็ตมาเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมหญิง ทั้งๆ ที่ทีมเราก็พร้อมอยู่แล้ว และเช่นเดียวกับนักกีฬาทีมชายที่เราก็ได้ดึงเอานักกีฬาทีมชาติที่มีความสามารถในทีมต่างๆ เข้ามาร่วมเสริมทีมเพิ่มความแข็งแกร่ง เป้าหมายหลักคือ แชมป์ เพื่อให้ความสุขกับทุกๆ ท่าน
นายวิเชียร จันทรโณทัย นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครราชสีมาและที่ปรึกษาสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว กล่าวเสริมว่า ในอดีตที่ท่านมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เราก็ร่วมกับสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา ว่าเราอยากเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานวอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรแห่งเอเชียขึ้นมาเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดนครราชสีมา และก็เป็นการเปิดจังหวัดนครราชสีมา สร้างฐานะให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองกีฬา ครบถ้วน สมบูรณ์ เราต้องการให้มีแมทช์กีฬาต่างๆ ในทุกระดับ เพื่อให้สมเป็นเมืองแห่งกีฬา หลังจากนั้นผมก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่จังหวัดชัยภูมิ ในระหว่างที่เราดีลงานกับสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา เราอาจจะขายบัตรเข้าชมการแข่งขันได้ร้อยละ 25 แต่สถานการณ์โควิด-19 เรายังเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม ดังนั้นค่าเข้าชมจากการจำหน่ายบัตรจึงเป็นไปไม่ได้เลย แต่ด้วยความกรุณาจากท่านผู้ว่ากอบชัย ท่านรองชรินทร์ และท่านสาธารณสุขจังหวัด รวมถึงท่านประธานสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมาที่ไม่ถอดใจเลย ไม่ถอย หลายปัญหาผมคิดว่าขอยกเลิกได้ไหม ขอไม่เอาได้ไหม ผมกลัวจะพูดตรงนั้นออกมาหลายครั้งเวลารับโทรศัพท์ เวลาพูดคุยเพราะว่าปัจจุบันมันเกิดปัญหาหลายประการมาตลอด จนมาถึงวันนี้ผมเห็นถึงความเหน็ดเหนื่อย ความต่อสู้และความตั้งใจของทุกฝ่าย ผมยังคิดว่าถ้าทางท่านประธานจัดงานบอกว่าไม่เอาแล้ว ผมก็คงจะถอดใจ ถอดผ้า ยกผ้าขาว ไม่เอาแล้วเช่นกัน ผมคิดว่าการแข่งขันครั้งนี้เป็นการต่อสู้ของพี่น้องชาวจังหวัดนครราชสีมาอยากให้เกิดการแข่งขันครั้งนี้จริงๆ ทุกภาคส่วน ในนามนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครราชสีมาขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ให้การสนับสนุนการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรแห่งเอเชียขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาไว้ ณ ที่นี้ด้วย

นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ถ้าพูดถึงกีฬาวอลเลย์บอลแล้ว จังหวัดของเราก็เป็นเมืองแห่งกีฬาวอลเลย์บอลของประเทศไทยอยู่แล้ว เราเคยจัดกีฬาวอลเลย์บอลระดับประเทศ ระดับเอเชีย เรามีนักกีฬาที่มีชื่อเสียงที่เป็นลูกหลานชาวโคราช ติดทีมชาติก็หลายคน เรามีเกียรติประวัติมาแล้ว แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้จังหวัดนครราชสีมา ทีมงานนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดอย่างต่อเนื่อง เราจะสามารถจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลครั้งนี้ได้อย่างไม่มีข้อบกพร่อง บับเบิลไม่แตก ขอให้ทุกท่านมั่นใจ เราพูดคุยรายละเอียดทุกเรื่องเพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดการแข่งขันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นักกีฬา คณะเจ้าหน้าที่ทุกท่านปลอดภัย การถ่ายทอดทางทีวีเป็นไปอย่างราบรื่น เราพร้อมจะจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์แห่งเอเชียไปด้วยกัน ในทุกๆ ระดับ
นายฐานธิษณ์ ยืนยงเตชะหิรัณ ประธานกรรมการบริษัท เทรา ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอเรจ จำกัด กล่าวว่า โดยส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับนักกีฬาวอลเลย์บอลและคณะกรรมการสโมสรมานานกว่า 15 ปี ปีนี้ผมเชื่อว่าทางสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา ซึ่งมีศักยภาพเยอะ แบรนด์ของเราเป็นแบรนด์น้องใหม่ แลผมหวังว่าปีนี้สโมสรเราคงจะได้แชมป์

