ตำรวจภาค 3 จับกุมเครือข่ายเว็บไซต์การพนันออนไลน์ และฟอกเงิน มูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท

ตำรวจภาค 3 จับกุมเครือข่ายเว็บไซต์การพนันออนไลน์ และฟอกเงิน มูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท

.ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร, พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปอส.ตร. แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี นั้น

.ตำรวจภูธรภาค 3 โดย พล.ต.ทสมประสงค์ เย็นท้วม ผบช.ภ.3, พล.ต.ต.ภาณุ บุรณศิริ รอง ผบช.ภ.3/ผอ.ศปอส.ภ.3 ได้สั่งการให้ ชุดปฏิบัติการสืบสวนปราบปราม อาชญากรรม ตำรวจภูธรภาค 3 สืบสวนจับกุมเครือข่ายการพนันออนไลน์ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 3 และ พื้นที่คาบเกี่ยว

.โดยเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.65 ชุดปฏิบัติการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม ตำรวจภูธรภาค 3 ร่วมกับ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 3, ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา, ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี, ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ และตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ

 ร่วมปฏิบัติการเข้าปิดล้อมตรวจค้นเครือข่ายเว็บไซต์การพนันออนไลน์ 12PLUS ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5 โดยได้ทําการปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมาย จำนวน 30 จุด สามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับในความผิดฐาน “ร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ไพ่บาคาร่า) พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกันฟอกเงิน จำนวน 5 ราย อยู่ระหว่างสืบสวนติดตามจับกุม อีก 1 ราย พร้อมกันนี้ได้ทำการตรวจยึดของกลาง ดังต่อไปนี้

.ยานพาหนะ รถยนต์ จํานวน 1 คัน รถจักรยานยนต์ จํานวน 4 คัน อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ประกอบด้วย อาวุธปืนยาว จำนวน 5 กระบอก อาวุธปืนพกสั้น กระบอก, เครื่องกระสุนปืน จํานวน 219 นัด

.คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร และทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ รวมมูลค่าทั้งสิ้น กว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างสืบสวนติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการหลบหนี และจะทําการสืบสวนขยายผลติดตามจับกุมเครือข่ายการพนันออนไลน์กลุ่มนี้มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป จึงขอฝากประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนทั่วไป หากมีข้อมูลเกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์ สามารถแจ้งข้อมูล มายังตำรวจภูธรภาค 3 ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0 4425 5275 83 ต่อ 188

มทร.อีสานยกระดับอาชีพภาคเกษตรกรรม สร้างอาชีพวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชน ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยมี ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน ร่วมพิธีเปิด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นประมาณอีก 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

เดินหน้ามาตรการปลอดภัยในการป้องกันโรคโควิด-19

รองอธิบดีกรมอนามัย  มั่นใจ 4 จว. อีสานล่าง พร้อมเปิดเมือง 1 ธค นี้ เดินหน้าขับเคลื่อนมาตรการปลอดภัยในการป้องกันโรคโควิด-19

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564  ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา ร่วมกับ จังหวัดนครราชสีมา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จัดงาน “ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนมาตรการปลอดภัยในการป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อการเปิดบ้านเปิดเมือง นครชัยบุรินทร์” โดยมีนายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธาน  นพ.พีระยุทธ สานุกูล ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 กล่าวรายงาน  ร่วมด้วย นายกุศล เชื่อมกลาง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ,ผู้แทนจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ,ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ,ท่องเที่ยวและกีฬา ,ศึกษาธิการจังหวัด ,อุตสาหกรรมจังหวัด ,วัฒนธรรมจังหวัด,พาณิชย์จังหวัด ,ขนส่งจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่างๆเข้าร่วม    ณ   โรงแรมแคนทารี จังหวัดนครราชสีมา

นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย  กล่าวว่า  จากวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบ เกิดภาวะชะลอตัว อาทิ ทางเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา  การท่องเที่ยว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเมือง ตามนโยบายรัฐบาล วันที่ 1 ธค.64 นี้ และเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ ประชาชน ในเขตนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วย นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และบุรีรัมย์  มีความมั่นใจ ปลอดภัย ไร้โควิด ตามมาตรการแนวทางปฏิบัติ COVID Free Setting 3ด้าน ได้แก่ 1.COVID Free Enviroment ด้านสิ่งแวดล้อมและสถานที่  2.COVID Free Personnel ด้านผู้ให้บริการ  3.COVID Free Customer ด้านประชาชน ผู้รับบริการ เพื่อป้องกัน และลดปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  จึงเป็นที่มาที่เครือข่าย หลายภาคส่วน จับมือกันร่วมขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งสร้างความมั่นใจสำหรับผู้รับบริการ ในด้านสถานประกอบการ รวมถึงสถานศึกษา ในเรื่อง Sandbox Safety Zone in school ควบคู่กับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ภายใต้นโยบายของรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุล ระหว่างมิติสาธารณสุขกับมิติทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา และการท่องเที่ยวอีกด้วย

