สานฝันคนรุ่นใหม่สู่บาเร็ตต้ามืออาชีพโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน

ติดอาวุธทางปัญญาสานฝันคนรุ่นใหม่สู่บาริสต้ามืออาชีพ โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ๕
ได้รับเกียรติจากนายวิเชียร จันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานพิธีเปิดฝึกอบรมฝึกอาชีพเสริม หลักสูตรบาริสต้ามืออาชีพ (๓๐ ชั่วโมง)
วันจันทร์ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ น.
ณ. ห้อง Cenza Strider ชั้น ๑ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลโคราช

นายไพฑูรย์ ถิ่นสูง รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการพัฒนาฝีมือแรงงาน ๕
นครราชสีมา ในนามของการฝึกฝึกอบรม กล่าวรายงาน การฝึก
อาชีพเสริม หลักสูตรบาริสต้ามืออาชีพ ในวันนี้
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีภารกิจในการฝึกทักษะอาชีพ พัฒนาศักยภาพแรงงาน
ของคนทุกกลุ่มให้มีทักษะในการทำงาน หรือการประกอบอาชีพอิสระ โดยมีหน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่
ได้แก่ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ดำเนินการสนับสนุน
ส่งเสริมพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการฝึกอาชีพสาขาต่าง ๆ ซึ่งการเปิดฝึกอบรมใน
วันนี้ เป็นโครงการฝึกอบรมแรงงานกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ
ประกอบด้วยแรงงานนอกระบบ ผู้ว่างงานและผู้สนใจประกอบอาชีพอิสระ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อฝึกอาชีพเพิ่มทักษะให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะฝีมือแรงงาน
เพื่อสร้างความยั่งยืนในการประกอบอาชีพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงกำหนดจัดฝึกอบรมหลักสูตร
การฝึกอาชีพเสริม สาขา บาริสต้ามืออาชีพ ระยะเวลา ๓ㅇ ชั่วโมง โดยทำการอบรมระหว่างวันที่
๒๕ – ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ รวม ๕ วัน จำนวน ๒๕ คน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา
นครราชสีมา ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ ทักษะที่ได้รับไปสร้าง
โอกาสในการประกอบอาชีพ มีงานทำในระบบการจ้างงาน และการประกอบอาชีพอิสระ แบ่งเบา
ภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว สร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเอง
สร้างเศรษฐกิจภายในครอบครัว เข้มแข็งต่อไป

“พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเอง”


วันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๑๕ น.พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเองณ ห้อง Studio ชั้น ๕ (NRRU Library) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาโดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ ประธานดำเนินการโครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและท่านวิทยากร  คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ  และผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่าน

โครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหารการส่งเสริมต่อยอดสร้างสรรค์ ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดำเนินการโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม,พัฒนาการชุมชนจังหวัดนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นองค์กรภาคประชาสังคม ภายใต้การกำกับของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม รักษา สืบสาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด ด้วยศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ของชาติ ให้คงอยู่สืบไป

ในส่วนการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 ได้กำหนดให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในการส่งเสริม รักษา หรือ พัฒนา ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ครอบคลุม เนื้อหาสาระ ของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๗ ด้าน ได้แก่ (๑) วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา (๒) ศิลปะการแสดง (๓) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (๔) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (๕) งานช่างฝีมือดั้งเดิม (๖) การเล่นพื้นบ้าน กีฬา พื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (7) ลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงวัฒนธรรม

โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เห็นความสำคัญของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  ได้จัดทำโครงการ การผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหารโคราชบ้านเอง ขึ้นมา จึงถือว่าเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น จะได้เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารพื้นถิ่น และผ้าพื้นเมือง ของจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย  โดยจัดอบรมผู้ที่สนใจผลิตสื่อสารสนเทศ ก่อนไปจัดทำคลิปวิดีโอการประกวด และจัดให้มีการคัดเลือกผลงานที่มีความเหมาะสม  ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อไป  การอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทั้งความรู้ และวัฒนธรรมด้านผ้าและอาหารของจังหวัดนครราชสีมา

