พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” ในวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ณ วาไรตี้ ฮอลล์ (หน้า MCC HALL) ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก”

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานว่า “จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2536 – 2564 มีเด็กเกิดใหม่ลดลงจาก 900,000 คนถึง 1,000,000 คน ลดลงเหลือ 544,000 คน ในปี 2564 และปี 2556-2557 หญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้มีผลต่อสุขภาพ เช่น เวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ความพิการแต่กำเนิด หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบนโยบายวิวาห์สร้างชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากร

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดงานว่า “
จากคำกล่าวรายงานของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การขับเคลื่อน การดำเนินงาน วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) เพื่อส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีความพร้อมในการมีบุตร มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ โดยการส่งเสริมให้มีโภชนาการที่ดี และเสริมด้วยวิตามินธาตุเหล็กและโฟลิก อันจะส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนการเกิดเพื่อทดแทนจำนวนประชากร และการเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน และทารกเกิดแข็งแรง พร้อมเติบโตอย่างมีคุณภาพ ลดความพิการแต่กำเนิด เด็กมีพัฒนาการสมวัย สามารถเจริญเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป และการประชุมครั้งนี้จะได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายให้เกิดขึ้นจริงในจังหวัดนครราชสีมาจากทุกภาคส่วน ตามนโยบายส่งเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป ผมขอแสดงความชื่นชม ที่ได้เห็นทุกภาคส่วน ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานและร่วมประชุมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดียิ่ง”

ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประชุมที่ปรึกษา คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม จ.นครราชสีมาและเครือข่าย…..

วันที่ ๑๑ กุมกาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓ 00-๑๕.00 น.ณ ห้องประชุม สนง.การท่องเทียวและกีฬาจังหวัดนครราชสิมา โดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมงาน ก่อนหน้านั้นนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาในการเปิดประชุมวาระ1/2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ


๑.๑ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียรจันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมประชุม
๑.๒ ชมวีดีทัศน์ สรุปผลการดาเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๘
๑.๓ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
มอบเข็มเชิญชูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศ
กล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภา
วัฒนธรรมชุดใหม่
มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อทราบ
๓.๑ ด้วยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้อนุมัติโครงการเพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ จานวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการผลิตสื่อออนไลน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเอง จานวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท
โครงการเล่าขายประวัติศาสตร์นครราชสีมา ผ่านนามสกุลคนโคราชจำนวนเงิน ๒๑๐,๐๐๐ บาท
โครงการหมู่บ้านพืชผักสวนครัวเกษตรอินทรีย์ ๕ ดี วิถีคนโคราชจำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งสภาวัฒนธรรมได้ดาเนินการไปแล้วทั้ง ๓ โครงการ พร้อมทั้งรายงานผลการดาเนินงานโครงการไปยังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมทั้ง ๓ โครงการ และในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ กรมส่งเสริมได้อนุมัติโครงการให้สภาวัฒนธรรม
ดำเนินโครงการ ๑ โครงการ ได้แก่ โครงการ จัดทาชุดองค์ความรู้วิถีคนโคราช “กิ๋นเป็นยา” เพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (นำเสนอโดยเลขาสภาวัฒนธรรม)
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
๔.๑ การแต่งตั้งที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘
๔.๒ การแต่งตั้งประธานกลุ่มอาเภอ โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
แบ่งเป็น ๖ กลุ่มอาเภอ ดังนี้
กลุ่มที่ ๑. ๖ อาเภอ ได้แก่ เมืองนครราชสีมา, สีคิ้ว,สูงเนิน,ปากช่อง,เฉลิมพระเกียรติ,ขามทะเลสอ
กลุ่มที่ ๒. ๕ อาเภอ ได้แก่ โชคชัย,ปักธงชัย,วังน้าเขียว,ครบุรี,เสิงสาง
กลุ่มที่ ๓. ๖ อาเภอ ได้แก่ พิมาย,ชุมพวง,โนนแดง,ประทาย,ลาทะเมนชัย,เมืองยาง
กลุ่มที่ ๔. ๕ อาเภอ ได้แก่ โนนสูง,จักราช,ห้วยแถลง,หนองบุญมาก,โนนไทย
กลุ่มที่ ๕. ๔ อาเภอ ได้แก่ ด่านขุนทด,เทพารักษ์,พระทองคา,ขามสะแกแสง
กลุ่มที่ ๖. ๖ อาเภอ ได้แก่ บัวใหญ่,บัวลาย,สีดา,แก้งสนามนาง,คง,บ้านเหลื่อม
๔.๓ การมอบหมายคณะทางานตามโครงสร้างสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕
๔.๔ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาตามบทบาท
หน้าที่และภาระงานของสภาวัฒนธรรม
๔.๕ พิจารณาข้อบังคับของสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘

พิธีวางศิลาฤกษ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

โคราชประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์ ชูเป็นแลนด์มาร์คท่องเที่ยวแห่งใหม่

เมื่อเวลา 09.19 น. วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร อ.เมือง จ.นครราชสีมา พระธรรมเจดีย์ เจ้าคณะภาค ๑๑ เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างพระบรมราชานุสารีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมี หัวหน้าส่วนราชการและประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมประกอบพิธีบวงสรวง วางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์

PEA เดินหน้าวางระบบไฟฟ้าลงดิน 1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบประชาพิจารณ์ เพื่อเดินหน้าโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 17 ธันวาคม 2554 เวลา 13.00 น. ที่วัดพระนารายณ์มหาราช จังหวัดนครราชสีมา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบประชาพิจารณ์ โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในพื้นที่เทศบาล นครนครราชสีมา เส้นถนนจอมพล ตั้งแต่บริเวณสี่แยกศาลหลักเมือง ถึง สี่แยกตัดประตูพลล้าน ระยะทางประมาณ 800 เมตร งบประมาณ 45,618,000 บาท

เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ตามมติคณะกรรมการ กฟภ. ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เห็นชอบให้ กระทรวงมหาดไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จัดทำโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นระบบไฟฟ้าใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา ได้เลือกพื้นที่ดำเนินการบนถนนจอมพล ช่วงบริเวณสี่แยกศาลหลักเมือง ถึง สี่แยกตัดประตูพลล้าน โดยคาดหวังให้ภูมิทัศน์ของเทศบาลนครนครราชสีมาของเรา มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามและช่วยส่งเสริม ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา

นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ถึงกล่าวถึงผลกระทบและมาตรการป้องกันผลกระทบในเรื่องของ การจราจร (เนื่องจากแนวท่อร้อยสายไฟฟ้าและบ่อพักสายจะอยู่บริเวณถนน จึงจำเป็นจะต้องปิดการจราจรถนน 1 ช่องทางเป็นบางช่วง) จะมีเสียงรบกวนจากการก่อสร้าง ซึ่งระดับความดังของเสียงจะอยู่ในระดับที่กฎหมายกำหนด ในด้านฝุ่นละออง (จะมีฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้าง ซึ่งจะควบคุมให้อยู่ในระดับที่กฎหมาย กำหนด) ส่วนร้านค้าแผงลอยบนทางเท้า (การก่อสร้างบางส่วนจะอยู่บริเวณทางเท้า มีความจำเป็นที่ต้องเปิดทางเท้า เมื่อแล้วเสร็จจะคืนสภาพผิวให้เหมือนเดิม)

ทั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ประสานงานร่วมกับเทศบาลนครนครราชสีมาและจังหวัดนครราชสีมา กำชับผู้รับจ้างให้ใช้ความระมัดระวังในการขนส่งวัสดุก่อสร้าง และติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อให้ประชาชน หลีกเลี่ยงเส้นทางจราจรที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง และอาจรวมถึงให้ช่วยทำความสะอาดพื้นถนน เพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น

นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ภายในระยะเวลา 365 วัน หลังจากที่เริ่มโครงการ เมื่อสายไฟฟ้าลงสู่ใต้ดินแล้ว ระบบจำหน่ายไฟฟ้าจะมีความมั่นคงด้วยระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน ช่วยเสริมสร้างความมั่นคง ปลอดภัย ของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับจากภัยธรรมชาติและอุบัติภัยต่างๆ รวมถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น อุบัติเหตุจากรถชนเสาไฟฟ้า ฝนตกลมแรง ซึ่งอาจพัดกิ่งไม้ หรือป้ายโฆษณามาเกี่ยวสายไฟฟ้า ทำให้เกิดความเสียหายและความอันตรายได้ อีกทั้ง รองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ด้วยระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ จึงสามารถรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสังคมเมือง และนับวันการใช้ไฟฟ้า ยิ่งมีบทบาทกับเรามากขึ้น และช่วยทำให้ ทัศนียภาพสวยงามด้วยประเทศไทยเป็นประเทศท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ PEA จึงเร่งนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เพื่อทัศนียภาพที่สวยงาม อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสู่สายตา ชาวต่างชาติ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา ในนาม PEA ขอขอบคุณ จังหวัดนครราชสีมา ขอบคุณเทศมนตรีนครนครราชสีมา ขอบคุณตำรวจภูธร และทุกภาคส่วน รวมถึงสื่อมวลชน ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาทุกท่านที่ให้การความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของ PEA และที่ขาดไปไม่ได้ ขอบคุณ ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมที่มีแผนนำสายสื่อสารลงสู่ใต้ดิน ให้แล้วเสร็จในช่วงระยะเวลาดำเนินการของ PEA”

พ่อโคราชร่วมสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

วันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ น.
พระสีหราชสมาจารมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ประธานฝ่ายสงฆ์ และคณะสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ร่วมนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน และหน่วยงานราชการ
พี่น้องชาวบ้านสระตาราช,สำโรง ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ร่วมสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว (นาหว่าน) ณ.สถาบันพัฒนาชาวพุทธ (๕๓) วันนี้เป็นวันครบรอบ๕เดือนที่ก่อนตั้งสถาบันชาวพุทธ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 53 ไร่ จากเดิมเป็นที่ ชาวบ้านบริจาคที่ดินมอบ วัดพระนารายณ์วรวิหารและจากดำริของ พระสีหราชสมาจารมุนี ได้นำพื้นที่นี้มาใช้ในการพัฒนา เผยแผ่พุทธศาสนาชุมชน ตามนโยบายหมู่บ้านศีล 5 ได้ก่อสร้างเป็นสถาบันชาวพุทธขึ้นในปัจจุบัน ศูนย์รวมชาวบ้าน และ ส่งเสริมความรู้วิถีชุมชน พร้อมวิถีพุทธอยู่ร่วมกัน.. จึงทำให้เกิดกิจกรรม พัฒนาชุมชน อีกหลากหลายรูปแบบในเวลาต่อมา

แถลงข่าวเปิดตัว จัดงานฟอสซิลเฟสติวัลครั้งที่6 100 ปีแห่ง อนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทย

ม.ราชภัฏโคราชนำทัพเปิดโลกดึกดำบรรพ์ จัดงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6  100 ปีแห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยจากสมัยรัชกาลที่ 6

 วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ องค์การมหาชน (สสปน.) องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานนครราชสีมา วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าว งานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 : 100 ปีแห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยจากสมัยรัชกาลที่ 6 Fossil Festival VI : 100 Years of petrified Wood and Elephant Conservation from the Reign of King Rama VI ณ ห้องประชุมลำตะคอง 1 โรงแรมแคนทารี โคราช โดยได้รับเกียรติจาก นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา, นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา, นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน (อพท.),

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐินี ทองดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้ให้ถ้อยแถลงในการจัดงาน พร้อมกันนี้ ยังมีการจัดการเสวนาเพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและการจัดการอย่างยั่งยืน ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราชและที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดงาน, ดร.อัปสร สอาดสุด ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ ดร.อลงกต ชูแก้ว ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย เขาใหญ่ ดำเนินรายการโดย อ.นิรวิทย์ เพียราษฎร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้และเสริมสมรรถะมนุษย์

 งานฟอสซิลเฟสติวัล เป็นงานที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ดำเนินการจัดมาเป็นประจำทุก 2 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2554 จนถึงปัจจุบัน โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในคุณค่า รวมทั้งร่วมกันอนุรักษ์มรดกฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ของจังหวัดนครราชสีมา ให้คงอยู่และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ในปีนี้ ทางสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ได้จัดงานภายใต้แนวคิด “100 ปี แห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยจากสมัยรัชกาลที่ 6”

