โคราช 555 ปี คนดีศรีวัฒนธรรม Soft Power @ Korat

กรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดนครราชสีมา ส่งเสริมคุณค่าเครือข่าย หน่วยงาน องค์กรร่วมงาน “โคราช 555 ปี คนดีศรีวัฒนธรรม Soft Power @ Korat”

 วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงาน “โคราช 555 ปี คนดีศรีวัฒนธรรม Soft Power @ Korat” เนื่องในโอกาสสมโภชเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี

พร้อมมอบโล่และประกาศเกียรติคุณให้แก่บุคคลและหน่วยงานกิตติมศักดิ์ในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ณ ห้อง MCC Hall ชั้น 3 เดอะมอลล์ โคราช โดยมีนายนายสามารถ สุวรรณมณี ปลัดจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงาน และมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม แขกผู้มีเกียรติ หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม

  นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้เกียรติมอบประกาศเกียรติคุณ ให้กับศิลปินสร้างสรรค์งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินด่านเกวียนและงานจิตกรรม ร่วมส่งเสริม สนับสนุน การขับเคลื่อนงานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น และหน่วยงาน/องค์กร สนับสนุนกิจกรรม “1 หน่วยงาน 1 Soft Power”

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน 60 ชิ้นงาน และงานจิตรกรรมจากศิลปิน เกี่ยวกับเรื่องราวของจังหวัดนครราชสีมา 100 กว่าชิ้นงาน ภาพวาดจากศิลปินทั้งในและต่างประเทศ กิจกรรมการยกย่องเชิดชูเกียรติมอบโล่และเกียรติบัตรผู้ทำคุณประโยชน์ด้านวัฒนธรรม ซึ่งเป็นศิลปินและเครือข่ายทางวัฒนธรรมระดับจังหวัดและอำเภอ และการออกบูธ 1 หน่วยงาน 1 ชอฟต์พาวเวอร์ อาทิ บูธการพัฒนาเรื่องไก่โคราช บูธอาหารถิ่นสำหรับผู้สูงอายุ บูธผ้าไหมศิลปาชีพ บูธน้ำพริกหมูโคราช 1 เมนูเชิดชูอาหารถิ่น บูธวิวัฒนาการแพทย์แผนไทย บูธบริจาคโลหิตและอวัยวะดวงตา บูธผลิตภัณฑ์แปรรูป บูธ Young Smart Farmer เกษตรกรรุ่นเก่าสู่เกษตรกรรุ่นใหม่ บูธผ้าไทยใส่ให้สนุก บูธกิจกรรมส่งเสริมพุทธศาสนา วัฒนธรรม บูธตลาดน้ำบึงหัวทะเล บูธโคราชโมโนแกรม บูธจีโอพาร์คและไม้กลายเป็นหิน เป็นต้น

มีการจัดแสดงผลผลิต ข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์   สภาเกษตรกร แปรรูป แป้งมันสำปะหลัง นำมาทำกระเค้ก  ร้านขนมไทยสาธิต เมี่ยงคำโคราช รสชาดที่หายไป 1 จังหวัด 1 เมนู  และนางอรุณรัตน์ ชิงชนะ พัฒนาการจังหวัดนครราชสีมา ได้นำกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ร่วมจัดนิทรรศการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ซึ่งนำเสนอโดย กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ภาชามาไหมไทย 2.สมหวังไหมไทย 3.บริษัทเมืองย่าซิลเคน ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงเส้นทางสายไหมโคราช ที่มีความงามของผ้าไหมลายหางกระรอก สัมผัสชมกันตั้งแต่วิธีการเลือกสรรไหมอย่างดีมานำมาทอเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งไหมพันธุ์ไทยที่ให้เส้นใยแข็งแรงและเงางาม ซึ่งได้นำมาจัดแสดงและจำหน่ายในบริเวณบูธของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา และ มีหน่วยงาน/องค์กร ต่าง ๆ ร่วมกิจกรรม “1 หน่วยงาน 1 Soft Power” จังหวัดนครราชสีมา

จากนั้น ประธานในพิธี และแขกผู้มีเกียรติ ได้เยี่ยมชมกิจกรรมและบูธแสดงผลงาน 1 หน่วยงาน 1 Soft Power และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ณ ห้อง MCC Hall ชั้น 3 เดอะมอลล์ โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