วิทยาสารพัดช่างนครราชสีมา NMPC-ONE TEAM สร้างภูมิป้องกัน ฝึกอาชีพ การทำเจลแอลกอฮอล์

วิทยาสารพัดช่างนครราชสีมา NMPC-ONE TEAM สร้างภูมิป้องกัน ฝึกอาชีพ การทำเจลแอลกอฮอล์

นายสุดชาย บุตรแสนลี ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา ได้เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมาทางวิทยาสารพัดช่างนครราชสีมา ได้จัดฝึกอาชีพ การทำเจลแอลกอฮอล์


สำหรับทำความสะอาดโดยไม่ต้องล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด Covid 19 แจกจ่ายให้กับบุคลากร นักเรียน นักศึกษา พี่น้องประชาชน


เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สร้างความมั่นใจ สถานศึกษาปลอดภัย ห่างไกล Covid 19 พร้อมรับการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีที่หลากหลาย ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาด Covid 19 ประจำปีการศึกษา 2564

โดยผู้อำนวยการได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “วิทยาลัยพร้อม ครูพร้อม ห้องเรียนปลอดภัย NMPC-One Team “

พิธีมอบอุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์ฯ

อุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์ฯ ที่จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา วันนี้( ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔) เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณปริสุทโธ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา พลอากาศเอกนายแพทย์สุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ในพระองค์ ๙๐๔ เป็นประธานในพิธีรับมอบอุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์  ตามโครงการสนับสนุนฝึกอบรมและปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ  มีนายแพทย์นรินทร์รัชต์      พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา  กล่าวรายงาน  มี นางณัฏฐินีภรณ์   จันทรโณทัย  นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา นายวิสูตร ชัชวาลวงศ์. ปลัดจังหวัดนครราชสีมา    เข้าร่วมงาน  กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ข้าราชการ อสม. อปพร. นักเรียน และนักศึกษา จำนวนรวมทั้งสิ้น ๙o คน  ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจาก มูลนิธิสอนการช่วยชีวิตร่วมกับวิทยากรจิตอาสาจังหวัดนครราชสีมา และเครือข่ายวิทยากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๓0 คน

ทั้งนี้ นายแพทย์นรินทร์รัชต์  พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา   กล่าวว่า  ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา   ได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน

จังหวัดนครราชสีมา ให้ดำเนินโครงการสนับสนุนการฝึกอบรมและการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

โดยมีมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้สนับสนุนในโครงการจิตอาสา CPR เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือโครงการสนับสนุนการฝึกอบรมและการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยการดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์การสอน ประกอบด้วย หุ่นฝึก การช่วยชีวิตทั้งหุ่นผู้ใหญ่ หุ่นเด็กหุ่นทารก เครื่อง AED Trainer และอุปกรณ์สอนการช่วยผู้ที่สำลัก (Anti Choking Model) เพื่อมอบให้กับจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ สำหรับการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จังหวัดละ ๓0 ชุด โดยเบื้องต้นจะส่งมอบให้กับจังหวัดนำร่อง ๑๑ จังหวัด ประกอบด้วย ๑.เชียงใหม่  ๒. พิษณุโลก ๓. ชลบุรี ๔. สุรินทร์   ๕. สมุทรปราการ    ๖. ขอนแก่น  ๗. นครราชสีมา  ๘. พระนครศรีอยุธยา   ๙. อุบลราชธานี    ๑๐. ภูเก็ต และ ๑๑. สงขลา โดย ๔ จังหวัดแรกที่จะได้รับมอบอุปกรณ์ภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา พิษณุโลก สงขลาและภูเก็ต สำหรับ ๙ จังหวัดนำร่องที่เหลือจะได้รับมอบอุปกรณ์ในเดือนเมษายน ๒๕๖๔ นั้น โดยคาดหวังว่าการดำเนินการครั้งนี้  จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้การอบรมสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้แก่ภาคประชาชน ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้  ตลอดจนให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะมีความรู้ในการช่วยชีวิตเบื้องต้นให้ได้มากที่สุด ต่อไป

ซินโครตรอนผนึกกำลัง มทส. และจังหวัดนครราชสีมา ร่วมใช้แสงซินโครตรอนและนวัตกรรมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนโคราช


จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกระทรวง อว. โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและนวัตกรรมสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา โดยจังหวัดนครราชสีมาจะสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ได้รับถ่ายทอดจากมหาวิทยาลัยฯ และสถาบันฯ ในการพัฒนาจังหวัดต่อไป


