สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้สรรหาคณะกรรมการและประธานสภาวัฒนธรรมท่านใหม่

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 นาย วิจิตร กิจวิรัตน์นายอำเภอรักษาการแทนปลัดจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธีเปิดการประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาโดยนายไชยนันท์ แสงทองวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาดำเนินการประชุมสรรหาได้กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา

แนวคิดการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นของประชาชนประชาชนคือเจ้าของวัฒนธรรม  การดำเนินงานวัฒนธรรมจะบรรลุผลได้ดียิ่ง ต้องให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบดำเนินการวัฒนธรรม อย่างมีบทบาทสำคัญ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม ดังนี้

1. เพื่อให้เกิดการรวมตัวจัดตั้งองค์กรชุมชนของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรม นำไปสู่การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง

2. เพื่อให้เกิดการรวมพลังระหว่างองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่นเป็นเครือข่ายเครือญาติ ทางวัฒนธรรมที่มีการติดต่อสื่อสารพบปะข้อมูลแลกเปลี่ยนข่าวสารตลอดจนแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ซึ่งกันและกัน

3. เพื่อให้เกิดหน่วยงานด้านวัฒนธรรมของประชาชนในท้องถิ่น ที่เชื่อมประสานหน่วยงานภาครัฐได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ

สภาวัฒนธรรมมีสถานภาพเป็นองค์กรเอกชน ที่ดำเนินงานวัฒนธรรม ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม ในการระดมทรัพยากร บุคลากร และสรรพกำลังต่างๆ จากหน่วยงานและองค์กรต่างๆในการส่งเสริม สนับสนุน และร่วมกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา สร้างสรรค์  แลกเปลี่ยน สืบทอด และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ได้ดำเนินการปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแต่ละระดับ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ 2553 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

– สภาวัฒนธรรมตำบล จำนวน 258 แห่ง

– สภาวัฒนธรรมเทศบาล จำนวน 11 แห่ง

– สภาวัฒนธรรมอำเภอ จำวน 32 หาง

และกำหนดการประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ในวันนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย เครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 32 อำเภอ ๆ ละ 1 คน รวม 32 คน เครือข่ายวัฒนธรรมที่จดแจ้งในระดับจังหวัด 30เครือข่าย ๆ ละ 1 คน รวม 30 คน และผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ได้แก่ นักวิชาการวัฒนธรรม และผู้แทนจากเครือข่าย อื่นๆรวมทั้งสิน 90 คน เพื่อดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่แทนคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดเก่า ที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระที่กำหนดในกฎกระทรวงจำนวนไม่น้อยกว่า 19 คน และไม่เกิน 51 คน โดยได้รับความเมตตานุเคราห์สถานที่จัดประชุมจากพระเดชพระคุณ พระศรีวงศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดป่าศรัทธาราม

 ในการสรรหาครั้งนี้ได้ท่าน เอมอร  ศรีกงพาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาอีกวาระ3ปี และได้คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดรวม 51 คนและจะประกาศรับรองเพื่อทำงานการส่งเสริมด้านวัฒนธรรมจังหวัดต่อไป

“มวลน้ำทะลัก 4 อำเภอ รอบนอกโคราช”

#น้ำท่วมโคราช #มวลน้ำทะลัก 4 อำเภอ รอบนอกโคราช

      วันนี้ (25 ต.ค.2564) ปภ.สาขาชุมพวง จ.นครราชสีมา รายงานสถานการณ์อุทกภัย เนื่องจากลำน้ำมาศล้นตลิ่ง

ได้แก่

    – อ.พิมาย มวลน้ำได้เอ่อล้นเข้าไร่นาและบ้านเรือนประชาชน วัด โรงเรียน

พื้นที่ ม.8 บ้านตะคร้อ

และเข้าท่วมพื้นที่นาข้าว บ้านโนนทะยอม ม.26 ต.โบสถ์

   – อ.ห้วยแถลง มวลน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมถนน บ้านเรือนประชาชน ไร่นา พื้นที่ ม.10 บ้านโนนเพ็ด ต.หลุ่งตะเคียน

