รักและเลี้ยงเหมือนลูกตัวเอง เจ้าเต้าหู้ สุนัขเพศเมียที่เลี้ยงดูลูกแมวถึง 3 ตัว หลังจากแม่แมวได้ตายหลังคลอดแมวน้อยได้ไม่นาน

ที่ผ่านมา  ทีมงานชมรมข่าวเฉพาะกิจ ได้เดินทางไปที่ บ้านเลขที่ 51 ม.8 บ.โนนกระถิน      ต.หนองน้ำใส อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เพื่อตรวจสอบกรณีมีผู้ให้ข้อมูลว่า  มีแม่สุนัขเพศเมียตัวหนึ่งได้ให้การดูแลช่วยเหลือลูกแมวโดยให้กินนมของตัวเอง   และทีมข่าวก็ได้พบกับเจ้าของสุนัข  ชื่อว่า น.ส นิรดา แก้วพรม อายุ 43 ปี  ได้เล่าให้ฟังว่า สุนัขตัวที่ให้นมลูกแมวมีชื่อว่าเจ้าเต้าหู้  โดยเต้าฮู้ได้ เลี้ยงลูกแมวเพศผู้ทั้งหมด จำนวน 3 ตัว เจ้าเต้าหู้เป็นหมาสาวไม่เคยมีลูกมาก่อน แต่ต้องมาเลี้ยงลูกแมว

โดย น.ส นิรดา แก้วพรม ได้เล่าอีกว่าจ้าเต้าหู้กับแม่ของแมวน้อยนั้น  เล่นกันมาตั้งแต่ตัวเล็ก ๆ และมักจะหยอกล้อกันเสมอ  จนกระทั่งแม่แมวได้ท้องและคลอดลูกออกมา เป็นเพศผู้ทั้งหมด จำนวน  3  ตัว  จากนั้นแม่แมวมีอาการนมอักเสบจากการมีน้ำนมมากจนเกินไป  ทำให้ป่วยและตายในที่สุด

โดยก่อนที่แม่แมวจะตายนั้นได้วนเวียนอยู่กับเจ้าเต้าหู้ เหมือนจะสั่งเสียกันว่าฝากลูกด้วย และตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลาประมาณ 2สัปดาห์แล้ว  เจ้าเต้าหู้ก็ยังคงให้การดูแลลูกแมวทั้งสามตัวเหมือนดั่งลูกตัวเองตลอดมา สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก บางคนถึงกับพูดว่าเป็นเรื่องราวที่แปลกมาก ไม่เคยเจอมาก่อน และบางคนก็ชื่นชมเจ้าเต้าหู้ว่าเป็นสุนัขที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ยิ่งนัก 

ภาพโดย / นายจามร คงเพียรธรรม

​สมาชิกชมรมข่าวเฉพาะกิจ อ.สีคิ้ว

ชมรมข่าวเฉพาะกิจเพื่องานสาธารณภัย

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกับ สมาคมนักข่าว จัดอบรมนักข่าวนักประชาสัมพันธ์ออนไลน์

            ที่ผ่านมา  นายฐิติรัตน์  พงษ์พุทธรักษ์  นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา ได้ประชุมหารือกับ นายไพฑูรย์ มนุญพงศ์พันธุ์  นายอิศราวุธ  พิพัฒพลกาย กรรมการที่ปรึกษานายกฯ และคณะกรรมการของสมาคม ถึงแนวทางการพัฒนาการนำเสนอข่าวสารให้เข้ากับยุคปัจจุบัน  ณ ห้องประชุมโรงแรมชุนหลีแกรนด์ 

เบื้องต้น สมาคมนักข่าวฯได้ดำเนินการประสานไปยังกลุ่มผู้ที่สนใจถึงแนวโน้มของการเข้าร่วมอบรม ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากกลุ่มอาสา ที่มีความสนใจในการเป็นนักข่าวประจำอำเภอ สมาคมนักข่าวฯ จึงได้ประสานไปยังสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา เพื่อร่วมกันจัดทำโครงการอบรมหลักสูตรนักข่าวประชาสัมพันธ์  สื่อออนไลน์ ขึ้น ระหว่างวันที่  26 – 30 มิถุนายน 63 นี้

