ธนาคารที่ดิน โชว์โมเดลบริหารช่วย เกษตรกรชาวโคราช

บจธ. ชูโมเดลบริหารจัดการที่ดินโคราช ผลักดันกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินอย่างยั่งยืน เกษตรกรโคราชขอบคุณลุงป้อม หลังสั่ง บจธ. ดูแลช่วยเหลือสมาชิกเกษตรกรทุกพื้นที่ พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนกฎหมายการจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อให้แก้ปัญหาที่ดินอย่างยั่งยืน

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2564 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. ได้จัดการแถลงข่าว ณ โรงแรม The Imperial Hotel & Convention Centre Korat ถ. สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนเพื่อยืนยันถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานที่ถาวรภายใต้ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. …. ซึ่งคาดว่าจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือนมกราคม 2565  เป็นที่มาของจัดงาน  “บจธ. มอบที่ดินทำกิน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ในวันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 โดยมี พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยพิธีมอบสิทธิในที่ดินตามโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ของ บจธ. จัดขึ้น ณ วิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เพื่อแสดงให้เห็นความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาที่ดินและการบริหารจัดการที่ดินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่เป็นรูปธรรม โดยมีเกษตรกรทั้งที่ได้รับสิทธิในที่ดินแล้ว และที่อยู่ระหว่างขอความช่วยเหลือเข้าร่วมงานประมาณ 300 คน

นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนายการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน เปิดเผยว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บจธ. ได้มุ่งมั่น ลดความเหลื่อมล้ำเรื่องที่ดินทำกิน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางให้เกษตรกรในการทำการเกษตร ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และพัฒนาศักยภาพให้เกษตรกร บจธ. มีภารกิจที่สำคัญในการจัดหาและพัฒนาที่ดิน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพี่น้องเกษตรกรและชุมชน ให้พึ่งพาตัวเองได้”  “ปัจจุบัน บจธ. ได้ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ไปแล้ว 11 พื้นที่ และสหกรณ์การเกษตร 1 พื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 5 ภาค ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ เนื้อที่รวม 1,234 –2-17.7 ไร่ จำนวน 482 ครัวเรือน และยังมีโครวการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินไปแล้ว 387 ราย โครงการนำร่องธนาคารที่ดินในพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน เนื้อที่ 741-3-91.5 ไร่ จำนวนเกษตรกร 500 ครัวเรือน โดยทุกชุมชนมีผลการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นที่น่าชื่นชมมาก เกษตรกรทุกพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลังจากได้ติดตามรับฟังเสียงพี่น้องและบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทุกคนต้องการให้ บจธ. แก้ปัญหาให้ทั่วประเทศ และพร้อมสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฯ ให้จัดตั้งหน่วยงาน เพื่อให้แก้ปัญหาการเข้าถึงที่ดินได้ที่รวดเร็วและต่อเนื่อง” นายกุลพัชรกล่าว

 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีวัตถุประสงค์ในการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและยั่งยืน และมีการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสม โดย บจธ. ดำเนินงานผ่าน 4 โครงการหลัก กล่าวคือ โครงการนำร่องธนาคารที่ดิน โครงการต้นแบบการบริหารจัดการที่ดินแบบครบวงจร โครงการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน และโครงการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาด้านที่ดินจากการดำเนินนโยบายของรัฐ อันเป็นกลไกของรัฐในการบริหารจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและผู้ยากจน

ลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องที่ดินทำกินของประเทศ ตลอดจนให้เกษตรกรมีความมั่นคงในการมีที่ดินทำกิน ป้องกันและแก้ไขปัญหาสูญเสียสิทธิในดินทำกินของเกษตรกร รักษาที่ดินเกษตรกรรม และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มศักยภาพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และอีกหนึ่งภารกิจสำคัญคือการผลักดันการจัดตั้งธนาคารที่ดินหรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ลักษณะทำนองเดียวกันกับธนาคารที่ดิน ตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ.2554  และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา 43 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 และแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมให้กระทรวงการคลังและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งธนาคารที่ดินหรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารที่ดินต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ซึ่ง บจธ. ได้ยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. …. ขึ้น เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงภารกิจของ บจธ. ทั้ง 4 โครงการหลักดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมาจากการปฏิบัติงานจริงของ บจธ. ซึ่งได้ถูกขัดเกลาด้วยการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม โดยมีการปรับรูปแบบและอำนาจหน้าที่ให้มีความเหมาะสมและสะท้อนถึงการแก้ไขปัญหาโดยยึดมิติทางสังคมเป็นหลักไม่ใช่มิติด้านการเงินการธนาคารอย่างที่ผ่านมา

ในการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. …. บจธ. ได้ดำเนินการโดยนำข้อมูลการปฏิบัติงานในโครงการต่างๆ มาวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลเพื่อยกร่างกฎหมายที่มีความเหมาะสมกับภารกิจในการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนตามบริบทของประเทศไทย และในขณะยกร่างคณะอนุกรรมการที่ดำเนินการได้ลงพื้นที่การปฏิบัติการจริงของ บจธ. ที่จังหวัดเชียงรายเพื่อเก็บข้อมูลประกอบการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย โดยในขณะนี้ขั้นตอนการเสนอ

ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจอยู่ในระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน มกราคม 2565  ซึ่ง บจธ. ในฐานะที่มีหน้าที่ต้องผลักดันร่างกฎหมายเพื่อให้เกิดการจัดตั้งธนาคารที่ดินหรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกันกับธนาคารที่ดิน จึงได้จัดเวทีเสวนา  “ย้อนเรื่องราวความหลัง ความฝัน และความจริง สู่ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. ….  ”ณ วิสาหกิจชุมชนไร่นาส่วนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา  ในวันที่ 26 ธันวาคม 2564 ระหว่างเวลา 15.00 น.- 16.30 น. เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่เกษตรกร   สื่อมวลชน บุคคลทั่วไป หน่วยงานในพื้นที่ และ บจธ. ได้ชวนคิดชวนคุยถึงร่างกฎหมายจากโมเดลสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่พิมาย จากนั้นร่วมชมวีดิทัศน์ เกี่ยวกับนโยบายและบทบาทภารกิจของธนาคารที่ดินหรือองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในลักษณะทํานองเดียวกันกับธนาคารที่ดิน และ บจธ. เพื่อสร้างความรับรู้ และสร้างภาคีความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน สื่อมวลชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้การดำเนินการในการพิจารณาร่างกฎหมายสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

โดยหนึ่งในโครงการที่ บจธ. ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการที่ดินที่สอดคล้องกับร่างกฎหมายดังกล่าว คือ โครงการต้นแบบการบริหารจัดการที่ดินแบบครบวงจร ที่เกษตรกรรวมกลุ่มกันยื่นขอความช่วยเหลือ จากนั้น บจธ.จึงเริ่มต้นสำรวจข้อมูลที่ดิน ข้อมูลเกษตรกรผู้เดือดร้อนไม่มีที่ดินทำกิน ก่อนที่จะหาฉันทมติจากสมาชิกและเข้าไปซื้อที่ดินแปลงใหญ่  นำมาจัดสรรให้เกษตรกรและผู้ยากจนที่ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำเร็จเป็นรูปธรรมแล้ว คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีเกษตรกรและผู้ยากจนที่ได้รับความช่วยเหลือจำนวน 45 ครัวเรือน สมาชิกบางส่วนเป็นผู้ไร้ที่ดินทำกิน บางส่วนถูกเจ้าของที่ดินบอกเลิกเช่า และบางส่วนได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายภาครัฐในการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ เส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย และกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการทวงคืนผืนป่า สมาชิกจึงได้มีการรวมกลุ่มกันและยื่นหนังสือขอรับความช่วยเหลือจาก บจธ. ต่อมา บจธ. ได้มีการจัดซื้อที่ดินโดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของ บจธ. เนื้อที่ 150-0-17 ไร่ และได้มีการทำสัญญาเช่ากับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้กลุ่มเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งการวางแผนการดำเนินงาน การบริหารจัดการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม จนยกระดับเป็นโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเช่าซื้อตามหลักเกณฑ์ของ บจธ. ต่อไป ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ได้มีการจัดสรรแบ่งแปลงให้เกษตรกรเข้าไปใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ มีการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี สมาชิกมีความเข้มแข็ง ให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้เต็มศักยภาพ พื้นที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินงาน และมีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่จนเกิดผลผลิตและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้ ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบ หรือตัวอย่างความสำเร็จ (Best Practice) ของการดำเนินงานของ บจธ.

