สู่ก้าวใหม่ ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีและวิทยาลัยประมง Smart farming 47 Aggie by STI  ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา

สู่ก้าวใหม่ ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีและวิทยาลัยประมง Smart farming 47 Aggie by STI  ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการ อาชีวศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจัดงาน Smart farming 47 Aggie by STI  โดยมุ่งเน้นสร้างสรรค์กิจกรรมนี้ให้เป็นโครงการที่ช่วยยกระดับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีและวิทยาลัยประมง 47 แห่งในไทยให้มีการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจโดดเด่นและมีองค์ความรู้รวมทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการทำเกษตรการเลี้ยงสัตว์และอื่นๆ

เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐนำโดย  ดร. คุณหญิง  กัลยา   โสภณพนิช   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการผู้ผลักดันโครงการ Smart farming 47 Aggie by STI  และริเริ่มโครงการที่เลือกประโยชน์แก่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีและวิทยาลัยประมงทั้ง 47 แห่งโดยให้นโยบายผ่านการจัดกิจกรรมโครงการ Smart farming 47 Aggie by STI  

กิจกรรมภายในงานมีการจัดนิทรรศการสร้างสติ   ฟังการเสวนากับเกษตรอายุน้อย ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ

อาหารญี่ปุ่น บุก!! โคราชแล้ว

อาหารญี่ปุ่น บุก!! โคราชแล้ว

ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา ได้รับเกียรติจากว่าที่ร้อยตรีนิรันดร์ดุจจานุทัศน์รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานในพิธีเปิด  งาน Japan Week เทศกาลญี่ปุ่นขนานแท้ยกขบวนการแสดงสินค้าและอาหารพร้อมสัมผัสกลิ่นอายศิลปวัฒนธรรมส่งตรงจากญี่ปุ่น  จัดเต็มทั้งโชว์พิเศษจากศิลปินไอดอลญี่ปุ่น – ไทย   คอสเพลย์   Cover Dance และกิจกรรม workshop   ภายในงานทุกท่านจะได้พบการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมเจแปนนิสผสมผสานการร่ายรำแบบญี่ปุ่นและการร้องรำเข้าด้วยกัน  พร้อมร่วมสนุกไปกลับ วอร์บี้ นกจอมกวน  พบเจ้าของลายเซ็นตัวจริงพร้อมสินค้าให้ชมกันอย่างจุใจ  การรวมตัวของเหล่าบรรดาคอสเพลย์  ที่มารวมตัวกันอย่างยิ่งใหญ่อลังการ

นอกจากนี้ในวันที่ 31 สิงหาคม  จะได้พบกับการแข่งขันการกินซูชิ  ที่คนนับร้อยจะมารวมกันในงานเพื่อรับรองความสามารถ

ผนึกกำลังพี่น้องสองราช  ราชภัฏโคราช -ราชมงคลอีสาน   MOU ขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

ผนึกกำลังพี่น้องสองราช  ราชภัฏโคราช -ราชมงคลอีสาน   MOU ขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

วันนี้  ที่ห้องประชุมดร. เสาวนิต  เสาร์นานนท์  อาคาร 9 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  ได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ  ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  ลงนามร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์  ลิ้มไขแสง  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  ซึ่งมีเป้าประสงค์ในการร่วมกันพัฒนาการศึกษา 5 ด้านคือ 1. ด้านการจัดการศึกษา 2. ด้านการวิจัยและบริการวิชาการ 3. ด้านการแลกเปลี่ยนอาจารย์นักศึกษาและบุคลากร 4.ด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 5 ด้านอื่นๆตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นสมควร

การลงนามความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้สืบเนื่องจากทั้งสองมหาวิทยาลัยมีปณิธานที่แน่ๆในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นพร้อมทั้งมีพันธกิจในการผลิตบัณฑิตการวิจัยบริการวิชาการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมโดยมีกำหนดระยะเวลาลงนามร่วมกัน 3 ปีนับตั้งแต่วันลงนามวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ถึง 28 สิงหาคม 2565 ทั้งนี้นับเป็นการผนึกกำลังสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อผลักดันให้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัย นำด้านการผลิตบัณฑิตและการพัฒนาท้องถิ่นต่อไป

รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่1 โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว 

รฟม. จัดประชุมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่1 โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ผู้ว่าโคราชย้ำผู้เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการเสนอข้อคิดเห็นเพื่อร่วมกันพัฒนาเมืองย่าโม

วันนี้ (28 สิงหาคม พ.ศ. 2562) เวลา 09.00 น. นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียม เอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถาน คุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) โดยภายในงานมีผู้นําชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ผู้แทนจาก หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจรวมถึงสื่อมวลชน เข้าร่วมการ ประชุมกว่า 250 คน ณ ห้องสีมาธานี แกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาร่วมเป็นประธาน พิธีเปิด โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งนี้เป็นการนําเสนอข้อมูลโครงการ แผนการดําเนินงาน แนวคิดการออกแบบรูปแบบโครงการ แนวทางการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ การดําเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบข้อมูลพร้อมแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนําไปเป็นแนวทางในปรับปรุงโครงการต่อไป

สําหรับการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ) นี้เป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงานช่วงที่ 1 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม

(Feasibility Study) ออกแบบจัดทํารายงานการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ มีระยะเวลาดาเนินการ 1 ปี ซึ่งตามผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดนครราชสีมาของสํานักงานนโยบายและแผนการ ขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว

(ตลาดเซฟวันสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) รวมระยะทาง ประมาณ 11.17 กิโลเมตร มีสถานีจํานวน 20 สถานี งบประมาณ กว่า 8,000 ล้านบาท ผ่านสถานที่สําคัญ เช่น ตลาดเซฟวัน สํานักคุมประพฤติสวนภูมิรักษ์ เทศบาลนครนครราชสีมา อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โรงเรียนสุรนารีวิทยา

มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ บ้านนารีสวัสดิ์ เป็นต้น

ด้านนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า  รฟม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้เป็นผู้ ดําเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โดยให้ดําเนินการก่อสร้างครั้งละ 1 เส้นทาง เริ่มจากสายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและ พัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นลําดับแรก ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการ เดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ของประชาชน และนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน จึงช่วยลด ปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ํามันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามอยากฝากให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในเส้นทางการก่อสร้างหรือผู้ที่มีส่วนได้หรือส่วนเสีย ให้ความสำคัญในการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการก่อสร้างที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดเพื่อร่วมกันเสนอความคิดเห็นต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาเป็นไปด้วยความต่อเนื่อง และไม่เกิดความขัดแย้งภายหลังเหมือนที่ผ่านมา

 

นางเจษฎา นาคบำรุงศรี ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา กล่าว่า เป็นเรื่องที่ดีที่จังหวัดนครราชสีมาจะมีระบบขนส่งมวลชนเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับประชาชน แต่ทั้งนี้การก่อสร้างโครงการดังกล่าวชาวโคราชยังมีความเป็นห่วงเรื่องขนาดถนนที่โครงการจะก่อสร้างผ่านเนื่องจากถนนมีความคับแคบเป็นอย่างมาก ซึ่งหากดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จการจราจรบริเวณดังกล่าวจะประสบปัญหา ดังนั้นจึงได้มีการเสนอปัญหาเพื่อให้ทาง รฟม.ชี้แจง และดำเนินการแก้ไข

ขอบคุณที่มา: ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา

อบรมเชิงปฎิบัติการ “พิราบน้อยศรีฐาน” ปั้นผู้สื่อข่าวยุคดิจิทัล

อบรมเชิงปฎิบัติการ “พิราบน้อยศรีฐาน” ปั้นผู้สื่อข่าวยุคดิจิทัล

        สมาคมเครือข่ายสื่อฯ ภาคอีสาน ร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างองค์ความรู้ในการรู้เท่าทันและใช้สื่อออนไลน์ให้เกิดประโยชน์ โดยจัดอบรมเชิงปฎิบัติการ “พิราบน้อยศรีฐาน” สามารถผลิตสื่อเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนตนผ่านสื่อออนไลน์

