กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยสพร.5 นครราชสีมา


สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ๕ นครราชสีมา โดย ผอ.สพร.๕นม.
ว่าที่ร้อยตรี สมศักดิ์ พรหมดำพร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่และผู้เข้ารับการฝึกได้ร่วมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ โดยตักบาตรพระสงฆ์ ๙ รูป พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและลงนามถวายพระพร รวมทั้งการจัดกิจกรรมจิตอาสาหัวข้อ สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย โดยวิทยากรจิตอาสา ๙๐๔ จ.นครราชสีมา และการปลูกต้นไม้ภายในสถาบันฯ โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ๑๔๐ คน

จิตอาสาทำดีด้วยหัวใจ…โคราชร่วมใจบูรณาการป้องกันภัย3โรคร้ายแรง

จังหวัดนครราชสีมาเร่งบูรณาการโรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้า ร่วมกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย 3 แห่ง

วันนี้(5 มิ.ย.63) ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรคไข้เลือดออก
และโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดนครราชสีมา ปี 2563 พร้อมเปิดกิจกรรมจิตอาสา“เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” และนพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา นายสุรวุฒิ เชิดชัยนายกเทศบาลนครนครราชสีมากล่าว
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา

กล่าวว่า จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ทั่วโลกและประเทศไทย ดังนั้นเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19ระลอก2 จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 โดยบูรณาการโรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้าด้วยพบว่าเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย นิทรรศการโรคโควิด-19 โรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้า บริการทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สุนัขและแมว โดยความร่วมมือของจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมาและเทศบาลนครนครราชสีมา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ


ภาคเอกชนและจิตอาสาพระราชทาน 904 “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ร่วมกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย 3 แห่ง ได้แก่ บริเวณหน่วยงานรอบๆศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา, วัดสุทธจินดาวรวิหาร
และวัดบึงอารามหลวง ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เเลือดออก พร้อมโรคโควิด-19 และโรคพิษสุนัขบ้า โดยขอให้ประชาชนร่วมมือป้องกันทั้ง 3โรคและติดตามสถานการณ์จากจังหวัดนครราชสีมาอย่างใกล้ชิด


ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่าต่อจากนั้นนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาพร้อมด้วยนพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาและนายสุรวุฒิ เชิดชัยนายกเทศบาลนครนครราชสีมาจึงได้ชมนิทรรศการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2519 โรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้าและชมการให้บริการทำหมัน และฉีดวัดชีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สุนัขและแมว ประธานในพิธีร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” แบ่งกลุ่มจิตอาสา สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 3 จุดอีกด้วย
ทางด้าน นพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่าเพื่อให้ชาวโคราชร่วมมือป้องกันการระบาดระลอก 2 ของวิกฤตโรคโควิด-19 อีกทั้งมีรายงานทางระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-3 มิถุนายน 2563พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 1,118 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 42.3 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.08 อัตราป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.14 พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง อัตราส่วนพศชาย ต่อ เพศหญิง เท่ากับ 1.1 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียน คือกลุ่มอายุ 10-14 ปี 326 ราย รองลงมาคือ 5-9(265ราย ), 15-19(253ราย), 20-24(128ราย),0-4(96,ราย),25-29(86ราย),30-34(62ราย),35-39(45ราย),45-49(27ราย),40-45(22ราย), 70+,(19ราย), 50-54(18ราย), 55-59(17,ราย), 65-69(12 ราย) และ 60-64 (8 ราย)ตามลำดับ โดยขณะนี้(ณ 2 มิ.ย.63)จังหวัดนครราชสีมามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศ รองจาก 1) ระยอง 2) ชัยภูมิ 3)ขอนแก่น 4)นครราชสีมา และ 5)แม่ฮ่องสอน อีกทั้งพบว่า ทั้ง 32 อำเภอที่พบอัตราป่วยสูงสุด 10 ลำดับแรก คือ 1.เฉลิมพระเกียรติ 2.โนนไทย 3.สูงเนิน 4.โชคชัย 5.บัวใหญ่ 6.ประทาย 7.ขามทะเลสอ 8.เมือง 9.พิมาย และ 10.โนนสุง ตามลำดับ ดังนั้นขอให้ทุกพื้นที่เร่งสร้างความร่วมมืออย่างเข้มข้นในการรณรงค์ให้ประชาชน ร่วมมือกับผู้นำชุมชน หมู่บ้าน องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่น และ อสม. เพื่อชาวโคราชรวมพลังตั้งการ์ดสู้ภัยโรคไข้เลือดออก ควบคู่ไปพร้อมๆกับโควิด-19 รณรงค์สื่อสารลดความเสี่ยงโรคไข้เลือดออก รณรงค์ 3 เก็บ “เก็บบ้าน เก็บน้ำ เก็บขยะ” และปฏิบัติตาม 5 ป. 2ข. ได้แก่ ป.ปิดภาชนะน้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักน้ำใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ , ป.เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำยุงลายที่จะกลายเป็นยุง , ป.ปล่อยปลากินลูกน้ำ ในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่ , ป.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย และ ป.ปฏิบัติเป็นประจำทุกๆสัปดาห์จนเป็นนิสัย สำหรับ 2ข.ได้แก่ ข.ขัดไข่ยุงที่ขอบด้านในของภาชนะเก็บกักน้ำ และ ข.ขยะกำจัดให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย ทั้งที่บ้าน วัด โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ทำงาน ศาสนาสถาน อีกทั้งป้องกันยุงลายกัดในช่วงกลางวันโดยการนอนกางมุ้งหรือทายากันยุง รวมทั้งใช้นวัตกรรมใหม่ๆในการป้องกันควบคุมโรคเพื่อให้โคราชปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกป้องกันได้ แต่มีอันตรายรุนแรงถึงเสียชีวิต โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค หากมีไข้สูงลอยเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารหน้าแดง ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านด่วนเพื่อป้องกันการเสียชีวิต ขณะที่โรคพิษสุนัขบ้า ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทำให้มีผู้เสียชีวิตทุกปี โดยข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 2 มิถุนายน 2563 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต แต่ยังพบโรคในสัตว์พาหะอย่างต่อเนื่องทุกปีโดยในปี 2563 ข้อมูลจาก website thairabies.com ของกรมปศุสัตว์ พบว่า มีตัวอย่างสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้า จำนวน 1 ตัวอย่าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีความเสี่ยงต่อการระบาด ของโรคพิษสุนัขบ้า จากการเฝ้าระวังของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้ติดตามผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าเข้ารับวัคซีน 100 % ดังนั้นการบูรณาการร่วมกันเพื่อประชาสัมพันธ์เชิงรุกสร้างการรับรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และมีความตระหนักในเชิงป้องกัน โดยการเน้นย้ำว่าผู้ที่สัมผัสหรือถูกสุนัข/แมวกัด ข่วน ต้องเข้าทำการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันและรับการ
รักษาอย่างถูกวิธีตามหลักสาธารณสุขหากไม่เข้าสู่กระบวนการรักษา หากป่วย“ตายอย่างเดียว” จึงขอความร่วมมือประชาชนเจ้าของสุนัข/แมว ให้มีความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูโดยนำสัตว์เลี้ยงของตนมาขึ้นทะเบียนเพื่อรับวัคซีนหรือทำหมัน และกำหนดมาตรการในการลดจำนวนสุนัข-แมวจรจัดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง รวมทั้งส่งเสริมให้เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล/ปศุสัตว์/ผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุข/อาสาสมัครพัฒนาปศุสัตว์ประจำ หมู่บ้าน ดำเนินการสำรวจจำนวนสุนัขและแมวทุกพื้นที่และให้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยเน้นย้ำให้ประชาชนป้องกันตนเอง โดยยึดหลัก “คาถา 5 ย” 1) อย่าแหย่ ให้สุนัขโมโห โกรธ 2) อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆตกใจ 3) อย่าแยก สุนัขที่กำลังกัดกัน ด้วยมือเปล่า 4) อย่าหยิบ ชามข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกิน 5) อย่ายุ่ง หรือเข้าใกล้กับสุนัขหรือสัตว์ต่างๆ นอกบ้านที่ไม่มีเจ้าของ หรือไม่ทราบประวัติ

กลุ่มเพื่อนดาราจิตอาสาช่วยชาววังน้ำเขียว

กลุ่มเพื่อนดารา-นักแสดง จิตอาสาเพื่อสังคม# จิตอาสากลุ่มเพื่อนดารา-นักแสดง

ได้ร่วมส่งมอบถุงยังชีพให้พ่อแม่พี่น้อง
ในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
​เป็นจำนวน 60ชุด​ กิจกรรมวันงาน
นัดร่วมตัวที่สนามหลวงเวลา07.00-08.30น ในวันที่30/05/63