 ด้วยแนวคิดการอนุรักษ์ฟอสซิลในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน มีปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อรัชกาลที่ 6 หรือพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เสด็จมาตรวจการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา – อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2464 ณ บริเวณ สะพานดำ ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำมูล ในบริเวณบ้านะกุดขอน ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา พระยารำไพพงศ์บริพัตร วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้พร้อมกับชาวบ้านได้นำฟอสซิลจากไม้กลายเป็นหินจากท้องร่องแม่น้ำมูล น้อมเกล้าฯ ถวายแด่ ร.6 แต่พระองค์ท่านกลับแนะนำให้เก็บรักษาไว้ในท้องที่ พระยารำไพพงศ์บริพัตรจึงได้สร้างอนุสรณ์สถานการเสด็จมาตรวจการก่อสร้างทางรถไฟของ ร.6 ในบริเวณหัวสะพาน แล้วนำไม้กลายเป็นหินท่อนดังกล่าวฝังตรึงไว้บนยอดอนุสรณ์สถาน ซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นเป็นสภาพเดิมตราบกระทั่งปัจจุบัน อนุสรณ์สถานไม้กลายเป็นหิน ร.6 นี้จึงเป็นอนุสรณ์การอนุรักษ์ฟอสซิลหรือไม้กลายเป็นหินที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และชุมชนชาวท่าช้างมาครบ 100 ปี ในวันที่ 4 ธันวาคม 2564 นี้ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและเอชียตะวันออกเฉียงใต้

 การจัดงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 กำหนดจัดในระหว่างวันที่ 4 – 10 ธันวาคม 2564 ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในรูปแบบ Hybrid โดยมีกิจกรรมทั้งรูปแบบของ Onsite ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ และระบบ Online โดยมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ

 1. การแถลงข่าวการจัดงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 และการเสวนาการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบ Hybrid (Onsite and Online)

 2. พิธีเปิดงาน ฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6 พร้อมชมนิทรรศการชุด “โคราช : มหานครแห่งบรรพชีวินโลก World Paleontopolis” , “จีโอพาร์ค” โดยกรมทรัพยากรธรณี, และ นิทรรศการ “ไม้กลายเป็นหินแปลก”

 3. งานสัมมนาทางวิชาการ บรรพชีวิน “100 ปี อนุรักษ์และวิจัยฟอสซิลในโคราช”

 การเสวนาทงวิชาการหัวข้อ “ฟอสซิลแห่งสยามกับการอนุรักษ์”, “ฟอสซิลแห่งสยามกับการอนุรักษ์และโคราชมหานครแห่งบรรพชีวินโลก (World Paleontopolis)”

 การนำเสนอผลงานทางวิชาการ “ร่วมเรียนรู้สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์กับนักวิจัย” และ “พิพิธภัณฑ์ฟอสซิลเพื่อการนันทนาการและการเรียนรู้” วันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2564 ในรูปแบบ Hybrid

 4. พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ร่วมกัย กรมทรัพยากรธรณีและภาคีเครือข่าย วันที่ 8 ธันวาคม 2564 ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ในรูปแบบ Hybrid (Onsite and Online)

 นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม “ทัวร์เที่ยวทิพย์ท่องเที่ยวมหานครแห่งบรรพชีวิน”, “กิจกรรมท่องเที่ยวไปในพิพิธภัณฑ์ฯ กิจกรรม DIY By Khorat Fossil Museum พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจตามแต่ละวัน เช่น ตอน ไดโนเสาร์สิรินธรน่าโคราชเอนซิส และสยามแรปเตอร์ สุวัจน์ติ, “เติมสีสันให้ช้าง” และงานแสดงสินค้าชุมชนและผลผลิตทางการเกษตร “ไม้หิน กรีน มาร์เก็ต” พร้อมชมผลานทางศิลปะ โดยงาน Thailand Art Biennale 2021

