ยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding)

ยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding) บูรณาการหน่วยงานในการอำนวยความยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา และ โครงการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
วันที่ 6 สิงหาคม 2564 ณ ห้องประชุมมูลนิธิท้าวสุรนารี ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา โดย นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าจังหวัดนครราชสีมา ประธานพร้อมด้วย นายวิเชียร ไชยสอน ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมาในโครงการจัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU (memorandum of understanding) บูรณาการหน่วยงานในการอำนวยความยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา และ โครงการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กล่าวและ ดร.ยลดล หวังศุภกิจโกศลนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จังหวัดนครราชสีมา ท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา แรงงานจังหวัดนครราชสีมา ประธานมูลนิธิพุทธธรรมนครราชสีมา (ฮุก 31) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา นายกเทศมนตรี/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทุกท่าน

นายวิเชียร ไชยสอน ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมากล่าวในปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้นยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีช่องว่าง ระหว่างคนรวยกับคนคนจน ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่เราได้ยินประจำ “คุกมีไว้ขังคนจน” “คนรวยนอนบ้าน ขอทานนอนคุก” ถ้ามีปัญญาก็ไปฟ้องเอา ต่างๆเหล่านี้ล้วนสะท้อนปัญหาการเข้าไม่ถึงประบวนการยุติธรรมของประชาชนได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา มีกระบวนการ ขั้นตอน ตามระเบียบกฎหมาย ที่มีเงื่อนไขบังคับให้ประชาชนผู้ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการ จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนที่ไม่มีฐานะทางการเงินที่ดี ไม่สามารเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก จึงเกิดคำพูดอย่างที่กล่าวข้างต้น กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาด้านบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม ได้เพิ่มโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรม (Access to Justice) แก่ประชาชนด้วยการพัฒนาแนวคิด“ยุติธรรมชุมชน (Community Justice) ” ให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยการสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชน (คยช.) และการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน (ศยช.) ทั่วประเทศ และจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดตั้งขึ้นจำนวน 333 ศูนย์กระจายอยู่ทุกอบต.และเทศบาล โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ (1)ช่วยเหลือประชาชนในทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมและการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในชุมชน (2) เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งด้านกฎหมายและความยุติธรรมแก่ประชาชน โดยกำหนดกรอบภารกิจหลักของระบบยุติธรรมชุมชนออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1.การเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาอาชญากรรม การทุจริตและประพฤติมิชอบและการกระทำผิดกฎหมายต่างๆ ในชุมชน
2.การรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ปัญหาความไม่เป็นธรรมของประชาชน และรับแจ้งเบาะแสข้อมูลการกระทำความผิดกฎหมายต่างๆ ตลอดจนการช่วยเหลือ ดูแล ให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือผู้ที่ต้องการคำแนะนำเบื้องต้นทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
3.การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือความขัดแย้งในชุมชนตามหลักความยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ การเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน และการติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้มีการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือความขัดแย้งนั้น
4.การให้ความช่วยเหลือ ดูแลผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากอาชญากรรมและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามหน้าที่
5.ให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ และบำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดและผู้พ้นโทษให้กลับตนเป็นพลเมืองดีและไม่หวน
ด้านนายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าจังหวัดนครราชสีมา