1.ตั้งขบวนรถมอเตอร์ไชร์ที่จะร่วมเดินทางและรถยนต์พยาบาล-รถยนต์บันทุกสิ่งของและบันทุกคน
2.เดินทางถึงสถานีวิทยุ99.75fmวังน้ำเขียว
3.เตียมตั้งสิ่งขอบริจากที่สถานีวิทยุ99.75 fmวังน้ำเขียวชุดแรก


4.ของชุด2เดินทางต่อตำบลไทยสามัคคีแจกของ ณ บ้านอสม.ปู ที่ประสานขอถุงยังชีพในส่วนที่2
5.เดินทางกลับที่พักจังเกิลวิววังน้ำเขียวที่สนับสนุนที่พัก(บ้างท่านสามารถเดินทางกลับที่ติดธุระทางบ้าน)


6.เดินทางไปวัดบ้านไร่2ไหว้หลวงพ่อคูณองค์ใหญ่ทองคำ
7.เดินทางสู่ผ่าเก็บตะวันเพื่อเก็บบรรยากาศ
8.เดินทางสู่ผ่ารักสลักได-ผาที่สวยที่สุดในอำเภอวังน้ำเขียวอธิฐานเรื่องความรัก
9.เดินทางกลับกรุงเทพ-เป็นอันจบทริปงานบุญครับสาธุๆ

พิธีเปิดโครงการ “ ๑๐๑ อาชีพ”เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐

พิธีเปิดโครงการ “ ๑๐๑ อาชีพ”เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐

วันนี้   ที่วัดดอนขวาง  ตำบลหัวทะเล  อำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมา  ว่าที่ร้อยตรี นิรันดร์  ดุจจานุทัศน์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด  โครงการ “๑๐๑ อาชีพ”  เฉลิมพระเกียรติ  เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  กระทรวงแรงงาน  โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน  ๕  นครราชสีมา  ดำเนินการจัดกิจกรรมขึ้น  จำนวน  ๒  กิจกรรมได้แก่การพัฒนาทักษะ ๑๐๑  อาชีพ  และการจัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์  เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเทนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร  กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช  สยามินทราธิเบศรราชวโรดม  บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสมหามงคล  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒

ทั้งนี้  นายสุเมธ  โศจิพลกุล   ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน   ๕  นครราชสีมา  ในนามผู้ดำเนินโครงการ “๑๐๑ อาชีพ” เฉลิมพระเกียรติ  เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เนื่องในโอกาสมหามงคลการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักกรี  ทั้งนี้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  กระทรวงแรงงาน  สำนึกอย่างหาที่สุดไม่ได้ในพระมหากรุณาธิคุณและการได้สนองเบื้องพระยุคลบาทอย่างต่อเนื่องในการปฎิบัติภารกิจและหน้าที่ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีศักยภาพสูงสุด  รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างประเทศ  ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ  โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ  และประชาชนเป็นสำคัญ  จึงขอน้อมนำศาสตร์พระราชา  ตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง  โดยส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสพัฒนาทักษะ ในการประกอบอาชีพของตนเองเพื่อให้มีอาชีพ  มีรายได้  ที่มั่นคง  และประยุกต์ใช้ความรู้จากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสู่การดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนด้วยการจัดฝึกอบรมทักษะ ๑๐๑ อาชีพให้แก่ประชาชนที่สนใจ  จำนวน  ๒ รุ่น รุ่น ๆ ๒๐ คน  รวมเป็น  ๔๐ คน ฝึกอบรมระหว่างวันที่  ๒๑ – ๒๓ สิงหาคม  ๒๕๖๒   ณ วัดดอนขวาง  ต.หัวทะเล  อ.เมือง จ.นครราชสีมา

จิตอาสาฯนำผ้าห่มกันหนาวมอบอาสาสมัครป้องกันไฟป่า หลังอากาศเย็นลงต่อเนื่อง

         

