ตำรวจภาค 3 จับกุมเครือข่ายเว็บไซต์การพนันออนไลน์ และฟอกเงิน มูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท

ตำรวจภาค 3 จับกุมเครือข่ายเว็บไซต์การพนันออนไลน์ และฟอกเงิน มูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท

.ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร, พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปอส.ตร. แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี นั้น

.ตำรวจภูธรภาค 3 โดย พล.ต.ทสมประสงค์ เย็นท้วม ผบช.ภ.3, พล.ต.ต.ภาณุ บุรณศิริ รอง ผบช.ภ.3/ผอ.ศปอส.ภ.3 ได้สั่งการให้ ชุดปฏิบัติการสืบสวนปราบปราม อาชญากรรม ตำรวจภูธรภาค 3 สืบสวนจับกุมเครือข่ายการพนันออนไลน์ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 3 และ พื้นที่คาบเกี่ยว

.โดยเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.65 ชุดปฏิบัติการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม ตำรวจภูธรภาค 3 ร่วมกับ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 3, ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา, ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี, ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ และตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ

 ร่วมปฏิบัติการเข้าปิดล้อมตรวจค้นเครือข่ายเว็บไซต์การพนันออนไลน์ 12PLUS ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5 โดยได้ทําการปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมาย จำนวน 30 จุด สามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับในความผิดฐาน “ร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ไพ่บาคาร่า) พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกันฟอกเงิน จำนวน 5 ราย อยู่ระหว่างสืบสวนติดตามจับกุม อีก 1 ราย พร้อมกันนี้ได้ทำการตรวจยึดของกลาง ดังต่อไปนี้

.ยานพาหนะ รถยนต์ จํานวน 1 คัน รถจักรยานยนต์ จํานวน 4 คัน อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ประกอบด้วย อาวุธปืนยาว จำนวน 5 กระบอก อาวุธปืนพกสั้น กระบอก, เครื่องกระสุนปืน จํานวน 219 นัด

.คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร และทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ รวมมูลค่าทั้งสิ้น กว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างสืบสวนติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการหลบหนี และจะทําการสืบสวนขยายผลติดตามจับกุมเครือข่ายการพนันออนไลน์กลุ่มนี้มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป จึงขอฝากประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนทั่วไป หากมีข้อมูลเกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์ สามารถแจ้งข้อมูล มายังตำรวจภูธรภาค 3 ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0 4425 5275 83 ต่อ 188

เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564″

แถลงข่าวงานเที่ยวพิมายประจำปี 2564 การแสดงแสงสีเสียงพิมายปุระ

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2564งานแถลงข่าวการจัดงาน *”เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565″ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ชั้น G บริเวณหอไอเฟลโดยนายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธีนายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมานายเศรษฐี แพรกนัทที ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ)รักษาราชการแทนนายอำเภอพิมาย นายสมเดช ลีลามโนธรรม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา นางสาวกรรณิการ์ พัฒนพีระเดช นายกเทศมนตรีตำบลพิมายเริ่มงานแถลงข่าวงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปีงบประมาณ 2565และแขกผู้มีเกียรติ เดินทางมาถึงบริเวณงาน มี การแสดงชุด “พิมายปุระ” ต่อจากนั้น ชมการแสดงชุด “ศรีวิเรนทร์”

นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าเนื่องจากจังหวัดนครราชสีมาได้ประกาศพื้นที่นำร่อง ทางการท่องเที่ยว จำนวน 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอสีคิ้ว และอำเภอพิมาย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยว สามารถมีกิจกรรม และการใช้ชีวิตแบบ New Normal ในการจัดงาน ดังนี้ เปิดโอกาสที่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จะสามารถ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว และคาดการณ์ว่า จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในอำเภอพิมาย และจังหวัดนครราชสีมา ได้เป็นอย่างยิ่ง โดยงานดังกล่าว มีกำหนดถึง ๕ วัน และอาจต่อยอดการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ให้อยู่ถึงเทศกาลปีใหม่ได้ด้วย ทั้งนี้ จังหวัดนครราชสีมาอยู่ระหว่างการจัดงาน Thailand Biennale Korat และอำเภอพิมาย ก็เป็นเป้าหมายที่จะกระจาย งานศิลปะให้นักท่องเที่ยวได้รับชม ความงดงามทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมอันล้ำเลิศ และวิถีชีวิตตามแบบ New Normal ต่อไป

นายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ในการจัดแถลงข่าวครั้งนี้ขอขอบพระคุณท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาที่ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี การแถลงข่าวเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 โดยกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 22-26 ธันวาคม 2564 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ปราสาทหินพิมายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันดีทั้ง ชาวไทย และ ชาวต่างประเทศ และด้วยตระหนักถึงความสำคัญ การสร้างจิตสำนึกให้คนไทยเดินทางมา ท่องเที่ยวปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ยั่งยืน

นายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี ๒๕๖๔ มีวัตถุประสงค์หลักใน การจัดงานดังนี้

1. เพื่อขยายอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

2. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว

3. กระตุ้นเศรษฐกิจพ่อการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในท้องถิ่น

4. เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวภายใต้มาตรการป้องกันการแพ้ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID)

5. ส่งเสริมให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีด้านการท่องเที่ยวและสร้างความเชื่อมั่นให้กับ นักท่องเที่ยวภายใต้การท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal)

โดยสำหรับการจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมายประจำปีนี้ มีกิจกรรมหลักประกอบด้วย การแสดง แสง สี เสียง และสื่อผสม พิมายปุระ The Musical วิมายะนาฏการ “ยอยศชัยวรมัน น้อมอภิวันท์สดุดี ศรีวิเรนทราศรม” จัดแสดงระหว่างวันที่ 22 – 26 ธันวาคม 2564 บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ณ จังหวัดนครราชสีมา และนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อาทิ ตลาดย้อนยุค แสดงวีถีชีวิตของคน ในท้องถิ่น , จำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ผัดหมี่โคราช, ส้มตำ , ขนมไทย, การแสดงและจำหน่าย สินค้า OTOP และการออกร้านต่างๆ จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาเที่ยวชม งานเทศกาลเที่ยวพิมาย ชมโบราณสถาน มรดกอันล้ำค่าของโลก และศิลปวัฒนธรรมประเพณี ท้องถิ่นที่เราได้ร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป

ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดงาน เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 ในครั้งนี้ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ให้การสนับสนุน ในส่วนของการจัดตลาดย้อนยุคแสดงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน , จำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ผัดหมีโคราช ส้มตำ ขนมไทย เป็นต้น ทั้งนี้ขอเชิญพี่น้อง ชาวจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้าร่วมในงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี ๒๕๕๔ ในครั้งนี้ให้มีความสุขใจในการเที่ยวชม

นายเศรษฐี แพรกนัทที ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอพิมาย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานกับทางหน่วยงานต่างๆ ทางเราได้จัดเตรียมความพร้อมในเรื่อง สถานที่สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ทั้งเรื่องของการอำนวยความสะดวกในด้านการเดินทาง ด้านที่พัก และด้านความปลอดภัยภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาเที่ยวชมงาน ปีนี้ได้รับความร่วมมือจาก พี่น้องชาวพิมายและหน่วยงานต่างๆ เป็นอย่างดี จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาเที่ยว ชมงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 ในครั้งนี้ ชมโบราณสถาน มรดกอันล้ำค่าของโลก และศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เราได้ร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และสืบสานภูมิ ปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืน กระผมฐานะที่เป็นผู้ดูแลพื้นที่และเป็นชาวพิมายขอต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ เดินทางเข้ามาร่วมชมงานเทศกาลเที่ยวพิมายในครั้งนี้ขอขอบพระคุณเป็นอย่างมาก

นายสมเดช ลีลามโนธรรม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้ดูแล สถานที่ในการแสดง แสง สี เสียง ทางเราได้เตรียมการซ่อมแซมแซมในส่วนต่างๆของตัวปราสาท หิน ทางเดินต่างๆ ให้มีความเรียบร้อย สวยงาม อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้กับผู้จัดงาน และองค์ประกอบภายในปราสาท ผู้ร่วมเข้าชมงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 ในครั้งนี้ให้มีความสุขใจในการเที่ยวชม