กล่าวเปิดด้วยสถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้น ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่เราได้ยินประจำ “คุกมีไว้ขังคนจน” “คนรวยนอนบ้าน ขอทานนอนคุก” ถ้ามีปัญญาก็ไปฟ้องเอา ต่างๆ เหล่านี้ล้วนสะท้อนปัญหาการเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา มีกระบวนการ ขั้นตอน ตามระเบียบกฎหมาย ที่มีเงื่อนไขบังคับให้ประชาชนหรือผู้ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการต้องมีค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนที่ไม่มีฐานะหรือเงินมากพอ ที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก และเกิดคำพูดอย่างที่กล่าว แม้หลายหน่วยงาน จะเข้ามาช่วยในการดูแลและอำนวยความยุติธรรมอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยหันเหคดีออกจากศาลหรือการแก้ปัญหาร้องเรียน ร้องทุกข์ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มีความรวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้นก็ตาม แต่ปัญหาการเข้าไม่ถึงความยุติธรรมของประชาชนก็ยังไม่มีทีท่าลดลง ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือกระบวนการอำนวยความยุติธรรมดังกล่าว
สรุปผลการตัดสินการประกวดศูนย์ยุติธรรมชุมชนประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔
ศูนย์ยุติธรรมชุมชน รางวัลอบต.หนองแวง อ.เทพารักษ์ รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ชนะเลิศ ๒. อบต.พระพทฺธ อ.เฉลิมพระเกียรติ รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
รองชนะเลิศลำดับที่ ๑เทศบาลตำบลโพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
รองชนะเลิศลำดับที่ ๒เทศบาลตำบลช่องแมว รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดอ.ลำทะเมนชัย นครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ด้านการช่วยเหลือประชาชน ๕. อบต.เมืองพลับพลา รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดอ.ห้วยแถลง นครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ด้านการช่วยเหลือประชาชนอบต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ระดับดีเยี่ยม ๗. อบต.จระเข้หิน อ.ครบุรี รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔
ระดับดีเยี่ยมอบต.วังโพธิ์ อ.บ้านเหลื่อม รางวัลศูนย์ยุติธรรมชุมชนดีเด่นจังหวัดนครราชสีมา ประจำ พ.ศ.๒๕๖๔

ตามมานาน !! ตำรวจภาค3 จับกุมผู้ต้องหาหลอกลวงเงินจากผู้เสียหายไป ๒,๔๒๘,๐๐๐ บาท

ตามมานานตำรวจภาค3 จับกุมผู้ต้องหาหลอกลวงเงินจากผู้เสียหายไป ๒,๔๒๘,๐๐๐ บาท
ภายใต้กำรอำนวยกำรของ พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผบช.ภ.๓ พล.ต.ต.ภาณุ บุรณศิริ รอง ผบช.ภ.๓ พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.อ.สุริยา นาคแก้ว รอง ผบก.ฯ รรท.รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา ได้สั่งการให้ กองกากับการสืบสวนตารวจ ภูธรจังหวัดนครราชสีมา นาโดย พ.ต.อ.ถิรเดช จันทร์ลาด ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ท.พรเทพ ทุ้ยแป พ.ต.ท.มณฑล หงษ์กลาง รอง ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ท.วิชานนท์ บ่อพิมาย สว.กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา
พฤติกำรณ์ สืบเนื่องจาก ในห้วงปี พ.ศ.๒๕๕๔ ต่อเนื่องจนถึง พ.ศ.๒๕๕๖ ได้มีเหตุคดีสาคัญเกิดขึ้นและคนร้าย ได้ก่อเหตุในลักษณะเป็นขบวนการ โดยกลุ่มผู้ต้องหาได้ร่วมกันทาการหลอกลวงผู้เสียหายว่า สามารถจัดหางานเพื่อให้คนงานไปทางานที่ประเทศเกาหลีได้ โดยในคดีนี้ มีผู้เสียหาย หลงเชื่อและจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ เป็นจานวนหลายราย และ มีการแจ้งความดาเนินคดีกับผู้ต้องหากลุ่มนี้ ในท้องที่เกิดเหตุทั้งหมด ๗ สภ. แบ่งเป็น จ.นครราชสีมา ๕ สภ. ได้แก่ สภ.จักราช,สภ.ประทาย,สภ.ห้วยแถลง,สภ.เมืองพลับพลา,สภ.ชุมพวง และ จ.บุรีรัมย์ ๒ สภ. ได้แก่ สภ.บ้านใหม่ไชยพจน์ และสภ.ลาปลายมาศ โดยผู้เสียหายได้แจ้งความดาเนินคดีในข้อหา “ร่วมกันจัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทางานยังต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน

หลอกลวงคนหางานว่าสามารถจัดหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้และจากการหลอกลวงดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของผู้ถูกหลอกลวง” ซึ่งในขบวนการนี้ มีผู้ร่วมกระทาผิด ด้วยกันทั้งหมด ๖ คน ซึ่งผู้ต้องหาจานวน ๔ คน ถูกจับกุมและดาเนินคดีไปก่อนหน้านี้แล้ว ยังคงเหลือ ผู้ต้องหา ๒ สามีภรรยา ซึ่งเป็นตัวการสาคัญในคดีนี้ยังหลบหนีมานาน กว่า ๑๐ ปี คือ นายสมบุญ ดวงเกตุ และ นางบุญ ดวงเกตุ สามีภรรยา ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูล ผู้ต้องหาทั้งสองรายนี้ มีหมายจับคนละ ๑๑ หมายจับ รวม ๒๒ หมายจับ มูลค่าความเสียหายที่หลอกลวงเงินจากผู้เสียหายไป รวม ๒,๔๒๘,๐๐๐ บาท
เนื่องจากคดีนี้ เป็นคดีสาคัญที่มีลักษณะการก่อเหตุ ที่เป็นขบวนการ มีเหตุเกิดต่อเนื่องหลายท้องที่ มีผู้เสียหายจานวนมาก และยังมีมูลค่าความเสียหายกว่า ๒.๔ ล้านบาท พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา จึงได้สั่งการให้ พ.ต.อ.ถิรเดช จันทร์ลาด ผกก.สส.ภ.จว.นครราชสีมา เร่งรัดติดตามสืบสวนจับกุมผู้ต้องหาในคดีนี้มาดาเนินการตามกฎหมายโดยเร็ว
พ.ต.อ.ถิรเดช จันทร์ลาด ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา ได้มอบหมายให้ พ.ต.ท.วิชานนท์ บ่อพิมาย หัวหน้าชุด ปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พร้อมทีมสืบสวน ดาเนินสืบสวนจนทราบว่าในห้วงที่ผู้ต้องหาทั้งสองคนทราบว่า กาลังจะถูกออกหมายจับในคดีดังกล่าว ปรากฏว่า ผู้ต้องหาทั้งสอง ได้มีการไปทาหนังสือเดินทางไทย เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้ต้องหาทั้ง ๒ คน ได้เดินทางข้ามไปยังประเทศกัมพูชา บริเวณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และได้เดินทางกลับเข้ามายังราชอาณาจักรไทย ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ต่อมาในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๑๕๕๔ ผู้ต้องหา ได้เดินทางออกนอกประเทศ ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ปลายทางที่ประเทศเกาหลี

ชุดสืบสวน จึงได้ดาเนินการสืบสวนทางสื่อโซเชียลต่างๆ จนทราบว่า ผู้ต้องหาสองสามีภรรยานี้ ได้ไปทางานอยู่ที่ Cheongbuk-myeon, Pyeongtaek-si, Gyeonggi-do, Korea ประเทศเกาหลี จึงได้ทำหนังสือ จำก กก.สืบสวน ภ.จว.นครรำชสีมำ ถึง กองกำรต่ำงประเทศ สำนักงำนตำรวจแห่งชำติ แจ้งเรื่อง ขอควำมอนุเครำะห์ ติดตำมผู้ต้องหำหลบหนีต่ำงแดน จากนั้นประสานตารวจของเกาหลี ดาเนินการช่วยตรวจสอบข้อมูล จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ เจ้าหน้าที่สืบสวนตารวจเกาหลีได้ทาการจับกุมผู้ต้องหาทั้งสองไว้ได้ในข้อหา “อยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตหมดอายุ” และทางการเกาหลีจะต้องทาการสอบสวนความผิด และดาเนินการผลักดันกลับมายังประเทศไทย ต่อมาจึงได้ทาการประสานเจ้าหน้าที่ตารวจ กองการต่างประเทศ เพื่อประสานงานในการรับตัว
จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๔ ชุดสืบสวนได้รับแจ้งว่าผู้ต้องหาทั้ง ๒ คน ได้ถูกพลักดันจากประเทศเกาหลีและเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ด้วยเอกสารการเดินทางชั่วคราว และจะถึงประเทศไทยช่วงกลางคืน จึงได้ประสานกับตารวจตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและตารวจท่องเที่ยว ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดาเนินการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดนครราชสีมา เพื่อดาเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ผอ.ชป.8 สั่งการ จนท. ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง)

