#ชน3คันรวด #แหกระจาย (วันที่ 30 สิงหาคม 2564)

เวลา 06.30 น.เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนกับรถยนต์กระบะและรถเก๋ง ที่หน้าปั้มน้ำมัน ปตท.บ้านโคกคอนอินทร์
ตำบลมะเริง อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา
ที่เกิดเหตุมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นชาย 2 ราย ทั้ง 2 รายมีแผลถลอกตามร่างกาย รู้สึกตัวดี
กู้ภัยฮุก31 นำผู้ได้รับบาดเจ็บรายที่1 คนขับรถ จยย.ฮอนด้าเวฟ100สีดำ-เทา กลน 404 จันทบุรี ทำให้แหที่เก็บไว้ใต้เบาะกระจายออกมา ส่งโรงพยาบาลมหาราช และรายที่2 คนขับรถยนต์กระบะมาสด้า สีขาว 8977 นครราชสีมาส่งโรงพยาบาลป.แพทย์ 2
ผู้ได้รับบาดเจ็บรายที่1ชื่อนายลิขิต เข็มสุวรรณ์ อายุ 44 ปีที่อยู่ 13/1 หมู่ 2 ตำบลมะเริง
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ผู้ได้รับบาดเจ็บรายที่2ชื่อนายวทัญญู รัตนา อายุ 29 ปี ที่อยู่ 679 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ส่วนรถคันที่3 โตโยต้า โคโรล่า อัลติส สีขาว 6ภค916 กรุงเทพมหานคร ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด

Cr.แจ้งข่าวสารโคราชบ้านเอง

หลวง​ปู่​ไม​ อินฺทสิริ​ ละสังขาร​แล้วด้วย​อาการ​สงบ​ ณ​ โรง​พ​ยา​บ​า​ลรามาธิบดี​ กรุงเทพ​มหานคร

หลวง​ปู่​ไม​ อินฺทสิริ​ ละสังขาร​แล้วด้วย​อาการ​สงบ​ ณ​ โรง​พ​ยา​บ​า​ลรามาธิบดี​ กรุงเทพ​มหานคร​ เมื่อเวลา​ ๐๑.๑๒​ น.​ ตรงกับวัน​ศุกร์​ที่​ ๒๗ สิงหาคม​ ๒๕๖๔​ สิริอายุ​ ๗๓​ ปี​ ๗​ เดือน​ ๒ วัน​ ๕๔​ พรรษา​

ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ไม_อินฺทสิริ

วัดป่าเขาภูหลวง ต.ระเริง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา​

ชีวิตครอบครัววัยเด็ก

หลวง​ปู่​ไม​ อินทสิริ​ ถือกำเนิดเมื่อวันอาทิตย์​ที่​ ๒๕​ มกราคม​ ๒๔๙๑​ ตรงกับวันพระขึ้น​ ๑๕​ ค่ำ​ เดือน​ ๒​ ปีชวด​ เกิดในสกุล​ “จันทร์​เหล็ก” บิดาชื่อ​ “นายด้วง” มารดาชื่อ​”นางจันทร์ศรี” เกิด​บ้านเลขที่​ ๒๐​ หมู่​ ๗​ ตำบลคอนสาย​ อำเภอกู่แก้ว​ จังหวัด​อุดรธานี

ท่านเป็นคนที่มีนิสัย รักพ่อรักแม่ รักญาติพี่น้อง เคารพนับถือญาติทุกคน ดี ไม่ดี ก็เคารพ ไม่เคยแสดงอารมณ์ออกมา ถึงแม้บางครั้งจะน้อยใจอยู่บ้าง ท่านอยากบวชตั้งแต่เรียนอยู่ประถมปีที่ ๔ ขอพ่อ พ่อก็ไม่ให้ พ่อขอให้ช่วยงานบ้าน ช่วยแม่เลี้ยงน้อง เพราะน้องยังเล็ก ต้องอาศัยท่านช่วยงานบ้าน ตักน้ำ ตำข้าว ท่านมีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน ชาย ๖ คน หญิง ๑ คน คุณพ่อขอให้น้อง ๆ โตก่อนค่อยบวช

ตอนอายุประมาณ ๑๐ – ๑๑ ปี ไปอยู่หนองบัวลำภู เช้าท่านจะนำควายไปเลี้ยงตามทุ่งนา ท่านชอบนั่งอยู่ใต้ร่มไม้ ” ใต้ต้นค้อ” ท่านชอบนั่งหลับตาเป็นนิสัย แต่ไม่ได้ภาวนา ท่านมักจะเห็นสวรรค์เป็นหอปราสาท และเห็นสักกเทวราช (พระอินทร์) ใส่โจงกระเบน เหาะลงมาสอนท่านสวดมนต์คาถา จนท่านท่องจำได้ จนอายุ ๑๖ – ๑๗ ปี ก็ยังเห็นท่านอยู่ ท่านจะสอนธรรมะ คาถาป้องกันตัว อยู่ยงคงกระพัน คาถาเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาท่านสักกเทวราชจะกลับ ท่านจะสั่งว่า เวลามีเรื่องอะไร ให้นึกถึงพ่อ ท่านเรียกตัวเองว่า พ่อ ท่านจะลงมาช่วย พระอาจารย์ท่านไม่เคยเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟังนอกจากคุณพ่อ คุณพ่อท่านให้เขียนคาถาเอาไปท่อง เพราะเหตุนี้ เวลามีคนเจ็บไข้ได้ป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ มาหาพระอาจารย์ไม ท่านเป่าให้ บอกหาย คนนั้นก็หาย