#เทศกาลเที่ยวพิมายปี2564

ยกมาตราฐานวิชาชีพสร้างโอกาสเยาวชน ยุคโควิด19

การปฐมนิเทศเปิดโอกาสทางการศึกษา ยกมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น

ศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาเทศบาลนครราชสีมา

นาย อำนาจ บุตรโต ผอ.โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตรสามัคคี)

และผู้เข้าร่วมการปฐมนิเทศ กล่าวแนะนำขอขอบพระคุณ  นาย สุดชาย บุตรแสนลี ท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างจังหวัดนคครราชสีมาให้เกียรติมาเป็นประธาน ร่วมกับ นายรัตนะ วรบัณฑิตผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต 3, ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2, ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์และ คณะกรรมการภาคการศึกษาร่วมพิธี ในการปฐมนิเทศ หลักสูตร “วิชาชีพระยะสั้น” ในวันนี้ การจัดปฐมนิเทศ

หลักสูตรไฟฟ้าเบื้องตัน และ หลักสูตรบัญชีครัวเรือน นี้ ได้จัดขึ้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชน นอกระบบ และเด็กด้อยโอกาส ให้กลับคืนสู่ระบบการศึกษา และสร้างภาคีเครือข่าย ศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือเด็กและเยาวชน นอกระบบการศึกษาเทศบาลนครราชสีมา ให้เป็นรูปธรรม โดยจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 75 ชั่วโมง แบ่งรูปแบบการเรียนการสอน ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบ ออนไลน์ จำนวน 20 ชั่วโมง และรูปแบบออนไซต์ จำนวน 55 ชั่วโมง

จัดระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2564 – 10 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้เข้าร่วมคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 95 คน จากโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตสามัคคี)

การปฐมนิเทศครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการเรียนไฟฟ้าเบื่องต้น และบัญชี

ครัวเรือน ทั้งนี้ คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมการปฐมนิเทศสามารถนำความรู้ที่ได้รับแนวทางในการเรียนและนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ในโอกาส ต่อไป

“ถักทอวัฒนธรรมนำสมัยเพื่อผ้าไทยสู่สากล” งานแสดงและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม

เป็นประธานในพิธีเปิดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีม ซึ่งงานแสดงและจำหน่ายสินค้าครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอ

รวมถึงการสร้างและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์) ให้เป็นที่รู้จักยิ่งขึ้นนั้น 

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญกับประเทศไทย ทั้งด้านการส่งออกและการจ้างแรงงานซึ่งรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้มแข็ง

สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเล็งเห็นว่าปัจจุบันผ้าทอของไทยได้รับความนิยมในการนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายรวมถึงการผลิตเคหะสิ่งทอและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ

ตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งฝีมือความประณีตของคนไทยผนวกกับเอกลักษณ์ความเป็นไทย

จึงเป็นเสน่ห์ของผ้าทอและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายกระทรวงอุตสาหกรรมจึงพยายามพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ให้ผ้าทอไทยมีรูปแบบที่ทันสมัย ใช้งานได้หลากหลายโอกาส

และมีเสน่ห์ของความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น โดยยังคงเอกลักษณ์ความเป็นผ้าทอของไทยได้อย่างงดงาม

สำหรับงานแสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 12 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา นครราชสีมา ภายในงานพบกับบูธแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นถิ่นดีไซน์ทันสมัยของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 การแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าไทยสุดตระการตา โดยมิสแกรนด์นครราชสีมา

2020พร้อมนางแบบและนายแบบมืออาชีพ การแสดงศิลปะวัฒนธรรม

มทร.อีสานยกระดับอาชีพภาคเกษตรกรรม สร้างอาชีพวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชน ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยมี ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน ร่วมพิธีเปิด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นประมาณอีก 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

พิธีอุปสมบทหมู่ถวายพระราชกุศล วัดบุไฝ่ ตำบลไทยสามัดคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