 การจัดงานในครั้งนี้จึงนับเป็นก้าวสำคัญของจังหวัดนครราชสีมาที่ได้ดำเนินการค้นพบและอนุรักษ์ซากดุกดำบรรพ์ และในปี พ.ศ.2564 ครบรอบ 100 ปี จึงเป็นโอกาสดีที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ และภาคีในจังหวัดนครราชสีมาจะได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างความเข้าใจเรื่องซากดึกดำบรรพ์ ตลอดจนการกระตุ้นให้ชาวจังหวัดนครราชสีมา ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนคนทั่วไปได้ตระหนักในความสำคัญของซากดุกดำบรรพ์ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สามารถนำมาต่อยอดในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายของการจัดงานที่สำคัญ คือ การสร้างความตระหนักในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณีและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเชื่อมโยงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก หรือ SDGs

จับกุมเครือข่าย ขบวนการดาวน์รถแลกเงินส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน

จับกุมเครือข่ายขบวนการดาวน์รถแลกเงิน ส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน

ตามบัญชาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มายัง พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปจร.ตร. และ ผบ.ตร.ได้สั่งการให้ตำรวจ ภูธรภาค 3 ปราบปรามจับกุมการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะเรื่องการนำรถไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน

ภายใต้การอำนวยการสั่งการของ พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม ผบช.ภ.3 พล.ต.ต.ภาณุ บุรณศิริ รอง ผบช.ภ.3 พล.ต.ต.ฐากูร นัทธีศรี รอง ผบช.ภ.3/ผอ.ศปจร.ภ.3 พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.อ.สุริยา นาคแก้ว รอง ผบก.ฯ ปรก.รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา

ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.ถิรเดช จันทร์ลาด ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ท.พรเทพ ทุ้ยแป รอง ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ท.มณฑล หงษ์กลาง รอง ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ท.วิชานนท์ บ่อพิมาย สว.กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ต.ชัยพล คงขุนทด สว.กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ต.เกรียงศักดิ์ สุดจิตจูล สว.กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.ต.ณัฐพล เฉลิมนพกุล สว.กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา สืบสวนจับกุมคดีดังกล่าว

คดีนี้สืบเนื่องจาก นโยบายของสำนักงานงานตำรวจแห่งชาติ ให้ปราบปรามจับกุมการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และนโยบายของ พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา ให้กวดขันจับกุม รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนเป็นประจำทุกเดือนนั้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2564 เวลาประมาณ 21.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ดอนแสนสุข จ.นครราชสีมา ได้ตรวจยึดรถจักรยานยนต์ต้องสงสัย ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน จำนวน 6 คัน ซึ่งทั้งหมดเป็นรถจักรยานยนต์ใหม่ ได้ที่ริมถนนท้ายหมู่บ้านปรางค์ครบุรี ต.ครบุรี อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ไว้ทำการตรวจสอบ เบื้องต้นทราบว่าเป็นรถที่ถูกลำเลียงมาจาก จ.ชลบุรี จากการสืบสวนขยายผลร่วมกับ กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา สามารถตรวจยึดรถจักรยานยนต์ได้เพิ่มเติมในพื้นที่ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ 4 คัน และ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว 4 คัน รวม 14 คัน ซึ่งทั้งหมดเป็นรถที่กำลังลำเลียงจะนำไปส่งยังประเทศเพื่อนบ้าน บริเวณชายแดน อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว

กองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ตำรวจภูธรภาค 3

จึงได้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบและทำการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเรื่อยมาจนกระทั่งนำไปสู่การขออนุมัติศาลออกหมายจับ และเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 6 ราย ดังต่อไปนี้

1. นายเสกสรรค์ พันธ์ดี อายุ 39 ปี 13 ม.5 ต.คลองดำหรุ อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี (ตัวแทนนายทุนต่างชาติ)

2. น.ส.สรยา โต๊ะยีหวัง อายุ 34 ปี 29/2 ม.14 ต.ดอนฉิมพลี อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา (นายหน้า)

3. น.ส.ลำไพร มั่นคง อายุ 45 ปี 344 ม.9 ต.บ้านฝาง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น (ผู้เช่าซื้อ)