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเกรียงไกร ภาคพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน สั่งการให้นายพิศิษฐศักดิ์ โชตะมังสะ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 พร้อมด้วยนายวชิรพงษ์ เพ็งแก้ว หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ และ คณะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำของอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ( ตอนล่าง ) ตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับนายชนก ขุนเพชรวรรณ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 และ นายอนุศิษฏ์ วางขุนทด หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 5 ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ จำนวน 26.66 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 96.25 ของความจุอ่างเก็บน้ำ มีน้ำท่าไหลลงอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2.685 ล้านลูกบาศก์เมตร และ ระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ จำนวน 16.946 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ทั้งนี้โครงการชลประทานนครราชสีมา สำนักงานชลประทานที่ 8 ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนการระบายน้ำ ให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ จังหวัดนครราชสีมา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) และ ประชาชนในพื้นที่ เพื่อรับทราบสถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ อีกทั้งเตรียมความพร้อมเครื่องจักร-เครื่องมือ เพื่อเตรียมรับมือและป้องกันน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ชุมชน ตามมาตราการป้องกันเหตุที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย ได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร มอบสิ่งของให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ส่งต่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร มอบสิ่งของให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ส่งต่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้ ๑๙ บ้านโนนสวรรค์ ตำบลพระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ,นายพิเย็น ภักดีสุวรรณ หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กฟผ. ,ดร.อำไพพรรณ สิงห์สกุล ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระเครื่อง จ.ขอนแก่น ,นายสุขุม กาญจนกัณโห ที่ปรึกษานักสื่อสารสร้างสรรค์ ภาคอีสาน , นายพีรพล แสงสุนีย์ ที่ปรึกษาสมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.56ปี) ,นางสาวพิมพ์ธนัญญา ธนาพัชร์จิรกุล ผู้บริหารโรงแรมอัญชันลากูน่า ขอนแก่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน และทีมนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภาคอีสาน จ.ขอนแก่น ร่วมมอบสิ่งของให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ตำบลพระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมี นายวินัย ทองทัพ กำนันตำบลพระลับ พร้อมทีมบริหาร และฝ่ายปกครองตำบลพระลับ เป็นตัวแทนรับมอบ

นโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน กล่าวว่า สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน ได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และทีมนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภาคอีสาน จ.ขอนแก่น พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร ได้ร่วมกันรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ ได้แก่ พัดลมติดผนัง หน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ กระเป๋าผ้า หมวก และน้ำดื่ม มามอบให้กับศูนย์แบ่งปัน 19 พอเพียง ตำบลพระลับ เพื่อนำไปใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตำบลพระลับ ในการปฏิบัติหน้าที่ทุ่มเท เสียสละ และทำงานอย่างเต็มขีดความสามารถ ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

จากนั้น นายวินัย ทองทัพ กำนันตำบลพระลับ ได้นำคณะเยี่ยมชม Food Bank การก่อสร้างน้ำตก เพื่อบำบัดน้ำเสีย ตามแนวความคิดทำน้ำเสียให้เป็นเงิน โดยได้รับความอนุเคราะห์ และความร่วมมือจากหน่วยงาน ส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เข้ามาให้คำแนะนำ คำปรึกษา ในการปรับปรุงพื้นที่หนองอีเลิง ซึ่งเป็นแหล่งรับน้ำทิ้ง น้ำเสีย ของเมืองขอนแก่น ให้เป็นน้ำดี ก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำชี โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ท่านได้พระราชทาน เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน

การจับกุม !!! คดีชิงทรัพย์ห้างเพชรทองเยาวราช บิ๊กซี สาขาปากช่อง

คดีชิงทรัพย์ห้างเพชรทองเยาวราช บิ๊กซี สาขาปากช่อง
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 เวลาประมาณ 17.00 น. มีคนร้าย จำนวน 1 คน สวมหมวก
โม่งสีดำ แว่นตากันแดดปิดบังอำพรางใบหน้า สวมเสื้อพนักงาน Food Panda สีชมพูแขนยาว
สวมถุงมือสีดำ ใส่กางเกงยีนส์ขายาว ขับขี่รถจักรยานยนต์ ฮอนด้าเวฟ สีขาว ไม่ทราบหมายเลข
ทะเบียน เข้าไปทำการชิงทรัพย์โดยมีอาวุธปืนที่ร้านเพชรทองเยาวราช ภายในห้างบิ๊กชี สาขา
ปากช่อง ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นเจ้าของร้านทองที่เกิดเหตุ
ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงที่แขนทะลุหลัง ได้รับบาดเจ็บสาหัส ในที่เกิดเหตุพบปลอก กระสุนปีน
ขนาด 9 มม. ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ จำนวน 1 ปลอก ทรัพย์สินที่ถูกประทุษร้ายเป็นทองรูปพรรณ
ยังไม่ทราบจำนวนอยู่ระหว่างตรวจสอบ
หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ นำโดย พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา
พ.ต.อ.ณรงค์ เสวก, พ.ต.อ.สุริยา นาคแก้ว รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา, พ.ต.อ.มานพ ภุชชงค์
ผกก.สภ.ปากช่อง ได้ตรวจที่เกิดเหตุ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปากช่อง ร่วมกับเจ้าหน้าที่
จาก ศพฐ.3 ตรวจสถานที่เกิดเหตุ ต่อมา วันที่ 2 ก.ย.2564 พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผบช.ภ.3,
พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก..ภ.จว.นครราชสีมา, พล.ต.ต.ชูสวัสดิ์ จันทร์โรจน์กิจ ผบก.สส.ภ.3

พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิลัย รอง ผบก.ป. ร่วมประชุมเพื่อติดตามจับกุมคนร้าย โดยมีการสนธิกำลัง
และบูรณาการร่วมกัน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวน สภ.ปากช่อง, กองกำกับการสืบสวน
ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา, กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 3,กองกำกับการ 3
กองบังคับการปราบปราม,กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ ทำการสืบสวนเพื่อติดตามจับกุมตัว
ผู้กระทำความผิด จากการสืบสวนพบว่าลักษณะรูปพรรณคนร้ายคล้ายกับ ส.ต.ท.อนุชา
บุญอารักษ์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจงานป้องกันปราบปราม สภ.ปากช่อง จว.นครราชสีมา
จึงได้เชิญตัว ส.ต.ท.อนุชาฯ มาชักถามโตย พ.ต.อ.สุริยา นาคแก้ว และ พ.ต.อ.ณรงค์ เสวก
รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา ชักถามด้วยตนเอง จากการซักถาม ส.ต.ท.อนุชาฯ ให้การยอมรับว่า
ตนเองเป็นผู้ก่อเหตุดังกล่าวจริง เนื่องจากมีหนี้สินจำนวนมาก
ส.ต.ท.อนุขาฯ ได้พาไปชี้จุดชุกช่อนของกลางเป็นทองคำรูปพรรณ จำนวน 132 เส้น
อยู่ในอ่างปูนซึ่งใช้สำหรับปลูกบัวอยู่ในบริเวณ หมู่ 8 บ้านหนองตะกู ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง
จว.นครราชสีมา รวมทั้งได้นำชี้รถจักรยานยนต์ที่เป็นยานพาหนะมาประกอบเหตุ เจ้าหน้าที่
ตำรวจจึงได้ร่วมกันจับกุม ส.ต.ท.อนุขาฯ พร้อมของกลาง นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตาม
กฎหมายต่อไป
ตำรวจภูธภาค 3 ขอยืนยันว่า ไม่ว่าผู้กระทำความผิดจะเป็นผู้ใด หากสร้างความเดือดร้อน
กับพี่น้องประชาชนจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว

ซีพีเอฟโคราชส่งมอบอาหารบรรเทาความเดือดร้อนชาวบ้านต่อเนื่อง ขณะที่ภาครัฐชื่นชม วางมาตรการดูแล พนง.และชุมชนได้ดี

ซีพีเอฟโคราชส่งมอบอาหารบรรเทาความเดือดร้อนชาวบ้านต่อเนื่อง
ขณะที่ภาครัฐชื่นชม วางมาตรการดูแล พนง.และชุมชนได้ดี

