งาน World Pride 2030 ฉลองเทศกาลแห่งความเท่าเทียมและความภาคภูมิใจ เทศกาล Pride Month พร้อม LGBTQIAN+

              30 พฤษภาคม 2567 ปักหมุดไฮไลท์งานฉลอง Pride Month ยิ่งใหญ่! ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล คาดคนร่วมงานทั่วประเทศกว่าครึ่งล้าน ตลอดเดือนมิถุนายน กระตุ้นเศรษฐกิจ-ภาคท่องเที่ยวไตรมาส 2 คึกคัก

              กรุงเทพฯ – เซ็นทรัลพัฒนา เตรียมสร้างปรากฏการณ์ฉลองเทศกาล Pride Month พร้อม LGBTQIAN+ ทั่วโลกสุดยิ่งใหญ่ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศ พร้อมผลักดันประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงาน World Pride 2030 ฉลองเทศกาลแห่งความเท่าเทียมและความภาคภูมิใจ และก้าวต่อไปของประเทศไทยที่จะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีกฏหมายสมรสเท่าเทียม

อัดแน่นกิจกรรมและสีสันของงานไพรด์ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมิถุนายน อาทิ

         31 พ.ค. 67 งานใหญ่แห่งปี “Rhythm of Pride 2024” นำโดยลูกเกด-เมทินี กิ่งโพยม นางแบบชื่อดังของไทย ร่วมสนับสนุนความหลากหลายทุกรูปแบบ ผ่านงานแฟชั่นโชว์พาเหรด ขนทัพเหล่าเซเลบ นางแบบ นายแบบ และนักแสดงชื่อดังกว่า 500 ชีวิต เดินบนพรม Rainbow Runway 80 เมตร พร้อม Opening Scene สุดอลังการจาก Victoria’s Secret แบรนด์ระดับโลก และเหล่า Drag Queen ห้ามพลาดกับ Special Highlight Giant Pride Wings Show หน้าลานเซ็นทรัลเวิลด์ Square A–B  เวลา 16.00 – 18.30 น. และไฮไลท์ Crybaby Let Your Colors Pop Giant Figure ขนาด 3.5 เมตร และเปิดตัวคอลเล็คชั่นใหม่สุดคิ้วท์ Crybaby Pride Parade Figure Limited Edition ดีไซน์สายรุ้ง ที่มาพร้อม POP BEAN สีสดใส

           31 พ.ค. – 2 มิ.ย.67 Galderma Presents ตลาดโสด ครั้งที่ 2 ตอน #โสดไม่ทำทรง By Spicydisc: ขยายพื้นที่เต็มลานเซ็นทรัลเวิลด์ 3 วันเต็ม รวม 200 ร้านดัง ครบทั้งแฟชั่น ร้านอาหาร ดนตรี และเรื่องราวของศาสตร์การดูดวง ที่พร้อมให้คนโสดทุกทรงมาร่วมสนุกกันได้ตลอด 3 วันเต็ม

           1 มิ.ย. 67 ปรากฏการณ์สำคัญ ประกาศก้องความหลากหลายและความเท่าเทียมในงาน “Bangkok Pride Parade 2024” ร่วมฉลองกับการสมรสเท่าเทียมให้กับทุกเพศ ปักหมุดจุดแลนด์มาร์ก   ฟินาเล่ที่เซ็นทรัลเวิลด์ของขบวนพาเหรด Bangkok Pride พร้อมด้วย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่จะร่วมอยู่ในขบวนครั้งนี้ด้วย พร้อมโบกสะบัดความสวยงามของธงสีรุ้งให้ก้องกังวาน พร้อมกิจกรรมต่อเนื่องอีกมากมาย เวลา 14:00 น. เป็นต้นไป ที่ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ Square A–B

         Bangkok Pride Parade 2024 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Celebration of Love เฉลิมฉลองสมรสเท่าเทียม” เพื่อประกาศชัยชนะและความภาคภูมิใจต่อประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวเพื่อสมรสเท่าเทียมกว่า 2 ทศวรรษ โดยขบวนปีนี้ ประกอบไปด้วย 5 ขบวนหลัก 5 นิยามความรัก ที่เปิดกว้างให้ผู้เข้าร่วมตีความ แสดงออก และนำเสนอนิยามความรักในแบบของตัวเอง เพื่อใช้ความรักนำทางและสร้างสรรค์สังคมที่เท่าเทียม เริ่มตั้งขบวน เวลา 15.00 น. ณ ลานหน้าอาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ เดินขบวนบนถนนพระราม 1 มุ่งหน้าสู่ แยกราชประสงค์ เวลา 17.00 น. รวมระยะทางกว่า 2.5 กิโลเมตร

          อีกทั้งเซ็นทรัลพัฒนา จัดเต็ม Thailand’s Pride Celebration 2024 “Pride For All” ตลอดเดือนมิถุนายน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล 24 สาขาทั่วประเทศ อาทิ เซ็นทรัล ภูเก็ต, สมุย, พัทยา, มารีนา, เชียงใหม่, เชียงใหม่ แอร์พอร์ต, ขอนแก่น เป็นต้น แบ่งเป็น 6 ไฮไลท์ ได้แก่

1. City Pride Parade อัพสเกลความยิ่งใหญ่ในพาเหรดพันธมิตรสีรุ้งทั่วประเทศกว่า 17 สาขา นำโดย เซ็นทรัลเวิลด์ ฉลองเดือนแห่งความเท่าเทียม 5 ปีต่อเนื่อง เปิดพื้นที่สำหรับ centralwOrld citizensฉลองงานแห่งปีที่ทุกคนรอคอยโดย Muse by Metinee ในงาน “Rhythm of Pride” รวมดารา-คนดังกว่า 500 ชีวิต พร้อมเซอร์ไพรส์โชว์ Giant Pride Wings ยิ่งใหญ่, ‘Bangkok Pride Parade 2024’ แสดงพลัง LGBTQIAN+ บนถนนสีรุ้งฉลองสมรสเท่าเทียม ประกาศ Pride ไทยสู่ Pride โลก ณ จุดฟินาเล่หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ สะบัดธงยักษ์ 200 ม. วันที่ 31 พ.ค. – 1 มิ.ย. 67 ตามลำดับ, เซ็นทรัล พัทยา 22 มิ.ย. 67 งานฉลองไพรด์สุดยิ่งใหญ่กับขบวน Parade จาก 100 องค์กร ผู้ร่วมขบวนกว่า 10,000 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง Pattaya Pride Month ตลอดเดือนมิ.ย., เซ็นทรัล สมุย ขบวนพาเหรดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเกาะสมุย Music Festival ปิดทั้งเกาะ ยิ่งใหญ่ที่สุดใน Southeast Asia ชวนนักท่องเที่ยวกว่าแสนคนจัดโดย RS Multi X, เซ็นทรัล ภูเก็ต ร่วมมือกับภาคเมือง ททท. และพาร์ทเนอร์ จัดขบวนพาเหรดแสดงความ Proud Pride ทั่วเมืองเก่าภูเก็ต (ลานมังกร – ถลาง) และสาขาเมืองท่องเที่ยวทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงราย โคราช นครสวรรค์ จันทบุรี ขอนแก่น หาดใหญ่ เป็นต้น

2. Pride Market 8 สาขา อาทิ เซ็นทรัลเวิลด์ : Galderma Presents ตลาดโสด ครั้งที่ 2 ตอน #โสดไม่ทำทรง By Spicydisc ขยายพื้นที่เต็มลานเซ็นทรัลเวิลด์ 3 วันเต็ม รวม 200 ร้านดัง แฟชั่น ร้านอาหาร ดูดวงเรื่องความรัก และคอนเสิร์ตจากศิลปิน Spicy disc ยกค่าย เริ่ม 31 พ.ค. – 2 มิ.ย. 67 และ เซ็นทรัล พระราม9, เชียงใหม่, เชียงใหม่ แอร์พอร์ต, ขอนแก่น,  ภูเก็ต, หาดใหญ่, มารีนา เป็นต้น

3. Pride Performance: อาทิ เซ็นทรัลเชียงใหม่ : แฟชั่นโชว์ The Pride Thailand x Looker, Drag Queen Show, Cabaret Show, Talk show จากอินฟลูดัง และชมการแสดงจากนางโชว์ชั้นนำ และ คอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังที่ เซ็นทรัล พระราม 9, เชียงราย, โคราช, ปิ่นเกล้า 

4. Pride Party: อาทิ เซ็นทรัลเวิลด์ : ตลาดโสดบาร์, เซ็นทรัล ภูเก็ต : Private Party กับอ๊อฟ ปองศักดิ์

5. Pride Contest: พบการประกวดให้กลุ่ม LGBTQIAN+ ได้โชว์ความเป็นตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ อาทิ เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต, อยุธยา และระยอง ประกวดลิปซิงค์, เซ็นทรัลหาดใหญ่: MISS TEEN TRANS RAINBOW SKY 2024โดยสมาคมฟ้าสีรุ้ง, เซ็นทรัลมารีนา: Drag Queen Star และเซ็นทรัลขอนแก่น ประกวด Miss Isaan Pride Festival 2024 เป็นต้น

6. Pride Iconic Voices: พบกับศิลปิน เซเลปชื่อดัง รวมดาวตัวมัม จากกลุ่ม LGBTQIA+ ที่มาแสดงจุดยืนและร่วมเฉลิมฉลอง Pride Month อาทิ เซ็นทรัลบางนา พบ คู่จิ้น เก่ง-น้ำปิง จากรายการ “DMD Friendship the Reality”, เซ็นทรัล พระราม 9 ร่วมพูดคุยกับ 3 Celebrity ในประเด็นสมรสเท่าเทียมคุณนพณัช ชัยวิมล (ออฟ) ผู้กำกับซีรีย์ Y ชื่อดัง, ดร.ณฐอร นพเคราะห์ (ต๊อกแต๊ก A4) หมอดูชื่อดัง ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการด้านความเท่าเทียมสภาผู้แทนราษฎร ผู้อยู่เบื้องหลังร่างกฎหมาย สมรสเท่าเทียม และคุณรัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น – ศิลปิน นักแสดง, เซ็นทรัล โคราช : แลนด์มาร์คสายรุ้ง ผอ.แตงโม ดาว Tiktok ชื่อดัง followers กว่าล้านคน เซ็นทรัลปิ่นเกล้า พบ นนท์ ธนนท์  เป็นต้น

ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมา จัดกิจกรรมยุวพุทธิ​กวิสาขบูชา​และเวียนเทียนพร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณผู้ส่งเสริมกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญพุทธศาสนา

          วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ณ. พระอุโบถสวัดสุทธจินดา ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา  โดยเจ้าอาวาส พระอุดมธีรคุณ (ภาวัต วิสุทฺเธสโก) เจ้าอาวาส วัดสุทธจินดาดา ประธานสงฆ์ และมอบใบประกาศเกียรติจำนวน 20 คน พร้อมด้วยนายชนันท์ชัย ธงธรรมรัตน์ นายกยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวการดำเนินงานและกิจกรรมคฌะกรรมการและสมาชิกนักเรียนเข้าร่วมจำนวน 300 คน และประชาชนทั่ว ๆ ไป

        ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมาได้จัดกิจกรรมเนื่องจากวันพุธ 22 พฤษภาคม เป็นวันวิสาขบูชา  ก่อนที่จะเริ่มทำการเวียนเทียน พุทธศาสนิกชนควรร่วมกันกล่าวบทสวดมนต์และคำบูชาในวันวิสาขบูชา ซึ่งโดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์ก่อนที่จะเริ่มเวียนเทียน ส่วนใหญ่นิยมปฏิบัติพิธีการเวียนเทียนกันอย่างเป็นทางการ มีพระสงฆ์เป็นผู้นำเวียนเทียน

       ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมามีวัตถุประสงค์ดังนี้

๑. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมจริยธรรม

๒. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะและนิสัยในการสร้างความดี

๓. เพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้คุณธรรมเป็นต้นทุนสำหรับสร้างทักษะชีวิต สร้างภูมิคุ้มกันปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี

        ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมาได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา เนื่องจากมีเหตุการฌ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดพระพุทธศาสนาคือวันที่พระศาสดาประสูติตรัสรู้และปรินิพาน และเล็งเห็นความสำคัญที่จะเกิดแก่เด็กและเยาวชนของชาติและสาธุชน จึงได้จัดให้มีกรรมส่งเสริมพระพุทธคาสนาขึ้น คือกิจกรรมวียเทียนวันวิสาบูชา โดยมีวัตถุประสงค์รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก ให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญในวันวิสาขบูชาสร้าง ปลูกฝั่งคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็ก เยาวชน ประชาชนได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันจรรโลงสังคมไทยให้เป็นสังคมดีมีคุณธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืน โดยใช้มิติทางศาสนา  ในขณะเดียวกันเป็นการน้อมกราบปฏิบัฐชาองค์พระศาสดา โดยนำโครงการกองทุนอบรมคุณธรรมเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา ปี พ.ศ.๒๕๖๗ และปีต่อๆไป เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน โดยการอบรมคุณธรรมเด็กและเยาวชนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

        แต่ทั้งนี้โครงการจะสำเสร็จได้และก้าวเดินต่อไปจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยแรงศรัทธาจากสาธุชนทุกภาคส่วนมาร่วมด้วยช่วยกัน เป็นการน้อมกราบบูชาองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันจักเป็นมงคลแห่งชีวิต คือความสุข สงบ ร่มเย็นทั้งส่วนตนและสังคมอีกต่อไป

มูลนิธิพุทธบารมีร่วมกับเดอะมอลล์โคราชจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา ประเพณีกวนข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์)

                         ในงานวิสาขบูชา พุทธบารมี ปีที่ 14 ตามแนวคิด พุทธบริษัท ศรัทธา ศึกษา สืบสาน ปกป้อง

         วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.09 น. ณ มณฑลพิธีลานมอลล์พาร์ค บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์โคราช จัดพิธีส่งเสริมทางพระพุทธศาสนา ตามแนวคิดพุทธบริษัท ศรัทธา ศึกษา สืบสาน ปกป้อง เนื่องในวันวิสาขบูชากับประเพณีกวนข้าวมธุปายาส(ข้าวทิพย์) (อาหารที่นางสุชาดาจัดปรุงขึ้นและนำถวายพระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนหก)

        โดยมีเหล่าพุทธศาสนิกชนชาวโคราชกว่า 500 คนร่วมพิธี  ซึ่งได้รับเมตตาจากพระครูปลัดสุวัฒน ปริยัตคุณ เจ้าอาวาสวัดเขาคอกช้าง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วย พลโท อดุลย์ บุญธรรมเจริญ แม่ทัพภาคที่ 2 ให้เกียรติเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธี พร้อมด้วยนายปรีชา ลิ้มอั่ว กรรมการและเลขานุการมูลนิธิพุทธบารมี และเจ้าภาพกวนข้าวทิพย์ทั้ง 9 คณะร่วมประกอบพิธี

       โดยพระสงฆ์จำนวน 9 รูปสวดมนต์กระทำพิธีทางพุทธศาสนา ก่อนนำหญิงพรหมจรรย์นุ่งขาวห่มขาว จำนวน 27 คน กวนข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) จำนวน 9 กระทะ

       สำหรับวัตถุดิบที่นำมาปรุงข้าวทิพย์มีทั้งสิ้น 18 อย่าง 5 ประเภท รวมใช้วัตถุดิบทั้งสิ้น 300 กก. ซึ่งข้าวมธุปายาสสามารถบรรจุลงถ้วยได้ 7,200 ถ้วย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา)

       ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2567 ทั้งนี้ข้าวทิพย์ทั้งหมดจะนำไปทำบุญตักบาตรในวันวิสาขบูชา 22 พ.ค.2567 เวลา 09.09 น. จึงเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญตักบาตรข้าวมธุปายาส ในงาน “วิสาขบูชา พุทธบารมี ปีที่ 14 ประจำปี 2567” ที่มณฑลพิธีห้องเอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช โดยภายในงานพุทธศาสนิกชนสามารถจัดส่งข้าวมธุปายาสให้บุคคลที่คุณรักทั่วประเทศไทย โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ด้วย

        ทั้งนี้กิจกรรมพิธีกวนข้าวมธุปายาสจัดงานโดยมูลนิธิพุทธบารมี, กองทัพภาคที่ 2, จังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานภาครัฐ เอกชน คณะสงฆ์ และเดอะมอลล์โคราชจัดขึ้น เพื่อร่วมทำบุญตักบาตรมหากุศลในวันวิสาขบูชา ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาปรุงข้าวทิพย์นั้น แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 1. ประเภทถั่ว เช่น ถั่วทอง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วแม่ตาย  , 2. ประเภทข้าว พืชเป็นหัว เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวเม่า ข้าวฟ่าง ข้าวตอก เมล็ดงา งาขาว งาดำ ลูกเดือย ฟักทอง เผือก  , 3. ประเภทน้ำตาล เช่น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลแดง น้ำตาลทราย น้ำตาลหม้อ  , 4. ประเภทไขมัน เช่น เนย น้ำนมโค มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก่  และ 5. ประเภทผลไม้ เช่น ผลไม้สด ได้แก่ เงาะ กล้วย ข้าวโพด อ้อย มะม่วง ผลไม้คั้นน้ำ ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม พร้อมทั้งสมุนไพรปรุงรส ได้แก่ ชะเอมสด ชะเอมเทศ รวมถึงเม็ดสาคู

        วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.00 น. ณ มณฑลพิธีห้องเอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น 3 ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมปฏิบัติบูชาเนื่องในวันอัฏฐมีบูชา ซึ่งเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ องค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า โดยได้อัญเชิญพระธาตุ 72 พระองค์ จากชมรมรักพระธาตุ ให้สาธุชนได้มีส่วนร่วมทำบุญเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา) ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ร่วมถวายคณะสงฆ์ในพิธี

       จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมสร้างทานบารมี ในงาน “วิสาขบูชา พุทธบารมี ปีที่ 14  ตามแนวคิด พุทธบริษัท ศรัทธา ศึกษา สืบสาน ปกป้อง ระหว่างวันที่ 18-30 พฤษภาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป ณ มณฑลพิธี ห้องเอ็มซีซี ฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเดอะมอลล์โคราช หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook Fanpage: วิสาขบูชา พุทธบารมี

                           ตารางวัตถุดิบแนบท้าย/กระทะ

1. น้ำผึ้ง 2. นมสดคาร์เนชั่น 3. กะทิสด (ใช้หัวกะทิ) 4. เนยสดแท้ 5. นมข้นหวาน 6. ไมโล 7.น้ำตาลปี๊บ

8. ฟักทอง (นึ่งบด) 9. เผือก (นึ่งบด) 10. ถั่วแดง (ต้มบด)11. ลูกเดือย (นึ่งบด) 12. งาดำ (คั่วบดละเอียด)

13. งาขาว (คั่วบดละเอียด) 14. แป้งข้าวเหนียวดำ 15. ข้าวตอก 16. ถั่วลิสง (คั่วบดละเอียด) 17. กล้วยน้ำว้า 18. บะแซ

พิธีเปิดงาน “วิสาขบูชา และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ๖ วัด ประจำปี ๒๕๖๗ จังหวัดนครราชสีมา

วันอังคารที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ เทอร์มินอลฮอลล์ ชั้น ๔ ซานฟรานซิสโก ศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ โคราช

ศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ โคราช จัดพิธีเปิดงาน “วิสาขบูชา และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ๖ วัด ประจำปี ๒๕๖๗”

โดยพระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานสงฆ์

นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี และนางปพิชญา ณ นครพนม ผู้อำนวยการศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ โคราช กล่าวรายงาน กิจกรรมประกอบด้วย ผู้แทนสตรีชาวโคราชจำนวน ๑๒๑ คน

รำถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุ พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจาก ๖ วัด ประดิษฐาน ณ หอคอย ชั้น ๕ สกายเดค เพื่อให้พุทธศาสนิกชนกราบสักการะ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำหน่วยงาน/องค์กรภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

ร่วมฉลองวิสาขบูชาโลกกับงานบุญยิ่งใหญ่ สุขใจใกล้ธรรม “วิสาขบูชา พุทธบารมี ปีที่ 14” ตามแนวคิด พุทธบริษัท ศรัทธา ศึกษา สืบสาน ปกป้อง

มูลนิธิพุทธบารมีร่วมกับกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา ตำรวจภูธรภาค 3 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา กองบิน 1  องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา การท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา คณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา และเดอะมอลล์โคราช ร่วมฉลองวิสาขบูชาโลกและ จัดงานบุญยิ่งใหญ่ สุขใจใกล้ธรรม “วิสาขบูชา พุทธบารมี ปีที่ 14” ตามแนวคิด พุทธบริษัท ศรัทธา ศึกษา สืบสาน ปกป้อง วันที่ 18-30 พฤษภาคม 2567 ระยะเวลา 13 วัน ตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป ณ มณฑลพิธีห้องเอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช

ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมสร้างบุญใหญ่ร่วมกันในงาน “วิสาขบูชา พุทธบารมี ปีที่ 14” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา) ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 โดยภายในงานพุทธศาสนิกชนได้สักการะพระบรมสารีริกธาตุ 9 พระองค์ จาก 5 ประเทศ (อินเดีย ศรีลังกา จีน เมียนมาร์ ประเทศไทย) และจากวัดในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย วัดพายัพ (พระอารามหลวง),วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหารและวัดสุทธจินดาวรวิหาร ซึ่งในวันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00น. ได้จัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 9 พระองค์ มาประดิษฐาน ณ บุษบกภายในมณฑลพิธีห้องเอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น 3 อย่างเป็นทางการ ซึ่งได้รับเมตตาจาก พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พลโท อดุลย์ บุญธรรมเจริญ แม่ทัพภาคที่ 2 ให้เกียรติเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธี พร้อมด้วย นายกิตติศักดิ์ ธีระวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ถวายพวงมาลัยสักการะ พระรูปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก โดยริ้วขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เข้าประดิษฐาน ณ บุษบกภายในมณฑลพิธีนั้น ประกอบด้วย ฝ่ายสงฆ์ ได้รับเมตตาจาก พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา, พระราชวชิราลังการ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธรรมยุต) ฝ่ายฆราวาส ได้รับเกียรติจาก พล.ต.ต.ณรงค์ฤทธิ์ ด่านสุวรรณ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา, นายสุวัจน์ จึงวิวัฒนาภรณ์ ผู้แทนประธานมูลนิธิพุทธบารมี นางชัญญ์ญาณ์ ธำรงวินิจฉัย ผู้จัดการใหญ่กิจกรรมการตลาด บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด นายปรีชา ลิ้มอั่ว เลขาธิการมูลนิธิพุทธบารมี และแขกผู้มีเกียรติกว่า 1,000 คนร่วมพิธี

ชมนิทรรศการ “พุทธบริษัท…หน้าที่ของเราชาวพุทธ” พุทธบริษัทกับความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา ในรูปแบบนิทรรศการศิลปะธรรม ผ่าน 4 ห้องจัดแสดง ได้แก่ 

ห้องที่ 1 นิทรรศการภาพถ่ายสังเวชนียสถาน จัดแสดงภาพถ่าย สถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน พร้อมจำลองเสาอโศก ความสูง 2.4 เมตร และ ธรรมจักร ไว้ภายในงาน

ห้องที่ 2 นิทรรศการศรัทธา จัดแสดงผ่านห้องกระจก โดยแฝงความหมายทางศิลปะธรรม โดยใช้ กระจก สื่อถึง การสะท้อนตัวตน ความคิด ความศรัทธาในตนเองและใช้สัญลักษณ์ดอกบัวหลวง เพื่อสื่อถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอันเบิกบานในใจพุทธศาสนิกชน และเชื่อมห้องนิทรรศการถัดไปด้วยประตูหนังสือ สื่อถึงการศึกษาหลักธรรม ในการเป็นพุทธบริษัท…หน้าที่ของเราชาวพุทธ

ห้องที่ 3 นิทรรศการศึกษา บอกเล่าเรื่องราวหลักธรรมในการครองตนเป็นพุทธบริษัท โดยใช้หลักของไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นหลักพัฒนาชีวิตตามแบบพุทธศาสนาพร้อมด้วย มรรคมีองค์ 8 หนทางแห่งการดับทุกข์ , มัชฌิมาปฏิปทา “ทางสายกลาง” ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพุทธบริษัท ผ่านศิลปะธรรม อาทิ ขดลวดไฟฟ้าฝึกสมาธิ , พุทธศาสนสุภาษิต, หาบความสุขและทุกข์, คนแบกโลก และ พิณสามสาย เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาและเข้าใจ นำมาประยุกต์ปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ห้องที่ 4 นิทรรศการปกป้อง จัดแสดงพระพุทธรูป สื่อถึง การสักการะบูชาเป็นศูนย์ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ ที่ทำหน้าที่สืบสาน ปกป้องภัยทางพุทธศาสนา เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาสืบไป โดยผู้ที่เข้าชมนิทรรศการสามารถร่วมกิจกรรมเทียนลอยน้ำประจำวันเกิดได้ภายในห้องนี้