เชิดชูศิลปะโคราช การประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๘ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

การประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๘ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ โคราช
. เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ โคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จัดการประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๘ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยได้รับเกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ

โดยนายไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวเปิดโครงการประกวดดังกล่าว และมอบของที่ระลึกให้คณะกรรมการการประกวดและผู้ให้การสนับสนุนการประกวดท่านเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒธรรมจังหวัดนครราชสีมาในครั้งนี้ โดยได้รับเกียรติจาก นายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ สาขาการแสดงเพลงโคราชร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวด ร่วมด้วยนายบุญสม สังข์สุข ที่ปรึกษาสมาคมเพลงโคราช และอุปนายกสมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ นางสาวลำไย พานิชย์ รองนายกสมาคมเพลงโคราช นายสมบัติ เสือบุญศรี ครูเพลงโคราช และอาจารย์สุชาติ พิมพ์พันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ให้เกียรติร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดดังกล่าว
.
โดยในวันนี้เป็นการประกวดประเภทอนุรักษ์รุ่นอายุไม่เกิน ๑๖ ปี และรุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี รอบชิงชนะเลิศผลปรากฎว่า รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี รุ่นอายุไม่เกิน ๑๖ ปี ประเภทชาย ได้แก่ เด็กชายณัฐภูมิ เคนไชยวงศ์ โรงเรียนรวมมิตรวิทยา ประเภทหญิง ได้แก่ นางสาวธัญวรัตน์ เที่ยงกระโทก โรงเรียนหนองบุญมากประสงค์วิทยา

รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี รุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี ประเภทชาย ได้แก่ นายสุรเกียรติ์ เกิดกลาง นักศึกษาสาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประเภทหญิง ได้แก่นางสาวเบญญา พลานิวัติ นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลทุกรางวัลด้วยครับ และขอขอบพระคุณ ขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้าร่วมงานเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ด้วยครับ
.
ในการประกวดครั้งนี้ทุกท่านสามารถติดตามและรับชมการประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๘ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕ อีกหนึ่งวันคือ วันที่ ๓๑ กรกฏาคม ๒๕๖๕ ประกวดประเทภสร้างสรรค์(โฟล์ซองเพลงโคราช) รุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี ณ ลานชั้น G ศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ และสามารถติดตามการถ่ายทอดสดได้ที่ Facebook Fanpage สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ราชภัฏโคราช

เล่าขานประวัติศาสตร์ ผ่านนามสกุลโคราช

เล่าขานประวัติศาสตร์ นครราชสีมาผ่านนามสกุลคนโคราช”

วัฒนธรรมจังหวัด นครราชสีมา

วันที่  22 ธันวาคม 2564 ท่านจำลอง ครุฑขุนทด ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัด, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีเปิดการเสวนาของสภาวัฒนธรรมจังหวัด “การเล่าขานประวัติศาสตร์นครราชสีมา : ผ่านนามสกุลคนโคราช”

 การเสวนาครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของ “โครงการเล่าขานประวัติศาสตร์นครราชสีมา : ผ่านนามสกุลคนโคราช” ซึ่งสภาวัฒนธรรมจังหวัดได้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนามสกุลคนโคราชว่ามีนามสกุลใดบ้าง โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสภาวัฒนธรรมอำเภอ ในเบื้องต้นได้สืบค้นและทำการสัมภาษณ์คนโคราช 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง  อำเภอปักธงชัย อำเภอโนนไทย อำเภอสูงเนิน อำเภอสีคิ้ว อำเภอโชคชัย อำเภอจักราช อำเภอพิมาย อำเภอโนนสูง อำเภอบัวใหญ่ อำเภอครบุรี และอำเภอด่านขุนทด โดยข้อมูลครอบคลุมถึง ประวัติความเป็นมา ชาติพันธุ์ อาชีพ และภูมิลำเนาเดิมของบรรพบุรุษ ตลอดจนความภาคภูมิใจในนามสกุลของคนโคราช นอกจากนี้ยังได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทางวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น การละเล่นพื้นเมือง และของดีประจำตำบลในแต่ละพื้นที่ด้วย