อายุ ๑๒ – ๑๓ ปี ท่านทำงานบ้านทุกอย่าง ช่วยแม่ตำข้าว ตักน้ำ ทำอาหาร และรับจ้างทุกอย่าง จนเก็บเงินซื้อควายได้ ๒ ตัว ตอนอายุ ๑๓ ปี ( เปรียบเทียบกับคนอายุ ๖๐ บางคนยังซื้อควายไม่ได้เลย ) ท่านเป็นคนที่ไม่กระตือรือร้นในการแต่งตัว ใส่เสื้อผ้าแบบไหนก็ได้ ไม่ชอบเที่ยว ดูหนัง ร้องรำทำเพลง แต่รำกลอนเป็นเพราะพ่อสอนให้ พ่อเคยเป็นหมอลำเรียกโจทย์แจ้ ตอบปัญหาทางด้านประวัติศาสตร์ ธรรมะ ภาษาไทย บาลี มคธ พ่อสอนเก่งมาก พ่อสอนให้รำ เพราะว่าเป็นประวัติศาสตร์คำสอนในทางศาสนา

อายุ ๑๔ ปี คุณพ่อเสีย ก่อนเสียพ่อป่วยอยู่เป็นปี วันนั้นเฝ้าพ่ออยู่คนเดียวประมาณบ่าย ๓ โมง พ่อสั่งว่าอีก ๓ วันพ่อจะตายให้เลี้ยงน้องให้โตก่อน แล้วบวชให้พ่อด้วย มีคำหนึ่งที่พ่อสั่งไว้ว่า ถ้าพ่อตายแล้วแม่คิดจะมีสามีใหม่ อย่าไปห้ามแม่นะ แต่อย่าให้สามีใหม่มารังแกน้อง อยู่มาอีกปีเศษ มีคนมาชอบแม่ ขอแต่งงาน แม่ถามว่าจะให้แม่แต่งงานหรือไม่ ก็ถามแม่ว่าจะแต่งทำไม แม่ว่าจะได้มาเลี้ยงน้อง ดูแลงานบ้าน พ่อเลี้ยงเป็นนักเลง เล่นการพนัน ชอบขโมยของมาเล่นการพนัน อยู่มาวันหนึ่ง น้องชายคนติดกัน กลับมาจากโรงเรียน แม่บอกให้ไปไล่ควายจากทุ่งนากลับเข้าบ้าน แต่น้องชายไม่รีบไป แม่ก็บ่น พ่อเลี้ยงเสริมว่า ไม่เชื่อฟัง พ่อแม่ จะฆ่ามันตาย จับไม้ค้อนขว้างถูกใส่ส้นเท้าเป็นแผล น้องชายร้องไห้ ตอนนั้นพระอาจารย์ไมอายุ ๑๕ ปี เห็นพ่อเลี้ยงทำอย่างนั้นเสียใจมาก กลางคืนท่านฝนมีดยาว ๑๕ เซนติเมตร อยู่ ๓ วัน ๓ คืน คิดจะฆ่าพ่อเลี้ยง จะแทงตอนเขานอน แต่ก็คิดอีกว่า ฆ่าเขาแล้ว จะหนีอย่างไร เพราะตอนนั้นย้ายบ้านไปอยู่หนองบัวลำภู บ้านไกลจากบ้านเก่าที่ จ.อุดร ก็กลัวจะมีโทษ กลัวโดนจับ กลัวไม่ได้ดูน้อง ผ่านไป ๒ – ๓ วัน จนยับยั้งสติอารมณ์ไว้ได้ เป็นจิตที่รักน้องมากที่สุด ไม่อยากให้ใครมารังแก

ต่อมา ญาติพี่น้องทางบ้านเก่าที่อุดรพากันไปรับมาที่บ้านเกิด บ้านเก่า ซื้อไร่ ซื้อนาใหม่ พ่อเลี้ยงก็ตามมาอีก ก็ยังเล่นการพนันเหมือนเดิม ช่วงนั้นเดือนมีนาคม ชาวอีสานแต่ละบ้านจะจัดงาน มีงาบุญ มีเทศน์ผะเหวต กลางคืนมีมหรสพ หมอลำ ตอนเช้าตื่นสาย แม่ปลุกว่าไม่ไปไร่หรือ เพราะปกติต้องไปขุดไร่ ไถไร่ พวกเราตื่นสายประมาณโมงเศษ ๆ พอแม่บ่น พ่อเลี้ยงก็บ่น ทั้ง ๆ ที่พ่อเลี้ยงไม่เคยช่วยงานอะไรเลย พี่ชายคนที่ติดกัน ดึงปืน พระอาจารย์ก็ชักมีด พี่ชายคนโตก็มาห้าม พ่อเลี้ยงก็หนีไปตั้งแต่บัดนั้น ไม่กลับมาอีก ชีวิตคนมีพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยงก็แบบนี้แหละ