4. น.ส.ศุภิสรา สอนเจริญ อายุ 26 ปี 178 ม.12 ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว (ว่าจ้าง/จัดหาทีมขน)

5. นายสุทัศน์ สร้อยดั้น อายุ 18 ปี 178 ม.12 ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว (หัวหน้าทีมขน)

6. นายพงศ์พัทธ์ ศรีมาตร อายุ 25 ปี 14 ม.8 ต.ตาพระยา อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว (ทีมขน)

โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันลักทรัพย์ โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป, สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปกระทำความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดๆซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด อันเป็นความผิดฐานซ่องโจร, หรือร่วมกันรับของโจร”

โดยพบว่าผู้ต้องหาดังกล่าวร่วมกันกระทำความผิดในลักษณะของขบวนการดาวน์รถแลกเงิน ส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่กันทำดังนี้ (1) นายทุนต่างชาติ(ประเทศเพื่อนบ้าน) แจ้งยี่ห้อ/รุ่น รถจักรยานยนต์ที่ต้องการ (2) ตัวแทนนายทุนต่างชาติประกาศในสื่อสังคมออนไลน์ รับซื้อ/ดาวน์รถจักรยานยนต์มาแลกเงิน (3) กลุ่มนายหน้าติดต่อกับผู้ที่ต้องการเงินให้มาดาวน์รถฯ (เช่าซื้อ) เพื่อแลกเงิน (4) ผู้เช่าซื้อนำรถฯ ส่งมอบให้กับนายหน้าเพื่อแลกกับเงินที่ต้องการ (5)นายหน้ารวบรวบรถส่งให้กับตัวแทนนายทุนต่างชาติ (6) นายทุนต่างชาติ (ประเทศเพื่อนบ้าน) สั่งการให้ทีมขนดำเนินการนำรถที่รวบรวมมาได้ไปส่งมอบ ณ จุดนัดหมายเพื่อนำข้ามพรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจากการสืบสวนเส้นทางการเงิน พบว่าขบวนดังกล่าวมีเงินหมุนเวียนในบัญชีกว่า 100 ล้านบาท

จึงขอประชาสัมพันธ์ไปยังพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังอย่าหลงผิดเป็นเหยื่อของขบวนการดังกล่าว โดยไปดาวน์รถให้ผู้อื่นเพื่อแลกกับเงินเพียงเล็กน้อย แล้วมาแจ้งความว่ารถหายเพื่อเอาประกัน นอกจากจะถูกดำเนินคดีในฐานะผู้ร่วมขบวนการในการกระทำความผิดแล้ว ท่านจะต้องถูกดำเนินคดี ข้อหาแจ้งความเท็จฯ อีกด้วย สำหรับบริษัทประกันภัย หรือผู้ให้บริการสินเชื่อ (ลิสซิ่ง/ไฟแนนซ์) หากพบว่าได้รับความเสียหายในลักษณะดังกล่าว ขอให้ไปแจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวหนาวนี้…ที่โคราช…

#หนาวนี้ที่…#โคราช

#ท่องเที่ยวโคราชฤดูหนาว

#Amazingวิถีใหม่เที่ยวไทยไม่ตกTrend

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครราชสีมา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดงานแถลงข่าว “หนาวนี้ที่….โคราช” ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564  ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2564 – เดือน กุมภาพันธ์ 2565

นางภาวนา  ประจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา กล่าวว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครราชสีมา ได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ที่มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในช่วงฤดูหนาว โดยการรวบรวมกิจกรรมทางการท่องเที่ยว จัดทำเป็นปฏิทินการท่องเที่ยวในแต่ละเดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 – เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล เพื่อจะได้วางแผนในการเดินทางท่องเที่ยวและไม่พลาดที่จะไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามปฏิทินการท่องเที่ยวตลอด 4 เดือนนี้ ตามปฏิทินแนบ

และนอกจากนี้ ททท. ยังได้เตรียมของขวัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาวนี้ด้วย โดยมีโปรโมชั่นท่องเที่ยวฤดูหนาว ตามโครงการ Amazing วิถีใหม่ เที่ยวไทยไม่ตก Trend เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่ม Gen-y เพียงจองที่พักกับโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA (ที่เข้าร่วมโครงการกับ ททท.) จะได้รับ Gift Voucher มูลค่า 300 บาท ไปใช้เดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดเดือน พฤศจิกายน 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 โดยเลือกเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งใน 4 เส้นทาง ดังนี้

