ผลกระทบโควิดคนไทยหันมาเที่ยว แบบกางเต็นท์แทนการพักโรงแรม

ประเทศไทย – ผลกระทบโควิด คนไทยหันมาเที่ยวแบบกางเต็นท์แทนการพักโรงแรม

ประเทศไทยมีการประกาศล็อกดาวน์ไปแล้วทั้งสิ้น 11 เดือน ทำให้ความต้องการเดินทางท่องเที่ยวพุ่งสูง ขณะที่เดียวกัน นักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสนใจกับการพักแรมแบบกางเต็นท์มากขึ้น จนทำให้มีลานกางเต็นท์แห่งใหม่ผุดขึ้นกว่า 500 แห่ง ในรัศมี 150 กิโลเมตร รอบกรุงเทพฯ ภายในปีเดียว เจ้าของลานกางเต็นท์ อิงกะปิง จ.กำแพงเพชรระบุว่า ลานกางเต็นท์กลายมาเป็นที่นิยมอย่างมากหลังจากสถานการณ์โควิด ขณะที่ บรรดานักท่องเที่ยวเผยว่า การเที่ยวแบบกางเต็นท์สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากการพักตามห้องพักของโรงแรม และเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับตนที่ไม่มีโอกาสได้เที่ยวนับตั้งแต่โควิดเริ่มระบาด

ธวัชชัย ทวิติยกุล – นักท่องเที่ยว บอกว่า “เราอยู่กับเมืองป่าคอนกรีตมากๆ ไม่ไหว มันเครียดมาก เราก็ออกบ้าง เอาชีวิตธรรมชาติบ้าง มันสดชื่นดี เจอสถานที่ดีๆ เราก็ไปพักที่นั่น เวลานั่นเราก็ซื้อกับข้าวไปทำกินเองไปอะไร ก็ครอบครัวเราก็อยู่อิสระ”

ณัฐชน คูณรักษา – นักท่องเที่ยว บอกนักข่าวA24ว่า
“ชอบบรรยากาศครับผม ช่วงหน้าหนาวนี่บรรยากาศจะดี ลมเย็น แล้วก็อุณหภูมิลดต่ำ เหมาะแก่การกางเต็นท์เพราะว่าไม่ร้อนเวลานอนครับ แล้วก็ได้ชมสัตว์ป่าด้วย พาลูกครอบครัวมาเที่ยวครับ ยิ่งช่วงหน้าหนาวนี่เดือนนึงประมาณ 4 5 ครั้งครับ ยิ่งช่วงปีใหม่ด้วย ไม่ไปเที่ยวไหนเลย กางเต็นท์”

สุพรรษา พวงมณี – นักท่องเที่ยว บอกว่า “เพราะมันเป็นหน้าหนาวค่ะ เป็นอากาศดี เรามากางเต็นท์มันได้อีกฟีลนึงที่ต่างจากที่เราไปพักห้องพักมันพักที่ไหนก็ได้ค่ะ สำหรับหนูมันคือการรีแลกซ์ เพราะว่าหนูเพิ่งจบมาใช่มั้ย เราก็เหมือนกับเพิ่งได้เที่ยวตอนที่ใกล้จะจบ แล้วก็โควิด ก็เลยไม่ค่อยได้เที่ยวเท่าไหร่”

ชาญบูรณ์ แดงศิริ – เจ้าของลานกางเต็นท์ อิงกะปิง โฮมสเตย์ Chanboon Daengsiri บอกว่า “ก็ตอนนี้เนี่ย คือต้องบอกว่าด้วยบรรยากาศและก็ช่วงเวลาเนี่ย มันทำให้ทุกคนมีความต้องการที่อยากจะออกมาท่องเที่ยว ก็โควิดนี่แหละที่มันทำให้ทุกคนวิ่งหาธรรมชาติ จริงๆ ตอนนี้นะครับ พอเราทำลาน พอให้เขาเหมาลานได้ด้วยเนี่ย ก็กลายเป็นว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะใช้วิธีการจอง เหมาลานเลย”

ที่มา A24 News Ageny

ประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ

โครงการอบรมวิชาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและการประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ

วันพุธที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕ณ วิทยาลัยเทคนิคนครโคราช (วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา)อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา การประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพนายวิจิตร กิจวิรัตน์คำปลัดจังหวัดนครราชสีมา ประธานกล่าวเปิดโครงการ พร้อมด้วยนางอารยา ศิริทิพย์ ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓กล่าวเปิดกิจกรรม และท่านผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติในสังกัดคุมประพฤติภาค ๓ /ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓ และคณะ/ผู้บริหารในสังกัดกระทรวงยุติธรรม/ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครโคราช/ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาและแขกผู้มีเกียรติทุกท่านผู้เข้าร่วมพิธีเปิด

โครงการอบรมวิชาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและการประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ และในวันนี้ผู้เข้าร่วมประกวดการทำอาหารในระดับภาคที่ได้เดินทางมาจากจังหวัดบุรีรัมย์/สุรินทร์/ศรีสะเกษ/ยโสธร/อำนาจเจริญ/ชัยภูมิและอุบลราชธานีนั้น จังหวัดนครราชสีมา มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ผู้กระทำผิดได้มีอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวโดยการฝึกอาชีพ ส่งเสริมให้มีงานทำและมอบทุนประกอบอาชีพ รวมทั้งเสริมสร้าง

บทบาทของอาสาสมัครคุมประพฤติให้เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการคืนคนดีสู่สังคมอย่างครบวงจรทักษะวิชาชีพสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า นั้นตามที่ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓ ได้กล่าวรายงานมาแล้วนั้นนับเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะภารกิจหลักของกรมคุมประพฤติคือการดูแลแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน การสร้างงาน สร้างอาชีพ และยกระดับในการทำอาหารของผู้กระทำผิด ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสร้างขวัญกำลังใจ ต่อไป ผลการแข่งขันประเภทการประกวด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

๑. ประเภทอาหารคาว

๒.ประเภทอาหารหวาน

ได้แก่ชนะเลิศที่๑ทีมสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสุรินทร์ทั้งสองรายการ

แหล่งท่องเที่ยวก่อนประวัติศาสตร์สดๆร้อน!ภาพเขียนสี”เพิงหินทรัพย์อนันต์

สำรวจภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แห่งใหม่ ! สดๆ ร้อนๆ ของจังหวัดนครราชสีมา ในพื้นที่ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว กันครับ โดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา

 ที่ผ่านมา ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาของเรา พบภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1 ภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม อำเภอสีคิ้ว ซึ่งพบเป็นแห่งเเรกในปี 2520 และ 2 ภาพเขียนสีเพิงหินน้ำตกวะภูแก้ว อำเภอสูงเนิน พบในปี 2563 โดยทั้ง 2 แห่ง พบภาพเขียนสีแดงรูปคน และสัตว์ ถูกเขียนอยู่บนเพิงหินเเละเพิงผา ซึ่งมนุษย์โบราณใช้เป็นที่พักชั่วคราวเพื่อหลบแดด หลบฝน ในขณะหาของป่า-ล่าสัตว์ เช่นเดียวกันครับ

.

#เพิงหินซับอนันต์ นับเป็น ภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา ถูกค้นพบโดยชาวบ้านที่มาเลี้ยงวัวเมื่อ 80 ปีที่แล้ว เล่าสืบต่อกันมา จากการกล่าว พระรัชสิทธิ์ พระภิกษุวัดเขาจันทร์งาม พาคณะมาสำรวจแนะนำแหล่งภาพวาดก่อนประสัติศาสตร์ แห่งที่ 3 ที่พบในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเพิงหินแห่งนี้ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม ระยะห่างประมาณ 1.2 กิโลเมตร เป็นเพิงหินทรายขนาดใหญ่ ทอดตัวยาวตามแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ เพิงหินสูงโดยรวมประมาณ 4 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภาพเขียนสีจะปรากฏบริเวณเพิงหินด้านบน เขียนด้วยสีแดง เป็นรูปคน ซึ่งฝีมือการวาดมีลักษณะคล้ายกับภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม เบื้องต้นกำหนดอายุสมัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 2,500-1,500 ปีมาเเล้ว จากการสำรวจพบว่าสถานที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ก่อนประวัติศาสตร์ แห่งใหม่ของเมืองโคราช

เมืองลอยฟ้า” (อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง)