อายุ ๑๗ ปี ไปช่วยงานญาติพี่น้อง ลุง น้า บ้าง ปลูกอ้อย ข้าวโพด ถั่วลิสง ปลูกผักขาย ส่วนมากเป็นน้าของแม่ ซึ่งท่านเรียกพ่อใหญ่ เพราะเขามีลูกเล็กช่วยงานยังไม่ได้

สู่ร่มกาสาวพัสตร์

อยู่มาอายุ ๑๘ ย่าง ๑๙ ปี ลุงอยากให้มาบวช เพราะที่วัดไม่มีพระเณรมาบวช อีกอย่างเห็นสาวๆ มาคุยเล่นด้วย แต่พระอาจารย์มีจิตใจไม่คิดจะมีลูกเมีย ท่านชอบพูดเล่นกับผู้หญิงสาวๆ ไม่คิดจะแต่งงาน แต่นิสัยจะรังเกียจผู้หญิงที่มาพูดให้ทางผู้ชาย แต่มีความคิดในใจว่า จะแต่งงานกับผู้หญิง ที่มีความรักจริงซื่อสัตย์ บริสุทธิ์ แต่ถ้าไม่ซื่อสัตย์สุจริต บริสุทธิ์ต่อเรา เราจะไม่ยุ่งเด็ดขาด ผู้หญิงที่จะมาแต่งงานกับพระอาจารย์ ถ้าไม่ได้แต่งงานถูกต้องตามกฎหมาย จะไม่แตะต้องผู้หญิงคนนั้น ท่านมีความคิดเช่นนี้ ก็เลยมีความมั่นใจตนเองว่า จะไม่ล่วงเกินผู้หญิงคนใดทั้งสิ้น

แต่ลุงไม่เชื่อว่า จะมีคนคิดแบบพระอาจารย์ ลุงขอร้องให้บวช กลัวจะมีเมียก่อน ลุงเคี่ยวเข็ญทุกวัน สุดท้ายจึงตกลงใจบวช ตกลงไปเข้านาค ก่อนเข้านาคสัญญากับลุงว่า ถ้าหลานไปบวชออกพรรษาเมื่อไร ก็สึกเมื่อนั้น อย่าห้าม ก็เลยไปเข้านาค ๑ เดือน บรรพชาเป็นสามเณรไม เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๙ ที่วัดศิริวัฒนา จ.อุดรธานี บวชเป็นเณรอยู่ ๒ พรรษา ( ๑ ปี ๘ เดือน ๑๙ วัน)

ระยะเวลาเป็นเณร อยู่อุปัฎฐากครูบาอาจารย์ อาหารไม่ค่อยมี ไปตัดยอดหวาย หน่อไม้ ตอนเช้าไปทำอาหาร เช่น แกงขี้เหล็ก เลี้ยงถวายครูบาอาจารย์ ถ้าพระ เณรไม่มา พระอาจารย์ตอนเป็นเณร กิจวัตรประจำวัน ตักน้ำจากบ่อเป็นน้ำสรงครูบาอาจารย์ ทุ่มหนึ่งทำวัตรเย็น ๒ ทุ่ม เดินจงกรม ๒ ทุ่มครึ่งนั่งสมาธิ ท่านมีความตั้งใจปฎิบัติ เข้มงวดกวดขัน

สัจจธรรม

ท่านพระอาจารย์ปฎิบัติธรรมได้ตั้งแต่เป็นเณร อายุ ๑๘ ปี จิตของท่านจะน้อมถึงอดีต ท่านคิดว่าระยะเวลาที่ผ่านมาเสียเวลาไปมาก สร้างบาปมาเยอะตั้ง ๑๘ ปี กลัวจะกลับไปเป็น ฆราวาสทำบาปอีก ท่านเคยตั้งสัจจะไว้หลายภพ หลายชาติ เริ่มตั้งสัจจะตั้งแต่เป็นหนุ่ม คนธรรมดาจะคิดเรื่องมีครอบครัวว่าถ้าบวชสึกออกมาอายุ ๒๐ ปี จะต้องมีครอบครัว หาเงินหาทองไว้ก่อนเพื่อให้มีอยู่มีกิน จะแต่งงานกับผู้หญิงมีความบริสุทธิ์ ถ้าผู้หญิงไม่บริสุทธิ์ จะไม่แตะต้องคนนั้นเลย แต่ถ้าผู้หญิงคนนั้นบริสุทธิ์ เรายังไม่ได้ขอแต่งงานก่อน เราจะไม่ถูกเนื้อต้องตัวเลย คิดอยู่เช่นนี้ ปีหนึ่งผ่านไป ผู้หญิงก็หนีไปแต่งงานหมด ไม่มีคนบริสุทธิ์เลย ท่านเลยผ่านพ้นมาได้ ไม่หลงในภพในชาติมากเหมือนคนอื่น