พิธีอุปสมบทหมู่ถวายพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
วันพุธที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ณ วัดบุไฝ่ ตำบลไทยสามัดคี อำเกลวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โครงการพิธีอุปสมบทหมู่ถวายพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประธาน นมัสการ พระครูสุวัฒนานุกูล เจ้าคณะอำเภอวังน้ำเขียว และพระคุณเจ้าทุกรูป โดยได้รับเกียรติส.ส.สมศักดิ์ พันธ์เกษม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา,นายประนอม โพธิ์คำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา,นายสุพจน์ แสนมี นายอำเภอวังน้ำเขียว ,นายชุณห์ ศิริชัยคีรีโกศล ประธานวัฒนธรรมอำเภอวังน้ำเขียว ,นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ,หัวหนำาส่วนราชการประจำอำเภอวังน้ำเขียวทุกส่วนราชการนายกเทศมนตรีตำบลศาลเจ้าพ่อ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทุกแห่ง สมาชิกสภาองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกคน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มพัฒนาสตรีแม่บ้านอสม.อำเภอวังน้ำเขียว และพุทธศาสนิกชนร่วมการบวชครั้งนี้มีผู้บวชทั้งหมด21รูป

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าว พีธีโครงการอุปสมบทหมู่ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันนี้ ในการจัดงานครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ดีที่พี่น้องชาวอำเภอวังน้ำเขียว ทุกหมู่เหล่าได้ร่วมแรงร่วมใจกันกระทำเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเป็นพระราชกุศลและเพื่อแสดงความอาลัยและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
เป็นการทำความดีเพื่อพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีอุปสมบท และสืบทอดต่อไปจึงขอให้ผู้ที่เข้าพิธีอุปสมบทในครั้งนี้ ได้ตั้งใจรับเอาความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหลักคำสอนต่างๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป

เดินหน้ามาตรการปลอดภัยในการป้องกันโรคโควิด-19

รองอธิบดีกรมอนามัย  มั่นใจ 4 จว. อีสานล่าง พร้อมเปิดเมือง 1 ธค นี้ เดินหน้าขับเคลื่อนมาตรการปลอดภัยในการป้องกันโรคโควิด-19

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564  ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา ร่วมกับ จังหวัดนครราชสีมา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จัดงาน “ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนมาตรการปลอดภัยในการป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อการเปิดบ้านเปิดเมือง นครชัยบุรินทร์” โดยมีนายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธาน  นพ.พีระยุทธ สานุกูล ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 กล่าวรายงาน  ร่วมด้วย นายกุศล เชื่อมกลาง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ,ผู้แทนจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ,ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ,ท่องเที่ยวและกีฬา ,ศึกษาธิการจังหวัด ,อุตสาหกรรมจังหวัด ,วัฒนธรรมจังหวัด,พาณิชย์จังหวัด ,ขนส่งจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่างๆเข้าร่วม    ณ   โรงแรมแคนทารี จังหวัดนครราชสีมา

นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย  กล่าวว่า  จากวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบ เกิดภาวะชะลอตัว อาทิ ทางเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา  การท่องเที่ยว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเมือง ตามนโยบายรัฐบาล วันที่ 1 ธค.64 นี้ และเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ ประชาชน ในเขตนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วย นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และบุรีรัมย์  มีความมั่นใจ ปลอดภัย ไร้โควิด ตามมาตรการแนวทางปฏิบัติ COVID Free Setting 3ด้าน ได้แก่ 1.COVID Free Enviroment ด้านสิ่งแวดล้อมและสถานที่  2.COVID Free Personnel ด้านผู้ให้บริการ  3.COVID Free Customer ด้านประชาชน ผู้รับบริการ เพื่อป้องกัน และลดปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  จึงเป็นที่มาที่เครือข่าย หลายภาคส่วน จับมือกันร่วมขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งสร้างความมั่นใจสำหรับผู้รับบริการ ในด้านสถานประกอบการ รวมถึงสถานศึกษา ในเรื่อง Sandbox Safety Zone in school ควบคู่กับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ภายใต้นโยบายของรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุล ระหว่างมิติสาธารณสุขกับมิติทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา และการท่องเที่ยวอีกด้วย

ผ้าป่าการศึกษาพี่ช่วยน้อง. สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา

#ผ้าป่าการศึกษาพี่ช่วยน้อง. #สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา 10:00 น .งานบุญเพื่อช่วยเหลือ สร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็ก และเยาวชนในการดูแลสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 เริ่มตั้งแต่ขบวนแห่กองผ้าป่า 9.00 น .นำขบวนโดยคณะขบวนกลองยาว นำโดยดร. รัตนวรบัณฑิต ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต3 พร้อมนายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์รองประธานสงเคราะห์เด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา ประธานทอดผ้าป่าการศึกษาและนายคมกฤษณ์ แสงจันทร์ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาพร้อมคณะเจ้าหน้าที่นางรำแห่ขบวนกองผ้าป่าการศึกษา เคลื่อนขบวนจากศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนฯมาตั้งกองผ้าป่าที่บริเวณสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา

*** เวลา 10.00 น พระอธิการณัฐวุฒิ สิริปญโญเจ้าอาวาสวัดคลองส่งน้ำเมตตาเป็นประธานพิธีสงฆ์ พร้อมพระสงฆ์ 9 รูป ทำพิธีทอดผ้าป่าการศึกษา เจริญพระพุทธมนต์ ได้รับเกียรติจาก ท่านเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด จุดเทียน ธูปบูชาพระรัตนตรัย และคฯะดร.รัตนะ วรบัณฑิตผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต3 และนายคมกฤษณ์ แสงจันทร์ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาร่วมพิธี

***เวลา 11.00 น.นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์รองประธานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ถวายกองผ้าป่าสามัคคี ยอดบุญ 188,239บาทแด่ประธานฝ่ายสงฆ์พร้อมคณะผู้ร่วมงานกว่า 100 ท่าน จากคณะภาคีเครือข่ายภาคการศึกษา และเครือข่ายภาคเอกชน จากนั้นแขกผู้มีเกียรติทุกท่านได้ร่วมถวายภัตตาหารเพลแด่คณะพระภิกษุสงฆ์รับผ้าป่าฯ และเมื่อพระสงฆ์รับแล้ว พระภิกษุสงฆ์ได้ให้พรและพรมน้ำมนต์ เพื่อสิริมงคลให้แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานทุกท่านทั่วกัน พร้อมกันนี้คณะทำงานการดำเนินการดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน covid-19 ตามนโยบายสาธารณสุขโดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดร่วมสังเกตการณ์ด้วย

ท้ายนี้ ฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ ประธานงานกล่าวขอขอบคุณแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ผู้ใหญ่ใจดีที่ร่วมงานพิธีในครั้งนี้ ท่านเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด ,นายรักชาติ กิริวัฒนศักดิ์ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ,นายสุดชาย บุตรแสนดีผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา, คุณชินพัฒน์ พิมพ์ศรีแก้ว ผู้จัดการทั่วไปเดอะมอลล์โคราช และเครือข่ายทางการศึกษาเพื่อเด็กที่ด้อยโอกาสทุกท่าน ในโอกาสพืธีนี้ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายในสากลโลกทั้วหลาย ได้โปรดดลบันดาลให้ท่านและคอบครัวประสบแด่ความสุข ความเจริญ ด้วยอายุ วรรณะ สุขะพละ ด้วยเทอญ

เปิดโครงการแก้ไขปัญหาผู้เสพยาเสพติดในรูปแบบค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดิน รุ่นที่1

#เปิดโครงการแก้ไขปัญหาผู้เสพยาเสพติดในรูปแบบค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดิน รุ่นที่1

วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๙.๐๐ น.

#ณโรงแรมโกลเต้นแลน์ดรีสอร์ท ตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา นายณรงค์ วรหาญ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและ

ปราบปรามยาเสพติดภาค ๓ เป็นประธานพิธี

เปิดพร้อมนางสาวฐิติพร เต็มบุญประเสริฐสุข

พนักงานคุมประพฤติชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงาน โครงการแก้ไขปัญหา ผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดินจังหวัดนครราชสีมา รุ่นที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ในวันนี้

ตามนโยบายรัฐบาล/ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีใด้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติที่องค์กรทุกภาคส่วน ต้องเข้ามามีบทบาท/และส่วนร่วมในการขับเคลื่อน/ให้ปัญหาลดน้อยลงไม่ส่งผลกระทบ/ต่อการดำเนินชีวิตและความเดือดร้อนในสังคมของประชาชนโดยรวม

กระทรวงยุติธรรม โดยท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงมีนโยบายให้กรมคุมประพฤติ

โครงการแก้ไขปัญหาผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด ในรูปแบบค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดินในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๒ รุ่น ในปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๕ ซึ่งการจัดโครงการครั้ง เป็นครั้งที่ ๑ โดยการบูรณาการร่วมกับ สำนักงาน ปปส.ภาค ๓ กรมการปกครอง กอ.รมน.จังหวัดนครราชสีมา/จัดหางานจังหวัดนครราชสีมา/สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา/วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา/สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา/ภาคประชาสังคม

และภาคีเครือข่ายต่างๆ ประกอบกับจังหวัดนครราชสีมาได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดให้เป็นวาระของจังหวัดโดยให้ทุกภาคส่วน

ขับเคลื่อนไปด้วยกันและมีการบูรณาการทำงานอย่างจริงจังโดยการนำผู้เสพ/ผู้ติด ที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานคุมประพฤติจังหวัด

นครราชสีมา เข้ารับการอบรม จำนวน ๕0 คน

การดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหา/ผู้เสพยาเสพติดโดยใช้

ระบบค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดินจังหวัดนครราชสีมาดำเนินการโดยวิทยากร

แกนนำศูนย์ขวัญแผ่นดินที่ผ่านการอบรมพัฒนาศักยภาพวิทยากรแกนนำ

และขยายผลการแก้ไขปัญหายาเสพติดในรูปแบบค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดิน

โดยเน้นให้ได้รับการดูแลทั้งด้านสุขภาพ จิตใจ  และสร้างแรงจูงใจให้เกิดการยอมรับ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงลบ สร้างพฤติกรรมเชิงบวก

การควบคุมตนเอง ให้มีทักษะการปรับตัวเข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสมอันเป็นการคืนศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์และไม่ให้กลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอีก

แถลงข่าวเปิดตัว จัดงานฟอสซิลเฟสติวัลครั้งที่6 100 ปีแห่ง อนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทย

ม.ราชภัฏโคราชนำทัพเปิดโลกดึกดำบรรพ์ จัดงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6  100 ปีแห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยจากสมัยรัชกาลที่ 6

 วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ องค์การมหาชน (สสปน.) องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานนครราชสีมา วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าว งานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 : 100 ปีแห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยจากสมัยรัชกาลที่ 6 Fossil Festival VI : 100 Years of petrified Wood and Elephant Conservation from the Reign of King Rama VI ณ ห้องประชุมลำตะคอง 1 โรงแรมแคนทารี โคราช โดยได้รับเกียรติจาก นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา, นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา, นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน (อพท.),

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐินี ทองดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้ให้ถ้อยแถลงในการจัดงาน พร้อมกันนี้ ยังมีการจัดการเสวนาเพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและการจัดการอย่างยั่งยืน ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราชและที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดงาน, ดร.อัปสร สอาดสุด ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ ดร.อลงกต ชูแก้ว ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย เขาใหญ่ ดำเนินรายการโดย อ.นิรวิทย์ เพียราษฎร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้และเสริมสมรรถะมนุษย์

 งานฟอสซิลเฟสติวัล เป็นงานที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ดำเนินการจัดมาเป็นประจำทุก 2 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2554 จนถึงปัจจุบัน โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในคุณค่า รวมทั้งร่วมกันอนุรักษ์มรดกฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ของจังหวัดนครราชสีมา ให้คงอยู่และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ในปีนี้ ทางสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ได้จัดงานภายใต้แนวคิด “100 ปี แห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยจากสมัยรัชกาลที่ 6”

 ด้วยแนวคิดการอนุรักษ์ฟอสซิลในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน มีปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อรัชกาลที่ 6 หรือพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เสด็จมาตรวจการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา – อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2464 ณ บริเวณ สะพานดำ ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำมูล ในบริเวณบ้านะกุดขอน ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา พระยารำไพพงศ์บริพัตร วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้พร้อมกับชาวบ้านได้นำฟอสซิลจากไม้กลายเป็นหินจากท้องร่องแม่น้ำมูล น้อมเกล้าฯ ถวายแด่ ร.6 แต่พระองค์ท่านกลับแนะนำให้เก็บรักษาไว้ในท้องที่ พระยารำไพพงศ์บริพัตรจึงได้สร้างอนุสรณ์สถานการเสด็จมาตรวจการก่อสร้างทางรถไฟของ ร.6 ในบริเวณหัวสะพาน แล้วนำไม้กลายเป็นหินท่อนดังกล่าวฝังตรึงไว้บนยอดอนุสรณ์สถาน ซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นเป็นสภาพเดิมตราบกระทั่งปัจจุบัน อนุสรณ์สถานไม้กลายเป็นหิน ร.6 นี้จึงเป็นอนุสรณ์การอนุรักษ์ฟอสซิลหรือไม้กลายเป็นหินที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และชุมชนชาวท่าช้างมาครบ 100 ปี ในวันที่ 4 ธันวาคม 2564 นี้ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและเอชียตะวันออกเฉียงใต้

 การจัดงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 กำหนดจัดในระหว่างวันที่ 4 – 10 ธันวาคม 2564 ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในรูปแบบ Hybrid โดยมีกิจกรรมทั้งรูปแบบของ Onsite ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ และระบบ Online โดยมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ

 1. การแถลงข่าวการจัดงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 และการเสวนาการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบ Hybrid (Onsite and Online)

 2. พิธีเปิดงาน ฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 พร้อมชมนิทรรศการชุด “โคราช : มหานครแห่งบรรพชีวินโลก World Paleontopolis” , “จีโอพาร์ค” โดยกรมทรัพยากรธรณี, และ นิทรรศการ “ไม้กลายเป็นหินแปลก”

 3. งานสัมมนาทางวิชาการ บรรพชีวิน “100 ปี อนุรักษ์และวิจัยฟอสซิลในโคราช”

 การเสวนาทงวิชาการหัวข้อ “ฟอสซิลแห่งสยามกับการอนุรักษ์”, “ฟอสซิลแห่งสยามกับการอนุรักษ์และโคราชมหานครแห่งบรรพชีวินโลก (World Paleontopolis)”

 การนำเสนอผลงานทางวิชาการ “ร่วมเรียนรู้สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์กับนักวิจัย” และ “พิพิธภัณฑ์ฟอสซิลเพื่อการนันทนาการและการเรียนรู้” วันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2564 ในรูปแบบ Hybrid

 4. พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ร่วมกัย กรมทรัพยากรธรณีและภาคีเครือข่าย วันที่ 8 ธันวาคม 2564 ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ในรูปแบบ Hybrid (Onsite and Online)

 นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม “ทัวร์เที่ยวทิพย์ท่องเที่ยวมหานครแห่งบรรพชีวิน”, “กิจกรรมท่องเที่ยวไปในพิพิธภัณฑ์ฯ กิจกรรม DIY By Khorat Fossil Museum พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจตามแต่ละวัน เช่น ตอน ไดโนเสาร์สิรินธรน่าโคราชเอนซิส และสยามแรปเตอร์ สุวัจน์ติ, “เติมสีสันให้ช้าง” และงานแสดงสินค้าชุมชนและผลผลิตทางการเกษตร “ไม้หิน กรีน มาร์เก็ต” พร้อมชมผลานทางศิลปะ โดยงาน Thailand Art Biennale 2021

 การจัดงานในครั้งนี้จึงนับเป็นก้าวสำคัญของจังหวัดนครราชสีมาที่ได้ดำเนินการค้นพบและอนุรักษ์ซากดุกดำบรรพ์ และในปี พ.ศ.2564 ครบรอบ 100 ปี จึงเป็นโอกาสดีที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ และภาคีในจังหวัดนครราชสีมาจะได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างความเข้าใจเรื่องซากดึกดำบรรพ์ ตลอดจนการกระตุ้นให้ชาวจังหวัดนครราชสีมา ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนคนทั่วไปได้ตระหนักในความสำคัญของซากดุกดำบรรพ์ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สามารถนำมาต่อยอดในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายของการจัดงานที่สำคัญ คือ การสร้างความตระหนักในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณีและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเชื่อมโยงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก หรือ SDGs