พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ต้นน้ำลำตะคอง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ จังหวัดนครราชสีมา จัดพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ต้นน้ำลำตะคอง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 วันนี้ (4กค.67) ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นำคณะส่วนราชการ เดินเท้าเข้าไปภายในต้นน้ำลำตะคอง บริเวณเหนือฐานปฎิบัติการเฉพาะกิจคลองอิเฒ่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ระยะทาง 3 กม.เพื่อประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยภายหลังจากการประกอบพิธีตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ใส่ขันสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้เชิญขันสาครและที่ตักน้ำขึ้นเสลี่ยงเดินเท้าออกจากป่าเขาใหญ่ระยะทาง 3 กม.ก่อนเชิญขึ้นรถบุษบกแห่ไปยังอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ มุ่งหน้าสู่ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา และเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่ลอดซุ้มประตูชุมพล ไปยังวัดพระนาราย์มหาราชวรวิหาร ทั้งนี้จังหวัดนครราชสีมา กำหนดประกอบพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฏาคม 2567 ณ ต้นน้ำลำตะคอง บริเวณเหนือฐานปฏิบัติการเฉพาะกิจคลองอิเฒ่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฏาคม 2567 เวลา 17.09 น. ณ พระวิหารหลวง วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ วันจันทร์ที่ 8 กรกฏาคม 2567 เวลา 12.00 น ณ พระวิหารหลวง วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร และพิธีเชิญคนโทน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดไปเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย ในวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฏาคม 2567
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานสานศิลป์ถิ่นโคราช ดันโคราชเป็นดินแดนแห่งมรดกทางวัฒนธรรม วันนี้ ( 2กค67 ) นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม พร้อมด้วย ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และนายนิกร โสมกลาง ส.ส.นครราชสีมา ได้เดินทางไปร่วมเปิดงานและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวด โครงการสานศิลป์ถิ่นโคราช “โคราช เมืองศิลป์ ดินแดนแห่งมรดกทางวัฒนธรรม” และการประกวดเพลงโคราช ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2567 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา สำหรับงานสานศิลป์ถิ่นโคราชครั้งนี้ นับเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเครือข่ายด้านต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประกวดหมอเพลงชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ บรมราชกุมารี ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 10 อย่างต่อเนื่อง
วันบุพการีวัดบึง ประจำปี 2567 ฉลองอายุวัฒนมงคล ครบ 77 ปี วันนี้ (30มิ.ย.67) เวลา10.00น. นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในงานวันบุพการีวัดบึง ประจำปี 2567 ฉลองอายุวัฒนมงคล ครบ 77 ปี พระเทพสีมาภรณ์ (วันชัย กนฺตจารี ป.ธ.7) เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ฉลองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา พระครูปริยัติสีมาภรณ์ (สมคิด ปคุโณ ป.ธ.4) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบึง พระอารามหลวง ,เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาฉลองสัญญาบัตรพัดยศพระครูผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง พระครูสุตวัชรธรรมากร (มหาจ่อย) ผู้ช่วยเจ้าวาสวัดบึง พระอารามหลวง ณ วัดบึง พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
