สภาวัฒนธรรมโคราชผนึกกำลังผนึกกำลังกับวัฒนธรรมจังหวัด พร้อมด้วยเครือข่าย 32 อำเภอ สนับสนุนข้าวกล่องและน้ำดื่มมอบให้ รองนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะ เพื่อส่งต่อแก่บุคลากรทางการแพทย์ สู้ภัยโควิด 19 ณ เดอะมอลล์ โคราช

นางเอมอร  ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา  พร้อมด้วย นาย ไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชีมา, นางสมใจ อินทรทรัพท์  รองประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา, พันเอกนเรศ  พิลาวัล , นายสมชาย รักษ์กลาง ,นายฐิตรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาพร้อมด้วยเครือข่าย 32 อำเภอ ได้นำอาหารกล่อง จำนวน 250 กล่อง และน้ำดื่ม  จำนวน 1,200  ขวด  โดยได้รับการประงานงานด้วยดีจาก คุณรัจริน วงศ์จิต นายกสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา  เพื่อนำไปมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์โคราช  โดยได้รับเกียรติจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมคณะ เป็นผู้รับมอบ

จากนั้น นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมคณะ ได้เข้าพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมในการทดลองระบบ  ณ หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ศูนย์การค้าเดอะมอลล์  โคราช  ก่อนจะทำการทดสอบระบบ ระหว่างวันที่ 24-31 พฤษภาคม 2564  เพื่อฉีดวัคซีนให้เฉพาะ 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ที่ลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อม และหน่วยงานที่ลงทะเบียนกับทาง สสจ. เป็นที่เรียบร้อย   ทั้งนี้ สถาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยคณะกรรมการทุกท่าน ยังคงเดินหน้าเพื่อร่วมแบ่งปันน้ำใจ พร้อมด้วยการช่วยบอกกล่าวประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนสนใจในการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น

การประชุมเสวนา และรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน”การสร้างงานศิลปะประเภทถาวร” มหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 2

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2563การประชุมเสวนา และรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน”การสร้างงานศิลปะประเภทถาวร” มหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 2ณ ห้องประชุมปัญจดารา 1 ชั้น 2 โรงแรมปัญจดารา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาโดยนายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประธานพร้อมด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ภัณฑารักษ์ ศิลปินสื่อมวลชน ประธานชุมชนในขตเทศบาลนครนครราชสีมา นักเรียน นักศึกษา และผู้มีเกียรติทุกท่าน


นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่าจากการที่รัฐบาลได้คัดเลือกจังหวัดนครราชสีมาเป็นสถานที่จัดการแสดงมหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 2 Thailand Biennale, Korat 2021 ขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน -กันยายน 2564 ซึ่งจะเป็นกิกรรมที่สร้างภาพพจน์และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น นับเป็นโอกาสของจังหวัดนครราชสีมาที่ได้เปิดประตูบ้านต้อนรับแขกผู้มาเยือนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทั้งนี้ การสร้างงานศิลปะถาวร ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ทั้ง 6 แห่ง ของจังหวัดนครราชสีมา นั้น จะทำให้ภาพของเมืองเปลี่ยนแปลไปในทางที่ดีขึ้น เป็นการผสมผสานงานศิลปะ สิ่งแวดล้อม และเมือง ไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชาวจังหวัดนครราชสีมา และการขับเคลื่อนให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองศิลปะอย่างยั่งยืน จึงขอให้ทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้ เสนอข้อคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เพื่อจังหวัดนครราชสีมาของเรา และเพื่อการเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นในปี 2564ผมขอแสดงความขอบคุณทางสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะภัณฑารักษ์ศิลปิน และผู้แทน ตลอดจนทุกทนที่เสียสละเวลาเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้


สืบเนื่องจากจังหวัดนครราชสีมา ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลให้เป็นพื้นที่จัดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 2 Thailand Beinnale, Korat 2021 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2564 ทั้งนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม คณะภัณฑารักษ์ และจังหวัดนครราชสีมา ได้ลงศึกษาพื้นที่จัดแสดงงาน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นมา และได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ และศิลปินสำหรับการสร้างงานศิลปะประเภทถาวร จำนวน 6 ผลงาน 6 พื้นที่ ได้แก่
1.ผศ.บุญเสริม เปรมราคา สถานที่ สวนสัตว์นครราชสีมา

  1. นายกฤช งามสม สถานที่ บริเวณ Art Gallery
  2. นายประสิทธิ์ วิชายะ สถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  3. นางสาวรัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง สถานที่ สวนสัตว์นครราชสีมา
  4. Sandra Cinto สถานที่ บริเวณบ่อน้ำพุ สวนสุรนารี
  5. Junya Ishigami สถานที่ บริเวณ Art Gallery
    เนื่องจากจะมีผลงานประเภทถาวร ติดตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะ จำนวน 3ผลงาน จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดการประชุมเสวนา และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนขึ้นในกระทรวงวัฒนธรรม ภัณฑรักษ์ และศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานศิลปะที่จะเกิดขึ้น พร้อมการรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ประกอบด้วย ศิลปิน ครูศิลปะ ผู้บริหารสถบันการศึกษา ผู้แทนชุมชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา นักศึกษา และสื่อมวลชน จำนวนทั้งสิ้น 170 คน