ทั้งนี้ ขอขอบคุณ โรงแรมชุนหลีแกรนด์ที่อนุเคราะห์สถานที่และอาหารกลางวันให้กับสมาคมนักข่าว และผู้ร่วมประชุมครั้งนี้

เหตุเพลิงไหม้ ชุมชนบ้านบุ่งลำไย อำเภอสีคิ้ว คาดว่าเสียหาย กว่าล้านบาท

เจ้าหน้าที่รับเเจ้งมีเหตุเพลิงไหม้ บ้านเรือนประชาชน  เมื่อเวลา  13.35 น. บริเวณชุมชนบ้านบุ่งลำไย  ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว  จังหวัดนครราชสีมา

 โดยมี กู้ภัยพรหมธรรม สีคิ้ว  รถดับเพลิงจากเทศบาลสีคิ้ว  รถดับเพลิงเทศบาลลาดบัวขาว   รถดับเพลิง อบต.สีคิ้ว  รวมทั้งหมด 4 คันร่วมกันปฏิบัติหน้าที่  โดยบ้านต้นเพลิง บ้านเลขที่ 5/2 หมู่ 13  เป็นบ้านไม้ขนาด 2 ชั้น ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ และได้ลุกลามมายังบ้านข้างๆ  เลขที่ 5 หมู่ 13 ใช้เวลาควบคุมเพลิงกว่า 2  ชั่วโมง จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เสียหาย ตกใจและเสียใจมากไม่คาดคิดมาก่อนทำอะไรไม่ถูกจากเหตุการณ์ไฟไหม้นี้และขอขอบคุณหน่วยงานกู้ภัยพรหมธรรม สีคิ้ว และหน่วยดับเพลิงสีคิ้ว ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือ ในการควบคุมเพลิงครั้งนี้ และ ผู้เสียหาย วิงวอนขอ หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยดูแล จากเหตุการณ์ไฟไหม้ในครั้งนี้


ภาพโดย/ ทรงฤทธิ์ ยุนสูงเนิน

ชมรมข่าวเฉพาะกิจ ทีมอ.สีคิ้ว

ชุนหลีแกรนด์ โรงแรมระดับ 4 ดาว ทำบุญครบรอบ 1 ปี หลังเจอโควิด 19 พร้อมจัดโปรแรงต้อนรับผู้มาพัก

วันที่ 9  มิถุนายน  2563  เวลา 10. 00 น.  คุณปริษา  แซ่เตียว  ผู้บริหารชุนหลีแกรนด์ พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติและพนักงานได้ร่วมกัน ทำบุญโรงแรมในวาระครบรอบ1ปีของการก่อตั้ง

โดยโรงแรมชุนหลีแกรนด์  เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว ที่มีความสะดวกสบาย  ทั้งสถานที่จอดรถ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน 

ชุนหลีแกรนด์  ตั้งอยู่เลขที่ 819/18 ถ. ช้างเผือก อ. เมือง  จ. นครราชสีมา  มีความโดดเด่นด้วยดีใซด์ห้องพักที่ไม่เหมือนใคร  เฟอร์นิเจอร์เป็นงานไม้  ตกแต่งด้วยโคมไฟสวยงาม ล้ำค่า  บริเวณต้อนรับด้านล่างยังตกแต่งด้วยของเก่าที่หาชมได้ยากทั้งใน และต่างประเทศ  นอกจากนี้ยังมีห้องอาหารเลิศรส  โซนนั่งดื่มในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย พร้อมให้บริการทุกท่านอย่างเต็มที่ 

และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทางโรงแรมได้มีมาตรการในการป้องกัน ดูแลเรื่องระยะห่าง และความสะอาดภายในโรงแรมอย่างเคร่งครัด  และในโอกาสนี้  ทางโรงแรมได้จัดโปรโมชั่นพิเศษให้กับผู้ที่เข้าพัก  จากห้องพักปกติ ราคา 1,880  บาท  ลดทันที เหลือเพียง ราคา 1,000  บาทเท่านั้น   

สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร 085- 1053888

จิตอาสาทำดีด้วยหัวใจ…โคราชร่วมใจบูรณาการป้องกันภัย3โรคร้ายแรง

จังหวัดนครราชสีมาเร่งบูรณาการโรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้า ร่วมกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย 3 แห่ง

วันนี้(5 มิ.ย.63) ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรคไข้เลือดออก
และโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดนครราชสีมา ปี 2563 พร้อมเปิดกิจกรรมจิตอาสา“เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” และนพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา นายสุรวุฒิ เชิดชัยนายกเทศบาลนครนครราชสีมากล่าว
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา

กล่าวว่า จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ทั่วโลกและประเทศไทย ดังนั้นเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19ระลอก2 จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 โดยบูรณาการโรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้าด้วยพบว่าเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย นิทรรศการโรคโควิด-19 โรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้า บริการทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สุนัขและแมว โดยความร่วมมือของจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมาและเทศบาลนครนครราชสีมา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ


ภาคเอกชนและจิตอาสาพระราชทาน 904 “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ร่วมกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย 3 แห่ง ได้แก่ บริเวณหน่วยงานรอบๆศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา, วัดสุทธจินดาวรวิหาร
และวัดบึงอารามหลวง ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เเลือดออก พร้อมโรคโควิด-19 และโรคพิษสุนัขบ้า โดยขอให้ประชาชนร่วมมือป้องกันทั้ง 3โรคและติดตามสถานการณ์จากจังหวัดนครราชสีมาอย่างใกล้ชิด


ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่าต่อจากนั้นนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาพร้อมด้วยนพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาและนายสุรวุฒิ เชิดชัยนายกเทศบาลนครนครราชสีมาจึงได้ชมนิทรรศการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2519 โรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้าและชมการให้บริการทำหมัน และฉีดวัดชีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สุนัขและแมว ประธานในพิธีร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” แบ่งกลุ่มจิตอาสา สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 3 จุดอีกด้วย
ทางด้าน นพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่าเพื่อให้ชาวโคราชร่วมมือป้องกันการระบาดระลอก 2 ของวิกฤตโรคโควิด-19 อีกทั้งมีรายงานทางระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-3 มิถุนายน 2563พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 1,118 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 42.3 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.08 อัตราป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.14 พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง อัตราส่วนพศชาย ต่อ เพศหญิง เท่ากับ 1.1 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียน คือกลุ่มอายุ 10-14 ปี 326 ราย รองลงมาคือ 5-9(265ราย ), 15-19(253ราย), 20-24(128ราย),0-4(96,ราย),25-29(86ราย),30-34(62ราย),35-39(45ราย),45-49(27ราย),40-45(22ราย), 70+,(19ราย), 50-54(18ราย), 55-59(17,ราย), 65-69(12 ราย) และ 60-64 (8 ราย)ตามลำดับ โดยขณะนี้(ณ 2 มิ.ย.63)จังหวัดนครราชสีมามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศ รองจาก 1) ระยอง 2) ชัยภูมิ 3)ขอนแก่น 4)นครราชสีมา และ 5)แม่ฮ่องสอน อีกทั้งพบว่า ทั้ง 32 อำเภอที่พบอัตราป่วยสูงสุด 10 ลำดับแรก คือ 1.เฉลิมพระเกียรติ 2.โนนไทย 3.สูงเนิน 4.โชคชัย 5.บัวใหญ่ 6.ประทาย 7.ขามทะเลสอ 8.เมือง 9.พิมาย และ 10.โนนสุง ตามลำดับ ดังนั้นขอให้ทุกพื้นที่เร่งสร้างความร่วมมืออย่างเข้มข้นในการรณรงค์ให้ประชาชน ร่วมมือกับผู้นำชุมชน หมู่บ้าน องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่น และ อสม. เพื่อชาวโคราชรวมพลังตั้งการ์ดสู้ภัยโรคไข้เลือดออก ควบคู่ไปพร้อมๆกับโควิด-19 รณรงค์สื่อสารลดความเสี่ยงโรคไข้เลือดออก รณรงค์ 3 เก็บ “เก็บบ้าน เก็บน้ำ เก็บขยะ” และปฏิบัติตาม 5 ป. 2ข. ได้แก่ ป.ปิดภาชนะน้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักน้ำใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ , ป.เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำยุงลายที่จะกลายเป็นยุง , ป.ปล่อยปลากินลูกน้ำ ในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่ , ป.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย และ ป.ปฏิบัติเป็นประจำทุกๆสัปดาห์จนเป็นนิสัย สำหรับ 2ข.ได้แก่ ข.ขัดไข่ยุงที่ขอบด้านในของภาชนะเก็บกักน้ำ และ ข.ขยะกำจัดให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย ทั้งที่บ้าน วัด โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ทำงาน ศาสนาสถาน อีกทั้งป้องกันยุงลายกัดในช่วงกลางวันโดยการนอนกางมุ้งหรือทายากันยุง รวมทั้งใช้นวัตกรรมใหม่ๆในการป้องกันควบคุมโรคเพื่อให้โคราชปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกป้องกันได้ แต่มีอันตรายรุนแรงถึงเสียชีวิต โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค หากมีไข้สูงลอยเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารหน้าแดง ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านด่วนเพื่อป้องกันการเสียชีวิต ขณะที่โรคพิษสุนัขบ้า ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทำให้มีผู้เสียชีวิตทุกปี โดยข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 2 มิถุนายน 2563 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต แต่ยังพบโรคในสัตว์พาหะอย่างต่อเนื่องทุกปีโดยในปี 2563 ข้อมูลจาก website thairabies.com ของกรมปศุสัตว์ พบว่า มีตัวอย่างสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้า จำนวน 1 ตัวอย่าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีความเสี่ยงต่อการระบาด ของโรคพิษสุนัขบ้า จากการเฝ้าระวังของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้ติดตามผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าเข้ารับวัคซีน 100 % ดังนั้นการบูรณาการร่วมกันเพื่อประชาสัมพันธ์เชิงรุกสร้างการรับรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และมีความตระหนักในเชิงป้องกัน โดยการเน้นย้ำว่าผู้ที่สัมผัสหรือถูกสุนัข/แมวกัด ข่วน ต้องเข้าทำการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันและรับการ
รักษาอย่างถูกวิธีตามหลักสาธารณสุขหากไม่เข้าสู่กระบวนการรักษา หากป่วย“ตายอย่างเดียว” จึงขอความร่วมมือประชาชนเจ้าของสุนัข/แมว ให้มีความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูโดยนำสัตว์เลี้ยงของตนมาขึ้นทะเบียนเพื่อรับวัคซีนหรือทำหมัน และกำหนดมาตรการในการลดจำนวนสุนัข-แมวจรจัดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง รวมทั้งส่งเสริมให้เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล/ปศุสัตว์/ผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุข/อาสาสมัครพัฒนาปศุสัตว์ประจำ หมู่บ้าน ดำเนินการสำรวจจำนวนสุนัขและแมวทุกพื้นที่และให้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยเน้นย้ำให้ประชาชนป้องกันตนเอง โดยยึดหลัก “คาถา 5 ย” 1) อย่าแหย่ ให้สุนัขโมโห โกรธ 2) อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆตกใจ 3) อย่าแยก สุนัขที่กำลังกัดกัน ด้วยมือเปล่า 4) อย่าหยิบ ชามข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกิน 5) อย่ายุ่ง หรือเข้าใกล้กับสุนัขหรือสัตว์ต่างๆ นอกบ้านที่ไม่มีเจ้าของ หรือไม่ทราบประวัติ

ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 100ล้านต้น

วันที่ 3 มิถุนายน 2563ณ บริเวณที่สาธารณประโยชน์บึงพุดชา ตำบลพุดชา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาพิธีเปิดโครงการ “รวมใจไทย ปลูกตันไม้ เพื่อแผ่นดิน” สืบสานสู่ 100 ล้านต้น เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าๆ พระบรมราชินีและกิจกรรมปลูกต้นไม้เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ จังหวัดนครราชสีมาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563กิจกรรมปลูกไผ่ และไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชุมชนโดยนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมนายสมคิด ตั้งประเสริฐผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา ทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ เอกชน พลังจิตอาสาเครือข่าย อสม. ตลอดจนพี่น้องประชาชนทุกคน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดกิจกรรมในวันนี้ได้อย่างดียิ่ง