เปิดเส้นทางท่องเที่ยว Unseen New Series

#แถลงข่าวเปิดเส้นทางท่องเที่ยว “Unseen New Series” นครราชสีมา ของ ททท. เป็นการชวนไปสัมผัสกับเมืองไทย ในมุมที่เราอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน ผ่านแหล่งท่องเที่ยว 25 แห่ง ของแต่ละภูมิภาค (ภาคละ 5 แห่ง) สำหรับภาคอีสานเป็นแหล่งท่องเที่ยว Man Made (สร้างใหม่) โดยโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา กฟผ. ก็เป็น 1 ใน 5 แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการคัดสรรใหม่ “เมืองลอยฟ้า” (อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง) ซึ่งถูกกล่าวขานว่าเป็น จุดชมวิวหมื่นล้านที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของไทย รวมถึงเป็นที่ตั้งของ “เมืองใต้พิภพ” (อุโมงค์โรงไฟฟ้าใต้ดิน) ที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินกว่า 1.5 กม. นับเป็น Unseen จุดเช็คอินที่ไม่เหมือนใคร โดยมีพ.ต.อ.รัฐศักดิ์ สุขเจริญ ที่ปรึกษานายกฯ, น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข ผอ.โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, นายณัฎฐพัชร์ อนิวัตกูลชัย ส.อบจ.อำเภอปากช่อง เขต 1, นางสาวนงนุช  เลิศด้วยลาภ ส.อบจ.อำเภอปากช่อง เขต 2, นายศิริพงศ์ มกรพงศ์ ส.อบจ.อำเภอสีคิ้ว เขต 1 ร่วมเปิดงาน ที่ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

วันที่ 7 มกราคม 2565

#โคราชโฉมใหม่

#โคราชเที่ยวได้ทุกเดือน

เทศกาลสินค้าโครงการหลวงดอกไม้กินได้

กูร์เมต์ มาร์เก็ต ชวนชาวโคราช ช้อป ชิม หลากหลายสินค้า

และเมนูอร่อย ดีต่อสุขภาพ ในบรรยากาศกาดดอยแสนม่วนอกม่วนใจ๋

ที่งาน “เทศกาลสินค้าโครงการหลวง:ดอกไม้กินได้”

กูร์เมต์ มาร์เก็ต และ เดอะมอลล์ โคราช ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง จัดงาน “เทศกาลสินค้าโครงการหลวง: ดอกไม้กินได้” ชวนชาวโคราชและจังหวัดใกล้เคียง ร่วมลิ้มลองความอร่อยกับเมนูสุดพิเศษเฉพาะงานนี้ ที่รังสรรค์ขึ้นจากวัตถุดิบและดอกไม้กินได้จากโครงการหลวง พร้อมด้วยสินค้าและผลิตภัณฑ์คุณภาพทั้ง ผัก ผลไม้ ดอกไม้กินได้ รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปมากมาย พร้อมเมนูอิ่มอร่อยจากอาหารพื้นเมือง ที่ปรุงด้วยวัตถุดิบโครงการหลวง กว่า 10 เมนู ในบรรยากาศกาดดอยแสนม่วนอกม่วนใจ๋ ระหว่างวันที่ 5 – 12 มกราคม 2565 ที่ Grand Hall ชั้น 1 เดอะมอลล์ โคราช

6 มกราคม 2565 เวลา 14.00 น. ที่ Grand Hall ชั้น 1 เดอะมอลล์ โคราช พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “เทศกาลสินค้าโครงการหลวง : ดอกไม้กินได้”พร้อมด้วย พลโท สวราชย์ แสงผล แม่ทัพภาคที่ 2 นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นางณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา พลตำรวจตรี พรมณัฏฐเขต ฮามคำไพ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 คุณพัชรินทร์ เก่งกาจ หัวหน้าฝ่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์แปรรูป มูลนิธิโครงการหลวง คุณศุภวุฒิ ไชยประสิทธิ์กุล ผู้อำนวยการใหญ่บริหารสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด คุณพลอยชมพู อัมพุช ผู้จัดการใหญ่บริหารสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และ คุณชินาพัฒน์ พิมพ์ศรีแก้ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด ให้การต้อนรับ