KORAT PAO SPORT GAMES 2024 หนุนพัฒนากีฬาเด็กและเยาวชน หวังผลักดันโคราชเป็นเมืองแห่งกีฬา วันนี้ ( 1 มิถุนายน 2567) ที่อาคารชาติชายฮอลล์ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อ.เมือง จ.นครราชสีมา นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬานักเรียนโรงเรียนในสังกัด อบจ.นครราชสีมา รายการ “KORAT PAO SPORT GAMES 2024 ” เพื่อพัฒนาศักยภาพกีฬานักเรียนโรงเรียนในสังกัด อบจ. ทั้ง 58 แห่ง สู่ความเป็นเลิศพร้อมเฟ้นหาตัวแทนนักกีฬาร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย รอบคัดเลือกระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนนโยบายของจังหวัด ที่ต้องการผลักดันให้โคราชเป็นเมืองแห่งกีฬา หรือ KORAT SPORT CITY อีกด้วย โดยตัวนักเรียนผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ อบจ. ครู และนักเรียน ในสังกัด อบจ.ทั้ง 58 แห่งร่วมงานกว่า 10,000 คน นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า สำหรับการแข่งขัน กีฬานักเรียนโรงเรียนในสังกัด อบจ.นครราชสีมา รายการ“KORAT PAO SPORT GAMES 2024 ” จะเริ่มทำการแข่งขันในรอบสุดท้าย ในระหว่างวันที่ 15 – 19 กรกฎาคมนี้ ส่วนช่วงนี้จะเป็นการแข่งขันในระดับอำเภอของจังหวัดนครราชสีมาเพื่อเฟ้นหาตัวแทนแต่ละอำเภอมาแข่งขันในรอบสุดท้ายของแต่ละชนิดกีฬา เพื่อเป็นตัวแทนไปแข่งคัดเลือกระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและระดับประเทศต่อไป โดยจะทำการแข่งขันทั้งสิ้น 11 ชนิดกีฬาทั้งนี้ทาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมามีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาทุกประเภท มีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมสนับสนุนกีฬาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาสู่ความเป็นเลิศ เพื่อ สร้างคน สร้างเศรษฐกิจสร้างเมืองโคราช โดยมุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการกีฬาประเภทต่างๆ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงระดับจังหวัด เพื่อส่งเสริมด้านกีฬาทั้งในภาคประชาชน เยาวชน ให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดนครราชสีมา ที่ต้องการผลักดัน โคราชเป็นเมืองกีฬา นางยลดา กล่าว
ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมา จัดกิจกรรมยุวพุทธิกวิสาขบูชาและเวียนเทียนพร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณผู้ส่งเสริมกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญพุทธศาสนา วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ณ. พระอุโบถสวัดสุทธจินดา ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยเจ้าอาวาส พระอุดมธีรคุณ (ภาวัต วิสุทฺเธสโก) เจ้าอาวาส วัดสุทธจินดาดา ประธานสงฆ์ และมอบใบประกาศเกียรติจำนวน 20 คน พร้อมด้วยนายชนันท์ชัย ธงธรรมรัตน์ นายกยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวการดำเนินงานและกิจกรรมคฌะกรรมการและสมาชิกนักเรียนเข้าร่วมจำนวน 300 คน และประชาชนทั่ว ๆ ไป ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมาได้จัดกิจกรรมเนื่องจากวันพุธ 22 พฤษภาคม เป็นวันวิสาขบูชา ก่อนที่จะเริ่มทำการเวียนเทียน พุทธศาสนิกชนควรร่วมกันกล่าวบทสวดมนต์และคำบูชาในวันวิสาขบูชา ซึ่งโดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์ก่อนที่จะเริ่มเวียนเทียน ส่วนใหญ่นิยมปฏิบัติพิธีการเวียนเทียนกันอย่างเป็นทางการ มีพระสงฆ์เป็นผู้นำเวียนเทียน ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมามีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมจริยธรรม ๒. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะและนิสัยในการสร้างความดี ๓. เพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้คุณธรรมเป็นต้นทุนสำหรับสร้างทักษะชีวิต สร้างภูมิคุ้มกันปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดนครราชสีมาได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา เนื่องจากมีเหตุการฌ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดพระพุทธศาสนาคือวันที่พระศาสดาประสูติตรัสรู้และปรินิพาน และเล็งเห็นความสำคัญที่จะเกิดแก่เด็กและเยาวชนของชาติและสาธุชน จึงได้จัดให้มีกรรมส่งเสริมพระพุทธคาสนาขึ้น คือกิจกรรมวียเทียนวันวิสาบูชา โดยมีวัตถุประสงค์รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก ให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญในวันวิสาขบูชาสร้าง ปลูกฝั่งคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็ก เยาวชน ประชาชนได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันจรรโลงสังคมไทยให้เป็นสังคมดีมีคุณธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืน โดยใช้มิติทางศาสนา ในขณะเดียวกันเป็นการน้อมกราบปฏิบัฐชาองค์พระศาสดา โดยนำโครงการกองทุนอบรมคุณธรรมเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา ปี พ.