และช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2564 พล.ต.อ. เฉลิมเกียรติ  ศรีวรขาน ประธานกรรมการ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บจธ. ได้ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ไปแล้ว 11 พื้นที่ และสหกรณ์การเกษตร 1 พื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 5 ภาค ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ เนื้อที่รวม 1,234 – 2 -17.7 ไร่ จำนวน 482 ครัวเรือน และยังมีโครวการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินไปแล้ว 387 ราย โครงการนำร่องธนาคารที่ดินในพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน เนื้อที่ 741-3-91.5 ไร่ จำนวนเกษตรกร 500 ครัวเรือน ภายใต้การกำกับดูแลของ พลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่มีความห่วงใยเกษตรกรและผู้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินทั่วประเทศ โดยได้สั่งการให้ บจธ. ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และจัดหาตลาดนัดชุมชนให้แก่ทุกวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการของ บจธ. โดยปัจจุบันทุกชุมชนมีผลการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นที่น่าชื่นชมมาก เกษตรกรทุกพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลังจากได้ติดตามรับฟังเสียงพี่น้องและบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทุกคนต้องการให้ บจธ. แก้ปัญหาให้ทั่วประเทศ และพร้อมสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบัน บริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. ….

ให้จัดตั้งหน่วยงาน เพื่อให้แก้ปัญหาการเข้าถึงที่ดินได้ที่รวดเร็วและต่อเนื่องยิ่งขึ้น

นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนายการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน  เปิดเผยว่า ปัจจุบัน หลังจากที่ บจธ. ได้สนับสนุนที่ดินทำกินให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์การเกษตร อบรมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการทุกคน เพื่อให้กลุ่มมีระบบบริหารจัดการกลุ่มที่เข้มแข็ง โดยดำเนินการจัดหาที่ดินด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามที่กลุ่มร้องขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดจำหน่าย และประสานการจัดตลาดนัดชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพียงพอในช่วงการระบาดโควิท-19 ผ่านระยะเวลามาเพียง 1 ปี มีผลตอบรับที่ดี ทั้ง ทุกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการของ บจธ. สามารถสร้างรายได้รายครัวเรือนจากผลผลิตที่ปลูกในชุมชนได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 6,000-10,000 บาท/ครัวเรือน กลุ่มสามารถผ่อนชำระค่าเช่าของ บจธ. ได้อย่างสบาย ส่งผลให้ให้สมาชิกในชุมชนสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในช่วงของภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ โดยในวันนี้ บจธ. ได้จัดกิจกรรมเวทีเสวนา ย้อนเรื่องราวความหลังความฝันและความจริงสู่ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครอ

เกษตรจังหวัดนครราชสีมา ปั้นเยาวชน คนโคราช เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้อยู่ในวัยแรงงานเละผู้ประกอบการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

เกษตรจังหวัดนครราชสีมา ปั้นเยาวชน คนโคราช เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้อยู่ในวัยแรงงานเละผู้ประกอบการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่4กันยายน2562 ณ ชั้น 4 เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา งานแถลงข่าวการจัดนิทรรศการผลการดำเนินงานยุวเกษตรจังหวัดนครราชสีมา ปี 2562 Theme ของการจัดงาน “ฉันภูมิใจที่เป็นยุวเกษตรกร”
ภายได้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและอุคลาพกรมปลอดภัย Food Valley กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้อยู่ในวัยแรงงานเละผู้ประกอบการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(การขัดนิทรรศการผลการดำเนินงานยุวเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา)ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซานครราชสีมา


โดยนายกังสดาล สวัสดิ์ชัยเกษตรจังหวัดนครราชสีมาและข้าราชการเกษตรจังหวัดนครราชสีมาและต่างอำเภอ ร่วมถึง ยุวเกษตรจำนวน3คนและสื่อมวลชนประชาชนทั่วไปร่วมแถลงข่าว
ปี 2562 จังหวัดนครราชสีมา ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเสริมสร้างเละพัฒนากลุ่ม ยุวเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อสร้างทัศนคติที่ดี และปลูกฝังค่านิยมการทำงานเกษตรกรให้กับเด็ก และเยาวชนผ่านกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกร ทั้งนี้การจัดแสดงนิทรรศการ และผลการดำเนินงานยุว เกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา จะเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร และที่ปรึกษากลุ่มยุว เกษตรกรได้เลกเปลี่ยนเรียนรู้การคำนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรกลุ่มอื่นๆ โดยการรับความรู้ทั้งทางภาค วิชาการ และภาคปฏิบัติการแลกเปลี่ยนความกิดเห็นการเรียนรู้จากกลุ่มยุวเกษตรกร ที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำแนวคิดไปพัฒนาเละสร้างแรงจูงใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเป็นการสร้งเครือข่ายให้ยุวเกษตรกร และที่ปรึกษายุวเกษตรกรเกิดความร่วมมือ และสร้างความเข้มเข็งในการขับเคลื่อนการพัฒนางานยุวเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพตลอดจนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมระเบียบวินัยอันเป็นพื้นฐานของการ
อยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเป็นการเศรียมความพร้อมให้กับบุคลากรในภาคการเกษตรในอนาคตจึงเป็นการสมควรที่จะจัดงานแสดงนิทรรศการ และผลการคำเนินงานยุวเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2562