การจัดทำโครงการครั้งนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาร่วมกับ องค์กรภาครัฐและเอกชน อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พัฒนาการชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา จึงถือเป็นการบูรณาการ การทำงานร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชรูปแบบออนไลน์ ให้แก่เยาวชนและประชาชนของจังหวัดนครราชสีมา

2. เพื่อฝืกอบรมผลิตสื่อสารสนทศรูปแบบออนไลน์ โดยการมีส่วนร่วมของเยาวซนและประชาชนให้สามารถผลิตสื่อด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราช อย่างสร้างสรรค์

3. เพื่อพิจารณาคัดเลือกสื่อสารสนทศดีเด่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชที่เยาวชนและประชาชนได้ผลิต เผยแพร่ และมอบรางวัล

การดำเนินกิจกรรมโครงการนี้แบ่ง 2 ลักษณะ

1. การอบรมสร้างเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเองและความรู้การเขียนเนื้อหาประกอบบทวีดีทัศน์ ระยะเวลา 1 วัน

2. จัดทำวีดีทัศน์การประกวดขนาดความยาว 3 5 นาที/เรื่อง เพื่อชิงโล่รางวัลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ต้านผ้าและอาหารโคราชมีโล่และเงินรางวัลชนะเลิศจากท่านอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท

นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ขอขอบคุณท่านวิทยากร    หัวหน้าโครงการ  หน่วยงาน  องค์กร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหลาย และหวังว่าผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประโยชน์จากการอบรมครั้งนี้เป็นอย่างดี แนะนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากคณะวิทยากรผู้ทรงภูมิรู้ในแต่ละด้าน ไปผลิตสื่อดิจิตอล มาเผยแพร่ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโคราช ตามวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อสืบสานมรดกภูมิปัญญาของคนโคราช ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชนทั่วโลกสืบไป




พิธีมอบอุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์ฯ

อุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์ฯ ที่จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา วันนี้( ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔) เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณปริสุทโธ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา พลอากาศเอกนายแพทย์สุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ในพระองค์ ๙๐๔ เป็นประธานในพิธีรับมอบอุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์  ตามโครงการสนับสนุนฝึกอบรมและปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ  มีนายแพทย์นรินทร์รัชต์      พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา  กล่าวรายงาน  มี นางณัฏฐินีภรณ์   จันทรโณทัย  นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา นายวิสูตร ชัชวาลวงศ์. ปลัดจังหวัดนครราชสีมา    เข้าร่วมงาน  กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ข้าราชการ อสม. อปพร. นักเรียน และนักศึกษา จำนวนรวมทั้งสิ้น ๙o คน  ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจาก มูลนิธิสอนการช่วยชีวิตร่วมกับวิทยากรจิตอาสาจังหวัดนครราชสีมา และเครือข่ายวิทยากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๓0 คน

ทั้งนี้ นายแพทย์นรินทร์รัชต์  พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา   กล่าวว่า  ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา   ได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน

จังหวัดนครราชสีมา ให้ดำเนินโครงการสนับสนุนการฝึกอบรมและการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

โดยมีมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้สนับสนุนในโครงการจิตอาสา CPR เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือโครงการสนับสนุนการฝึกอบรมและการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยการดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์การสอน ประกอบด้วย หุ่นฝึก การช่วยชีวิตทั้งหุ่นผู้ใหญ่ หุ่นเด็กหุ่นทารก เครื่อง AED Trainer และอุปกรณ์สอนการช่วยผู้ที่สำลัก (Anti Choking Model) เพื่อมอบให้กับจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ สำหรับการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จังหวัดละ ๓0 ชุด โดยเบื้องต้นจะส่งมอบให้กับจังหวัดนำร่อง ๑๑ จังหวัด ประกอบด้วย ๑.เชียงใหม่  ๒. พิษณุโลก ๓. ชลบุรี ๔. สุรินทร์   ๕. สมุทรปราการ    ๖. ขอนแก่น  ๗. นครราชสีมา  ๘. พระนครศรีอยุธยา   ๙. อุบลราชธานี    ๑๐. ภูเก็ต และ ๑๑. สงขลา โดย ๔ จังหวัดแรกที่จะได้รับมอบอุปกรณ์ภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา พิษณุโลก สงขลาและภูเก็ต สำหรับ ๙ จังหวัดนำร่องที่เหลือจะได้รับมอบอุปกรณ์ในเดือนเมษายน ๒๕๖๔ นั้น โดยคาดหวังว่าการดำเนินการครั้งนี้  จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้การอบรมสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้แก่ภาคประชาชน ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้  ตลอดจนให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะมีความรู้ในการช่วยชีวิตเบื้องต้นให้ได้มากที่สุด ต่อไป

วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมาจัดการประชุมทางวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ประจำปีการศึกษา 2563

วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมาจัดการประชุมทางวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ประจำปีการศึกษา 2563

วันที่ 23 ธันวาคม 2563 วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา ได้จัดการประชุมทางวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ประจำปีการศึกษา 2563 โดยมีนายสุดชาย บุตรแสนลี ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมครั้งนี้ พร้อมด้วย ดร.รัตนะ วรบัญฑิต ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จังหวัดนครราชสีมา  นายคมกฤษณ์  แสงจันทร์ ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา  นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา และผู้แทนจากสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนครราชสีมา ร่วมเป็นเกียรติ

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ได้เข้าใจกระบวนการดำเนินงาน ขององค์การนักวิชาชีพในอนาคต

แห่งประเทศไทยที่บริหารจัดการภารกิจ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิชาชีพในทุกสาขาวิชาที่เปิดสอนในสถานศึกษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่วิชาชีพให้แพร่หลายและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพตามสาขาวิชาชีพที่ได้ศึกษามาเพื่อสร้างความสามัคคี ความสัมพันธ์ ระหว่างนักเรียน นักศึกษา ทั้งในสถานศึกษาเดียวกันและต่างสถานศึกษา เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และพัฒนาความเจริญงอกงามทางด้านร่างกายจิตใจ  อารมณ์  สังคม และสติปัญญา ของนักเรียน นักศึกษา และ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษามีความสนใจ มีส่วนร่วม ในการพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้ความรู้ ความสามารถของตน ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

ทั้งนี้กิจกรรมภายใน ยังมีการแข่งขันทักษะความรู้ความสามารถของนักเรียน นักศึกษา  อาทิ  การแข่งขันทักษะการตัดแต่งทรงผมสุภาพบุรุต ทักษะการนวดเพื่อสุขภาพ  และการแข่งขันทักษะวิชาชีพระดับสถานศึกษา อาทิ ทักษะการตะไบ (ระดับ ปวช.) ทักษะการออกแบบพัฒนาโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ และทักษะงานเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน เป็นต้น

เด็กและเยาวชน สถานพินิจฯโคราช เข้ารับมอบทุนจากมูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ สำนักงานภาคอีสาน

วันที่ 14 ธันวาคม 2563 ณ โรงพยาบาล ป.แพทย์ 1 ชั้น 12 นายคมกฤษ แสงจันทร์ ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้แทนนำเด็กและเยาวชน ภายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จ.นครราชสีมา และ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จ.นครราชสีมา เข้ารับทุนเพื่อการศึกษา และใช้ในชีวิตประจำวัน