ตอนที่ปฏิบัติใหม่ ๆ เราเพิ่งจะฝึกปฏิบัติธรรม ตอนเดินจงกรมไม่เท่าไหร่​ แต่พอไปนั่งสมาธิ มันเห็นทุกข์ เห็นทุกข์ทันทีเลย พอนั่งไป ๒๐-๓๐ นาที นี่มันรู้เลย ทุกข์มันเกิดขึ้น เหน็บมันไม่รู้มาจากที่ไหน พอเรานั่งไปถึง ๒๐-๓๐ นาที มันจะขึ้นเลย ขึ้นที่เท้าเราเสียก่อน แล้วขึ้นมาตามขา จนขึ้นตามสันหลัง ขึ้นไปบนศีรษะ​ ทำให้จิตใจท้อแท้ไปหลายครั้งหลายหน

นี่สู้ด้วยตนเองมา ตอนบวชเข้ามาใหม่​ๆ ยังไม่รู้เดียงสาอะไร การศึกษาก็ยังไม่มี เพราะว่าเราเพิ่งบวชใหม่ โอกาสที่จะได้ไปศึกษาธรรมะก็ยังไม่มี แต่วันไหนว่างๆ ก็พอได้อ่านประวัติพระพุทธเจ้า อ่านหนังสือพุทธประวัติเล่มหนึ่ง แต่ทำอย่างอื่นนั้นยังไม่รู้ แต่ครูบาอาจารย์สอนให้เรานั่งสมาธิ นั่งสมาธินั่งแบบไหน เดินจงกรมเดินแบบไหน ท่านบอกเรา เวลาเดินก็กำหนดเอาต้นไม้ที่ห่างจากกัน ๒๐-๓๐ เมตร แล้วเดินจากต้นไม้ต้นนั้น ไปต้นไม้ต้นนั้น มีจุดหมายปลายทางเดินแล้วก็มานั่ง ตอนนั่งมันจะเป็นทุกข์ได้ง่ายกว่าเดิน

เพราะอิริยาบถนั่งจะเป็นการนั่งอยู่ท่าเดียว ถ้าเรายังไม่เกิดความเคยชิน เราจะนั่งไม่ได้นาน อันนี้เป็นครั้งแรกที่เราเริ่มปฏิบัติธรรม มองทางสุขไม่มีเลย มีแต่ทุกข์อย่างเดียว การปฏิบัติธรรมอันดับแรกมองเห็นแต่ทุกข์อย่างเดียว ไม่มีสุขเพราะมันเจ็บปวด มันทรมาน ทั้งที่เราอยากรู้อยากเห็นอยากได้ธรรมะ อยากให้จิตสงบเป็นสมาธิ แต่สิ่งที่รบกวนก็ดลบันดาลอยู่อย่างนั้น ทำให้จิตใจของเราท้อถอยอยู่ตลอดเวลา

นั่งแต่ละวันได้ ๒๐-๓๐ นาที ก็ลุกขึ้นแล้ว
ไปเดินแล้วเปลี่ยนอิริยาบถใหม่แล้ว เดินไปเป็นชั่วโมง มานั่งอีก ๒๐-๓๐ นาทีก็ไปอีกแล้ว พยายามอยู่อย่างนี้ก็แพ้อยู่อย่างนี้ ทำเป็นเดือนก็อยู่อย่างนี้ ทีนี้ทำยังไงถึงได้ตัดสินใจ การตัดสินใจคือตัดสินใจด้วยการได้ยินได้ฟัง จากครูบาอาจารย์ท่าอบรมสั่งสอนเรา ครูบาอาจารย์ท่านแสดงอภินิหารให้เราเห็น แสดงอภินิหารแบบไหน ท่านมีความรู้พิเศษ ท่านสอนเราให้ปฏิบัติแล้วเราทำไม่ได้ ท่านค่อยมาเตือนเราทีหลังพอเราเจอทุกข์ ทีนี้สิ่งที่มันเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่จูงใจ ให้เราปฏิบัติกล้าตัดสินใจต่อสู้ จริงๆ จังๆ แล้วนั่น คือ

พระอาจารย์ของเราท่านบอกว่า วันนี้ มีพระท่านกำลังเดินทางมา ระยะทางนั่น ๗-๘ กิโลเมตรจากวัดเราไปหาวัดท่าน

ฉันเช้าเสร็จท่านบอกว่า ไปล้างบาตรแล้วเอาบาตรเราไปส่งกุฏิ อย่าเพิ่งไปนะ ท่านพูดอย่างนี้ ทีนี้อาตมาก็เลยเอาบาตรล้างบาตรเสร็จเรียบร้อยก็เอาบาตรไปไว้ที่กุฏิ
ก็นั่งคอยท่านอยู่ ซักพักท่านก็ขึ้นกุฏิไป