   – อ.ชุมพวง มวลน้ำได้ล้นตลิ่ง เข้าท่วมไร่นา ถนน

วัด และบ้านเรือนประชาชน จำนวน 3 หลังคาเรือน พื้นที่บ้านสาหร่าย ม.1 ต.โนนตูม

   ศบก.พิมาย จ.นครราชสีมา รายงานสถานการณ์ น้ำท่วมตำบลชีวาน อำเภอพิมาย ว่า ระดับน้ำสูงขึ้นจากเมื่อวานอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้

    -บริเวณบ้านดอนเขว้า หมู่ที่ 2 ระดับน้ำสูงขึ้นจากเมื่อวาน ประมาณ 20 ซม.น้ำลำสะแทด เอ่อเข้าชุมชนถนนในชุมชน

     -บริเวณ ฝายบ้านดอนน้ำซับ หมู่ที่ 8 ระดับน้ำสูงขึ้นจากเมื่อวาน 20 ซม. น้ำลำสะแทดเอ่อเข้าชุมชน ทางเข้าหมู่บ้านระดับน้ำสูงจากถนน 30-50 ซม.

ถนนระหว่าง ดอนน้ำซับ – คุ้มโนนทอง ระดับน้ำสูงจากถนน 40-60 ซม. ระดับใกล้เคียงกับการท่วมครั้งแรก สัญจรทางเรือและรถทางการเกษตร

     -ลำสะแทดเอ่อล้นโอบล้อมพื้นที่และดันเข้าสู่พื้นที่การเกษตร ระดับน้ำพื้นที่การเกษตรโดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

     -ระดับน้ำบริเวณ คลอง เหมือง สูงขึ้นทุกแห่ง

ร่วมใจสู้น้ำท่วม “พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจช่วยชัยภูมิ”

“ ร่วมใจสู้ ภัยน้ำท่วม ช่วยสถานพินิจฯ ชัยภูมิ เพื่อเด็กและเยาวชน ”
จากสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดชัยภูมิ “ อ่วมรอบ 50 ปี เจอวิกฤตหนักสุด ”
จากพื้นที่รับอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมครั้งใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2564 ถึงปัจจุบัน สร้างความเสียหายบ้านเรือนประชาชนและส่วนราชการชัยภูมิเดิอดร้อนหนักอันรวมสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิเป็นหน่วยงานช่วยเหลือ,คุ้มครองสวัสดิ์ภาพเด็กและเยาวชนที่ตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตขณะนี้

วันที่ 28 กันยายน 2564 ดร.รัตนะ วรบัณฑิต ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 พร้อม นาย คมกฤษณ์ แสงจันทร์ ผอ.สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา และ นายฐิติรรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ รองประธานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน สำหรับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา และ เจ้าหน้าที่สถานพินิจฯ
นครราชสีมา ร่วมมอบสิ่งของกำลังใจโดย นางสาว สุมณฑา เกตุมณี ผอ.สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิต้อนรับพร้อมคณะเยี่ยมชมดูสถานที่และการเตรียมการรองรับสถานการณ์น้ำท่วมภายในหน่วยงานด้านต่างๆ อาทิ ห้องพิจารณาคดี , แก้มลิงพื้นที่สถานพินิจเด็กและเยาวชนที่กำกับดูแล พร้อมคณะนำสิ่งของอาหารแห้ง , ข้าวสาร , เวชภัณฑ์ยา และ ผลไม้ต่างๆ