ในโครงการ มอบทุนการศึกษาและทุนยังชีพช่วยเหลือเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส และมีความเปราะบางในการดำเนินชีวิต ประจำปี 2563 จากมูลนิธิพัฒนาเครื่องข่ายสุขภาพ (Health Net) สำนักงานภาคอีสาน โดยเงินทุนทั้งหมดได้มาจากการตั้งกล่องบริจาค รวมทั้งสิ้น 11 จังหวัดในภาคอีสาน และภาคีเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาในครั้งนี้

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา เตรียมพร้อมช่างอาชีพเพื่อก้าวสู่การรับรองความรู้ความสามารถ ระดับจังหวัด

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา เตรียมพร้อมช่างอาชีพเพื่อก้าวสู่การรับรองความรู้ความสามารถ ระดับจังหวัด

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563ณ Hall 2 ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาโครงการเตรียมพร้อมช่างมีออาชีพเพื่อก้าวสู่การรับรองความรู้ความสามารถโดยนายวิสูตร ชัชวาลวงศ์ปลัดจังหวัดนครราชสีมาให้เกียรติมาเป็นประธานพร้อมด้วยว่าร้อยตรีสมศักดิ์ พรหมดำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน5 นครราชสีมา ในนาม ผู้ดำเนินการ โครงการ”เตรียมพร้อมช่างฝีมืออาชีพเพื่อก้าวสู่การรับรองความรู้ความสามารถจังหวัดนครรชสีมา” กล่าวรายงาน และท่านผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน คณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานฝึกอาชีพจังหวัดนครราชสีมา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ๕ นครรชสีมา หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดนครราชสีมา ประธานมาพันธ์ SMEไทยนครราชสีมา นายกสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมาและแขกผู้มีเกียรติทุกท่านโดยได้ มอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงานแห่งชาติและผู้ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถ รวมจำนวน 22 คนและมอบโล่เกียติคุณให้กับสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ SME 4.0

ด้านนายวิสูตร ชัชวาลวงศ์ปลัดจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่า  โครงการในวันนี้ ได้เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงาน กับทุกภาคส่วนของจังหวัดนครราชสีมา ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคการศึกษา กรมพัฒนาฝีมือแรงงานในฐานะศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถกลาง มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประเมินและออกหนังสือรับรองความรู้ความสามารถให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสาขาอาชีพที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ กรมจึงจัดทำโครงการเตรียมพร้อมช่างมืออาชีพเพื่อก้าวสู่การรับรองความรู้ความสามารถใน 12 จังหวัดนำร่อง เพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ ทุกภาคส่วนทั้งนายจ้างลูกจ้างหรือผู้ประกอบอาชีพ ประชาชนหรือผู้บริโภค ตระหนักถึงความสำคัญของการรับรองความรู้ความสามารถ ทำให้ได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ และได้รับความคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จากอันตรายที่เกิดจากการทำงาน

ส่วนว่าร้อยตรีสมศักดิ์ พรหมดำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมากล่าวว่าเปิดโครงการใน วันนี้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2557กำหนดให้การประกอบอาชีพในสาขาอาชีพ ตำแหน่งงาน หรือลักษณะงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ ต้องดำเนินการโดยผู้มีความรู้ความสามารถที่ได้รับการรับรองความรู้ความสามารถ กระทรวงแรงงานจึงได้ออกประกาศสาขาอาชีพที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะซึ่งต้องดำเนินการโดยผู้ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ จำนวน 5 สาขา ได้แก่ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร เครื่องปรับอกาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก สาขาช่างเชื่อมอารกโลหะด้วยมือ สาขาช่างเชื่อมแม็กและสาขาช่างเชื่อมทิก สถาบันพัฒนฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา ในฐานะศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถกลางจังหวัดนครราชสีมา มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประเมินและออกหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสาขาอาชีพที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนฝีมือแรงานให้ดำเนินการ โครงการเตรียมพร้อมช่างมืออาชีพเพื่อก้าวสู่การรับรองความรู้ความสามารถ