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดประกวดและมอบรางวัลคลิปวีดีโอวัฒนธรรมโคราช

กรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาจัดโครงการประชาสัมพันธ์ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหารประกาศผลชิงรางวัลโล่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
วันที่ 15 พฤศจิกายน เวลา 10.00 น. ณ สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ดร. ยลดาหวังศุภกิจ โกศล นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาพร้อมนาง เอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา นาย ไชยนันท์ แสงทองวัฒนธรรมจังหวัดและ คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติร่วมพิธีประกาศผลรางวัลโครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหาร การส่งเสริมต่อยอดสร้างสรรค์ ด้านภูมิปัญญาวัฒนธรรมดำเนินการโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลลัยราชภัฎนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ม.วงษ์ชวลิตกุลโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชรูปแบบออนไลน์ให้แก่เยาวชนและประชาชนของจังหวัดนครราชสีมา โดยจัดอมรมเมื่อวันที่ 16 ต.ค 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดนครราชสีมา

  1. เพื่อฝึกอบรมผลิตสื่อสารสนเทศรูปแบบออนไลน์ โดยการมีส่วนร่วมของเยาวชนและประชาชนให้ได้มีผู้เข้าร่วม สามารถผลิตสื่อด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราช อย่างสร้างสรรค์และมีเวลาแสดงความรู้ความสามารถด้านการตัดต่อเชื่อมโยงวัฒนธรรมแก่นักศึกษาและประชาชน
  2. เพื่อพิจารณาคัดเลือกสื่อสารสนเทศดีเด่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชที่เยาวชนและประชาชนได้ผลิต เผยแพร่ และมอบรางวัล
    การดำเนินกิจกรรมโครงการนี้แบ่ง 2 ลักษณะ
  3. การอบรมเสริมสร้างความรู้ด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเองและความรู้การเขียนเนื้อหาประกอบบทวีดีทัศน์ ระยะเวลา 1 วัน ผ่านระบบ Zoom online
  4. จัดทำวีดีทัศน์การประกวดขนาดความยาว 3 – 5 นาที / เรื่อง เพื่อชิงโล่รางวัล ท่านอิทธิพล คุณปลื้มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและประธานสภาตามลำดับ
    แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ด้านผ้าและอาหารโคราชมีโล่และเงินรางวัลชนะเลิศจากท่าน อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและเงินรางวัลรวมกว่า 50000 บาท จากโครงการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหารได้มีทีมร่วมประกวดจำนวน 29 ทีม จำนวนผู้รว่มการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 87 ท่าน ผ่านรอบแรกบทวีดีทัศน์ประเภทผ้า 13 ทีมและประเภทอาหาร 15 ทีม และรอบสุดท้ายส่งบทวีดีโอได้มีการมอบรางวัลประเภทผ้า 5 รางวัล ได้แก่
  5. ทีม กิตติธัญกุล รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 10000 บาท
    กลุ่มทอผ้าไหมบ้านทับทับสวาย – ผ้าไหมมัดหมี่ลายปูน อ. ห้วยแถลง
  6. ทีม 9644FILM รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 8000 บาท
    กลุ่มทอผ้าเทศบาลตำบลสูงเนิน – ผ้าเงี่ยงนางดำ อ. สูงเนิน
  7. ทีมวัตถาภรณ์ นครโคราช รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 5000 บาท
    วิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านโนนกุ่ม – ผ้ายวน อ. สีคิ้ว
  8. ทีม อารยโชว์ โรงเรียนจระเข้หินสังฆกิจ ได้รับรางวัลชมเชย ได้รับเงิน 3000 บาท
    สหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรคึมมะอุสวนหม่อม – ผ้าขาวม้าไหมลายโน้ตดนตรี อ.บัวลอย
  9. ทีม Donpharm cup ได้รับรางวัลชมเชย ได้รับเงิน 3000 บาท
    วิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านถนนคต 9101 ผ้ายวน อ. สีคิ้ว
    และประเภทอาหาร 5 ทีม ที่ได้รับรางวัล ได้แก่
  10. ทีม วัตถาภรณ์ นครโคราช รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 10000 บาท
  1. และประเภทอาหาร 5 ทีม ที่ได้รับรางวัล ได้แก่
    1. ทีม วัตถาภรณ์ นครโคราช รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 10000 บาท
    หมู่บ้านวัตวิถีบ้านน้ำฉ่า – หมี่อ่อนสอดใส้ อ. ขามทะเลสอทีม
  2. 9644 FILM รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 8000 บาท
    ร้านพจน์เป็ดย่างพิมาย – เป็ดย่าง อ. พิมาย