นอกจากนี้ ได้อัญเชิญรูปหล่อจำลองเสมือนจริงของพระอริยสงฆ์ จำนวน 24 รูป ได้แก่ 1.หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล 2.หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต 3.พระโพธิญาณเถร วิ. หลวงปู่ชา สุภทฺโท 4.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร 5.พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล 6.หลวงปู่แหวน สุจิณโณ 7.พระสุทธิธรรมรังสี ท่านพ่อลี ธมฺมธโร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชมบารมีและรำลึกคำสอนของเหล่าครูบาอาจารย์ทางธรรม  สร้างมหากุศล เสริมทานบารมีกับกิจกรรมบุญ สักการะพระพุทธบาทจำลอง, ปิดทองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 9 องค์ 9 วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล , ถวายผ้าอังษะ, ตักบาตรพระประจำวันเกิด, ทอดผ้าป่ามหากุศล, บัวหลวงโพธิ์ทองอธิษฐาน, เสริมสิริมงคลแก่ชีวิตด้วยการร่วมสร้าง “พระพุทธรูปพระพุทธอโรคยา มหาลาโภ” องค์ต้นแบบหน้าตัก 32 นิ้วด้วยการถวายแผ่นทอง เพื่อนำไปหล่อ พระพุทธอโรคยา มหาลาโภ องค์หน้าตัก 12 เมตรสูง 25 เมตรก่อนจะนำไปประดิษฐาน ที่โครงการ พุทธอุทยาน “พระพุทธอโรคยา มหาลาโภ” สุขใจ..ฟังธรรมบรรยายทุกวัน เวลา 14.00 และ 18.00 น. จากพระธรรมวิทยากร อาทิ หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม, พระราชธรรมนิเทศ พระพยอม กัลยาโณ, พระภาวนาพัฒนานุสิฐ ,หลวงตาม้า,พระอาจารย์กฤช นิมฺมโลและพระครูสังฆรักษ์ศักดา สุนฺทโร ร่วมสวดมนต์ทำวัตรเย็น นั่งสมาธิ เดินจงกรมทุกวัน เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป นำโดยพระธรรมวิทยากรจากจังหวัดนครราชสีมา

วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมกวนข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) (อาหารที่นางสุชาดาจัดปรุงขึ้นและนำถวายพระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง)บริเวณลานหน้าห้างฯเดอะมอลล์โคราช 

วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. ร่วมตักบาตรข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) เนื่องในวันวิสาขบูชา ณ มณฑลพิธี ห้องเอ็มซีซี ฮอลล์ ชั้น 3 โดยสามารถส่งข้าวมธุปายาสให้บุคคลที่คุณรักทั่วประเทศไทย ผ่านบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ภายในงาน

วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.00 น. ณ มณฑลพิธีห้องเอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น 3  ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมปฏิบัติบูชาเนื่องในวันอัฏฐมีบูชา ซึ่งเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ องค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า โดยได้อัญเชิญพระธาตุ 72 พระองค์ จากชมรมรักพระธาตุ ให้สาธุชนได้มีส่วนร่วมทำบุญเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา) ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ร่วมถวายคณะสงฆ์ในพิธี

จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมสร้างทานบารมี ในงาน “วิสาขบูชา พุทธบารมี ปีที่ 14  ตามแนวคิด พุทธบริษัท ศรัทธา ศึกษา สืบสาน ปกป้อง ระหว่างวันที่ 18-30 พฤษภาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 

10.00 น.เป็นต้นไป ณ มณฑลพิธี ห้องเอ็มซีซี ฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเดอะมอลล์โคราช หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook Fanpage: วิสาขบูชา พุทธบารมี

ตารางธรรมบรรยาย (แนบท้าย)

วันที่ 18 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น.  พระราชธรรมนิเทศ พระพยอม กัลยาโณ วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี

วันที่ 19 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น. พระภาวนาพัฒนานุสิฐ วัดคลองตาลอง จ.นครราชสีมา

วันที่ 20 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น. พระครูสังฆรักษ์ ศักดา สุนฺทโร วัดธรรมาภิมุข (วัดไร่ป่า) จ.ตราด

วันที่ 21 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น.  พระเทพสีมาภรณ์ วัดบึง (พระอารามหลวง) จ.นครราชสีมา

วันที่ 22 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น. พระพรหมมงคลวัชโรดม (หลวงปู่โอภาส โอภาโส) วัดจองคำ จ.ลำปาง

วันที่ 23 พฤษภาคม 2567  เวลา 15.00น. พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ) วัดพระบาทน้ำพุ จ.ลพบุรี

วันที่ 24 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น. พระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดป่าศรัทธารวม จ.นครราชสีมา

วันที่ 25 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น. พระปลัดสิทธิโชค สิทฺธิชโย, ดร. ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดมหาธาตุ วรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

วันที่ 25 พฤษภาคม 2567  เวลา 18.00น.  พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร วัดพุทธพรหมปัญโญ จ.เชียงใหม่ 

วันที่ 26 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น.  พระราชปัญญาวชิโรดม วัดเทพเจติยาจารย์ จ.เชียงใหม่

วันที่ 27 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น.  พระครูวิสิฐพรหมจริยคุณ (พระอาจารย์สามดง จนฺทโชโต) วัดอรัญพรหมาราม จ.นครราชสีมา

วันที่ 28 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น. พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล สวนธรรมประสานมุข จ.ชลบุรี

วันที่ 29 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น. หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม จ.นครราชสีมา

วันที่ 30 พฤษภาคม 2567  เวลา 14.00น.  พระราชวชิราลังการ วัดวชิราลงกรณฯ จ.นครราชสีมา 

***************************

โคราชสกัดจับ...ยาบ้าล็อตใหญ่ 5 ล้านเม็ด ก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองหลวง

โคราชสกัดจับ…ยาบ้าล็อตใหญ่ 5 ล้านเม็ดก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองหลวง

          เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 พล.ต.ท.ฐากูร นัทธีศรี ผู้บัญชาการตํารวจภูธรภาค 3 พร้อมด้วย พล.ต.ต.ณรงค์ฤทธิ์ ด่านสุวรรณ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สส.ภ.3 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สส.ภ.จว.นครราชสีมา และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เสิงสาง ร่วมกันแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหา 4 คน พร้อมของกลางยาบ้า 5,200,000 เม็ด ตรวจยึดรถยนต์ 4 คัน มูลค่าการยึดทรัพย์ประมาณ 2,000,000 บาท

      เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนภูธรภาค 3 จับกุมผู้ต้องหากำลังลำเลียงขนยาบ้า จากประเทศเพื่อนบ้าน ข้ามมาฝั่งจังหวัดนครพนม มุ่งหน้าสู่ภาคกลาง ก่อนที่จะสกัดจับได้ บริเวณบ้านโคกโจด ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา สามารถจับผู้ต้องหาได้ 4 ราย พร้อมรถรถยนต์ของกลาง 4 คัน ยาบ้า 5,200,000 เม็ด

ซึ่งเป็นการขยายผลมาจาก กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้อยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งตอนนั้นสามารถยึดของกลางยาบ้าได้ 1.2 ล้านเม็ด

Appropriate Technology Matching Day 2024

กระทรวง อว. หนุน บพท. ร่วมกับเครือข่าย มรภ.และ มทร.ทั่วประเทศ จัดแสดงผลงานเทคโนโลยีพร้อมใช้ เกือบ 2,300 ผลงาน จากภูมิปัญญานักวิจัยไทย ในงาน“Appropriate Technology Matching Day 2024” 4 ภูมิภาค ปูรากฐานสำคัญของการพึ่งพาตัวเองด้านเทคโนโลยี และขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวข้ามกับดักความยากจน ไปสู่ความมั่นคง-มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน 

       กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย น.ส. ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวง อว. มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำเทคโนโลยีพร้อมใช้ จำนวน 2,289 ผลงาน ไปช่วยชุมชน โดยให้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ขับเคลื่อนงานดังกล่าว โดยมีเป้าหมายในระยะถัดไปที่จะเปิดตัว Technology and Innovation Library ซึ่งจะเป็นระบบรวบรวมข้อมูลฝั่งชุมชนกับข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมใช้ รวมทั้งข้อมูลนวัตกรชุมชนให้เกิดการขยายผลไปทั่วประเทศ

     ดร.กิตติ  สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 9-24 พฤษภาคมนี้ บพท.จะร่วมกับเครือข่าย มรภ. 38 แห่งและเครือข่าย มทร. 9 แห่งทั่วประเทศ จัดแสดงผลงานการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพร้อมใช้ ใน 4 ภูมิภาค ภายใต้ชื่องาน “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน” หรือ “Appropriate Technology Matching Day 2024” ครอบคลุมทั้งภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง เพื่อให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนได้รับชมและนำไปต่อยอดขยายผลการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง

       โดยกำหนดจัดขึ้นครั้งแรกที่ภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สำหรับครั้งที่ 2 โซนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นที่โรงแรมดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ มุ่งเน้นการถ่ายทอดและจับคู่นวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยคัดสรรมาจัดแสดงและเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มคนจนฐานราก เกษตรกร กลุ่มอาชีพ และผู้ประกอบในพื้นที่ ได้พบปะกับนักวิจัยของ 2 เครือข่ายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มรภ.ในภาคอีสาน ทั้ง 11 แห่ง ได้แก่  มรภ.มหาสารคาม สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สกลนคร อุบลราชธานี  เลย อุดรธานี ศรีษะเกษ ร้อยเอ็ด และเครือข่าย มทร. 5 แห่ง ได้แก่        วิทยาเขต นครราชสีมา ขอนแก่น สุรินทร์ สกลนคร และร้อยเอ็ด

        ภายในงานมีการแสดงเทคโนโลยีพร้อมใช้ 70 ผลงาน จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยมทร.และมรภ. ซึ่งมีการเชื่อมโยงการใช้งานจริงกับ 13 กลุ่มวิสาหกิจชุมชมและผู้ประกอบการในชุมชน ขณะที่มีผู้เข้าร่วมงานในวันนี้ที่มีส่วนร่วมกันคิดค้นและประมวลองค์ความรู้ให้ตรงกับโจทย์ปัญหาและความต้องการที่เหมาะสมกับภูมิสังคมเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมจำนวนกว่า 400 คน  โดยประเภทของเทคโนโลยีพร้อมใช้ มีด้วยกันหลายประเภท อาทิ นวัตกรรมอาหารสัตว์ชุมชน จากเศษวัสดุการเกษตรที่เป็นฐานทรัพยากรในท้องถิ่น ระบบการนึ่งข้าวฮางประสิทธิภาพสูงด้วยไอน้ำจากเชื้อเพลิงชีวมวลเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกคุณภาพสูง เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเส้นไหมและการเตรียมเส้นไหม เครื่องผลิตเส้นไหมพุ่งแบบครบวงจร ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบอัตโนมัติ ตู้ควบคุมอัตโนมัติสำหรับเกษตรแปลงใหญ่ รวมไปถึงกระบวนการบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่ ที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ฯลฯ ซึ่งจะกระตุ้นและจุดประกายความคิดให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ รวมทั้งเกิดการจับคู่นำเทคโนโลยีพร้อมใช้กว่า 200 คู่นวัตกรรม ที่สามารถนำไปต่อยอด ตอบสนองความต้องการของชุมชน นำมาใช้จัดการปัญหาสำคัญในชุมชน หรือการสร้างโอกาสใหม่ในชุมชนหรือพื้นที่