ดร. รัตนะ วรบัณฑิต กล่าวการมาเยี่ยมครั้งนี้ด้วยความรู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนของน้องๆเสมือนญาติพี่น้องครอบครัวเดียวกันจึงนำความช่วยเหลือเบื้องต้นมาดูแลความเป็นอยู่ช่วยเหลือกัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและกล่าวแนะนำการทำงานสร้างขวัญกำลังใจ พร้อมยินดีช่วยเหลือคณะเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ด้วยรักและห่วงใย เราจะสู้วิกฤตนี้ผ่านไปด้วยกันแม้จะเจอวิกฤตหนัก 2 ด้าน สถานการณ์ติดเชื้อโควิด19 และภัยพิบัติทางน้ำก็ตาม

เฝ้าระวังสถานการณ์มวลน้ำ สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำลำเชียงไกร(26-27กย.64)

ล่าสุด เช้าวันนี้ (27 ก.ย.64) ระดับน้ำในอ่างฯ ลดลง 30 ซม. (เริ่มลดลงเวลา 1:00) และเหลือถึงระดับสันทำนบดิน อ่างฯ 60 ซม.
หมายถึง ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ ประมาณ 400-500 ลบ.ม.ต่อวินาที < (ลดลง/น้อยกว่า) ปริมาณน้ำที่ไหลออกจากทุกช่องทาง (ช่อง river outlet ซ้าย/ขวา , กาลักน้ำ /สูบน้ำ ,รถสูบซิ่ง ,ทางระบายน้ำฉุกเฉินขวา (Emergency Spillway) ,และช่องบ่อก่อสร้าง ประตูระบายน้ำ( Service Spillway)
• จึงยังไม่ต้องตัดคันทำนบดินอ่างฯ จุดอื่นเพิ่มการระบายอีก

ระดับน้ำในอ่างฯ ทรงตัวและลดลง ทำให้ ไม่เกิดล้นข้ามทำนบดินสันของอ่าง ในลักษณะพังทลาย หรือเขื่อนแตก
สามารถบริหารน้ำออกอ่างฯให้มากกว่าหรือเท่ากับน้ำเข้าอ่างฯ รักษาความปลอดภัยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ พ้นวิกฤติ และบรรเทาความเสียหายด้านท้ายน้ำ
ยังต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำที่ยังคงไหลลงมาจากตอนบน ห้วยสามบาท ที่ไหลลงมาอย่างต่อเนื่องต่อไป
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำลำเชียงไกรในวันที่26 กันยายน 2564
.
อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนบน อ.ด่านขุนทด มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 9.029 ล้าน ลบ.ม. หรือ 141.95 % ที่ระดับเก็บกัก (8.40 ล้าน ลบ.ม.)
เมื่อวานน้ำไหลลงอ่าง 12.79 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำออกผ่านทางระบายน้ำฉุกเฉิน (Emergency Spillway) 11.194 ล้าน ลบ.ม.
แนวโน้มทรงตัวแล้วลดลง
อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่ อ.ด่านขุนทด มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 9.029 ล้าน ลบ.ม. หรือ 103.78 % ที่ระดับเก็บกัก (8.70 ล้าน ลบ.ม.)
เมื่อวานน้ำไหลลงอ่าง 2.069 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำออก –
แนวโน้มเพิ่มขึ้น ล้นทางระบายน้ำฉุกเฉิน

อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง อ.โนนไทย มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 41.96 ล้าน ลบ.ม. หรือ 151.49 % ที่ระดับเก็บกัก(27.70 ล้าน ลบ.ม.)
เมื่อวานน่ำไหลลงอ่างฯ 9.925 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำออกทั้งหมด 4.487 ล้าน ลบ.ม.
แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