3..ทีม อาหารโคราชรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 8000 บาท
บ้านขนมไทยโคราช – ขนมไทย อ. เมือง

4..ทีม นาย บฤงกฤษฎ์ พิทยาวิวัฒน์กุล ได้รับรางวัลชมเชย ได้รับเงิน 3000 บาท
กระยาสารทแม่ปราณี – กระยาสารท อ. พิมาย

5.ทีม หนุ่มหน้ามน ได้รับรางวัลชมเชย ได้รับเงิน 3000 บาท
ร้านตำไทบ้าน – ผัดหมี่โคราชอ.เมือง


จากการส่งเสริมผลิตสื่อประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้าและอาหารถือเป็นกิจกรรมส่งเสริมต่อยอดภูมิปัญญาเผยแพร่สู่สาธรณะชนกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนรู้จักผ้าและอาหารโคราชตามมาตรฐานสากลต่อไป

ผู้สมัครนายก… “กล้าคิดกล้าทำ กล้านำพัฒนา “ขวัญใจมวลชน

นาย อุดม สร้อยแสงพันธุ์ ผู้สมัครนายก… “กล้าคิดกล้าทำ กล้านำพัฒนา “ขวัญใจมวลชน อบต.พันชนะเปิดตัวทีมงานเบอร์ 3 เปิดตัวทีมงานบริหารทีมใหม่.  แสดงวิสัยทัศน์ พัฒนาท้องถิ่น นำเสนอผลงานที่ผ่านมา ลงชุมชนทุกหมู่บ้าน 11 หมู่ และชุมชนในพื้นที่อย่างเข้มแข็งกลุ่มพัฒนาก้าวหน้า เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ขอเสียงสนับสนุนเลือก

 นาย อุดม สร้อยแสงพันธุ์ จากผลงานอดีตประธานสภาอบต.พันชนะ และอดีตคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดนครราชสีมา ขอโอกาสพี่น้องตำบลพันชนะ คนรุ่นใหม่อาสาเป็นนักพัฒนารับใช้ พ่อแม่พี่น้องเสนอนโยบาย กลุ่มพัฒนาก้าวหน้า กล้าคิด กล้าทำกล้า นำพัฒนาขอเป็นนักอาสาเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้ชุมชน ชาวตำบลพันชนะเลือกเบอร์ 3 เพื่อเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะ ขอพ่อแม่พี่น้องชาวตำบลพันชนะ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ไปเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 เวลา 8:00 น ถึงเวลา 17.00 น

ผลิตสื่อทางอิเลคโทรนิคโดย…168 นิวส์ออนไลน์ นายโสภณวิชญ์ สงแจ้งเพจ168 นิวออนไลน์

จับกุมเครือข่าย ขบวนการดาวน์รถแลกเงินส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน

จับกุมเครือข่ายขบวนการดาวน์รถแลกเงิน ส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน

ตามบัญชาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มายัง พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปจร.ตร. และ ผบ.ตร.ได้สั่งการให้ตำรวจ ภูธรภาค 3 ปราบปรามจับกุมการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะเรื่องการนำรถไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน

ภายใต้การอำนวยการสั่งการของ พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม ผบช.ภ.3 พล.ต.ต.ภาณุ บุรณศิริ รอง ผบช.ภ.3 พล.ต.ต.ฐากูร นัทธีศรี รอง ผบช.ภ.3/ผอ.ศปจร.ภ.3 พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.อ.สุริยา นาคแก้ว รอง ผบก.ฯ ปรก.รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา

ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.ถิรเดช จันทร์ลาด ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ท.พรเทพ ทุ้ยแป รอง ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ท.มณฑล หงษ์กลาง รอง ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ท.วิชานนท์ บ่อพิมาย สว.กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ต.ชัยพล คงขุนทด สว.กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ต.เกรียงศักดิ์ สุดจิตจูล สว.กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ต.ณัฐพล เฉลิมนพกุล สว.กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา สืบสวนจับกุมคดีดังกล่าว