พันโท ดร.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน กล่าวว่า ชุมชนบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น เป็นชุมชนโบราณที่มีประวัติความเป็นมาในการก่อตั้งบ้านเรือนมากกว่า 200 ปีแล้ว นอกจากนั้นยังพบหลักฐานว่าชุมชนแห่งนี้เคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี อายุกว่า 2,000 ปีมาก่อน เรื่องราวดีงามต่างๆ ของชุมชนบ้านศรีฐานนี้ ที่ผ่านมาเป็นการรับรู้เฉพาะในวงแคบ หากจะมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ก็เป็นจากการดำเนินงานของหน่วยงาน ส่วนราชการของทางราชการ

จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยี อย่างไม่หยุดยั้ง กระบวนการเรียนรู้ของคนในสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลง สื่อกลายเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งใหม่ที่สามารถกระตุ้นการรับรู้ และดึงดูด ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนจะใช้เวลาไปในการใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น หากเยาวชนและประชาชนในชุมชนบ้านศรีฐานได้รับการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่มีคุณภาพ ให้เกิดความฉลาดรู้ด้านสื่อ และความตื่นรู้ทางปัญญาได้อย่างทรงพลัง จะสามารถบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ผ่านนักสื่อสารสร้างสรรค์อย่าง “พิราบน้อย” ที่ได้เรียนรู้กระบวนการผลิตสื่อ และสามารถบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ

พันโท ดร.พิสิษฐ์ กล่าวต่อว่า สมาคมเครือข่ายหนังสื่อพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน (องค์กรสาธารณประโยชน์) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในอิทธิพลของสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อโซเซียลมีเดีย จึงต้องการส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนในชุมชนบ้านศรีฐาน ได้เรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ พร้อมฝึกปฏิบัติการผลิตสื่อแบบเข้มข้นจากนักสื่อสารมืออาชีพ ให้ความรู้ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในยุคดิจิทัล เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับงานด้านประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อโซเซียลมีเดีย และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และการทำงานในอนาคตได้

สมาคมเครือข่ายหนังสื่อพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน (องค์กรสาธารณประโยชน์) จึงได้ร่วมกับชุมชนบ้านศรีฐาน ,สถานีวิทยุ อสมท ขอนแก่น ,ศูนย์ข่าว 123 คนดีมีน้ำใจ จังหวัดขอนแก่น, ศูนย์ศึกษาพระเครื่องจังหวัดขอนแก่น,สถาบันวาทศิลป์ และสถาบันพัฒนสื่อสารมวลชน จัดทำ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวยุคดิจิทัล “พิราบน้อยศรีฐาน” ประจำปี 2562 ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น เทศบาลนครขอนแก่น และโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน ในการให้ใช้สถานที่จัดการอบรมดังกล่าว ระหว่างวันที่  23 – 24  สิงหาคม  พ.ศ.2562 โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจากชุมชนศรีฐานทั้ง 4 ชุมชน และนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน รวมทั้งสิ้น 82 คน