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สถานีควบคุมไฟป่าบ้านหนองโบสถ์ หมู่ที่ 16 ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา นายนพชัย กลิ่นสูงเนิน หัวหน้าหน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่านครราชสีมา รับมอบผ้าห่มกันหนาวจำนวน 100 ผืน จากประชาชนจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจอำเภอครบุรี ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ รวมถึงกองร้อยรักษาความสงบเรียบร้อยเคลื่อนที่เร็วกองทัพภาคที่ 2 ก่อนที่จะนำไปแจกจ่ายให้กับกำลังอาสาสมัครเครือข่ายควบคุมไฟป่าในพื้นที่อำเภอครบุรี เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในการเฝ้าระวังและควบคุมไฟป่า เนื่องจากในช่วงนี้เป็นช่วงที่สภาพอากาศหนาวเย็น และพื้นที่เสี่ยงการเกิดไฟป่าในพื้นที่อำเภอครบุรีส่วนใหญ่ จะอยู่บนภูเขาสูงชัน ห่างไกลจากชุมชนเมือง ผ้าห่มกันหนาวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทางเครือข่ายรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจำเป็นต้องใช้และยังขาดแคลนอยู่

          สำหรับสถานการณ์ไฟป่าในพื้นจังหวัดนครราชสีมา เริ่มเกิดปัญหาขึ้นแล้วในบางพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นพื้นที่ที่เคยเกิดขึ้นเป็นประจำ อาทิในพื้นที่ป่าหนองเต็ง ป่าจักราช อ.เฉลิมพระเกียรติ และพื้นที่อำเภอครบุรี ซึ่งขณะนี้ทางหน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าก็ได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการควบคุมไฟป่าเพิ่มเติมขึ้น โดยใช้งบประมาณจากทางกรมป่าไม้มาดำเนินการเพื่อให้เป็นส่วนร่วมในการจัดการปัญหา  สำหรับในปีนี้มีการเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่อำเภอครบุรีเพิ่มเติมจาก 2 เครือข่าย เป็น 6 เครือข่ายแล้ว

           โดยสาเหตุของการเกิดไฟป่าส่วนใหญ่ เกิดจากการจุดไฟเผาป่าเพื่อล่าสัตว์ และหาของป่า ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติของไทยถูกทำลายอย่างมาก รวมถึงเป็นสาเหตุสำคัญในเกิดปัญหาหมอกควันสร้างมลพิษ

>ชมคลิป<<

“จิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ” ร่วมแรงร่วมใจสร้างฝายกักเก็บน้ำในพื้นที่ห่างไกล

จิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ ร่วมแรงร่วมใจสร้างฝายกักเก็บน้ำในพื้นที่ห่างไกล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมเกียรติ ทองครบุรี ผู้ใหญ่บ้านคอกช้าง หมู่ที่ 11 ต.ครบุรีใต้ อ.ครบุรี   จ.นครราชสีมา นำประชาชนจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจในพื้นที่ กว่า 50 คน ช่วยกันก่อสร้างฝายน้ำล้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง เนื่องจากหมู่บ้านคอกช้างไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำสำรองไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและ จนเกิดเป็นปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งเป็นประจำทุกปี  อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยดูแลผืนป่าสงวนแห่งชาติป่าครบุรี และอุทยานแห่งชาติทับลาน จึงยังไม่มีระบบสาธารณูปโภคทั้งน้ำประปาและไฟฟ้า

ประกอบกับก่อนหน้านี้ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดสรรงบประมาณจำนวนกว่า 4 แสนบาท เพื่อมาช่วยทำการขุดลอกคลองน้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้านไว้ให้แล้ว ทางชุมชนจึงช่วยกันระดมทุนและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อมาสร้างฝายน้ำล้นไว้กักเก็บน้ำ โดยประชาชนจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ ได้ช่วยกันสร้างฝายน้ำล้นจำนวน 2 ตัว ให้ลดหลั่นกันไปแบบขั้นบันได ให้สามารถกักเก็บน้ำเป็นระยะๆ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูน้ำหลาก ปริมาณน้ำทั้งหมดที่ไหลลงมาจากเขาคอกช้างซึ่งอยู่ด้านบน จะไหลผ่านหมู่บ้านจนไม่มีเหลือ เพราะบริเวณหมู่บ้านเป็นที่สูงและไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าฝายที่สร้างขึ้นใหม่นี้จะสามารถกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ ไว้ให้ได้ใช้ต่อไปในอนาคต

>คลิป<<