         “งานเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน นอกเหนือจะมีขึ้นที่ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ยังจะมีขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 21 พฤษภาคม และในพื้นที่ภาคกลาง ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ ในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้” 

          ผู้อำนวยการ บพท.กล่าวว่า งานแสดงเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน จะเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และพึ่งพาตัวเองด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย จากภูมิปัญญาการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาของนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ที่เหมาะสมเป็นเครื่องมือ และมีกลไกกระบวนการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่เป็นพลังขับเคลื่อน เพื่อนำสู่เป้าหมายการพัฒนาคน พัฒนาพื้นที่ ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความอยู่ดีกินดีแก่ประชาชน และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในแต่ละพื้นที่ ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ

งานแถลงข่าวเศรษฐกิจอีสานสัญจร ณ จ.นครราชสีมา ปี 2567

      วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมโคราช 2 โรงแรมเซ็นทารา จังหวัดนครราชสีมา ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท. สภอ.) ได้จัดงานแถลงข่าวเศรษฐกิจภาคอีสาน ประจำไตรมาส 1 ปี 2567 หัวข้อ เหลียวหลัง…แลหน้า…เศรษฐกิจการเงินอีสาน

โดยเป็นการแถลงข่าวสัญจรครั้งแรก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ บทบาทหน้าที่ของ ธปท. ภาคอีสาน ได้แก่

1) จับชีพจรเศรษฐกิจการเงินในพื้นที่ รับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 

2) สร้างองค์ความรู้วิชาการเพื่อตอบโจทย์ในพื้นที่

3) ผลักดันนโยบาย ธปท. ให้กับพื้นที่

4) เป็นตัวกลางความร่วมมือกับทุกภาคส่วน

5) สนับสนุนให้คนอีสานมีความรู้ทางด้านการเงินและเท่าทันภัยการเงิน โครงสร้างเศรษฐกิจภาคอีสาน

 

1) ภาคเกษตรเป็นเส้นเลือดหลักของคนอีสาน มีแรงงานในภาคนี้ถึงร้อยละ 53 ของผู้มีงานทำในภาคอีสาน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีแรงงานเพียงร้อยละ 7

2) ภาคเกษตรส่วนใหญ่พึ่งฟ้าพึ่งฝน และความสามารถในการทำเกษตรลดลง 

3) รายได้ไม่เพียงพอรายจ่ายในภาคครัวเรือน นำไปสู่ปัญหาหนี้ จากโครงสร้างดังกล่าวจึงทำให้เศรษฐกิจภาคอีสานต่างจากประเทศ 

 

         ปี 2566 เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวจากการบริโภคและท่องเที่ยว ขณะที่เศรษฐกิจภาคอีสานหดตัว ตามการบริโภคจากรายได้ที่ลดลงทั้งในและนอกภาคเกษตร หมดมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ และค่าครองชีพยังอยู่ในระดับสูง แม้การท่องเที่ยวฟื้นตัวแต่ช่วยสนับสนุนได้น้อยเพราะมีเพียงไม่เกินร้อยละ 3 ของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจภาคอีสาน โดยภาพรวมเศรษฐกิจ ไตรมาส 1 ปี 2567 อ่อนแรงต่อเนื่องจากปี 2566 จากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐลดลง ค่าครองชีพในสินค้าหมวดอุปโภคบริโภคยังอยู่ในระดับสูง และตลาดแรงงานอ่อนแอลงจากผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรลดลง 

         นอกจากนี้ ยังเห็นสัญญาณเปราะบางต่อเนื่องจากปี 2566 และกำลังซื้อมีความเปราะบางมากขึ้น ในหมวดสินค้าคงทนโดยเฉพาะรถกระบะหดตัวสูง และยอดขายบ้านในระดับกลางและล่างลดลงต่อเนื่อง จากรายได้ที่ลดลง รวมทั้งความระมัดระวังในการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี มีปัจจัยช่วยพยุงการบริโภคได้บ้างจากผลของราคาผลผลิตเกษตรที่ดี และการท่องเที่ยวที่มีผู้เยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2566

         ระยะถัดไป เศรษฐกิจภาคอีสานคาดว่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัว จากงบประมาณภาครัฐปี 2567 ที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งคาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้หลังไตรมาส 2 ทำให้ภาคการค้า การก่อสร้างตามการลงทุนของรัฐเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 รายได้เกษตรกระจายตัวมากขึ้นจากผลดีของภัยแล้งที่คลี่คลายในช่วงหลังของปี 2567 คาดว่าจะส่งผลดีต่อผลผลิตข้าว การผลิตเพื่อการส่งออกในหมวดอาหารแปรรูปและเครื่องแต่งกายมีแนวโน้มฟื้นตัวดี และการท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มใหม่ ๆ เข้ามากระจายหลายจังหวัดเพิ่มมากขึ้น