นายสุธี ศรสวรรค์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น กล่าวในโอกาสปิดการอบรม “พิราบน้อยศรีฐาน” ว่า ต้องขอแสดงความยินดีกับพิราบน้อยศรีฐานทุกคน ที่เข้าอบรมการในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวยุคดิจิทัล “พิราบน้อยศรีฐาน” ประจำปี 2562 และขอขอบคุณ สมาคมเครือข่ายหนังสื่อพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน (องค์กรสาธารณประโยชน์) และ ภาคีเครือข่าย อาทิ สถานีวิทยุ อสมท ขอนแก่น ,ศูนย์ข่าว 123 คนดีมีน้ำใจ จังหวัดขอนแก่น, ศูนย์ศึกษาพระเครื่องจังหวัดขอนแก่น, สถาบันวาทศิลป์, สถาบันพัฒนสื่อสารมวลชน, ชุมชนศรีฐาน และที่สำคัญ เป็นโครงการที่ สมาคมเครือข่ายหนังสื่อพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน (องค์กรสาธารณประโยชน์) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในอิทธิพลของสื่อต่างๆ ทั้งสื่อวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และโซเซียลมีเดีย (Social Media) จึงต้องการส่งเสริมให้เยาวชนในชุมชนศรีฐาน ได้มีโอกาส เรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ และฝึกปฏิบัติการผลิตสื่อแบบเข้มข้นจากนักสื่อสารมืออาชีพ ซึ่งจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับงานด้านประชาสัมพันธ์ และยังสามารถเข้าใจในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อโซเซียลมีเดีย (Social Media) ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และการทำงานในอนาคตต่อไป

“พิราบน้อยศรีฐาน” เป็นโครงการแรกที่นำร่องในชุมชนศรีฐาน นับเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับเยาวชน ที่จะได้พัฒนาศักยภาพและต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอยากให้นำโครงการนี้ขยายผลไปยังชุมชนต่างๆ เพื่อให้เยาวชนได้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ และฝึกฝนปฎิบัติจากผู้เชี่ยวชาญนักสื่อสารมืออาชีพ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต

นายสุธี ศรสวรรค์ พมจ.ขอนแก่น กล่าวต่อว่า พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น เป็นหน่วยงานที่เน้นการให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชน ต้องการให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีความสามารถ และเติบโตขึ้นมาเพื่อเข้ามาทดแทนผู้ใหญ่ที่ทำงานมานาน มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ซึ่งผู้ใหญ่ในปัจจุบันแต่ละท่านก็ต้องเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัย เรื่องที่มีความสำคัญอีกหนึ่งเรื่องคือ “สังคมผู้สูงอายุ” ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือมีผู้สูงอายุ 20% และใน ปี 2574 จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 28 – 30% ดังนั้น เราต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพเพื่อทดแทนผู้สูงอายุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เยาวชนในปัจจุบันมีหลายกลุ่ม บางกลุ่มติดสื่อ Social ในทางที่ผิด ขาดทักษะการคิดและตัดสินใจ ทำให้หลงไปกระทำตามกระแสแบบผิดๆ ถูกหลอกลวงไปทำมิดีมิร้าย กลายเป็นปัญหาของสังคม ซึ่งพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต้องเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆ เยาวชนบ้านศรีฐานจะเป็นโครงการที่นำร่องและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนในชุมชนอื่นๆ ดังนั้น ผู้ปกครอง โรงเรียน และหน่วยงานต้องให้ความสำคัญที่จะร่วมกันสร้างให้เยาวชนได้เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ และเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต

 

แท็กซี่ – ตุ๊กๆ – วินมอร์ไซด์ รวมตัวยื่นหนังสือพ่อเมืองโคราช เร่งช่วยเหลือ ก่อน “สูญพันธุ์”

 

แท็กซี่ – ตุ๊กๆ – วินมอร์ไซด์ รวมตัวยื่นหนังสือพ่อเมืองโคราช เร่งช่วยเหลือ ก่อน “สูญพันธุ์”


ที่ผ่านมา  กลุ่มชมรมรถสาธารณะเมืองโคราช  ประกอบด้วยคนขับแท็กช์ชี่-ตุ๊กๆและวินมอเตอร์ไชด์  เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายวิเชียร จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  และนายชาติชาย มัฆวิมาลย์ขนส่งจังหวัดนครราชสืมาเพื่อเรียกร้องให้ทางจังหวัดฯหาทางแก้ไขป้ญหาแกร้ปไบร-แกร็ปคาร์กว่า  2000  คัน  ที่วิ่งรับผู้โดยสาร  ทำให้กลุ่มตนมีรายได้ที่ลดลงเป็นอย่างมาก

