โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท

การประชุมเชิงวิชาการ  “โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ปี ๒๕๖๕”

วันศุกร์ ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕  เวลา ๐๙:๐๐ – ๑๖:๓๐ น. กำหนดการประชุมเชิงวิชาการ  “โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ปี ๒๕๖๕”ณ ห้องประชุมชั้น ๘ อาคาร ๓๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทปีงบประมาณ 2565ภาตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)เป้าหมาย 200 ตำบล/เมืองโดยสรุปภาพรวมการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชนในปี ๒๕๖๔โดย ผศ.ดร.ทวี

วัชรเกียรติศักดิ์  เป็นประธานเปิดการอบรมพร้อมด้วย นายสมพงษ์  แสงศิริ  ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาชี้แจงวัตถุประสงค์ ที่มา ความสำคัญและเป้าหมายของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดย ตัวแทนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  จำนวน20อำเภอนครราชสีมาที่มาร่วมฟังการนี้

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท เป็นการสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่รูปธรรม “ตำบล/เมือง” ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีแผนพัฒนาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ระยะ 3 ปี 5 ปี แผนพัฒนาที่จะเคลื่อนงานชัดเจน และสอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนงานของจังหวัด แผนพัฒนาเชื่อมโยงทุกประเด็นงานพัฒนาและครอบคลุมทุกมิติ และสามารถบูรณาการแผนงานและงบประมาณ ระบบฐานข้อมูล กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ตาบล/เมืองมีระบบช่วยเหลือทางสังคมในการดูแลสมาชิกในชุมชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสสู่การจัดการและพึ่งพาตนเองที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในด้านต่างๆ

กิจกรรมภายในงานการเสริมพลังกลุ่มคนเปราะบางสู่สังคมชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน โดย นางทัศกมณฑจ์  เกิดผล  นักพัฒนาสังคมชำนาญการสำนักงานพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา แนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างวิสาหกิจให้เข็มแข็ง และสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายโดย นักพัฒนาธุรกิจชุมชน บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีนครราชสีมา (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัดการทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมา     การทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา  ภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาการทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาออกแบบจังหวะก้าวร่วมกัน และสรุปผลการทำ Workshopโดย ตัวแทนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)อีกด้วย

“พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเอง”


วันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๑๕ น.พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเองณ ห้อง Studio ชั้น ๕ (NRRU Library) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาโดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ ประธานดำเนินการโครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและท่านวิทยากร  คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ  และผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่าน

โครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหารการส่งเสริมต่อยอดสร้างสรรค์ ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดำเนินการโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม,พัฒนาการชุมชนจังหวัดนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นองค์กรภาคประชาสังคม ภายใต้การกำกับของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม รักษา สืบสาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด ด้วยศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ของชาติ ให้คงอยู่สืบไป

ในส่วนการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 ได้กำหนดให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในการส่งเสริม รักษา หรือ พัฒนา ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ครอบคลุม เนื้อหาสาระ ของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๗ ด้าน ได้แก่ (๑) วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา (๒) ศิลปะการแสดง (๓) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (๔) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (๕) งานช่างฝีมือดั้งเดิม (๖) การเล่นพื้นบ้าน กีฬา พื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (7) ลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงวัฒนธรรม

โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เห็นความสำคัญของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  ได้จัดทำโครงการ การผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหารโคราชบ้านเอง ขึ้นมา จึงถือว่าเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น จะได้เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารพื้นถิ่น และผ้าพื้นเมือง ของจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย  โดยจัดอบรมผู้ที่สนใจผลิตสื่อสารสนเทศ ก่อนไปจัดทำคลิปวิดีโอการประกวด และจัดให้มีการคัดเลือกผลงานที่มีความเหมาะสม  ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อไป  การอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทั้งความรู้ และวัฒนธรรมด้านผ้าและอาหารของจังหวัดนครราชสีมา

การจัดทำโครงการครั้งนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาร่วมกับ องค์กรภาครัฐและเอกชน อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พัฒนาการชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา จึงถือเป็นการบูรณาการ การทำงานร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชรูปแบบออนไลน์ ให้แก่เยาวชนและประชาชนของจังหวัดนครราชสีมา

2. เพื่อฝืกอบรมผลิตสื่อสารสนทศรูปแบบออนไลน์ โดยการมีส่วนร่วมของเยาวซนและประชาชนให้สามารถผลิตสื่อด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราช อย่างสร้างสรรค์

3. เพื่อพิจารณาคัดเลือกสื่อสารสนทศดีเด่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชที่เยาวชนและประชาชนได้ผลิต เผยแพร่ และมอบรางวัล

การดำเนินกิจกรรมโครงการนี้แบ่ง 2 ลักษณะ

1. การอบรมสร้างเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเองและความรู้การเขียนเนื้อหาประกอบบทวีดีทัศน์ ระยะเวลา 1 วัน

2. จัดทำวีดีทัศน์การประกวดขนาดความยาว 3 5 นาที/เรื่อง เพื่อชิงโล่รางวัลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ต้านผ้าและอาหารโคราชมีโล่และเงินรางวัลชนะเลิศจากท่านอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท

นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ขอขอบคุณท่านวิทยากร    หัวหน้าโครงการ  หน่วยงาน  องค์กร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหลาย และหวังว่าผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประโยชน์จากการอบรมครั้งนี้เป็นอย่างดี แนะนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากคณะวิทยากรผู้ทรงภูมิรู้ในแต่ละด้าน ไปผลิตสื่อดิจิตอล มาเผยแพร่ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโคราช ตามวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อสืบสานมรดกภูมิปัญญาของคนโคราช ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชนทั่วโลกสืบไป




มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดพิธีลงนามความร่วมมือ และการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2563

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดพิธีลงนามความร่วมมือ และการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2563 

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม ดร.เศาวนิตเศาณานนท์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี พร้อมลงนามร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.มังกร โรจน์ประภากร ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) และมีคณะผู้บริหารคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดพิธีลงนามความร่วมมือ และการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2563


มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจะจัดขึ้นในวันที่ 27-28 เมษายน 2563 ณ หอประชุมใหม่ เพื่อเฟ้นหาตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2563 ณ ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี ซึ่งวัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ร่วมมือกัน คือ ส่งเสริมความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างทักษะความเชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้แก่เยาวชน สนับสนุนการใช้ทรัพยากรการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ร่วมกัน เช่น อาคารสถานที่ ห้องประชุม และสถานที่จอดรถ ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ มีระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นต้นไป


โดยจะ จัดขึ้นในวันที่ 27-28 เมษายน 2563ในรอบคัดเลือก ณ หอประชุมใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเพื่อเฟ้นหาตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2563 ณ ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี ซึ่งวัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ร่วมมือกัน คือ ส่งเสริมความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างทักษะความเชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้แก่เยาวชน สนับสนุนการใช้ทรัพยากรการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ร่วมกัน เช่น อาคารสถานที่ ห้องประชุม และสถานที่จอดรถ ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ มีระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามอีกด้วย

เปิดตัว “ สยามแรปเตอร์ สุวัจน์ติ ” ไดโนเสาร์โคราชกินเนื้อสายพันธุ์ใหม่ขนาดใหญ่ของโลก

เปิดตัว “ สยามแรปเตอร์ สุวัจน์ติ ” ไดโนเสาร์โคราชกินเนื้อสายพันธุ์ใหม่ขนาดใหญ่ของโลก
           วันนี้ (22 พ.ย. 2562) สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้จัดงานแถลงข่าว ณ อาคารสิรินธรเพื่อเปิดตัวไดโนเสาร์โคราชกินเนื้อสายพันธุ์ใหม่ขนาดใหญ่ของโลก “สยามแรปเตอร์ สุวัจน์ติ” โดยมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
            นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ โยอิชิ อาซูมา ผู้อำนวยการพิเศษพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์จังหวัดฟูกุอิ ประเทศญี่ปุ่น และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ เข้ารวมแถลงข่าวไดโนเสาร์พันธ์สยามแรปเตอร์ สุวัจน์ติ ค้นพบจากแหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งชื่อสกุลตามชื่อเดิมของประเทศไทย (สยาม) อันหมายรวมถึง “นักล่าแห่งสยาม” และตั้งชื่อชนิดเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและอดีตรองนายกรัฐมนตรี ที่ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานอนุรักษ์และวิจัยฟอสซิลของสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มาถึง 25 ปี สยามแรปเตอร์ มาจากการศึกษา ค้นคว้า จากฟอสซิลรวมทั้งสิ้น 22 ชิ้น ซึ่งประกอบไปด้วย ชิ้นส่วนกะโหลก กระดูกขากรรไกรบน-ล่าง กระดูกคอ กระดูกหลัง กระดูกหาง กระดูกสะโพก กระดูกขาหลัง กรงเล็บ กระดูกนิ้วเท้าฟอสซิลดังกล่าวคาดว่ามาจาก สยามแรปเตอร์ไม่ต่ำกว่า 4 ตัว สยามแรปเตอร์ จัดเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อสกุลใหม่และชนิดใหม่ที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเท่าที่มีการศึกษามา โดยมีขนาดยาวไม่ต่ำกว่า 8 เมตร ทั้งนี้คำนวณจากชิ้นส่วนกระดูกขากรรไกรล่างที่ค่อนข้างสมบูรณ์จัดอยู่ในสายวิวัฒนาการของพวกอัลโลซอรอยเดีย ในไดโนเสาร์จำพวกคาร์คาโรดอนโตซอเรียนความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมสยามแรปเตอร์ จัดอยู่ในจำพวกไดโนเสาร์กินเนื้อฟันฉลามที่มีความเก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้นพบนี้ถือเป็นหลักฐานว่าไดโนเสาร์กินเนื้อฟันฉลามนี้ ได้มีการกระจายตัวในทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรปตั้งแต่ยุคครีเทเชียสตอนต้น หรือเมื่อประมาณ 115 ล้านปีก่อน
ขอบคุณที่มา : สวท.นม