.
นครราชสีมา : เมื่อวันอังคารที่ 16 มีนาคม 2564 จังหวัดนครราชสีมา และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) หรือ สซ. ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและนวัตกรรมสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ณ SUT-Co working Space อาคารสุรพัฒน์ 1 เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา โดย มทส. จะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม และ สซ. จะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านแสงซินโครตรอนที่เป็นประโยชน์ต่อจังหวัดนครราชสีมาเพื่อนำไปพัฒนาจังหวัด
.
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการในด้านการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนและนวัตกรรม เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปได้เข้าใจและเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่โดยสะดวกและทั่วถึง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) “โคราชเมืองน่าอยู่ประชาชนมีความสุขมั่นคงยั่งยืน” และเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา คือ “ศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคมและท่องเที่ยวของภูมิภาค นวัตกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรม สังคมคุณภาพสูง”


.
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้เป็นความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาศักยภาพ และยกระดับชุมชน กลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้องค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ ทรัพยากร รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งของมหาวิทยาลัย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างชุมชน มหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของการวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนอย่างเป็นระบบ อันส่งผลสู่เศรษฐกิจ การจ้างงาน และความเข้มแข็งของสังคมไทยต่อไป” .
.

รองศาสตราจารย์ สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า “ถือเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก หรือเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่น หรือระดับจังหวัด ให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่าง “แสงซินโครตรอน” ในการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต ผลิตภัณฑ์ สินค้าและวัตถุดิบในชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลผลิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชนได้ ส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เสมอภาคตามเป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง”


.
สำหรับความร่วมมือครั้งนี้มีโครงการนำร่องในการใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติของผ้าไหมไทย เพื่อพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทดแทนหน้ากากทางการแพทย์ และได้นำร่องถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอผ้าไหมและการตัดเย็บให้แก่ชุมชนในอำเภอปักธงชัย และจะถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดนครราชสีมาต่อไป

.

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 10 องค์กรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสทางการศึกษา

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในด้านการศึกษา อาชีพ และการกำกับติดตามให้ความช่วยเหลือสำหรับเด็กและเยาวชนระหว่าง เทศบาลนครนครราชสีมา, วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา, คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต ๓ จังหวัดนครราชสีมา, ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ นครราชสีมา, สมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา, โรงเรียนมัธยมพุทธเกษตรวัดโนนเมือง, วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา

บันทึกข้อตกลงนี้ทำขึ้น ณ วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสทางการศึกษาของภาคีเครือข่ายในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียงโดยส่งเสริมและสนับสนุนความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาในด้านการจัดการเรียนการสอนตลอดจนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยมีคณะเจ้าหน้าที่ นักเรียน  นักศึกษา และสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้ด้วย

วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมาจัดการประชุมทางวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ประจำปีการศึกษา 2563

วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมาจัดการประชุมทางวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ประจำปีการศึกษา 2563

วันที่ 23 ธันวาคม 2563 วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา ได้จัดการประชุมทางวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ประจำปีการศึกษา 2563 โดยมีนายสุดชาย บุตรแสนลี ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมครั้งนี้ พร้อมด้วย ดร.รัตนะ วรบัญฑิต ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จังหวัดนครราชสีมา  นายคมกฤษณ์  แสงจันทร์ ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา  นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา และผู้แทนจากสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนครราชสีมา ร่วมเป็นเกียรติ

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ได้เข้าใจกระบวนการดำเนินงาน ขององค์การนักวิชาชีพในอนาคต

แห่งประเทศไทยที่บริหารจัดการภารกิจ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิชาชีพในทุกสาขาวิชาที่เปิดสอนในสถานศึกษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่วิชาชีพให้แพร่หลายและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพตามสาขาวิชาชีพที่ได้ศึกษามาเพื่อสร้างความสามัคคี ความสัมพันธ์ ระหว่างนักเรียน นักศึกษา ทั้งในสถานศึกษาเดียวกันและต่างสถานศึกษา เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และพัฒนาความเจริญงอกงามทางด้านร่างกายจิตใจ  อารมณ์  สังคม และสติปัญญา ของนักเรียน นักศึกษา และ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษามีความสนใจ มีส่วนร่วม ในการพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้ความรู้ ความสามารถของตน ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

ทั้งนี้กิจกรรมภายใน ยังมีการแข่งขันทักษะความรู้ความสามารถของนักเรียน นักศึกษา  อาทิ  การแข่งขันทักษะการตัดแต่งทรงผมสุภาพบุรุต ทักษะการนวดเพื่อสุขภาพ  และการแข่งขันทักษะวิชาชีพระดับสถานศึกษา อาทิ ทักษะการตะไบ (ระดับ ปวช.) ทักษะการออกแบบพัฒนาโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ และทักษะงานเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน เป็นต้น