(นครราชสีมา) ซีพีเอฟ นครราชสีมายืนหยัดการส่งมอบความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชุมชนรอบโรงงาน ล่าสุด ได้สนับสนุนเนื้อไก่สด ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ตามนโยบายเครือซีพี ให้กับผู้นำชุมชนหมู่บ้านโซนกอโจด-ไทรย้อย ต.ท่าเยี่ยม จ.นครราชสีมา รวม 4 หมู่ 37 ครอบครัว เพื่อให้ชุมชนนำไปทำข้าวมันไก่ แจกให้ผู้ที่กักตัวอยู่ที่บ้าน โดยมีสาธารณสุขจังหวัด และ อสม. ร่วมลงพื้นที่แจกจ่ายช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิดด้วย นอกจากนี้ ยังมอบเนื้อไก่-เนื้อหมูอีกกว่า 300 กก. ผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อสนับสนุนโรงครัวสภากาชาดไทย นำไปปรุงอาหารให้ประชาชน ขณะที่ก่อนหน้านี้ ได้ลงพื้นที่ มอบถุงยังชีพและหน้ากากอนามัย ในพื้นที่ตำบลสารภี อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกเหนือจากการบรรเทาความเดือดร้อนให้พี่น้องในชุมชนต่างๆแล้วโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ซีพีเอฟนครราชสีมา ได้ดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างเข้มข้น ด้วยการจัดทำมาตรการบับเบิลแอนด์ซีล เพื่อปกป้องทั้งพนักงานและชุมชน ตามแนวทางที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.กำหนด เพื่อควบคุมโรคและจำกัดพื้นที่การระบาด เน้นย้ำการจัดกลุ่ม คุมได้ไว ลดการแพร่กระจาย โดยแยกผู้ติดเชื้อออกไปรักษา ส่วนกลุ่มเสี่ยงได้จัดที่พักกักตัวอยู่ภายในโรงงานและสถานที่พักที่กำหนด พร้อมจัดรถรับส่ง โดยไม่มีพนักงานคนใดออกนอกสถานที่พักหรือนอกเส้นทางระหว่างที่พักกับโรงงานได้

นพ.ชาญชัย บุญอยู่ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวชื่นชมซีพีเอฟที่ให้ความร่วมมือ ดำเนินมาตรการต่างๆอย่างเคร่งครัด สอดคล้องกับ นางสาวทิพวรรณ ศรีทรมาศ นักระบาดวิทยา ซึ่งได้กล่าวชมว่าการทำบับเบิลแอนด์ซีลของซีพีเอฟนครราชสีมามีการทำเป็นระบบมีการแยกพนักงานที่มีความเสี่ยงออกจากพนักงานปกติอย่างเด็ดขาดชัดเจนก่อนนำเข้าระบบบับเบิลแอนด์ซีล ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากทำให้ไม่พบพนักงานป่วย หรือมีอาการหนักเพิ่มเติม

นอกจากนี้ พนักงานในโรงงานยังได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 กันแล้วเกือบ 100% ทำให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกันที่ดี เมื่อผนวกกับมาตรการบับเบิลแอนด์ซีลที่เข้มข้น ทำให้โรงงานแห่งนี้จัดเป็นต้นแบบโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการระบบป้องกันโควิด-19 ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของนครราชสีมา./

#แจกฟรีทุกคนที่ฉีดครบ2เข็ม

สำหรับผู้ที่รับวัคซีนครบ 2 เข็ม โดยไม่จำกัดยี่ห้อวัคซีน สถานที่ฉีด และภูมิลำเนา สามารถติดต่อรับได้ฟรีทุกคน ที่เซ็นทรัลโคราช ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป บริเวณด้านหน้า Korat Hall ชั้น 4 เวลา 09.00-16.30 น. โดยแสดงหลักฐานการรับวัคซีนกับเจ้าหน้าที่

สำหรับแคมเปญริสแบนด์ I Got Vaccinated เป็นโครงการโดยภาคเอกชน กลุ่มพลังใจโคราช และ HackVax Korat เป็นผู้จัดทำริสแบนด์มาแจกให้ฟรี โดยร่วมมือกับกลุ่มห้่ง ร้าน และธุรกิจต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา มอบเป็นส่วนลดและสิทธิพิเศษ ให้กับผู้ที่สวมริสแบนด์ มีร้านต่างๆ ในจังหวัดเข้าร่วมแคมเปญมากมาย เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจในจังหวัดสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้โดยเร็วที่สุด

#ชน3คันรวด #แหกระจาย (วันที่ 30 สิงหาคม 2564)