ในครั้งนี้โดยกำหนดการ Theme ของการจัดงานว่า “ภูมิใจที่เป็นยุวเกษตรกร”วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มยุวเกษตรกรสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นจิตสำนึก
ต่อมาเกษตรจังหวัดนครราชสีมากล่าวในการแถลงข่าวว่า การส่งเสริมยุวเกษตรไทยได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2595 โดยผู้เชียวชาญองค์การอาหาร และเกษตรเเห่งสหประชาชาติ ( Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO) ได้เสนอโครงการให้มีการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติสำหรับเกษตรกรผู้เป็นหัวหน้าดรอบครัวและเกษตรกรวัยรุ่น ต่อมาในปี 2496ได้มีการดำเนินโครงการทดลองส่งเสริมการปลูกพืชทำสวนครัว และเลี้ยงสัตว์แก่เยาวชนที่โรงเรียนพรหมา
นุเคราะห์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นครั้งแรก และมีการจัดตั้ง 4HCb ขึ้นในประเทศไทย โคยนำรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงมีการมอบหมายให้กระทรวงเกษตรในขณะนั้น เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการส่งเสริมและจัดตั้งหน่วยยุวกสิกร ต่อมาในปี 2 ได้มีการจัดตั้งกรมส่งเสริมการเกษตร ขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้โอนงานส่งเสริมหน่วยยุวกสิกรมาเป็นภารกิของกรมส่งเสริมการเกษตร จากนั้นในปี 2518 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “กลุ่มยุวเกษตรกร”เผื่อให้สอดคล้องกับงานของกรมส่งเสริมการเกษตรปัจจุบันการดำเนินงานส่งเสริม และพัฒนายุวเกษตรกรมาเป็นเวลากว่า67 ปี โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมาเป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาค สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการส่งเสริมการรวมตัวกันของเด็ก และเยาวชนที่มีอายุ 10 – 25ปีมีความสนใจด้านการเกษตรชัดตั้งเป็นกลุ่มยุวเกษตรกรเพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะอาชีพการเกษตรทักษะการดำเนินชีวิตในสังคมโดยเน้นวิธีการเรียนรู้จาก
ประสบการณ์และการปฏิบัติงานจริง ( Learning by doing ) ให้ยุวเกษตรกรมีความสามารถแล้ว กวามพร้อมในการสืบทอดอาชีพการเกษตร


วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มยุวเกษตรกรสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นจิตสำนึกรักการเกษตรด้วยกลุ่มยุวเกษตรกรต้นแบบสร้างความภูมิใจในกรเป็นยุวเกษตรกรและเชื่อมโยงเครือข่าย
สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรและที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนางานยุวเกษตรกรและเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายค้นการพัฒนางานเยาวชนในภาคการเกษตรเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานดีเด่นของกลุ่มยุวเกษตรกรตันแบบและนำเสนอผลการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนายุวเกษตรกรของจังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งสิ้น 240 คนกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย บรรยายพิเศษความภาคภูมิใจที่ได้เป็นยุวเกษตรกรของยุวเกษตรกรรุ่นพี่ การจัดประกวดแข่งขันโครงงานผลงานเด่น/นวัตกรรมการเกษตร การแข่งขันการแยกเมล็ดพันธุ์พืช การจัดเสดงผลงานเรียงเมล็ดพันธุ์พืชเป็นรูปภาพ กิจกรรม walk rally ภายในเซ็นทรัลพลาซานครราชสีมาเพื่อเข้ฐานเรียนรู้ตงๆ ได้แก่ ฐานเรียนรู้เศรษฐกิพอเพียง ฐานเรียนรู้ค้นปรับปรุงบำรุงดินการทำหมักน้ำหมักชีวภาพ ฐานเรียนรู้ค้นการปรุงดินและกรอกวัสดุปลูกใส่ถุง ฐานเรียนรู้ด้นการขยายพันธุ์พืช ฐานเรียนรู้ค้านแหล่งอาหารโปรตีน และการจัดการผลผลิตสู่ตลาด ณ TOPร ชั้นใต้ดิน
ฐานเรียนรู้ด้านเคหกิจเกษตรและการแปรรูปอาหาร กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมการแสคงรอบกองไฟ วันที่ 9-11 กันยายน 2562 ณ เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา

ภาพบรรยากาศการแถลงข่าว