ศ.๒๕๖๗ และปีต่อๆไป เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน โดยการอบรมคุณธรรมเด็กและเยาวชนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี้โครงการจะสำเสร็จได้และก้าวเดินต่อไปจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยแรงศรัทธาจากสาธุชนทุกภาคส่วนมาร่วมด้วยช่วยกัน เป็นการน้อมกราบบูชาองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันจักเป็นมงคลแห่งชีวิต คือความสุข สงบ ร่มเย็นทั้งส่วนตนและสังคมอีกต่อไป
มูลนิธิพุทธบารมีร่วมกับเดอะมอลล์โคราชจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา ประเพณีกวนข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) ในงานวิสาขบูชา พุทธบารมี ปีที่ 14 ตามแนวคิด พุทธบริษัท ศรัทธา ศึกษา สืบสาน ปกป้อง วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.09 น. ณ มณฑลพิธีลานมอลล์พาร์ค บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์โคราช จัดพิธีส่งเสริมทางพระพุทธศาสนา ตามแนวคิดพุทธบริษัท ศรัทธา ศึกษา สืบสาน ปกป้อง เนื่องในวันวิสาขบูชากับประเพณีกวนข้าวมธุปายาส(ข้าวทิพย์) (อาหารที่นางสุชาดาจัดปรุงขึ้นและนำถวายพระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนหก) โดยมีเหล่าพุทธศาสนิกชนชาวโคราชกว่า 500 คนร่วมพิธี ซึ่งได้รับเมตตาจากพระครูปลัดสุวัฒน ปริยัตคุณ เจ้าอาวาสวัดเขาคอกช้าง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วย พลโท อดุลย์ บุญธรรมเจริญ แม่ทัพภาคที่ 2 ให้เกียรติเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธี พร้อมด้วยนายปรีชา ลิ้มอั่ว กรรมการและเลขานุการมูลนิธิพุทธบารมี และเจ้าภาพกวนข้าวทิพย์ทั้ง 9 คณะร่วมประกอบพิธี โดยพระสงฆ์จำนวน 9 รูปสวดมนต์กระทำพิธีทางพุทธศาสนา ก่อนนำหญิงพรหมจรรย์นุ่งขาวห่มขาว จำนวน 27 คน กวนข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) จำนวน 9 กระทะ สำหรับวัตถุดิบที่นำมาปรุงข้าวทิพย์มีทั้งสิ้น 18 อย่าง 5 ประเภท รวมใช้วัตถุดิบทั้งสิ้น 300 กก. ซึ่งข้าวมธุปายาสสามารถบรรจุลงถ้วยได้ 7,200 ถ้วย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา) ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2567 ทั้งนี้ข้าวทิพย์ทั้งหมดจะนำไปทำบุญตักบาตรในวันวิสาขบูชา 22 พ.ค.2567 เวลา 09.09 น. จึงเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญตักบาตรข้าวมธุปายาส ในงาน “วิสาขบูชา พุทธบารมี ปีที่ 14 ประจำปี 2567” ที่มณฑลพิธีห้องเอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช โดยภายในงานพุทธศาสนิกชนสามารถจัดส่งข้าวมธุปายาสให้บุคคลที่คุณรักทั่วประเทศไทย โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ด้วย ทั้งนี้กิจกรรมพิธีกวนข้าวมธุปายาสจัดงานโดยมูลนิธิพุทธบารมี, กองทัพภาคที่ 2, จังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานภาครัฐ เอกชน คณะสงฆ์ และเดอะมอลล์โคราชจัดขึ้น เพื่อร่วมทำบุญตักบาตรมหากุศลในวันวิสาขบูชา ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาปรุงข้าวทิพย์นั้น แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 1. ประเภทถั่ว เช่น ถั่วทอง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วแม่ตาย , 2. ประเภทข้าว พืชเป็นหัว เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวเม่า ข้าวฟ่าง ข้าวตอก เมล็ดงา งาขาว งาดำ ลูกเดือย ฟักทอง เผือก , 3. ประเภทน้ำตาล เช่น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลแดง น้ำตาลทราย น้ำตาลหม้อ , 4. ประเภทไขมัน เช่น เนย น้ำนมโค มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก่ และ 5. ประเภทผลไม้ เช่น ผลไม้สด ได้แก่ เงาะ กล้วย ข้าวโพด อ้อย มะม่วง ผลไม้คั้นน้ำ ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม พร้อมทั้งสมุนไพรปรุงรส ได้แก่ ชะเอมสด ชะเอมเทศ รวมถึงเม็ดสาคู วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.00 น. ณ มณฑลพิธีห้องเอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น 3 ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมปฏิบัติบูชาเนื่องในวันอัฏฐมีบูชา ซึ่งเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ องค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า โดยได้อัญเชิญพระธาตุ 72 พระองค์ จากชมรมรักพระธาตุ ให้สาธุชนได้มีส่วนร่วมทำบุญเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา) ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ร่วมถวายคณะสงฆ์ในพิธี จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมสร้างทานบารมี ในงาน “วิสาขบูชา พุทธบารมี ปีที่ 14 ตามแนวคิด พุทธบริษัท ศรัทธา ศึกษา สืบสาน ปกป้อง ระหว่างวันที่ 18-30 พฤษภาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป ณ มณฑลพิธี ห้องเอ็มซีซี ฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเดอะมอลล์โคราช หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook Fanpage: วิสาขบูชา พุทธบารมี ตารางวัตถุดิบแนบท้าย/กระทะ1. น้ำผึ้ง 2. นมสดคาร์เนชั่น 3. กะทิสด (ใช้หัวกะทิ) 4. เนยสดแท้ 5. นมข้นหวาน 6. ไมโล 7.น้ำตาลปี๊บ8. ฟักทอง (นึ่งบด) 9. เผือก (นึ่งบด) 10. ถั่วแดง (ต้มบด)11. ลูกเดือย (นึ่งบด) 12. งาดำ (คั่วบดละเอียด)13. งาขาว (คั่วบดละเอียด) 14. แป้งข้าวเหนียวดำ 15. ข้าวตอก 16. ถั่วลิสง (คั่วบดละเอียด) 17. กล้วยน้ำว้า 18. บะแซ
พิธีเปิดงาน “วิสาขบูชา และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ๖ วัด ประจำปี ๒๕๖๗ จังหวัดนครราชสีมา วันอังคารที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ เทอร์มินอลฮอลล์ ชั้น ๔ ซานฟรานซิสโก ศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ โคราช ศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ โคราช จัดพิธีเปิดงาน “วิสาขบูชา และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ๖ วัด ประจำปี ๒๕๖๗”โดยพระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานสงฆ์ นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี และนางปพิชญา ณ นครพนม ผู้อำนวยการศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ โคราช กล่าวรายงาน กิจกรรมประกอบด้วย ผู้แทนสตรีชาวโคราชจำนวน ๑๒๑ คน รำถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุ พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจาก ๖ วัด ประดิษฐาน ณ หอคอย ชั้น ๕ สกายเดค เพื่อให้พุทธศาสนิกชนกราบสักการะ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำหน่วยงาน/องค์กรภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
โคราชสกัดจับ…ยาบ้าล็อตใหญ่ 5 ล้านเม็ดก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองหลวง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 พล.ต.ท.ฐากูร นัทธีศรี ผู้บัญชาการตํารวจภูธรภาค 3 พร้อมด้วย พล.ต.ต.ณรงค์ฤทธิ์ ด่านสุวรรณ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สส.ภ.3 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สส.ภ.จว.นครราชสีมา และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เสิงสาง ร่วมกันแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหา 4 คน พร้อมของกลางยาบ้า 5,200,000 เม็ด ตรวจยึดรถยนต์ 4 คัน มูลค่าการยึดทรัพย์ประมาณ 2,000,000 บาท เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนภูธรภาค 3 จับกุมผู้ต้องหากำลังลำเลียงขนยาบ้า จากประเทศเพื่อนบ้าน ข้ามมาฝั่งจังหวัดนครพนม มุ่งหน้าสู่ภาคกลาง ก่อนที่จะสกัดจับได้ บริเวณบ้านโคกโจด ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา สามารถจับผู้ต้องหาได้ 4 ราย พร้อมรถรถยนต์ของกลาง 4 คัน ยาบ้า 5,200,000 เม็ด ซึ่งเป็นการขยายผลมาจาก กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้อยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งตอนนั้นสามารถยึดของกลางยาบ้าได้ 1.2 ล้านเม็ด