อ่างเก็บน้ำหนองกก อ.พระทองคำ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 2.97 ล้าน ลบ.ม. หรือ 117.96 % ที่ระดับเก็บกัก (2.50 ล้าน ลบ.ม.)
เมื่อวานน้ำไหลลงอ่าง ล้าน 0.045 ลบ.ม. ระบายน้ำออกผ่านทางระบายน้ำฉุกเฉิน (Emergency Spillway) 0.219 ล้าน ลบ.ม.
แนวโน้มทรงตัวแล้วลดลง
ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำที่เกิดจากปริมาณน้ำฝน 50 -150 มม. ที่ตกในลุ่มน้ำจากอิทธิพลพายุโซนร้อน”เตี้ยนหมู่”
มีปริมาณน้ำท่า ไม่น้อยกว่า 50 ล้าน ลบ.ม. รวมกับลำน้ำสาขาต่างๆ และปริมาณน้ำในพื้นที่ที่ค้างอยู่ โดยที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมด ทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก เกินความจุทั้งหมดแล้ว ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งลุ่มน้ำ

/โครงการชลประทานนครราชสีมา

ฝนถล่มถนนขาดเส้นท่องเที่ยว น้ำตกวังเณร ชลประทานรุดซ่อมแซมช่วยชาวบ้าน

วันที่ 16 กันยายน 2564 นายสิทธิพล เสงี่ยม ผู้อำนวยการศูนย์ ปภ. เขต 5 นครราชสีมา มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่วนป้องกันและปฏิบัติการร่วมกับส่วนสนับสนุนทรัพยากรกู้ภัย ดำเนินการติดตั้งสะพานถอดประกอบ (Bailey Bridge) พื้นที่ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากน้ำกัดเซาะถนนเลียบคลองส่งน้ำชลประทาน ที่ใช้สัญจรเชื่อมต่อบ้านมะเกลือเก่า หมู่ที่ 1 กับหมู่ที่ 2 ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ประชาชนใช้เส้นทางในการสัญจรไปมาได้ตามปกติ มีประชาชนได้รับประโยชน์ 700 ครอบครัว 1,900 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ “งานแถลงข่าวโคราชกรีนบ็อกซ์” วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 16.00-17.00 น. ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำสายศร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

“ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาจับมือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หอการค้าจังหวัดจังหวัดนครราชสีมา องค์กรภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนชวนนับถอยหลังกับมาตรการเปิดเมืองด้วยแนวคิด “โคราชกรีนบ็อกซ์”
วันนี้(10 กันยายน 2564) เวลา 16.00 น. นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานในงานแถลงข่าวเผยแนวทางดำเนินการ “โคราชกรีนบ็อกซ์” กับมาตรการเปิดเมือง120วันของรัฐบาลพร้อมรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในจังหวัดแล้ว เชื่อมั่นว่าชาวโคราชพร้อมร่วมใจ
เพราะจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นในทรัพยากรทางการท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนปีละ 9 ล้านกว่าคนในปี 2562 เห็นใจว่าผู้ประกอบการทุกคนล้วนได้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นาน เป็นสิ่งที่เราทุกคนเผชิญอยู่อย่างปฏิเสธไม่ได้ ทั้งยังส่งผลอย่างมากต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคม

ตลอดจนการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาอยากให้ทุกคนกลับมาต่อวงจรเศรษฐกิจให้ได้ ที่ผ่านมาจังหวัดนครราชสีมามีมาตรการในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยของประชาชนในทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตามด้วยความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายภาคเอกชนของจังหวัดนครราชสีมาที่มีความตั้งใจในการกำหนดแนวทางและมาตรการในการดูแลความปลอดภัยให้กับพนักงานในสถานประกอบการ รวมถึงการกำหนดให้มีโครงการ “โคราชกรีนบ็อกซ์”ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักเดินทางไมซ์ที่จะเดินทางมายังจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากอำเภอปากช่องก่อนแล้วค่อยขยายไปยังอำเภออื่นๆ จังหวัดนครราชสีมาก็ต้องขอขอบคุณและความร่วมมือของภาคเอกชน จังหวัดนครราชสีมาก็มีความยินดีและพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมนี้ ที่ตั้งอยู่บนมาตรการที่รัฐบาลกำหนด
นอกจากนี้ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดนครราชสีมาเป็นหน่วยงานที่ริเริ่มโครงการ “โคราชกรีนบ็อกซ์” ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมือในการวางแผนโครงการเป็นอย่างดี ซึ่ง “โคราชกรีนบ็อกซ์” หมายถึง พื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาที่มีความปลอดภัยและคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม หวังช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องฟื้นตัวโดยเร็วจากการท่องเที่ยว มั่นใจสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวในโครงการ “โคราชกรีนบ็อกซ์” มีมาตรการหลายชั้นรัดกุม เน้นทั้งผู้ให้บริการที่ต้องมีการตรวจATKทุก7วัน เพื่อความปลอดภัยในด้านการท่องเที่ยว ป้องกันการติดเชื้อ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถมั่นใจได้ว่า มาเที่ยวในโครงการโคราชกรีนบ็อกซ์แล้วจะได้รับความปลอดภัยจากการเดินทาง”