นายสมคิด ตั้งประเสริฐผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่าในวันนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชาธิบายถึงประโยชน์ในการปลูกป่าตามพระราชดำริว่า”…การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้พื้นนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชนในตัวเองตามชื่อแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินแลตันน้ำลำธารด้วย…” และ “ไผ่” เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะในบรรดาพืชที่อยู่บนดินด้วยกันนั้น ไผ่เป็นพืชที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด จึงมีศักยภาพสูงในการดูดซับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ และมีบทบาทสำคัญในการกักเก็บคาร์บอน ปกติป่าไผ่ส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่ถึง 7 ปีก็สามารถให้ปริมาตรไม้ที่เก็บกักคาร์บอนได้ในปริมาณที่เทียบเท่ากับป้าธรรมชาติที่ต้องใช้เวลาถึง40ปี หรือ 100 ปี นอกจากนี้ ไผ่ยังเป็นไม้เบิกนำที่สามารถขึ้นได้บนพื้นที่ว่างเปล่า จึงช่วยปรับปรุงสภาพของระบบนิเวศในบริเวณป่าเสื่อมโทรมได้ในระยะเวลาอันสั้น อีกทั้งหน่อไม้ยังเป็นอาหารที่มีสนรสชาติดี ราคาถูก การปลูกไผ่ใช้เวลาสั้นๆ เพียง 3 -5 ปี จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อย่างรวดเร็ว

ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2532 กำหนดให้วันวิสาขบูชาของทุกปี
เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติจังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา

จึงได้ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา เทศบาลตำบลพุดซาผู้นำท้องถิ่นท้องที่ องค์กรภาคเอกชน เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (อสม) และประชาชนในพื้นที่ จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ บริเวณทีสาธารณประโยชน์บึงพุดชา ตำบลพุดชา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา แห่งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ พื้นฟูดินและน้ำเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชุมชน ส่งเสริมและปลูกสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป้าไม้ให้แก่ประชาชน รวมทั้งเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของจังหวัดนครราชสีมา ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกิจกรรมประกอบด้วย 1) การปลูกไผ่ 10 ชนิด จำนวน 2,000 กล้า และปลูกไม้3 อย่าง ได้แก่ ไม้ผล ไม้ใช้สอย ไม้เศรษฐกิจ ซึ่งให้ประโยชน์ 4 อย่าง จำนวน 2,000 กล้ารวมปลูกต้นไม้ทั้งสิ้น 4,000 กล้า บนพื้นที่ 30ไร่ 2)ปลูกหญ้าแฝก จำนวน 10,000 กล้าเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน 3) ปล่อยพันธุ์ปลาตะเพียนและปลายี่สก จำนวน10,000ตัว เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารให้แก่ชุมชนในพื้นที่ และ 4) แจกกล้าไม้ให้ผู้มาร่วมกิจกรรม จำนวน 400 กล้าอีกด้วย

สายธารน้ำใจช่วยเหลือเด็กผู้พิการอายุ 7 ขวบอยู่กับยาย ที่ได้รับคัดเลือกจากกลุ่มผู้พิการยากไร้

ที่ผ่านมา นาง​สาย​พิณ​ เอี่ยม​อุไร​ ปลัด ​อบต.ปฏิบัติ​หน้าที่​นายก​อบต.​หนอง​ตะ​ไก้​  พร้อมข้าราชการและพนักงาน อบต.หนองตะไก้  อ.สูงเนิน  จ.นครราชสีมา  ได้ลงพื้นที่ มอบวัสดุในการสร้างบ้านให้กับเด็กชายวสันต์ บุญไทยกลาง อายุ 7 ปี ผู้พิการที่ได้คัดเลือกจากครอบครัวที่ยากไร้ โดยมีนางยุพา สมภักดี อายุ 47 ปี เป็นยายผู้ดูแล  แม่และพ่อของเด็กต้องออกไปทำงานรับจ้างเพื่อหาเลี้ยงลูกและแม่