 กลับมาส่งตรงความสด อร่อย แบบได้สุขภาพให้กับชาวโคราชและจังหวัดใกล้เคียงอีกครั้ง กับงาน “เทศกาลสินค้าโครงการหลวง” ภายในคอนเซ็บท์ “ดอกไม้กินได้” พร้อมจำลองบรรยากาศและกลิ่นอายการตกแต่งที่สวยงามเหมือนยกกาดดอยมาได้ม่วนอกม่วนใจ๋ โดยภายในงานรวบรวมสินค้าและผลิตภัณฑ์คุณภาพจากโครงการหลวงทั้ง ผัก-ผลไม้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปมากมาย กว่า 150 รายการ อาทิ ผักเคล และผักสดหลากหลายชนิด,  สตรอเบอร์รี่, เคปกูสเบอร์รี่, เสาวรส, ฟักทองญี่ปุ่น,มะเขือเทศเชอรี่, ปลาเรนโบว์เทร้าต์, ขนมปังมันเทศญี่ปุ่น มินิ, ไข่ไก่อินทรีย์โครงการหลวงที่เลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติไม่ใช้ฮอร์โมนไม่ใช้สารเร่ง, กาแฟดริปโครงการหลวง กาแฟ 100% อะราบิก้า จากแหล่งปลูกแม่ลาน้อย ที่มีสภาพอากาศเหมาะสม ปลูกภายใต้ร่มไม้ใหญ่ และสภาพหุบเขาที่โอบล้อม ทำให้ได้เมล็ดกาแฟคุณภาพ มีให้เลือก 2 แบบ คือ คั่วกลาง กับ คั่วเข้ม, เนยแข็งเฟต้า ผลิตจากนมควายผสมนมแพะ นิยมรับประทานกับสลัด บีบให้เนื้อร่วนโรยหน้าสลัด โรยหน้าพิซซ่า หรือทานกับผลไม้, ผักเคลผง สินค้าใหม่ที่คุณค่าทางโภชนาสูง อัดแน่นไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุเป็นราชินีแห่งผักใบเขียว ฯลฯ พร้อมพบกับไฮไลท์ “ดอกไม้กินได้” อาทิ ดอกเนสเตอร์เตียม (Nasturtium) มีสีขาว ครีม ชมพู เหลือง ส้ม และแดง มีกลิ่นหอม ใบมีรสเผ็ด จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Indian Cress ดอกและใบนิยมมารับประทาน เป็นผักสดมีรสเผ็ดและให้กลิ่นหอมคล้ายกับวอเตอร์เครส นิยมใส่ในสลัดเพื่อเพิ่มสีสันและรสชาติ ดอกกุหลาบ (Rose) มีหลากหลายสีสัน เช่น แดง ขาว เหลือง ชมพู ฯลฯ มีสรรพคุณช่วยลดกลิ่นตัว ขับเหงื่อ ขับสารพิษ ช่วยบำรุงหัวใจ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ กลีบบางชนิดนำมาทำเป็น “ชาดอกกุหลาบ” บางชนิดนำมาทำเป็นอาหาร เช่น นำไปยำกับเนื้อสัตว์ ชุบแป้งทอด ใส่ในไข่เจียว หรือจะทำเป็นสลัดได้เช่นกัน, ดอกบีโกเนีย (Begonia) ตัวดอกมีความกรอบชุ่มฉ่ำเหมือนผักสลัดสด ๆ มีรสชาติเปรี้ยว เหมือนยอดมะขามอ่อน เหมาะสำหรับอาหารทุกประเภทที่ต้องการตัดรสเลี่ยน หรือแม้กระทั่งทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อเติมความสดชื่นระหว่างวัน มีสรรพคุณช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร

 พร้อมกันนี้เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสและลิ้มลองความอร่อยของวัตถุดิบคุณภาพจากโครงการหลวง กูร์เมต์ มาร์เก็ต ได้รังสรรค์ 4 เมนูสุดพิเศษ โดยเชฟ You Hunt We Cook ซึ่งมีจำหน่ายเฉพาะงานเท่านั้น ได้แก่ สลัดโรลผักเคลกับดอกไม้โครงการหลวง (Salad Roll with kale Flower) ราคา 90 บาท, ผักเคลเบคอนอบครีมชีส (Bake kale & bacon cream cheese) ราคา 150 บาท, ปลาเรนโบว์เทราต์ ย่างกับซัลซ่ามะเขือเทศโครงการหลวง (Grilled Trout decorations with Cherry Tomato Salsa) ราคา 250 บาท, ปลาเรนโบว์เทราต์ ย่างซอสสมุนไพรกับข้าวโครงการหลวง (Grilled Trout with Thai Herb and Rice) ราคา 250 บาท และนอกจากนี้ภายในงานยังได้คัดสรรอาหารเหนือแบบพื้นเมืองแท้ ๆ และยังใช้วัตถุดิบจากโครงการหลวงในการปรุงเมนูมาให้ได้เลือกลิ้มลองความอร่อยมากมาย อาทิ ข้าวเหนียวงาดำ มีส่วนผสมพิเศษในส่วนของข้าวเหนียวธัญญะพืชที่ได้ใช้ งาดำ    และงาหอม ผลิตภัณฑ์จากโครงการหลวงมาเป็นส่วนผสมซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์, ข้าวซอยปลาเทร้าต์ทอด อาหารขึ้นชื่อของชาวเหนือ ใช้ปลาเทร้าต์จากโครงการหลวง ทอดในน้ำมันร้อน ๆจนเหลืองกรอบ ทานพร้อมเส้นและราดน้ำแกงข้าวซอย เพิ่มความอร่อยด้วยเครื่องเคียงต่าง ๆ, ผัดไทไข่ไก่โครงการหลวง เมนูอาหารจานเด็ดซึ่งทางร้านได้นำไข่ไก่โครงการหลวงที่ปล่อยตามธรรมชาติ ไก่ไม่เครียด ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งไม่ใช้สารเร่งสีไข่แดง เลี้ยงด้วยผลผลิตอินทรีย์ ซึ่งไข่ไก่อินทรีย์จะปลอดจากสารพิษ, น้ำพริกหนุ่ม พร้อมผักเครื่องเคียงโครงการหลวง อาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป ทำจากพริกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าพริกหนุ่มอาจจะใช้พริกหนุ่มที่แก่จัดหรือยังไม่แก่จัดก็ได้ โขลกส่วนผสม หอม และกระเทียม ที่มาย่างและรับประทาน กับ ผักโครงการหลวงสดจากดอยโดยตรง ซึ่งเป็นผักปลอดภัย และมีให้เลือกหลายหลายชนิด, กะลอจี้ ขนมกะลอจี๊เป็นขนมแป้งเหนียว ๆ สัญชาติจีน นำไปต้มจนสุก เวลาจะกินก็นำไปคลุกกับน้ำตาลทรายผสมงาขาวงาดำ จากโครงการหลวง ใส่ถั่วเพิ่มกะลอจี๊กรอบนอกนุ่มใน หอมงาและถั่ว ไปกินเล่นยามว่าง, ขนมตะโก้  ตะโก้กะทิสดมีให้เลือกกว่า 16 ไส้ โดยมีเมนูแนะนำคือไส้ ข้าวโพด, ฟักทอง, ถั่วแดง ที่สด ใหม่ จากโครงการหลวง บอกเลยว่าถ้ากินหมดนี่เบาหวานรับประทานแน่นอน,น้ำอะโวคาโดปั่น ได้คัดสรร ผลอะโวคาโด สดจากทีมโครงการหลวง มาทำน้ำอะโวคาโดปั่น ซึ่งเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายกว่า 20 ชนิด และมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก ซึ่งประโยชน์ของอะโวคาโดนั้นมีหลากหลายด้าน เช่น บำรุงสมอง บำรุงดวงตา ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ไปจนถึงประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ และอีกหลากหลายเมนูให้เลือกลิ้มลองความอร่อย

ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากโครงการหลวง และลิ้มลองความอร่อยกับหลากหลายเมนูได้ ในงาน “เทศกาลสินค้าโครงการหลวง: ดอกไม้กินได้” ตั้วันที่ 5 – 12 มกราคม 2565 ที่ Grand Hall ชั้น 1 เดอะมอลล์ โคราช

โครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพเกษตรกรรม

มทร.อีสาน เดินหน้ายกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม วิสาหกิจชุมชนภาคใต้ 14 จังหวัด เยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ได้จัดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ระหว่างวันที่ 21 – 30 ธันวาคม 2564 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการฯ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ โดยมี นายชัยวุฒิ ครุฑมาศ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ 14 จังหวัด ร่วมพิธีเปิด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นอีกประมาณ 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

ด้าน นายทวี ประหยัด ในฐานะผู้ประสานงานโครงการฯ ภาคใต้ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ ได้เข้าร่วมอบรมยกระดับอาชีพในครั้งนี้ รวม 300 กลุ่ม จาก 14 จังหวัด ระหว่างวันที่ 21 – 30 ธันวาคม 2564 โดยแบ่งกลุ่มเข้าอบรมยกระดับอาชีพ 6ด้าน ได้แก่ ด้านปศุสัตว์ (การเลี้ยงเป็ดไข่ และไก่พื้นเมือง) ,ด้านประมง ((การเลี้ยงปลาหมอไทย และปลาดุก) ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP (สบู่,ยาสีฟัน,ครีมคลายเส้น และไข่เค็ม) ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ (เห็ดนางรม และเห็ดเยื่อไผ่) ,หมอดิน New Normal (ปุ๋ยชีวภาพ แบบน้ำ และแบบแห้ง) และพืชสมุนไพร (ตำรับยาจันทลีลา และตำรับยาอภัยสาลี)