กองทัพภาค2ที่รวมน้ำใจช่วยเด็กดียากจน

:เมื่อวันที่ 24 ส.ค.64 พลตรี บุญสิน พาดกลาง ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3

  • ได้เข้าช่วยเหลือครอบครัวของ น.ส.รุ่งทิวา เดินกลาง นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนศรีสุขวิทยา ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง จว.น.ม. ที่เรียนดีมีฐานะยากจนในพื้นที่บ้านโนนโพธิ์ ต.ธารละหลอด อ.พิมาย จว.น.ม. โดยได้มอบสิ่งของอุปโภคบริโภคให้กับครอบครัวดังกล่าว เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีรายการ ดังนี้
    1) ไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 20 ตัว พร้อมอาหาร 2 กระสอบ
    2) ปลานิลจิตรลดา จำนวน 1000 ตัว พร้อมอาหาร 2 กระสอบ
    3) มอบทุนเรียนภาษาอังกฤษครูนะ ออนไลน์ จำนวน 2ทุน ทุนละ8,000 บาท
    4) ถังเก็บน้ำ ขนาด 1,500 ลิตร จำนวน 2 ถัง
    5) ผ้ามุ้งไนล่อนสีฟ้า กว้าง 1.5 เมตร ยาว 150 เมตร
    6) ทุนการศึกษา จำนวน 5,000 บาท

ทหารรวมน้ำใจ..ช่วยเด็กดีเรียนดีฐานะยากไร้ ครูไปเยี่ยมบ้าน เด็กไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้ เด็กดี เด็กเรียนดี ครูต้องผงะ ในสภาพ บ้านไม่มีไฟใช้และโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง แต่ต้องเเรียนร่วมกันน้องผ่านออนไลน ออนไลน์

นายชวน หลีกภัย มอบหน้ากากอนามัยให้ผู้ว่าโคราชเพื่อส่งต่อให้ประชาชนที่ขาดแคลน

#ประธานสภาผู้แทนราษฎร#มอบหน้ากากอนามัยร่วมต้านภัยcovid19 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นตัวแทนรับมอบส่งต่อประชาชนขาดแคลนนครราชสีมา… วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ในฐานะประธานมูลนิธิเพื่อสังคมและการศึกษาพร้อมด้วย นายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะเลขานุการมูลนิธิฯ นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร เดินทางลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดแรกของภาคอีสาน เพื่อมอบหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชนที่ยังขาด จำนวน 10,000 ชิ้น

โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายชรินทร์ ทองสุก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นางสาวนภาพร เมฆาผ่องอำไพ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา และส่วนราชการในจังหวัดนครราชสีมา ร่วมรับมอบ***นายชวน กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อสังคมและการศึกษา ได้รับบริจาคหน้ากากอนามัย จากผู้ใจบุญจำนวนนับล้านชิ้น จึงนำมามอบให้กับประชาชนที่ยังขาดผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ไปมอบให้จังหวัดทางภาคใต้ ภาคกลาง และวันนี้ได้เดินสายลงพื้นที่ภาคอีสาน โดยมีจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดแรก ต่อไปยัง บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี “ถึงแม้ว่าเราจะฉีดวัคซีนแล้ว แต่การสวมหน้ากากอนามัยยังมีความจำเป็นอยู่ จึงขอให้ทุคนใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน”นายชวน กล่าว