 สภาวัฒนธรรมจังหวัด ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรวบรวมข้อมูลดังกล่าว เพื่อใช้ในการประสานคนโคราชให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีและเพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่มีความเข้มแข็งมั่นคง และสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงได้จัดเสาวนาในวันนี้ โดยเชิญผู้เข้าร่วมเสวนาจากอำเภอต่างๆ ได้รับเกียรติ นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, นายไชยนันท์ แสงทองวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, ดร.สมศักดิ์ ชาญสูงเนิน, รศ.ดร.จำเริญรัก จิตต์จิรจรรย์, ว่าที่ร้อยตรีสมชายรักกลาง และ นายรักชาติ กิริวัฒนศักดิ์ และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมกิจกรรมเสวนาครั้งนี้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.จิตนภาสมบูรณ์ศิลป์ หัวหน้าโครงการกล่าวรายงาน

 นาย จําลอง ครุฑขุนทด ท่านประธานกรรมการจัดงานเสวนา คณะกรรมการจัดงานกล่าวเปิดท่านผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมการเสวนาทุกท่าน

 ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่มีโอกาสมาร่วมในพิธีเปิดการเสวนา “การเล่าขานประวัติศาสตร์นครราชสีมา : ผ่านนามสกุลคนโคราช” ขอขอบคุณและขอแสดงความชื่นชมที่ท่านทั้งหลายเล็งเห็นถึงความสำคัญและทำการรวบรวมข้อมูลนามสกุลคนโคราชนี้ขึ้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของคนโคราชในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น ที่บางแห่งอาจจะลบเลือนไป แต่บางแห่งก็ยังได้ถือปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังเอื้อต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ของคนโคราชร่วมกันต่อไปในอนาคต อันจะประโยชน์เพื่อการต่อยอดในการพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดใหญ่ มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ1 มี 32 อำเภอ และมีประชากรกว่า 2 ล้าน 6 แสนคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ดังนั้นการที่ท่านทั้งหลายมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการรวบรวมข้อมูลจาก 12 อำเภอ นำร่องนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดีและควรค่าแก่การสนับสนุน ผมขอเป็นกำลังใจให้ท่านรวบรวมข้อมูลต่อไปในครบทั้ง 32 อำเภอ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์เป็นข้อมูลประจำจังหวัดนครราชสีมา เพื่อต่อยอดสืบสาน วัฒนธรรมโคราชต่อไป

“พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเอง”


วันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๑๕ น.พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเองณ ห้อง Studio ชั้น ๕ (NRRU Library) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาโดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ ประธานดำเนินการโครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและท่านวิทยากร  คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ  และผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่าน

โครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหารการส่งเสริมต่อยอดสร้างสรรค์ ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดำเนินการโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม,พัฒนาการชุมชนจังหวัดนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นองค์กรภาคประชาสังคม ภายใต้การกำกับของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม รักษา สืบสาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด ด้วยศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ของชาติ ให้คงอยู่สืบไป

ในส่วนการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 ได้กำหนดให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในการส่งเสริม รักษา หรือ พัฒนา ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ครอบคลุม เนื้อหาสาระ ของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๗ ด้าน ได้แก่ (๑) วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา (๒) ศิลปะการแสดง (๓) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (๔) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (๕) งานช่างฝีมือดั้งเดิม (๖) การเล่นพื้นบ้าน กีฬา พื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (7) ลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงวัฒนธรรม

โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เห็นความสำคัญของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  ได้จัดทำโครงการ การผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหารโคราชบ้านเอง ขึ้นมา จึงถือว่าเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น จะได้เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารพื้นถิ่น และผ้าพื้นเมือง ของจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย  โดยจัดอบรมผู้ที่สนใจผลิตสื่อสารสนเทศ ก่อนไปจัดทำคลิปวิดีโอการประกวด และจัดให้มีการคัดเลือกผลงานที่มีความเหมาะสม  ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อไป  การอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทั้งความรู้ และวัฒนธรรมด้านผ้าและอาหารของจังหวัดนครราชสีมา

การจัดทำโครงการครั้งนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาร่วมกับ องค์กรภาครัฐและเอกชน อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พัฒนาการชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา จึงถือเป็นการบูรณาการ การทำงานร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชรูปแบบออนไลน์ ให้แก่เยาวชนและประชาชนของจังหวัดนครราชสีมา