พอท่านขึ้นกุฏิไป ท่านบอกว่า ตอนนี้มีพระท่านกำลังเดินทางมา พระองค์นั้นชื่อ อาจารย์บุญเกิด ท่านอยู่วัดป่าศรีคุณาราม บ้านจีบ อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี ส่วนอาตมาอยู่วัดป่าศิริวัฒนา บ้านโนนถั่วดิน

ท่านอาจารย์องค์ที่เป็นอาจารย์ของอาตมา ชื่อพระอาจารย์ศรี อุจโย ท่านบอกว่าพระอาจารย์บุญเกิดกำลังเดินทางมา ท่านจะไปบ้านเลาใหญ่ ไปขอไม้ไผ่กับท่านอาจารย์สาลี วัดป่ามัจฉิมวงศ์ ที่อ.กุมภวาปี มาทำซี่กลด เพราะว่าไม้ไผ่ในสมัยนั้น วัดป่ามัจฉิมวงศ์เป็นวัดเก่าแก่
ไม้มันแก่ดี เอามาทำซี่กลดได้มอดมันไม่กิน แต่ส่วนวัดพวกเราเป็นวัดใหม่ ไม้ไผ่ยังไม่มี

ท่านก็เลยบอกว่าท่านกำลังเดินทางมา มีพระองค์หนึ่งใส่แว่นตาดำเดินตามหลังมา มีเด็กวัด ตัวเล็กๆ สะพายย่ามเดินอยู่กลาง ท่านว่าอย่างนี้ แล้วท่านก็บอกให้เอาเสื่อมาปู เอากา

ชาวสีคิ้วร่วมพลังพัฒนาน้ำตกเหวเสมา ดินแดน 3 มงกุฎยูเนสโก อันซีนแห่งใหม่โคราช

ชาวสีคิ้วร่วมพลังพัฒนาน้ำตกเหวเสมา ดินแดน 3 มงกุฎยูเนสโก อันซีนแห่งใหม่โคราช โอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

วันที่ 3 มิถุนายน 2564 เวลา 08.30 น ที่น้ำตกเหวเสมา บ้านซับกระสังข์ ตำบลดอนเมือง อำเภอสีคิ้ว ดร.ธีรพงศ์ คณาศักดิ์ ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจต่างประเทศ หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอสีคิ้ว ดร.ยุทธกร ฤทธิ์ไธสง คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา จิตอาสา 904 ได้ร่วมกับนายเมธี กาญจนสุนทร นายอำเภอสีคิ้ว กิ่งกาชาดอำเภอสีคิ้ว นายพนม ดีจันทึก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเมือง นายสิริวัฒน์ หล่อนจันทึก กำนันตำบลดอนเมือง นายพิทักษ์ เพียซ้าย ผู้ใหญ่บ้านซับกระสังข์ ร่วมกับชุมชนมาพัฒนาน้ำตกเหวเสมาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในโอกาส ดร.ธีรพงศ์ คณาศักดิ์ ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจต่างประเทศ หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอสีคิ้วได้มอบแอลกอฮอล์ให้นายพิทักษ์ เพียซ้าย ผู้ใหญ่บ้านซับกระสังข์ จำนวน 300 ขวด เพื่อให้ชาวบ้านไว้ใช้ป้องกันโควิด19 และสมทบทุนเลี้ยงอาหารกลางวัน เครื่องดื่มให้กับชาวบ้านที่มาร่วมจิตอาสาพัฒนาชุมชน ครั้งนี้ด้วย

นายเมธี กาญจนสุนทร นายอำเภอสีคิ้ว กล่าวว่าทางอำเภอสีคิ้วเป็น 1 ใน 3 มงกุฎยูเนสโก มีอำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายไม่ว่าจะเป็น วิหารหลวงพ่อโต ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านยวน นครจันทึก โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ มีลักษณะเป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย ภาพเขียนสีประวัติศาสตร์ 3,000 ปี วัดเขาจันทร์งาม ฯลฯ สำหรับน้ำตกเหวเสมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งของอำเภอสีคิ้วที่มีความสวยงาม มีหินคล้ายใบเสมา ในวันนี้ชาวบ้านและผู้นำชุมชนได้ร่วมแรงร่วมใจมาพัฒนาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวันสำคัญ และให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนของโคราช

ดร.ธีรพงศ์ คณาศักดิ์ ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอสีคิ้ว กล่าวว่า หลังจากที่ได้มาสำรวจน้ำตกเหวเสมา ที่บ้านซับกระสังข์ ตำบลดอนเมือง อำเภอสีคิ้ว วันนี้ทางชมรมฯถือโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้ร่วมกับทางอำเภอสีคิ้ว ผู้นำชุมชนและชาวบ้านได้มาพัฒนาทำความสะอาด ทำป้ายแหล่งท่องเที่ยวพร้อมรับนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูฝนหลังปลดล็อคโควิด19 และที่เป็นไฮไลท์ของน้ำตกเเห่งนี้คือแผ่นหินคล้ายใบเสมา เป็นที่นับถือของชาวบ้านแห่งนี้ หลังจากนี้ทางตนเองก็จะขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาจัดทำแผนการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับอำเภอที่ใกล้เคียงต่อไป