“วัดพรหมราช” ชุมชนคุณธรรมรางวัลระดับประเทศ เน้นความพอเพียงอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น

          เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย ผศ.รณรงค์ จันใด อาจารย์สาขาวิชานโยบายสังคมการพัฒนาสังคมและการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัดพรหมราช ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ในปีนี้ทางจังหวัดนครราชสีมา ได้รับรางวัลชุมชนต้นแบบ เพื่อนำการขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม ทั้งด้านศิลปะการแสดง โดยเฉพาะ รำโทนโคราช ที่เป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ รวมถึงอาหารพื้นเมืองพื้นถิ่น อาทิ ข้าวโป่ง พล่าหมี่โคราช มีที่นี่ที่เดียวต้องมาลองชิม นอกจากนี้ในชุมชนของที่นี่มีความสำคัญ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ของวัดพรหมราชเก็บวัตถุโบราณอายุเป็นพันปี และชุมชนที่นี่ก็มีความสามัคคีอย่างมาก ในส่วนของการต่อยอดในอนาคต ทางสภาฯเราก็ได้จัดให้มีการประชุมสัญจรแลกเปลี่ยน จัดงานมหกรรมชุมชนของดี และนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เราจัดไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 เราจะไปจัดกันที่จังหวัดยโสธรในปลายเดือนกันยายนนี้ และจากนี้เราก็จะช่วยกันทุกภาคส่วนที่จะต้องผลักดันกัน โดยจะนำนิสิตนักศึกษาจากทุกสภาบันในโคราช โดยจัดตั้งเป็นสภา เยาวชน เพื่อรักษาอนุรักษ์วัฒนธรรมในท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป

ทางด้าน ผศ.รณรงค์ จันใด อาจารย์สาขาวิชานโยบายสังคมการพัฒนาสังคมและการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทางวัดพรหมราชมีศิลปะวัฒนธรรมภายในชุมชนที่น่าสนใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์การสืบทอดต่อไป จากการศึกษาภายในชุมชนมีความเป็นโคราชแท้ มีคุณตาคุณยายที่ยังสืบสานวัฒนธรรมอยู่ โดยเฉพาะหมี่โคราช อาหารท้องถิ่นที่ยังคงมีการสืบทอด และที่สำคัญจริงๆคืออยากให้เด็กและเยาวชนมีบทบาทและส่วนร่วมในเรื่องนี้ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกับขับเคลื่อนอนุรักษ์โดยสภาเด็กและเยาวชนมาร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเกิดความยั่งยืน นอกจากนี้ ทางทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็จะจัดทำวีดีโอและทำ VTR  ในการขับเคลื่อนการจัดการภายในชุมชนตัวอย่าง ไปเผยแพร่ให้กับทุกจังหวัดได้มาดูงานเป็นตัวอย่างเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป

ขณะที่ พระครูโกศล ธรรมวิบูลย์ เจ้าอาวาสวัดพรหมราชและเจ้าคณะตำบลตูม กล่าวว่า วัดแห่งนี้จากการสันนิษฐานตามประวัติศาสตร์นั้นสร้างเมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนชื่อวัดพรหมราชนั้น เป็นชื่อของคนชื่อพรหมส่วนราชมาจาก หลังจากนั้นท่านก็ได้บรรพชาเป็นพระภิกษุและได้เทศน์ชื่อ ‘กัณฑ์มหาราช’ ในตอนหนึ่งของเวสสันดรชาดก หลังจากนั้นท่านก็สึกจากพระมาเป็นฆราวาส ผู้คนจึงได้นำชื่อของท่านมาเป็นชื่อวัด นอกจากนั้นในวัดยังมีพระพุทธรูปไม่ปรากฏชื่อ ปางลีลา อายุหลายร้อยปี ซึ่งเราก็ได้ไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพรหมราช ประชาชนที่เข้าวัดมาทำบุญก็สามารถมาไหว้สักการะขอพระได้ นอกจากนี้ เป็นประจำทุกปีวัดเราจะจัดงานนมัสการพระพุทธบาทจำลองจัดมากว่า 96 ปีแล้ว จัดสมโภชยิ่งใหญ่ทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถวายเป็นพุทธบูชา รักษาและสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามในท้องถิ่น สอดคล้องนโยบายชุมชนคุณธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งปีนี้ก็ได้รับรางวัลวัดต้นแบบชุมชนคุณธรรม ซึ่งทางวัดตระหนักว่าวัดคือศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน มีความสามัคคีในชุมชน

ทั้งนี้ ช่วงบ่าย นางฝน คงศักดิ์ตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลด่านเกวียน  ได้ให้การต้อนรับ  นายไชยนันท์  แสงทอง  วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและคณะ สู่ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั่นดินเผา เทศบาลตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย  จังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สร้างชื่อเสียงในระดับประเทศ  และเป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผามายาวนานหลายชั่วอายุคน  เอกลักษณ์ที่สำคัญคือ  ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากที่นี่ มีความแข็งแกร่ง ผิวจะมีความวาว มัน มีสีน้ำตาลแดงงดงาม  และดินที่ใช้ปั้นเป็นดินที่มาจากแหล่งคุณภาพที่สุดของจังหวัดนครราชสีมาได้มาจากริมแม่น้ำมูล  ซึ่งปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นอาณาจักรเครื่องปั้นดินเผาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา