บทเพลงคิดถึง ทำให้ กู้ภัยกู้ชีพจำนวน 252 แห่ง กลั่นน้ำตาไม่ไหวในพิธีเปิด รวมพลังกู้ชีพกู้ภัย จิตอาสาไทย ใจเป็นหนึ่งเดียว ครั้งที่ 3 ที่โคราช
วันที่ 29 กันยายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา การประชุมการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรการกุศลที่มีบทบาทด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ไม่แสวงหากำไร (มูลนิธิ/สมาคม) ระดับชาติ ครั้งที่ ๓ “รวมพลังกู้ชีพกู้ภัย จิตอำสำไทย ใจเป็นหนึ่งเดียว” โดย เรืออากาศเอก อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายวิเชียร จันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีม นายประวิทย์ อัศวินชัย ประธานมูลนิธิพุทธธรรม 31 นครราชสีมา นายสุเทพ ณัฐกานต์กนก กรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน นายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ จำกัด กรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ประธานมูลนิธิองค์กรไม่แสวงหากำไรทุกท่าน แขกผู้มีเกียรติสื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเปิดพิธีด้านพิธีกร ได้นำพาสงบนิ่ง ต่อด้วยบทเพลงคิดถึง ของหรั่ง ร็อคเคสตาร์ ขนาดนั้นบทเพลงได้ร้องท่อนฮุก “คิดถึงเธอแทบใจจะขาด” ภาพประกอบกับดนตรีก็เป็นภาพโศกเศร้าบรรดากู้ภัยกู้ชีพ ทำให้กลั่นน้าตาแทบไม่อยู่ โดยเฉพาะพิธีกรหญิงถึงร้องไห้ตาแดงออกมาจากจิตใจ ต่อจากนั้นเวลา 09.30 น. ได้มีการกล่าวบรรยายเรื่องนโยบายและทิศทางการดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉิน โดย เรืออากาศเอก อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นโยบาย และทิศทางการดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดย นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นโยบายและทิศทางการสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โดย นายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดต่อและเวลา10.00 น.บรรยาย เรื่อง โมเดลการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดนครราชสีมา โดย นพ.สุนทร ชินประสาทศักดิ์ โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา และเสวนา เรื่อง ทิศทางและการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินไทย โดย นายพงษ์ภัฎ เรียงเครือ กรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน นายนิพนธ์ บุญญามณี กรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน/นายก อบจ.สงขลา นายสุเทพ ณัฐกานต์กนก กรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน นายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ดำเนินรายการ โดย ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคาชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
การประชุมการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรการกุศลที่มีบทบาทด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ไม่แสวงหาผลกำไร ครั้งที่ 3 “รวมพลังกู้ชีพกู้ภัย จิตอาสาไทย ใจเป็นหนึ่งเดียว” โดยมีเครือข่ายองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหากำไรทั่วประเทศด้านกู้ภัยกู้ชีพจำนวน 252 แห่ง รวมกว่า 3,000 คนเข้าร่วม
ตัวแทนเครือข่ายองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหากำไรและคณะผู้จัดการประชุม ด้วย พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 กำหนดให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ มีบทบาทในการบริหารจัดการ ประสานการปฏิบัติงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ ฉุกเฉินร่วมกัน ทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่าง ทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพมาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อเหตุการณ์ ในขณะที่สถานการณ์การเจ็บป่วยฉุกเฉินและสาธารณภัยของประเทศ มีความหลากหลายและซับซ้อนมาก จึงต้องอาศัยความร่วมมือทั้งในด้านการกู้ชีพและกู้ภัยจากหลากหลายหน่วยงาน จึงจะทำให้มีการ ช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้เพื่อสร้างองค์ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานการแพทย์ฉุกเฉินและงานกู้ภัย และสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือของภาคี เครือข่ายองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหากาไรในการพัฒนาการกู้ชีพกู้ภัยของประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนและชาวต่างชาติทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ (นายประวิทย์ อัศวินชัย ประธานมูลนิธิพุทธธรรม 31 นครราชสีมา กล่าว )
เรืออากาศเอกอัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) กล่าวถึงนโยบายและทิศทางการดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉิน ว่า การเกิดขึ้นของสพฉ.เพื่อคุ้มครองดูแลพี่น้องประชาชน ให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที ทั่วถึง และเท่าเทียม โดยต้องอาศัยภาคีเครือข่าย ความร่วมมือในเชิงการปฏิบัติการฉุกเฉิน แต่ไม่ได้เริ่มจากคำว่า EMS ( Emergency medical services) ที่เป็นการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน แต่เป็นเรื่องของ SAR ( Search Is An Emergency ) หรือ การค้นหากู้ภัย ซึ่งกรณีเหตุการณ์ถ้ำหลวงมีความสำคัญ และทำให้ประชาชน เข้าใจถึงกระบวนการกู้ภัยว่าที่ก่อนจะช่วยชีวิตได้ ต้องมีการค้นหาก่อน ดังนั้นการค้นหา และการกู้ภัยจะมาคู่กัน จากนั้นถึงจะเข้าสู่กระบวนการ EMS ซึ่งจะต้องมีบุคลากรระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ตั้งแต่นอกโรงพยาบาล หรือ ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่กำลังจะเข้ามาร่วมมือกันในเรื่องนี้มากขึ้น
เรืออากาศเอกอัจริยะ กล่าวว่า การส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล และการปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินก็มีความสำคัญ จะต้องเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ถ้ากรณีโรงพยาบาลแห่งแรก ยังไม่พ้นภาวะฉุกเฉิน การส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพอื่นนั้นก็มีความจำเป็นและสำคัญเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ในการบริหารจัดการเรื่องสาธารณะภัย จะมีคำใหม่ คือคำว่า Emergency Care System (ECS) หรือ ระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน โดยคำนี้กำลังจะถูกนำไปอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ หรือ แผนปฏิรูปประเทศ ด้านสาธารณสุข ซึ่งจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของทั้งระบบ คาดว่าจะต้องใช้เวลาในการปฏิรูป 3-4 ปี
“ในช่วงที่ปฏิรูปอยู่นั้น พวกเราเองที่ปฏิบัติหน้าที่ คงจะต้องตระหนักเรื่องของหน้าที่ ว่าเรามาด้วยใจ ผมเองเป็นคนหนึ่งที่เป็นจิตอาสาที่อยากเข้ามาช่วยเหลือประชาชน ร่วมแรงร่วมใจกัน เมื่อเรามีความตั้งใจแล้ว เราต้องพัฒนาตนเอง เพื่อให้เราสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยด้วย จึงอยากขอให้มีการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง”
เลขาธิการสพฉ. ระบุด้วยว่า ในปี 2562 สพฉ. เตรียมขับเคลื่อนการจัดให้มีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินที่ได้มาตรฐานการตรวจประเมินคุณภาพระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยหรือ TEMSA จึงขอความร่วมมือให้หน่วยที่อยู่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งหมดทั้งประเทศ กว่า 8,700 หน่วย ทำการประเมินตนเอง ว่าอยู่ในกลุ่มที่มีมาตรฐานหรือไม่อย่างไร ซึ่งเป็นการยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังปลอดภัยทั้งตัวเราเอง ผู้ปฏิบัติการอื่น ประชาชน และ ผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย
นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ปัจจุบันภัยพิบัติมีความซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเกิดได้ทุกภูมิภาคทั่วโลก ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งคือการให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการภัยพิบัติ ทั้งในด้านการกู้ชีพและกู้ภัย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการจัดการภัยพิบัติ โดยที่ผ่าน มาปภ.ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน และหวังว่าในอนาคตจะต้องพัฒนาทั้งองค์ความรู้ ระบบการจัดการ และการฝึกทักษะต่างๆ ร่วมกัน โดยในปีหน้าปภ.จะจัดอบรมหลักสูตรนานาชาติ เพื่อผลักดันมาตรฐานทีมกู้ภัยไทย ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญจากออสเตเรียมาดำเนินการอบรมให้ (นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าว)
นายสุเทพ ณัฐกานต์กนก กรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน กล่าวว่ากราบเรียนท่านที่อยู่ทางบ้านในฐานะที่ผมเป็นคนโคราชแล้วก็เป็นคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน รู้สึกมีความดีใจ ที่มีการจัดรวมพลกู้ภัย ครั้งที่3 ณ จังหวัดนครราชสีมา
ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาประกอบด้วยมูลนิธิ5มูลนิธิหลักที่เราร่วมกันและร่วมใจกันทำงานครั้งนี้ต้องขอขอบคุณสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินในการจัดงานและต้องขอขอบคุณบริษัทกลางสนับสนุนที่จัดงานในครั้งนี้อย่างยิ่ง ส่วนความรู้สึกส่วนต่างก็ขอกราบเรียนด้วยว่าพวกเราในฐานะองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ทำอย่างไรจะได้ช่วยสถานมูลนิธิทุกๆกลุ่มและทุกๆที่และจังหวัดที่ห่างกันและเราได้มีการปรึกษาหารือกันตลอดเวลา
ผู้สื่อข่าวรายงายต่อว่า สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การนำเสนอนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกู้ชีพกู้ภัยของสพฉ. ,กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , บริษัทกลางคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ,การบรรยายการให้ความรู้ด้านกู้ชีพกู้ภัย , การเสวนาการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ ,การจัดแสดงสาธิตการกู้ชีพกู้ภัย และการจัดนิทรรศการภายนอกห้องประชุม