นายทวี ประหยัด กล่าวต่ออีกว่า ขอขอบคุณ มทร.อีสาน โดยเฉพาะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ ที่เปิดโอกาสให้พี่น้องวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ ได้มาเข้าอบรมเพื่อยกระดับอาชีพเกษตรกรในครั้งนี้ ซึ่งเดิมที่ต่างคนก็ทำอาชีพอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติของกลุ่ม แต่ขาดปัจจัยสนับสนุน ในวันนี้ มทร.อีสาน ได้ให้ความสำคัญในการฝึกทักษะอาชีพให้กับพี่น้องวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด เพื่อต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในโอกาสหน้าจะได้รับความเมตตาจากคณะรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้มีอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

ศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต3 ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับประเทศโครงการทูบีนัมเบอร์วัน

ศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต3 ได้รับ พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศรางวัลระดับประเทศ ในโครงการทูบีนัมเบอร์วัน

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี องค์ ประธานโครงการ พระราชทาน ถ้วยรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทชมรม TO BE NUMBER ONE ระดับประเทศ ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและประเภทเยาวชนดีเด่น โดย ดร.รัตนะ วรบัณฑิต ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรม เด็กและเยาวชนเขต 3 ดำเนิน การส่งตัวแทน เด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ เยาวชนห่างไกลยาเสพติด ในงานมหกรรมรวมพล To Be Number 1 ประจำปี พศ.2564 ระหว่างวันที่ 21 -23 ธันวาคม 2564 ณ.อิมแพคเมืองทองธานี

ศิลปินนักปั้น เครื่องปั้นอันเก่าแก่ ดินแดนแห่งอารยธรรม และ ประวัติศาสตร์

ครั้งแรก ของการจัดงาน เทศกาล ศิลปะงานปั้นดิน และ เซรามิค ณ จังหวัดนครราชสีมา ดินแดน แห่งอารยธรรม และ ประวัติศาสตร์ การก่อเกิด เครื่องปั้นอันเก่าแก่ ที่มีพื้นที่การส่งเสริมศิลปะ การปั้น ตลาดการค้าเครื่องปั้นขนาดใหญ่ หมู่บ้านด่านเกวียนที่ทำเครื่องปั้นใหญ่ที่สุด และมีเตาเผา แบบดั้งเดิมมากที่สุด จุดหมายของการมาเยือนจากผู้ที่มีใจรักในศิลปะการปั้น ที่ทุกคนใฝ่ฝัน

InterKeramos korat clay festival 2021 thailand

เทศกาลที่จะมีศิลปินนักปั้น และผู้ประกอบการ จากทั่วประเทศ และทั่วโลกมาร่วม ประชุม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สร้างผลงานร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์ ตลอดจนเกิดการส่งเสริมการส่งออก ค้าขาย และ การจัดจำหน่าย ในรูปแบบของ การชุมนุมเครื่องปั้น หลากหลายรูปแบบ ชมนิทรรศการ การแสดงผลงานการปั้น จากศิลปินชั้นนำ และงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย ณ เดอะมอลล์โคราช

InterKeramos korat clay festival 2021 thailand จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22-26 ธันวาคม 2021 ณ จังหวัดนครราชสีมา  เข้าชมรายละเอียดการจัดงานที่ www.ikthai.com  หรือ facebook KoratClayFestival

ผู้สนับสนุนการจัดเทศกาล“ InterKeramos korat clay festival 2021 thailand

TCEB สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

จังหวัดนครราชสีมา 

ศูนย์การค้าเดอะมอลล์

เทศบาลตำบลด่านเกวียน

เทศบาลพิมาย

สมาพันธ์ SME ไทย 

NCEC

3bb

Pottery Clay Thailand

กลุ่มเครือข่ายสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

จัดโดย Ikthai

เล่าขานประวัติศาสตร์ ผ่านนามสกุลโคราช

เล่าขานประวัติศาสตร์ นครราชสีมาผ่านนามสกุลคนโคราช”

วัฒนธรรมจังหวัด นครราชสีมา

วันที่  22 ธันวาคม 2564 ท่านจำลอง ครุฑขุนทด ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัด, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีเปิดการเสวนาของสภาวัฒนธรรมจังหวัด “การเล่าขานประวัติศาสตร์นครราชสีมา : ผ่านนามสกุลคนโคราช”

 การเสวนาครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของ “โครงการเล่าขานประวัติศาสตร์นครราชสีมา : ผ่านนามสกุลคนโคราช” ซึ่งสภาวัฒนธรรมจังหวัดได้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนามสกุลคนโคราชว่ามีนามสกุลใดบ้าง โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสภาวัฒนธรรมอำเภอ ในเบื้องต้นได้สืบค้นและทำการสัมภาษณ์คนโคราช 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง  อำเภอปักธงชัย อำเภอโนนไทย อำเภอสูงเนิน อำเภอสีคิ้ว อำเภอโชคชัย อำเภอจักราช อำเภอพิมาย อำเภอโนนสูง อำเภอบัวใหญ่ อำเภอครบุรี และอำเภอด่านขุนทด โดยข้อมูลครอบคลุมถึง ประวัติความเป็นมา ชาติพันธุ์ อาชีพ และภูมิลำเนาเดิมของบรรพบุรุษ ตลอดจนความภาคภูมิใจในนามสกุลของคนโคราช นอกจากนี้ยังได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทางวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น การละเล่นพื้นเมือง และของดีประจำตำบลในแต่ละพื้นที่ด้วย

 สภาวัฒนธรรมจังหวัด ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรวบรวมข้อมูลดังกล่าว เพื่อใช้ในการประสานคนโคราชให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีและเพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่มีความเข้มแข็งมั่นคง และสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงได้จัดเสาวนาในวันนี้ โดยเชิญผู้เข้าร่วมเสวนาจากอำเภอต่างๆ ได้รับเกียรติ นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, นายไชยนันท์ แสงทองวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, ดร.สมศักดิ์ ชาญสูงเนิน, รศ.ดร.จำเริญรัก จิตต์จิรจรรย์, ว่าที่ร้อยตรีสมชายรักกลาง และ นายรักชาติ กิริวัฒนศักดิ์ และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมกิจกรรมเสวนาครั้งนี้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.จิตนภาสมบูรณ์ศิลป์ หัวหน้าโครงการกล่าวรายงาน

 นาย จําลอง ครุฑขุนทด ท่านประธานกรรมการจัดงานเสวนา คณะกรรมการจัดงานกล่าวเปิดท่านผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมการเสวนาทุกท่าน

 ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่มีโอกาสมาร่วมในพิธีเปิดการเสวนา “การเล่าขานประวัติศาสตร์นครราชสีมา : ผ่านนามสกุลคนโคราช” ขอขอบคุณและขอแสดงความชื่นชมที่ท่านทั้งหลายเล็งเห็นถึงความสำคัญและทำการรวบรวมข้อมูลนามสกุลคนโคราชนี้ขึ้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของคนโคราชในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น ที่บางแห่งอาจจะลบเลือนไป แต่บางแห่งก็ยังได้ถือปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังเอื้อต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ของคนโคราชร่วมกันต่อไปในอนาคต อันจะประโยชน์เพื่อการต่อยอดในการพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดใหญ่ มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ1 มี 32 อำเภอ และมีประชากรกว่า 2 ล้าน 6 แสนคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ดังนั้นการที่ท่านทั้งหลายมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการรวบรวมข้อมูลจาก 12 อำเภอ นำร่องนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดีและควรค่าแก่การสนับสนุน ผมขอเป็นกำลังใจให้ท่านรวบรวมข้อมูลต่อไปในครบทั้ง 32 อำเภอ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์เป็นข้อมูลประจำจังหวัดนครราชสีมา เพื่อต่อยอดสืบสาน วัฒนธรรมโคราชต่อไป

สสส. สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ต้นแบบ เยาวชน 4 ภูมิภาค เป็นผู้นำเครือข่ายสื่อออนไลน์ท้องถิ่น หวังดึงพลังเยาวชนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

สสส. สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ต้นแบบ เยาวชน 4 ภูมิภาค เป็นผู้นำเครือข่ายสื่อออนไลน์ท้องถิ่น หวังดึงพลังเยาวชนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

เยาวชน 4 ภูมิภาค ร่วมผลิตสื่อสร้างสรรค์ หวังดึงพลังเด็กและเยาวชนสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู้สังคม และพัฒนาเป็นผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่นและชุมชน ด้วยต้นแบบหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ

วันที่ 20-21 ธันวาคม 2564 ที่ โรงแรม ทีเคพาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กทม. โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่น และชุมชนด้วยต้นแบบ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ ขึ้นเพื่อพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ทั้งยังหวังดึงพลังเด็กและเยาวชนสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู้สังคมต่อไป

นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กล่าวว่า การพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเกิดขึ้นปีที่ 6 ภายใต้โครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่นและชุมชนด้วยต้นแบบหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ” โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีเครือข่ายเข้าร่วมเพื่อเป็นต้นแบบในการทำงาน ครอบคลุมใน 4 ภูมิภาค อาทิ ภาคอีสาน โดย พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ จากไทยเสรีนิวส์, ภาคเหนือ โดยคุณชัยวัฒน์ จันทิมา จากพะเยาทีวี, ภาคใต้ โดยคุณภูวสิษฏ์ สุกใส จากสงขลาโฟกัส และภาคกลาง โดยคุณสืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากกลุ่มพลังแห่งต้นกล้า ที่ได้นำทัพเด็กและเยาวชนในภูมิภาคนั้นๆ มาร่วมโครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่น และชุมชนด้วยต้นแบบ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ จำนวนกว่า 80 คน

ได้มาเรียนรู้การทำงานก่อนลงไปสร้างสรรค์สื่อจริง ด้วยหลักสูตรใหม่ที่ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ได้จริงกับการทำงาน อย่าง 1. ดิจิทัลพลิกโลก (Digital Disruption) 2. การสื่อสารสุขภาวะ (Community for Health) 3. รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy : MIDL) 4. กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสาร  5. การสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำแผนชุมชน 6.ความคิดสร้างสรรค์และการเล่าเรื่อง 7.การออกแบบและผลิตสื่อ 8.การสื่อสารและการจัดการภาวะวิกฤต 9.การสื่อสารเพื่อการฟื้นฟูและเยี่ยวยา 10.การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ 11.การต่อยอดเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ 12.การประเมินผลและการถอดบทเรียนออนไลน์ และ 13.การออกแบบและผลิตสื่อ 2

“ในการสร้างสรรค์สื่อในครั้งนี้เพื่อเป็นการสื่อสารไปยังสังคมได้แพร่หลายมากขึ้นจึงมีการเน้นให้มีการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อาทิ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube, Tiktok หรืออื่นๆ ตามที่นำเสนอภายใต้ประเด็นที่กำหนดอย่าง 1.รองรับสังคมผู้สูงวัย 2.ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ 3.ทักษะรู้เท่าทันสื่อและความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5.อัตลักษณ์ – ความดี – คนดีของสังคม ซึ่งสามารถติดตามผลงานของเยาวชนทั้งหมดในครั้งนี้ได้ที่ www.artculture4health.com/mass ครับ”  นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว

ด้าน พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ บรรณาธิการบริหารไทยเสรีนิวส์ กล่าวว่า สำหรับภาคอีสานในปีนี้ได้ส่งเยาวชนเข้าร่วมเพื่อสร้างสรรค์สื่อในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น จำนวน 6 ทีม โดยมีเยาวชนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 3 ทีม อาทิ ทีมพี่เอง, ทีมลูกหล่า และทีมหนุ่มชุมชน ส่วนจากจังหวัดมหาสารคาม โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 3 ทีม อาทิ ทีมนาตาชาโรมานอฟ, ทีมเป็นกำลังจั๊ย และทีม My Navis We love You โดยทั้ง 6 ทีมนี้ จะมีการนำเสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่จะเปิดตัวขึ้นต้นปี 2565 และแน่นอนว่าผลงานทั้งหมดจะมีการเผยแพร่ที่ เวปไซค์และเพจไทยเสรีนิวส์ ด้วย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามทุกๆ ผลงานได้เร็วๆ นี้แน่นอน

“นอกจาก 6 ทีม ของภาคอีสานแล้ว ยังมีผลงานของเยาวชนในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ในภาคอื่นๆ เผยแพร่ออกมาด้วย แน่นอนว่าทุกๆ ผลงานจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคมเพื่อนำมาสู่การขับเคลื่อนให้เกิดแนวทางในการสร้างสรรค์กลุ่มนักสื่อสารมวลชนที่จะเป็นพลังในการสร้างรากฐานของการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนสังคม และประเทศชาติต่อไปได้อย่างแน่นอน จะเป็นอย่างไรติดตามได้ต้นปี 2565 นี้” พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ กล่าว