Appropriate Technology Matching Day 2024 กระทรวง อว. หนุน บพท. ร่วมกับเครือข่าย มรภ.และ มทร.ทั่วประเทศ จัดแสดงผลงานเทคโนโลยีพร้อมใช้ เกือบ 2,300 ผลงาน จากภูมิปัญญานักวิจัยไทย ในงาน“Appropriate Technology Matching Day 2024” 4 ภูมิภาค ปูรากฐานสำคัญของการพึ่งพาตัวเองด้านเทคโนโลยี และขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวข้ามกับดักความยากจน ไปสู่ความมั่นคง-มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย น.ส. ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวง อว. มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำเทคโนโลยีพร้อมใช้ จำนวน 2,289 ผลงาน ไปช่วยชุมชน โดยให้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ขับเคลื่อนงานดังกล่าว โดยมีเป้าหมายในระยะถัดไปที่จะเปิดตัว Technology and Innovation Library ซึ่งจะเป็นระบบรวบรวมข้อมูลฝั่งชุมชนกับข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมใช้ รวมทั้งข้อมูลนวัตกรชุมชนให้เกิดการขยายผลไปทั่วประเทศ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 9-24 พฤษภาคมนี้ บพท.จะร่วมกับเครือข่าย มรภ. 38 แห่งและเครือข่าย มทร. 9 แห่งทั่วประเทศ จัดแสดงผลงานการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพร้อมใช้ ใน 4 ภูมิภาค ภายใต้ชื่องาน “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน” หรือ “Appropriate Technology Matching Day 2024” ครอบคลุมทั้งภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง เพื่อให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนได้รับชมและนำไปต่อยอดขยายผลการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง โดยกำหนดจัดขึ้นครั้งแรกที่ภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สำหรับครั้งที่ 2 โซนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นที่โรงแรมดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ มุ่งเน้นการถ่ายทอดและจับคู่นวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยคัดสรรมาจัดแสดงและเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มคนจนฐานราก เกษตรกร กลุ่มอาชีพ และผู้ประกอบในพื้นที่ ได้พบปะกับนักวิจัยของ 2 เครือข่ายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มรภ.ในภาคอีสาน ทั้ง 11 แห่ง ได้แก่ มรภ.มหาสารคาม สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สกลนคร อุบลราชธานี เลย อุดรธานี ศรีษะเกษ ร้อยเอ็ด และเครือข่าย มทร. 5 แห่ง ได้แก่ วิทยาเขต นครราชสีมา ขอนแก่น สุรินทร์ สกลนคร และร้อยเอ็ด ภายในงานมีการแสดงเทคโนโลยีพร้อมใช้ 70 ผลงาน จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยมทร.และมรภ. ซึ่งมีการเชื่อมโยงการใช้งานจริงกับ 13 กลุ่มวิสาหกิจชุมชมและผู้ประกอบการในชุมชน ขณะที่มีผู้เข้าร่วมงานในวันนี้ที่มีส่วนร่วมกันคิดค้นและประมวลองค์ความรู้ให้ตรงกับโจทย์ปัญหาและความต้องการที่เหมาะสมกับภูมิสังคมเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมจำนวนกว่า 400 คน โดยประเภทของเทคโนโลยีพร้อมใช้ มีด้วยกันหลายประเภท อาทิ นวัตกรรมอาหารสัตว์ชุมชน จากเศษวัสดุการเกษตรที่เป็นฐานทรัพยากรในท้องถิ่น ระบบการนึ่งข้าวฮางประสิทธิภาพสูงด้วยไอน้ำจากเชื้อเพลิงชีวมวลเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกคุณภาพสูง เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเส้นไหมและการเตรียมเส้นไหม เครื่องผลิตเส้นไหมพุ่งแบบครบวงจร ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบอัตโนมัติ ตู้ควบคุมอัตโนมัติสำหรับเกษตรแปลงใหญ่ รวมไปถึงกระบวนการบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่ ที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ฯลฯ ซึ่งจะกระตุ้นและจุดประกายความคิดให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ รวมทั้งเกิดการจับคู่นำเทคโนโลยีพร้อมใช้กว่า 200 คู่นวัตกรรม ที่สามารถนำไปต่อยอด ตอบสนองความต้องการของชุมชน นำมาใช้จัดการปัญหาสำคัญในชุมชน หรือการสร้างโอกาสใหม่ในชุมชนหรือพื้นที่ “งานเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน นอกเหนือจะมีขึ้นที่ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ยังจะมีขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 21 พฤษภาคม และในพื้นที่ภาคกลาง ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ ในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้” ผู้อำนวยการ บพท.