2. เพื่อฝืกอบรมผลิตสื่อสารสนทศรูปแบบออนไลน์ โดยการมีส่วนร่วมของเยาวซนและประชาชนให้สามารถผลิตสื่อด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราช อย่างสร้างสรรค์

3. เพื่อพิจารณาคัดเลือกสื่อสารสนทศดีเด่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชที่เยาวชนและประชาชนได้ผลิต เผยแพร่ และมอบรางวัล

การดำเนินกิจกรรมโครงการนี้แบ่ง 2 ลักษณะ

1. การอบรมสร้างเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเองและความรู้การเขียนเนื้อหาประกอบบทวีดีทัศน์ ระยะเวลา 1 วัน

2. จัดทำวีดีทัศน์การประกวดขนาดความยาว 3 5 นาที/เรื่อง เพื่อชิงโล่รางวัลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ต้านผ้าและอาหารโคราชมีโล่และเงินรางวัลชนะเลิศจากท่านอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท

นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ขอขอบคุณท่านวิทยากร    หัวหน้าโครงการ  หน่วยงาน  องค์กร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหลาย และหวังว่าผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประโยชน์จากการอบรมครั้งนี้เป็นอย่างดี แนะนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากคณะวิทยากรผู้ทรงภูมิรู้ในแต่ละด้าน ไปผลิตสื่อดิจิตอล มาเผยแพร่ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโคราช ตามวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อสืบสานมรดกภูมิปัญญาของคนโคราช ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชนทั่วโลกสืบไป




 สภาวัฒนธรรม ปันน้ำใจ ไม่ทิ้งกัน สู้โควิด 19

วันที่ 8 พค. 2563  เวลา 7.00 น.  นางเอมอร ศรีกงพาน  ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา นางสมใจ อินทรทรัพย์  รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา  พ.อ.นเรศ พิลาวรรณ คณะกรรมการสภาวธ  ได้ร่วมกับ อสม.ชุมชนมหาชัยอุดมพร  เพื่อทำการแจกข้าวสาร น้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค  หน้ากากอนามัย ข้าวกล่อง ให้แก่พี่น้องที่เดือดร้อนจากการหยุดงานในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19

เพื่อเป็นการ แบ่งปันน้ำใจ ต้านภัยโควิด  คนไทยเราไม่ทอดทิ้งกัน   ซึ่งในการลงพื้นที่ในครั้งนี้มีพี่น้องมาร่วมรับถุงยังชีพ  จำนวน 150 คน  ณ ชุมชนมหาชัยอุดมพร


ทั้งนี้  สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา  ยังได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายเทศกิจ เทศบาลนครนครราชสีมา และเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ที่มาจัดระเบียบ และอำนวยความสะดวกในการเข้ารับสิ่งของ  วัดไข้ และอื่นๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของจังหวัดนครราชสีมา

สภาวัฒนธรรมโคราช จิตอาสาร่วมใจผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อความปลอดภัยของประชาชน

สภาวัฒนธรรมโคราช  ร่วมจัดโครงการ จิตอาสา ร่วมใจ ผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

วันนี้ที่ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช บริเวณชั้น 1 ได้มีจัดให้มีการสอนและผลิตหน้ากากอนามัยใช้เอง เพื่อป้องกันเชื้อไวรัส Covid 19 จัดโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา

และได้รับเกียรติจาก นายอภินันท์ เผือกผ่อง  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  เป็นประธานเปิด โดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและคณะเป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน  พร้อมนำชมขั้นตอนการผลิตหน้ากากอนามัย

เวลา  10.00 น. นายแพทย์นรินทร์รัชต์   พิชญคามินทร์  สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางร่วมเยี่ยมชมการผลิตหน้ากากอนามัย ทั้งนี้ได้มีประชาชนจิตอาสากว่า 100 คน เข้าร่วมในการผลิตหน้ากากอนามัย