เพื่อประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้ ทุกภาคส่วนทั้ง นายจ้าง ลูกจ้างหรือผู้ประกอบอาชีพ ประชาชนหรือผู้บริโภค ตระหนักถึความสำคัญของการรับรอง ความรู้ความสามารถ ทำให้ได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ ได้รับความคุ้ครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากอันตรายที่เกิดจากการทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์    1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงาน สถานประกอบกิจการ มีความรู้ความเข้าใจในการประเมินความรู้ความสามารถตามพระราชบัญญัติสเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2525 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ2557  2.. เพื่อให้นายจ้างในสถานประกอบกิจการ ประชาชนทั่วไป และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการจ้างแรงนที่ผ่นการรับรองความรู้ความสามารถตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2525และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557   3. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงาน มาตรฐานฝีมือแรงงาน และการรับรองความรู้ความสามารถตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2525 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย   1. การเสวนาหัวข้อ การเตรียมความพร้อมช่างมืออาชีพเพื่อก้าวสู่การรับรองความรู้  2. การเสวนหัวข้อเรื่องก้าวต่อไปทิศทางมาตรฐานฝีมือแรงงานกับโคราชเมืองไมซ์   3. การสาธิตการฝึกอาชีพของกลุ่มแรงงานนอกระบบ 8 สาขาคือ การถักเปลญวน การถักพรมเช็ดเท้า การทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร กรปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การทำเฉากวยนมสด การทำขนมหม้อแกง การทำขนมช่อผกา การทำวุ้นชาเขียว วุ้นชาไทยใส่ไส้ประยุกต์   4. การออกร้านของผู้ประกอบการ SME จำนวน6 บูธ  5. การให้บริการนวดแผนไทย   6. การทดสอบมาตฐานฝีมืแรงงานสาขาคอมพิวเตอร์ (ประมวลผลดำ) จำนวน 10 คน และการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงานสาขาการนวดแผนไทย จำนวน 5 คน7. การประเมินรับรองความรู้ความสามารถสาขาช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ระดับ 1จำนวน 12 คน และสาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 จำนวน20 คน   8. การแสดงชุดการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน  9. การจัดกิจกรรมเผยแพร่ภารกิและบริการประชาชนร่วมกัน ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดนครราชสีมา  10. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงาน นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกอบอาชีพอิสระรับเหมางานช่าง นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสถาบันการศึกษาพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา แรงงานนอกระบบและประชาชนผู้ที่สนใจ จำนวนทั้งสิ้น 300 คน

กรมสรรพสามิตและคณะผู้ใหญ่ใจดีช่วยเหลือโรงเรียนศึกษาคนตาบอดนครราชสีมา

โครงการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา

คุณอภิวัชร์ มีเสือ สรรพสามิตพื้นที่นครราชสีมา ร่วมกับสำนักงานสรรพสามิตภาคที่3 และคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดนครราชสีมา จัดโครงการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน อาทิ การปรับพื้นที่เทปูน สร้างโครงหลังคาให้ครอบคลุมพื้นที่ตั้งเครื่องออกกำลังกาย, การซ่อมแซม บูรณะปรับปรุงเครื่องออกกำลังกายของนักเรียนที่ชำรุด และการจัดซื้อเครื่องกรองน้ำเพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กนักเรียน โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.นครราชสีมาการพิธีส่งมอบอาคารเอนกประสงค์สนามเด็กเล่นเมื่อ


นายโกศล สมจินดา ประธานคณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ สาขาจังหวัด
นครราชสีมากล่าวต้อนรับคณะแขก (คณะสรรพาสามิต)
โครงการ
พิธีมอบประกาศนียบัตรของคุณผู้ร่วมบริจาค