ทางด้านนางสายพิณ เอี่ยมอุไร ปลัดปฏิบัติหน้าที่นายก อบต.หนองตะไก้  ได้ให้สัมภาษณ์ว่า  ได้รับการยื่นคำร้องจาก นางยุพา  สมภักดี  ผู้เป็นยายของเด็กชายวสันต์  บุญไทยกลาง  อายุ 7 ปี เป็นผู้พิการ ไม่สามารถเดินหรือช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งพ่อและแม่ของเด็กต้องออกไปทำงานเพื่อหาเงินมาดูแลครอบครัว จึงฝากลูกไว้กับยาย เมื่อไม่นานมานี้  ทางด้านนางยุพาจะได้มายื่นคำร้องที่ อบต. เพื่อขอให้มาดูแล ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย เท่าที่จะสามารถช่วยได้  และเมื่อนางสายพิณ เอี่ยมอุไร ปลัดปฏิบัติหน้าที่นายก อบต.หนองตะไก้  ได้ลงพื้นที่ไป พบว่า สภาพบ้านเป็นสังกะสีเกือบทั้งหลัง มีรอยรั่วของหลังคา และไม่มั่นคง

อีกทั้งจากการสอบถาม นางยุพา ทราบว่า พื้นที่ในการอยู่อาศัย เป็นของเครือญาติ ก็กำลังจะโดนให้ออกจากพื้นที่ จึงได้ดำเนินการเสนอเข้ารับการพิจารณางบประมาณช่วยเหลือจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา จนได้รับงบประมาณสนับสนุนจัดซื้อวัสดุเพื่อนำมาปรับสภาพบ้านที่อยู่อาศัยของผู้พิการ จำนวน 20,000 บาท และต่อมา มีสมาชิก อบต.หนองตะไก้ หมู่ที่ 11 คุณชุติกาญจน์ ได้ให้ความอนุเคราะห์โอนที่ดินส่วนตัว  ให้กับนางยุพา ในการสร้างบ้านหลังใหม่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มั่นคงขึ้น

ข่าว/ภาพ : ธวัชชัย เครือบสูงเนิน

มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา นำคณะมอบถึงยังชีพ ในตำบลกุดน้อย รวม 8 หมู่บ้าน จำนวน 80 ถุง

มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ อ.สีคิ้ว นำคณะมอบถึงยังชีพ ในตำบลกุดน้อย รวม 8 หมู่บ้าน จำนวน 80 ถุง

 

มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ อ.สีคิ้ว, นำโดยนายสิทธิศักดิ์ จันทรรวงทอง ประธานมูลนิธิฯ และคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อพระยาสี่เขี้ยวชุดที่ 6 มูลนิธิกู้ภัยพรหมธรรมสถานสงเคราะห์อ.สีคิ้วเป็นตัวแทน นำถุงยังชีพไปมอบให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19

ในตำบลกุดน้อย รวม 8 หมู่บ้าน จำนวน 80 ถุงใน โครงการ ชาวสีคิ้วร่วมใจต้านภัยโควิด-19 อำเภอสีคิ้ว โดยมุ่งหวังให้พี่น้องในเขตอ.สีคิ้วได้มีกำลังใจต่อสู้ในภาวะวิกฤตนี้ไปด้วยกัน และขอเป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวอ.สีคิ้ว ต่อไป

ผอ.ศูนย์ฝึกเขต 3 โคราช จัดโครงการขานรับนโยบายรัฐ ฝึกอบรมวิชาชีพสู้โควิด19

ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต  3  จังหวัดนครราชสีมา ขานรับนโยบายรัฐ คัดกรองเด็ก ฝึกอบรม ให้ความรู้เรื่องการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19

ที่ผ่านมา  ดร.รัตนะ  วรบัญฑิต  ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา ได้ขานรับนโยบายจากกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก กระทรวงยุติธรรม ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการร่วมรณรงค์การป้องกันเชื้อไวรัส โควิด19