     โดย นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความจำเป็นในการจัดโครงการดังกล่าวว่า  ในปัจจุบันประเทศของเรามีความเสี่ยงจากภัยโรคระบาดคุกคราม โดยเฉพาะเชื้อไวรัส Covid 19 ที่สร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน  ดังนั้นจากการขานรับนโยบายการร่วมมือการผลิตหน้ากากอนามัย จึงทำให้ สภาวัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ประชาชนในการผลิตหน้ากาก  เพื่อนำไปใช้เอง และสามารถต่อยอดไปยังกลุ่มชุมชนต่าง ๆ
ด้านนายแพทย์นรินทร์รัชต์   พิชญคามินทร์  สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า  เชื้อไวรัส Covid 19 เป็นเชื้อไวรัสที่ประชาชนทุกคน ควรให้ความสำคัญในการป้องกันตนเอง  ด้วยการกินร้อน  ใช้ช้อนกลาง  หมั่นล้างมือ สวมใส่หน้ากากอนามัย โดยประชาชนสามารถใช้หน้ากากผ้าทั่วไปได้ จากการผลิต และไม่ควรไปในพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ และให้คอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

 

พิธีพุทธาภิเษก ธง ครบรอบ ชัยชนะ 191 ปี วีรสตรีเมืองหญิงกล้าแม่ย่าโม

วันจันทร์ขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 ปีจอ !!จัดไป พิธีพุทธาภิเษก ธง ครบรอบ ชัยชนะ 191 ปี วีรสตรีเมืองหญิงกล้าแม่ย่าโม

 

 

วันที่ 20 สิงหาคม 2561 ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา จัดพิธีพุทธาภิเษกธงครบรอบชัยชนะ 191 ปี วีรสตรีเมืองหญิงกล้าแม่ย่าโม โดยพลโทธรากร ธรรมวินทรธรแม่ทัพภาคที่ 2 ประธานสงฆ์ นายวิเชียร จันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราสีมา ประธานฝ่ายฆราวาส นางเอมอร ศรีกงพานประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนางศศิฑอณร์  สุวรรณมณี วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมพิธี

 

 

ด้วยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาสภาวัฒนธรรมอำเภอและสภาวัฒนธรรมตำบลได้รวมกันจัดสร้างธงครบรอบชัยชนะ 191 ปีของท่านท้าวสุรนารีวีรสตรีเมืองหญิงกล้าแม่ย่าโมขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อยกย่องและรำลึกถึงความกล้าหาญความเสียสละของท้าวสุรนารีเพื่อเป็นทองมงคลให้ประชาชนได้นำไปบูชาเพื่อจัดหารายได้สภาวัฒนธรรมทั้ง 32 อำเภอ 287 ตำบลของจังหวัดนครราชสีมาไปเป็นทุนในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและสาธารณประโยชน์ในการจัดสร้างธงได้ทำพิธีบวงสรวงขอมวลสารมงคลจากทุ่งสัมฤทธิ์ อำเภอพิมายและมวลสารมงคลจากวัดศาลาลอยอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารีในปัจจุบันและได้ให้พระเถราจารย์ทั้ง 32 อำเภอทำพิธีอธิษฐานจิตและได้กำหนดจัดพิธีพุทธาภิเษกธงมงคลขึ้นซึ่งตรงกับวันจันทร์ขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 ปีจอ ณ ลานอนุสาวรีย์ท่านท้าวสุรนารี การจัดงานในครั้งนี้ได้รับความเมตตาและความอนุเคราะห์

  1. พระปลัดเอกรินทร์ธัมมะสังลี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมาดูแลด้านพิธีการ แม่ทัพภาคที่ 2 ส่งกำลังพลช่วยดูแลการจัดสถานที่ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัยและการจราจรคุณเข็มทองเรืองกฤตยาคุณสุวัฒน์ จึงวิวัฒนาภรณ์ คุณยลดา     หวังศุภกิจโกศล และคุณณภัทร นันทคุณาธิป มอบทุนตั้งต้นสำหรับจัดทำธงมงคลท่านละ 500,000 บาทสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา หน้าศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 น้ำดื่มและอาหารว่างห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์นครราชสีมาคุณทรงสมรรถ จันทร์เทพ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอสีคิ้วแป้งมันเอี่ยมเฮงสับสนุนโรงทาน และเครือข่ายสภาวัฒนธรรมทุกระดับร่วมด้วยช่วยกันเครื่องประกอบพิธีสถานที่และดูแลผสานความเป็นระเบียบเรียบร้อยของงานในวันนี้