 

ทั้งนี้  กลุ่มบุคคลเหล่านี้จึงอยากให้ทางจังหวัดนครราชสีมา  จัดระเบียบแกร็ปทั้งหลายให้เหมือนกลุ่มของแท็กซี่  รถตุ๊ก ๆ และรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง  ที่ดำเนินการตามระเบียบขนส่งทุกประการ  เรื่องนี้หลังจากที่นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับเรื่องร้องเรียนแล้ว  และกล่าวมาว่าตนจะนำเสนอทางรัฐมนตรีคมนาคมให้ช่วยเร่งแก้ปัญหาเพราะมันเป็นผลกระทบกันทั้งประเทศ  ซึ่งต้องแก้ไขในระดับประเทศ  และผู้ว่า ฯ จะสรุปปัญหาทั้งหมดร่วมกับทางขนส่งจังหวัดในสองวันนี้หากทางกลุ่มมีข้อเสนอเพิ่มเติมก็รีบมาเสนอก่อนจะส่งเข้ากระทรวงคมนาคมต่อไป

วัฒนธรรมโคราช จัดแถลงข่าวสืบสานมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมอีสานและของชาติในงานมหกรรมสภาวัฒนธรรมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 2

 

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาสืบสานมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมอีสานและของชาติในงานมหกรรมสภาวัฒนธรรมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2562

ที่ผ่านมา  ณ ห้องประชุมมูลนิธิท้าวสุรนารี  ศาลาศาลากลาง จังหวัดนครราชสรมา  ว่าที่ร้อยตี นิรันดร์ ดุจจานุทัศน์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  ได้เป็นประธานในงานแถลงข่าว การจัดสืบสานมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมอีสานและของชาติในงานมหกรรมสภาวัฒนธรรมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 2  ระหว่างวันที่  6- 7 กันยายน  2562

นางเอมอร  ศรีกงพาน   ประธานสภาวัฒนธรรม  จังหวัดนครราชสีมา  เปิดเผยว่า  สภาวัฒนธรรม  จังหวัดนครราชสีมา  กำหนดจัดงานมหกรรมสภาวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่  2  ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2560 ณ  ห้อง  mcc Hall ชั้น 3 เดอะมอลล์นครราชสีมา   กิจกรรมประกอบด้วยการแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย   พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร  มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร และ พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว   นิทรรศการแสดงผลงานคนดีศรีวัฒนธรรมอีสาน   การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง  ดาวรุ่ง  วัฒนธรรมอีสาน  ชมและช็อป  ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม   การมอบโล่ประกาศเกียรติคุณคนดีศรี วัฒนธรรมอีสาน   ประเภท   ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมการมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง  ดาวรุ่ง  วัฒนธรรมอีสาน  และการเดินแบบผ้าไทย  อัตลักษณ์ของวัฒนธรรมอีสาน  โดยผู้เดินแบบกิตติมศักดิ์ และประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด

 

ในโอกาสนี้ มีการนำคณะสภาวัฒนธรรมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด  เดินทางตามเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ในพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว  จังหวัดนครราชสีมา  และร่วมกิจกรรมอีสานสัมพันธ์  ผูกเสี่ยว  เทียวยาม  ของสภาวัฒนธรรมอีสาน  ที่บ้านเรือนรีสอร์ท  อำเภอวังน้ำเขียว  จังหวัดนครราชสีมา

สำหรับการจัดงานมหกรรมสภาวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 2 จัดขึ้นเพื่อสืบสานมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมของภาคอีสานและของชาติ   และเผยแพร่องค์ความรู้วิถีวัฒนธรรมอีสาน ฮีตสิบสองคลองสิบสี่  รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มศิลปินพื้นบ้านและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นการส่งเสริมอัตลักษณ์ไทยและรักษาวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด  โดยเฉพาะมิติทางวัฒนธรรม ประกอบด้วยอาหาร  ภาพยนตร์และวีดีทัศน์  ผ้าไทย  และการออกแบบ  มวยไทยและการอนุรักษ์ขับเคลื่อนเทศกาลประเพณี  เน้นการเพิ่มมูลค่าของสินค้า  และบริการทางวัฒนธรรมทุกสาขาโดยใช้ศิลปะวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมและ ร่วมสมัยเป็นพื้นฐานในการพัฒนา

ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจ  นักท่องเที่ยวผู้ที่ชื่นชอบศิลปวัฒนธรรม  ร่วมงานมหกรรมสภาวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียง  ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6 – 7 กันยายน 2562  ที่บ้านดินรีสอร์ท อำเภอวังน้ำเขียว  จังหวัดนครราชสีมา  และ ห้อง MCC HALL ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ นครราชสีมา

พิธีเปิดโครงการ “ ๑๐๑ อาชีพ”เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐

พิธีเปิดโครงการ “ ๑๐๑ อาชีพ”เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐

วันนี้   ที่วัดดอนขวาง  ตำบลหัวทะเล  อำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมา  ว่าที่ร้อยตรี นิรันดร์  ดุจจานุทัศน์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด  โครงการ “๑๐๑ อาชีพ”  เฉลิมพระเกียรติ  เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  กระทรวงแรงงาน  โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน  ๕  นครราชสีมา  ดำเนินการจัดกิจกรรมขึ้น  จำนวน  ๒  กิจกรรมได้แก่การพัฒนาทักษะ ๑๐๑  อาชีพ  และการจัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์  เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเทนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร  กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช  สยามินทราธิเบศรราชวโรดม  บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสมหามงคล  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒

ทั้งนี้  นายสุเมธ  โศจิพลกุล   ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน   ๕  นครราชสีมา  ในนามผู้ดำเนินโครงการ “๑๐๑ อาชีพ” เฉลิมพระเกียรติ  เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เนื่องในโอกาสมหามงคลการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักกรี  ทั้งนี้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  กระทรวงแรงงาน  สำนึกอย่างหาที่สุดไม่ได้ในพระมหากรุณาธิคุณและการได้สนองเบื้องพระยุคลบาทอย่างต่อเนื่องในการปฎิบัติภารกิจและหน้าที่ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีศักยภาพสูงสุด  รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างประเทศ  ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ  โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ  และประชาชนเป็นสำคัญ  จึงขอน้อมนำศาสตร์พระราชา  ตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง  โดยส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสพัฒนาทักษะ ในการประกอบอาชีพของตนเองเพื่อให้มีอาชีพ  มีรายได้  ที่มั่นคง  และประยุกต์ใช้ความรู้จากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสู่การดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนด้วยการจัดฝึกอบรมทักษะ ๑๐๑ อาชีพให้แก่ประชาชนที่สนใจ  จำนวน  ๒ รุ่น รุ่น ๆ ๒๐ คน  รวมเป็น  ๔๐ คน ฝึกอบรมระหว่างวันที่  ๒๑ – ๒๓ สิงหาคม  ๒๕๖๒   ณ วัดดอนขวาง  ต.หัวทะเล  อ.เมือง จ.นครราชสีมา

2 มหาวิทยาลัยดังเมืองโคราช ร่วมเปิดแนวคิดพัฒนารากเหง้าเพื่อพัฒนาเมือง


2 มหาวิทยาลัยดังของเมืองโคราช ร่วมเปิดแนวคิดในการร่วมกันพัฒนา รากเหง้าของคนโคราชที่ดูแลกำลังหลักของประเทศหันมาหาแนวทางที่จะพัฒนาร่วมกันเนื่องจากทั้ง 2 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ มหาวิทยาลัยเทคโนราชมงคลอีสาน ต่างมีอาณาเขตติดกันมีคณาจารย์ในระดับด็อกเตอร์หลายร้อยคนน่าจะร่วมมือในการมีส่วนร่วมพัฒนาเมืองโคราชได้เป็นอย่างดี