1. ชมเมืองลอยฟ้ากับชุมชนเขายายเที่ยง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

2. เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

3. เส้นทางชวนเธอไปชมดาว สัมผัสหนาวที่เขาใหญ่ @ เดอะเปียโน รีสอร์ท

4. เส้นทางทัวร์ท่องไพร เขาใหญ่มรดกโลก

และโครงการเปิดประสบการณ์ใหม่ เที่ยวเมืองไทย ไม่รู้ลืม @ นครราชสีมา  เป็นโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่ม Millennial Family (ครอบครัวคนรุ่นใหม่ที่เดินทางพัฒนาทักษะของลูก) เพื่อเปิดโลกทัศน์และส่งมอบประสบการณ์ชีวิตด้วยกิจกรรม Event อาหารถิ่น ชุมชนท่องเที่ยว หรือแหล่งท่องเที่ยว หากจองเข้าพักกับโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA (ที่เข้าร่วมโครงการกับ ททท.) จะได้รับ Gift Voucher มูลค่า 300 บาท ไปใช้ในแหล่งท่องเที่ยว เช่น พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน / ชุมชนบ้านใหม่ ต.ท่าช้าง / กรีนมีออร์แกนิคฟาร์ม / ทองสมบูรณ์คลับ / งาน Forest of Illumination ที่คีรีมายาเขาใหญ่  ระยะเวลาการใช้ Gift Voucher ตลอดเดือนธันวาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 Gift Voucher มีจำนวนจำกัด จองก่อนได้สิทธิ์ก่อน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งชาวโคราชได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมขึ้นและมีมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัย เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนมั่นใจได้ว่ามาโคราชแล้วปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ มีความสวยงามในช่วงฤดูหนาวพร้อมต้อนรับทุกท่านมาเยี่ยมชมความงดงาม และมาสัมผัสอากาศดีๆ ในช่วงฤดูหนาวนี้…ที่โคราช

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้สรรหาคณะกรรมการและประธานสภาวัฒนธรรมท่านใหม่

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 นาย วิจิตร กิจวิรัตน์นายอำเภอรักษาการแทนปลัดจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธีเปิดการประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาโดยนายไชยนันท์ แสงทองวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาดำเนินการประชุมสรรหาได้กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา

แนวคิดการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นของประชาชนประชาชนคือเจ้าของวัฒนธรรม  การดำเนินงานวัฒนธรรมจะบรรลุผลได้ดียิ่ง ต้องให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบดำเนินการวัฒนธรรม อย่างมีบทบาทสำคัญ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม ดังนี้

1. เพื่อให้เกิดการรวมตัวจัดตั้งองค์กรชุมชนของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรม นำไปสู่การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง

2. เพื่อให้เกิดการรวมพลังระหว่างองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่นเป็นเครือข่ายเครือญาติ ทางวัฒนธรรมที่มีการติดต่อสื่อสารพบปะข้อมูลแลกเปลี่ยนข่าวสารตลอดจนแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ซึ่งกันและกัน

3. เพื่อให้เกิดหน่วยงานด้านวัฒนธรรมของประชาชนในท้องถิ่น ที่เชื่อมประสานหน่วยงานภาครัฐได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ

สภาวัฒนธรรมมีสถานภาพเป็นองค์กรเอกชน ที่ดำเนินงานวัฒนธรรม ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม ในการระดมทรัพยากร บุคลากร และสรรพกำลังต่างๆ จากหน่วยงานและองค์กรต่างๆในการส่งเสริม สนับสนุน และร่วมกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา สร้างสรรค์  แลกเปลี่ยน สืบทอด และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ได้ดำเนินการปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแต่ละระดับ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ 2553 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