สภาวัฒนธรรมโคราชร่วมแบ่งปันน้ำใจให้กับบุคคลกรทางการแพทย์ สู้ภัยโควิด 19

 วันที่ 21 พ.ค. 2564 ที่สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา นายจรัสชัย เรืองโชคสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมเป็นผู้รับมอบ อาหารกล่องน้ำดื่ม และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อนำไปส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการ การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 นอกสถานถานที่ในจุดบริการต่างๆ

ด้าน นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา , นายไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ,นายรักชาติ สิริวัฒนศักดิ์ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา นายชุณห์ ศิริชัยคีรีโกศล พร้อมด้วย นางสุนีย์ เลิศสีมาพร ประธานชมรมแม่บ้านโคราช ,พ.อ.นเรศ พิลาวรรณ  นายกพุทธสมาคม จังหวัดนครราชสีมา ,นาย ฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และเครือข่าย 32 อำเภอ  ได้นำอาหารกล่องจำนวน 250 ชุด น้ำดื่ม1,200ขวด และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มอบแก่ พันเอก(พิเศษ)หญิง วัลภา พิชญคามินทร์ ประธานชมรมแม่บ้านสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร นางณัฐอร พลสวัสดิ์, ดร.สันติ ทวยมีฤทธิ์, นางฉวีวรรณ จันทร์ณรงค์ รอง นพ.สสจ.นครราชสีมา หัวหน้ากลุ่มงาน และจนท.สสจ.นครราชสีมา

ทั้งนี้ หากประชาชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความประสงค์ร่วมแบ่งปันน้ำใจเพื่อเป็นกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์สามารถนำมาร่วมได้ที่ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมาได้ ในวันและเวลาราชการ

สภาวัฒนธรรมโคราชผนึกกำลังผนึกกำลังกับวัฒนธรรมจังหวัด พร้อมด้วยเครือข่าย 32 อำเภอ สนับสนุนข้าวกล่องและน้ำดื่มมอบให้ รองนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะ เพื่อส่งต่อแก่บุคลากรทางการแพทย์ สู้ภัยโควิด 19 ณ เดอะมอลล์ โคราช

นางเอมอร  ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา  พร้อมด้วย นาย ไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชีมา, นางสมใจ อินทรทรัพท์  รองประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา, พันเอกนเรศ  พิลาวัล , นายสมชาย รักษ์กลาง ,นายฐิตรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาพร้อมด้วยเครือข่าย 32 อำเภอ ได้นำอาหารกล่อง จำนวน 250 กล่อง และน้ำดื่ม  จำนวน 1,200  ขวด  โดยได้รับการประงานงานด้วยดีจาก คุณรัจริน วงศ์จิต นายกสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา  เพื่อนำไปมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์โคราช  โดยได้รับเกียรติจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมคณะ เป็นผู้รับมอบ

จากนั้น นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมคณะ ได้เข้าพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมในการทดลองระบบ  ณ หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ศูนย์การค้าเดอะมอลล์  โคราช  ก่อนจะทำการทดสอบระบบ ระหว่างวันที่ 24-31 พฤษภาคม 2564  เพื่อฉีดวัคซีนให้เฉพาะ 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ที่ลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อม และหน่วยงานที่ลงทะเบียนกับทาง สสจ. เป็นที่เรียบร้อย   ทั้งนี้ สถาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยคณะกรรมการทุกท่าน ยังคงเดินหน้าเพื่อร่วมแบ่งปันน้ำใจ พร้อมด้วยการช่วยบอกกล่าวประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนสนใจในการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น