โดยทั้ง 2 มหาวิทยาลัยฯได้มีการนัดพูดคุยตกลงแนวทางร่วมกันก่อนหน้านี้เมื่อเดือน กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมาและได้มีการกำหนดกรอบการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงหรือเซ็น(mou)ร่วมกันในวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ที่จะถึงนี้

 

จากการพูดคุยกับ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พอสรุปคร่าวๆได้ 2-3 ประเด็นที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อเมืองโคราช อาทิเช่น การทุบรั้วของทั้งสองมหาลัยแล้วเชื่อมเข้าด้วยกัน แบบไปมาได้ทั้งสองมหาวิทยาลัยฯ เพื่อเปิดทางสัญจรให้สะดวกและคล่องตัวขึ้น เรื่องต่อมาจะเป็นในส่วนของการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่าง 2 มหาวิทยาลัยได้เข้ามาเรียนรู้ อีกฝั่งของมหาวิทยาลัยได้ นอกจากนี้ยังมีการทำกิจกรรมสาธารณะในพื้นที่ต่างๆของจังหวัดฯ ร่วมกัน เพื่อมิให้ใช้งบประมาณในเรื่องเดียวกันแบบใช้งบประมาณซ้ำซ้อนแต่ทำคนละครั้ง จับมาทำร่วมกัน แบ่งปันกันจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
หลักการดังกล่าวน่าจะสำเร็จได้เนื่องจากทั้ง 2 มหาวิทยาลัย มีบุคลากรและนักศึกษาร่วมกันกว่า 3 หมื่นคนและจะทำงานทั้งด้านสังคม ชุมชน และเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปพร้อมๆกันทั้ง 2 มหาวิทยาลัย นับเป็นมิติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย แต่ที่ทำสำเร็จก็เพราะทั้งสองมหาวิทยาลัยมีรั้วติดกันจึงง่ายต่อการประสานงานและทำงานร่วมกัน ดร.อดิศร กล่าว

โครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม ด้วยกระบวนการลูกเสือ  ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา

โครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม ด้วยกระบวนการลูกเสือ  ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา

ที่ผ่านมา  ดร.รัตนะ วรบัณฑิต  ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จังหวัดนครราชสีมา ได้เป็นประธานเปิดและได้ดำเนินการครบกระบวนการของลูกเสือตามมาตรฐาน ระหว่างวันที่  14 – 16 สิงหาคม 2562  โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อเสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรม  จริยธรรม การดำเนินชีวิตประจำวัน ตามคำปฏิญาณในกฎของลูกเสือที่ได้อบรม  ดังนี้

  1. ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  2. ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
  3. ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

โดยมีผู้ที่เข้าร่วมอบรมครั้งนี้กว่า 300  คน  ระหว่างการอบรมเด็กและเยาวชนได้ปฏิบัติ ตามระเบียบของลูกเสือทั้ง 3 วัน โดยมีผู้ที่ผ่านการอบรมในครั้งนี้ทุกคน

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก  นายฐิติรัตน์  นายกสมาคมนักข่าว  จังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีปิดการอบรม พร้อมด้วย นายวรภพ  จำนงค์จิต  รองประธานคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา  และนายจิรภัทร ธนกูลกิจ กรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา ร่วมเป็นเกียรติในการมอบเกียรติบัตรในครั้งนี้

โดยในกิจกรรมนี้ผู้เข้าอบรมได้มีความยินดีที่ได้รับการพัฒนาชีวิตการเรียนรู้ใหม่  ในการใช้วีวิตที่มีคุณค่า และคุณธรรมต่อไป