– สภาวัฒนธรรมตำบล จำนวน 258 แห่ง

– สภาวัฒนธรรมเทศบาล จำนวน 11 แห่ง

– สภาวัฒนธรรมอำเภอ จำวน 32 หาง

และกำหนดการประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ในวันนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย เครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 32 อำเภอ ๆ ละ 1 คน รวม 32 คน เครือข่ายวัฒนธรรมที่จดแจ้งในระดับจังหวัด 30เครือข่าย ๆ ละ 1 คน รวม 30 คน และผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ได้แก่ นักวิชาการวัฒนธรรม และผู้แทนจากเครือข่าย อื่นๆรวมทั้งสิน 90 คน เพื่อดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่แทนคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดเก่า ที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระที่กำหนดในกฎกระทรวงจำนวนไม่น้อยกว่า 19 คน และไม่เกิน 51 คน โดยได้รับความเมตตานุเคราห์สถานที่จัดประชุมจากพระเดชพระคุณ พระศรีวงศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดป่าศรัทธาราม

 ในการสรรหาครั้งนี้ได้ท่าน เอมอร  ศรีกงพาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาอีกวาระ3ปี และได้คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดรวม 51 คนและจะประกาศรับรองเพื่อทำงานการส่งเสริมด้านวัฒนธรรมจังหวัดต่อไป

รองนายกรัฐมนตรี เตรียมจัดงาน กระตุ้นเศรษฐกิจโคราช

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุม คอนเวนชั่น ฮอลล์ โรงแรมกรีนเนอรี่
ท่านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานการประชุมร่วม นาย วิเชียร์ จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา, สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัด นครราชสีมา, หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา,พาณิชย์จังหวัด นครราชสีมาและ จังทีมเซลล์แมนจังหวัดนครราชสีมา ได้มีผู้ประกอบการต่างๆเข้าร่วมต้อนรับและนำสินค้าดี เด่น ดัง เพื่อต่อยอดการตลาดต่อไป

  ในการนี้ทางองค์กรเอกชนต่างๆ ได้นำเสนอ เรื่องต่างๆ อาทิ หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา สมาคมมันสำปะหลังและหน่วยงานอื่นๆ โดยมีฑูตพาณิชย์24ประเทศเข้าร่วมทางออนไลน์ด้วย ได้นำเสนอเรื่องต่างๆ ด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ การเกษตรของจังหวัดนครราชสีมา  โดยทางหอการค้าได้นำเสนอ

1.ขอให้มีการจัดงาน “International trade fair” ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ปี2022

ผลการประชุม ท่านรองนายกสั่งการ ให้ทีมกระทรวงจัดหางบประมาณ และให้ประสานฑูตพาณิชย์ในทุกประเทศ ในการสนับสนุนการจัดงาน และท่านผู้ว่าฯจ.นม จะสนับสนุนงบจังหวัดภายใต้ Korat Mice 

2.ขอให้ท่านรองนายก ช่วยจัดหา ชุดตรวจ ATK ในราคา40บาท เหมือนที่ กทม เพื่อให้ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ท่องเที่ยว ภายใต้โครงการเปิดเมืองโคราช Korat Green Box โดยมีพื้นที่นำร่อง 5อำเภอ อ.เมือง อ.ปากช่อง อ.วังน้ำเขียว อ.พิมาย อ.สีคิ้ว จำนวน 200,000ชุด

ผลการประชุม ท่านรองนายกสั่งการ ประสานกระทรวงสาธารณสุข ในการจัดหา ATK ในราคา40บาท ผ่านองค์การเภสัชกรรม(GPO) ทางกระทรวงสาธารณสุข แจ้งกลับมาว่า ให้ทางหอการค้าเป็นตัวแทนในการประสานความต้องการมาได้เลย และจะจัดให้ตามที่ความต้องการที่เสนอมา

3.จะมีการจัดงานมันสำปะหลังโลก ในจังหวัดนครราชสีมา เร็วๆนี้

 และมีการมอบใบสิทธิบัตรให้กับสวนทุเรียนGIปากช่อง ได้แก่ สวนทุเรียนวงศ์สมิตกุล สวนทุเรียน อัมพร  เป็นต้นและ สรุปข้อหาในการแก้ปัญหา ผู้ประกอบการด้านต่างๆ ประกอบ