เวลา 06.30 น.เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนกับรถยนต์กระบะและรถเก๋ง ที่หน้าปั้มน้ำมัน ปตท.บ้านโคกคอนอินทร์
ตำบลมะเริง อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา
ที่เกิดเหตุมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นชาย 2 ราย ทั้ง 2 รายมีแผลถลอกตามร่างกาย รู้สึกตัวดี
กู้ภัยฮุก31 นำผู้ได้รับบาดเจ็บรายที่1 คนขับรถ จยย.ฮอนด้าเวฟ100สีดำ-เทา กลน 404 จันทบุรี ทำให้แหที่เก็บไว้ใต้เบาะกระจายออกมา ส่งโรงพยาบาลมหาราช และรายที่2 คนขับรถยนต์กระบะมาสด้า สีขาว 8977 นครราชสีมาส่งโรงพยาบาลป.แพทย์ 2
ผู้ได้รับบาดเจ็บรายที่1ชื่อนายลิขิต เข็มสุวรรณ์ อายุ 44 ปีที่อยู่ 13/1 หมู่ 2 ตำบลมะเริง
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ผู้ได้รับบาดเจ็บรายที่2ชื่อนายวทัญญู รัตนา อายุ 29 ปี ที่อยู่ 679 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ส่วนรถคันที่3 โตโยต้า โคโรล่า อัลติส สีขาว 6ภค916 กรุงเทพมหานคร ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด

Cr.แจ้งข่าวสารโคราชบ้านเอง

พิธีเปิดห้องดนตรีบำบัด ณ สถานพินิจโคราช โดยนายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา

พิธีเปิดห้องดนตรีบำบัด ณ สถานพินิจโคราช โดยนายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา

นายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ห้องดนตรีบำบัด ณ สถานพินิจและคุมครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา ในโอกาสที่นายบุญธรรม รอบคอบ ผู้อำนวยการสถานพินิจได้รับเครื่องดนตรีชิ้นใหม่ จาก ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ นายกสมาคมท่องเที่ยวเขาใหญ่-ปากช่อง จำนวน 2 เครื่อง


ทั้งนี้ น้อง ๆ ยังได้แสดงความสามารถให้ท่านประธานพร้อมด้วยคณะอาจารย์ได้ชมกันอีกด้วย
สำหรับห้องซ้อมดนตรีนี้ มีเพื่อบำบัดสภาพจิตใจให้กับเด็ก ๆ แลัยังเป็นที่สำหรับผ่อนคลายความเครียดได้อีกด้วย

>ภาพบรรยากาศ<<

พิธีปิดโครงการคืนเด็กดีสู่สังคมเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พิธีปิดโครงการคืนเด็กดีสู่สังคมเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และวันเฉลิมพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จังหวัดนครราชสีมา

นางสาวศิริรัตน์  สีนวล  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดโครงการคืนเด็กดีสู่สังคมเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และวันเฉลิมพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี ดร.รัตนะ  วรบัณฑิต ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้กล่าวรายงาน

ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นายบุญธรรม  รอบคอบ ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา นายอภิชาต   ติยวัฒน์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาและศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3  จังหวัดนครราชสีมา นายฐิติรัตน์  พงษ์พุทธรักษ์  นายกสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา  มาร่วมมอบใบบริสุทธิ์ ให้กับเยาวชนที่ได้รับการปล่อยตัว จำนวน  139 ราย โดยแยกเป็น  เยาวชนที่ได้รับการพิจารณาปล่อยตัว  จำนวน  40  ราย เยาวชนที่ได้รับการพิจารณายุติคดี (ม 132)  จำนวน  14  ราย   เยาวชนที่ได้รับการพิจารณายุติคดี (ม 132)/สถานพินิจ  จำนวน  120  ราย  และได้รับการพิจารณาให้ลดระยะเวลาฝึกอบรม  จำนวน 65 ราย  โดยเยาวชนทั้งหมดนี้ ได้รับพิจารณาคัดเลือกเยาวชนที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกำหนดและผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยกิจกรรมจิตอาสากิจกรรมปฏิบัติธรรมหรือศาสนกิจ

>ภาพบรรยากาศ<<