คดีนี้สืบเนื่องจาก นโยบายของสำนักงานงานตำรวจแห่งชาติ ให้ปราบปรามจับกุมการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และนโยบายของ พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา ให้กวดขันจับกุม รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนเป็นประจำทุกเดือนนั้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2564 เวลาประมาณ 21.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ดอนแสนสุข จ.นครราชสีมา ได้ตรวจยึดรถจักรยานยนต์ต้องสงสัย ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน จำนวน 6 คัน ซึ่งทั้งหมดเป็นรถจักรยานยนต์ใหม่ ได้ที่ริมถนนท้ายหมู่บ้านปรางค์ครบุรี ต.ครบุรี อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ไว้ทำการตรวจสอบ เบื้องต้นทราบว่าเป็นรถที่ถูกลำเลียงมาจาก จ.ชลบุรี จากการสืบสวนขยายผลร่วมกับ กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา สามารถตรวจยึดรถจักรยานยนต์ได้เพิ่มเติมในพื้นที่ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ 4 คัน และ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว 4 คัน รวม 14 คัน ซึ่งทั้งหมดเป็นรถที่กำลังลำเลียงจะนำไปส่งยังประเทศเพื่อนบ้าน บริเวณชายแดน อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว

กองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ตำรวจภูธรภาค 3

จึงได้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบและทำการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเรื่อยมาจนกระทั่งนำไปสู่การขออนุมัติศาลออกหมายจับ และเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 6 ราย ดังต่อไปนี้

1. นายเสกสรรค์ พันธ์ดี อายุ 39 ปี 13 ม.5 ต.คลองดำหรุ อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี (ตัวแทนนายทุนต่างชาติ)

2. น.ส.สรยา โต๊ะยีหวัง อายุ 34 ปี 29/2 ม.14 ต.ดอนฉิมพลี อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา (นายหน้า)

3. น.ส.ลำไพร มั่นคง อายุ 45 ปี 344 ม.9 ต.บ้านฝาง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น (ผู้เช่าซื้อ)

4. น.ส.ศุภิสรา สอนเจริญ อายุ 26 ปี 178 ม.12 ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว (ว่าจ้าง/จัดหาทีมขน)

5. นายสุทัศน์ สร้อยดั้น อายุ 18 ปี 178 ม.12 ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว (หัวหน้าทีมขน)

6. นายพงศ์พัทธ์ ศรีมาตร อายุ 25 ปี 14 ม.8 ต.ตาพระยา อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว (ทีมขน)

โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันลักทรัพย์ โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป, สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปกระทำความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดๆซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด อันเป็นความผิดฐานซ่องโจร, หรือร่วมกันรับของโจร”

โดยพบว่าผู้ต้องหาดังกล่าวร่วมกันกระทำความผิดในลักษณะของขบวนการดาวน์รถแลกเงิน ส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่กันทำดังนี้ (1) นายทุนต่างชาติ(ประเทศเพื่อนบ้าน) แจ้งยี่ห้อ/รุ่น รถจักรยานยนต์ที่ต้องการ (2) ตัวแทนนายทุนต่างชาติประกาศในสื่อสังคมออนไลน์ รับซื้อ/ดาวน์รถจักรยานยนต์มาแลกเงิน (3) กลุ่มนายหน้าติดต่อกับผู้ที่ต้องการเงินให้มาดาวน์รถฯ (เช่าซื้อ) เพื่อแลกเงิน (4) ผู้เช่าซื้อนำรถฯ ส่งมอบให้กับนายหน้าเพื่อแลกกับเงินที่ต้องการ (5)นายหน้ารวบรวบรถส่งให้กับตัวแทนนายทุนต่างชาติ (6) นายทุนต่างชาติ (ประเทศเพื่อนบ้าน) สั่งการให้ทีมขนดำเนินการนำรถที่รวบรวมมาได้ไปส่งมอบ ณ จุดนัดหมายเพื่อนำข้ามพรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจากการสืบสวนเส้นทางการเงิน พบว่าขบวนดังกล่าวมีเงินหมุนเวียนในบัญชีกว่า 100 ล้านบาท