อำเภอสีคิ้ว

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอสีคิ้ว

ชมรมข่าวเฉพาะกิจเพื่องานสาธารณภัย

จามร คงเพียรธรรม//หน. ศูนย์ข่าว อ.สีคิ้ว 0817568797

คำแมน ศิริวาริน//รองบก.ข่าวภาคอีสาน ฉก.01//

นายธวัชชัย เครือบสูงเนิน (ป้องกัน1)บก.ข่าวภาคอีสาน รายงาน

นายชวน หลีกภัย มอบหน้ากากอนามัยให้ผู้ว่าโคราชเพื่อส่งต่อให้ประชาชนที่ขาดแคลน

#ประธานสภาผู้แทนราษฎร#มอบหน้ากากอนามัยร่วมต้านภัยcovid19 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นตัวแทนรับมอบส่งต่อประชาชนขาดแคลนนครราชสีมา… วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ในฐานะประธานมูลนิธิเพื่อสังคมและการศึกษาพร้อมด้วย นายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะเลขานุการมูลนิธิฯ นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร เดินทางลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดแรกของภาคอีสาน เพื่อมอบหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชนที่ยังขาด จำนวน 10,000 ชิ้น

โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายชรินทร์ ทองสุก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นางสาวนภาพร เมฆาผ่องอำไพ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา และส่วนราชการในจังหวัดนครราชสีมา ร่วมรับมอบ***นายชวน กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อสังคมและการศึกษา ได้รับบริจาคหน้ากากอนามัย จากผู้ใจบุญจำนวนนับล้านชิ้น จึงนำมามอบให้กับประชาชนที่ยังขาดผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ไปมอบให้จังหวัดทางภาคใต้ ภาคกลาง และวันนี้ได้เดินสายลงพื้นที่ภาคอีสาน โดยมีจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดแรก ต่อไปยัง บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี “ถึงแม้ว่าเราจะฉีดวัคซีนแล้ว แต่การสวมหน้ากากอนามัยยังมีความจำเป็นอยู่ จึงขอให้ทุคนใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน”นายชวน กล่าว

สภาวัฒนธรรมโคราชผนึกกำลังผนึกกำลังกับวัฒนธรรมจังหวัด พร้อมด้วยเครือข่าย 32 อำเภอ สนับสนุนข้าวกล่องและน้ำดื่มมอบให้ รองนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะ เพื่อส่งต่อแก่บุคลากรทางการแพทย์ สู้ภัยโควิด 19 ณ เดอะมอลล์ โคราช

นางเอมอร  ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา  พร้อมด้วย นาย ไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชีมา, นางสมใจ อินทรทรัพท์  รองประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา, พันเอกนเรศ  พิลาวัล , นายสมชาย รักษ์กลาง ,นายฐิตรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาพร้อมด้วยเครือข่าย 32 อำเภอ ได้นำอาหารกล่อง จำนวน 250 กล่อง และน้ำดื่ม  จำนวน 1,200  ขวด  โดยได้รับการประงานงานด้วยดีจาก คุณรัจริน วงศ์จิต นายกสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา  เพื่อนำไปมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์โคราช  โดยได้รับเกียรติจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมคณะ เป็นผู้รับมอบ

จากนั้น นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมคณะ ได้เข้าพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมในการทดลองระบบ  ณ หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ศูนย์การค้าเดอะมอลล์  โคราช  ก่อนจะทำการทดสอบระบบ ระหว่างวันที่ 24-31 พฤษภาคม 2564  เพื่อฉีดวัคซีนให้เฉพาะ 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ที่ลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อม และหน่วยงานที่ลงทะเบียนกับทาง สสจ. เป็นที่เรียบร้อย   ทั้งนี้ สถาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยคณะกรรมการทุกท่าน ยังคงเดินหน้าเพื่อร่วมแบ่งปันน้ำใจ พร้อมด้วยการช่วยบอกกล่าวประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนสนใจในการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น

เดอะมอลล์โคราช เดินหน้าเตรียมความพร้อมสถานที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

เดอะมอลล์โคราช เดินหน้าเตรียมความพร้อมสถานที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

17 พ.ค.2564 เวลา 13.00น. นายแพทย์วิชาญ คิดเห็น รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นครราชสีมา พร้อมด้วยนายอมร อมรกุล ผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และนายชินาพัฒน์ พิมพ์ศรีแก้ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด นำคณะตัวแทนจากรพ.ชื่อดังในจังหวัดนครราชสีมา ตรวจความพร้อมสถานที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ภายในห้องเอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช

บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมแบ่งเบาการดำเนินงานของภาครัฐ ในการแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 จับมือกับ จังหวัดนครราชสีมา เดินหน้าเตรียมสถานที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 ให้กับประชาชน ที่เดอะมอลล์ โคราช เพื่อเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างรวดเร็วและทั่วถึงที่สุดเป้าชาวโคราช 2,700,00 คน

สำหรับการบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชน บนพื้นที่ของเดอะมอลล์โคราช พร้อมให้บริการวัคซีนกับประชาชน ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป โดยจุดให้บริการอยู่ที่บริเวณห้องเอ็มซีซี ฮอลล์ ชั้น 3 ซึ่งคาดว่าสามารถรองรับผู้เข้ารับการฉัดวัคซีนฯ วันละ 5,000 คน ตามกลุ่มเป้าหมาย 7 โรคและ walk in

เดอะมอลล์ กรุ๊ป พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวในเร็ววัน โดยพร้อมสนับสนุนภาครัฐในการกระจายฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างรวดเร็วที่สุด และขอยืดหยัดเคียงข้างเป็นกำลังใจให้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานทุกภาคส่วน ที่ได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดย เดอะมอลล์ กรุ๊ป สัญญาว่าจะเดินหน้าดำเนินการทุกวิถีทางอย่างเต็มสรรพกำลังเพื่อให้ความช่วยเหลือในทุกมิติ พร้อมจะอยู่เคียงข้างประเทศไทยและประชาชนคนไทย ในทุกสถานการณ์ เพื่อให้เราก้าวข้ามผ่านวิกฤติการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกันโดยเร็ววัน

พบพืชชนิดใหม่ของโลกครั้งแรกที่โคราช”แจงสุรนารี”

โคราชพบพืชหายากครั้งแรก

พืชป่าหายากเสี่ยงสูญพันธุ์ตั้งชื่อ ‘แจงสุรนารี’

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น. ที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อพ.สธ-มทส.) คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนาร (มทส.) นครราชสีมา แถลงข่าวการค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกและค้นพบครั้งแรกในพื้นที่จ.นครราชสีมา


รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนาร (มทส.) ได้เป็นประธานการแถลงข่าว การค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก และค้นพบครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยทีมนักวิจัยศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.-มทส.) ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย เจริญเติบโตช้า พบในป่าเบญจพรรณแล้ง ถือเป็นพืชป่าเฉพาะถิ่นที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ตั้งชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า “Maerua koratensis Srisnga & Watthana” และมีชื่อไทยว่า “แจงสุรนารี”
เพื่อระลึกถึงท้าวสุรนารี และเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยได้รับการตีพิมพ์พืชชนิดใหม่ของโลกนี้ในวารสารวิชาการนานาชาติ Phytotaxa เรียบร้อยแล้ว ในโอกาสนี้ อพ.สธ.-มทส. ได้การส่งมอบต้นกล้า “แจงสุรนารี” จำนวน 50 ต้น แก่นางรัชดา ปรัชเจริญวนิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา พร้อมลงพื้นที่ปลูกต้นกล้าเพื่อขยายพันธุ์เข้าสู่พื้นที่ปกปักเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไปตามธรรมชาติ

โคราช!!จัดกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ 10-14 มิ.ย.64

จังหวัดนครราชสีมาจัดกิจกรรมงาน “ตลาดชุมชนเกษตรปลอดภัยนครชัยบุรินทร์” กระตุ้นเศรษฐกิจ

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ตลาดชุมชนเกษตรปลอดภัยนครชัยบุรินทร์”ครั้งที่ ๑ (GREEN MARKET)ณ ศูนย์การค้าเซ็ลทรัลพลาซา นครราชสีมา โดย นายศารุมภ์ โหม่ง สูงเนิน พาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้กล่าวรายงาน และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมเป็นเกียรตีในพิธีเปิดงานฯ โครงการพัฒนานวัตกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัยกลุ่มนครชัยบุรินทร์

 กิจกรรมหลักที่ ๔ การพัฒนาศักยภาพการตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรกลุ่มนครชัยบุรินทร์ กิจกรรมการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยนครชัยบุรินทร์ ครั้งที่ ๑ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า การจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าของกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมาชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อเร่งช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการของกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ระลอกใหม่

ซึ่งดีขึ้นตามลำดับ ได้มีช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า หารายได้ให้กับครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ทั้งจากกลุ่มจังหวัด ได้นำสินค้าเกษตรปลอดภัยที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น และสินค้าที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมีการพัฒนาด้านนวัตกรรมมาเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งจากภายในและภายนอกได้รู้จักได้อย่างแพร่หลาย ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น การจัดงานตลาดชุมชนเกษตรปลอดภัยนครชัยบุรินทร์ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔มีนาคม ๒๕๖๔ ผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน จำนวน ๖0 คูหา ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป

อาหาร สินค้าชุมชนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแต่ละจังหวัด เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้เกรดส่งออก ข้าวโพดหวาน ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ ผักปลอดสารพิษ ไข่ไก่ปลอดสาร และอาหารแปรรูปจากจังหวัดนครราชสีมา ผ้าไหมงาม ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ลูกชิ้นหมู ข้าวเม่าจากจังหวัดสุรินทร์ ขาหมู น้ำพริก ข้าวแต๋น กุ้งจ่อมประโคนชัย จากจังหวัดบุรีรัมย์ ผ้าไหม ผ้าอินทรีย์ ผ้าย้อมสีธรรมชาติ จากจังหวัดชัยภูมิ และกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจการค้า ซึ่งมีกำหนดการจัดงาน ๒ ครั้ง คือในครั้งนี้ และครั้งที่ ๒ กำหนดจัดงานในเดือนเมษายน ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ต่อไป

ตำรวจภาค 3 โชว์ผลงาน รวบแก๊งในโคราชยึดทรัพย์มูลค่ากว่า 1.3 ล้านบาท

“พ่อค้ายาเสพติดจะไม่มีที่ยืนในภาคอีสานตอนล่าง” ตำรวจภาค 3 จับอีกแก๊งในโคราช ยึดยาบ้ากว่า 67,000 เม็ด…ปืน 4 กระบอก…รถยนต์ 2 คัน…รวมยึดทรัพย์ 1.3 ล้านบาท


วันที 26 ก.พ. 2564 เวลา 11.00 น. ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ตํารวจภูธรภาค 3 โดย พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผบช.ภ.3 ,พล.ต.ต.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย รอง ผบช.ภ.3 ,พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง
ร่วมกันแถลงผลการจับกุมเครือข่ายยาเสพติดของนายภิญโญ หรือบอย พื้นที่อำเภอเสิงสาง-เมืองโคราช รวมของกลาง ได้แก่
1.ยาบ้า จํานวน 67,560 เม็ด
2.สารไอซ์ จํานวน 573.39 กรัม
3.อาวุธปืน จํานวน 4 กระบอก
4.เครื่องกระสุนปืน จํานวน 30 นัด
ตรวจยึดทรัพย์สินฯ
1.รถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นรีโว่ จํานวน 1 คัน มูลค่า 600,000 บาท
2.รถยนต์กระบะ ยี่ห้อเชพโรเลต รุ่นโคโลลาโด จํานวน 1 คัน มูลค่า 550,000 บาท
3.เงินสด จํานวน 77,000 บาท
รวมทรัพย์สินตรวจยึด มูลค่า 1,227,000 บาท
ณ บริเวณหน้า สภ.จอหอ ต.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา

โคราชจัดงาน GRAND DAY ฮักหนังไทย..ฮักผ้าไทยอีสาน

งาน GRAND DAY ฮักหนังไทย..ฮักผ้าไทยอีสาน(งานประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 29)

จังหวัดนครราชสีมา
วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 15.00 – 16.00 น. ณ บริเวณชั้น 3 ด้านหน้า MCC HALL เดอะมอลล์โคราช จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการจัดงาน GRAND DAY ฮักหนังไทย..ฮักผ้าไทยอีสาน (งานประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 29) โดยภายในงานได้มีการแสดง GALLERY ชุดแต่งกายผ้าไหมอีสาน สุดตระการตา อลังการ และ แฟชั่นโชว์ ผ้าไทยท้องถิ่น จากเหล่า นายแบบ นางแบบ จำนวนมาก ในรูปแบบร่วมสมัย จากฝีมือของเหล่าดีไซน์เนอร์ชั้นนำจากห้องเสื้อชื่อดัง 4 แห่งของเมืองไทย

ด้านนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวทักทายแขกผู้มีเกียรติ ในฐานะเจ้าภาพ ของการจัดงานประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 29 ในครั้งนี้

สำหรับการจัดงาน GRAND DAY ฮักหนังไทย.. ฮักผ้าไทยอีสาน ในงาน นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่ง ในนโยบายหลัก ของกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ อันประกอบไปด้วย จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดสุรินทร์ 4 จังหวัดดินแดนแห่งอารยะธรรมอีสานที่ต้องกรการสืบสาน อนุรักษ์ และ สนับสนุน ส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ ของภาคอีสานให้เติบโตอย่างยั่งยืน


โดยการจัดงานครั้งนี้ได้มุ่งเน้น ในเรื่องเอกลักษณ์แห่งศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า ของประเทศไทย ได้แก่ “ผ้าไหม” ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมภาคอีสานที่มีความวิจิตร สวยงาม ของเส้นไหมและลายไหมที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดของกลุ่มนครชัยบุรินทร์ ให้มีความร่วมสมัย เชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดของภาครัฐในการยกระดับ ผ้าไหมไทยให้ไปไกลในระดับสากล รวมถึงเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมอีสาน ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นการสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไหมให้กับกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์