ร่วมใจสู้น้ำท่วม “พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจช่วยชัยภูมิ”

“ ร่วมใจสู้ ภัยน้ำท่วม ช่วยสถานพินิจฯ ชัยภูมิ เพื่อเด็กและเยาวชน ”
จากสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดชัยภูมิ “ อ่วมรอบ 50 ปี เจอวิกฤตหนักสุด ”
จากพื้นที่รับอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมครั้งใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2564 ถึงปัจจุบัน สร้างความเสียหายบ้านเรือนประชาชนและส่วนราชการชัยภูมิเดิอดร้อนหนักอันรวมสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิเป็นหน่วยงานช่วยเหลือ,คุ้มครองสวัสดิ์ภาพเด็กและเยาวชนที่ตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตขณะนี้

วันที่ 28 กันยายน 2564 ดร.รัตนะ วรบัณฑิต ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 พร้อม นาย คมกฤษณ์ แสงจันทร์ ผอ.สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา และ นายฐิติรรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ รองประธานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน สำหรับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา และ เจ้าหน้าที่สถานพินิจฯ
นครราชสีมา ร่วมมอบสิ่งของกำลังใจโดย นางสาว สุมณฑา เกตุมณี ผอ.สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิต้อนรับพร้อมคณะเยี่ยมชมดูสถานที่และการเตรียมการรองรับสถานการณ์น้ำท่วมภายในหน่วยงานด้านต่างๆ อาทิ ห้องพิจารณาคดี , แก้มลิงพื้นที่สถานพินิจเด็กและเยาวชนที่กำกับดูแล พร้อมคณะนำสิ่งของอาหารแห้ง , ข้าวสาร , เวชภัณฑ์ยา และ ผลไม้ต่างๆ

ดร. รัตนะ วรบัณฑิต กล่าวการมาเยี่ยมครั้งนี้ด้วยความรู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนของน้องๆเสมือนญาติพี่น้องครอบครัวเดียวกันจึงนำความช่วยเหลือเบื้องต้นมาดูแลความเป็นอยู่ช่วยเหลือกัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและกล่าวแนะนำการทำงานสร้างขวัญกำลังใจ พร้อมยินดีช่วยเหลือคณะเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ด้วยรักและห่วงใย เราจะสู้วิกฤตนี้ผ่านไปด้วยกันแม้จะเจอวิกฤตหนัก 2 ด้าน สถานการณ์ติดเชื้อโควิด19 และภัยพิบัติทางน้ำก็ตาม

เฝ้าระวังสถานการณ์มวลน้ำ สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำลำเชียงไกร(26-27กย.64)

ล่าสุด เช้าวันนี้ (27 ก.ย.64) ระดับน้ำในอ่างฯ ลดลง 30 ซม. (เริ่มลดลงเวลา 1:00) และเหลือถึงระดับสันทำนบดิน อ่างฯ 60 ซม.
หมายถึง ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ ประมาณ 400-500 ลบ.ม.ต่อวินาที < (ลดลง/น้อยกว่า) ปริมาณน้ำที่ไหลออกจากทุกช่องทาง (ช่อง river outlet ซ้าย/ขวา , กาลักน้ำ /สูบน้ำ ,รถสูบซิ่ง ,ทางระบายน้ำฉุกเฉินขวา (Emergency Spillway) ,และช่องบ่อก่อสร้าง ประตูระบายน้ำ( Service Spillway)
• จึงยังไม่ต้องตัดคันทำนบดินอ่างฯ จุดอื่นเพิ่มการระบายอีก

ระดับน้ำในอ่างฯ ทรงตัวและลดลง ทำให้ ไม่เกิดล้นข้ามทำนบดินสันของอ่าง ในลักษณะพังทลาย หรือเขื่อนแตก
สามารถบริหารน้ำออกอ่างฯให้มากกว่าหรือเท่ากับน้ำเข้าอ่างฯ รักษาความปลอดภัยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ พ้นวิกฤติ และบรรเทาความเสียหายด้านท้ายน้ำ
ยังต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำที่ยังคงไหลลงมาจากตอนบน ห้วยสามบาท ที่ไหลลงมาอย่างต่อเนื่องต่อไป
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำลำเชียงไกรในวันที่26 กันยายน 2564
.
อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนบน อ.ด่านขุนทด มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 9.029 ล้าน ลบ.ม. หรือ 141.95 % ที่ระดับเก็บกัก (8.40 ล้าน ลบ.ม.)
เมื่อวานน้ำไหลลงอ่าง 12.79 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำออกผ่านทางระบายน้ำฉุกเฉิน (Emergency Spillway) 11.194 ล้าน ลบ.ม.
แนวโน้มทรงตัวแล้วลดลง
อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่ อ.ด่านขุนทด มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 9.029 ล้าน ลบ.ม. หรือ 103.78 % ที่ระดับเก็บกัก (8.70 ล้าน ลบ.ม.)
เมื่อวานน้ำไหลลงอ่าง 2.069 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำออก –
แนวโน้มเพิ่มขึ้น ล้นทางระบายน้ำฉุกเฉิน

อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง อ.โนนไทย มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 41.96 ล้าน ลบ.ม. หรือ 151.49 % ที่ระดับเก็บกัก(27.70 ล้าน ลบ.ม.)
เมื่อวานน่ำไหลลงอ่างฯ 9.925 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำออกทั้งหมด 4.487 ล้าน ลบ.ม.
แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

อ่างเก็บน้ำหนองกก อ.พระทองคำ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 2.97 ล้าน ลบ.ม. หรือ 117.96 % ที่ระดับเก็บกัก (2.50 ล้าน ลบ.ม.)
เมื่อวานน้ำไหลลงอ่าง ล้าน 0.045 ลบ.ม. ระบายน้ำออกผ่านทางระบายน้ำฉุกเฉิน (Emergency Spillway) 0.219 ล้าน ลบ.ม.
แนวโน้มทรงตัวแล้วลดลง
ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำที่เกิดจากปริมาณน้ำฝน 50 -150 มม. ที่ตกในลุ่มน้ำจากอิทธิพลพายุโซนร้อน”เตี้ยนหมู่”
มีปริมาณน้ำท่า ไม่น้อยกว่า 50 ล้าน ลบ.ม. รวมกับลำน้ำสาขาต่างๆ และปริมาณน้ำในพื้นที่ที่ค้างอยู่ โดยที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมด ทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก เกินความจุทั้งหมดแล้ว ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งลุ่มน้ำ

/โครงการชลประทานนครราชสีมา