จึงขอประชาสัมพันธ์ไปยังพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังอย่าหลงผิดเป็นเหยื่อของขบวนการดังกล่าว โดยไปดาวน์รถให้ผู้อื่นเพื่อแลกกับเงินเพียงเล็กน้อย แล้วมาแจ้งความว่ารถหายเพื่อเอาประกัน นอกจากจะถูกดำเนินคดีในฐานะผู้ร่วมขบวนการในการกระทำความผิดแล้ว ท่านจะต้องถูกดำเนินคดี ข้อหาแจ้งความเท็จฯ อีกด้วย สำหรับบริษัทประกันภัย หรือผู้ให้บริการสินเชื่อ (ลิสซิ่ง/ไฟแนนซ์) หากพบว่าได้รับความเสียหายในลักษณะดังกล่าว ขอให้ไปแจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

สุขภาพจิตแห่งชาติ “สุขภาพจิตไทย วัดใจไปด้วยกัน”

สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ “สุขภาพจิตไทย วัดใจไปด้วยกัน”

       นายชูศักดิ์ ชุนเกาะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานพิธีเปิดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ

  ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2365  “สุขภาพจิตไทย..วัดใจไปพร้อมกัน” www.วัดใจ. com

      จากสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ COVID-19 การทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพัน หลายคนประสบกับปัญหาธุรกิจ ตกงาน และอื่นๆ อีกมากมาย สถานการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชนไทย โดยอัตราการฆ่าตัวตายจากเดิม 6.64 ต่อแสนประชากร ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 7.66 ต่อแส

น ประชากร ในปี 2563 ในจังหวัดนครราชสีมา เพิ่มขึ้นจาก 7.66.ต่อแสนประชากร เป็น 8.28 ต่อแสนประชากร

 

ช่วงปีที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการวัดใจของประชาชนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ผ่านแอปพลิเคชั่น Mental Health Check in พบพาวะเสี่ยงด้านสุขภาพจิตประชาชนไทยด้วยหลักการ 4 สร้าง 2 ใช้ โดยสร้างความปลอดภัย สร้างความสงบ สร้างความหวัง สร้างการดูแล โดยใช้ศักยภาพและใช้ความสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน สถานประกอบการ โรงเรียนมีความเข้มแข็งทางจิตใจ มีพลังใจที่จะตอสู้กับปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

  ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้น หลายคนล้ม หลายคนลุก หลายคนจบชีวิต หลายคนสร้างชีวิต สามารถพลืกวิกฤตให้เป็นโอกาส เห็นได้ว่า “วิธีคิดและจัดการกับปัญหา” รวมถึง “พลังใจ”ของเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรา “อยู่กับปัญหา” หรือ “ก้าวปัญหา”ได้อย่างมีความสุข

  ร.พ.จิตเวชนครราชสีมาและศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 จึงขอเชิญชวนมาร่วม “วัดใจไปพร้อมกัน”กับนิทรรศการทางด้านสุขภาพจิต กิจกรรม “วัดใจ” การให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิต กิจกรรมเสริมสร้าวพลังใจพร้อมรับของที่ระลึกเพื่อการดูแลจิตใจในช่วง COVID-19 ในงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องโคราขฮอลล์ ชั้น 4   ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา ตั้งแต่เวลา 08.30 น เป็นต้นไป

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้สรรหาคณะกรรมการและประธานสภาวัฒนธรรมท่านใหม่

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 นาย วิจิตร กิจวิรัตน์นายอำเภอรักษาการแทนปลัดจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธีเปิดการประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาโดยนายไชยนันท์ แสงทองวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาดำเนินการประชุมสรรหาได้กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา

แนวคิดการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นของประชาชนประชาชนคือเจ้าของวัฒนธรรม  การดำเนินงานวัฒนธรรมจะบรรลุผลได้ดียิ่ง ต้องให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบดำเนินการวัฒนธรรม อย่างมีบทบาทสำคัญ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม ดังนี้

1. เพื่อให้เกิดการรวมตัวจัดตั้งองค์กรชุมชนของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรม นำไปสู่การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง

2. เพื่อให้เกิดการรวมพลังระหว่างองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่นเป็นเครือข่ายเครือญาติ ทางวัฒนธรรมที่มีการติดต่อสื่อสารพบปะข้อมูลแลกเปลี่ยนข่าวสารตลอดจนแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ซึ่งกันและกัน

3. เพื่อให้เกิดหน่วยงานด้านวัฒนธรรมของประชาชนในท้องถิ่น ที่เชื่อมประสานหน่วยงานภาครัฐได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ

สภาวัฒนธรรมมีสถานภาพเป็นองค์กรเอกชน ที่ดำเนินงานวัฒนธรรม ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม ในการระดมทรัพยากร บุคลากร และสรรพกำลังต่างๆ จากหน่วยงานและองค์กรต่างๆในการส่งเสริม สนับสนุน และร่วมกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา สร้างสรรค์  แลกเปลี่ยน สืบทอด และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ได้ดำเนินการปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแต่ละระดับ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ 2553 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

– สภาวัฒนธรรมตำบล จำนวน 258 แห่ง

– สภาวัฒนธรรมเทศบาล จำนวน 11 แห่ง

– สภาวัฒนธรรมอำเภอ จำวน 32 หาง

และกำหนดการประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ในวันนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย เครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 32 อำเภอ ๆ ละ 1 คน รวม 32 คน เครือข่ายวัฒนธรรมที่จดแจ้งในระดับจังหวัด 30เครือข่าย ๆ ละ 1 คน รวม 30 คน และผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ได้แก่ นักวิชาการวัฒนธรรม และผู้แทนจากเครือข่าย อื่นๆรวมทั้งสิน 90 คน เพื่อดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่แทนคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดเก่า ที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระที่กำหนดในกฎกระทรวงจำนวนไม่น้อยกว่า 19 คน และไม่เกิน 51 คน โดยได้รับความเมตตานุเคราห์สถานที่จัดประชุมจากพระเดชพระคุณ พระศรีวงศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดป่าศรัทธาราม

 ในการสรรหาครั้งนี้ได้ท่าน เอมอร  ศรีกงพาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาอีกวาระ3ปี และได้คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดรวม 51 คนและจะประกาศรับรองเพื่อทำงานการส่งเสริมด้านวัฒนธรรมจังหวัดต่อไป

กฐินมหากุศล ณวัดเขาหมาก ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดบึงพระอารามหลวง

กฐินมหากุศล ณวัดเขาหมาก ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดบึงพระอารามหลวง บ้านดงมะไฟหมู่ 8 ตำบลมะเกลือใหม่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา


วันที่ 31 ตุลาคม 2560 4 เวลา 10:30 น ประธานฝ่ายสงฆ์พระมหานคร จินวฑฒโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบึงพระอารามหลวง ,ผอ.ศูนย์ปฏิบัติธรรมเขาหมาก และคณะกรรมการวัดงานบุญกฐินสามัคคี โดยมี ทันตแพทย์อนุภาส,ทันตแพทย์หญิงเพ็ญศรี, คุณภาสศิริ,คุณชนก จริยะธีรวงศ์ สลางสิงห์ และคุณวิศิษฐ์ จริยะธีรวงศ์ ผู้อุปถัมภ์กฐินสามัคคี และคณะกรรมการสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมออกโรงทานร่วมถวายกฐินสามัคคีประจำปี 2564 พุทธศาสนิกชนที่ร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคีเพื่อเป็นปัจจัย ทะนุบํารุงเสนาสนะและ ส่งเสริมสนับสนุนพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ต้องอาศัยพุทธบริษัท 4 ช่วยกันทำนุบำรุง เพื่อเป็น พระสมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติสืบต่อไป

ปปช .โคราช ลงตรวจพื้นที่งาน ถนนคอนกรีต เทศบาลตำบลหัวทะเล

“ป.ป.ช. โคราช ลงพื้นที่ด่วน กรณีได้รับเบาะแส โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมรางระบายน้ำของเทศบาลตำบลหัวทะเล”

วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๐๐ น. นายปริญญา วิกุลศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ลงพื้นที่บ้านหนองสองห้อง หมู่ ๑๐ ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กรณีได้รับเบาะแสโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมรางระบายน้ำ ที่อาจไม่ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย และอาจทำให้น้ำท่วมขังบ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้นได้ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา จึงได้ประสานเทศบาลตำบลหัวทะเล ลงพื้นที่เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง โดยเป็นโครงการปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ระยะทางประมาณ ๕๐ เมตร งบประมาณ ๑๓๒,๐๐๐ บาท โดยช่างควบคุมงานของเทศบาลฯ กล่าวว่า “โครงการดังกล่าว เป็นโครงการก่อสร้างถนนพัฒนาในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหัวทะเล สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้าน พร้อมกับการสร้างรางระบายน้ำเชื่อมต่อจากถนนหลักเพื่อช่วยระบายน้ำในช่วงหน้าฝน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จตามกระบวนการ และต้องวางแผนปรับแบบแปลนให้เหมาะกับสภาพพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์จากโครงการมากที่สุด

ทั้งนี้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา จะติดตามผลการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะแล้วเสร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