ทั้งนี้ ทางด้านศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา ยังได้มีการคัดกรองสำหรับเด็กแรกรับ ที่ส่งตัวเข้ามาเพื่อรับการพิจารณาจากศาล  โดยจะมีการกักตัว เป็นเวลา 14 วัน หลังจากนั้น จะทำการกักตัวโดยมีฉากพลาสติกใสกั้นทั้ง 4 ด้าน เป็นเวลาอีก 7 วัน  ก่อนที่จะได้เข้าไปอยู่กับเด็กคนอื่น ๆ เพื่อเป็นการป้องกันการต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 สำหรับหอนอนของเด็ก ๆ ภายในศูนย์ฝึก ฯ ทั้งหอชายและหญิง ได้เพิ่มมาตรการป้องกันโดยให้มีระยะห่างของการนอน อย่างน้อย 1-2 เมตร และมีการทำความสะอาดเป็นประจำทุกวันทั้ง เช้าและเย็น

นอกจากนี้ ดร.รัตนะ  วรบัญฑิต  ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวว่า  ทางศูนย์ฝึกฯได้จัดทำโครงการฝึกวิชาชีพให้กับเด็กในสังกัดการควบคุม โดยแบ่งเป็น การจัดทำหน้ากากอนามัย โดยคัดเลือกเด็กหญิงที่มีความสามารถในการเย็บผ้า มาอบรมและฝึกการเย็บหน้ากากอนามัย โดย 1 วัน จะสามารถเย็บได้ถึง 400 ชิ้น เพื่อที่จะนำไปส่งมอบให้กับกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก  ในการส่งต่อให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ต่อไป

และจัดให้มีการฝึกอบรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์  และแอลกอฮอล์เจล ทำความสะอาด เพื่อให้เป็นความรู้ และยังได้มีการผลิตเพื่อใช้เองภายในองค์กรและแจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นสาธารณประโยชน์ต่อสังคม   ทั้งนี้  ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา มีเด็กในการดูแลทั้งสิ้น    380  คน  เป็นชาย 360 คน และหญิง  20  คน

 

>เสียงสัมภาษณ์<<

กลุ่มแม่บ้านตำบลพุดซา โคราช ระดมกำลังผลิตหน้ากาก 1,000 ชิ้น/วัน ให้จังหวัดแจกฟรี

#ร่วมด้วยช่วยกัน กลุ่มแม่บ้านตำบลพุดซา โคราช ระดมกำลังผลิตหน้ากากอนามัย 1 พันชิ้นต่อวัน แจกฟรี


.
ที่ศาลาหมู่บ้านดอนพัฒนา หมู่ 16 ต.พุดซา อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมาเดินทางไปตรวจเยี่ยมการผลิตหน้ากากผ้าอนามัยของกลุ่มแม่บ้านจิตอาสา“พุดซาก้าวหน้า”
. พร้อมนำผ้าจีวรของซึ่งได้รับจากครูบากฤษณะ อินทวัณโณ เกจิอาจารย์ด้านเมตตามหานิยมแห่งสำนักสงฆ์เวฬุวัน ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา รวมทั้งเงินสนับสนุนอาหารกลางวันมามอบให้กับกลุ่มแม่บ้านจิตอาสาฯ ท่ามกลางแม่บ้านฯระดมกำลังใช้จักรเย็บผ้าจำนวน 20 เครื่อง ผลิตหน้ากากกันอย่างประณีต มีกำลังผลิตหน้ากาก 500- 1,000 ชิ้นต่อวัน

นายทัศน์พล ผู้ใหญ่บ้านดอนพัฒนาฯ เผยว่า กลุ่มแม่บ้านจิตอาสา “ พุดซาก้าวหน้า ” เป็นกลุ่มสตรีในพื้นที่ตำบลพุดซา ระดมกำลังกันใช้จักรเย็บผ้าตัดเย็บผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ใช้สวมใส่ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อลดปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน มีราคาสูง สามารถซักทำความสะอาด นำมาใช้ซ้ำ ตามแหล่งชุมชนและสถานที่ที่อาจมีการรวมกลุ่มกัน เช่น ตลาดนัด ร้านสะดวกซื้อ หรือสถานที่ราชการต่างๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และลดการเกิดขยะจากการใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

เครดิต : https://bit.ly/3bSfyz2
#เมืองที่คุณสร้างได้