  1. บริษัท กราน-มอนเต้ จำกัด ยอดบริจาค 50,000 บาท
  2. คุณสกุณา โลหิตนาวี ยอดบริจาค 50,000 บาท
  3. บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยอดบริจาค 30,000 บาท
  4. คุณธนวัน คิดรอบ ยอดบริจาค 20,809 บาทถ่ายภาพร่วมกัน
  5. บริษัท พรเจริญอะไหล่และบริการ จำกัด ยอดบริจาค 20,000 บาท
  6. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) ยอดบริจาค 10,000 บาท
  7. บริษัท ออกานิกส์ คอสเม่ จำกัด ยอดบริจาค 10,000 บาท
  8. บริษัท สินชัยก้าวหน้า จำกัด ยอดบริจาค 10,000 บาท
  9. คุณวาสนา ประชาสมบูรณ์ ยอดบริจาค 10,000 บาท
    นายวินิจ มูลวิชา ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด
    นครราชสีมา กล่าวคำขอบคุณคณะ
    การแสดงของนักเรียนโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา
  1. กิจกรรมเลี้ยงอาหารนักเรียนตาบอด นครราชสีมา (ณ โรงอาหาร)
  2. ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงผู้บริหารจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา นำโดย คุณรุจิเรศ นีรปัทมะ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจสัมพันธ์ และ คุณเศรษฐวุฒิ ทัตสุระ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ร่วมงาน ณ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา (วันนี้)

โรงเรียนศึกษาคนตาบอดจังหวัดนครราชสีมา #ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลโคราช #สรรพสามิตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

สพร.5 จัดทบทวนและทำแผนพัฒนากำลังคนระดับพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

ที่ผ่านมา  ว่าที่ร้อยตรี สมศักดิ์  พรหมดำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมาได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การทบทวนและจัดทำแผนพัฒนากำลังคนระดับพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา  ปีงบประมาณ  พ.ศ. 2563 โดยได้รับเกียรติจาก  อ.รามณรงค์ นิลกำแหง  อ.อธิต ทิวศะศิธร์  อ.อรรถพงษ์ โภชน์เกาะ  อ.ดร.วันเกษม สัตยานุชิต  เป็นผู้ที่ให้ความรู้  ณ โรงแรมเดอะวินเทจ โฮเทล  ต.หมูสี  อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา

โดยโครงการนี้อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนากำลังคน การพัฒนาผลิตภาพแรงงาน เพื่อรองรับการเข้าสู่ Thailand 4.0 โดยจังหวัดนครราชสีมาได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการในคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.) ขับเคลื่อนแผนพัฒนากำลังคนของจังหวัดผ่านกลไกของจังหวัด

ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนากำลังคนในพื้นที่ ตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญของจังหวัด โดยนำแผนพัฒนากำลังคนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ซึ่งได้จัดทำร่างขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติและเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาจังหวัด ตลอดจนสร้างการรับรู้ข้อมูลแรงงานด้านต่างๆ ให้กับองค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและแรงงานในพื้นที่ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและภารกิจการพัฒนากำลังคนในพื้นที่ในรูปแบบประชารัฐ และการบูรณาการความร่วมมือสามารถพัฒนาทักษะความรู้ให้แก่กำลังคนในพื้นที่ได้ตามยุทธศาสตร์ในแต่ละระดับต่อไป

บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ส่งมอบเงิน 1,390,000 บ. สนับสนุนอาหารกลางวัน

บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ( ผู้ผลิตและส่งออกไก่ปรุงสุกทั่วโลก สำนักงานตั้งอยู่ที่อำเภอโชคชัย) ส่งมอบเงินจำนวน 1,390,000 บาท เพื่อสนับสนุนโครงการเกษตรอาหารกลางวัน ซึ่งเป็นโครงการที่ทางบริษัทดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานของภาครัฐ เพื่อพัฒนาโภชนาการของน้องๆ ในโรงเรียนที่ขาดแคลนทั้ง 22 แห่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 4,500 คน

โครงการเกษตรอาหารกลางวันมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโภชนาการของน้อง ๆ ในชุมชนแบบบูรณาการ ปลูกฝังเรื่องโภชนาการที่ดี สร้างกระบวนการเรียนรู้สอดแทรกนวัตกรรมใหม่ ๆ และเป็นการเสริมสร้างทักษะให้กับยุวเกษตรตัวน้อย ๆ โดยมีกิจกรรมภายใต้โครงการ อาทิ เช่น การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การเพาะเลี้ยงเห็ด การเลี้ยงปลา และการเลี้ยงไก่ไข่ โดยผลผลิตที่ได้จะถูกนำไปประกอบอาหารกลางวันในโรงเรียน และบางส่วนนอกเหนือจากนี้ยังสามารถจำหน่ายให้กับชุมชนโดยรอบ ก่อให้เกิดรายได้หมุนกลับเข้ามาในโครงการ ฯ จึงทำให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน

ทนไม่ได้!!กลุ่ม ผอ.โรงเรียนโคราช…วอนรัฐช่วยกรณีขอความเป็นธรรมสนามฟุตซอล

ทนไม่ได้ กลุ่ม ผอ.ร.ร.วอนรัฐบาลช่วยด้วย ออกแถลงการณ์ในนามชมรมพิทักษ์ระบบคุณธรรมและสิทธิครูจังหวัดนครราชสีมา ชมรมคนไม่ทนต่อการทุจริตฯ
วันที่13 สิงหาคม 2563 ณ หอประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดนครราชสีมา เปิดประชุมชมรมพิทักษ์ระบบคุณธรรมและสิทธิครูจังหวัดนครราชสีมาโดยอาจารย์ ดร.ปียะพัชร์ เดชจรรยา ประธานนายปฐมฤกษ์ มณีเนตร ประธานชมรมฯ)กล่าวโฟนอิน พบกับ พลเรือเอก บรรณวิทย์ เก่งเรียน เจ้าของฉายา” นายพลคนกล้า ” สถานีโทรทัศน์ ช่อง13 สยามไทย

ผู้สื่อข่าวได้รายงานว่าการเสวนาปัญหาและผลกระทบกรณี โครงการปรับปรุงสนามกีฬาพร้อมอุปกรณ์งบประมาณ ปี 2555(สนามฟุตซอล ) โดยนายปฐมฤกษ์ มณีเนตร และคณะ ได้มอบเอกสารให้แก่ผู้ร่วมประชุม ในนามชมรมคนไม่ทนต่อการทุจริตเปิดโปงอย่างสร้างสรรค์ รักษาและผดุงไว้ซึ่งจริยธรรมคุณธรรมของสังคม


ต่อมาได้แสดงพิธีให้สัตย์ปฏิญานต่อแผ่นดิน โดยนายสุรัตน์ มุ่งอิงกลางได้ เชิญอาจารย์ปู่ ดร. ปียะพัชร์ เดชจรรยา และผู้มีเกียรติ ขึ้นเวทีและ ประกอบพิธีอัญเชิญปวงเทพเทวา ครูอาจารย์ ชุมนุมเทวดาอาจารย์ และผู้มีเกียรติ โปรยทรายศักดิ์สิทธิและได้เชิญอาจารย์(ดร.ปียะพัชร์ เดชจรรยา ลั่นฆ้องชัย ปี่พาทย์ ประโคม เพลงมหาฤกษ์ผู้เข้าร่วมพิธี ร่วมร้องเพลงครูในดวงใจ
จากนั้นผู้สื่อข่าวได้ไปสอบถาม ผอ.โรงเรียนแห่หนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งได้โดนคดีฟุตซอล ที่ได้เดินทางมาร่วมประชุมในครั้งนี้แล้วพูดด้วยน้ำตานองเต็มตาสองดวงต่อหน้าผู้ที่มาประชุม กล่าวว่าตนนั้นได้ออกจากราชการแล้ว วอนสื่อช่วยพี่ด้วย