กล่าวว่า งานแสดงเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน จะเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และพึ่งพาตัวเองด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย จากภูมิปัญญาการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาของนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ที่เหมาะสมเป็นเครื่องมือ และมีกลไกกระบวนการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่เป็นพลังขับเคลื่อน เพื่อนำสู่เป้าหมายการพัฒนาคน พัฒนาพื้นที่ ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความอยู่ดีกินดีแก่ประชาชน และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในแต่ละพื้นที่ ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ
งานแถลงข่าวเศรษฐกิจอีสานสัญจร ณ จ.นครราชสีมา ปี 2567 วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมโคราช 2 โรงแรมเซ็นทารา จังหวัดนครราชสีมา ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท. สภอ.) ได้จัดงานแถลงข่าวเศรษฐกิจภาคอีสาน ประจำไตรมาส 1 ปี 2567 หัวข้อ เหลียวหลัง…แลหน้า…เศรษฐกิจการเงินอีสาน โดยเป็นการแถลงข่าวสัญจรครั้งแรก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ บทบาทหน้าที่ของ ธปท. ภาคอีสาน ได้แก่ 1) จับชีพจรเศรษฐกิจการเงินในพื้นที่ รับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 2) สร้างองค์ความรู้วิชาการเพื่อตอบโจทย์ในพื้นที่3) ผลักดันนโยบาย ธปท. ให้กับพื้นที่4) เป็นตัวกลางความร่วมมือกับทุกภาคส่วน5) สนับสนุนให้คนอีสานมีความรู้ทางด้านการเงินและเท่าทันภัยการเงิน โครงสร้างเศรษฐกิจภาคอีสาน 1) ภาคเกษตรเป็นเส้นเลือดหลักของคนอีสาน มีแรงงานในภาคนี้ถึงร้อยละ 53 ของผู้มีงานทำในภาคอีสาน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีแรงงานเพียงร้อยละ 72) ภาคเกษตรส่วนใหญ่พึ่งฟ้าพึ่งฝน และความสามารถในการทำเกษตรลดลง 3) รายได้ไม่เพียงพอรายจ่ายในภาคครัวเรือน นำไปสู่ปัญหาหนี้ จากโครงสร้างดังกล่าวจึงทำให้เศรษฐกิจภาคอีสานต่างจากประเทศ ปี 2566 เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวจากการบริโภคและท่องเที่ยว ขณะที่เศรษฐกิจภาคอีสานหดตัว ตามการบริโภคจากรายได้ที่ลดลงทั้งในและนอกภาคเกษตร หมดมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ และค่าครองชีพยังอยู่ในระดับสูง แม้การท่องเที่ยวฟื้นตัวแต่ช่วยสนับสนุนได้น้อยเพราะมีเพียงไม่เกินร้อยละ 3 ของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจภาคอีสาน โดยภาพรวมเศรษฐกิจ ไตรมาส 1 ปี 2567 อ่อนแรงต่อเนื่องจากปี 2566 จากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐลดลง ค่าครองชีพในสินค้าหมวดอุปโภคบริโภคยังอยู่ในระดับสูง และตลาดแรงงานอ่อนแอลงจากผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรลดลง นอกจากนี้ ยังเห็นสัญญาณเปราะบางต่อเนื่องจากปี 2566 และกำลังซื้อมีความเปราะบางมากขึ้น ในหมวดสินค้าคงทนโดยเฉพาะรถกระบะหดตัวสูง และยอดขายบ้านในระดับกลางและล่างลดลงต่อเนื่อง จากรายได้ที่ลดลง รวมทั้งความระมัดระวังในการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี มีปัจจัยช่วยพยุงการบริโภคได้บ้างจากผลของราคาผลผลิตเกษตรที่ดี และการท่องเที่ยวที่มีผู้เยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2566 ระยะถัดไป เศรษฐกิจภาคอีสานคาดว่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัว จากงบประมาณภาครัฐปี 2567 ที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งคาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้หลังไตรมาส 2 ทำให้ภาคการค้า การก่อสร้างตามการลงทุนของรัฐเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 รายได้เกษตรกระจายตัวมากขึ้นจากผลดีของภัยแล้งที่คลี่คลายในช่วงหลังของปี 2567 คาดว่าจะส่งผลดีต่อผลผลิตข้าว การผลิตเพื่อการส่งออกในหมวดอาหารแปรรูปและเครื่องแต่งกายมีแนวโน้มฟื้นตัวดี และการท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มใหม่ ๆ เข้ามากระจายหลายจังหวัดเพิ่มมากขึ้น