แถลงการณ์จากชมรมพิทักษ์ระบบคุณธรรมและสิทธิครูจังหวัดนครราชสีมาชมรมคนไม่ทนต่อการทุจริตฯ
กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเสนอผ่าน ท่านวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาด้วยชมรมพิทักษ์ระบบคุณธรรม และสิทธิครูจังหวัดนครราชสีมาชมรมคนไม่ทนต่อการทุจริตฯ และพี่น้องประชาชนทั่วไป มีความห่วงใยประเทศชาติด้วยเกรงว่าจะเกิดความเดือดร้อนวุ่นวายในสังคม ในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ซึ่งสาเหตุมาจาก


ข้อที่ 1 บุคลากรทางการศึกษา คุณครูในจังหวัดนครราชสีมา ได้ถูกชี้มูลความผิดจาก ป.ป.ช. ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ จำนวน 7 คน และกำลังจะมีคำสั่งไล่ออกอีกจำนวน 55 ราย ในกรณีสนามฟุตซอลที่เป็นข่าวปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี
ข้อที่ 2 บุคลากรทางการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านพิจารณาตรวจสอบพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ชี้มูลความผิดต่อบุคลากรทางการศึกษานั้นได้กระทำอย่างไม่มีพยานหลักฐานอะไรเลยมีอคติ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา215 เป็นการกระทำแบบเหมาเข่ง เหมือนทำตามความต้องการของใคร คนใดคนหนึ่ง โดยไม่เกรงกลัวกฎระเบียบข้อบังคับใด ๆ ของสังคม อันเป็นการเหยียบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน อย่างสุดแสนที่จะทนได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากของสังคมไทย
ข้อที่ 3 บุคลากรทางการศึกษาที่เดือดร้อนมิได้ร้องขอสิ่งที่เกินไปกว่าสิทธิอันพึงมีของพวกขาคือ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ตอกย้ำถึงจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ว่า “มนุษย์ยอมทนได้ทุกเรื่อง ยกเว้นความอยุติธรรมจะทนไม่ได้”
ข้อที่ ๔ ทางชมรมฯ เกรงว่าเรื่องนี้จะลุกลามใหญ่โต จะเกิดความวุ่นวายในสังคมไทย จึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนผู้เสียภาษีในสังคมได้โปรดพิจารณาแก้ไขปัญหาโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เกี่ยวข้อง เช่น นักการเมือง, ผู้รับเหมา, คุณครู และอื่นๆเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายโดยเร็ว เพื่อหาตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษให้จงได้
ข้อที่ 5 พวกข้าพเจ้า จะขอต่อสู้เคลื่อนไหวในทุกช่องทางที่สามารถทำได้ ภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมไทย ขอกราบเรียนด้วยความเคารพว่านี่เป็นคำสั่งที่อัปยศขององค์กร ป.ป.ช. ที่มีต่อบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต
ข้อที่ 6 ตามบทบัญญัติรัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 215ไต้บัญญัติไว้ว่า องค์กรอิสระเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้น ให้มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจขององค์กรอิสระต้องเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ และปราศจากอคติทั้งปวงในการใช้ดุลพินิจ ในประวัติศาสตร์แห่การรวมพลังต่อสู้อย่างทระนงองอาจ ในอดีตที่ผ่านมาของบุคลากรทางการศึกษาของไทย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาแล้วอย่างมากมาย พวกข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าหากปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ถูกแก้ไขอย่างทันการณ์ คนไทยอาจได้เห็นปรากฎการณ์เช่นนั้นอีกด้วยความเคารพปรารถนาดีจากชมรมพิทักษ์ระบบคุณธรรมและสิทธิครูจังหวัดนครราชสีมาชมรมคนไม่ทนต่อการทุจริตฯ และพี่น้องประชาชนทั่วไป(ดร.ปียะพัชร์ เดชจรรยา) เลขาชมรมคนไม่ทนต่อการทุจริตฯ (นายปฐมฤกษ์ มณีเนตร)ประธานชมพิทักษ์ระบบคุณธรรมและสิทธิครูจังหวัดนครราชสีมา